Cash (Flow) Landing on You การวางแผนกระแสเงินสดและเรื่องที่ผู้ประกอบการควรรู้

Cash Flow Landing on You การวางแผนกระแสเงินสดและเรื่องที่ผู้ประกอบการควรรู้ นอกจากจะทำให้เรื่องธุรกิจเป็นเรื่องใกล้ตัว Capital อยากทำให้เรื่องวางแผนทางเงินและการลงทุนเป็นเรื่องง่าย เป็นมิตร ไปจนถึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่หล่อเลี้ยงธุรกิจให้ไปต่อ

Cash Flow Landing on You การวางแผนกระแสเงินสดและเรื่องที่ผู้ประกอบการควรรู้ WEALTH DONE คือ คอลัมน์ที่อยากผลักดันให้คนหันมาวางแผนการเงิน ผ่านตอบคำถามเรื่องการเงินและการลงทุน โดย สุวภา เจริญยิ่ง นักการเงินมากประสบการณ์ ผู้เป็นทั้งกรรมการอิสระในบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่ง เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เป็นอุปนายกสมาคมนักวางแผนทางการเงินไทย เป็นคุณครู เป็นนักเขียน และล่าสุดเป็นคอลัมนิสต์ของ Capital ที่จะมาพบผู้อ่าน ทุกวันพฤหัสบดี เว้นวันพฤหัสบดี ที่ capitalread.co เริ่มตอนแรกวันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม

หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องการเงินการลงทุนที่เกิดขึ้นรอบตัวและสงสัยใคร่รู้เป็นพิเศษ ส่งมาบอกพวกเราชาว Capital ได้ที่ [email protected] หรือทุกช่องทางโซเชียลมีเดียของ Capital ระหว่างนี้ ตามไปทำความรู้จักคอลัมนิสต์คนใหม่ของเราได้ที่ บทสัมภาษณ์ตอนล่าสุดของคอลัมน์ ณ บัตรนั้น

นอกจากจะทำให้เรื่องธุรกิจเป็นเรื่องใกล้ตัว Capital อยากทำให้เรื่องวางแผนทางเงินและการลงทุนเป็นเรื่องง่าย เป็นมิตร ไปจนถึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่หล่อเลี้ยงธุรกิจให้ไปต่อ

WEALTH DONE คือ คอลัมน์ที่อยากผลักดันให้คนหันมาวางแผนการเงิน ผ่านตอบคำถามเรื่องการเงินและการลงทุน โดย สุวภา เจริญยิ่ง นักการเงินมากประสบการณ์ ผู้เป็นทั้งกรรมการอิสระในบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่ง เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เป็นอุปนายกสมาคมนักวางแผนทางการเงินไทย

หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องการเงินการลงทุนที่เกิดขึ้นรอบตัวและสงสัยใคร่รู้เป็นพิเศษ ส่งมาบอกพวกเราชาว Capital ได้ที่ [email protected] หรือทุกช่องทางโซเชียลมีเดียของ Capital ระหว่างนี้ ตามไปทำความรู้จักคอลัมนิสต์คนใหม่ของเราได้ที่ บทสัมภาษณ์ตอนล่าสุดของคอลัมน์ ณ บัตรนั้น

นอกจากจะทำให้เรื่องธุรกิจเป็นเรื่องใกล้ตัว Capital อยากทำให้เรื่องวางแผนทางเงินและการลงทุนเป็นเรื่องง่าย เป็นมิตร ไปจนถึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่หล่อเลี้ยงธุรกิจให้ไปต่อ

WEALTH DONE คือ คอลัมน์ที่อยากผลักดันให้คนหันมาวางแผนการเงิน ผ่านตอบคำถามเรื่องการเงินและการลงทุน โดย สุวภา เจริญยิ่ง นักการเงินมากประสบการณ์ ผู้เป็นทั้งกรรมการอิสระในบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่ง เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน

หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องการเงินการลงทุนที่เกิดขึ้นรอบตัวและสงสัยใคร่รู้เป็นพิเศษ ส่งมาบอกพวกเราชาว Capital ได้ที่ [email protected] หรือทุกช่องทางโซเชียลมีเดียของ Capital ระหว่างนี้ ตามไปทำความรู้จักคอลัมนิสต์คนใหม่ของเราได้ที่ บทสัมภาษณ์ตอนล่าสุดของคอลัมน์ ณ บัตรนั้น

นอกจากจะทำให้เรื่องธุรกิจเป็นเรื่องใกล้ตัว Capital อยากทำให้เรื่องวางแผนทางเงินและการลงทุนเป็นเรื่องง่าย เป็นมิตร ไปจนถึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่หล่อเลี้ยงธุรกิจให้ไปต่อ

WEALTH DONE คือ คอลัมน์ที่อยากผลักดันให้คนหันมาวางแผนการเงิน ผ่านตอบคำถามเรื่องการเงินและการลงทุน โดย สุวภา เจริญยิ่ง นักการเงินมากประสบการณ์ ผู้เป็นทั้งกรรมการอิสระในบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่ง เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน

หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องการเงินการลงทุนที่เกิดขึ้นรอบตัวและสงสัยใคร่รู้เป็นพิเศษ ส่งมาบอกพวกเราชาว Capital ได้ที่ [email protected] หรือทุกช่องทางโซเชียลมีเดียของ Capital ระหว่างนี้ ตามไปทำความรู้จักคอลัมนิสต์คนใหม่ของเราได้ที่ บทสัมภาษณ์ตอนล่าสุดของคอลัมน์ ณ บัตรนั้น

นอกจากจะทำให้เรื่องธุรกิจเป็นเรื่องใกล้ตัว Capital อยากทำให้เรื่องวางแผนทางเงินและการลงทุนเป็นเรื่องง่าย เป็นมิตร ไปจนถึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่หล่อเลี้ยงธุรกิจให้ไปต่อ

คอลัมน์ที่อยากผลักดันให้คนหันมาวางแผนการเงิน ผ่านตอบคำถามเรื่องการเงินและการลงทุน โดย สุวภา เจริญยิ่ง นักการเงินมากประสบการณ์ ผู้เป็นทั้งกรรมการอิสระในบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่ง เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เป็นอุปนายกสมาคมนักวางแผนทางการเงินไทย

หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องการเงินการลงทุนที่เกิดขึ้นรอบตัวและสงสัยใคร่รู้เป็นพิเศษ ส่งมาบอกพวกเราชาว Capital ได้ที่ [email protected] หรือทุกช่องทางโซเชียลมีเดียของ Capital ระหว่างนี้ ตามไปทำความรู้จักคอลัมนิสต์คนใหม่ของเราได้ที่ บทสัมภาษณ์ตอนล่าสุดของคอลัมน์ ณ บัตรนั้น

นอกจากจะทำให้เรื่องธุรกิจเป็นเรื่องใกล้ตัว Capital อยากทำให้เรื่องวางแผนทางเงินและการลงทุนเป็นเรื่องง่าย เป็นมิตร ไปจนถึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่หล่อเลี้ยงธุรกิจให้ไปต่อ

คอลัมน์ที่อยากผลักดันให้คนหันมาวางแผนการเงิน ผ่านตอบคำถามเรื่องการเงินและการลงทุน โดย สุวภา เจริญยิ่ง นักการเงินมากประสบการณ์ ผู้เป็นทั้งกรรมการอิสระในบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่ง เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เป็นอุปนายกสมาคมนักวางแผนทางการเงินไทย เป็นคุณครู เป็นนักเขียน และล่าสุดเป็นคอลัมนิสต์ของ Capital ที่จะมาพบผู้อ่าน ทุกวันพฤหัสบดี เว้นวันพฤหัสบดี ที่ capitalread.co เริ่มตอนแรกวันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม

หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องการเงินการลงทุนที่เกิดขึ้นรอบตัวและสงสัยใคร่รู้เป็นพิเศษ ส่งมาบอกพวกเราชาว Capital ได้ที่ [email protected] หรือทุกช่องทางโซเชียลมีเดียของ Capital ระหว่างนี้ ตามไปทำความรู้จักคอลัมนิสต์คนใหม่ของเราได้ที่ บทสัมภาษณ์ตอนล่าสุดของคอลัมน์ ณ บัตรนั้น

นอกจากจะทำให้เรื่องธุรกิจเป็นเรื่องใกล้ตัว Capital อยากทำให้เรื่องวางแผนทางเงินและการลงทุนเป็นเรื่องง่าย เป็นมิตร ไปจนถึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่หล่อเลี้ยงธุรกิจให้ไปต่อ

คอลัมน์ที่อยากผลักดันให้คนหันมาวางแผนการเงิน ผ่านตอบคำถามเรื่องการเงินและการลงทุน โดย สุวภา เจริญยิ่ง นักการเงินมากประสบการณ์ ผู้เป็นทั้งกรรมการอิสระในบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่ง เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เป็นอุปนายกสมาคมนักวางแผนทางการเงินไทย เป็นคุณครู เป็นนักเขียน และล่าสุดเป็นคอลัมนิสต์ของ Capital ที่จะมาพบผู้อ่าน ทุกวันพฤหัสบดี เว้นวันพฤหัสบดี ที่ capitalread.co เริ่มตอนแรกวันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม

หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องการเงินการลงทุนที่เกิดขึ้นรอบตัวและสงสัยใคร่รู้เป็นพิเศษ ส่งมาบอกพวกเราชาว Capital ได้ที่ [email protected] หรือทุกช่องทางโซเชียลมีเดียของ Capital ระหว่างนี้ ตามไปทำความรู้จักคอลัมนิสต์คนใหม่ของเราได้ที่ บทสัมภาษณ์ตอนล่าสุดของคอลัมน์ ณ บัตรนั้น

นอกจากจะทำให้เรื่องธุรกิจเป็นเรื่องใกล้ตัว Capital อยากทำให้เรื่องวางแผนทางเงินและการลงทุนเป็นเรื่องง่าย เป็นมิตร ไปจนถึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่หล่อเลี้ยงธุรกิจให้ไปต่อ

คอลัมน์ที่อยากผลักดันให้คนหันมาวางแผนการเงิน ผ่านตอบคำถามเรื่องการเงินและการลงทุน โดย สุวภา เจริญยิ่ง นักการเงินมากประสบการณ์ ผู้เป็นทั้งกรรมการอิสระในบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่ง เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เป็นอุปนายกสมาคมนักวางแผนทางการเงินไทย เป็นคุณครู เป็นนักเขียน และล่าสุดเป็นคอลัมนิสต์ของ Capital ที่จะมาพบผู้อ่าน ทุกวันพฤหัสบดี เว้นวันพฤหัสบดี ที่ capitalread.co เริ่มตอนแรกวันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม

BeNeat บริการแม่บ้านมืออาชีพ กับการทำสุดหัวใจ ความเชื่อที่ทำให้ลูกค้ารักและสตาร์ทอัพอยู่ได้

BeNeat คือสตาร์ทอัพที่ช่วยค้นหาแม่บ้านคุณภาพใกล้ตัวคุณจากหัวเมืองเชียงใหม่ ทำหน้าที่เป็นระบบออนไลน์ที่เชื่อมโยงระหว่างชุมชนแม่บ้านมืออาชีพและคุณลูกค้าที่ต้องการใช้บริการทำความสะอาดทั้งแบบรายวัน รายชั่วโมง ไปจนถึงรายเดือน โดยมีเป้าหมายคือการสร้างชุมชนของผู้ให้บริการทำความสะอาดที่มีความน่าเชื่อถือและเป็นมืออาชีพ

ผู้อยู่เบื้องหลังของแพลตฟอร์มที่ว่านี้คือ ฮู้ด–อานนท์ น้อยอ่ำ, ปุ้ม–ปรียลักษณ์ น้อยอ่ำ และต้น–คมคิด ชัชราภรณ์ สามสมาชิกที่มาเจอกันได้เพราะการเป็นโฮสต์ Airbnb  

อะไรทำให้วิศวกรและเดเวอลอปเปอร์มาจับมือกันและพัฒนาสตาร์ทอัพตัวนี้ขึ้นมา Airbnb เกี่ยวอะไรกับแอปพลิเคชั่นเรียกแม่บ้าน และพวกเขาใช้ความเชื่ออะไรมาขับเคลื่อนสตาร์ทอัพให้สำเร็จ 

CEO ของ BeNeat จะเผยให้หมดเปลือก

How to be a Successful Start Up 

01 – หาปัญหาให้เจอ 

จุดเริ่มต้นของ BeNeat มาจากสตาร์ทอัพด้านที่พักอย่าง Airbnb

ฟาวน์เดอร์ทั้งสามคนเริ่มจากการเป็นโฮสต์ Airbnb ในหัวเมืองต่างจังหวัด ก่อนมาเจอกันในกลุ่ม Airbnb Host Thailand ที่คมคิดเป็นแอดมินก่อตั้งกลุ่ม 

นอกจากจะเป็นพื้นที่แชร์ปัญหา และแนะนำข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับการเป็นโฮสต์ สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นในกลุ่มแทบไม่เว้นแต่ละวัน คือโพสต์ที่สมาชิกจะมาระบายเกี่ยวกับปัญหาแม่บ้าน ทั้งการหาแม่บ้านไม่ได้ หรือแม่บ้านมาไม่ตรงเวลา

“พอความถี่เกิดขึ้นบ่อยๆ ทุกวัน เราก็เริ่มเห็นว่าปัญหาเรื่องแม่บ้านมันมีโพเทนเชียล มันน่าจะมีวิธีการแก้ปัญหาที่ดีขึ้นกว่าการหาแม่บ้านไม่ได้ก็ไปทำเอง หรือไปจ้างแม่บ้านที่ราคาสูงขึ้น ซึ่งอาจเจอปัญหาโดนเทอีก เราเลยมาคุยกับคุณอานนท์ว่ามันมีปัญหานี้เกิดขึ้นในกลุ่ม ลองเอาปัญหานี้ไปทำธุรกิจดูดีไหม” คมคิดผู้เป็นเดเวอลอปเปอร์เล่าย้อนถึงไอเดียตั้งต้นโดยมีอานนท์ช่วยเสริม 

เขาเห็นตรงกันว่าที่หลายๆ คนมาเป็นโฮสต์ Airbnb เป็นเพราะอยากได้ passive income แต่งานแม่บ้านกลับไม่ใช่งานที่ passive เลย เพราะบางครั้งหากหาแม่บ้านไม่ได้โฮสต์ก็ต้องเป็นคนไปทำเอง ควบคุมเอง ดังนั้นหากเขาสามารถหาผู้ให้บริการที่มีความเป็นมืออาชีพ ตรงต่อเวลา ทำความสะอาดเนี้ยบกริบ ได้มาตรฐานระดับโรงแรม และมีกริยามารยาทที่ดีเผื่อต้องเจอแขก ถ้าพัฒนาโปรดักต์มาตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ ยังไงไอเดียนี้ก็น่าจะไปต่อได้

“ถ้าไอเดียที่คิดร่วมกันมันเป็นปัญหาที่ใหญ่พอ มันต้องมีลูกค้า” เขาว่า

02 – คว้าลูกค้ารายแรกให้ได้

เพราะมีประสบการณ์ที่ไม่ค่อยดีนักมาตั้งแต่ตอนเริ่มทำสตาร์ทอัพอันก่อนหน้า เมื่อต่างคนต่างจับมือว่าจะลงเรือลำเดียวกัน สิ่งสำคัญที่พวกเขามองว่าต้องทำให้ได้ในระยะเวลา 1 เดือนแรกคือต้องพัฒนาโปรดักต์ออกมาได้จริง และคว้า First Dollar หรือทำเงินก้อนแรกให้ได้ เพราะนั่นคือตัวชี้วัดว่าสตาร์ทอัพที่ชื่อ BeNeat จะไปต่อได้จริงหรือเปล่า

โชคดีที่ไอเดียที่พวกเขาคิดมีลูกค้าซื้อจริงๆ และลูกค้ารายแรกก็เป็นกลุ่ม early adopter หรือโฮสต์ Airbnb ซึ่งคุ้นชินกับเทคโนโลยี การจองและจ่ายเงินผ่านเว็บไซต์และแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ อยู่แล้วอย่างที่พวกเขาคาดการณ์ 

เมื่อกลุ่มลูกค้า Airbnb ให้การตอบรับดีขึ้นเรื่อยๆ พวกเขาจึงเห็นโพเทนเชียลของการขยายไปในตลาดทำความสะอาดบ้านพักอาศัย

“จริงๆ เจ้าตลาดของบริการรับทำความสะอาดบ้านพัก คอนโด ก็คือแม่บ้านที่อยู่คอนโดนี่แหละ” อานนท์บอก

“ถามว่าลูกค้าเขาอยากจ้างแม่บ้านข้างนอกไหมก็อยาก เพราะคอนโดนึงมีตั้ง 300 ห้อง แต่มีแม่บ้านแค่ 2 คน ถ้าอยากใช้บริการก็ต้องไปต่อคิว ไม่รู้เลยว่าแม่บ้านจะว่างวันไหน บางทีก็ต้องรอหลังแม่บ้านเลิกงานอีก เลือกเวลาเองไม่ได้ และทั้งๆ ที่รู้ว่าต้องรอคิวนาน แต่ทำไมเขาถึงไม่ไปจ้างแม่บ้านคนอื่นข้างนอก ก็เพราะเขาไม่รู้จะไปจ้างใคร หรือถ้าหาเบอร์ติดต่อตามเสาไฟฟ้ามาได้ แต่สุดท้ายคือเขาจะไว้ใจคนเหล่านั้นได้หรือเปล่า” 

BeNeat

03 – ทุ่มเทสุดหัวใจ

นอกจากสกิลการทำความสะอาด ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญที่พวกเขามีให้ผู้ใช้บริการทุกคน กว่าจะก้าวมาเป็นแม่บ้านในแพลตฟอร์มของ BeNeat ได้นั้นเรียกได้ว่าโหดหิน

“เราทดสอบเรื่องของบุคลิกภาพด้วยว่าเขาเหมาะกับงานนี้หรือเปล่า มี service mind ไหม ตรวจสอบประวัติอาชญากรรม เสร็จแล้วต้องมาเรียนทฤษฎีและปฏิบัติ ทดสอบและสัมภาษณ์ ผ่านด่านแรกแล้วก็ต้องผ่านมาตรฐานของคุณลูกค้าด้วยอีก กว่าเราจะได้คุณแม่บ้านมาต้องผ่านหลายขั้นตอนมาก”

เพราะแบบนี้อานนท์ถึงบอกว่าในช่วงเริ่มต้นจึงสเกลช้าไปบ้าง แต่ถึงอย่างนั้นเขาก็ไม่ยอมลดมาตรฐานโดยเด็ดขาด เพราะเชื่อว่าสิ่งที่ทำให้บริษัทสำเร็จอย่างยั่งยืนคือคุณภาพการให้บริการ ถ้าสร้างมาตรฐานให้ลูกค้ายอมรับได้ ก็จะได้ผลลัพธ์ที่ดีในระยะยาว

BeNeat

“เราไม่ได้เป็นแพลตฟอร์มที่จับแพะชนแกะ ไม่ได้ตั้งตัวเองเป็นมาร์เก็ตเพลส เราเชื่อแต่แรกว่าคุณลูกค้าเขาหาแม่บ้านได้อยู่แล้ว เราเลยไม่ได้เสิร์ฟพอยต์นั้น 

“การที่ลูกค้าไม่จองคุณแม่บ้านที่อื่นนอกจากที่เขาเคยใช้บริการ เพราะเขาไม่รู้ว่ามาตรฐานดีหรือเปล่า เชื่อถือได้จริงไหม เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราทำ คือพยายามเป็นตัวหนึ่งในตัวเลือกของเขา ด้วยการตอบสนองความต้องการของคุณลูกค้าให้ครบทั้งหมด 

“เราจริงจังตั้งแต่การดีไซน์แพลตฟอร์มให้ยูสเซอร์ใช้งานง่าย สะดวก รวดเร็ว คุณลูกค้าจะเห็นโปรไฟล์คุณแม่บ้านเลยว่าเขาเป็นใคร ประวัติการทำงานในบ้านก่อนๆ เป็นยังไงบ้าง สามารถเลือกผู้ให้บริการ รวมถึงวัน และเวลาได้เหมือนจองตั๋วเครื่องบินเลย ล็อกเวลาได้ขนาดนั้น ที่สำคัญคือเรตราคาค่าบริการก็ไม่ได้ต่างไปจากการจ้างแม่บ้านในคอนโด”

BeNeat

และหากบอกว่าความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญที่ลูกค้าคอนเซิร์น แน่นอนว่าฝั่งแม่บ้านเองก็จะได้รับการดูแลเช่นเดียวกัน

หากฝั่งลูกค้าสามารถดูหน้าค่าตาแม่บ้านได้ แม่บ้านก็มีสิทธิพิจารณาในการรับงานได้เช่นกัน นอกจากนั้นบริษัทเองก็มีการสอบถามข้อมูลกับฝั่งแม่บ้านอยู่ตลอดว่าอยากให้ปรับปรุงส่วนไหนให้ดีขึ้นบ้าง 

“เรามีม็อตโต้ขององค์กรคือบริการสุดหัวใจ มันเป็น key success เราไม่ได้ตีความคำว่าลูกค้าไว้แค่คนที่มาใช้บริการ แต่คุณแม่บ้านก็เป็นลูกค้าของเรา สิ่งที่เราต้องทำคือเราบริการเขาสุดหัวใจหรือยัง วันที่เขาเกิดปัญหาต้องการความช่วยเหลือเราพร้อมหรือเปล่า”

สิ่งนี้เป็นมายด์เซตที่อานนท์และทีมมี “ทุกอย่างต้องออกมาจากภายในว่าเรารู้สึกยังไง เราให้เกียรติเขาหรือเปล่า” เขาอธิบาย

BeNeat

04 – สร้างมายด์เซตให้ทุกคนในบริษัทเป็นเจ้าของกิจการ

แม้ในวันนี้ BeNeat จะได้ชื่อว่าเป็นแพลตฟอร์มค้นหาแม่บ้านอันดับหนึ่ง แต่ founder ทั้งสองบอกว่าหากย้อนไปวันตั้งต้น การหาแม่บ้านเข้ามาอยู่ในแพลตฟอร์มนับเป็นเรื่องยากมากๆ เสียด้วยซ้ำ เพราะตอนนั้นทัศนคติเกี่ยวกับงานแม่บ้านของคนก็ยังมองว่านี่คืองานของคนที่ไม่มีทางเลือก กลัวจะโดนมองไม่ดี

ไอเดียหนึ่งที่พวกเขามีส่วนนำเสนอและช่วยเปลี่ยนความคิดคือ การมองว่าแม่บ้านไม่ได้เป็นแค่คนทำความสะอาด แต่เขาเป็น entrepreneur คนหนึ่ง 

การเป็น Entrepreneur ที่ว่าคือการที่แม่บ้านมีอิสระในการเลือกวันและเวลาทำงานของตัวเอง รวมทั้งเลือกว่าจะให้บริการลูกค้าคนนี้หรือเปล่า ไม่มีบังคับ ด้วยแนวคิดการทำงานแบบนี้จึงทำให้การเป็นแม่บ้านที่นี่เติมความยืดหยุ่นให้กับข้อจำกัดในชีวิตของใครหลายๆ คน 

อานนท์ยกตัวอย่างให้ฟังว่าบางคนก็ต้องดูแลพ่อแม่อายุเยอะ สัปดาห์หนึ่งต้องไปโรงพยาบาลบ่อยครั้ง ทำให้เขาไม่สามารถทำงานประจำได้ บางคนเคยเป็นพนักงานออฟฟิศ แต่อยากหาเวลาให้ครอบครัว และบางคนก็ได้รับผลกระทบจากโควิด ถูกเลิกจ้างจากงาน 

งานแม่บ้านเลยเป็นทางเลือกหนึ่งที่ทำให้พวกเขามีรายได้ใกล้เคียงกันกับงานที่เขาเคยทำ

นอกจากจะดีต่อตัวแม่บ้านเอง คมคิดยังบอกว่าการปลูกฝังแนวคิดนี้ในองค์กรก็ส่งผลดีต่อบริษัทด้วย เพราะเมื่อแม่บ้านมองว่าสิ่งที่เขากำลังทำอยู่เป็นธุรกิจของเขาเอง ทำดีก็ได้รีวิวเชิงบวกจากลูกค้า เป็นโอกาสในการเพิ่มลูกค้าในอนาคต เขาก็จะยิ่งตั้งใจทำ เมื่อเป็นแบบนี้ในองค์กรก็จะมีแต่แม่บ้านที่ตั้งใจ

BeNeat

05 – พัฒนาต่อไม่หยุดยั้ง

ถึงปัจจุบันจะนับว่าบริษัทก็สำเร็จแล้วในระดับหนึ่ง แต่พวกเขายังมองว่าโจทย์ของทุกวันนี้คือจะทำยังไงให้การบริการเหนือความคาดหมายของลูกค้าไปได้อีก 

อานนท์มองว่าอุตสาหกรรมทำความสะอาดที่พวกเขาถือครองอยู่ยังเป็นแค่จิ๋วเดียวจากทั้งหมด เขาจึงไม่ได้ตีกรอบว่าต้องอยู่ในอุตสาหกรรมนี้อย่างเดียว 

“แพลตฟอร์มหรือ know-how ในการบริการลูกค้าของเรายังสามารถต่อยอดไปได้อีกเยอะมาก เพียงแต่เราเลือกที่จะโฟกัสในอุตสาหกรรมทำความสะอาดก่อน เรามองว่าการจับปลาหลายมือมันอาจทำให้ไม่ได้ปลาที่ดี เลยเลือกที่จะทำทีละอย่างและทำให้มันดีที่สุด ทำให้มันเป็น top-of-mind ดูว่าสิ่งที่เรามีอยู่แล้วเราจะทำยังไงให้มันดีขึ้นอีก 

“เราอยากให้เวลาคุณลูกค้าคิดถึงความช่วยเหลือทางด้านทำความสะอาดแล้วคิดถึง BeNeat เราบริหารจัดการตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ มีศูนย์ฝึกอบรมคุณแม่บ้านซึ่งปัจจุบันไม่ได้ฝึกให้กับพนักงานของเราอย่างเดียว แต่ยังมีกลุ่ม corporate ลูกค้าโรงแรมเข้ามาใช้บริการ บางคนก็ส่งแม่บ้านมาฝึกอบรมกับเรา”

เขามองว่าการที่สตาร์ทอัพจากหัวเมืองต่างจังหวัดค่อยๆ สเกลขึ้นจากบริษัทโนเนม จนสามารถไปอยู่ในโพซิชั่นแบรนด์ที่ลูกค้าไว้วางใจได้แบบนี้ เป็นเพราะความแคร์ลูกค้าที่เรามี “เราใช้หัวใจอย่างเดียวเลยในการจะทำให้คุณลูกค้าไว้เนื้อเชื่อใจ บอกต่อ แต่ผมว่าคุณลูกค้าเขารับรู้ได้ว่าสิ่งที่เรากำลังทำ เราแคร์เขาขนาดไหน” อานนท์บอก

‘Air-Ink’ หมึกดำจากมลพิษทางอากาศ เปลี่ยนสิ่งเลวร้ายให้กลายเป็นประโยชน์อีกครั้งหนึ่ง

ทุกๆ ปีมีคนเสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศมากกว่า 8.7 ล้านคนทั่วโลก สถิติที่โหดร้ายและไม่มีท่าทีว่าจะหยุด สาเหตุหลักมาจากโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจล้มเหลว มลพิษทางอากาศถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลกและยังไม่มีทางแก้ไขที่สามารถสร้างผลกระทบระดับใหญ่พอจะเปลี่ยนแปลงแนวโน้มของการสร้างมลพิษที่เพิ่มขึ้นอยู่ตลอดได้

แต่ในความมืดมิดและเลวร้ายของมลพิษที่ถูกปล่อยเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ ยังมีชายคนหนึ่งที่เห็นประโยชน์จากมันและเชื่อว่าเขาสามารถนำสิ่งเลวร้ายที่ฆ่าคนเป็นล้านๆ ในแต่ละปีกลับมาสร้างบางอย่างที่มีประโยชน์ได้อีกครั้ง

ระหว่างเดินทางอยู่ในประเทศอินเดียในปี 2012 อนิรุธ ชาร์มา (Anirudh Sharma) สังเกตเห็นบางอย่างบนเสื้อสีขาวของเขาระหว่างที่กำลังเดินอยู่ข้างถนน มันเป็นผงเล็กๆ ที่เป็นผลพลอยจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมันเบนซินและถ่านหิน (ในบ้านเราอย่างเชียงใหม่ก็จะเกิดจากการเผาป่าและเผาไร่ข้าวโพด) กำลังก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพและผลกระทบต่อสภาพอากาศทั่วโลก ตอนนั้นเขายังเป็นนักศึกษาอยู่ที่ห้องปฏิบัติการวิจัยที่ MIT (Massachusetts Institute of Technology’s Media Lab) แต่รู้สึกเลยว่ามันเป็นปัญหาที่น่าสนใจ โดยเฉพาะสารสีดำที่อยู่ในอนุภาคมลพิษที่ฟุ้งกระจายในอากาศเหล่านั้น

เขม่าควันที่สวยงาม

ชาร์มากลับไปที่มหาวิทยาลัยแล้วเริ่มทดสอบไอเดียบางอย่างที่ติดอยู่ในหัวของเขาตั้งแต่กลับมาจากอินเดีย ในการขึ้นพูดบนเวที ​TED Talks เดือนตุลาคม 2018 เขาเอาภาพหนึ่งที่ถ่ายมาจากการเดินทางไปอินเดียครั้งนั้นขึ้นให้ผู้ฟังดู มันเป็นภาพผนังสีขาวที่เปื้อนคราบสีดำเข้มด้านขวามือและท่อไอเสียที่กำลังพ่นควันดำจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงดีเซลทางด้านซ้าย ภาพนี้ทำให้เขาย้อนกลับไปคิดว่าเขม่าที่อยู่บนผนังเหล่านั้นคือสิ่งที่มีคุณลักษณะเหมือนกับ ‘หมึกสีดำ’ ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ในปากกาหรือเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ต ศัพท์เทคนิคสำหรับสารนี้คือ ‘Carbon Black’ ซึ่งเป็นผงที่หลงเหลืออยู่หลังจากการเผาไหม้ถ่านหินหรือน้ำมัน หลังจากนั้นถูกนำไปผสมกับพอลิเมอร์และตัวทำละลายเพื่อเปลี่ยนเป็นหมึกโรลเลอร์บอลสีดำที่ไหลลื่นในปากกาที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน ชาร์มาอธิบายต่อว่า

“แล้วถ้าใช้เขม่าได้ เราจะทำแบบเดียวกันกับมลพิษทางอากาศได้ไหมล่ะ ปากกาสีดำที่คุณใช้นั้นเกิดจากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อทำหมึก แต่คุณไม่จำเป็นต้องเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลใหม่เพื่อทำหมึก เชื้อเพลิงฟอสซิลถูกเผาอยู่ตลอดเวลา”

ถ้าเขาสามารถหาวิธีดักเก็บอนุภาคที่สร้างรอยเปื้อนบนผนังในภาพของเขาได้ ไม่เพียงแต่มันจะลดปริมาณมลพิษที่ปล่อยสู่อากาศเท่านั้น แต่ยังเปลี่ยนเขม่าควันเหล่านั้นให้เป็นสิ่งใหม่ที่มีคุณค่าและสวยงามได้อีกด้วย ชาร์มาอธิบายต่อว่า “หมึกเป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างมนุษย์ที่ทรงพลัง หนังสือมีหมึกสีดำ ในงานศิลปะมีหมึกสีดำ แฟชั่นและสิ่งทอใช้หมึกสีดำ” 

ที่ผ่านมาเขามักจะพูดถึงประโยคของ บัคมินสเตอร์ ฟุลเลอร์ (Buckminster Fuller) สถาปนิก นักออกแบบ นักประดิษฐ์ และนักเขียนชาวอเมริกันผู้รุ่งเรืองแห่งศตวรรษที่ 20 ที่บอกว่า “มลพิษไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากทรัพยากรที่เราไม่ได้เก็บเกี่ยว เราปล่อยให้มลายหายไปเพราะไม่รู้คุณค่าของมันต่างหาก”

ในปี 2013 โปรเจกต์ของชาร์มากับเพื่อนอีกสองสามคนจึงเริ่มต้นขึ้นที่ห้องแล็บของ MIT เริ่มจากการดัดแปลงตลับหมึกของเครื่องปรินต์ให้สามารถใช้เขม่าควันที่มาจากเทียนไขจนสำเร็จ ต่อมาหลังจากจบปริญญาโทจาก MIT เขากลับมาที่อินเดียอีกครั้งหนึ่งเพื่อลุยกับแนวคิดนี้อย่างเต็มตัว จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า AIR-INK หมึกดำเชิงพาณิชย์ตัวแรกที่ทำจากมลพิษทางอากาศทั้งหมดแบบร้อยเปอร์เซ็นต์

ดักจับมลพิษ

เขากับทีมเริ่มต้นจากการพิสูจน์ไอเดียทีละนิด ใช้เขม่าจากมลภาวะในอากาศมาทำสี เมื่อผลออกมาเป็นที่น่าพอใจ จึงตัดสินใจสร้างห้องทดลองในโรงรถเล็กๆ ในเมืองบังกาลอร์เพื่อสร้างอุปกรณ์ที่สามารถดักจับมลพิษทางอากาศตั้งแต่ต้นทาง ซึ่งก็คือจากเครื่องยนต์หรือเครื่องจักรในโรงงาน ในช่วงหกเดือนต่อมาก็พัฒนาเทคโนโลยีได้ดียิ่งขึ้นเพราะแหล่งที่มาของมลพิษสำหรับการทดลองไม่ใช่เรื่องยากเลยในประเทศอย่างอินเดีย

ในประเทศที่พัฒนาแล้วในฝั่งตะวันตกอย่างอเมริกา มีกฎระเบียบที่เข้มงวดสำหรับบริษัทต่างๆ ให้กำจัดอนุภาคคาร์บอนอย่างถูกต้อง แต่ประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างอินเดียไม่มีกฎบังคับอะไรแบบนั้น ข้อบังคับมักจะหลวมๆ บริษัทต่างๆ มักไม่ได้มีการจัดการที่ดี ขยะถูกเผา ถูกฝัง บางทีหลุดลงสู่แม่น้ำ พวกเขาเลยเริ่มประกาศหาบริษัทที่สร้างมลพิษเหล่านี้ ปรากฏว่ามีคนติดต่อกลับมาเยอะมาก

อุปกรณ์ชิ้นแรกที่พวกเขาสร้างขึ้นมีชื่อว่า Kaalink (มาจากคำศัพท์ภาษาฮินดู ‘Kaala’ ที่แปลว่าดำ) ที่มีอุปกรณ์กรองมลพิษอยู่ข้างใน Kaalink สามารถขยับขยายขึ้นเพื่อกรองมลพิษจากที่ไหนก็ได้ อาจจะเป็นท่อไอเสีย ปล่องควันบนเครื่องจักรขนาดเล็ก หรือแม้แต่จากอากาศโดยตรงเลยก็ได้เช่นกัน เปลี่ยนมลพิษที่กรองมาเป็นเขม่า จากนั้นก็ผสมของเหลวเข้าไปเพื่อสร้างเป็นหมึกสีดำเและนำไปใส่ในปากกาและมาร์กเกอร์ของ AIR-INK ในแต่ละแท่งจะบรรจุหมึกประมาณ 30 มล. เทียบเท่ากับมลพิษจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซลนาน 45 นาที

Anirudh

โลกของหมึกดำ

หลังจากได้ผลิตภัณฑ์ออกมาแล้ว ชาร์มากับทีมเลยก่อตั้งบริษัทชื่อ Graviky Labs ขึ้นมาเพื่อดูแลจัดการด้านการธุรกิจของตัว Kaalink และ AIR-INK ซึ่งลูกค้ากลุ่มแรกที่พวกเขานึกถึงคือเหล่าศิลปิน เพราะเชื่อว่า ‘ข้อความ’ หรือความตั้งใจที่พวกเขาอยากส่งต่อให้โลกเห็นผ่านหมึกดำจากมลพิษนั้นจะได้รับการตอบรับที่ดีเมื่อถูกพูดถึงโดยศิลปินที่มีกลุ่มแฟนคลับที่เหนียวแน่น

ในปี 2016 พวกเขาร่วมมือกับศิลปินชาวเอเชีย 9 คนเพื่อสร้างงานจิตรกรรมฝาผนังในย่านเชิงหว่านของฮ่องกงโดยใช้หมึก AIR-INK โดยได้รับเงินสนับสนุนจากบริษัท Tiger Beer ในสิงคโปร์เพื่อโปรโมตงานนี้ด้วย ชาร์มาอธิบายถึงเหตุการณ์นั้นว่า

“ศิลปะไม่ใช่เรื่องของการหารายได้สำหรับเรา แต่มันเป็นวิธีสร้างชุมชนให้มาอยู่ด้วยกัน ศิลปินทั้งหลายเอาไอเดียของตัวเองมาสร้างผลกระทบที่มากกว่าแค่วิทยาศาสตร์”

ชื่อเสียงของปากกา AIR-INK ถูกพูดแบบปากต่อปาก ด้วยคุณภาพของหมึกที่ดำเข้ม สีติดแน่น ไม่ส่งผลเสียต่อผู้ใช้งาน นอกจากจะช่วยลดมลพิษในอากาศแล้ว มันยังช่วยลดการสร้างสาร ‘Carbon Black’ ในวงจรการผลิตหมึกสีดำแบบเดิมด้วย ทำให้สินค้าของพวกเขาเป็นที่ต้องการของตลาดแทบจะทันที

Anirudh

ในปี 2017 พวกเขาเริ่มขยับขยายมากขึ้นโดยการสร้างแคมเปญระดมทุนบนแพลตฟอร์ม Kickstarter และได้รับเงินสนับสนุนมากว่า 41,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากกว่าที่ตั้งเป้าเอาไว้กว่าสามเท่า โดยเงินตรงนี้ถูกนำไปผลิต AIR-INK ในปริมาณที่มากขึ้นเพื่อกระจายสู่ศิลปินในวงกว้าง กลายเป็นงานศิลปะในเมืองต่าง ๆ อย่างลอนดอนและสิงคโปร์

คริสโตเฟอร์ โฮ​​ (Kristopher Ho) หนึ่งในศิลปินจากฮ่องกงที่เป็นกลุ่มแรก ๆ ที่ได้ลองใช้ผลิตภัณฑ์ของ AIR-INK เล่าว่า “ตอนแรกผมคิดว่ามันเป็นแค่เทคนิคทางการตลาด แต่หลังจากที่ลองมาร์กเกอร์ ผมรู้เลยว่ามันดีมาก” มันเป็นมาร์กเกอร์ที่ดำลึกกว่าหมึกทั่วไป เหมาะมากสำหรับการวาดภาพ

สิ่งที่ทีมของชาร์มายังต้องทำต่อไปคือการพัฒนาเทคโนโลยีให้ดีขึ้นเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการผลิตหมึกของ AIR-INK ให้ต่ำที่สุดเพื่อจะขยายไปยังกลุ่มผลิตภัณฑ์อื่นๆ อย่างหมึกของเครื่องปรินต์ที่จะทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าขนาดมหาศาล แต่พวกเขาก็ยอมรับว่ามันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากเลยทีเดียว เพราะมันต้องใช้ความร่วมมือกันหลายด้าน อย่างการเก็บมลพิษจากโรงงานก็ต้องมีพนักงานคอยไปเก็บกลับมา เช่นเดียวกับรถยนต์ทั้งหลายที่ติด Kaalink ก็เช่นเดียวกัน ซึ่งในอนาคตทางทีมของ Graviky ก็คิดว่าอยากจะสร้างระบบนิเวศที่มีการร่วมมือกันทุกฝ่าย ยกตัวอย่างเช่นกลุ่มของบริษัทรถบรรทุกบนท้องถนนรวมตัวกันเพื่อติดตั้ง Kaalink แล้วมีศูนย์กลางสำหรับมลพิษจากควันดำมาฝากไว้เป็นประจำเหมือนธนาคารคาร์บอน (Carbon Bank)

งานหนักยังรออยู่ข้างหน้าสำหรับทีมของชาร์มา แต่เขาเชื่อว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่นั้นได้สร้างผลกระทบในทางบวกแก่โลกใบนี้และยังมุ่งหน้าที่จะทำต่อไป เรื่องรายได้อาจจะไม่ได้เติบโตเหมือนสตาร์ทอัพทั่วไปนัก

“ถ้าคุณทำบางอย่างที่มันสมเหตุสมผลกับคนอื่น เงินจะตามมาเอง ความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดคือเราจะอยู่กับไอเดียนี้ได้นานแค่ไหน นั่นคือสิ่งที่สำคัญ ไม่ใช่เรื่องของเงิน”

ก้าวต่อไปของ AIR-INK คือการขยายออกไปสู่ตลาดที่ใหญ่ขึ้น ทั้งเครื่องปรินต์ หมึกพิมพ์หนังสือพิมพ์ หนังสือเล่ม เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย และแฟชั่น แม้ว่าหมึกสีดำนี้จะไม่ได้ช่วยทำให้ปัญหามลพิษของโลกใบนี้หมดไป แต่แรงบันดาลใจที่ได้รับจากโปรเจกต์นี้อาจจะส่งผลให้คนอื่น ๆ และเด็กรุ่นใหม่ได้เห็นถึงโอกาสที่มองข้ามมาตลอด

“มันเป็นจุดเริ่มต้น และมันสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่นมองขยะที่อยู่รอบๆ ตัวใหม่อีกครั้ง นำมันกลับมาใช้ประโยชน์ก็ได้”

โลกยังเต็มไปด้วยมลพิษ ควันดำ PM2.5 ที่โหดร้าย AIR-INK คงไม่สามารถกำจัดมลพิษของโลกนี้ทั้งหมดได้ แต่พวกเขาทำให้เห็นแล้วว่าสิ่งเลวร้ายเหล่านี้สามารถนำกลับมาสร้างประโยชน์ได้ เพียงแค่ลองปรับมุมที่มองใหม่อีกครั้ง

อ้างอิง

smithsonianmag.com/innovation/ink-made-air-pollution-180972212

nationalgeographic.com/science/article/chasing-genius-air-ink-carbon-pollution-graviky

stirworld.com/see-features-recycling-air-pollution-into-inks-air-ink-by-graviky-labs

theguardian.com/artanddesign/2017/apr/06/carbon-air-ink-pollution-vehicle-emissions-anirudh-sharma-graviky-labs-london-black-cabs

businessinsider.com/air-ink-graviky-labs-kickstarter-ink-pollution-2017-2

ted.com/talks/anirudh_sharma_ink_made_of_air_pollution

ourworldindata.org/data-review-air-pollution-deaths

youtube.com/watch?v=W4SAVqLFeY8

britannica.com/science/carbon-black

vimeo.com/sparsh/sootprinter

‘Captains of the Gulf’ ธุรกิจกับโศกนาฏกรรมของสาธารณสมบัติ

ในยุคที่ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ ‘โลกรวน’ รุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แทบทุกคนเลิกถามคำถาม ‘มันคืออะไร’ (what) และ ‘เกิดจากอะไร’ (why) ไปถกกันเรื่อง ‘(แก้ไข) อย่างไรดี’ (how) แล้ว ยกเว้นคนส่วนน้อยที่ยังปฏิเสธว่ามีปัญหา (เรียกรวมๆ ว่าพวก climate change deniers) และบริษัทยักษ์ใหญ่นิสัยแย่บางแห่งที่รู้ทั้งรู้ว่ามีปัญหา แต่ทำตัวเป็นทองไม่รู้ร้อน หรือหนักข้อกว่านั้นคือสนับสนุนงานวิจัยฉ้อฉลที่ปฏิเสธหรือลดทอนความรุนแรงของปัญหานี้

นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแล้ว ปัจจุบันเราก็เผชิญกับปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมอีกมากมายที่หลายส่วนเกิดจากการดำเนินธุรกิจ ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะโทษนักธุรกิจว่า ‘ไม่รับผิดชอบต่อสังคม’ ก็อาจเป็นการเหมารวมเกินไป นักธุรกิจหลายคนใส่ใจกับผลกระทบของธุรกิจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม แต่ในเมื่อผลกระทบเหล่านี้ไม่ได้ถูกนับรวมเป็น ‘ต้นทุน’ ของการทำธุรกิจ (ภาษาเศรษฐศาสตร์เรียกว่า ‘ผลกระทบภายนอก’ หรือ externality) ในระบบทุนนิยม ก็ยากที่ธุรกิจจะมองเห็นหรือมีแรงจูงใจที่จะจัดการอย่างเหมาะสม

นอกจากผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมจะเป็น ‘ผลกระทบภายนอก’ แล้ว ธุรกิจที่ตักตวงหรือพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติยังอาจประสบปัญหา ‘ทรัพยากรหมด’ จนขาดรายได้ แต่ผู้เล่นแต่ละฝ่ายอาจไร้แรงจูงใจที่จะดูแลทรัพยากร เพราะทรัพยากรส่วนรวมที่ ‘ฟรี’ ในสายตาผู้เล่น รวมถึงผลประโยชน์ (กำไร) ระยะสั้นที่เห็นชัดๆ อยู่ตรงหน้า มักนำไปสู่ภาวะมือใครยาวสาวได้สาวเอา จนสุดท้ายทรัพยากรก็หมด คนที่อธิบายสถานการณ์นี้อย่างชัดเจนเป็นคนแรกคือ การ์เรตต์ ฮาร์ดิน ผู้เขียนบทความ ‘The Tragedy of the Common’ (โศกนาฏกรรมของสาธารณสมบัติ) ลงวารสารวิชาการ Science ในปี 1968 

ตลอดระยะเวลาหลายทศวรรษหลังจากนั้น เราก็ได้เห็นสถานการณ์ที่ดูจะเข้าข่าย ‘โศกนาฏกรรมของสาธารณสมบัติ’ หลายกรณีทั่วโลก อาทิ การทำประมงเกินขนาด (overfishing) แพขยะขนาดยักษ์ในมหาสมุทร หรือปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าจนเหี้ยนเตียน

แล้วเรามีวิธีแก้ปัญหาโศกนาฏกรรมส่วนรวมนี้ยังไง นักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักจำนวนมากมองว่า ทางแก้คือต้องตัดแบ่งทรัพยากรส่วนรวมนั้นเป็นชิ้นๆ และมอบ ‘กรรมสิทธิ์’ ให้นิติบุคคลหรือปัจเจกบุคคลเป็น ‘เจ้าของ’ เพราะเมื่อมีเจ้าของชัดเจนแล้ว เจ้าของทุกคนก็ย่อมอยากดูแลทรัพยากรของตัวเองให้อยู่ได้อย่างยั่งยืน อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์อีกหลายคนก็เสนอว่า การมอบกรรมสิทธิ์ไม่ใช่วิธีเดียวที่จะแก้ปัญหานี้ และการแปลงสาธารณสมบัติให้เป็นของเอกชน (privatization) ก็อาจสร้างปัญหาใหม่ที่แย่ไม่แพ้กัน เช่น เจ้าของอาจกีดกันไม่ให้คนอื่นได้เข้ามาใช้ทรัพยากรเลย กอบโกยผลประโยชน์มหาศาลอยู่คนเดียวหรือบริษัทเดียว มีวิธีแก้ปัญหาอื่นที่อาจใช้การได้ดีกว่า เช่น ให้รัฐออกกติกากำกับดูแล หรือให้ทุกคนใน ‘ชุมชน’ ร่วมกันกำหนดกฎกติกา ดังข้อเสนอและผลการวิจัยของ เอลินอร์ ออสตรอม นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลที่ศึกษาเรื่องนี้ในหลายประเทศ

ในศตวรรษที่ 21 ‘ต้นทุนภายนอก’ หลายอย่างเป็นสิ่งที่ธุรกิจรับรู้และตระหนักดีกว่าในอดีต เพราะผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากธุรกิจตัวเองนั้นไม่เพียงแต่ทำให้เสียชื่อเสียง ตกเป็นเป้าโจมตี และเผชิญกับเสียงเรียกร้องให้ ‘รับผิดชอบต่อสังคม’ (ที่ไม่ใช่กิจกรรมซีเอสอาร์) เท่านั้น แต่ผลกระทบเหล่านี้หลายครั้งยังส่งผลต่อผลประกอบการทางการเงินด้วย ดังที่โศกนาฏกรรมสาธารณสมบัติชี้ให้เราเห็น

Captains of the Gulf เป็นบอร์ดเกมแนวเศรษฐศาสตร์ที่ดีที่สุดในความเห็นของผู้เขียน ในแง่การฉุกให้คิดถึงแรงจูงใจของธุรกิจในการจะรับมือ หรือไม่รับมือกับปัญหาโศกนาฏกรรมสาธารณสมบัติ 

เกมนี้ให้เราเล่นเป็นชาวประมงรายย่อยในรัฐลุยเซียนาตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา ดินแดนแห่งอาหารแนวเคจัน (Cajun) อันเป็นเอกลักษณ์ของแถบนี้ ปรุงด้วยวัตถุดิบจากอ่าวเม็กซิโกอย่างปู หอยนางรม และกุ้ง ซึ่งเราจะได้ตกสัตว์น้ำทั้งสามชนิดนี้ในเกม เป้าหมายของเราในเกมนี้ไม่ต่างจากเกมแนวนี้ทั่วไป–ใครสะสมเงินได้มากที่สุดตอนจบ 8 ตาคือผู้ชนะ

Captains of the Gulf

เราหาเงินในเกมนี้อย่างเรียบง่ายด้วยการจับกุ้ง ปู และหอยนางรมในอ่าว จากนั้นก็เดินเรือไปขายสัตว์น้ำเหล่านี้ที่ท่าของเมืองปากอ่าว 3 เมือง อยู่ไกลกันคนละฝั่ง แต่ละเมืองมีแถบ ‘ชื่อเสียง’ ที่มอบให้กับพ่อค้าที่ไปขายสัตว์น้ำให้ เราต้องให้น้ำหนักกับการขายสัตว์น้ำกับทั้ง 3 เมืองพอๆ กัน เพราะตอนจบเกมถ้าเราขายสัตว์น้ำสะสมให้เมืองไหนไม่ถึงขั้นต่ำที่กำหนด เราจะต้องเสียเงิน แต่ถ้าขายสัตว์น้ำได้เยอะมาก เราจะได้เงินเพิ่มเป็นโบนัส นอกจากนั้นยังได้โบนัสเพิ่มจากการมีชื่อเสียงผ่าน ‘ดาว’ ระดับเดียวกันบนเส้นชื่อเสียงด้วย ยิ่งผ่านดาวระดับเดียวกันมากกว่าหนึ่งเมืองยิ่งได้เงินมาก

การเล่นเกมนี้ไม่ยาก แต่ก็เหมือนบอร์ดเกมดีๆ ทั่วไป คือเล่นให้ดีไม่ง่ายเลย ผู้เล่น 2-4 คนจะผลักดันทำแอ็กชั่นโดยเลือกจาก ‘วงเวียนแอ็กชั่น’ (rondel) บนกระดาษ แอ็กชั่นมีอาทิ แล่นเรือ (ไปตกปลา), เทียบท่า, อัพเกรดเรือหรือลูกเรือ, ขายสัตว์น้ำในท้องเรือ (ต้องเทียบท่าอยู่) และเติมน้ำมัน เป็นต้น ไม่นับแอ็กชั่นพิเศษที่เราจะอยากเก็บไว้ใช้ในจังหวะที่เหมาะสม หลังจากที่ผู้เล่นเวียนกันทำแอ็กชั่นรอบวงเวียนไปหลายรอบ หนึ่งตาก็จะจบลง เตรียมตัวสำหรับตาต่อไป เปิดไพ่ ‘เหตุการณ์’ ออกมาดูว่าจะเจออะไรบ้าง และจากนั้นระบบนิเวศในมหาสมุทรก็จะปรับตัว–ด้วยกลไกชาญฉลาดที่จะกล่าวถึงต่อไป

Captains of the Gulf

การเล่น Captains of the Gulf ไม่ยาก แต่การตัดสินใจว่าจะเลือกทำอะไร และทำอะไรก่อน-หลัง เป็นเรื่องยากตั้งแต่เปิดเกม ยกตัวอย่างเช่น การใช้ไพ่ ไพ่ในเกมนี้แต่ละใบใช้ได้หลายแบบ จะใช้เป็น ‘ใบอนุญาต’ จับสัตว์น้ำชนิดใดชนิดหนึ่ง (ถ้าไม่มีก็จับไม่ได้) ก็ได้ ถ้าเลือกทางนั้นก็เสียบไพ่ไว้ด้านบนของกระดานผู้เล่น หรือจะเลือกอัพเกรดลูกเรือ (เสียบทางซ้าย) หรืออัพเกรดตัวเรือ (เสียบทางขวา) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ นอกจากนั้น เวลาจะจับสัตว์น้ำเรายังต้องทิ้งไพ่ที่มีรูปสัตว์น้ำชนิดนั้นๆ จากมือลงมาด้วย ไม่ใช่ว่ามีใบอนุญาตแล้วจะจับได้เลย

เราสามารถคำนวณ ‘รายได้’ ล่วงหน้าจากการดูราคารับซื้อที่ท่าต่างๆ แต่สิ่งที่ท้าทายกว่านั้นคือการวางแผน ยกตัวอย่างเช่น เราไม่ต้องจ่ายค่าน้ำมันที่ต้องใช้ในการเดินเรือ แต่การเดินเรือในทะเลทุกช่องต้องใช้น้ำมัน และต้องเผื่อน้ำมันสำหรับขากลับเข้าฝั่งด้วย คู่แข่งของเราอาจโฉบมาจับหอยนางรมไปต่อหน้าต่อตาระหว่างที่เราลอยลำในทะเล นอกจากนี้การอัพเกรดเรือและลูกเรือเพื่อเพิ่มทั้งผลิตภาพและประสิทธิภาพ หรือแม้แต่เพิ่มความสามารถบางอย่างก็สำคัญไม่แพ้กัน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราสร้างห้องครัวในเรือ เราจะสามารถปรุงสัตว์น้ำเป็นอาหารสุก ทำให้ขายได้เงินมากขึ้น หรือถ้าเราไม่ลงทุนซื้อตู้เย็นติดเรือเพิ่ม เราก็จะเก็บสัตว์น้ำได้เพียง 2 ลังเท่านั้น ถ้าจะจับปูจากจุดที่มีปู 3 ลัง อย่างมากก็จับได้ 2 ลังเพราะมีตู้เย็นไม่พอ ต้องถ่อเข้าฝั่งไปขายก่อนแล้วกลับมาใหม่ ซึ่งกว่าจะถึงตอนนั้นคนอื่นอาจคว้าไปแล้ว เป็นต้น

กลไก ‘โศกนาฏกรรมของสาธารณสมบัติ’ ในเกมนี้ทำงานอย่างเรียบง่ายแต่สมจริง และกระตุกให้เราคิดถึง ‘อนาคต’ ได้อย่างแจ่มชัดกว่าธุรกิจในโลกจริง กลไกนี้ทำงานตามขั้นตอนต่อไปนี้

  1. ทุกครั้งที่เราจับสัตว์น้ำ เราต้องวางโทเคนเครื่องหมาย ‘ลบ’ ในจุดที่เราจับสัตว์น้ำ ตามจำนวนที่เราจับ เช่น ถ้าจับกุ้ง 2 ลัง ก็ต้องวางโทเคน ‘ลบ’ 2 อัน เป็นต้น
  2. ตอนจบตา เราจะต้องทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
    1. หาว่าในทะเลมีจุดไหนบ้างที่มีโทเคน ‘บวก’ โดยไม่มี โทเคน ‘ลบ’ อยู่เลย ในจุดเหล่านี้จะเกิดประชากรสัตว์น้ำใหม่ (สะท้อนว่าระบบนิเวศฟื้นฟูตัวเอง) แต่ละจุดให้ใช้วิธีสุ่มไพ่จำนวนประชากร (2-4) และสุ่มทิศของการเกิด เช่น อาจมีหอยนางรมเกิด 3 ลัง ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจุดเดิม จากนั้นดึงโทเคน ‘บวก’ อันนั้นคืนกองกลาง ก่อนไปจุดต่อไป
    2. หลังจากที่สัตว์น้ำเกิดใหม่ทั้งอ่าวแล้ว (ไม่มีโทเคน ‘บวก’ เหลือ) ให้หาว่าจุดไหนบ้างที่มีโทเคน ‘ลบ’ เพียง 1 อัน ให้พลิกโทเคน ‘ลบ’ เหล่านั้นกลับข้างเป็น ‘บวก’ (แปลว่าจะมีสัตว์น้ำเกิดใกล้กับจุดเหล่านั้นในช่วงจบตาหน้า ตราบใดที่ไม่มีโทเคน ‘ลบ’ มาเติมระหว่างตา)
    3. สุดท้าย ดึงโทเคน ‘ลบ’ ออก 1 อัน จากทุกจุดที่มีโทเคนมากกว่า 1 อัน (นับทั้งโทเคน ‘บวก’ และ ‘ลบ’) (สะท้อนว่าทะเลค่อยๆ ฟื้นตัว)
Captains of the Gulf

กลไกข้างต้นทำให้เรามองออกตลอดเวลาว่า สภาพแวดล้อมในทะเลเป็นอย่างไร เราจะถูกผู้เล่นคนอื่นเขม่นทันทีที่ไปจับสัตว์น้ำในจุดที่มีโทเคน ‘บวก’ อยู่แล้ว เพราะนั่นหมายความว่าจับแล้วจะต้องวางโทเคน ‘ลบ’ เท่ากับว่าทรัพยากรในทะเลร่อยหรอลงไปอีก จบตานี้แทนที่จะได้เพิ่มประชากรสัตว์น้ำ จะต้องดึงโทเคน ‘ลบ’ อันนั้นออกไปก่อน แล้วรอลุ้นว่าจะได้เพิ่มประชากรในตาถัดไปอีก

กลไกที่เรียบง่ายชุดนี้ทำให้เรามองเห็นอย่างชัดเจนว่า ถ้าผู้เล่นทุกคนกระเหี้ยนกระหือรือเห็นแก่ตัวชนิดสายตาสั้น คือไม่แยแสต่อสถานการณ์ทรัพยากร เดินหน้าจับสัตว์น้ำจนหมดทะเลอย่างรวดเร็ว (วางโทเคน ‘ลบ’ หลายอันทุกจุด) โดยไม่เหลือสัตว์น้ำให้ฟื้นฟูตัวเองเลย ก็เป็นไปได้ที่ตาต่อไปเราจะ ‘แห้ว’ ไม่มีสัตว์น้ำให้จับกันทั้งโต๊ะ 

Captains of the Gulf จึงบังคับเรากลายๆ ให้ชาวประมงหาทางร่วมมือกันเป็นนัยๆ (“ฉันจะจับตรงนี้นะ แกไปจับตรงโน้น เหลือสัตว์น้ำวัยอ่อนให้โตด้วย!”) หรืออย่างน้อยก็ทำการประมงอย่างยั้งคิด ไม่มักง่ายสายตาสั้น อย่างน้อยก็ก่อนจะถึงตาสุดท้าย–ตาที่อาจไม่มีใครสนใจแล้วว่าทะเลจะเป็นอย่างไร เพราะจบตานี้ต้องนับคะแนนแล้ว สถานการณ์ของทะเลไม่นับเป็นคะแนน!  

น่าเสียดายที่ทรัพยากรส่วนรวมในโลกจริงมักไม่เผยให้เราเห็นข้อมูลปริมาณและแนวโน้มความร่อยหรออย่างชัดเจนเท่ากับในเกมนี้ และผู้เล่นในโลกจริงก็มีมากมายหลายหลากกว่าในเกมมาก อย่างไรก็ดี Captains of the Gulf ก็เป็นเกมเศรษฐศาสตร์ชั้นเยี่ยมที่ไม่เพียงสื่อสารความสำคัญของการวางแผนธุรกิจ การลงทุนเพิ่มผลิตภาพ และ ‘จังหวะ’ ที่เหมาะสมในการทำสิ่งเหล่านี้ (เกมนี้ให้เรา ‘กู้เงิน’ ได้ด้วยถ้าต้องการ) ทว่ากฎกติกาเกี่ยวกับทรัพยากรส่วนร่วมที่สามารถสื่อสาร ‘โศกนาฏกรรมของสาธารณสมบัติ’ ได้อย่างทรงพลัง ก็ช่วยกระตุกเราเป็นอย่างดีให้เห็นคุณค่าของการร่วมมือกัน ไม่ว่าทางตรงและทางอ้อม และการมองการณ์ไกลไปถึงอนาคตของธรรมชาติ

ซึ่งก็หมายถึงอนาคตของลูกหลานเราเองด้วย

‘Kajitsu’ ร้านมังสวิรัติญี่ปุ่นในนิวยอร์กที่อร่อยจน Ryuichi Sakamoto มาจัดเพลย์ลิสต์เพลงในร้านให้ฟรี

เสียงที่ทำให้กินอร่อยขึ้น

สิ่งที่แตกต่างระหว่างการนั่งกินข้าวที่บ้านกับการนั่งกินข้าวในร้านคือประสบการณ์ที่คุณจะได้รับ Kajitsu

เมื่ออยู่ที่บ้าน คุณสบายตัวสบายใจ คุณพิมพ์งานไป กินไป ดูเน็ตฟลิกซ์ไป ก็เป็นเรื่องธรรมดา อาณาจักรของคุณ คุณจะทำอะไร เมื่อไหร่ก็ได้

เมื่อคุณนั่งกินข้าวที่ร้านอาหาร เจ้าของร้านทุกคนอยากให้คุณกินเสร็จแล้วกลับมากินอีก พวกเขาจึงทำทุกวิถีทางเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีในร้านอาหารให้กับคุณ

มีงานวิจัยมากมายหลายหลากจากทั่วทุกมุมโลกสนใจเรื่องผลกระทบของเสียงเพลงที่บรรเลงในร้านอาหารว่ามีผลต่อลูกค้าและประสบการณ์ในการนั่งรับประทานอาหารในร้านมากน้อยแค่ไหน เช่น มีแนวโน้มว่าลูกค้าจะใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในร้านอาหารที่เปิดเพลงคลาสสิก, ร้านอาหารที่เปิดเพลงในจังหวะรวดเร็ว มีแนวโน้มที่จะเร่งเร้าให้ลูกค้ารับประทานอาหารเร็วขึ้น ทำให้รอบในการ turnover หรือรอบในการรับประทานอาหารจนเสร็จของลูกค้าแต่ละโต๊ะดูจะรวดเร็วขึ้น, เพลงแจ๊ส สไตล์เพลงที่เราคุ้นหูกันอยู่บ่อยๆ เมื่อเดินเข้าร้านอาหาร เป็นสไตล์เพลงที่ทำให้ลูกค้ามีแนวโน้มที่จะรู้สึก ‘ชอบ’ อาหารที่รับประทานมากกว่าแนวเพลงอื่นๆ

เมื่อเสียงเพลงดูมีบทบาทที่สำคัญในการสร้างความรื่นรมย์ให้ลูกค้าในร้านอาหาร จึงมีหลายแพลตฟอร์มทั้ง YouTube, Spotify, หรือ SoundCloud ที่รวบรวมรายชื่อเพลง หรือที่เรียกกันว่า เพลย์ลิสต์ เอาไว้สำหรับเปิดในร้านอาหาร พูดง่ายๆ คือ คิดมาให้แล้วว่านี่คือคือรายชื่อเพลงที่ดีที่คุณใช้เปิดในร้านอาหาร แล้วจะทำให้ลูกค้าอารมณ์ดี

แต่ไม่ใช่ลูกค้าทุกคนจะชื่นชมกับเพลย์ลิสต์ที่มีให้หยิบหาได้ทั่วไปบนแพลตฟอร์มเหล่านี้น่ะสิ

ร้านมังสวิรัติญี่ปุ่นในนิวยอร์ก

Kajitsu ร้านอาหารญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ที่ถนน 39 ใกล้ๆ กับถนนเลกซิงตันของมหานครนิวยอร์กที่ขายอาหารแบบ Shojin ซึ่งก็คืออาหารมังสวิรัติที่ถือกำเนิดมาจากลิทธิเซนในศาสนาพุทธ ตัวอย่างอาหารที่เสิร์ฟที่นี่ก็อย่างเช่น ซุปมิโสะสีแดงกับเทมปุระเห็ดไมตาเกะ, ปอเปี๊ยะทอดสอดไส้มันฝรั่งที่เพิ่งเก็บสดๆ กับถั่วปากอ้า

ว่ากันว่าแต่ละเมนูที่เสิร์ฟที่นี่เป็นเมนูที่เรียบง่ายแต่งดงาม ผสมผสานความเป็นธรรมชาติของวัตถุดิบและวิถีชีวิตออกมาจนเป็นรสที่กลมกล่อม รสไม่เข้มเกิน กลิ่นไม่ฉุนไป เป็นความพอดีที่หาเจอไม่ได้ง่ายๆ ในเมืองใหญ่ที่ไม่เคยหลับใหลแห่งนี้

อาจจะเพราะความเรียบง่ายที่ลงตัวพร้อมสรรพทั้งอาหาร การบริการและการตกแต่งของร้านทำให้ Kajitsu ได้รับ 1 ดาวมิชลิน เป็นร้านอาหารเพียงร้านเดียวในนิวยอร์กที่ขายอาหารมังสวิรัติแล้วได้ดาวมิชลิน ทำให้ที่นี่กลายเป็นหมุดหมายที่นักกินทั้งหลายในมหานครแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นชาววีแกนหรือไม่ ต่างพากันจดขึ้นในลิสต์ของตัวเองว่าจะต้องแวะมาลองเป็นชาววีแกนแบบญี่ปุ่นสักครั้งที่นี่

ริวอิจิ ซากาโมโตะ (Ryuichi Sakamoto) นักดนตรีและนักแต่งเพลงชื่อดังชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในนิวยอร์กเป็นหนึ่งในนั้น แต่เขาไม่ได้เป็นเพียงแค่ลูกค้าขาจร เขาเป็นลูกค้าขาประจำของร้านนี้

สำหรับคนที่อาจจะยังไม่รู้จัก ผลงานที่ผ่านมาของริวอิจิก็เช่น เพลงที่ใช้ในพิธีเปิดโอลิมปิกปี 1992 ที่บาเซโลนา, เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง The Last Emperor (1987) และอีกหนึ่งผลงานการแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์ของริวอิจิที่อาจจะถือเป็นการเปิดประตูความสำเร็จของการเป็นนักแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์ให้กับเขา คือเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง Merry Christmas Mr. Lawrance (1983) ที่เขาได้รางวัล BAFTA มาครองอีกด้วย

นอกจากนั้นริวอิจิยังเคยได้รางวัลจากการแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์ทั้ง Oscar, BAFTA, Grammy, และ Golden Globe Awards สรุปคือเขาเป็นนักดนตรีคนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก เราจะเรียกเขาว่าเป็นคนที่มีดนตรีในหัวใจ เป็นคนที่ชื่นชอบในเสียงเพลง และเป็น ‘ตัวจริง’ คนหนึ่งในวงการเพลงก็คงไม่ผิดนัก

นั่นอาจจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เขารู้สึกรำคาญใจกับเพลย์ลิสต์ที่เปิดที่ร้าน

“นี่มันเพลงอะไรกันครับเนี่ย

“ผมคิดว่าเพลย์ลิสต์เพลงที่เปิดที่นี่มันแย่มาก แย่มากๆ เลยครับ ที่เปิดอยู่นี่มันเพลงอะไรกันเนี่ย ทำไมเขาเปิดเพลงผสมกันระหว่างป็อปบราซิลเลียน อเมริกันโฟล์กซอง แถมมีบางเพลงเป็นแจ๊สสลับกัน”  ริวอิจิพูดไปซี้ดปากไป ราวกับว่าเขาไม่อาจพรรณนาถึงความรู้สึกที่ท่วมท้นนั้นออกมาได้มากพอ ระหว่างพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องเพลย์ลิสต์ของร้านนี้กับคอลัมนิสต์ของ The New York Times

พรสวรรค์หรือคำสาป

พรสวรรค์ในการเป็นนักดนตรี ความเป็นเฟอร์เฟกชันนิสต์ สถานะนักแต่งเพลงที่ประสบความสำเร็จของริวอิจิ ดูเหมือนกับว่าจะมาพร้อมกับคำสาปที่ทำให้เขาไม่สามารถทานทนกับรายการเพลงที่เขารู้สึกว่ามันไม่เข้าที่เข้าทางได้ เหตุการณ์แบบนี้ก็เกิดขึ้นกับเขาบ่อยๆ เขารู้สึกว่าเสียงดนตรีที่เปิดในร้านอาหารหลายๆ แห่ง ช่างไม่เกี่ยวข้องต่อเนื่องกันหรือ ไม่ได้ไปในทิศทางเดียวกันกับร้านอาหารเอาเสียเลย

หลายต่อหลายครั้งที่ริวอิจิรู้สึกเช่นนั้น แต่เขาเลือกที่จะเก็บงำมันเอาไว้ แล้วเดินออกจากร้านไปแบบเงียบๆ ไม่พูดบ่นอะไรกับพนักงาน แต่ก็ไม่กลับไปที่ร้านนั้นอีก

“ผมทนไม่ได้เลยครับ แต่กับร้านนี้ มันเป็นร้านที่พิเศษจริงๆ และผมให้ความนับถือเชฟโอโดะ ซึ่งเป็นเชฟของที่นี่มากๆ”

ช่วงบ่ายวันหนึ่งท่ามกลางถนนที่ทั้งรถติดและแสนวุ่นวาย ริวอิจิแวะมาที่ร้าน Kajitsu เหมือนเคย แต่เขาก็ต้องรีบกินรีบออกจากร้านไป ไม่ใช่เพราะเขามีธุระที่ไหนต่อ หรือเพราะว่าอาหารไม่อร่อย แต่เขาทนนั่งฟังเพลงที่เปิดในร้านต่อไม่ไหวจริงๆ

อย่างไรก็ตาม เพราะความอร่อยของอาหารในร้าน เป็นพลังมากพอที่ผลักให้เขาอยากจะสะสางสิ่งที่เขามองว่าคือปัญหาของร้านนี้ บ่ายวันนั้นริวอิจิกลับบ้านไปเขียนอีเมลถึง คุณโอโดะ หนึ่งในเชฟที่ดูแลร้านในช่วงนั้น

“ผมรักอาหารของคุณ ผมเคารพคุณและผมรักร้านอาหารร้านนี้ แต่ผมเกลียดเพลงที่เปิดที่นี่ครับ ใครเป็นคนเลือกเพลงเหล่านี้ครับ ใครเป็นคนตัดสินใจที่จะผสมเพลงพวกนี้เข้าด้วยกันครับ ให้ผมเป็นคนเลือกเพลงเถอะครับ เพราะอาหารของคุณมันช่างงดงามราวกับพระตำหนักคัตสึระ แต่เพลงที่เปิดในร้านคุณมันเหมือนกับตึกทรัมป์ทาวเวอร์เลยครับ”

ริวอิจิพร่ำพรรณนาถึงความรู้สึกรำคาญใจอย่างล้นหลามของเขาต่อเพลย์ลิสต์ของร้าน พร้อมเสนอตัวเองเป็นผู้เลือกสรรเพลงที่จะเปิดในร้านอาหาร 1 ดาวมิชลินแห่งนี้ แถมการเลือกสรรเพลงเพื่อเปิดในร้านแห่งนี้ ริวอิจิเสนอตัวทำให้ ‘ฟรี’ ไม่คิดเงินเลยแม้แต่สตางค์แดงเดียว

เพราะความอร่อยคำเดียวที่พาให้มนุษย์เฟอร์เฟกชันนิสต์ อย่างริวอิจิมาถึงจุดนี้

เมื่อทางร้านได้รับอีเมลจากริวอิจิ ก็คงจะประหนึ่งเหมือนมีประโยคคลาสสิกจากภาพยนตร์เรื่อง Godfather ลอยเข้ามา 

ข้อเสนอของคุณริวอิจินั้น “เป็นข้อเสนอที่คุณไม่อาจปฏิเสธได้”

Kajitsu

เพลย์ลิสต์ของริวอิจิที่ไม่มีเพลงของริวอิจิ

เราต่างทราบกันดีว่าเราอาศัยอยู่ในยุคที่บริษัทสตรีมมิงเพลงสามารถวัดความนิยมในตัวศิลปินได้จากยอดการดาวน์โหลด และการกดเข้าไปฟังเพลงของคุณผู้ฟัง พูดแบบง่ายๆ คือ ยิ่งมีคนกดเล่นเพลงคุณมากเท่าไหร่ คุณยิ่งถูกนับว่าเป็นคนที่มีความนิยมมากขึ้นเท่านั้น แถมมันอาจจะถูกแปรเปลี่ยนเป็นส่วนแบ่งลิขสิทธิ์อีกด้วย ฉะนั้นศิลปินทุกคนน่าจะอยากให้เพลงของตัวเองถูกกดฟัง หรือกดดาวน์โหลดเป็นจำนวนมากครั้งมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ไม่แน่ใจว่าริวอิจิคำนึงถึงผลประโยชน์การกดฟังซ้ำบ่อยๆ ตรงนี้หรือไม่ แต่เมื่อเขาได้โอกาสในการจัดเพลย์ลิสต์ให้กับร้าน Kajitsu แห่งนี้ เขาน่าจะต้องรู้ดีอยู่แก่ใจว่า เพลย์ลิสต์นี้จะถูกกดเล่นซ้ำไปซ้ำมาวนไปวนมาอีกเป็นร้อยเป็นพันรอบ อย่างน้อยๆ ก็จากพนักงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบเปิดเพลงในร้านนี้นี่แหละ แต่ปรากฏว่าเพลย์ลิสต์ที่เขาจัดให้ร้าน กลับไม่มีเพลงของเขาเลยแม้แต่เพลงเดียว

แล้วเขาใช้เกณฑ์ใดในการเลือกเพลงที่จะมาเปิดในร้านโปรดแห่งนี้กัน?

ตามปกติวิสัย เวลาเราจัดเพลย์ลิสต์เพลงคนมักจะเลือกเอาเพลงที่ตนเองชอบ ฟังแล้วรู้สึกถูกจริตกับรสนิยมของตัวเอง แต่กับริวอิจิแล้ว เขามีความคิดที่ต่างออกไปในการจัดเพลย์ลิสต์ให้กับร้าน Kajitsu

“ผมต้องการสร้างคอลเลกชั่นของเพลง ที่สร้างบรรยากาศให้กับร้านนี้ครับ” 

ริวอิจิใส่ความตั้งใจในการสร้างเพลย์ลิสต์ครั้งนี้มาก ใจหนึ่งเขาอาจจะกลัวว่าเขาจะมีใจลำเอียงจนเกินไปในการเอาบรรทัดฐานของตัวเองเพียงคนเดียวมาตัดสินว่าเพลงไหนเหมาะควรพอที่จะมาอยู่ในร้านมิชิลิน 1 ดาวแห่งนี้ เขาจึงชวน ริว ทาคาฮาชิ (Ryu Takahashi) เพื่อนนักดนตรี นักแต่งเพลงชาวญี่ปุ่นที่อยู่ในนิวยอร์กอีกคนมาช่วยกันรังสรรค์รายชื่อเพลง

Kajitsu

กลายร่างมา 5 ครั้งจนกว่าจะมาเป็นเพลย์ลิสต์ที่ ‘ใช่’

เริ่มขั้นตอนการสร้างเพลย์ลิสต์ด้วยใจที่อยากสร้างบรรยากาศให้กับร้านโปรดของเขาแห่งนี้ เขาสร้าง ‘ร่าง’ เพลย์ลิสต์อยู่ 5 ร่าง แล้วนำมาเปิดในร้าน ในขณะที่เปิดเขากับภรรยาก็นั่งกินข้าวในร้านไปด้วย เป็นการจำลองเหตุการณ์เสมือนหนึ่งว่าเขาเป็นหนึ่งในลูกค้า แล้วเขากับภรรยาก็เห็นตรงกันว่า เพลงที่ถูกเลือกมาส่วนใหญ่ให้ความรู้สึกมืดหม่นเกินไปไม่รับกับบรรยากาศของร้านเอาเสียเลย

ด้วยแสงไฟในร้าน สีของกำแพง สีของเฟอร์นิเจอร์ในร้าน ทุกอย่างดูส่องสว่าง แต่เพลงที่เขาเลือกมามันกลับมืดหม่น ริวอิจิเริ่มการคิดเพลย์ลิสต์ใหม่ให้กับร้านไปเรื่อยๆ 

“ผมไม่ได้คิดถึงเพียงแต่แค่อาหารหรือชั่วโมงยามของวัน แต่ผมคิดถึงโทนสีของร้าน บรรยากาศ และการตกแต่งของร้านด้วยครับ”

หลังจากที่คัดสรรกันมาจนเป็นร่างที่ 6 ซึ่งเรียกกันว่าเป็นร่างเพลย์ลิสต์ที่ไม่สว่างไป ไม่มืดไป ไม่แจ๊สไป ไม่โดดเด่นเกินไป ริวและริวอิจิก็ตกลงใจว่าร่างนี้แหละ คือเพลย์ลิสต์เพลงที่เหมาะและสมศักดิ์ศรีกับการเปิดในร้านอาหารมังสวิรัติญี่ปุ่นที่งดงามแห่งนี้ 

และเพลย์ลิสต์นั้นปัจจุบันมีให้คนทั่วไปสามารถนำเอาไปเปิดฟังกันได้ทั้งใน Apple Music, YouTube, Spotify และ SoundCloud ภายใต้ชื่อ Kajitsu Playlist

ซึ่งหากคุณลองเปิดเข้าไปฟังดูคุณอาจจะรู้สึกแบบเดียวกันกับที่ริวอิจิ , ริว และผู้เขียนรู้สึก เช่น จังหวะเนิบช้าจากเสียงบรรเลงของเปียโนจากเพลง Threnody ของ Goldmund ให้ความรู้สึกสงบ ผ่อนคลาย และเรียบง่ายงดงาม, เสียงวงดนตรีออร์เคสตร้าผสมผสานกับเสียงทรัมเป็ตพลิ้วไหวอ่อนโยนจาก Chet Baker ในเพลง Promenade sentimentale ของ Vladimir Cosma แสดงถึงความไพเราะของดนตรีแบบเรียบง่าย ไม่เอะอะ ไม่เรียกร้องความสนใจแต่เพราะแบบเป็นธรรมชาติ

ลองคิดดูว่าหากเปิดเพลงทั้ง 44 เพลง ใน Kajitsu Playlist พร้อมๆ กับการได้จิบชา และรับประทานอาหารญี่ปุ่นมังสวิรัติ 1 ดาวมิชลิน ทั้งลิ้นสัมผัส หูสัมผัส และกายสัมผัส ถึงบรรยากาศและความรื่นรมย์ทั้งรูปรส กลิ่นเสียง มันจะช่วยทำให้ประสบการณ์ในร้านอาหารของคุณงดงามมากขึ้นขนาดไหน

Kajitsu

อาจจะเป็นเพราะอุณหภูมิที่เปลี่ยนไปในแต่ละฤดู หรือความร้อนแรงของแสงอาทิตย์ในนิวยอร์กที่ไม่เท่ากันของฤดูร้อนกับฤดูใบไม้ผลิ เมื่อสร้างเพลย์ลิสต์เรียบร้อยแล้ว ริวอิจิจึงตั้งใจเอาไว้ว่า เขาจะจัดเพลย์ลิสต์ให้กับร้านใหม่ในทุกฤดูเพื่อให้คนที่เดินย่างเข้ามาในร้านที่งดงามแห่งนี้ รู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันกับความสงบ และความเป็นธรรมชาติของร้าน

กลับมาที่คุณโอโดะ เชฟของร้าน Kajitsu แห่งนี้ผู้เป็นที่นับถืออย่างยิ่งของคุณริวอิจิ ดูเหมือนว่าเชฟโอโดะ จะพอใจเป็นอย่างมากกับผลงานศิลปะทางดนตรีที่คุณริวอิจิใส่ใจสร้างมันขึ้นมาให้กับร้าน จนเมื่อเชฟโอโดะเปิดบาร์หรือร้านอาหารแห่งใหม่ เขาจึงได้มอบตำแหน่งงานหนึ่งที่เขาคำนึงแล้วว่ามีความสำคัญในการสร้างสรรค์ความงามของร้านให้กับคุณริวอิจิ 

นั่นคือตำแหน่ง ‘เชฟเพลย์ลิสต์’

เพราะอร่อยแค่ลิ้นคงไม่พอ เปิดร้านอาหารทั้งทีต้องคิดถึงความอร่อยจมูก (อาหารหอมน่ากิน), อร่อยผิว (อาหารอุ่นร้อนหรือเย็นจัดในอุณหภูมิที่กำลังอร่อยสำหรับอาหารนั้นๆ), อร่อยตา (ตกแต่งร้านสวย ดูดี) 

และต้องปิดท้ายด้วยอร่อยหู จากการจัดเพลย์ลิสต์เพลงเพราะ ๆ ด้วยสิ

ถึงจะเรียกได้ว่าสะสมแต้มความอร่อยเพื่อบำเรอให้กับลูกค้าได้ครบองค์ประกอบ

Kajitsu

ที่มา:

nytimes.com/2018/07/23/dining/restaurant-music-playlists-ryuichi-sakamoto.html

researchgate.net/publication/315800050_The_impact_of_music_in_restaurants

journals.sagepub.com/doi/abs/10.1177/0013916503254749

cloudcovermusic.com/music-for-business/jazzgothammag.com/michelin-star-restaurants-nyc

หนังสือ 9 เล่มที่เป็นที่สุดจากสำนักพิมพ์ Biblio

Biblio

Biblio add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

Biblio

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

‘LEGO’ จากที่เคยเกือบล้มละลายพลิกกลับมาเป็นบริษัทของเล่นมูลค่า 6,000 ล้านดอลลาร์ด้วยกลยุทธ์ใด

ทุกธุรกิจมีช่วงเวลาขาขึ้นและขาลงด้วยกันทั้งสิ้น โดยเฉพาะบริษัทที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานอย่าง LEGO ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1932 ของเล่นบล็อกต่อสีสดใส ไม่มีรูปแบบตายตัว ไร้ขอบเขตสุดแล้วแต่จินตนาการ เล่นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ได้รับความนิยมโดยตลอดจนถึงช่วงต้นของปี 2000 ช่วงเวลาที่ทุกอย่างกำลังเปลี่ยนเป็นดิจิทัล อินเทอร์เน็ตกำลังได้รับความนิยม พวกเขาพยายามเปลี่ยนตามโลก สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ แต่กลายเป็นว่าการตัดสินใจเหล่านั้นเกือบทำให้พวกเขาล้มละลาย

อาจจะมองไม่ออกว่าบริษัท LEGO ที่มีมูลค่ากว่า 9,100 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบันตอนนั้นตัดสินใจอะไรผิดพลาด แต่ความสำเร็จที่เราเห็นตอนนี้เป็นผลมาจากการพลิกฟื้นธุรกิจหลังจากการขาดทุนติดกันสองปี ช่วง 2003-2004 ติดหนี้กว่า 800 ล้านดอลลาร์ จนเกือบล้มละลายเลยในตอนนั้น

ย้อนกลับไปตอนแรกๆ ที่ Ole Kirk Christiansen ช่างไม้ชาวเดนมาร์กเริ่มผลิตของเล่นเด็กออกมาขายเพราะเชื่อว่าไม่ว่าเศรษฐกิจจะแย่แค่ไหน สิ่งที่พ่อแม่ยังคงยอมจ่ายเงินซื้อให้ลูกก็คือของเล่น โดยตอนนั้นสิ่งที่เขาทำออกมาขายเป็นเป็ดไม้ที่มีล้อลากปกติ เขาตั้งชื่อบริษัทว่า ‘LEGO’ ที่เป็นการผสมภาษาเดนมาร์กสองคำ ‘leg + godt’ หรือที่แปลว่า ‘play well’ และถึงแม้ว่าธุรกิจจะไม่ได้แย่ แต่มันก็ไม่ได้ดี แถมช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ไฟไหม้โรงงานจึงทำให้ของเล่นที่เป็นไม้เสียหายเกือบทั้งหมด

โชคยังดีที่เขายังมุ่งมั่นที่จะทำมันต่อ สร้างโรงงานใหม่ขึ้นมาอีกครั้ง และคราวนี้ก็เริ่มผลิตของเล่นที่ทำมาจากพลาสติก เป็นตัวต่อ (brick) รุ่นแรกที่ด้านล่างกลวง ไม่มีตัวยึดที่รูปทรงคล้ายท่อที่เราคุ้นเคยกันตอนนี้ พอต่อซ้อนกันก็หลุดออกจากกันได้ง่าย เป็นเหตุให้ขายไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ จนกระทั่งในช่วงปี 1958 ที่ LEGO เร่ิมมีการใช้ตัวต่อแบบที่มีท่อทำให้การต่อแน่นขึ้น สร้างความเป็นไปได้ในการต่อแบบไม่รู้จบ ตอนนี้เองที่ธุรกิจเริ่มเข้าสู่ช่วงขาขึ้นอย่างแท้จริง

ครึ่งศตวรรษต่อมาถือเป็นยุคทองของ LEGO ยอดขายเพิ่มขึ้นปีแล้วปีเล่า ชื่อแบรนด์กลายเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของความคิดสร้างสรรค์และความสุขของครอบครัว พ่อแม่ไม่เพียงแค่ซื้อตัวต่อเลโก้มาให้ลูกเป็นของขวัญในช่วงคริสต์มาสและวันเกิดเท่านั้น ยังซื้อเป็นคอลเลกชั่นต่างๆ ไว้สำหรับเล่นในช่วงวันธรรมดาทั่วไปด้วย แต่แล้วช่วงต้นยุค 2000 ทุกอย่างก็เริ่มเปลี่ยนไป อินเทอร์เน็ตเริ่มกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนพูดถึง ของเล่นที่ได้รับความนิยมช่วงนั้นคือเกมคอนโซลต่างๆ ทั้งจากฝั่ง PlayStation และ Nintendo ทำให้ยอดขายของพวกเขาลดลงอย่างน่าใจหาย

LEGO พยายามปรับตัวหลายอย่างเพื่อกลับมาดึงดูดลูกค้า แต่มันกลับเหมือนขุดหลุมฝังตัวเองให้ลึกลงไปอีก

บริษัทอย่าง LEGO มีสิ่งที่เรียกว่า ‘ค่าใช้จ่ายคงที่’ หรือ ‘fixed cost’ ที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนอยู่แล้ว ดังนั้นการลงทุนอะไรที่ไม่สามารถสร้างรายได้ให้มากกว่าค่าใช้จ่ายเหล่านั้นถือเป็นความเสียหาย ความผิดพลาดอย่างแรกคือการพยายามวิ่งตามเทรนด์ของโลกอินเทอร์เน็ตและคอนเทนต์โดยที่ไม่เคยมีประสบการณ์ด้านนี้มาก่อน พวกเขาพยายามสร้างเกมและรายการทีวีแต่ไม่ได้รับความสนใจเลย เหมือนเอาเงินไปละลายทิ้ง ช่วงก่อนหน้านี้ 1996-2002 ได้เปิดสวนสนุกของตัวเองไป 3 แห่งในสหราชอาณาจักร อเมริกา และ เยอรมนี นอกจากนั้นยังพยายามเพิ่มความหลากหลายให้ตัวต่อ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างแพงเพราะทุกตัวต่อต้องมีการขึ้นรูปใหม่ มีต้นทุนเพิ่มทุกตัว ที่สำคัญไม่ได้ทำตัวสองตัว ทำออกมาใหม่หลายพันแบบเลยทีเดียว พูดอีกอย่างคือพวกเขาพยายามจะ ‘ทำมากไป’ จนเกือบเจ๊ง ช่วงเวลานั้นพวกเขาหลุดโฟกัสและลืมจิตวิญญาณของ LEGO ไป

ในปี 2003 LEGO เป็นหนี้กว่า 800 ล้านดอลลาร์ ยอดขายลดลงกว่า 30%

ในภาวะวิกฤต Jørgen Vig Knudstorp อดีตที่ปรึกษาด้านการจัดการที่ McKinsey & Company เข้ามารับตำแหน่ง CEO ของบริษัท LEGO ต่อจากลูกชายของโอเล เคิร์ก คริสเตียนเซน และกล่าวอย่างชัดเจนว่า LEGO ต้องกลับไปโฟกัสที่ตัวต่อ และผลิตภัณฑ์ที่เป็นรากฐานสำคัญของบริษัท และลดจำนวนรูปแบบของตัวต่อจาก 12,900 แบบให้เหลือเพียง 7,000 แบบเท่านั้น ต่อจากนั้นเขาตัดสินใจขายสวนสนุกและยุบแผนกเกมและคอนเทนต์ไปเพราะไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาเชี่ยวชาญและขาดทุนอยู่ตลอด

กลยุทธ์หนึ่งที่ LEGO ทำแล้วประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากคือการไปซื้อ IP (intellectual property) ต่างๆ อย่างเช่น Star Wars, Marvel, Harry Potter, Mari, Jurassic Park และอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนั้นช่วงหลังเรายังเห็น Lego Ideas ที่เป็นโครงการให้แฟนคลับ LEGO นำผลงานที่ออกแบบมาแสดง ผลงานไหนได้รับผลโหวตจะถูกสร้างเป็นเซตขายจริง ๆ (ล่าสุดที่เราเห็นเซต The Starry Night ที่เป็นภาพวาดของแวน โกะห์ ที่ออกแบบโดย Truman Cheng หนุ่มวัย 25 ปี จากฮ่องกง)

การ co-brand หรือที่เรารู้จักกันว่า collaboration นำความสำเร็จกลับมาสู่  LEGO อีกครั้ง ในปี 2005 พวกเขาใช้ความนิยมของภาพยนตร์เรื่อง Star Wars ที่มีกลุ่มแฟนคลับที่เหนียวแน่นทั่วโลกมาเป็นแนวทางในการสร้างวิดีโอเกม แต่ครั้งนี้ไม่ได้ทำเองทั้งหมดเหมือนตอนแรก ครั้งนี้ใช้เนื้อเรื่องของ Star Wars แต่ตัวละครจะเป็นหุ่นเลโก้แทน โดยร่วมมือกับบริษัท Traveller’s Tales เพื่อพัฒนาเกมนี้ขึ้นมา ปรากฏว่าผลตอบรับดีมาก ขายได้กว่า 50 ล้านแผ่น ต่อมาก็ทำแบบเดียวกันกับ Harry Potter ในปี 2012 จนกระทั่งมาสร้างภาพยนตร์แอนิเมชั่น The Lego Movie ในปี 2014 เล่าถึงเรื่องราวของตัวเลโก้ธรรมดาๆ ตัวหนึ่งที่ต้องปกป้องโลกที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ได้รับรีวิว 96% บนเว็บไซต์อย่าง Rotten Tomatoes และทำกำไรได้กว่า 230 ล้านดอลลาร์จากแอนิเมชั่นเรื่องนี้

นอกจากนั้นแล้ว LEGO มักจะคอยตอบคอมเมนต์และรับฟังความคิดเห็นจากแฟนคลับของตัวเองบนอินสตาแกรมอยู่เสมอ นี่เป็นสิ่งที่ทำให้เห็นว่าพวกเขากลับมาโฟกัสที่ลูกค้าจริง ๆ ไม่ใช่แค่คาดเดาว่าลูกค้าจะชอบอะไรอย่างแต่ก่อน ตอนนี้มีการจ้างแฟนคลับที่เป็นผู้ใหญ่เพื่อให้รีวิวสินค้าและมาออกแบบสินค้าของพวกเขาด้วย ส่วนของเด็ก LEGO ก็ทำการศึกษาอยู่เสมอว่าเด็กในแต่ละพื้นที่ทั่วโลกนั้นเล่นตัวต่อกันยังไงบ้าง ทำให้สามารถเข้าถึงความต้องการของลูกค้าในแต่ละพื้นที่ได้จริงๆ 

นิตยสาร FastCompany ถึงขั้นเรียก LEGO ว่าเป็น ‘บริษัทแอปเปิลของของเล่น’

มาถึงตอนนี้ LEGO ดูเหมือนจะผ่านช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของบริษัทมาไกลมาก ยอดขายกว่า 2,100 ล้านดอลลาร์ในปี 2021 ทำให้พวกเขาขึ้นมายืนเป็นบริษัทของเล่นที่ใหญ่ที่สุดในโลกเหนือกว่าบริษัท Mattel (เจ้าของ Barbie, Hot Wheels และ Thomas & Friends ฯลฯ) ไปเรียบร้อยแล้ว LEGO ยังคงเป็นของเล่นที่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เล่นด้วยกันได้อยู่เสมอ การ co-brand ก็ทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่กว้างมากขึ้น คอลเลกชั่นใหม่ที่ออกมาเอาใจ AFOLs (Adult Fan of LEGO) ก็ได้รับเสียงตอบรับอย่างดีเพราะถือว่าเป็นของสะสมมากกว่าแค่ของเล่นทั่วไป ราคาค่อนข้างสูงแต่ลูกค้าก็พร้อมที่จะควักเงินจ่าย นอกจากนั้น ทุกวันนี้คนบางกลุ่มยังซื้อ LEGO เก็บไว้เป็นการลงทุนด้วย เพราะบางชุดที่เลิกผลิตไปแล้วราคาในตลาดสูงขึ้นโดยเฉลี่ยกว่า 11% ต่อปีเลยทีเดียว 

ตอนนี้ LEGO กลับมาเข้มแข็งอีกครั้งอย่างแท้จริงและคงเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมาแล้วว่าสิ่งสำคัญที่สุดในการทำธุรกิจคืออย่าไขว้เขวไปตามกระแสจนหลุดโฟกัสจนลืมว่าตัวเองเป็นใคร

อ้างอิง

business.time.com/2013/07/12/trouble-in-legoland-how-too-much-innovation-almost-destroyed-the-toy-company

successagency.com/growth/2018/02/27/lego-bankrupt-powerful-brand

youtu.be/IjcSKukg9IE

fastcompany.com/3040223/when-it-clicks-it-clicks

statista.com/statistics/985451/lego-brand-value-worldwide

theguardian.com/lifeandstyle/2021/dec/10/investing-in-lego-more-lucrative-than-gold-study-suggests

business.time.com/2013/07/12/trouble-in-legoland-how-too-much-innovation-almost-destroyed-the-toy-company

businessinsider.co.za/lego-makes-van-goghs-iconic-the-starry-night-painting-2022-5

การวางแผนทางการเงิน เพื่อการมีลูก 1 คน จะได้ไม่จนไป 7 ปี (แถมรวยขึ้น)

มีลูก นอกจากจะทำให้เรื่องธุรกิจเป็นเรื่องใกล้ตัว Capital อยากทำให้เรื่องวางแผนทางเงินและการลงทุนเป็นเรื่องง่าย เป็นมิตร ไปจนถึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่หล่อเลี้ยงธุรกิจให้ไปต่อ

มีลูก WEALTH DONE คือ คอลัมน์ที่อยากผลักดันให้คนหันมาวางแผนการเงิน ผ่านตอบคำถามเรื่องการเงินและการลงทุน โดย สุวภา เจริญยิ่ง นักการเงินมากประสบการณ์ ผู้เป็นทั้งกรรมการอิสระในบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่ง เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เป็นอุปนายกสมาคมนักวางแผนทางการเงินไทย เป็นคุณครู เป็นนักเขียน และล่าสุดเป็นคอลัมนิสต์ของ Capital ที่จะมาพบผู้อ่าน ทุกวันพฤหัสบดี เว้นวันพฤหัสบดี ที่ capitalread.co เริ่มตอนแรกวันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม

หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องการเงินการลงทุนที่เกิดขึ้นรอบตัวและสงสัยใคร่รู้เป็นพิเศษ ส่งมาบอกพวกเราชาว Capital ได้ที่ [email protected] หรือทุกช่องทางโซเชียลมีเดียของ Capital ระหว่างนี้ ตามไปทำความรู้จักคอลัมนิสต์คนใหม่ของเราได้ที่ บทสัมภาษณ์ตอนล่าสุดของคอลัมน์ ณ บัตรนั้น

นอกจากจะทำให้เรื่องธุรกิจเป็นเรื่องใกล้ตัว Capital อยากทำให้เรื่องวางแผนทางเงินและการลงทุนเป็นเรื่องง่าย เป็นมิตร ไปจนถึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่หล่อเลี้ยงธุรกิจให้ไปต่อ

WEALTH DONE คือ คอลัมน์ที่อยากผลักดันให้คนหันมาวางแผนการเงิน ผ่านตอบคำถามเรื่องการเงินและการลงทุน โดย สุวภา เจริญยิ่ง นักการเงินมากประสบการณ์ ผู้เป็นทั้งกรรมการอิสระในบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่ง เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เป็นอุปนายกสมาคมนักวางแผนทางการเงินไทย

หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องการเงินการลงทุนที่เกิดขึ้นรอบตัวและสงสัยใคร่รู้เป็นพิเศษ ส่งมาบอกพวกเราชาว Capital ได้ที่ [email protected] หรือทุกช่องทางโซเชียลมีเดียของ Capital ระหว่างนี้ ตามไปทำความรู้จักคอลัมนิสต์คนใหม่ของเราได้ที่ บทสัมภาษณ์ตอนล่าสุดของคอลัมน์ ณ บัตรนั้น

นอกจากจะทำให้เรื่องธุรกิจเป็นเรื่องใกล้ตัว Capital อยากทำให้เรื่องวางแผนทางเงินและการลงทุนเป็นเรื่องง่าย เป็นมิตร ไปจนถึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่หล่อเลี้ยงธุรกิจให้ไปต่อ

WEALTH DONE คือ คอลัมน์ที่อยากผลักดันให้คนหันมาวางแผนการเงิน ผ่านตอบคำถามเรื่องการเงินและการลงทุน โดย สุวภา เจริญยิ่ง นักการเงินมากประสบการณ์ ผู้เป็นทั้งกรรมการอิสระในบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่ง เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน

หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องการเงินการลงทุนที่เกิดขึ้นรอบตัวและสงสัยใคร่รู้เป็นพิเศษ ส่งมาบอกพวกเราชาว Capital ได้ที่ [email protected] หรือทุกช่องทางโซเชียลมีเดียของ Capital ระหว่างนี้ ตามไปทำความรู้จักคอลัมนิสต์คนใหม่ของเราได้ที่ บทสัมภาษณ์ตอนล่าสุดของคอลัมน์ ณ บัตรนั้น

นอกจากจะทำให้เรื่องธุรกิจเป็นเรื่องใกล้ตัว Capital อยากทำให้เรื่องวางแผนทางเงินและการลงทุนเป็นเรื่องง่าย เป็นมิตร ไปจนถึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่หล่อเลี้ยงธุรกิจให้ไปต่อ

WEALTH DONE คือ คอลัมน์ที่อยากผลักดันให้คนหันมาวางแผนการเงิน ผ่านตอบคำถามเรื่องการเงินและการลงทุน โดย สุวภา เจริญยิ่ง นักการเงินมากประสบการณ์ ผู้เป็นทั้งกรรมการอิสระในบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่ง เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน

หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องการเงินการลงทุนที่เกิดขึ้นรอบตัวและสงสัยใคร่รู้เป็นพิเศษ ส่งมาบอกพวกเราชาว Capital ได้ที่ [email protected] หรือทุกช่องทางโซเชียลมีเดียของ Capital ระหว่างนี้ ตามไปทำความรู้จักคอลัมนิสต์คนใหม่ของเราได้ที่ บทสัมภาษณ์ตอนล่าสุดของคอลัมน์ ณ บัตรนั้น

นอกจากจะทำให้เรื่องธุรกิจเป็นเรื่องใกล้ตัว Capital อยากทำให้เรื่องวางแผนทางเงินและการลงทุนเป็นเรื่องง่าย เป็นมิตร ไปจนถึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่หล่อเลี้ยงธุรกิจให้ไปต่อ

คอลัมน์ที่อยากผลักดันให้คนหันมาวางแผนการเงิน ผ่านตอบคำถามเรื่องการเงินและการลงทุน โดย สุวภา เจริญยิ่ง นักการเงินมากประสบการณ์ ผู้เป็นทั้งกรรมการอิสระในบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่ง เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เป็นอุปนายกสมาคมนักวางแผนทางการเงินไทย

หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องการเงินการลงทุนที่เกิดขึ้นรอบตัวและสงสัยใคร่รู้เป็นพิเศษ ส่งมาบอกพวกเราชาว Capital ได้ที่ [email protected] หรือทุกช่องทางโซเชียลมีเดียของ Capital ระหว่างนี้ ตามไปทำความรู้จักคอลัมนิสต์คนใหม่ของเราได้ที่ บทสัมภาษณ์ตอนล่าสุดของคอลัมน์ ณ บัตรนั้น

นอกจากจะทำให้เรื่องธุรกิจเป็นเรื่องใกล้ตัว Capital อยากทำให้เรื่องวางแผนทางเงินและการลงทุนเป็นเรื่องง่าย เป็นมิตร ไปจนถึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่หล่อเลี้ยงธุรกิจให้ไปต่อ

คอลัมน์ที่อยากผลักดันให้คนหันมาวางแผนการเงิน ผ่านตอบคำถามเรื่องการเงินและการลงทุน โดย สุวภา เจริญยิ่ง นักการเงินมากประสบการณ์ ผู้เป็นทั้งกรรมการอิสระในบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่ง เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เป็นอุปนายกสมาคมนักวางแผนทางการเงินไทย เป็นคุณครู เป็นนักเขียน และล่าสุดเป็นคอลัมนิสต์ของ Capital ที่จะมาพบผู้อ่าน ทุกวันพฤหัสบดี เว้นวันพฤหัสบดี ที่ capitalread.co เริ่มตอนแรกวันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม

หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องการเงินการลงทุนที่เกิดขึ้นรอบตัวและสงสัยใคร่รู้เป็นพิเศษ ส่งมาบอกพวกเราชาว Capital ได้ที่ [email protected] หรือทุกช่องทางโซเชียลมีเดียของ Capital ระหว่างนี้ ตามไปทำความรู้จักคอลัมนิสต์คนใหม่ของเราได้ที่ บทสัมภาษณ์ตอนล่าสุดของคอลัมน์ ณ บัตรนั้น

นอกจากจะทำให้เรื่องธุรกิจเป็นเรื่องใกล้ตัว Capital อยากทำให้เรื่องวางแผนทางเงินและการลงทุนเป็นเรื่องง่าย เป็นมิตร ไปจนถึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่หล่อเลี้ยงธุรกิจให้ไปต่อ

คอลัมน์ที่อยากผลักดันให้คนหันมาวางแผนการเงิน ผ่านตอบคำถามเรื่องการเงินและการลงทุน โดย สุวภา เจริญยิ่ง นักการเงินมากประสบการณ์ ผู้เป็นทั้งกรรมการอิสระในบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่ง เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เป็นอุปนายกสมาคมนักวางแผนทางการเงินไทย เป็นคุณครู เป็นนักเขียน และล่าสุดเป็นคอลัมนิสต์ของ Capital ที่จะมาพบผู้อ่าน ทุกวันพฤหัสบดี เว้นวันพฤหัสบดี ที่ capitalread.co เริ่มตอนแรกวันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม

หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องการเงินการลงทุนที่เกิดขึ้นรอบตัวและสงสัยใคร่รู้เป็นพิเศษ ส่งมาบอกพวกเราชาว Capital ได้ที่ [email protected] หรือทุกช่องทางโซเชียลมีเดียของ Capital ระหว่างนี้ ตามไปทำความรู้จักคอลัมนิสต์คนใหม่ของเราได้ที่ บทสัมภาษณ์ตอนล่าสุดของคอลัมน์ ณ บัตรนั้น

นอกจากจะทำให้เรื่องธุรกิจเป็นเรื่องใกล้ตัว Capital อยากทำให้เรื่องวางแผนทางเงินและการลงทุนเป็นเรื่องง่าย เป็นมิตร ไปจนถึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่หล่อเลี้ยงธุรกิจให้ไปต่อ

คอลัมน์ที่อยากผลักดันให้คนหันมาวางแผนการเงิน ผ่านตอบคำถามเรื่องการเงินและการลงทุน โดย สุวภา เจริญยิ่ง นักการเงินมากประสบการณ์ ผู้เป็นทั้งกรรมการอิสระในบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่ง เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เป็นอุปนายกสมาคมนักวางแผนทางการเงินไทย เป็นคุณครู เป็นนักเขียน และล่าสุดเป็นคอลัมนิสต์ของ Capital ที่จะมาพบผู้อ่าน ทุกวันพฤหัสบดี เว้นวันพฤหัสบดี ที่ capitalread.co เริ่มตอนแรกวันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม

ความเชื่อที่ทำให้ Creative Talk เติบโตมากว่า 10 ปีจนกลายเป็นคอมมิวนิตี้ที่รวมคนสร้างสรรค์นับพัน

นับเป็นปีที่ 10 พอดิบพอดีที่ Creative Talk Conference ได้จัดงานที่รวบรวมผู้คนจากหลากหลายวงการมาพูดคุยเรื่องธุรกิจและความคิดสร้างสรรค์ขึ้นมา 

และด้วยเป็นปีแรกที่ Creative Talk ใช้หน่วยทศวรรษในการนับอายุของงาน Capital จึงถือโอกาสชวนสองผู้จัดอย่าง เก่ง–สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม ผู้ก่อตั้งบริษัท RGB72 ซึ่งเป็นผู้จัดงาน และ โจ้–ฉวีวรรณ คงโชคสมัย Managing Director บริษัท RGB72 มาพูดคุยกันว่านอกจากความคิดสร้างสรรค์ อะไรคือความเชื่อ วิธีคิด รวมไปถึงวิธีการที่ทำให้ทั้งสองสามารถนำพาให้  Creative Talk เดินทางมาได้อย่างยาวนาน ทั้งในแต่ละครั้งก็ยังพ่วงมาด้วยจำนวนผู้ร่วมเดินทาง–ในทีนี้หมายถึงจำนวนคนที่ซื้อบัตรเข้ามาในงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในทุกปี

จากปีแรกที่มีผู้เข้าร่วม 70 คน กลายเป็นหลักร้อยคน ขยับมาเป็นหลักพันคน และเป็นครึ่งหมื่นคนในได้ในที่สุด จนวันนี้ Creative Talk ได้กลายมาเป็นเหมือนแหล่งพบปะพูดคุยสังสรรค์ของเหล่าคนสร้างสรรค์ของคนทำธุรกิจ สตาร์ทอัพ คนในวงการเทคโนโลยี และผู้คนอีกจากหลากหลายวงการที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในวงศิลปินหรือเหล่าครีเอทีฟเพียงเท่านั้น

คนมีเรื่องที่รู้อยู่สองสามเรื่อง แล้วก็มีเรื่องที่ไม่รู้อีกเป็นร้อยเรื่อง

แรกเริ่มเดิมที Creative Talk เป็นเหมือน side project ของ RGB72 บริษัทเอเจนซีของเก่ง ที่รับหน้าที่ในการผลิตงานเชิงครีเอทีฟให้กับลูกค้า และด้วยความที่คลุกคลีอยู่ในวงการสตาร์ทอัพทำให้เก่งได้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าการที่ธุรกิจหนึ่งจะประสบความสำเร็จและมีความแข็งแรงได้นั้นไม่ได้เกิดมาจากคนเก่งแค่เพียงคนเดียว แต่คือคนเก่งในเรื่องที่ต่างกันมารวมตัวกัน 

อย่างธุรกิจสตาร์ทอัพเอง แม้จะมีคนเขียนโค้ดมีคนสร้างอัลกอริทึมที่เก่งขนาดไหน แต่ถ้าหากขาดดีไซเนอร์ที่ช่วยห่อหุ้มให้เทคโนโลยีเข้าถึงคนได้ง่ายมากขึ้น หรือขาดมาร์เก็ตติ้งที่คอยพิตช์เงินจากนักลงทุนไป ก็คงเป็นเรื่องยากที่จะทำเทคโนโลยีเหล่านั้นกลายเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จได้ 

“ผมเชื่อว่าคนหนึ่งคนมีเรื่องที่ตัวเองรู้อยู่สองสามเรื่อง แล้วก็มีเรื่องอีกเป็นร้อยเรื่องที่ตัวเองไม่รู้ แม้จะบอกว่าคนนี้เก่งมากเลย แต่แน่นอนว่ามันก็ต้องมีเป็นอีกร้อยๆ เรื่องที่เขาไม่รู้ 

“แต่ผมว่าคนเรามันควรจะต้องรู้เอาไว้หลากหลาย แล้วก็คิดว่าความหลากหลายนี้มันสามารถที่จะแลกเปลี่ยนกันได้ด้วยการนัดหมายให้หลายๆ คนมาเจอกัน 

“พอหลายคนมาเจอกันแล้วต่างก็มีความรู้ในมุมของตัวเอง มันเป็นเรื่องที่น่าสนุกไม่น้อย แล้วผมก็อยากให้คนเก่งขึ้นจริงๆ ” 

เขาเล่าให้ฟังถึงจุดเริ่มต้นของ Creative Talk ก่อนโจ้จะอธิบายเสริมต่อไปว่า 

“อย่างที่บอกว่าก่อนจะมาทำ Creative Talk เราเป็นบริษัทเอเจนซีมาก่อน เวลาไปคุยงานรับบรีฟเราก็ต้องตั้งคำถามคุยกับลูกค้าไปเรื่อยๆ แล้วพอคุยไปเรื่อยๆ มันก็กลายเป็นบทสนทนาที่ลงลึกไปมากขึ้นจนกว่าจะเจอสิ่งที่เป็นแก่นของมันจริงๆ 

“แล้วลูกค้าหลายคนก็มีฟีดแบ็กกลับมาว่าเวลาได้คุยกับเรา เขาเหมือนได้คอนซัลต์ธุรกิจไปในตัวด้วย ยิ่งพอมีลูกค้าบอกว่าถ้าคุณสองคน คือเรากับพี่เก่ง จัดงานทอล์กขึ้นมาเขาจะจ่ายเงินไปดูนะ ซึ่งมันเป็นคำพูดที่เหมือนมาสะกิดให้เราอยากจัดงานขึ้นไปอีก”

ข้อดีของการวางไว้หลายแผนนี้คือทำให้ทีมปรับตัวได้เร็ว

อย่างน้อย 6 เดือน คือระยะเวลาที่เก่ง โจ้ และทีมงานใช้ในการเตรียมการกว่าจะออกมาเป็นงาน Creative Talk นานกว่าครึ่งปีเพราะการจัดงานแต่ละครั้งต้องผ่านกระบวนการมากมาย 

ตั้งแต่เริ่มเซอร์เวย์ดูว่าในเวลานั้นๆ ผู้คนในสังคมและกลุ่มเป้าหมายที่จะมาร่วมงานกำลังสนใจเรื่องอะไรอยู่ แล้วนำความสนใจนั้นมาพัฒนาเป็นคอนเซปต์ของงาน จากนั้นก็ถึงขั้นตอนในการชวนสปีกเกอร์ ซึ่งกว่าจะผ่านขั้นตอนนี้ไปได้ก็กินเวลาไปมากระดับหนึ่งแล้ว

โดยระหว่างเชิญสปีกเกอร์ อีกทีมหนึ่งก็จะเป็นคนทำพีอาร์โปรโมตงาน มีฝั่งโปรดักชั่นที่ต้องคิดว่าจะออกแบบเวทียังไง มีฝ่ายที่ต้องคอยหาสปอนเซอร์มาเพื่อสนับสนุนงาน 

นอกจากการคิด การจัดการ การจัดอีเวนต์ยังเป็นงานที่เรียกร้องทักษะการแก้ปัญหาเป็นอย่างยิ่ง

“ตอนปี 2021 เป็นปีที่ท้าทายสุดๆ เพราะโควิดทำให้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงทุกวัน วิธีแก้ปัญหาของเราคือวางเป็นแผน A-B-C-D เอาไว้เลย แผน A คือจัดได้ปกติ, B คือจัดเป็นออนไลน์และออนกราวด์, C คือจัดออนไลน์อย่างเดียว และ D คือไม่ได้จัดเลย

“ข้อดีของการวางไว้ 4 แผนนี้คือมันทำให้ทั้งทีมปรับตัวได้เร็ว เช่นสมมติตอนทำสัญญากับเจ้าของสถานที่จัดงาน แล้วทีมของเรากับเจ้าของสถานที่รู้แล้วว่ามีแผน D คือไม่จัดเลย ดังนั้นจะทำให้สองฝ่ายเห็นภาพแล้วว่ามันมีโอกาสที่งานจะยกเลิกได้นะ และก็ทำให้ทุกคนปรับให้เข้ากับสถานการณ์ที่มีความเปลี่ยนแปลงไปมาได้ง่ายมากขึ้น” เก่งเล่าถึงหนึ่งในวิธีแก้ปัญหาของเขาให้ฟัง

“มันคือการเอาสิ่งที่เราเคยฟังจากสปีกเกอร์ที่มาพูดในงานเราเองนี่แหละมาปรับใช้” โจ้เล่าเสริม

มองหาอนาคตแล้วทำปัจจุบันให้ดีที่สุด ส่วนอดีตมีไว้เป็นบทเรียน

งานในปีนี้ Creative Talk Conference 2022 ที่จะกลับมาจัดแบบ on ground อีกครั้งพวกเขาตั้งชื่อธีมว่า ‘The Future of Everything’

เหตุผลที่ทั้งสองเลือกพูดถึงอนาคตไม่ใช่เพียงเพราะกระแสโลกดิจิทัลทั้งหลายที่ไหลบ่าเข้ามาใกล้ตัวเรามากขึ้นเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการที่เก่งและโจ้อยากจะสร้างสังคมที่เรียกว่า forward- thinking ขึ้นมา ที่เก่งเล่าต่อไปว่า

“เราไม่อยากกลับไปถามแล้วว่าที่ผ่านมาโควิดเป็นยังไงบ้าง เพราะมันผ่านมาแล้ว แต่เราอยากจะชวนทุกคนมองไปข้างหน้ามากกว่าว่าอนาคตจะเอายังไงต่อ เพราะเวลาเราเดินส่วนใหญ่แล้วเราก็จะเดินไปข้างหน้า เราเลยอยากชวนทุกคนมองหาอนาคตแล้วทำปัจจุบันให้ดีที่สุด ส่วนอดีตมีไว้เป็นบทเรียน แล้วด้วยงานของเรามีหลากหลายเซสชั่น มันก็เลยกลายเป็นที่มาของชื่อ The Future of Everything”

นอกจากธีมของงานที่เปลี่ยนไปทุกครั้ง ในทุกปีพวกเขาจะตั้งโจทย์ที่มีความท้าทายให้ต้องทำสิ่งใหม่ในแบบที่ Creative Talk ครั้งก่อนหน้ายังไม่เคยทำ

อย่างในปี 2019 ก็มีการจัดคอนเสิร์ตขึ้นมาในงาน โดยเชิญ Polycat มาเป็นศิลปินและสปีกเกอร์ ที่พูดถึงเรื่องวิธีคิดและการสร้างสรรค์งานเพลง ส่วนความท้าทายของการจัดงานในครั้งนี้พวกเขาให้โจทย์กับตัวเองเอาไว้ว่าจะต้องทำให้พื้นที่ในงานเป็น universal access 

“ผมอยากจะทำให้งานของเราซัพพอร์ตผู้พิการ 3 กลุ่มคือผู้พิการทางสายตา ทางการได้ยิน และทางการเคลื่อนไหว ให้สามารถมาร่วมงานของเราได้อย่างสะดวกมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการจัดสถานที่ที่ทำให้พวกเขาสามารถไปเวทีต่างๆ ได้อย่างไม่ยากลำบาก หรือการมีภาษามือเพื่อทำให้ผู้พิการทางการได้ยินเข้าใจในสิ่งที่สปีกเกอร์อธิบายได้

“ยิ่งไปกว่าทำให้พวกเขาสะดวกสบาย ผมอยากทำให้พวกเขาไม่ได้รู้สึกโดดเด่น พิเศษ หรือแตกต่างจากคนทั่วไป เพราะจากที่ได้ทำงานร่วมกับ Vulcan กลุ่ม social enterprise ที่ทำงานเกี่ยวกับคนพิการ ทำให้ผมเห็นอินไซต์ของคนกลุ่มนี้ว่าจริงๆ เขาไม่ได้ต้องการการดูแลที่พิเศษอะไรมากมาย เพราะกังวลว่าจะทำให้คนอื่นลำบากหรือเปล่า 

“ดังนั้นการทำ universal access ในครั้งนี้อาจจะไม่ได้มีช่องทางสำหรับวีลแชร์โดยเฉพาะ แต่ช่องทางเดินอาจจะเป็นอะไรที่กว้างขึ้นหน่อยเพื่อให้ทั้งคนที่เดินเท้าและคนที่ใช้วีลแชร์สามารถใช้พื้นที่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน”

เก่งเล่าวิธีคิดเบื้องหลังอีกโจทย์สำคัญในงานครั้งนี้ก่อนที่โจ้จะเสริม

“เราแอบหวังว่าถ้าการทำ universal access ในครั้งนี้สำเร็จ มันจะกลายเป็นมาตรฐานในการจัดงาน Creative Talk ในครั้งต่อๆ ไป 

“ทำให้ผู้พิการรู้สึกว่าถ้าเขาจะมางานนี้เขาสามารถใช้ชีวิตอยู่ในงานได้อย่างสะดวก ถ้ามีงานนี้จัดขึ้นมาอีกเขาไม่ต้องกังวลเรื่องการใช้ชีวิตในงาน เขาไปเวทีนู้นเวทีนี้ได้อย่างไม่ยากลำบาก เพราะเราก็ไม่ได้อยากจะทำ universal access แค่ครั้งเดียวแล้วต่อไปก็ไม่ทำแล้ว” 

ตัวชี้วัดความสำเร็จไม่ได้มีแค่เรื่องจำนวนผู้เข้าร่วมงาน 

เก่งและโจ้เล่าให้ฟังว่าในการจัดงานแต่ละครั้งพวกเขาจะมีตัวชี้วัดความสำเร็จอยู่ทั้งหมด 5 ด้านด้วยกัน 

ด้านแรกคือตัวผู้จัดงานอย่างพวกเขาเองที่วัดด้วยจำนวนผู้เข้าร่วมงาน ด้านที่สองคือเหล่าสปีกเกอร์ที่ได้มาแลกเปลี่ยนความรู้อย่างที่ตั้งใจไว้ ด้านที่สามคือสปอนเซอร์ที่ได้รับฟีดแบ็กอย่างที่คาดหวังไว้ ด้านที่สี่คือออร์แกไนเซอร์ซึ่งเป็นทีม outsource และด้านสุดท้ายคือคนฟังที่ได้รับสาระความรู้อย่างที่ตั้งใจเอาไว้ 

และเมื่อได้ลองถอดหมวกจากการเป็นผู้จัดงานมาเป็นคนฟังดูบ้าง ทั้งเก่งและโจ้ต่างก็ได้รับไอเดีย ข้อคิด และสาระความรู้กลับไปจากงานด้วยเช่นกัน

“ผมชอบเรื่องแนวคิด outvert mindset ของคุณอนุพงษ์ อัศวโภคิน ผู้บริหาร AP คือปกติแล้วมนุษย์เรามักจะคิดถึงตัวเองก่อนโดยธรรมชาติ แต่การคิดแบบ outvert mindset ทำให้เราคิดจากคนอื่น คิดจากข้างนอก แล้วค่อยนึกย้อนกลับมาถึงตัวเรา ฟังแล้วก็ดูเป็นแนวคิดธรรมดาทั่วไปที่ใครๆ ก็ชอบพูด แต่ผมรู้สึกว่ามันเป็นแนวคิดที่ดี โดยเฉพาะกับคนเป็นผู้บริหารที่มีพาวเวอร์เต็มเหนี่ยว การคิดแบบ outvert mindset นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ”  เก่งเล่าถึงสิ่งที่ตัวเองได้รับในหมวกผู้ฟัง

ส่วนโจ้เองก็มีถ้อยคำที่เธอบอกว่าจำได้ขึ้นใจ “คำแรกเป็นที่คุณรวิศ หาญอุตสาหะ ได้แชร์เอาไว้ว่า ‘ก่อนจะไปจัดการคนอื่นต้องจัดการตัวเองให้ได้ก่อน’ เป็นประโยคธรรมดาแต่สามารถ remind ตัวเราเองได้เป็นอย่างดี 

“กับอีกคำคือของคุณหมู–ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ แห่ง Ookbee ที่บอกว่า จะเป็นผู้ประกอบการจริงๆ แล้วอย่าเพิ่งไปคาดหวังว่าจะต้องเป็นยูนิคอร์น แต่ต้องเป็นแมลงสาบ คืออยู่รอดได้ทุกสถานการณ์ อยู่มาอย่างยาวนาน ผ่านอะไรนานเท่าไหร่แต่ก็ยังฆ่าไม่ตาย”

ความหลากหลายแลกเปลี่ยนกันได้ด้วยการที่หลายๆ คนมาเจอกัน

ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยกับการทำให้งานสัมมนางานหนึ่งสามารถคงอยู่มาได้ยาวนานถึง 10 ปี

หากจะบอกว่าสิ่งที่ทำให้ Creative Talk เป็นงานเสวนาที่ยืนระยะมาจนถึงวันที่สามารถนับหน่วยทศวรรษได้นั้นเป็นเพราะหัวข้อในแต่ละปีที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย นั่นก็ส่วนหนึ่ง แต่ในฐานะที่เป็นผู้ที่คลุกคลีกับงานนี้มาตั้งแต่เริ่มต้น เก่งและโจ้บอกว่าอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ทำให้ Creative Talk เดินทางมาถึงทุกวันนี้ได้ คือการที่ไม่ได้ทรีตมันเป็นแค่เพียงงานสัมมนาทั่วไปที่สปีกเกอร์ขึ้นพูดแล้วก็จบ แต่คือการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้คนในงาน จนเกิดเป็นคอมมิวนิตี้ และเป็นเหมือนแหล่งนัดพบของคนสร้างสรรค์ในหลากหลายวงการในทุกปี 

“พวกเราคิดว่าสิ่งที่ทำให้คนมางานมันไม่ได้มีแค่เรื่องของการที่จะมาเอาความรู้กลับบ้านไป แต่ยังรวมไปถึงความสนุก กิจกรรมต่างๆ ที่ไม่ได้มีแค่การให้คนมานั่งฟังเฉยๆ อย่างปีนี้ก็มีการให้คนในงานเอาหนังสือที่ชอบมาแบ่งปันกัน และเหมือนเป็นที่ที่ทำให้คนที่ชอบอะไรเหมือนกันได้มาพบเจอแลกเปลี่ยนความรู้กัน 

“อย่างที่บอก เราว่าคนคนนึงควรจะมีความรู้เอาไว้หลากหลาย และความหลากหลายที่ว่ามันสามารถเอามาแลกเปลี่ยนกันได้ด้วยการนัดหมายให้หลายๆ คนมาเจอกัน” ทั้งสองทิ้งท้าย


ส่วนใครที่อ่านมาถึงตรงนี้อยากจะเข้าร่วมงาน Creative Talk ไปแลกเปลี่ยนความรู้กับคนสร้างสรรค์จากหลากหลายวงการ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.CTC2022.co