ชวน ICCP ผู้นำเข้า MT Masking Tape, MIDORI และอื่นๆ หยิบ 11 ที่สุดมาใส่ตระกร้า

ICCP

ICCP add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

ICCP

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

เพราะเป็นนักลงทุนจึงเจ็บปวด

ด้วยสถานการณ์วันนี้ เชื่อว่านักลงทุนหรือคนที่ตั้งใจเก็บออมเพื่อลงทุนในหุ้นหรือตราสารต่างๆ คงจะรับกับภาวะที่สั่นสะเทือนมาก ไม่ว่าจะด้วยบิตคอยน์หรือสิ่งที่เรียกว่าคริปโตที่ลงต่ำมาก หรือบรรยากาศตลาดหุ้นช่วง 2-3 วันนี้ก็กระชากรุนแรงมาก ถือเป็นการตกอย่างหนักที่สุดในรอบหลายๆ เดือนที่ผ่านมา คำถามคือเกิดอะไรขึ้น 

ทุกครั้งที่เราพูดถึงการลงทุน เราก็ยอมรับจริงๆ ว่ามีผลกระทบต่อเศรษฐกิจเรื่อยมา อย่างในตอนนี้ สิ่งที่เราเห็นกันหรือคนชอบพูดถึงภาวะเงินเฟ้อ เงินเฟ้อคืออะไร และเงินเฟ้อ 7-8% กระทบต่อชีวิตเราแค่ไหน อธิบายง่ายๆ เช่น เมื่อต้นปีใช้เงินซื้อของชิ้นนี้ 100 บาท ถ้าตอนนี้เงินเฟ้อ 8% แปลว่าต้องใช้เงิน 108 บาทถึงจะซื้อของชิ้นนี้ได้ เพราะของมันแพงขึ้น 

ขณะที่เราเงินเดือนก็ยังเท่าเดิม ทำงานก็เหมือนเดิม แต่ของมันแพงขึ้น เราอยู่ได้ยังไงใช่มั้ยคะ สิ่งที่เกิดขึ้นต่อมาคือ เพื่อไม่ให้เงินเฟ้อรุนแรงไปมากกว่านี้ ภาครัฐทั้งหมดจะหันมาใช้นโยบายดอกเบี้ยแพง หรือขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (ส่งผลให้ดอกเบี้ยเงินฝากและดอกเบี้ยเงินกู้สูง เพื่อดึงเงินออกจากระบบ และเมื่อสภาพคล่องที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจลดลง จะนำไปสู่การปรับลดของราคาสินค้าและบริการ ส่งผลให้เงินเฟ้อลดลง) ซึ่งเราไม่เคยเห็นเรื่องนี้มานานมากแล้ว ใช่มั้ยคะ สมัยก่อนคนเคยแต่ฝากเงินไม่สนใจลงทุนเพราะดอกเบี้ยแพงมาก สูงถึง 10-12% ตอนนี้ดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ 10-30 สตางค์เท่านั้น

ไหนๆ ก็พูดเรื่องดอกเบี้ยแล้วขอทบทวนเรื่องดอกเบี้ยทบต้นกันสักเล็กน้อยนะคะ 

จากสูตรมหัศจรรย์ตัวเลข 72 

72 หาร 10 เท่ากับ 7.2 

72 หาร 20 เท่ากับ 3.6

72 หาร 2 เท่ากับ 36 

อย่าเพิ่งสงสัยว่ากำลังมาใบ้หวยอะไร แต่คือการลงทุนที่เรียกว่าดอกเบี้ยทบต้น หมายความว่า ถ้าเรามีเงิน 1 แสนบาทวันนี้ ลงทุนที่อัตราดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนประมาณ 10% เงินนี้จะกลายเป็น 2 แสนบาท คือเท่าตัวพอดีภายในระยะเวลา 7.2 ปี

ในขณะเดียวกัน ถ้ามีเงิน 1 แสนบาท ลงทุนในอัตราดอกเบี้ย 20% ต่อปี เงินนี้จะกลายเป็น 2 แสนภายในระยะเวลา 3.6 ปี และถ้าเราลงทุนที่อัตราดอกเบี้ย 2% เงิน 1 แสนบาทของเราเนี่ยกว่าจะทบต้นเป็น 2 แสนใช้เวลา 36 ปี ทีนี้เริ่มเข้าใจผลลัพธ์ของดอกเบี้ยที่แตกต่างกันแล้วใช่มั้ยคะ 

สมมติวันนี้ผลตอบแทนลงทุนคือ 1% แปลว่าต้องใช้เวลา 72 ปี หรือถ้าลงทุนได้ 0.5% เงินฝาก 1 แสนบาท จะกลายเป็น 2 แสนบาท ในเวลา 144 ปี

นั่นคือที่มาว่าทำไมคนเราต้องขวนขวายหาที่ลงทุน หาดอกผลที่ดีกว่า 

แต่เมื่อลงวิ่งในสนามลงทุนแล้ว ปรากฏว่าตลาดหลักทรัพย์ฯ ตลาดคริปโต หรือตลาดหุ้นกู้ ตอนนี้สั่นสะเทือนกันไปหมดเพราะว่าเรากำลังเจอภาวะเงินเฟ้อและภาวะดอกเบี้ยแพง ซึ่งไม่เคยเจอเลยในรอบ 10 ปี เอาล่ะ วันนี้เราจะไม่พูดถึงเศรษฐกิจ แต่จะพูดถึงเรื่อง ถ้าการลงทุนไม่ประสบความสำเร็จเราทำอะไรได้บ้าง 

หนึ่ง–ทุกครั้งที่พูดถึงเรื่องการลงทุน จะขอเน้นย้ำเรื่องการมีวินัย ซึ่งก็คือความพยายามมอนิเตอร์อัตราผลตอบแทนให้ได้ 10% ต่อปี แต่สมมติปีนี้เราลงทุนไปแล้วปรากฏว่ามันไม่ได้ประสบความสำเร็จ สมมติว่าไม่ได้ผลตอบแทนเลย เท่ากับหายไป 10% เราจะทำยังไงถ้าอยู่ในหุ้น เราจะ recommend ให้เอาพอร์ตฯ มาดู ซึ่งวิธีแก้ไขพอร์ตฯ ที่สำคัญที่สุดก็คือ ดูว่าหุ้นตัวไหนที่ลงไปลึก ต้องบอกว่า บ่อยครั้งก็มีเหตุการณ์ที่ตลาดตกใจจนบางทีหุ้นที่ต่างชาติถือหรือหุ้นที่กองทุนถือราคาลงไปลึกมาก เช่น เป็นหุ้นพวก utility ต่างๆ หรือหุ้นธนาคาร เราก็ลองคิดดูว่าวันที่เราซื้อหุ้นตัวนี้มาเราใช้ logic ในการคิดยังไง ซึ่งวันนี้ราคาถูกกว่าวันที่เราซื้อมาอีก สิ่งที่ทำได้คือซื้อหุ้นตัวเดิมในราคาต่ำกว่าเพื่อถัวเฉลี่ยต้นทุน อันนี้คือวิธีการแรกเลยนะคะ ทีนี้การถัวเฉลี่ยต้นทุน เราก็ต้องมี target หรือเป้าหมายที่ต้องการ ซึ่งมีบทความ มีรีเสิร์ช ให้ศึกษามากมาย 

สอง–ต้องดูว่าการเปลี่ยนแปลงของราคานั้น หากเกิดจากความเปลี่ยนแปลงในเรื่องเศรษฐกิจส่งผลให้ตัวบริษัทนั้นเปลี่ยนแปลง อย่างนี้ก็อาจจะต้องยอม หรือที่เรียกว่า cut loss คือขายก่อนเพื่อไม่ให้กระเทือนหรือลงไปลึกกว่านี้

สาม–ปรับทั้งพอร์ตฯ หมายถึงอะไร สมมติมีหุ้นอยู่ 5 ตัว ไม่มีเงินใหม่เข้ามาหรือไม่อยากถมเงินเข้าไป ให้ใช้วิธีการขาย 2 ตัวที่เราคิดว่าโอกาสราคาขึ้นน้อยกว่า และเราเอาเงินจากการขาย 2 ตัวนั้นมาซื้อ 3 ตัวที่เหลือในพอร์ตฯ เป็นการทำ complimentary ทั้งหมดในการแก้พอร์ตฯ 

นี่คือโครงสร้าง 3 เรื่องหลักๆ ในการที่จะมีพอร์ตลงทุนและแก้ไขพอร์ตลงทุน 

แต่สิ่งที่เรามักเจอคืออะไรคะ หนึ่ง–พอราคาหุ้นตก ก็ไม่กล้าขาย ด้วยความรู้สึกว่าไม่ขายไม่ขาดทุน สอง–พอตกลงไปเยอะกว่าเดิมก็ยิ่งใจไม่ดี และสาม–บางท่านใช้เงินร้อนมาลงทุน พอมีความจำเป็นต้องใช้เงินก็ต้องขายแล้วเอาเงินออกไป พอ exit ปั๊บเราไม่ได้ลงทุนต่อ มันก็เหมือน hit loss ทันที 

ต้องบอกว่าเวลาที่ลงทุนมันมีทั้งภาพโฟกัสตรงหน้าที่เขาเรียกว่า zoom in กับภาพระยะยาวคือ zoom out เศรษฐกิจของเราตอนนี้ต้องถามว่าหลังจากเริ่มเปิดประเทศแล้วมันจะค่อยๆ ดีขึ้น แต่ในช่วงปีนี้หรือปีหน้ามันจะวิกฤตแน่ๆ ดังนั้นในเรื่องการลงทุนถ้าเราเจอแบบนี้ก็ต้องหันกลับมาดูตัวเราด้วยว่า ตัวเราหน้าที่การงานเป็นยังไง กระแสเงินสดหรือเขาเรียกว่า cash flow เป็นยังไง เงินเก็บเราเป็นยังไง เพื่อจะวางตัวเราให้เหมาะสมกับการลงทุน 

สมมติว่าตัวเรายังมีหน้าที่การงาน มีรายได้ประจำ ไม่แน่คุณอาจจะทิ้งพอร์ตไว้เฉยๆ ได้โดยไม่ต้องทำอะไรเลย ก็เหมือนว่ารอไป เดี๋ยวอีก 2 ปีค่อยมาดูใหม่ หรืออีกทางหนึ่งถ้าลงทุนเองแล้วรู้สึกเหนื่อยก็มาโฟกัสลงทุนในหน่วยลงทุนที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้

เวลาที่เราเจอเหตุการณ์แบบนี้ หนึ่ง–มีสติ สอง–ตั้งรับ สาม –ก็ต้องลองดูว่าแผนที่เราเลือกได้มีกี่แผน สี่–ดูว่า consequence ของแต่ละแผนเป็นยังไง และห้าก็คือการ take action ตรงนี้คือสิ่งที่เป็นธรรมชาติมากนะคะ 

แล้วก็ต้องบอกว่าในบรรดานักลงทุนทั้งหมดที่อยู่บนโลกนี้ไม่เคยมีใครไม่ขาดทุน ไม่เคยมีใครที่ประสบความสำเร็จร้อยเปอร์เซ็นต์ตลอดเวลา ทุกคนที่เป็นนักลงทุนล้วนเจอทั้งสุขและทุกข์ มีทั้งการลงทุนที่ได้มากและการลงทุนที่เสียหาย เมื่อเราเห็นดังนี้แล้ว ก็อย่าทุ่มจนเกินไปนะคะ อย่าปล่อยให้ความรู้สึกกดดันจนเกินไป มันไม่มีอะไรที่เป็นความล้มเหลวหรอก มันก็แค่บทเรียนอีกบทหนึ่งที่เราต้องเรียนรู้และก้าวผ่านไปให้ได้ ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่เป็นนักลงทุนในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนแบบนี้ แต่ความไม่แน่นอนมันก็มีโอกาส บางท่านที่ไม่เคยเข้าลงทุนเลย วันนี้ท่านก็ซื้อหุ้นถูกกว่าเพื่อนสักประมาณ 20% แล้วเมื่อเทียบกับ 3 อาทิตย์ที่แล้ว นี่ก็เป็นโอกาสเหมือนกัน แต่โอกาสนี้หลายคนก็ต้องระมัดระวังว่าคุณเข้าใจบริษัทนั้นๆ ดีมั้ย คุณรู้เรื่องของเขาจริงๆ หรือเปล่า 

ส่วนเรื่องคริปโต สำหรับเราถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ไม่มีอะไรเป็นตัวแบ็กเลย เป็นความเชื่อล้วนๆ ซึ่งใน ecosystem ยังไม่สามารถใช้เป็นตราสารทางการเงินหรือ currency ได้นะคะ ถึงแม้จะมีการยอมรับในบางส่วนแต่ก็ยังยากอยู่ มันส่งผลให้เวลาที่ตลาดโดน attack มันถึงได้เปราะบางมาก 

สิ่งที่จะแนะนำได้ก็คือต้นทุนแต่ละคนไม่เท่ากัน บางท่านความจำเป็นในการใช้เงินไม่เท่ากัน บางท่านอาจจะบอกว่ายินดีแบ่งเงินแสนบาทมาลงทุน เขาพร้อมจะขาดทุนกับแสนบาทนี้ ไม่เป็นไร เขาก็อยู่เฉยๆ ได้ แต่สำหรับบางคน เงินแสนบาทนั้นคือเงินที่เก็บมาทั้งชีวิต 

เมื่อไหร่ก็ตามที่ลงทุนอยากให้คิดถึงจุด cut loss อยู่ประมาณ 20% สมมติลงทุนไปแสนบาท วันนี้ราคาตกมา 8 หมื่นบาท เรา recommend ให้ขายก่อน เพราะอีก 20% คุณหากลับมาได้ แต่ถ้าคุณไม่ทำ คุณมีโอกาสที่จากแสนจะกลายเป็น 5 หมื่น กลายเป็น 3 หมื่น กลายเป็น 1 หมื่น เหมือนบางตัวตอนนี้

การลงทุนที่ไม่ประสบความสำเร็จก็เป็นบทเรียนบทหนึ่งให้เราเข้าใจว่า ต่อไปนี้ถ้าเราจะลงทุนอะไรต้องมีความเข้าใจ รู้เรื่องการเข้า-ออกหรือเรื่องราวของมันให้ชัดเจน อะไรที่คนอื่นว่าดีอาจจะไม่ได้ดีกับเรา แต่ในขณะเดียวกันอะไรที่เป็นจังหวะที่ไม่ดี อย่างใครที่จะรอซื้อบิตคอยน์ที่ตอนนี้ต่ำกว่า 2 หมื่นแล้ว เป็นครั้งแรก คุณอาจจะซื้อสะสมไว้เพื่อเรียนรู้ก็อาจจะเป็นทางของคุณเหมือนกัน บอกไม่ได้จริงๆ ค่ะ มันไม่มีใครคอนเฟิร์มได้ ถามว่าทำไม ไม่เหมือนกับหุ้น ซึ่งโอเคเรายังมีสิทธิ์เป็นเจ้าของธุรกิจ แล้วก็ไม่เหมือนหุ้นกู้หรือตราสารหนี้ที่อย่างน้อยก็ยังมีสถานะเป็นเจ้าหนี้  แต่คริปโตนั้นไม่ได้ทำให้เรามีความเป็นเจ้าของใน asset อะไร เพียงแต่ว่ามันมี right บนคริปโตนั้นๆ right อันนี้ถูกเปลี่ยนมือได้ และการเปลี่ยนมือก็คือคนที่เปลี่ยนมือยอมรับในราคา 

เพราะฉะนั้นมันก็มีถ้าคนเข้ามาเยอะๆ เป็นกฎ demand-supply ถ้าคนอยากได้อยากขาย ราคาก็ขยับขึ้น ในขณะเดียวกันถ้าเมื่อไหร่ที่มันไม่อยู่ใน demand-supply คนต้องการจะขายมากกว่าคนต้องการจะซื้อ ราคาก็ตก แล้วเป็นการตกแบบที่ไม่มีอะไรมารองรับเลย ถ้าชอบชีวิตแบบโรลเลอร์โคสเตอร์คริปโตสนุกแน่นอน 

ท้ายที่สุดแล้วการลงทุนที่ไม่ประสบความสำเร็จ เราหาทางแก้ไขได้ ปรับปรุงได้ หาจังหวะอื่นได้ แต่กับเรื่องความรู้สึก เราจัดการอย่างไร

เมื่อผิดหวัง ย่อมเกิดความรู้สึกเสียใจหรือไม่สบายใจได้ แต่อย่าโทษตัวเอง 

เชื่อเถอะค่ะ การตัดสินใจแต่ละครั้งเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องที่สุดแล้วนะคะ จากนั้นจะเกิดอะไรขึ้น เราคงกลับไปแก้ไขการตัดสินใจนั้นไม่ได้ แต่เรายังมีวันนี้อยู่นะ เพราะฉะนั้นถ้ามีวันนี้เราก็ทำวันนี้ให้ดีที่สุดใช่มั้ยคะ ผิดพลาดแล้วก็ผิดพลาดไปเป็นบทเรียน เราก็ทำงานใหม่ เก็บเงินใหม่ หาช่องทางในการลงทุนใหม่ อย่าได้ลงโทษตัวเอง อย่าให้จิตใจเศร้าหมอง พอจิตใจเศร้าหมองก็ส่งผลให้ร่างกายหมดแรง ไม่มีแรงคิดทำอะไร กินข้าวก็ไม่อร่อย เจอใครก็ไม่อยากคุย ยิ่งทำให้แสงรอบตัวมืดๆ ยังไงบอกไม่ถูก

สิ่งที่อยากจะบอกทุกคนก็คือ ไม่ว่าคุณจะเรียงร้อยอะไร ความสุขที่แท้จริงก็คือคนรอบข้างมีความสุข และเราจะมีความสุข ในขณะเดียวกันเราก็เป็นคนรอบข้างของคนอื่น ถ้าเราไม่มีความสุขเราจะทำให้คนรอบข้างเราไม่มีความสุข แล้วมันก็จะกลับมาเป็นเราไม่มีความสุขหนักเข้าไปอีก

ความสุขของเรา เราสร้างได้นะคะ ความทุกข์ของเรา เราก็จัดการได้เช่นกัน ไม่จำเป็นต้องเอาความทุกข์ออกมากระจายให้คนรอบข้าง ไม่จำเป็นจะต้องโทษตัวเองจนเกินไป สิ่งที่เราเจอ ทุกคนก็เจอ มันคือเรื่องราวที่ทุกคนเจอร่วมกัน เมื่อเวลาผ่านไปหากได้มีโอกาสแชร์ความผิดพลาดอาจจะกลายเป็นเรื่องที่คุยกันเฮฮาด้วยซ้ำ เธอขาดทุนเท่าไหร่ ฉันขาดทุนเท่านี้นะ อย่างน้อยเราก็ยังได้ลองได้สัมผัส 

เมื่อเวลาผ่านไปและหันกลับมามอง จะเห็นว่า ไม่น่านั่งกลุ้ม นั่งคิดอะไรอยู่ได้เลย เห็นเงินหายไปก็ทำงานมากขึ้น เก็บเงินมากขึ้น คุยกับคนมากขึ้น มูฟออน วันนี้ไม่สบายใจก็ไปออกกำลังกายให้เหงื่อออก สดชื่น วันนี้มันกินอะไรไม่อร่อย ก็ลองเปลี่ยนของกินไปหาอะไรแซ่บๆ หาน้ำซุปร้อนๆ ซดให้รู้สึกผ่อนคลาย คิดเสียว่านี่คือวันหนึ่งในชีวิตและมันก็จะผ่านไป 

ว่าแล้วก็คิดถึงประสบการณ์ครั้งแรกที่เจอความผิดหวังจากการลงทุน 

ตอนนั้นเด็กมาก อายุน่าจะประมาณ 25-26 เงินลงทุนคือ เงินเก็บทั้งหมดเลย เราก็รู้สึกว่าขมขื่นมาก รอตั้งนานแล้ว ราคาก็ไม่ขึ้น มีแต่ตกลงทุกวัน เราทนรอไม่ไหว ก็ตัดสินใจขายหุ้นทิ้ง ยอมขายที่ขาดทุน ขายเสร็จราคาหุ้นมันก็ขึ้น เราได้แต่วนเวียนโทษตัวเองตลอด 

มองย้อนกลับไปก็พบว่า หนึ่ง–เราไม่หนักแน่นพอ สอง–คำว่าวินัยไปไหน สาม–พอเรียนรู้ปั๊บก็กลายเป็นว่าชิลล์มาก พูดตรงๆ ราคาตก 20-30% ไม่เป็นไรหรอก ถ้ามันเป็นบริษัทที่ดีเดี๋ยวมันก็กลับมา แถมใช้จังหวะนี้ซื้อและสะสม จากประสบการณ์พบว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์เคยขึ้นไปสูงสุดในปี 2537 ประมาณ 1,700 จุดนะคะ ถ้าเอาตามดัชนีวันนี้ขึ้นไป 1,800 แล้ววันนี้อยู่ประมาณ 1,600 วันนี้ลงเหลือ 1,500 จุดแล้ว แสดงว่าถ้าเทรดดัชนีตั้งแต่ปี 2537 นับจนถึงปีนี้ก็จะประมาณเกือบ 30 ปี เหมือนว่าจะไม่ไปไหนเลย แต่ระหว่างทางมีบางบริษัทที่กำไรหรือราคาหุ้นสูงกว่าเมื่อปี 37 มหาศาล แสดงว่ามันมีเรื่องราวที่ศึกษาได้ 

ขอใช้คำนี้เลยนะคะ วันนั้นเราอาจจะสะบักสะบอม แต่พอผ่านตรงนี้มาได้ อยากบอกทุกท่านในฐานะนักลงทุนว่าลองให้กำลังใจตัวเอง ลองดูแลตัวเอง แล้วก็อย่าโทษตัวเองจนเกินไปนะคะ วิ่งหกล้มก็ลุกขึ้น ปัดขาวิ่งใหม่ ไม่ใช่วิ่งหกล้มแล้วเลิกเลย สมมติวันนั้นไม่ไปไหนแล้ว เลิกลงทุนเลย แล้ววันนี้ต้องติดอยู่กับดอกเบี้ยเงินฝากซึ่งต่อให้ขึ้นมา 2% อย่างที่เล่าไปตอนต้น จากสูตรตัวเลข 72 ดอกเบี้ยทบต้น 2% แปลว่าคุณต้องรอ 36 ปีกว่าเงินที่เก็บจะทบต้น มันยากมาก เป็นเหตุผลว่าทำไมคนทำธุรกิจถึงรวยเร็ว เพราะว่าเขาเนี่ยส่วนต่างหรือ margin อยู่ที่ประมาณ 20% ทำธุรกิจ 3 ปีเขาก็ทบต้นแล้ว  ขณะที่คนทำงานตลอดเวลา ฝากเงินมาตลอด 36 ปียังไม่ทบต้นเลย 

เริ่มต้นเราเหมือนจะเท่ากัน แต่สักพักช่วงว่างมันจะเริ่มฉีกกว้างขึ้นเรื่อยๆ เป็นผลจากวิธีคิดล้วนๆ เรามักจะพูดเสมอว่าเงินไม่ทำให้เกิดความคิด แต่ความคิดได้ต่างหากที่ทำให้เกิดเงิน


WEALTH DONE คอลัมน์ที่อยากผลักดันให้คนหันมาวางแผนการเงิน หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องการเงินการลงทุนที่เกิดขึ้นรอบตัวและสงสัยใคร่รู้เป็นพิเศษ ส่งมาบอกพวกเราได้ที่ [email protected] หรือทุกช่องทางโซเชียลมีเดียของ Capital แล้วรออ่านคำตอบพร้อมกันทุกวันพฤหัสบดี เว้นวันพฤหัสบดี ที่ capitalread.co

chicken-rice crisis วิกฤตข้าวมันไก่ในสิงคโปร์ และเหตุผลที่คนสิงคโปร์รักเมนูนี้

ข้าวมันไก่

ข้าวมันไก่ Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว คือรายการธุรกิจอาหารโดย Capital และ Salmon Podcast ที่จะพาเข้าหลังร้านไปสำรวจแนวคิดทางการตลาดของจักรวาลธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร แฟรนไชส์ ขนม เครื่องดื่ม เครื่องปรุง ไล่ลามไปถึงเครื่องครัวและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอาหารทั้งสเกลเล็ก กลาง ใหญ่

รายการนี้ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่ มณีเนตร วรชนะนันท์ อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย และหญิงสาวผู้หลงรักอาหาร ที่จะทำให้ผู้ฟังอร่อยที่ฟังแล้วท้องหิวแต่อิ่มไปกับเคล็ดและเคสการตลาด

Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว คือรายการธุรกิจอาหารโดย Capital และ Salmon Podcast ที่จะพาเข้าหลังร้านไปสำรวจแนวคิดทางการตลาดของจักรวาลธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร แฟรนไชส์ ขนม เครื่องดื่ม เครื่องปรุง ไล่ลามไปถึงเครื่องครัวและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอาหารทั้งสเกลเล็ก กลาง ใหญ่

รายการนี้ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่ มณีเนตร วรชนะนันท์ อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย และหญิงสาวผู้หลงรักอาหาร ที่จะทำให้ผู้ฟังอร่อยที่ฟังแล้วท้องหิวแต่อิ่มไปกับเคล็ดและเคสการตลาด

Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว คือรายการธุรกิจอาหารโดย Capital และ Salmon Podcast ที่จะพาเข้าหลังร้านไปสำรวจแนวคิดทางการตลาดของจักรวาลธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร แฟรนไชส์ ขนม เครื่องดื่ม เครื่องปรุง ไล่ลามไปถึงเครื่องครัวและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอาหารทั้งสเกลเล็ก กลาง ใหญ่

รายการนี้ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่ มณีเนตร วรชนะนันท์ อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย และหญิงสาวผู้หลงรักอาหาร ที่จะทำให้ผู้ฟังอร่อยที่ฟังแล้วท้องหิวแต่อิ่มไปกับเคล็ดและเคสการตลาด

Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว คือรายการธุรกิจอาหารโดย Capital และ Salmon Podcast ที่จะพาเข้าหลังร้านไปสำรวจแนวคิดทางการตลาดของจักรวาลธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร แฟรนไชส์ ขนม เครื่องดื่ม เครื่องปรุง ไล่ลามไปถึงเครื่องครัวและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอาหารทั้งสเกลเล็ก กลาง ใหญ่

รายการนี้ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่ มณีเนตร วรชนะนันท์ อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย และหญิงสาวผู้หลงรักอาหาร ที่จะทำให้ผู้ฟังอร่อยที่ฟังแล้วท้องหิวแต่อิ่มไปกับเคล็ดและเคสการตลาด

Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว คือรายการธุรกิจอาหารโดย Capital และ Salmon Podcast ที่จะพาเข้าหลังร้านไปสำรวจแนวคิดทางการตลาดของจักรวาลธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร แฟรนไชส์ ขนม เครื่องดื่ม เครื่องปรุง ไล่ลามไปถึงเครื่องครัวและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอาหารทั้งสเกลเล็ก กลาง ใหญ่

รายการนี้ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่ มณีเนตร วรชนะนันท์ อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย และหญิงสาวผู้หลงรักอาหาร ที่จะทำให้ผู้ฟังอร่อยที่ฟังแล้วท้องหิวแต่อิ่มไปกับเคล็ดและเคสการตลาด

Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว คือรายการธุรกิจอาหารโดย Capital และ Salmon Podcast ที่จะพาเข้าหลังร้านไปสำรวจแนวคิดทางการตลาดของจักรวาลธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร แฟรนไชส์ ขนม เครื่องดื่ม เครื่องปรุง ไล่ลามไปถึงเครื่องครัวและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอาหารทั้งสเกลเล็ก กลาง ใหญ่

รายการนี้ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่ มณีเนตร วรชนะนันท์ อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย และหญิงสาวผู้หลงรักอาหาร ที่จะทำให้ผู้ฟังอร่อยที่ฟังแล้วท้องหิวแต่อิ่มไปกับเคล็ดและเคสการตลาด

Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว คือรายการธุรกิจอาหารโดย Capital และ Salmon Podcast ที่จะพาเข้าหลังร้านไปสำรวจแนวคิดทางการตลาดของจักรวาลธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร แฟรนไชส์ ขนม เครื่องดื่ม เครื่องปรุง ไล่ลามไปถึงเครื่องครัวและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอาหารทั้งสเกลเล็ก กลาง ใหญ่

รายการนี้ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่ มณีเนตร วรชนะนันท์ อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย และหญิงสาวผู้หลงรักอาหาร ที่จะทำให้ผู้ฟังอร่อยที่ฟังแล้วท้องหิวแต่อิ่มไปกับเคล็ดและเคสการตลาด

Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว คือรายการธุรกิจอาหารโดย Capital และ Salmon Podcast ที่จะพาเข้าหลังร้านไปสำรวจแนวคิดทางการตลาดของจักรวาลธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร แฟรนไชส์ ขนม เครื่องดื่ม เครื่องปรุง ไล่ลามไปถึงเครื่องครัวและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอาหารทั้งสเกลเล็ก กลาง ใหญ่

รายการนี้ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่ มณีเนตร วรชนะนันท์ อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย และหญิงสาวผู้หลงรักอาหาร ที่จะทำให้ผู้ฟังอร่อยที่ฟังแล้วท้องหิวแต่อิ่มไปกับเคล็ดและเคสการตลาด

Nothing Phone (1) วิธีคิดเบื้องหลังของสมาร์ตโฟนที่จะทำให้วงการสมาร์ตโฟนอันน่าเบื่อมีสีสันอีกครั้ง

หันไปทางไหนสมาร์ตโฟนในตลาดตอนนี้ดูไปก็เหมือน ๆ กันไปหมด แม้แต่เจ้าใหญ่อย่าง Apple หรือ Samsung ที่พยายามฉีกออกจากฝูงด้วยการดึงจุดแข็งของตัวเองออกมาให้มากที่สุด แต่มันก็ไม่ได้ต่างอะไรกับสมาร์ตโฟนเจ้าอื่นๆ สักเท่าไหร่ ถืออยู่ในมือแทบแยกไม่ออกว่าเป็นยี่ห้อไหน

นับตั้งแต่การเปิดตัวของไอโฟนในปี 2007 ที่เปลี่ยนโลกของสมาร์ตโฟนชั่วข้ามคืน แต่หลังจากนั้นเป็นต้นมาทุกอย่างก็เหมือนเป็นการอัพเกรดเล็กๆ น้อยๆ เปลี่ยนกล้อง เพิ่มสเปก อัพความเร็ว แต่รูปทรงการออกแบบก็เดิมๆ ไม่ได้มีอะไรแปลกใหม่ 

ผู้ผลิตทั้งหลายต่างเลือกที่จะอยู่ในโซนที่ปลอดภัย ออกโทรศัพท์รุ่นใหม่ที่เข้าถึงกลุ่ม ‘คนส่วนใหญ่’ ซะมากกว่า (ซึ่งที่จริงตรงนี้อยากยกเครดิตให้กับบริษัทอย่าง Samsung หรือ Huawei ที่ออกสมาร์ตโฟนแบบจอพับได้มา ซึ่งถือว่าเสี่ยงไม่น้อย) 

ที่จริงมันก็ไม่ได้ผิดอะไรในแง่ของธุรกิจ สมาร์ตโฟนมันก็พัฒนาขึ้น แรงขึ้น ดีขึ้น ถ่ายรูปสวยขึ้นกว่ารุ่นก่อนๆ ความคุ้นเคยยังทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ง่ายกว่าด้วย แต่สำหรับกลุ่มคนที่หลงใหลในเทคโนโลยีและการออกแบบผลิตภัณฑ์เจ๋งๆ อาจจะบอกว่ามันค่อนข้าง ‘น่าเบื่อ’ ซะมากกว่า

คาร์ล เพ่ย (Carl Pei) CEO ของบริษัท Nothing ผู้ผลิตสมาร์ตโฟน ‘Phone 1’ ก็คิดเช่นเดียวกัน

เพ่ยกล่าวในการสัมภาษณ์กับสื่อ Engadget ว่า

“ผมเคยนั่งดูการเปิดตัวทุกอันเลย ตอนนั้นอยู่ที่สวีเดน ต้องถ่างตารอดูตั้งแต่เที่ยงคืนถึงตีสี่ว่าจะมีอะไรใหม่ๆ ออกมาบ้าง”

แต่มาช่วงหลังๆ เขาไม่เคยดูแถลงเปิดตัวสมาร์ตโฟนเลย ส่วนใหญ่ก็เหมือนเราทุกคนนั่นแหละที่จะอ่านโพสต์สรุปเพื่อให้รู้ว่ามีอัพเดตอะไรบ้าง ความตื่นเต้นมันหายไปหมดแล้ว เพ่ยเล่าให้ฟังว่า

“ตอนที่ผมได้มีโอกาสคุยกับลูกค้า พวกเขาก็รู้สึกไม่ต่างกัน พอทำการสนทนากลุ่ม (focus group) ลูกค้าหลายคนบอกว่าพวกเขาเชื่อว่าบริษัทสมาร์ตโฟนนั้นตั้งใจกั๊กฟีเจอร์ไว้เพียงเพื่อจะได้มีอะไรมาเปิดตัวในครั้งต่อไป ซึ่งนั่นไม่ใช่ความจริงเลย แต่ถ้าลูกค้ารู้สึกแบบนั้น มันเป็นสัญญาณบ่งบอกแล้วว่าพวกเขาน่าจะรู้สึกเบื่อแล้ว”

เพ่ยถือกำเนิดที่เมืองจีนแต่ไปเติบโตที่สวีเดน ระหว่างที่เรียนอยู่ที่ Stockholm School of Economics ก็ตัดสินใจออกมาร่วมก่อตั้งสตาร์ทอัพกับเพื่อน เป็นบริษัทสมาร์ตโฟน OnePlus ในปี 2013 โดยมีแนวคิดว่าอยากทำสินค้าที่มีคุณภาพสูงและดีไซน์ที่เรียบง่าย OnePlus ถือว่าได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากลูกค้าเป็นส่วนใหญ่ แต่เพ่ยตัดสินใจลาออกมาก่อตั้งบริษัทสมาร์ตโฟนของตัวเองอีกครั้งในปี 2020 เพราะรู้สึกว่าตอนนี้เทคโนโลยีอย่างสมาร์ตโฟนกลายเป็นเรื่องซ้ำเดิม โดยเฉพาะภายใต้บริษัทขนาดใหญ่ (ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ OnePlus คือ Oppo) เขากล่าวไว้กับเว็บไซต์ CNBC ว่า

“วันนี้มันเหมือนยุคอุตสาหกรรม PC ช่วง 80s และ 90s ที่ทุกคนทำกล่องสีเทาเหมือนกันหมดเลย”

โดยเขาหวังว่า Nothing จะสร้างความแตกต่างเหมือนอย่างตอนที่ iMac G3 ของ Apple นำสีสันและความแปลกตามาสู่อุตสาหกรรม PC ได้นั่นเอง 

เพ่ยอธิบายเพิ่มเติมว่าอุตสาหกรรมสมาร์ตโฟนมาอยู่จุดนี้ก็เพราะบริษัทเล็กๆ อย่าง LG หรือ HTC เมื่อแข่งขันในตลาดไม่ได้ก็ต้องยอมยกธงขาวเลิกแข่งขันไป เจ้าใหญ่ ๆ อย่าง Apple, Samsung หรือ Google ต่างก็มีการวางแผนเอาไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบเพราะต้องมีการร่วมมือกับบริษัทอื่นๆ อย่าง Qualcomm, Sony หรือส่วนผลิตหน้าจอของ Samsung บริษัทเหล่านี้ทำการวิจัยและเก็บฟีดแบ็กจากลูกค้า มองคู่แข่งในตลาดและดูว่ามันกำลังจะไปทางไหนต่อ ซึ่งพอเป็นการวิเคราะห์แหล่งข้อมูลชุดเดียวกันเพื่อนำมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าจะขายได้ ทุกอย่างก็เลยคล้ายกันไปหมด เหมือนอย่างที่เราเห็นในตลาดตอนนี้

เพ่ยอยากทำในสิ่งที่ต่างออกไปกับ Nothing Phone (1) สมาร์ตโฟนเครื่องแรกของ Nothing (ประกาศว่าจะเปิดตัวในวันที่ 12 กรกฎาคม 2022 แต่ตอนนี้ก็มียูทูบเบอร์หลายคนที่เริ่มเอามารีวิวกันแล้ว) โดยเน้นการออกแบบที่มินิมอล เป็นเอกลักษณ์ ดิบๆ แต่ก็มีความเป็นธรรมชาติแฝงอยู่ในนั้นด้วย มันเป็นส่วนผสมอันลงตัวของเทคโนโลยีที่สวยงามกับดีไซน์แบบ modern industrial (ที่เน้นอารมณ์แบบโรงงาน เห็นโครงสร้างวัสดุที่ใช้อย่างชัดเจน มีถิ่นกำเนิดจากนิวยอร์ก คล้ายๆ กับบ้านสไตล์ลอฟต์ เน้นวัสดุ ประเภทอิฐ ไม้ ปูนเปลือย การเดินท่อลอย) โดยแทนที่จะใช้กระจกทึบแบบสมาร์ตโฟนยี่ห้ออื่นๆ ตัว Phone (1) กลับเลือกใช้กระจกใสที่เห็นด้านในทั้งแผงชาร์จไร้สาย สายถ่ายเทความร้อน และไฟ LED Notification ต่างๆ อีกมากมาย

“หลักการหนึ่งที่เรามีสำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์คือใครสักคนควรมองที่ผลิตภัณฑ์สักสองวินาที หลังจากนั้นหลับตาและสามารถสเกตช์ส่วนที่เป็นเอกลักษณ์สำคัญของมันได้”

ซึ่งถ้าใครเห็นวิดีโอหรือภาพของเจ้า Nothing Phone (1) จะพอทราบดีว่าฝาหลังของมันมีเอกลักษณ์มากแค่ไหน ไฟ LED กว่า 900 ดวงที่วางเรียงเอาไว้เพื่อโชว์เมื่อมีคนโทรเข้ามาหาหรือมีโนทิฟิเคชั่นใหม่ๆ ที่ควรสนใจ สามารถตั้งให้กะพริบแตกต่างกันได้สำหรับสายที่โทรเข้ามาหรือแอพพลิเคชั่นที่ต้องการแจ้งเตือน ถ้าให้เปรียบเทียบความรู้สึกเมื่อเห็น Nothing Phone 1 ก็คงต้องย้อนกลับไปช่วงยุค 90s หรือต้นศตวรรษที่ 20 ที่อุปกรณ์อย่าง Game Boy หรือ iMac ที่ใช้การออกแบบด้านหลังใสแบบนี้เช่นเดียวกัน ให้อารมณ์ย้อนยุคกลับไปช่วงเวลาที่เรายังตื่นเต้นกับอุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์เจ๋งๆ ตอนที่ยังเป็นเด็กหรือวัยรุ่น แม้กระทั่งเสียงเรียกเข้าหรือแจ้งเตือนก็ให้ความรู้สึกเรโทรย้อนยุคเหมือนเสียงโมเดมต่ออินเทอร์เน็ตในยุค 90s ด้วย มันเป็นความผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีใหม่ๆ กับความรู้สึกที่คุ้นเคยอย่างบอกไม่ถูก

แน่นอนว่าดีไซน์ที่ดีต้องทำงานได้ดีก่อนด้วย LED ด้านหลังสามารถปรับแต่งได้ตามต้องการ ไฟตรงช่องเสียบชาร์จบ่งบอกว่าตอนนี้แบตฯ เหลือประมาณเท่าไหร่แล้วเมื่อเสียบปลั๊ก ตอนที่ชาร์จแบบไร้สายไฟก็จะสว่างให้เห็นว่ากำลังทำงานอยู่ แต่การจะทำตรงนี้ให้สำเร็จก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพ่ยทราบเรื่องนี้เป็นอย่างดีเพราะเขาคือหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท OnePlus ที่เคยสร้างความฮือฮาในตลาดสมาร์ตโฟนมาแล้วครั้งหนึ่ง ตลาดสมาร์ตโฟนนั้นเต็มไปด้วยคู่แข่งขนาดใหญ่ มีบริษัทเล็กๆ มากมายพยายามจะเบียดขึ้นมาแต่ก็ไปไม่รอด (อย่าง Essential, Nokia, LG หรือ HTC) หรือบางบริษัทก็ผลิตตัวเดิมๆ ซ้ำๆ เปลี่ยนข้างในนิดหน่อยและเปลี่ยนชื่ออย่างรุ่น G-Series ของ Motorola ที่สุดท้ายแล้วคนก็จะเลิกซื้อเพราะมันแทบไม่ต่างจากรุ่นก่อนเลย

สำหรับ Nothing เพ่ยพยายามพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป สร้างระบบนิเวศของ Nothing ขึ้นมาก่อน จากการเปิดตัวหูฟังไร้สาย ear (1) ไปเมื่อปีก่อน ด้วยดีไซน์ที่แปลกตา ก้านหูทำจากพลาสติกใสที่เห็นชิ้นส่วนข้างใน มีราคาไม่แพงและฟีเจอร์ที่ถือว่าดีเมื่อเปรียบเทียบกับราคา จนถึงตอนนี้ขายได้ประมาณ 560,000 ชิ้นไปแล้ว

“เราเป็นผู้ตามที่รวดเร็ว เราไม่ใช่ผู้ประดิษฐ์สมาร์ตโฟน เราไม่ใช่ผู้สร้างแอนดรอยด์ แต่เรามีประสบการณ์ในตลาดแห่งนี้ เราเห็นทางที่เราสามารถทำได้ดีกว่าและช่องว่างของตลาด เราต้องค่อยๆ สร้างฐานที่แข็งแรง ถึงตอนนั้นเมื่อแข็งแรงแล้ว คุณก็สามารถไปทำอะไรก็ได้ที่เป็นนวัตกรรมแบบสุดๆ ไปเลย เพราะคุณมีธุรกิจที่มั่นคงเพียงพอที่จะลองได้หลายๆ ครั้ง”

อุตสาหกรรมสมาร์ตโฟนเป็นทะเลเดือดที่เต็มไปด้วยคู่แข่งมากมาย เหตุผลที่ทำให้การเข้าสู่ตลาดนี้เป็นเรื่องยากเพราะทุกอย่างต้องทำตั้งแต่ต้นจนจบให้ดีที่สุดเพื่อสร้างจุดเด่นให้กับตัวเอง ต้องมีสายการผลิตที่ดี มีทีมวิศวกรที่เก่ง ซอฟต์แวร์ต้องทำงานได้ไม่ติดขัด นักออกแบบที่เข้าใจความต้องการของผู้ใช้งาน การตลาด การขาย รวมไปถึงฝั่งดูแลลูกค้าด้วย ทุกอย่างต้องสัมพันธ์กันทั้งหมดเลย

มีนักวิจารณ์หลายคนที่ออกมาบอกว่าความสำเร็จของหูฟัง ear (1) จะสร้างแรงกดดันให้กับยอดขายของ Phone (1) ด้วย ยิ่งพยายามโดดเด่นมากเท่าไหร่ ความคาดหวังของลูกค้าจะสูงขึ้นไปด้วย เพ่ยเข้าใจจุดนี้เป็นอย่างดี เพราะเขาเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องการสร้างกระแสออนไลน์ ค่อยๆ ปล่อยรายละเอียดออกมาทีละนิดเพื่อให้คนที่สนใจอยากรู้อยู่เสมอ ซึ่งแน่นอนว่ามันเป็นวิธีการที่เสี่ยงไม่น้อย

“หนึ่งคือทางที่เรากำลังเดินไปอยู่ตอนนี้ เราพยายามที่สร้างความสนใจให้มากที่สุดสำหรับสินค้าที่กำลังจะเปิดตัว นั่นทำให้ความคาดหวังอยู่ในระดับที่สูงมากสำหรับสินค้าตัวนั้น และถ้าทำได้มันก็จะดีมาก แต่ถ้าทำไม่ได้ ทุกอย่างก็จะค่อยๆ ตายไปเอง แต่อย่างน้อยบนเส้นทางนี้ เรามีโอกาสได้ลองทำและนำเสนอสินค้าที่ยอดเยี่ยม อีกทางเลือกหนึ่งก็คือเป็นบริษัทเล็กๆ ที่ไม่มีงบการตลาด ที่ไม่มีใครรู้จักผลิตภัณฑ์ของคุณเลย เพราะฉะนั้นแม้สินค้าจะเยี่ยม ผลลัพธ์คือไม่มีคนสนใจอยู่ดี คุณไม่มีโอกาสที่จะได้พิสูจน์ตัวเองด้วยซ้ำ ทางนี้จึงเป็นทางเลือกเดียวที่เป็นเหตุเป็นผลสำหรับเรา”

ไม่ว่า Nothing Phone (1) จะสำเร็จหรือล้มเหลวในอนาคต สิ่งหนึ่งที่น่าชื่นชมสำหรับความพยายามครั้งนี้ของเพ่ยคือความกล้าที่จะไปท้าแข่งกับบริษัทสมาร์ตโฟนยักษ์ใหญ่ทั้งหลายที่อยู่ในตลาด Nothing เป็นสมาร์ตโฟนที่ไม่ใช่แค่มาเขย่าวงการสมาร์ตโฟนเท่านั้น แต่ระหว่างนั้นมันจะทำให้เราเห็นว่าสิ่งที่อยู่ในมือเราตอนนี้มันน่าเบื่อมากขนาดไหน มันเป็นเรื่องราวของคนตัวเล็กๆ คนนึงที่คิดต่าง ‘Think Different’ เหมือนอย่างคำขวัญของ Apple ยุครุ่งเรือง สอดคล้องกับสิ่งที่เพ่ยได้พูดถึงผลิตภัณฑ์นี้ของเขา

“ผมคิดว่าเจ้าอุปกรณ์ชิ้นนี้คือจุดเริ่มต้นของอะไรบางอย่างที่ต่างออกไป มันยังเป็นเหมือนของขวัญสำหรับอุตสาหกรรมของเราด้วย เราไม่ได้บอกว่ามันจะมาปฏิวัติวงการและเปลี่ยนทั้งอุตสาหกรรมในชั่วข้ามคืน แต่บางทีมันอาจจะทำให้คุณเริ่มคิดได้”

ลองมองไปรอบๆ ตัวแล้วดูสมาร์ตโฟนที่ทุกคนถือกันอยู่ในมือ ทุกอันแทบจะไม่ต่างกัน Phone (1) จะทำให้คุณตั้งคำถามกับบริษัทใหญ่ ๆ ว่าทำไมไม่ทำอะไรที่มันสร้างสรรค์กว่านี้บ้าง ซึ่งนั้นก็อาจจะเพียงพอแล้วที่จะขับเคลื่อนให้บริษัทในอุตสาหกรรมที่หยุดชะงักเรื่องนวัตกรรมมาเกือบสิบกว่าปีตั้งแต่ปี 2007 เริ่มหันมาเสี่ยงทำอะไรใหม่ๆ บ้าง

“บางส่วนจะล้มหายตายจากไป ตลาดของสมาร์ตโฟนจะครึกครื้นมากขึ้น และเราก็จะทำให้ทั้งอุตสาหกรรมพัฒนาเร็วขึ้นด้วย” เพ่ยพูดถึงความตั้งใจ

มาร์ค เอลลิส (Mark Ellis) นักเขียนคอลัมน์ออนไลน์และแฟนตัวยงของ Apple เขียนในบทความเกี่ยวกับ Phone (1) เอาไว้ว่า “ตอนนี้ผมตื่นเต้นกับ Phone (1) มากกว่า iPhone 14 ซะอีก”

ซึ่งสำหรับแฟนตัวยงของ Apple อย่างเอลลิสแล้ว การพูดแบบนี้แสดงถึงอะไรบางอย่างที่ชัดเจน ไอโฟนกำลังกลายเป็นสินค้าที่น่าเบื่อและตอนนี้ก็ถึงคราวของ Phone (1) ว่าจะทำได้ตามความคาดหวังของลูกค้าหรือเปล่า ถ้าทำได้จริงตลาดสมาร์ตโฟนจะกลับมามีสีสันเหมือนอย่างที่เพ่ยตั้งใจไว้อย่างแน่นอน

อ้างอิง

engadget.com/interview-with-nothing-ceo-carl-pei-thinks-everyone-elses-smartphones-are-boring-090011028.html

th.nothing.tech/pages/pre-order

engadget.com/nothing-phone-1-design-reveal-070808818.html

wired.com/story/nothing-phone-1-smartphone-carl-pei-revolution

engadget.com/motorolas-endless-rehashes-will-only-make-it-less-relevant-153037005.html

cnbc.com/2021/05/11/oneplus-co-founder-carl-peis-new-startup-nothing-takes-aim-at-apple.html

techcrunch.com/2020/10/12/carl-pei-leaves-oneplus

Investor, It’s Heartbroken. เพราะเป็นนักลงทุนจึงเจ็บปวด

นักลงทุน นอกจากจะทำให้เรื่องธุรกิจเป็นเรื่องใกล้ตัว Capital อยากทำให้เรื่องวางแผนทางเงินและการลงทุนเป็นเรื่องง่าย เป็นมิตร ไปจนถึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่หล่อเลี้ยงธุรกิจให้ไปต่อ

นักลงทุน WEALTH DONE คือ คอลัมน์ที่อยากผลักดันให้คนหันมาวางแผนการเงิน ผ่านตอบคำถามเรื่องการเงินและการลงทุน โดย สุวภา เจริญยิ่ง นักการเงินมากประสบการณ์ ผู้เป็นทั้งกรรมการอิสระในบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่ง เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เป็นอุปนายกสมาคมนักวางแผนทางการเงินไทย เป็นคุณครู เป็นนักเขียน และล่าสุดเป็นคอลัมนิสต์ของ Capital ที่จะมาพบผู้อ่าน ทุกวันพฤหัสบดี เว้นวันพฤหัสบดี ที่ capitalread.co เริ่มตอนแรกวันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม

หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องการเงินการลงทุนที่เกิดขึ้นรอบตัวและสงสัยใคร่รู้เป็นพิเศษ ส่งมาบอกพวกเราชาว Capital ได้ที่ [email protected] หรือทุกช่องทางโซเชียลมีเดียของ Capital ระหว่างนี้ ตามไปทำความรู้จักคอลัมนิสต์คนใหม่ของเราได้ที่ บทสัมภาษณ์ตอนล่าสุดของคอลัมน์ ณ บัตรนั้น

นอกจากจะทำให้เรื่องธุรกิจเป็นเรื่องใกล้ตัว Capital อยากทำให้เรื่องวางแผนทางเงินและการลงทุนเป็นเรื่องง่าย เป็นมิตร ไปจนถึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่หล่อเลี้ยงธุรกิจให้ไปต่อ

WEALTH DONE คือ คอลัมน์ที่อยากผลักดันให้คนหันมาวางแผนการเงิน ผ่านตอบคำถามเรื่องการเงินและการลงทุน โดย สุวภา เจริญยิ่ง นักการเงินมากประสบการณ์ ผู้เป็นทั้งกรรมการอิสระในบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่ง เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เป็นอุปนายกสมาคมนักวางแผนทางการเงินไทย

หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องการเงินการลงทุนที่เกิดขึ้นรอบตัวและสงสัยใคร่รู้เป็นพิเศษ ส่งมาบอกพวกเราชาว Capital ได้ที่ [email protected] หรือทุกช่องทางโซเชียลมีเดียของ Capital ระหว่างนี้ ตามไปทำความรู้จักคอลัมนิสต์คนใหม่ของเราได้ที่ บทสัมภาษณ์ตอนล่าสุดของคอลัมน์ ณ บัตรนั้น

นอกจากจะทำให้เรื่องธุรกิจเป็นเรื่องใกล้ตัว Capital อยากทำให้เรื่องวางแผนทางเงินและการลงทุนเป็นเรื่องง่าย เป็นมิตร ไปจนถึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่หล่อเลี้ยงธุรกิจให้ไปต่อ

WEALTH DONE คือ คอลัมน์ที่อยากผลักดันให้คนหันมาวางแผนการเงิน ผ่านตอบคำถามเรื่องการเงินและการลงทุน โดย สุวภา เจริญยิ่ง นักการเงินมากประสบการณ์ ผู้เป็นทั้งกรรมการอิสระในบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่ง เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน

หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องการเงินการลงทุนที่เกิดขึ้นรอบตัวและสงสัยใคร่รู้เป็นพิเศษ ส่งมาบอกพวกเราชาว Capital ได้ที่ [email protected] หรือทุกช่องทางโซเชียลมีเดียของ Capital ระหว่างนี้ ตามไปทำความรู้จักคอลัมนิสต์คนใหม่ของเราได้ที่ บทสัมภาษณ์ตอนล่าสุดของคอลัมน์ ณ บัตรนั้น

นอกจากจะทำให้เรื่องธุรกิจเป็นเรื่องใกล้ตัว Capital อยากทำให้เรื่องวางแผนทางเงินและการลงทุนเป็นเรื่องง่าย เป็นมิตร ไปจนถึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่หล่อเลี้ยงธุรกิจให้ไปต่อ

WEALTH DONE คือ คอลัมน์ที่อยากผลักดันให้คนหันมาวางแผนการเงิน ผ่านตอบคำถามเรื่องการเงินและการลงทุน โดย สุวภา เจริญยิ่ง นักการเงินมากประสบการณ์ ผู้เป็นทั้งกรรมการอิสระในบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่ง เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน

หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องการเงินการลงทุนที่เกิดขึ้นรอบตัวและสงสัยใคร่รู้เป็นพิเศษ ส่งมาบอกพวกเราชาว Capital ได้ที่ [email protected] หรือทุกช่องทางโซเชียลมีเดียของ Capital ระหว่างนี้ ตามไปทำความรู้จักคอลัมนิสต์คนใหม่ของเราได้ที่ บทสัมภาษณ์ตอนล่าสุดของคอลัมน์ ณ บัตรนั้น

นอกจากจะทำให้เรื่องธุรกิจเป็นเรื่องใกล้ตัว Capital อยากทำให้เรื่องวางแผนทางเงินและการลงทุนเป็นเรื่องง่าย เป็นมิตร ไปจนถึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่หล่อเลี้ยงธุรกิจให้ไปต่อ

คอลัมน์ที่อยากผลักดันให้คนหันมาวางแผนการเงิน ผ่านตอบคำถามเรื่องการเงินและการลงทุน โดย สุวภา เจริญยิ่ง นักการเงินมากประสบการณ์ ผู้เป็นทั้งกรรมการอิสระในบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่ง เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เป็นอุปนายกสมาคมนักวางแผนทางการเงินไทย

หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องการเงินการลงทุนที่เกิดขึ้นรอบตัวและสงสัยใคร่รู้เป็นพิเศษ ส่งมาบอกพวกเราชาว Capital ได้ที่ [email protected] หรือทุกช่องทางโซเชียลมีเดียของ Capital ระหว่างนี้ ตามไปทำความรู้จักคอลัมนิสต์คนใหม่ของเราได้ที่ บทสัมภาษณ์ตอนล่าสุดของคอลัมน์ ณ บัตรนั้น

นอกจากจะทำให้เรื่องธุรกิจเป็นเรื่องใกล้ตัว Capital อยากทำให้เรื่องวางแผนทางเงินและการลงทุนเป็นเรื่องง่าย เป็นมิตร ไปจนถึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่หล่อเลี้ยงธุรกิจให้ไปต่อ

คอลัมน์ที่อยากผลักดันให้คนหันมาวางแผนการเงิน ผ่านตอบคำถามเรื่องการเงินและการลงทุน โดย สุวภา เจริญยิ่ง นักการเงินมากประสบการณ์ ผู้เป็นทั้งกรรมการอิสระในบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่ง เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เป็นอุปนายกสมาคมนักวางแผนทางการเงินไทย เป็นคุณครู เป็นนักเขียน และล่าสุดเป็นคอลัมนิสต์ของ Capital ที่จะมาพบผู้อ่าน ทุกวันพฤหัสบดี เว้นวันพฤหัสบดี ที่ capitalread.co เริ่มตอนแรกวันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม

หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องการเงินการลงทุนที่เกิดขึ้นรอบตัวและสงสัยใคร่รู้เป็นพิเศษ ส่งมาบอกพวกเราชาว Capital ได้ที่ [email protected] หรือทุกช่องทางโซเชียลมีเดียของ Capital ระหว่างนี้ ตามไปทำความรู้จักคอลัมนิสต์คนใหม่ของเราได้ที่ บทสัมภาษณ์ตอนล่าสุดของคอลัมน์ ณ บัตรนั้น

นอกจากจะทำให้เรื่องธุรกิจเป็นเรื่องใกล้ตัว Capital อยากทำให้เรื่องวางแผนทางเงินและการลงทุนเป็นเรื่องง่าย เป็นมิตร ไปจนถึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่หล่อเลี้ยงธุรกิจให้ไปต่อ

คอลัมน์ที่อยากผลักดันให้คนหันมาวางแผนการเงิน ผ่านตอบคำถามเรื่องการเงินและการลงทุน โดย สุวภา เจริญยิ่ง นักการเงินมากประสบการณ์ ผู้เป็นทั้งกรรมการอิสระในบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่ง เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เป็นอุปนายกสมาคมนักวางแผนทางการเงินไทย เป็นคุณครู เป็นนักเขียน และล่าสุดเป็นคอลัมนิสต์ของ Capital ที่จะมาพบผู้อ่าน ทุกวันพฤหัสบดี เว้นวันพฤหัสบดี ที่ capitalread.co เริ่มตอนแรกวันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม

หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องการเงินการลงทุนที่เกิดขึ้นรอบตัวและสงสัยใคร่รู้เป็นพิเศษ ส่งมาบอกพวกเราชาว Capital ได้ที่ [email protected] หรือทุกช่องทางโซเชียลมีเดียของ Capital ระหว่างนี้ ตามไปทำความรู้จักคอลัมนิสต์คนใหม่ของเราได้ที่ บทสัมภาษณ์ตอนล่าสุดของคอลัมน์ ณ บัตรนั้น

นอกจากจะทำให้เรื่องธุรกิจเป็นเรื่องใกล้ตัว Capital อยากทำให้เรื่องวางแผนทางเงินและการลงทุนเป็นเรื่องง่าย เป็นมิตร ไปจนถึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่หล่อเลี้ยงธุรกิจให้ไปต่อ

คอลัมน์ที่อยากผลักดันให้คนหันมาวางแผนการเงิน ผ่านตอบคำถามเรื่องการเงินและการลงทุน โดย สุวภา เจริญยิ่ง นักการเงินมากประสบการณ์ ผู้เป็นทั้งกรรมการอิสระในบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่ง เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เป็นอุปนายกสมาคมนักวางแผนทางการเงินไทย เป็นคุณครู เป็นนักเขียน และล่าสุดเป็นคอลัมนิสต์ของ Capital ที่จะมาพบผู้อ่าน ทุกวันพฤหัสบดี เว้นวันพฤหัสบดี ที่ capitalread.co เริ่มตอนแรกวันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม

ไม่ใช่แบรนด์(เดิม)ก็ทำแทนได้ เมื่อแมคโดนัลด์รัสเซียปิดตัวแล้วสวมด้วยแบรนด์ใหม่ชื่อ ‘Vkusno & tochka’

เช้าตรู่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2022

ขณะที่วันเวลาชีวิตของผู้คนส่วนใหญ่บนโลกยังคงหมุนวนไปตามกลไก เรียนหนังสือ-หยุดพักผ่อน-ทำงาน และหลับใหล แต่ในอีกมุมหนึ่งของโลกที่ประเทศยูเครน เสียงเครื่องบินรบปนระคนกับเสียงระเบิดมิสไซล์พลันดังขึ้นในพื้นที่หลายจุดรวมถึงกรุงเคียฟ เมืองหลวงของประเทศ 

ทันทีที่ วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ประกาศปฏิบัติการพิเศษทางทหารในยูเครน เหล่าทหารรัสเซียก็บุกโจมตียูเครนทางอากาศ โดยปูตินอ้างว่าเพื่อปลดปล่อยยูเครนจากนาซี (de-Nazify) และปกป้องประชาชนผู้ใช้ภาษารัสเซียในยูเครน และต่อมาให้เหตุผลเพิ่มเติมความชอบธรรมในการรุกรานยูเครนอีกว่า เพื่อต้องการได้ความมั่นใจว่ายูเครนจะยังคงสถานะความเป็นกลาง (ไม่ฝักใฝ่ชาติตะวันตกโดยการเข้าร่วม NATO)

Vkusno & tochka


บางสิ่งที่ประเมินค่าได้ และอีกหลายสิ่งที่ประเมินค่าไม่ได้

สถานการณ์การบุกยูเครนนี้นำมาซึ่งความสูญเสียอันประเมินค่าไม่ได้ของผู้คนมากมายที่ล้มตาย ไร้บ้าน และต้องพลัดพรากจากครอบครัวและคนรัก (ยังไม่สามารถสรุปตัวเลขผู้เสียชีวิตทั้งหมดได้ แต่ โวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน แถลงการณ์ว่ามีทหารยูเครนตายที่สนามรบทุกวันวันละประมาณ 60-100 คน ในขณะที่รัฐบาลรัสเซียกล่าวว่าได้สูญเสียทหารในสงครามไปแล้วประมาณ 1,350 นาย แต่รัฐบาลอังกฤษกลับมองว่าจำนวนนายทหารที่ล้มตายจริงของฝ่ายรัสเซียน่าจะมากกว่าที่ทางการรัสเซียแถลงไว้มาก) 

ส่วนสิ่งของที่ประเมินค่าได้ทั้งอาคารบ้านเรือน รวมถึงมูลค่าของเศรษฐกิจที่ต้องหยุดชะงักและได้รับผลกระทบนั้นก็นับเป็นมูลค่ามากมายมหาศาลเช่นกัน เพราะวงความเสียหายไม่เพียงจำกัดอยู่เพียงแค่รัสเซียกับยูเครน แต่แผ่ขยายไปถึงประเทศอื่นๆ ทั้งในยุโรป เอเชียกลาง หรือแม้กระทั่งในประเทศไทยที่พลอยได้รับผลกระทบไปด้วย

โดย World Bank คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจยูเครนน่าจะหดตัวลง 45.1% ในปี 2022 ส่วนเศรษฐกิจรัสเซียได้ดิ่งสู่ภาวะถดถอยอย่างรุนแรงถึง 11.5% ในปี 2022

สาเหตุหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้รัสเซียเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยก็เพราะว่าการคว่ำบาตรจากนานาชาติในรูปแบบต่างๆ เพื่อเป็นการตอบโต้ต่อสถานการณ์ที่รัสเซียรุกรานยูเครน เช่น สหรัฐอเมริกา, สหภาพยุโรป (EU), สหราชอาณาจักร และแคนาดา แบนธนาคารของรัสเซียจากระบบจ่ายเงินระหว่างประเทศ (ที่เรียกว่า SWIFT ซึ่งเป็นระบบการเงินที่สถาบันทางการเงินกว่า 11,000 แห่งทั่วโลกใช้ใน 200 ประเทศ) นั่นเท่ากับเป็นการตัดรัสเซียออกจากระบบการจ่ายเงินระหว่างประเทศ ทำให้เกิดความวุ่นวายและปัญหาอย่างมากในการดำเนินการธุรกิจต่างๆ ในรัสเซีย

แม้แต่ประเทศที่มีภาพลักษณ์ของ ‘ความเป็นกลาง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด’ อย่างสวิตเซอร์แลนด์ก็ขานรับนโยบายคว่ำบาตรของนานาชาติเช่นกัน โดยประธานาธิบดีอิกนาซิโอ กัสซิส (Ignazio Cassis) ประกาศอายัดทรัพย์สินของผู้มั่งคั่งรัสเซียที่อยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งหนึ่งในผู้มั่งคั่งของรัสเซียที่มีทรัพย์สินอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ก็คือ วลาดิเมียร์ ปูติน หรือประธานาธิบดีของรัสเซียนั่นเอง

ทั้งหมดที่กล่าวมาคือนโยบายการดำเนินการของภาครัฐและการตอบโต้ระดับประเทศ แล้วปฏิกิริยาต่อการรุกรานอาณาเขตแดนของรัสเซียต่อยูเครน ในบทบาทของบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก เขาทำอะไรกันบ้าง

Vkusno & tochka

การตอบโต้ของฝั่งเอกชนต่อรัสเซีย

อันที่จริงมีบริษัทระหว่างชาติกว่าพันบริษัทชะลอการค้าขายกับรัสเซีย หรือบางบริษัทถึงกับถอนตัวออกจากประเทศรัสเซียไปเลย เช่น บริษัทอาหารรายใหญ่ระดับโลกอย่าง Nestlé ถอนแบรนด์อาหารบางแบรนด์ออกจากรัสเซีย ได้แก่ KitKat และ Nesquik 

หรือแบรนด์กาแฟอันเป็นที่รักของคอกาแฟมากมายบนโลกจากซีแอตเทิลอย่างสตาร์บัคส์ก็ประกาศชะลอกิจกรรมต่างๆ กับรัสเซีย เช่น การหยุดส่งสินค้าของสตาร์บัคส์ไปที่รัสเซีย หรือการปิดสาขาชั่วคราวที่รัสเซีย จนกระทั่งเดือนพฤษภาคม 2022 สตาร์บัคส์ประกาศว่าจะถอนตัวออกจากรัสเซียแบบร้อยเปอร์เซ็นต์หลังจากที่ดำเนินกิจการที่รัสเซียมาเป็นเวลา 15 ปี

มาถึงแบรนด์อาหารที่ถูกจับตามองต่อท่าทีในการร่วมมือกันคว่ำบาตรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ต่อรัสเซียในคราวนี้ คือแมคโดนัลด์

Vkusno & tochka

เมื่อแมคโดนัลด์เป็นมากกว่าแบรนด์ฟาสต์ฟู้ด 

ทั้งความเป็นแบรนด์จากประเทศแห่งเสรีภาพอย่างอเมริกัน บวกกับภาพลักษณ์อย่างหนักหน่วงในการพูดถึงความสัมพันธ์ของเด็กและครอบครัวผ่านชุดอาหารอย่างแฮปปี้มีล สายตาของชาวโลกต่างมุ่งไปที่ท่าทีของแมคโดนัลด์ว่าจะมีท่าทียังไงต่อสงครามในครานี้

ปี 2021 ยอดขายแมคโดนัลด์ในรัสเซียมีมูลค่าเท่ากับ 9% ของกำไรทั้งบริษัท หรือตีเป็นตัวเงินก็มีมูลค่าประมาณ 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงเดือนมีนาคม 2022 แมคโดนัลด์ประกาศปิดทำการชั่วคราวในรัสเซีย แต่ยังสงวนท่าทีในการให้สัมภาษณ์สื่อว่าจะมีนโยบายในการตอบโต้ต่อรัสเซียยังไงในระยะยาว แต่ในเดือนพฤษภาคม 2022 ทางแมคโดนัลด์ได้มีการประกาศว่าจะขายกิจการทั้ง 850 สาขาในรัสเซียและไม่ดำเนินกิจการใดๆ ในรัสเซียอีกต่อไป

แต่การเดินออกจากดินแดนหมีขาวของแมคโดนัลด์เป็นไปโดยการขายกิจการต่อให้กับเอกชนรายอื่น และผู้ปิดดีลการซื้อขายกิจการแมคโดนัลด์ในรัสเซียด้วยเงิน 1,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐได้คือ อเล็กซานเดอร์ นิโกลาเอวิช โกเวอร์ (Alexander Nikolaevich Govor)

แล้วอเล็กซานเดอร์ นิโกลาเอวิช โกเวอร์ คือใคร

อภิมหาเศรษฐีผู้มาสานต่อแบรนด์ฟาสต์ฟู้ด

อเล็กซานเดอร์คือ อภิมหาเศรษฐีชาวรัสเซียที่ไม่เพียงแต่สนใจกิจการด้านอาหารเท่านั้น เขายังมีหุ้นในบริษัทต่างๆ อีกมากมาย เช่น ธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น และธุรกิจป่าไม้ 

“ผมภูมิใจมากครับที่พวกเขา (แมคโดนัลด์) เลือกผมให้สานต่อและพัฒนาธุรกิจนี้ นั่นคงหมายความว่าบริษัทมองว่าผมมีหลักการในการทำธุรกิจเหมือนกันกับแมคโดนัลด์” อเล็กซานเดอร์กล่าวกับนักข่าวในวันเปิดตัวแบรนด์ Vkusno & tochka แบรนด์อาหารฟาสต์ฟู้ดชื่อใหม่แต่หัวใจ(เกือบ)เหมือนเดิม

Vkusno & tochka แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า ‘Tasty and that’s it’ หรือแปลเป็นไทยประมาณว่า อร่อย…จบนะ 

Vkusno & tochka เป็นชื่อแบรนด์ใหม่ที่อเล็กซานเดอร์ตัดสินใจใช้ภายใต้ที่ตั้งเดิมที่เคยเปิดร้านแมคโดนัลด์มาก่อน โดยมุ่งหวังที่จะเสิร์ฟอาหารฟาสต์ฟู้ดแบบอเมริกันแบบเดียวกันกับที่แมคโดนัลด์เคยเสิร์ฟให้กับประชาชนชาวรัสเซียมาเป็นเวลากว่า 32 ปี 

พนักงานทั้ง 62,000 คนที่เคยทำงานภายใต้แมคโดนัลด์ในรัสเซียได้ถูกโอนย้ายให้มาทำงานที่ Vkusno & tochka และร้านสาขาแรกได้ถือฤกษ์เปิดร้านที่จัตุรัสพุชกิน (Pushkinskaya Square) สถานที่ที่เคยเป็นแมคโดนัลด์สาขาแรกในรัสเซียเมื่อปี 1990 หรือเมื่อ 32 ปีที่แล้ว

Vkusno & tochka

ว่ากันว่าเมื่อวันที่ 31 มกราคม 1990 วันที่แมคโดนัลด์สาขาแรกได้เปิดทำการขึ้นบนแผ่นดินรัสเซีย ประชาชนต่างพากันแห่แหนมาต่อคิวตั้งแต่ตี 4 จนสุดลูกหูลูกตา จนร้านแมคโดนัลด์ สาขาจัตุรัสพุชกินต้องเปิดทำการนานกว่าที่กำหนดเพราะมีคนมารอลิ้มชิมรสชาติอาหารอเมริกันจำนวนมาก จบวันนั้นตามสถิติรายงานไว้ว่าแมคโดนัลด์ สาขาจัตุรัสพุชกินเสิร์ฟอาหารให้กับคนไปถึง 30,000 คน

นอกจากการเสิร์ฟความอร่อยผ่านเบอร์เกอร์และโค้ก เป็นที่เข้าใจกันดีว่าแมคโดนัลด์แบรนด์ฟาสต์ฟู้ดชื่อดังจากอเมริกันยังเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของชาติตะวันตก ปี 1990 เป็นปีที่แมคโดนัลด์สาขาแรกได้โอกาสมาเปิดทำการครั้งแรกที่รัสเซีย อุปมาเป็นสัญลักษณ์คงเปรียบได้ราวกับการนำเอาวัฒนธรรมและความคิดของโลกตะวันตกเข้ามายังรัสเซีย และคนรัสเซียก็มีทีท่าในการต้อนรับเป็นอย่างดี จากคน 30,000 คนที่มารอกินแมคโดนัลด์ในวันแรก

ปี 2022 วันที่แมคโดนัลด์ได้ปิดตัวลงในรัสเซียสืบเนื่องมาจากการตอบโต้การรุกรานยูเครนจึงอาจอุปมาได้อีกครั้งว่า นี่คือสัญลักษณ์ของการที่โลกตะวันตกเริ่มก้าวเท้าเดินออกจากรัสเซีย

ชื่อแบรนด์ใหม่ แต่หัวใจยังคงเดิม

Vkusno & tochka ยังคงคอนเซปต์เหมือนแมคโดนัลด์เกือบทั้งหมด ทั้งที่ตั้งร้านเดิม เมนูที่เสิร์ฟก็คล้ายคลึงจนเกือบจะเหมือนเดิม ทั้งเบอร์เกอร์ปลาที่เปลี่ยนชื่อจาก Filet-O-Fish เป็น Fish Burger, นักเก็ตไก่ Chicken McNuggets เป็น Nuggets 

เมนูอาจดูคุ้นตาและคงเดิมแต่ราคาของอาหารหลายอย่างได้ถูกปรับตัวลง เช่น ดับเบิลชีสเบอร์เกอร์ ขายอยู่ที่ 129 รูเบิล (จากเดิมที่แมคโดนัลด์เคยขายที่ราคาประมาณ 160 รูเบิล), เบอร์เกอร์ปลาที่ 169 รูเบิล (จากเดิมที่แมคโดนัลด์เคยขายที่ 190 รูเบิล)

เมื่อมีการเปิดตัวแบรนด์ใหม่ จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงโลโก้ จากเดิมที่แมคโดนัลด์เคยใช้โลโก้รูปตัวเอ็มสีเหลืองตัวใหญ่ เมื่อเปลี่ยนแปลงเป็นแบรนด์ Vkusno & tochka อเล็กซานเดอร์จึงตัดสินใจใช้โลโก้อันเป็นสัญลักษณ์ใหม่ แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของแบรนด์ นั่นคือรูปแท่งสีเหลืองสองแท่ง ที่อุปมาว่าเป็นเฟรนช์ฟรายส์ และวงกลมสีแสดหนึ่งวง ที่อุปมาว่าเป็นแฮมเบอร์เกอร์ กับพื้นแบ็กกราวนด์สีเขียวที่เป็นตัวแทนของ ‘คุณภาพของสินค้าและบริการที่ลูกค้าคุ้นเคย’ ทางทีม Vkusno & tochka กล่าวอย่างนั้น

ทั้งที่ตั้งเดิม อุปกรณ์เดิม พนักงานที่คนรัสเซียเคยคุ้นหน้าคุ้นตาที่ทำงานในแมคโดนัลด์สาขาเดิมก็ยังคงอยู่ โดย Vkusno & tochka จะทยอยเปิดไปเรื่อยๆ จนคาดว่าน่าจะครบทั้ง 850 สาขาทั่วประเทศรัสเซีย แถมอเล็กซานเดอร์เองยังยอมรับอีกว่าเขาเป็นชายที่ทะเยอทะยานและอยากเปิดสาขาของ Vkusno & tochka ให้ถึง 1,000 สาขา ให้มากกว่าที่แมคโดนัลด์เคยทำได้

Oleg Paroev CEO ของ Vkusno & tochka ให้สัมภาษณ์กับ The Guardian ว่า “จุดประสงค์ของเราคือ ไม่ต้องการให้ลูกค้ารู้สึกถึงความแตกต่างทั้งในเรื่องของคุณภาพและบรรยากาศ” 

อาจจะด้วยเพราะเหตุนี้เราจึงยังคงมองเห็นเค้ารางของความเป็นแมคโดนัลด์อยู่ในบางจังหวะของ Vkusno & tochka  เช่น ซอสมัสตาร์ดซองเดิมที่เคยมีโลโก้แมคโดนัลด์ แต่ถูกหมึกของปากกาคาดทับโลโก้แมคโดนัลด์เอาไว้ แต่กลิ่นอายความเปลี่ยนแปลงของฟาสต์ฟู้ดแบรนด์ใหม่ก็ยังคงมีให้เห็นเช่นกัน ทั้งสโลแกนใหม่ของร้านที่ถูกตั้งขึ้นว่า ‘The name changes, the love remains’ แปลเป็นไทยประมาณว่า ‘ชื่อเปลี่ยนไป แต่ใจเหมือนเดิม’ และที่เครื่องแบบของพนักงานก็มีตัวอักษรปักไว้ว่า ‘The same smiles’ หรือรอยยิ้มเดิม

แล้วเมนูซิกเนเจอร์ของแมคโดนัลด์อย่าง Big Mac ล่ะ ยังขายต่อไหม

Big Mac เท่ากับ Big Burger หรือไม่

ถึงแม้ว่าอะไรๆ จะดูไม่ต่างจากเดิมมากนัก แต่ของบางอย่างหากไม่ใช่แบรนด์ก็คงทำแทนไม่ได้ อย่างเช่น ชื่อเมนูหลายเมนูที่ต้องเปลี่ยนชื่อไป ไม่ต่างกับ Big Mac ที่ไม่สามารถนำชื่อมาใช้ได้ แต่อเล็กซานเดอร์ก็ทราบดีว่านี่คือเมนูในใจของใครหลายคน เขาจึงทำเมนูที่มีชื่อว่า ‘Bolshoi Burger’ หรือแปลเป็นภาษาอังกฤษคือ Big Burger เมนูที่หลายคนบอกว่ามันก็คือ Big Mac นั่นแหละ แค่ชื่อเท่านั้นที่เปลี่ยนไป

“พวกเราไม่ได้รับสิทธิในการใช้สี พวกเราไม่ได้รับสิทธิ์ในการใช้ Golden Arches ( แปลเป็นไทยได้ว่า ซุ้มประตูทองคำที่อุปมากับความโค้งมนรูปตัวเอ็มสีเหลืองบนโลโก้ของแมคโดนัลด์) พวกเราไม่ได้รับสิทธิในการเอ่ยอ้างใดๆ ถึงแมคโดนัลด์”

ในกรณีนี้ผลกระทบที่มองเห็นได้ประจักษ์ชัดที่สุดตรงหน้าที่ประชาชนชาวรัสเซียต้องแบกรับจากการที่รัสเซียบุกรุกรานยูเครนคือ แบรนด์ร้านอาหาร เครื่องดื่มหลายแบรนด์ที่พวกเขาเคยรักจำต้องตอบโต้และแสดงถึงความไม่เห็นด้วยกับการกระทำดังกล่าวของรัสเซียด้วยการปิดตัวลงในรัสเซีย ซึ่งนั่นอาจหมายความถึงการสูญเสียตลาดและรายได้มหาศาลของแบรนด์ดังกล่าว แต่การตอบโต้ที่ว่านั้นยังเทียบไม่ได้เลยกับมูลค่าของเลือดเนื้อ ชีวิต และน้ำตาที่ประชาชนทุกคนต้องได้รับจากสงครามครั้งนี้

H.A.L.F แบรนด์เก้าอี้ชายหาดของพร็อพสไตลิสต์ที่ทำเพื่อความสนุก ลงมือเมื่ออยาก หยุดเมื่อเหนื่อย

อาร์ต–ศุภชัย เพ็ชรี่ คือพร็อพสไตลิสต์ฟรีแลนซ์ ผู้เป็นเจ้าของแบรนด์ H.A.L.F แบรนด์สินค้าไลฟ์สไตล์ที่มีหัวใจหลักของการออกแบบคืออยากให้คนใช้งานได้พักผ่อน

ในขณะเดียวกันเจ้าของแบรนด์ก็สร้างแบรนด์นี้ขึ้นเพื่อเป็นเหมือนที่หย่อนใจจากการงาน H.A.L.F

ทำเพราะสนุกและมีความสุข เมื่อไหร่ก็ตามที่รู้สึกเบื่อและหมดสนุกก็จะเลิกทำ 

เน้นความสุขในการทำมากกว่าจะมองหากำไร

ต่างไปจากการทำแบรนด์ที่ใครๆ ก็มองว่าต้องทำให้ต่อเนื่องเพื่อให้ลูกค้าจดจำตัวเรา และเพิ่มโอกาสในการขาย

แทนที่จะสื่อสารถึงคุณสมบัติของสินค้า บางครั้งเขาสื่อสารด้วยการบอกให้ลูกค้าอดทนรอ เพราะคนทำหมดแรงจากงานประจำ บ้างก็เป็นการอัพเดตว่าส่งมอบสินค้าล็อตแรกไปแล้ว แต่ล็อตถัดไปจะขอพักเบรกไปทำอย่างอื่นก่อน ถ้าใครสนใจสินค้ารุ่นนี้เพิ่มเติมขอให้ลงชื่อไว้ 

อาร์ตทำยังไงให้ H.A.L.F กลายเป็นสินค้าที่ขายหมดตั้งแต่ยังไม่ทันโพสต์ขาย ทำยังไงให้ใครๆ พร้อมใจกันรอเก้าอี้ชายหาดที่ต้องหาผ้าเหมาะๆ ให้เจอก่อนจึงจะเริ่มผลิต รอกระเป๋าที่อาจจะเสร็จช้าสักหน่อยเพราะเจ้าของมัวแต่วุ่นกับงานหลัก 

นี่คือ หลัก 4P+1 ที่เขายึดถือในการทำแบรนด์ที่ว่า

PRODUCT
ทำในสิ่งที่สนุก และคิดว่าทำได้

หากดูในอินสตาแกรมของ dotherhalf จะเห็นโพสต์แรกๆ ที่อาร์ตเคยเขียนอธิบายไว้ว่า H.A.L.F เริ่มต้นขึ้นมาตั้งแต่ปี 2015 แต่เขาบอกว่าตอนนั้นจะเรียกว่าแบรนด์ไหม ก็ไม่เชิง เพราะ H.A.L.F สำหรับเขาคืองานเสริมที่ทำแบบครึ่งๆ กลางๆ เน้นความสุขความสนุกที่ได้จากการทำมากกว่าจะหันมาทำเต็มตัว 

“H.A.L.F คือโปรเจกต์ระยะยาวที่ใช้ทดลองว่าเราชอบอะไร อะไรบ้างที่ไม่มีขายและเราอยากให้มี การทำพร็อพสไตลิสต์ ทำให้เราเจอสินค้าและความต้องการที่หลากหลาย มันเลยเหมือนได้เรียนรู้ไปด้วยในตัว เรียนรู้วิธีการคิดของลูกค้า เรียนรู้ตัวเราเองว่าจริงๆ แล้วเราชอบอะไร ถนัดอะไร การหาของก็เหมือนกับการสำรวจตลาดคร่าวๆ ว่ามันมีอะไรที่คนขายเยอะ อะไรที่หาให้ตายก็ไม่มี อะไรที่ควรจะลงทุนซื้อเก็บไว้

“เป็นเหมือนการพัฒนาโปรดักต์ที่ไม่ได้รีบเร่งจะส่งออกสู่ตลาด เพราะเราเชื่อว่ากว่าจะมีของที่ตัวเราเองชอบ และคนอื่นก็ชอบด้วยมันใช้เวลานาน และถ้าเราพัฒนาไปเรื่อยๆ แล้วมีจุดที่รู้สึกว่ามันยังไม่ดี ยังไม่ชอบ ก็อาจแปลได้ว่าสินค้านั้นๆ ถ้าปล่อยขายไปก็อาจจะอยู่ได้ไม่นาน”

H.A.L.F จึงเริ่มมาแบบทำๆ หยุดๆ ปรับปรุงและพัฒนาไปเรื่อยๆ อยากทำอะไรก็ค่อยๆ ทำทิ้งไว้ เหนื่อยก็พัก ถึงเวลา เจอจังหวะที่ใช่ อยากทำต่อก็หยิบกลับมาเคาะฝุ่นใหม่ปรับปรุงจนกว่าจะชอบ ด้วยจุดมุ่งหมายเล็กๆ ในใจว่าสิ่งนี้จะกลายมาเป็นโปรเจกต์ที่เขาสามารถหยิบมาทำได้หลังจากเกษียณ 

“ถึงเวลานั้นก็เหมือนเรามีโปรโตไทป์ตัวแบบอยู่แล้ว แค่หยิบอะไรสักอย่างนึงมาทำขาย ไม่ต้องทดลองอะไรมากมายแล้ว” เขาว่า

สินค้าส่วนใหญ่ก็เป็นสินค้าไลฟ์สไตล์มากกว่าจะไล่ตามเทรนด์ด้วย ยิ่งเมื่อเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการตกแต่งภายในหรืองานเฟอร์นิเจอร์ มันเลยเป็นของที่คนไม่ได้ซื้อกันบ่อยๆ ไม่ได้มีการเปลี่ยนเทรนด์กันทุกซีซั่น การทิ้งระยะเวลาแบบที่เขาทำจึงไม่ใช่ปัญหา

ในฐานะที่ทำอาชีพพร็อพสไตลิสต์ เขาบอกว่า “ของบางอย่างที่มันไม่มีก็ไม่มีเลย จะผ่านไป 5 ปี 10 ปี ก็ยังไม่มี อาจจะเพราะมันไม่คุ้มค่าหากต้องผลิตจำนวนมาก ตลาดมันอาจจะจำเพาะเจาะจงเกินไป เลยไม่มีใครลุกขึ้นมาทำ พอเราทำเอง เราก็ไม่คิดจะขายตลาดที่มันกว้างอยู่แล้ว ตรงนี้เลยอาจจะทำให้เรากล้าที่จะทำ เพราะไม่ได้คิดถึงผลกำไรมาตั้งแต่เริ่มต้นอยู่แล้ว”

อาร์ตอธิบายต่อว่าสินค้าของ H.A.L.F ไม่มีเจาะจงว่าจะเป็นสินค้าประเภทใด ทุกอย่างทำขึ้นตามใจผู้เป็นเจ้าของ บ้างก็เป็นเสื้อ เป็นกระเป๋า เป็นเก้าอี้ชายหาด โดยที่ทั้งหมดมีเงื่อนไขสำคัญในการผลิตคือต้องไม่มีกระบวนการทำที่ยากเกินกว่าที่เขาจะทำเองได้ และต้องไม่ใช้เวลาทั้งหมดของชีวิตในการทำ 

เขาจึงนิยามสินค้าของตัวเองว่าเป็นงานฮาล์ฟ เพราะเชื่อว่าของที่ตัวเองทำไม่ได้สวยและเนี้ยบระดับงานคราฟต์ งานฝีมือ แต่เป็นการนำของที่มีอยู่แล้วมาปรับปรุงให้ดีขึ้น

ที่สำคัญคือสินค้าตัวนั้นต้องสามารถแชร์ความรู้สึก และตัวตน ระหว่างเขากับคนใช้งานได้ 

เพราะแบบนี้สินค้าจาก H.A.L.F จึงมีน้อยชิ้น ทั้งจำนวนและประเภท เพราะหากไม่ผ่านเงื่อนไขที่ตั้งไว้ อาร์ตก็ขอไม่ทำดีกว่า

“ทั้งคนทำ คนใช้ มันต้องสนุกแล้วก็แชร์ไปด้วยกัน ต้องมีพื้นที่ที่ปล่อยให้ลูกค้าของเราไปสร้างคาแร็กเตอร์ให้ของที่เขาซื้อไป สมมติเราขายเสื้อผ้าแบบเดียวกัน แต่วิธีที่แต่ละคนใส่ก็ไม่เหมือนกันนะ เฟอร์นิเจอร์ก็เหมือนกันไปอยู่บ้านนึงก็เป็นอีกแบบนึง เพราะฉะนั้นเราก็ทำในส่วนของเราให้ดี ที่เหลือให้เขาไปสร้างมันขึ้นมา มันเหมือนการแชร์กันคนละครึ่ง 

“เราเน้นทำในกระบวนการที่เราทำได้ ทำด้วยมือเป็นหลัก ส่วนของโรงงานคือส่วนที่เราไม่ทำ เช่น เก้าอี้ชายหาดอันนี้ก็เป็นแบบที่มันมีขายอยู่แล้ว เราก็ไปซื้อมา ตัด เจาะใหม่ ทุกอย่างเพื่อให้เป็นเก้าอี้แบบนี้ เย็บผ้าทั้งหลาย ทำส่วนที่เป็นงานมือ แต่พวกงานไม้ งานหนักๆ ที่เราทำเองยังไงก็ไม่สวยก็ไม่ทำ ไม่รู้จะทำทำไมในเมื่อมีคนทำได้ดีกว่าเรา”

ที่เขาเลือกทางนี้ก็เพราะไม่อยากมีปัญหาเรื่องจำนวนการผลิต เรื่องการสต็อกสินค้าด้วย ไหนจะการคุยกับโรงงาน คุยกับช่างที่มีปัญหามากมายรอให้แก้ไข จนพานทำให้การทำงานมันไม่สนุก 

“พอไม่สนุกปุ๊บมันก็ผิดหลักการที่เราคิดไว้แต่แรก” เขาเล่าเคล้าเสียงหัวเราะ 

“เวลาเราคิดพัฒนาสินค้าส่วนใหญ่จะคิดให้มันมีอารมณ์ของการพักผ่อน เป็นสินค้าที่ใช้แล้วผ่อนคลาย สนุก ไม่เครียด แล้วก็เป็นสินค้าที่ไม่ได้ทำให้ชีวิตเขาลำบาก ต้องตั้งใจใช้”

อย่างเก้าอี้ชายหาดที่มีที่บังแดดอันนี้ ก็พัฒนามาจากว่าอาร์ตอยากได้เก้าอี้ชายหาดที่มีที่บังแดด แต่ในอินเทอร์เน็ตดันมีขายแค่ในประเทศอังกฤษ แถมยังเป็นแบบโบราณ ดั้งเดิม เป็นของที่ต้องดูแลมากเกินไป เขาเลยออกตามหาผ้า ซื้อมาทำเอง และพัฒนาอยู่หลายหน้าร้อนกว่าจะได้เป็นเก้าอี้ชายหาดที่พับได้ตรงใจ พร้อมค่อยๆ เติมดีเทลว่าเก้าอี้นี้ควรมีฟังก์ชั่นอะไรให้โดนใจผู้ใช้งานอีก

“ไปทะเลมีหนังสือหนึ่งเล่ม ควรมีที่เก็บหนังสือไหม อยากเอามือถือวางไว้ที่เก้าอี้ แต่วางแล้วร่วง งั้นเพิ่มช่องเก็บไหม จะได้วางทิ้งไว้เวลาอยากไปเข้าห้องน้ำได้” อาร์ตอธิบายวิธีการทำงาน ที่เกิดจากการค่อยๆ ใช้ ค่อยๆ เติมฟังก์ชั่น จนสุดท้ายก็เริ่มไปถูกใจใครบางคน

“นักเศรษฐศาสตร์หลายคนก็จะบอกว่า ไม่ใช่ว่าจะขายอะไร แต่ต้องรู้ก่อนว่าขายใคร แล้วค่อยทำของนั้นไปขายคนที่พร้อมที่จะซื้อของชิ้นนั้น

“เรารู้ว่าลูกค้าส่วนใหญ่ของเรามักเป็นคนที่ชอบเดินทางท่องเที่ยวอยู่แล้ว เขาอยากทำให้บ้านของเขามีอารมณ์ของการได้พักผ่อนตลอดเวลา อยากมีสักอย่างที่ทำให้การกลับมาบ้านมันผ่อนคลาย ได้รู้สึกว่าได้ไปเที่ยว ได้หลุดออกจากชีวิตในเมือง เล็กๆ น้อยๆ เขาก็พร้อมจ่าย”

PRICE & (NO) PROMOTION
ถึงเงินจะไม่ใช่เรื่องแรกที่คิดถึง แต่ก็เป็นสิ่งที่สมควรได้รับ

เท่าที่อาร์ตสังเกต ลูกค้าของเขาจะเป็นคนที่กล้าที่จะใช้เงิน หาข้อมูล เขารู้ว่าอะไรมีขายไม่มีขาย มันเลยไม่ได้ยาก และเพราะไม่ได้วางขายอย่างจริงจังเลยพานทำให้ H.A.L.F ไม่เคยจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขายใดๆ  

“เรื่องราคา คนที่เป็นลูกค้าเรามักเป็นคนที่ตั้งคำถามว่าทำไมของชิ้นนี้ขายถูกจัง ไม่ใช่แค่ของเรานะ แต่สมมติเขาเจอเสื้อตัวนึงอยู่ในไอจีแล้วมันดูดี เขาก็จะสงสัยแล้วทำไมขายราคานี้ได้ เพราะคนซื้อของก็คือคนซื้อของ เขาไม่ได้เพิ่งมาซื้อครั้งแรก เขารู้อยู่แล้วว่าราคาที่สมเหตุสมผลคือเท่าไหร่

“สำหรับเราของแพงมันคือของที่ซื้อไปแล้วไม่ได้ใช้ จ่ายหลักร้อยแต่ไม่ได้ใช้งาน มันก็เป็นของแพงได้ แต่อย่างเก้าอี้ถ้าเขาซื้อไปแล้วรู้สึกว่าทำให้บ้านผ่อนคลาย สบายตาขึ้นมา รู้สึกว่าของชิ้นนี้ให้อะไรบางอย่างกับเขา ทำงานเหนื่อยๆ แล้วได้นั่ง ได้มองก็มีความสุข ทำให้มีพลังไปทำอย่างอื่นที่มันมีมูลค่ากับชีวิตของเขาได้ มันก็ไม่ใช่ของแพง ต่อให้เขาซื้อมาแพงก็เถอะ”

ถึงอย่างนั้นวิธีการตั้งราคาของอาร์ตก็ยังเป็นไปตามวิธีการคิดราคาทั่วไป คือคูณเพิ่มจากต้นทุน โดยไม่ลืมบวกเติมราคาความสุข และคิดค่าเสียโอกาสที่ไม่ได้รับงานอื่นอีก 

“ตั้งราคาเอาที่เราไม่เหนื่อยฟรี” เขาว่า “ถ้าทำแล้วเสียเวลาเราก็ไม่รู้จะทำไปทำไม ต่อให้เรื่องเงินไม่ใช่เรื่องแรกของการทำงานนี้ มันก็ยังเป็นสิ่งที่สมควรได้รับ”

PLACE
ถ้ารู้ว่าลูกค้าคือใคร จะขายที่ไหน เมื่อไหร่ ก็มีคนพร้อมซื้อ

แม้ H.A.L.F จะก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาตั้งแต่ 2015 แต่อาร์ตกลับเพิ่งคิดจะเปิดอินสตาแกรมแยกออกมาในปีนี้ แถมสาเหตุก็ไม่ใช่เพราะอยากจะโฟกัสการขายให้จริงจังขึ้น แต่เป็นเพราะมีคนมาฟอลโลว์ในอินสตาแกรมส่วนตัวเยอะเกินไป

“สิ่งที่มันเปลี่ยนไปเลยของผู้บริโภคปัจจุบัน มันเป็นเรื่องการทำอะไรสักอย่างให้เข้ากับเขา ไม่ใช่การเอาเขาไปเข้ากับโปรดักต์ แม้กระทั่งเสื้อตัวนึง ซื้อมาตัวใหญ่ ก็ไม่เป็นไร ใส่โอเวอร์ไซส์ ตัวเล็กก็ไม่เป็นไร มีวิธีการใส่มากมาย เพราะฉะนั้นเราเลยคิดว่าวิธีการคิด ซื้อของของคนที่ซื้อของออนไลน์มันไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว ของไม่ได้สำคัญกับเขามากเท่าตัวตนของเขา

“เราไม่ได้อยากให้คนซื้อของเพราะไลฟ์สไตล์ของเรา อยากให้คนซื้อของเพราะมันเป็นสิ่งที่เขาอยากได้มากกว่า คนที่ซื้อของเราเขาไม่ต้องการการอินสไปร์ใช้ชีวิตจากเราแล้ว เขามีชีวิตของเขาอยู่แล้ว และหาของที่ไปเติมเต็มส่วนที่เขากำลังขาดอยู่มากกว่า ก็เลยไม่อยากเอาเรื่องส่วนตัวไปผูกกับสิ่งนี้มากเกินไป มันจะไปกระทบกับสิ่งที่เราบอกไว้แต่แรกว่า H.A.L.F คือมันต้องแชร์กัน ถ้าเราเอาคาแร็กเตอร์ของเราใส่ไปมากเกินไปมันจะไม่เหลือที่ให้ลูกค้า”

และถึงจะมีอินสตาแกรมของแบรนด์แล้ว แต่วิธีการขายก็ยังคล้ายเก่า 

ขาย แบบไม่ค่อยประกาศขาย

“ส่วนใหญ่เราจะโพสต์บอกแค่ว่าเดี๋ยวจะทำขายนะ แล้วลูกค้าก็มักจะเป็นคน DM มาเองว่าทำเมื่อไหร่ ขายหรือยัง จองเลยหนึ่งตัว พอครบห้าตัวปุ๊บเราก็จะบอกว่าหมดแล้วนะ ทีนี้มันก็จะมีคนที่รอได้ เราก็จะถามว่ารอได้ไหม แต่ยังไม่รู้นะว่าจะทำเมื่อไหร่ แต่ถ้ารอได้ก็จะทำ บางครั้งถ้าปล่อยให้เขารอจนถึงจุดที่เราคิดว่ามันนานเกินไปแล้วเราก็จะกลับมาถามใหม่ก่อนว่าเขายังอยากได้อยู่ไหม ถ้าอยากได้ก็จะทำ แต่ถ้าไม่อยากได้ก็ไม่เป็นไร ไม่ว่ากัน” 

PERSONAL
เป็นตัวเอง ลูกค้าก็จะรับรู้ถึงตัวตน

P สุดท้ายที่แบรนด์ตามใจฉันของอาร์ตให้ความสำคัญคือ Personal หรือตัวตนทั้งหมดของเขาที่แบ่งครึ่งไปแชร์กับลูกค้า 

“ตัวย่อของ H.A.L.F มาจาก Happiness, Art, Life และ Fassination มันเป็นแก่นของเราอยู่แล้ว แต่เราแค่ไม่เคยร่ายออกมาให้คนอื่นเข้าใจ แต่พอต้องทำไอจีขายของ มันก็ต้องแชร์กับคนซื้อของเราให้เข้าใจด้วยว่าทำไมบางครั้งเราไม่รีบทำ ทำๆ หยุดๆ หรือบางครั้งทำแล้วดูเหมือนไม่เสร็จ ทำแล้วดูเหมือนไปเอาของอย่างอื่นมาทำ มันต้องเคลียร์ตั้งแต่แรกให้เขาเข้าใจร่วมกัน” 

เพราะเขาเชื่อว่าสิ่งที่จะทำให้แบรนด์ต่อเนื่องไม่ใช่สินค้า แต่เป็นเรื่องความคิดเบื้องหลังที่หากคนได้เข้ามาติดตาม ซึมซาบไปพร้อมกัน ก็อาจทำให้เขารู้จักตัวตนของแบรนด์ และพร้อมที่จะซื้อสินค้าในอนาคต 

อาร์ตบอกว่าสินค้าภายในแบรนด์ H.A.L.F ล้วนถ่ายทอดมาจากตัวตนของเขาก็จริง แต่ความสุขอย่างนึงที่เขาได้จากการทำแบรนด์ก็คือการที่ของชิ้นนั้นไปสร้างความสุข สร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่นได้ต่อ 

“การทำแบรนด์นี้ขึ้นมา ทำให้เราได้ทำอย่างอื่นนอกเหนือจากงานประจำ ได้กระจายวงความคิดไปทำอย่างอื่นบ้าง รวมถึงได้แปลงความคิดออกมาเป็นสิ่งที่มันเป็นตัวตน จับต้องได้มากขึ้น เป็นเหมือนพื้นที่ที่ทำให้ความคิดสร้างสรรค์ไม่ตาย”

H.A.L.F ยังทำให้เขามองข้ามความสมบูรณ์แบบ รู้ตัวว่าตัวเองไม่ใช่ช่างมืออาชีพ จึงไม่มีทางทำของได้สมบูรณ์เทียบเท่ากับระบบโรงงาน 

“แบรนด์ของเราจึงยังเป็นแค่แบรนด์เล็กๆ แบบนี้ ทำเล็กๆ ก็ได้ แต่สิ่งที่ปล่อยผ่านไม่ได้เลยในการทำธุรกิจคือทุกสิ่งที่ทำต้องมีพื้นที่สนุกให้กับทั้งเราและลูกค้า”


ติดตามแบรนด์ H.A.L.F ได้ที่อินสตาแกรม dotherhalf

จะก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาตั้งแต่ 2015 แต่อาร์ตกลับเพิ่งคิดจะเปิดอินสตาแกรมแยกออกมาในปีนี้ แถมสาเหตุก็ไม่ใช่เพราะอยากจะโฟกัสการขายให้จริงจังขึ้น แต่เป็นเพราะมีคนมาฟอลโลว์ในอินสตาแกรมส่วนตัวเยอะเกินไป

“สิ่งที่มันเปลี่ยนไปเลยของผู้บริโภคปัจจุบัน มันเป็นเรื่องการทำอะไรสักอย่างให้เข้ากับเขา ไม่ใช่การเอาเขาไปเข้ากับโปรดักต์ แม้กระทั่งเสื้อตัวนึง ซื้อมาตัวใหญ่ ก็ไม่เป็นไร ใส่โอเวอร์ไซส์ ตัวเล็กก็ไม่เป็นไร มีวิธีการใส่มากมาย เพราะฉะนั้นเราเลยคิดว่าวิธีการคิด ซื้อของของคนที่ซื้อของออนไลน์มันไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว ของไม่ได้สำคัญกับเขามากเท่าตัวตนของเขา

“เราไม่ได้อยากให้คนซื้อของเพราะไลฟ์สไตล์ของเรา อยากให้คนซื้อของเพราะมันเป็นสิ่งที่เขาอยากได้มากกว่า คนที่ซื้อของเราเขาไม่ต้องการการอินสไปร์ใช้ชีวิตจากเราแล้ว เขามีชีวิตของเขาอยู่แล้ว และหาของที่ไปเติมเต็มส่วนที่เขากำลังขาดอยู่มากกว่า ก็เลยไม่อยากเอาเรื่องส่วนตัวไปผูกกับสิ่งนี้มากเกินไป มันจะไปกระทบกับสิ่งที่เราบอกไว้แต่แรกว่ามันต้องแชร์กัน ถ้าเราเอาคาแร็กเตอร์ของเราใส่ไปมากเกินไปมันจะไม่เหลือที่ให้ลูกค้า”

จะก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาตั้งแต่ 2015 แต่อาร์ตกลับเพิ่งคิดจะเปิดอินสตาแกรมแยกออกมาในปีนี้ แถมสาเหตุก็ไม่ใช่เพราะอยากจะโฟกัสการขายให้จริงจังขึ้น แต่เป็นเพราะมีคนมาฟอลโลว์ในอินสตาแกรมส่วนตัวเยอะเกินไป

“สิ่งที่มันเปลี่ยนไปเลยของผู้บริโภคปัจจุบัน มันเป็นเรื่องการทำอะไรสักอย่างให้เข้ากับเขา ไม่ใช่การเอาเขาไปเข้ากับโปรดักต์ แม้กระทั่งเสื้อตัวนึง ซื้อมาตัวใหญ่ ก็ไม่เป็นไร ใส่โอเวอร์ไซส์ ตัวเล็กก็ไม่เป็นไร มีวิธีการใส่มากมาย เพราะฉะนั้นเราเลยคิดว่าวิธีการคิด ซื้อของของคนที่ซื้อของออนไลน์มันไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว ของไม่ได้สำคัญกับเขามากเท่าตัวตนของเขา

“เราไม่ได้อยากให้คนซื้อของเพราะไลฟ์สไตล์ของเรา อยากให้คนซื้อของเพราะมันเป็นสิ่งที่เขาอยากได้มากกว่า คนที่ซื้อของเราเขาไม่ต้องการการอินสไปร์ใช้ชีวิตจากเราแล้ว เขามีชีวิตของเขาอยู่แล้ว และหาของที่ไปเติมเต็มส่วนที่เขากำลังขาดอยู่มากกว่า ก็เลยไม่อยากเอาเรื่องส่วนตัวไปผูกกับสิ่งนี้มากเกินไป มันจะไปกระทบกับสิ่งที่เราบอกไว้แต่แรกว่ามันต้องแชร์กัน ถ้าเราเอาคาแร็กเตอร์ของเราใส่ไปมากเกินไปมันจะไม่เหลือที่ให้ลูกค้า”

จะก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาตั้งแต่ 2015 แต่อาร์ตกลับเพิ่งคิดจะเปิดอินสตาแกรมแยกออกมาในปีนี้ แถมสาเหตุก็ไม่ใช่เพราะอยากจะโฟกัสการขายให้จริงจังขึ้น แต่เป็นเพราะมีคนมาฟอลโลว์ในอินสตาแกรมส่วนตัวเยอะเกินไป

“สิ่งที่มันเปลี่ยนไปเลยของผู้บริโภคปัจจุบัน มันเป็นเรื่องการทำอะไรสักอย่างให้เข้ากับเขา ไม่ใช่การเอาเขาไปเข้ากับโปรดักต์ แม้กระทั่งเสื้อตัวนึง ซื้อมาตัวใหญ่ ก็ไม่เป็นไร ใส่โอเวอร์ไซส์ ตัวเล็กก็ไม่เป็นไร มีวิธีการใส่มากมาย เพราะฉะนั้นเราเลยคิดว่าวิธีการคิด ซื้อของของคนที่ซื้อของออนไลน์มันไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว ของไม่ได้สำคัญกับเขามากเท่าตัวตนของเขา

“เราไม่ได้อยากให้คนซื้อของเพราะไลฟ์สไตล์ของเรา อยากให้คนซื้อของเพราะมันเป็นสิ่งที่เขาอยากได้มากกว่า คนที่ซื้อของเราเขาไม่ต้องการการอินสไปร์ใช้ชีวิตจากเราแล้ว เขามีชีวิตของเขาอยู่แล้ว และหาของที่ไปเติมเต็มส่วนที่เขากำลังขาดอยู่มากกว่า ก็เลยไม่อยากเอาเรื่องส่วนตัวไปผูกกับสิ่งนี้มากเกินไป มันจะไปกระทบกับสิ่งที่เราบอกไว้แต่แรกว่ามันต้องแชร์กัน ถ้าเราเอาคาแร็กเตอร์ของเราใส่ไปมากเกินไปมันจะไม่เหลือที่ให้ลูกค้า”

จะก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาตั้งแต่ 2015 แต่อาร์ตกลับเพิ่งคิดจะเปิดอินสตาแกรมแยกออกมาในปีนี้ แถมสาเหตุก็ไม่ใช่เพราะอยากจะโฟกัสการขายให้จริงจังขึ้น แต่เป็นเพราะมีคนมาฟอลโลว์ในอินสตาแกรมส่วนตัวเยอะเกินไป

“สิ่งที่มันเปลี่ยนไปเลยของผู้บริโภคปัจจุบัน มันเป็นเรื่องการทำอะไรสักอย่างให้เข้ากับเขา ไม่ใช่การเอาเขาไปเข้ากับโปรดักต์ แม้กระทั่งเสื้อตัวนึง ซื้อมาตัวใหญ่ ก็ไม่เป็นไร ใส่โอเวอร์ไซส์ ตัวเล็กก็ไม่เป็นไร มีวิธีการใส่มากมาย เพราะฉะนั้นเราเลยคิดว่าวิธีการคิด ซื้อของของคนที่ซื้อของออนไลน์มันไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว ของไม่ได้สำคัญกับเขามากเท่าตัวตนของเขา

“เราไม่ได้อยากให้คนซื้อของเพราะไลฟ์สไตล์ของเรา อยากให้คนซื้อของเพราะมันเป็นสิ่งที่เขาอยากได้มากกว่า คนที่ซื้อของเราเขาไม่ต้องการการอินสไปร์ใช้ชีวิตจากเราแล้ว เขามีชีวิตของเขาอยู่แล้ว และหาของที่ไปเติมเต็มส่วนที่เขากำลังขาดอยู่มากกว่า ก็เลยไม่อยากเอาเรื่องส่วนตัวไปผูกกับสิ่งนี้มากเกินไป มันจะไปกระทบกับสิ่งที่เราบอกไว้แต่แรกว่ามันต้องแชร์กัน ถ้าเราเอาคาแร็กเตอร์ของเราใส่ไปมากเกินไปมันจะไม่เหลือที่ให้ลูกค้า”

“สิ่งที่มันเปลี่ยนไปเลยของผู้บริโภคปัจจุบัน มันเป็นเรื่องการทำอะไรสักอย่างให้เข้ากับเขา ไม่ใช่การเอาเขาไปเข้ากับโปรดักต์ แม้กระทั่งเสื้อตัวนึง ซื้อมาตัวใหญ่ ก็ไม่เป็นไร ใส่โอเวอร์ไซส์ ตัวเล็กก็ไม่เป็นไร มีวิธีการใส่มากมาย เพราะฉะนั้นเราเลยคิดว่าวิธีการคิด ซื้อของของคนที่ซื้อของออนไลน์มันไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว ของไม่ได้สำคัญกับเขามากเท่าตัวตนของเขา

“เราไม่ได้อยากให้คนซื้อของเพราะไลฟ์สไตล์ของเรา อยากให้คนซื้อของเพราะมันเป็นสิ่งที่เขาอยากได้มากกว่า คนที่ซื้อของเราเขาไม่ต้องการการอินสไปร์ใช้ชีวิตจากเราแล้ว เขามีชีวิตของเขาอยู่แล้ว และหาของที่ไปเติมเต็มส่วนที่เขากำลังขาดอยู่มากกว่า ก็เลยไม่อยากเอาเรื่องส่วนตัวไปผูกกับสิ่งนี้มากเกินไป มันจะไปกระทบกับสิ่งที่เราบอกไว้แต่แรกว่ามันต้องแชร์กัน ถ้าเราเอาคาแร็กเตอร์ของเราใส่ไปมากเกินไปมันจะไม่เหลือที่ให้ลูกค้า”

จะก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาตั้งแต่ 2015 แต่อาร์ตกลับเพิ่งคิดจะเปิดอินสตาแกรมแยกออกมาในปีนี้ แถมสาเหตุก็ไม่ใช่เพราะอยากจะโฟกัสการขายให้จริงจังขึ้น แต่เป็นเพราะมีคนมาฟอลโลว์ในอินสตาแกรมส่วนตัวเยอะเกินไป

“สิ่งที่มันเปลี่ยนไปเลยของผู้บริโภคปัจจุบัน มันเป็นเรื่องการทำอะไรสักอย่างให้เข้ากับเขา ไม่ใช่การเอาเขาไปเข้ากับโปรดักต์ แม้กระทั่งเสื้อตัวนึง ซื้อมาตัวใหญ่ ก็ไม่เป็นไร ใส่โอเวอร์ไซส์ ตัวเล็กก็ไม่เป็นไร มีวิธีการใส่มากมาย เพราะฉะนั้นเราเลยคิดว่าวิธีการคิด ซื้อของของคนที่ซื้อของออนไลน์มันไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว ของไม่ได้สำคัญกับเขามากเท่าตัวตนของเขา

“เราไม่ได้อยากให้คนซื้อของเพราะไลฟ์สไตล์ของเรา อยากให้คนซื้อของเพราะมันเป็นสิ่งที่เขาอยากได้มากกว่า คนที่ซื้อของเราเขาไม่ต้องการการอินสไปร์ใช้ชีวิตจากเราแล้ว เขามีชีวิตของเขาอยู่แล้ว และหาของที่ไปเติมเต็มส่วนที่เขากำลังขาดอยู่มากกว่า ก็เลยไม่อยากเอาเรื่องส่วนตัวไปผูกกับสิ่งนี้มากเกินไป มันจะไปกระทบกับสิ่งที่เราบอกไว้แต่แรกว่ามันต้องแชร์กัน ถ้าเราเอาคาแร็กเตอร์ของเราใส่ไปมากเกินไปมันจะไม่เหลือที่ให้ลูกค้า”

จะก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาตั้งแต่ 2015 แต่อาร์ตกลับเพิ่งคิดจะเปิดอินสตาแกรมแยกออกมาในปีนี้ แถมสาเหตุก็ไม่ใช่เพราะอยากจะโฟกัสการขายให้จริงจังขึ้น แต่เป็นเพราะมีคนมาฟอลโลว์ในอินสตาแกรมส่วนตัวเยอะเกินไป

“สิ่งที่มันเปลี่ยนไปเลยของผู้บริโภคปัจจุบัน มันเป็นเรื่องการทำอะไรสักอย่างให้เข้ากับเขา ไม่ใช่การเอาเขาไปเข้ากับโปรดักต์ แม้กระทั่งเสื้อตัวนึง ซื้อมาตัวใหญ่ ก็ไม่เป็นไร ใส่โอเวอร์ไซส์ ตัวเล็กก็ไม่เป็นไร มีวิธีการใส่มากมาย เพราะฉะนั้นเราเลยคิดว่าวิธีการคิด ซื้อของของคนที่ซื้อของออนไลน์มันไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว ของไม่ได้สำคัญกับเขามากเท่าตัวตนของเขา

“เราไม่ได้อยากให้คนซื้อของเพราะไลฟ์สไตล์ของเรา อยากให้คนซื้อของเพราะมันเป็นสิ่งที่เขาอยากได้มากกว่า คนที่ซื้อของเราเขาไม่ต้องการการอินสไปร์ใช้ชีวิตจากเราแล้ว เขามีชีวิตของเขาอยู่แล้ว และหาของที่ไปเติมเต็มส่วนที่เขากำลังขาดอยู่มากกว่า ก็เลยไม่อยากเอาเรื่องส่วนตัวไปผูกกับสิ่งนี้มากเกินไป มันจะไปกระทบกับสิ่งที่เราบอกไว้แต่แรกว่ามันต้องแชร์กัน ถ้าเราเอาคาแร็กเตอร์ของเราใส่ไปมากเกินไปมันจะไม่เหลือที่ให้ลูกค้า”

ชวนสองพี่น้องผู้ก่อตั้งแบรนด์ KEEPS หยิบชุดที่เป็นที่สุดของ KEEPS มาใส่ตระกร้า

KEEPS

KEEPS add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

KEEPS

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

Day 1 ของ ICCP ธุรกิจที่นำ MT Tape, Midori, penco และเครื่องเขียนคุณภาพเข้ามาในไทย

ICCP

ICCP Day 1 คือรายการพ็อดแคสต์เล่าเรื่องธุรกิจจาก Salmon Podcast และ Capital ที่พาไปพบกับวันแรกของการลุกมาทำบางสิ่งบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือการปรับธุรกิจเพราะอยากทำธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น ขายดีขึ้น เป้าหมายที่เคยมีใหญ่ขึ้น หรืออยากให้คนทำงานมีความสุขมากขึ้น

ก่อนหน้านี้ รายการ Day 1 เคยจัดอยู่ที่ Salmon Podcast แต่กลับมารอบนี้ Day 1 ย้ายมาอยู่ภายใต้บ้านใหม่ ในสถานีพ็อดแคสต์ ‘Capital Listen’ ซึ่งจะเผยแพร่ผ่าน Capital อย่างที่ทุกคนเห็นอยู่นี้

เราเชื่อว่า business ไม่ได้สร้างเสร็จภายใน one day การย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นและดูเส้นทางการเติบโตจนสำเร็จของธุรกิจต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่คนทำธุรกิจคนอื่นน่าเรียนรู้ และเอาไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Day 1 หรือวันไหนๆ ของธุรกิจก็ตาม

Day 1 คือรายการพ็อดแคสต์เล่าเรื่องธุรกิจจาก Salmon Podcast และ Capital ที่พาไปพบกับวันแรกของการลุกมาทำบางสิ่งบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือการปรับธุรกิจเพราะอยากทำธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น ขายดีขึ้น เป้าหมายที่เคยมีใหญ่ขึ้น หรืออยากให้คนทำงานมีความสุขมากขึ้น

ก่อนหน้านี้ รายการ Day 1 เคยจัดอยู่ที่ Salmon Podcast แต่กลับมารอบนี้ Day 1 ย้ายมาอยู่ภายใต้บ้านใหม่ ในสถานีพ็อดแคสต์ ‘Capital Listen’ ซึ่งจะเผยแพร่ผ่าน Capital อย่างที่ทุกคนเห็นอยู่นี้

เราเชื่อว่า business ไม่ได้สร้างเสร็จภายใน one day การย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นและดูเส้นทางการเติบโตจนสำเร็จของธุรกิจต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่คนทำธุรกิจคนอื่นน่าเรียนรู้ และเอาไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Day 1 หรือวันไหนๆ ของธุรกิจก็ตาม

Day 1 คือรายการพ็อดแคสต์เล่าเรื่องธุรกิจจาก Salmon Podcast และ Capital ที่พาไปพบกับวันแรกของการลุกมาทำบางสิ่งบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือการปรับธุรกิจเพราะอยากทำธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น ขายดีขึ้น เป้าหมายที่เคยมีใหญ่ขึ้น หรืออยากให้คนทำงานมีความสุขมากขึ้น

ก่อนหน้านี้ รายการ Day 1 เคยจัดอยู่ที่ Salmon Podcast แต่กลับมารอบนี้ Day 1 ย้ายมาอยู่ภายใต้บ้านใหม่ ในสถานีพ็อดแคสต์ ‘Capital Listen’ ซึ่งจะเผยแพร่ผ่าน Capital อย่างที่ทุกคนเห็นอยู่นี้

เราเชื่อว่า business ไม่ได้สร้างเสร็จภายใน one day การย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นและดูเส้นทางการเติบโตจนสำเร็จของธุรกิจต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่คนทำธุรกิจคนอื่นน่าเรียนรู้ และเอาไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Day 1 หรือวันไหนๆ ของธุรกิจก็ตาม

Day 1 คือรายการพ็อดแคสต์เล่าเรื่องธุรกิจจาก Salmon Podcast และ Capital ที่พาไปพบกับวันแรกของการลุกมาทำบางสิ่งบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือการปรับธุรกิจเพราะอยากทำธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น ขายดีขึ้น เป้าหมายที่เคยมีใหญ่ขึ้น หรืออยากให้คนทำงานมีความสุขมากขึ้น

ก่อนหน้านี้ รายการ Day 1 เคยจัดอยู่ที่ Salmon Podcast แต่กลับมารอบนี้ Day 1 ย้ายมาอยู่ภายใต้บ้านใหม่ ในสถานีพ็อดแคสต์ ‘Capital Listen’ ซึ่งจะเผยแพร่ผ่าน Capital อย่างที่ทุกคนเห็นอยู่นี้

เราเชื่อว่า business ไม่ได้สร้างเสร็จภายใน one day การย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นและดูเส้นทางการเติบโตจนสำเร็จของธุรกิจต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่คนทำธุรกิจคนอื่นน่าเรียนรู้ และเอาไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Day 1 หรือวันไหนๆ ของธุรกิจก็ตาม

Day 1 คือรายการพ็อดแคสต์เล่าเรื่องธุรกิจจาก Salmon Podcast และ Capital ที่พาไปพบกับวันแรกของการลุกมาทำบางสิ่งบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือการปรับธุรกิจเพราะอยากทำธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น ขายดีขึ้น เป้าหมายที่เคยมีใหญ่ขึ้น หรืออยากให้คนทำงานมีความสุขมากขึ้น

ก่อนหน้านี้ รายการ Day 1 เคยจัดอยู่ที่ Salmon Podcast แต่กลับมารอบนี้ Day 1 ย้ายมาอยู่ภายใต้บ้านใหม่ ในสถานีพ็อดแคสต์ ‘Capital Listen’ ซึ่งจะเผยแพร่ผ่าน Capital อย่างที่ทุกคนเห็นอยู่นี้

เราเชื่อว่า business ไม่ได้สร้างเสร็จภายใน one day การย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นและดูเส้นทางการเติบโตจนสำเร็จของธุรกิจต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่คนทำธุรกิจคนอื่นน่าเรียนรู้ และเอาไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Day 1 หรือวันไหนๆ ของธุรกิจก็ตาม

Day 1 คือรายการพ็อดแคสต์เล่าเรื่องธุรกิจจาก Salmon Podcast และ Capital ที่พาไปพบกับวันแรกของการลุกมาทำบางสิ่งบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือการปรับธุรกิจเพราะอยากทำธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น ขายดีขึ้น เป้าหมายที่เคยมีใหญ่ขึ้น หรืออยากให้คนทำงานมีความสุขมากขึ้น

ก่อนหน้านี้ รายการ Day 1 เคยจัดอยู่ที่ Salmon Podcast แต่กลับมารอบนี้ Day 1 ย้ายมาอยู่ภายใต้บ้านใหม่ ในสถานีพ็อดแคสต์ ‘Capital Listen’ ซึ่งจะเผยแพร่ผ่าน Capital อย่างที่ทุกคนเห็นอยู่นี้

เราเชื่อว่า business ไม่ได้สร้างเสร็จภายใน one day การย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นและดูเส้นทางการเติบโตจนสำเร็จของธุรกิจต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่คนทำธุรกิจคนอื่นน่าเรียนรู้ และเอาไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Day 1 หรือวันไหนๆ ของธุรกิจก็ตาม

ICCP

Day 1 คือรายการพ็อดแคสต์เล่าเรื่องธุรกิจจาก Salmon Podcast และ Capital ที่พาไปพบกับวันแรกของการลุกมาทำบางสิ่งบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือการปรับธุรกิจเพราะอยากทำธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น ขายดีขึ้น เป้าหมายที่เคยมีใหญ่ขึ้น หรืออยากให้คนทำงานมีความสุขมากขึ้น

ก่อนหน้านี้ รายการ Day 1 เคยจัดอยู่ที่ Salmon Podcast แต่กลับมารอบนี้ Day 1 ย้ายมาอยู่ภายใต้บ้านใหม่ ในสถานีพ็อดแคสต์ ‘Capital Listen’ ซึ่งจะเผยแพร่ผ่าน Capital อย่างที่ทุกคนเห็นอยู่นี้

เราเชื่อว่า business ไม่ได้สร้างเสร็จภายใน one day การย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นและดูเส้นทางการเติบโตจนสำเร็จของธุรกิจต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่คนทำธุรกิจคนอื่นน่าเรียนรู้ และเอาไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Day 1 หรือวันไหนๆ ของธุรกิจก็ตาม

ความผิดพลาดครั้งใหญ่ที่ทำให้ป๊อปอายต้องกินผักโขม และธุรกิจผักโขมขายดีขึ้น 33%

ป๊อปอาย

ป๊อปอาย Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว คือรายการธุรกิจอาหารโดย Capital และ Salmon Podcast ที่จะพาเข้าหลังร้านไปสำรวจแนวคิดทางการตลาดของจักรวาลธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร แฟรนไชส์ ขนม เครื่องดื่ม เครื่องปรุง ไล่ลามไปถึงเครื่องครัวและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอาหารทั้งสเกลเล็ก กลาง ใหญ่

รายการนี้ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่ มณีเนตร วรชนะนันท์ อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย และหญิงสาวผู้หลงรักอาหาร ที่จะทำให้ผู้ฟังอร่อยที่ฟังแล้วท้องหิวแต่อิ่มไปกับเคล็ดและเคสการตลาด

Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว คือรายการธุรกิจอาหารโดย Capital และ Salmon Podcast ที่จะพาเข้าหลังร้านไปสำรวจแนวคิดทางการตลาดของจักรวาลธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร แฟรนไชส์ ขนม เครื่องดื่ม เครื่องปรุง ไล่ลามไปถึงเครื่องครัวและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอาหารทั้งสเกลเล็ก กลาง ใหญ่

รายการนี้ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่ มณีเนตร วรชนะนันท์ อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย และหญิงสาวผู้หลงรักอาหาร ที่จะทำให้ผู้ฟังอร่อยที่ฟังแล้วท้องหิวแต่อิ่มไปกับเคล็ดและเคสการตลาด

Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว คือรายการธุรกิจอาหารโดย Capital และ Salmon Podcast ที่จะพาเข้าหลังร้านไปสำรวจแนวคิดทางการตลาดของจักรวาลธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร แฟรนไชส์ ขนม เครื่องดื่ม เครื่องปรุง ไล่ลามไปถึงเครื่องครัวและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอาหารทั้งสเกลเล็ก กลาง ใหญ่

รายการนี้ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่ มณีเนตร วรชนะนันท์ อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย และหญิงสาวผู้หลงรักอาหาร ที่จะทำให้ผู้ฟังอร่อยที่ฟังแล้วท้องหิวแต่อิ่มไปกับเคล็ดและเคสการตลาด

Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว คือรายการธุรกิจอาหารโดย Capital และ Salmon Podcast ที่จะพาเข้าหลังร้านไปสำรวจแนวคิดทางการตลาดของจักรวาลธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร แฟรนไชส์ ขนม เครื่องดื่ม เครื่องปรุง ไล่ลามไปถึงเครื่องครัวและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอาหารทั้งสเกลเล็ก กลาง ใหญ่

รายการนี้ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่ มณีเนตร วรชนะนันท์ อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย และหญิงสาวผู้หลงรักอาหาร ที่จะทำให้ผู้ฟังอร่อยที่ฟังแล้วท้องหิวแต่อิ่มไปกับเคล็ดและเคสการตลาด

Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว คือรายการธุรกิจอาหารโดย Capital และ Salmon Podcast ที่จะพาเข้าหลังร้านไปสำรวจแนวคิดทางการตลาดของจักรวาลธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร แฟรนไชส์ ขนม เครื่องดื่ม เครื่องปรุง ไล่ลามไปถึงเครื่องครัวและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอาหารทั้งสเกลเล็ก กลาง ใหญ่

รายการนี้ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่ มณีเนตร วรชนะนันท์ อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย และหญิงสาวผู้หลงรักอาหาร ที่จะทำให้ผู้ฟังอร่อยที่ฟังแล้วท้องหิวแต่อิ่มไปกับเคล็ดและเคสการตลาด

Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว คือรายการธุรกิจอาหารโดย Capital และ Salmon Podcast ที่จะพาเข้าหลังร้านไปสำรวจแนวคิดทางการตลาดของจักรวาลธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร แฟรนไชส์ ขนม เครื่องดื่ม เครื่องปรุง ไล่ลามไปถึงเครื่องครัวและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอาหารทั้งสเกลเล็ก กลาง ใหญ่

รายการนี้ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่ มณีเนตร วรชนะนันท์ อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย และหญิงสาวผู้หลงรักอาหาร ที่จะทำให้ผู้ฟังอร่อยที่ฟังแล้วท้องหิวแต่อิ่มไปกับเคล็ดและเคสการตลาด

Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว คือรายการธุรกิจอาหารโดย Capital และ Salmon Podcast ที่จะพาเข้าหลังร้านไปสำรวจแนวคิดทางการตลาดของจักรวาลธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร แฟรนไชส์ ขนม เครื่องดื่ม เครื่องปรุง ไล่ลามไปถึงเครื่องครัวและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอาหารทั้งสเกลเล็ก กลาง ใหญ่

รายการนี้ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่ มณีเนตร วรชนะนันท์ อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย และหญิงสาวผู้หลงรักอาหาร ที่จะทำให้ผู้ฟังอร่อยที่ฟังแล้วท้องหิวแต่อิ่มไปกับเคล็ดและเคสการตลาด

Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว คือรายการธุรกิจอาหารโดย Capital และ Salmon Podcast ที่จะพาเข้าหลังร้านไปสำรวจแนวคิดทางการตลาดของจักรวาลธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร แฟรนไชส์ ขนม เครื่องดื่ม เครื่องปรุง ไล่ลามไปถึงเครื่องครัวและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอาหารทั้งสเกลเล็ก กลาง ใหญ่

รายการนี้ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่ มณีเนตร วรชนะนันท์ อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย และหญิงสาวผู้หลงรักอาหาร ที่จะทำให้ผู้ฟังอร่อยที่ฟังแล้วท้องหิวแต่อิ่มไปกับเคล็ดและเคสการตลาด