Blancpain แบรนด์นาฬิกาสวิสที่คิดค้นนาฬิกาดำน้ำโมเดิร์นและหลายนวัตกรรมนาฬิกาที่คนไม่รู้

พูดถึงแบรนด์อายุเกือบ 300 ปี ถ้าไม่ดูขลังจนจับต้องยาก บางทีก็ถูกรีแบรนด์จนแทบไม่เหลือเค้าเดิม Blancpain

แต่ไม่ใช่กับ Blancpain (บลองแปง)​ แบรนด์นาฬิกาสัญชาติสวิสที่แม้จะมีอายุ 287 ปี นับว่าเก่าแก่ที่สุดในโลกแต่ก็ยังรักษาวิถีการทำนาฬิกาแบบดั้งเดิมเอาไว้ พร้อมๆ กับที่พัฒนาเทคโนโลยีให้นำยุคอยู่เสมอตามปรัชญาของแบรนด์ที่กล่าวว่า ‘Innovation is our tradition’

ในวันที่โลกไม่มีนาฬิกาดำน้ำที่เฟรนด์ลี่กับผู้ใช้งาน Blancpain คิดค้นนาฬิกาดำน้ำโมเดิร์นเรือนแรกของโลกที่กลายเป็นพ่อของนาฬิกาดำน้ำชื่อดังหลายเรือน

ในวันที่หญิงสาวมองหานาฬิกาขนาดเล็กเพื่อความสง่างาม Blancpain ก็พัฒนากลไกให้เล็กจิ๋วจนสามารถทำนาฬิกาผู้หญิงทรงกลมที่เล็กที่สุดในโลกได้

และในวันที่นาฬิการะบบ quartz หรือนาฬิกาใส่ถ่านจากญี่ปุ่นตีตลาดนาฬิกา mechanical สัญชาติยุโรปจนยับเยิน Blancpain กลับลุกขึ้นมาประกาศว่าพวกเขาจะทำแต่นาฬิกา mechanical ด้วยมือเท่านั้น และพลิกฟื้นนาฬิกาจักรกลให้แข็งแกร่ง เดินทางข้ามเวลามาได้จนถึงวันนี้

blancpain

“เรามองว่านาฬิกาเป็นมากกว่าของที่เอาไว้ใช้บอกเวลาเฉยๆ แต่เป็นเหมือน art piece ที่อยู่ได้ตลอดไป” กฤษณ์ ภีมะโยธิน ผู้จัดการแบรนด์บลองแปงประเทศไทยเกริ่นให้ฟัง

“เราทำนาฬิกาสำหรับคนที่ appreciate ประวัติศาสตร์ งานคราฟต์ งานอาร์ต  ผมว่ามันคือเซนส์ของความพิเศษ คือสิ่งที่คุณใส่ออกไปเจอคนอีกร้อยคนก็ไม่เจอคนใส่นาฬิกาเหมือนคุณ”

ในชั่วโมงที่นาฬิการะบบ quartz เดินได้เที่ยงตรงกว่าและทุกคนดูเวลาในโทรศัพท์มือถือ อะไรทำให้แบรนด์เชื่อมั่นว่านาฬิกา mechanical จะเป็น Product Champion ได้ตลอดไป หาคำตอบได้ผ่านนวัตกรรมที่ซ่อนอยู่ในนาฬิกาคอลเลกชั่นต่อไปนี้ของ Blancpain

blancpain

Fifty Fathoms
ต้นกำเนิดนาฬิกาดำน้ำโมเดิร์นที่โลกยังใช้ถึงทุกวันนี้

Blancpain ก่อตั้งขึ้นในปี 1735 โดยช่างทำนาฬิกาชาวสวิสชื่อ Jehan-Jacques Blancpain ที่เมือง Villeret ทางตะวันตกเฉียงเหนือของสวิตเซอร์แลนด์ 

ความเนิร์ดในกลไกนาฬิกาถูกส่งต่อมารุ่นสู่รุ่น แม้ว่าช่วงร้อยปีแรกพวกเขาจะยังไม่ได้ทำนาฬิกาตีตราของตัวเองแต่ก็เป็นเจ้าของโรงงานที่คิดค้นกลไกที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นที่ไว้ใจของช่างประดิษฐ์นาฬิกามากมาย เช่น John Harwood ช่างทำนาฬิกาชาวอังกฤษที่ Blancpain เป็นผู้ผลิตกลไกให้และกลายเป็นนาฬิการะบบออโตเมติกเรือนแรกของโลก

จุดเปลี่ยนของ Blancpain มาเกิดในช่วงปี 1932 เมื่อทายาทคนสุดท้ายของตระกูล Blancpain ตัดสินใจไม่สานต่อธุรกิจจึงส่งต่อให้มือขวาอย่าง Betty Fiechter รับช่วงต่อ ถือเป็น CEO หญิงคนแรกผู้เปิดตลาดใหม่ให้ Blancpain แต่ผู้ที่พลิกธุรกิจจากหน้ามือเป็นหลังมือจริงๆ ต้องยกให้ Jean-Jacques Fiechter หลานชายของ Betty และ CO-CEO ผู้รักการดำน้ำเป็นชีวิตจิตใจ

blancpain
blancpain

วันหนึ่งในปี 1951 Jean-Jacques ไปดำน้ำในทะเลแถบตอนใต้ของฝรั่งเศสแล้วเกิดลืมเวลาทำให้ต้องรีบขึ้นจากน้ำอย่างฉุกเฉินซึ่งอันตรายต่อชีวิต เขาจึงคิดว่าในเมื่อแพสชั่นทำให้คนลืมเวลาได้โลกก็จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ดำน้ำที่มากไปกว่าแค่ตีนกบและถังออกซิเจน แต่ต้องมีอุปกรณ์ที่ทำให้นักดำน้ำไม่ลืมเวลา และนั่นจึงเป็นที่มาของนาฬิการุ่น Fifty Fathoms

คำว่า Fathom เป็นหน่วยวัดความลึกแบบโบราณ มีค่าเท่ากับ 1.8288 เมตร Fifty Fathoms จึงเท่ากับความลึกระดับ 91.44 เมตรซึ่งเป็นระดับที่ลึกที่สุดที่มนุษย์จะดำลงไปสำรวจได้ในยุคนั้น ที่สามารถลงน้ำได้ลึกขนาดนั้นเพราะ Jean-Jacques ออกแบบ Fifty Fathoms ให้มีคุณสมบัติเฉพาะพร้อมคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ได้แก่การเลือกใช้กลไกระบบออโต้ทำให้ไม่ต้องขึ้นลานเติมพลังให้นาฬิกาตอนอยู่ใต้น้ำ, การออกแบบให้หน้าปัดมีขนาดใหญ่เคลือบสารเรืองแสงเพื่อให้สามารถอ่านข้อมูลได้ชัดเจนใต้น้ำหรือในที่มืด อีกทั้งติดตั้งวงแหวนกันน้ำสองชั้นบริเวณเม็ดมะยมและวงแหวน ‘O Ring’ บริเวณฝาหลังตัวเรือนเพื่อประสิทธิภาพในการกันน้ำ  และนวัตกรรมที่โดดเด่นที่สุดคือ ‘Locking Bezel’ ที่กลายเป็นต้นแบบของนาฬิกาดำน้ำรุ่นต่อๆ มา

Bezel คือวงแหวนรอบหน้าปัดนาฬิกาที่มีฟังก์ชั่นต่างๆ เช่น บอกเวลาไทม์โซนที่สองหรือจับเวลาเดินหน้า-ถอยหลัง ซึ่งการจับเวลาไปข้างหน้านี่แหละคือสิ่งที่ Blancpain คิดค้นขึ้น 

“วิธีการจับเวลาคือเราต้องหมุน Bezel มาให้เข็มนาทีตรงกับเลข 0 ที่วงแหวน เมื่อเข็มเดินไปเรื่อยๆ เราจะรู้ว่าเราอยู่ในน้ำมากี่นาทีแล้ว หลังจากนั้น Locking Bezel ก็ถูกพัฒนาต่อเป็น Unidirectional Bezel หรือวงแหวนที่หมุนได้ทิศทางเดียว เหตุผลที่ออกแบบให้หมุนได้ทางเดียวเพราะสมมติว่าเกิดไปชนอะไรใต้น้ำ วงแหวน Bezel ก็มีแต่จะหมุนไปข้างหน้าทำให้เห็นว่าเราอยู่ในน้ำมานานและทำให้เราขึ้นจากน้ำเร็วขึ้น ซึ่งปลอดภัยกว่าการที่มันหมุนได้สองทางแล้วทำให้เราเข้าใจว่าเราเพิ่งลงมาไม่นาน” กฤษณ์เล่า

blancpain
blancpain

ในขณะเดียวกับที่ซีอีโอหนุ่มกำลังพัฒนานาฬิกาดำน้ำเรือนนี้ กองทัพฝรั่งเศสเองก็กำลังมองหานาฬิกาดำน้ำสำหรับปฏิบัติภารกิจจนได้มาเจอ Fifty Fathoms ซึ่งมีสเปกตรงกับที่ต้องการทุกอย่าง  โดยทางกองทัพขอเพิ่มคุณสมบัติด้านป้องกันอิทธิพลสนามแม่เหล็กที่อาจรบกวนการทำงานของนาฬิกา Blancpain จึงเพิ่มคุณสมบัตินี้เข้าไป จากนั้นนาฬิการุ่นนี้จึงถูกนำไปใช้ในกองทัพฝรั่งเศส, หน่วย Navy SEALs ของสหรัฐฯ และวางขายรวมไปถึงให้เช่าทั่วไปในร้านอุปกรณ์ดำน้ำ กลายเป็นอุปกรณ์ยอดฮิตที่นักดำน้ำยุคนั้นขนานนามว่าต้องมี

ความสำเร็จของ Fifty Fathoms กับหน่วยจู่โจมใต้น้ำทำให้ Blancpain ช่วงยุค 1950s Blancpain ยังพัฒนานาฬิกา Air Command ขึ้นเพื่อการรบทางอากาศโดยเพิ่มฟีเจอร์ Bezel จับเวลาแบบเคานต์ดาวน์และส่งโปรโตไทป์ 12 เรือนให้กองทัพสหรัฐฯ แต่ก็ไม่ได้ผลิตจริง Air Command จึงกลายเป็นนาฬิกาในตำนานที่มีแค่ 12 เรือนบนโลก (หากไปเจอในงานประมูลนาฬิกามันจึงมีราคาสูงลิ่วจนคนไม่รู้ประวัติตกใจ) ก่อนจะถูกนำมาผลิตใหม่ในยุคปัจจุบันอีกครั้ง

Fifty Fathoms คือความสำเร็จที่ถูกนำไปต่อยอดมากมาย ทำให้ชื่อ Blancpain ทะยานขึ้นมาสู่การรับรู้ของคนรักนาฬิกาในวงกว้างและกลายเป็นนาฬิกาที่คนต้องนึกถึงเวลาพูดถึง Blancpain จนปัจจุบันมีการออกแบบนาฬิกาเรือนคลาสสิกนี้ให้มีความหลากหลายมากขึ้น เช่น การใส่ฟังก์ชั่นของ dress watch เข้าไปจนทำให้รู้สึกว่าเมื่อใส่กับสูทแล้วก็แทบไม่รู้เลยว่านี่คือ tool watch ที่ดำน้ำได้มีประสิทธิภาพที่สุดเรือนหนึ่งของโลก

Fifty Fathoms ประสบความสำเร็จขนาดที่ว่า Mark A. Hayek ซีอีโอคนปัจจุบันของ Blancpain ภายในเครือ Swatch Group ก่อตั้งโครงการ Blancpain Ocean Commitment เพื่อสนับสนุนโครงการอนุรักษ์ท้องทะเลด้วยแนวคิดว่า “ทะเลทำให้ Fifty Fathoms เกิดมาดังนั้นเราจึงต้องรักษาท้องทะเล”

ชื่อเสียงในปัจจุบันทำให้มีน้อยคนรู้ว่านาฬิกาที่ดีและชื่อดังขนาดนี้เคยต้องเจอกับวิกฤตที่ทำให้ต้องหยุดผลิตไปหลายปี ก่อนจะกลับมาผลิตแบบเต็มคอลเลกชั่นอีกครั้งในปี 2007

วิกฤตครั้งนั้นมีชื่อว่า ‘Quartz Crisis’

Villeret
คอลเลกชั่นที่พลิกนาฬิกาที่กำลังจะตายให้กลายเป็นงานศิลปะ

ในปี 1969 แบรนด์​ Seiko จากญี่ปุ่นเปิดตัว Astron นาฬิการะบบควอตซ์เรือนแรกของโลกที่พลิกวงการนาฬิกาจากหน้ามือเป็นหลังมือ

ก่อนหน้านั้น โลกนาฬิกาอยู่ในกำมือ (หรือข้อมือ) ของผู้ผลิตฝั่งตะวันตกมาโดยตลอดแต่หลังจากการมาถึงของระบบควอตซ์ที่เที่ยงตรงกว่า แถมยังมีราคาถูกกว่าเป็นเท่าตัวทำให้นาฬิกาจากญี่ปุ่นดังระเบิด คนทั่วโลกหันมาใช้นาฬิการะบบนี้ และยอดขายของแบรนด์นาฬิกา mechanical ต่างๆ ก็ตกฮวบเป็นประวัติการณ์ ไม่เว้นแม้แต่แบรนด์ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานอย่าง Blancpain

“ถ้าให้เทียบระบบควอตซ์ตอนนั้นก็คล้ายกับสมาร์ตวอตช์ตอนนี้ที่มันดิสรัปต์โลกไปเลย ทุกคนมองว่าควอตซ์มันเป็นอนาคต มันถูกกว่า เดินตรงกว่า พูดง่ายๆ คือถ้านับแค่ฟังก์ชั่นการบอกเวลาคือมันดีกว่านาฬิกา mechanical แน่นอน”

blancpain

ตอนนั้นเอง ชายสองคนชื่อ Jean-Claude Biver และ Jacques Piguet ก็เข้าซื้อแบรนด์ Blancpain และประกาศว่าพวกเขาจะทำแต่นาฬิกา mechanical เท่านั้น

Biver นั้นเป็นช่างทำนาฬิกาและเซลส์แมนผู้เก่งกาจเรื่องมาร์เก็ตติ้งส่วน Jacques Piguet นั้นเป็นเจ้าของ Frédéric Piquet โรงงานผลิตนาฬิกากลไกระดับ top ของโลก ในปี 1983 ทั้งคู่จับมือกันนำเทคโนโลยีดั้งเดิมมาผสมกับความเชี่ยวชาญจากโรงงาน Frédéric Piguet เปิดตัวนาฬิกาคอลเลกชั่น Villeret ที่กลายเป็นหน้าตาของแบรนด์จนถึงปัจจุบัน

“mechanical มันมีเสน่ห์ในตัวของมันเอง ถามว่าทำไมทุกวันนี้นาฬิกายังขายได้ ขายดี ทั้งๆ ที่มือถือก็บอกเวลาได้และบอกตรงกว่า เพราะมันเป็นมากกว่าแค่เครื่องบอกเวลาแต่คือ art piece มันคือศิลปะ สำหรับนาฬิกา mechanical ถ้าดูแลรักษาดีๆ มันก็อยู่ได้ตลอดไป ไม่ต่างจากงานศิลปะที่อยู่กับเราได้ตลอดชีวิต“ในขณะที่ควอตซ์ดิสรัปต์วงการนาฬิกาแบบเก่า Blancpain ก็ดิสรัปต์วงการที่กำลังหันไปหาควอตซ์ว่าเราจะทำนาฬิกา mechanical อย่างเดียว เราเลยมีสโลแกนออกมาว่า Since 1735 there has never been a quartz Blancpain watch. And there never will be. ซึ่งก็ยังจริงอยู่ทุกวันนี้”

blancpain
blancpain

เพื่อเน้นคอนเซปต์ความเป็นงานศิลปะ คอลเลกชั่น Villeret เรือนแรกที่เปิดตัวจึงไม่เพียงมีกลไกสลับซับซ้อน แต่ยังมีฟีเจอร์ Moon Phase หรือกลไกดูข้างขึ้น-ข้างแรมด้วย

Moon Phase เกี่ยวข้องกับความเป็นศิลปะอย่างมากเพราะดีไซน์พระจันทร์ที่มีใบหน้า เป็นเอกลักษณ์ของงานศิลปะยุคอาร์ตนูโว อีกทั้งยังโชว์ว่า Blancpain ให้ความสำคัญกับวิถีการทำนาฬิกาแบบสวิสอันเก่าแก่ เพราะฟีเจอร์นี้แต่เดิมใช้สำหรับการเดินเรือในมหาสมุทรซึ่งเป็นความคลาสสิกแบบที่นาฬิกาควอตซ์ให้ไม่ได้ เรียกว่าแทนที่จะแข่งเรื่องการบอกเวลาที่เที่ยงตรง พวกเขาก็หันมาเน้นอารมณ์แสนพิเศษที่ได้จากการใส่นาฬิกาแทน

ที่สนุกคือนอกจาก Villeret ที่ออกมารุ่นแรกแล้ว ในปัจจุบันพระจันทร์ Moon Phase ยังปรากฏบนหน้าปัดของนาฬิการุ่นอื่นๆ ของแบรนด์และบางครั้งก็แอบเปลี่ยนหน้าตาให้เข้ากับรุ่นหรือคอลเลกชั่นนั้นๆ เช่น ถ้าสังเกตดูดีๆ พระจันทร์บนหน้าปัดนาฬิกาผู้หญิง Ladybird จะเป็นพระจันทร์หญิงแต้มไฝดูเซ็กซี่น่าค้นหานั่นเอง

Ladybird
นาฬิกาที่โชว์ว่านวัตกรรมพัฒนาได้เสมอ

ย้อนกลับไปในปี 1956 หลังปรากฏการณ์ Fifty Fathoms ไม่นาน Blancpain ก็สร้างปรากฏการณ์อีกครั้งด้วยคอลเลกชั่น Ladybird นาฬิกาข้อมือผู้หญิงทรงกลมที่เล็กที่สุดในโลกด้วยความเชื่อว่าสุภาพสตรีก็หลงเสน่ห์ของนาฬิกา mechanical ไม่แพ้สุภาพบุรุษ

คอลเลกชั่นนี้จะคือการเปิดประตูให้แบรนด์ก้าวเข้าสู่โลกของนาฬิกาผู้หญิงอย่างแท้จริงและต่อมาก็ได้กลายเป็น 1 ใน 3 คอลเลกชั่นที่ขายดีที่สุดของแบรนด์ร่วมกับ Fifty Fathoms และ Villeret แต่มากไปกว่านั้นมันยังเป็นการโชว์ให้เห็นว่านวัตกรรมของ Blancpain ดีขึ้น หลากหลายขึ้นได้เรื่อยๆ จากที่เพิ่งผลิตนาฬิกาดำน้ำที่ดีที่สุดของยุคซึ่งมีตัวเรือนใหญ่เพื่อให้มองเห็นใต้น้ำได้ง่าย ไม่กี่ปีถัดมาพวกเขากลับพัฒนากลไกให้เล็กจิ๋วเพื่อให้เหมาะกับคนที่ข้อมือเล็กเสียอย่างนั้น

ที่ทำแบบนี้ได้เพราะแบรนด์นาฬิกาสัญชาติสวิสนี้มีโรงงานเป็นของตัวเองถึง 2 โรง และมีหนึ่งโรงเต็มๆ ที่อุทิศให้กับการคิดค้นและผลิตชิ้นส่วนนาฬิกาโดยเฉพาะ Blancpain จึงสามารถพัฒนานวัตกรรมได้อย่างรวดเร็ว

“Brand Value ของ Blancpain คือ Innovation, Integrity และ Engagement การทำทุกอย่างเองมันคือ Integrity ความซื่อตรงต่อ Swiss Watchmaking Tradition และซื่อตรงต่อลูกค้าว่าเราผลิตของคุณภาพดีที่สุด เราเป็นสเปเชียลลิสต์ในเรื่องเครื่อง การผลิตเองทำให้เราผลิตสเปกได้ตามที่ต้องการเป๊ะๆ สมมติเราอยากให้นาฬิกามี power reserve สำรองพลังงานได้ถึง 10 วัน ถ้าให้ third party ผลิตเขาอาจไม่มาทุ่มเททำนวัตกรรมนี้ให้หรือเขาอาจผลิตไม่ได้ แต่พอมันเป็นเป้าหมายของเราเราก็สามารถวิจัยและทำขึ้นมาได้เลย”

นวัตกรรมสำคัญที่เกิดขึ้นที่โรงงาน Le Sentier คือสิ่งที่เรียกว่า ‘Under-Lug Corrector’ หรือกลไกการตั้งเวลาที่ซ่อนอยู่หลังเรือนซึ่งตั้งเวลาด้วยนิ้วได้เลย ไม่ต้องพึ่งอุปกรณ์เสริมและไม่รบกวนความสวยของนาฬิกา, การออกแบบกลไกอันซับซ้อนให้บอกเวลาแบบสากลร่วมกับวัน เดือน ปีนักษัตรแบบจีนได้ในเรือนเดียว

Under-Lug Corrector

แน่นอนว่าการผลิตนาฬิกาดำน้ำแบบ Fifty Fathoms และ Villeret ที่โดดเด่นเรื่อง Moon Phase ย่อมไม่ใช่การผลิตเพื่อให้คนได้ใช้งานนาฬิกาด้วยฟังก์ชั่นเดียวกับคนยุคก่อนแต่คือการตอกย้ำว่าที่ Blancpain นาฬิกาคืองานศิลปะที่ส่งต่อสืบทอดผ่านกาลเวลา

และไม่มีอะไรที่จะบอกถึงความสำคัญของศิลปะสำหรับ Blancpain ได้ดีกว่าโรงงานที่สองที่มีชื่อว่า Le Brassus

Métiers d’Art
ชีวิตสั้น ศิลปะแห่งการทำนาฬิกายืนยาว

ถ้า Le Sentier คือโรงงานที่พัฒนานวัตกรรมกลไกนาฬิกา ที่ Le Brassus ต้องเรียกว่าเป็นโรงงานที่พัฒนานวัตกรรมศิลปะ 

ที่นี่คือที่ผลิต Métiers d’Art คอลเลกชั่นนาฬิกาที่เน้นความเป็นศิลปะที่สุดของ Blancpain ช่างฝีมือที่นี่มีเทคนิคสร้างสรรค์แบบไร้กำแพงวัฒนธรรมตั้งแต่ใช้เทคนิคเก่าแก่ของช่างตะวันตกอย่างการลงยาแบบ Grand Feu จนได้หน้าปัดสีขาวนวลแล้วซ่อนตัวอักษร JB (ย่อมาจากชื่อ Jehan-Jacques Blancpain ผู้ก่อตั้งแบรนด์) สีขาวลงไประหว่างเลข 4 และ 5 และระหว่างเลข 7 และ 8 บนหน้าปัด ไปจนถึงการทำ Shakudo หรือเทคนิคของญี่ปุ่นที่เปลี่ยนสีของทองและทองแดงที่ปกติมีเฉดสีเหลืองหรือส้มให้เป็นสีดำหรือสีเทา ตามสไตล์ Blancpain ที่ไม่เน้นความหรูหราแบบเห็นได้ชัดแต่ซ่อนความแพงไว้ในรายละเอียดทุกซอกทุกมุม

ฝีมือเหนือชั้นของช่างยังทำให้ลูกค้าสั่งทำงานศิลปะได้อย่างละเอียดลออ อย่างลูกค้าชาวไทยคนหนึ่งที่สั่งแกะสลักนาฬิกาเป็นรูปวัดอรุณที่มีเรือนเดียวเท่านั้น

แต่ใช่ว่าคอลเลกชั่นอื่นๆ จะได้รับความสำคัญด้านดีไซน์น้อยกว่า Métiers d’Art ไม่ว่าจะเป็นคอลเลกชั่นไหน รุ่นใด ทุกเรือนล้วนทำด้วยมือของช่างผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด

“ถ้าสมมติเราใช้หุ่นยนต์ทำทุกอย่างมันคงจะเป๊ะมาก แต่การใช้คนทำมันคือสื่อของอารมณ์ มันให้ความรู้สึกพิเศษ เป็นงานคราฟต์ ด้านหลังนาฬิกาทุกเรือนจากคอลเลกชั่น Métiers d’Art จะสลักว่า unique piece เพราะพอทำมือแม้จะเป็นลายเดียวกันแต่ยังไงรอยแกะสลัก ความโค้ง รายละเอียดต่างๆ ไม่มีทางเหมือนกัน

“เราทำนาฬิกาสำหรับคนที่ appreciate ประวัติศาสตร์ งานคราฟต์ งานอาร์ต  ผมว่ามันคือเซนส์ของความพิเศษ คือสิ่งที่คุณใส่ออกไปเจอคนอีกร้อยคนก็ไม่เจอคนใส่นาฬิกาเหมือนคุณหรือถ้าเจอคุณจะรู้สึกพิเศษที่ได้เจอคนที่สนใจในเรื่องเดียวกัน”

Day 1 ของ AVIVA SPIRIT แบรนด์ตี่จู้เอี๊ยะหินอ่อน ศาลพระภูมิ ศาลตายาย สไตล์โมเดิร์น กับการทำธุรกิจที่ใช้ศาสตร์และศิลป์แห่งศรัทธา

AVIVA SPIRIT

AVIVA SPIRIT Day 1 คือรายการพ็อดแคสต์เล่าเรื่องธุรกิจจาก Salmon Podcast และ Capital ที่พาไปพบกับวันแรกของการลุกมาทำบางสิ่งบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือการปรับธุรกิจเพราะอยากทำธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น ขายดีขึ้น เป้าหมายที่เคยมีใหญ่ขึ้น หรืออยากให้คนทำงานมีความสุขมากขึ้น

ก่อนหน้านี้ รายการ Day 1 เคยจัดอยู่ที่ Salmon Podcast แต่กลับมารอบนี้ Day 1 ย้ายมาอยู่ภายใต้บ้านใหม่ ในสถานีพ็อดแคสต์ ‘Capital Listen’ ซึ่งจะเผยแพร่ผ่าน Capital อย่างที่ทุกคนเห็นอยู่นี้

เราเชื่อว่า business ไม่ได้สร้างเสร็จภายใน one day การย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นและดูเส้นทางการเติบโตจนสำเร็จของธุรกิจต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่คนทำธุรกิจคนอื่นน่าเรียนรู้ และเอาไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Day 1 หรือวันไหนๆ ของธุรกิจก็ตาม

Day 1 คือรายการพ็อดแคสต์เล่าเรื่องธุรกิจจาก Salmon Podcast และ Capital ที่พาไปพบกับวันแรกของการลุกมาทำบางสิ่งบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือการปรับธุรกิจเพราะอยากทำธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น ขายดีขึ้น เป้าหมายที่เคยมีใหญ่ขึ้น หรืออยากให้คนทำงานมีความสุขมากขึ้น

ก่อนหน้านี้ รายการ Day 1 เคยจัดอยู่ที่ Salmon Podcast แต่กลับมารอบนี้ Day 1 ย้ายมาอยู่ภายใต้บ้านใหม่ ในสถานีพ็อดแคสต์ ‘Capital Listen’ ซึ่งจะเผยแพร่ผ่าน Capital อย่างที่ทุกคนเห็นอยู่นี้

เราเชื่อว่า business ไม่ได้สร้างเสร็จภายใน one day การย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นและดูเส้นทางการเติบโตจนสำเร็จของธุรกิจต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่คนทำธุรกิจคนอื่นน่าเรียนรู้ และเอาไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Day 1 หรือวันไหนๆ ของธุรกิจก็ตาม

AVIVA SPIRIT

Day 1 คือรายการพ็อดแคสต์เล่าเรื่องธุรกิจจาก Salmon Podcast และ Capital ที่พาไปพบกับวันแรกของการลุกมาทำบางสิ่งบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือการปรับธุรกิจเพราะอยากทำธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น ขายดีขึ้น เป้าหมายที่เคยมีใหญ่ขึ้น หรืออยากให้คนทำงานมีความสุขมากขึ้น

ก่อนหน้านี้ รายการ Day 1 เคยจัดอยู่ที่ Salmon Podcast แต่กลับมารอบนี้ Day 1 ย้ายมาอยู่ภายใต้บ้านใหม่ ในสถานีพ็อดแคสต์ ‘Capital Listen’ ซึ่งจะเผยแพร่ผ่าน Capital อย่างที่ทุกคนเห็นอยู่นี้

เราเชื่อว่า business ไม่ได้สร้างเสร็จภายใน one day การย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นและดูเส้นทางการเติบโตจนสำเร็จของธุรกิจต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่คนทำธุรกิจคนอื่นน่าเรียนรู้ และเอาไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Day 1 หรือวันไหนๆ ของธุรกิจก็ตาม

Day 1 คือรายการพ็อดแคสต์เล่าเรื่องธุรกิจจาก Salmon Podcast และ Capital ที่พาไปพบกับวันแรกของการลุกมาทำบางสิ่งบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือการปรับธุรกิจเพราะอยากทำธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น ขายดีขึ้น เป้าหมายที่เคยมีใหญ่ขึ้น หรืออยากให้คนทำงานมีความสุขมากขึ้น

ก่อนหน้านี้ รายการ Day 1 เคยจัดอยู่ที่ Salmon Podcast แต่กลับมารอบนี้ Day 1 ย้ายมาอยู่ภายใต้บ้านใหม่ ในสถานีพ็อดแคสต์ ‘Capital Listen’ ซึ่งจะเผยแพร่ผ่าน Capital อย่างที่ทุกคนเห็นอยู่นี้

เราเชื่อว่า business ไม่ได้สร้างเสร็จภายใน one day การย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นและดูเส้นทางการเติบโตจนสำเร็จของธุรกิจต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่คนทำธุรกิจคนอื่นน่าเรียนรู้ และเอาไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Day 1 หรือวันไหนๆ ของธุรกิจก็ตาม

Day 1 คือรายการพ็อดแคสต์เล่าเรื่องธุรกิจจาก Salmon Podcast และ Capital ที่พาไปพบกับวันแรกของการลุกมาทำบางสิ่งบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือการปรับธุรกิจเพราะอยากทำธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น ขายดีขึ้น เป้าหมายที่เคยมีใหญ่ขึ้น หรืออยากให้คนทำงานมีความสุขมากขึ้น

ก่อนหน้านี้ รายการ Day 1 เคยจัดอยู่ที่ Salmon Podcast แต่กลับมารอบนี้ Day 1 ย้ายมาอยู่ภายใต้บ้านใหม่ ในสถานีพ็อดแคสต์ ‘Capital Listen’ ซึ่งจะเผยแพร่ผ่าน Capital อย่างที่ทุกคนเห็นอยู่นี้

เราเชื่อว่า business ไม่ได้สร้างเสร็จภายใน one day การย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นและดูเส้นทางการเติบโตจนสำเร็จของธุรกิจต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่คนทำธุรกิจคนอื่นน่าเรียนรู้ และเอาไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Day 1 หรือวันไหนๆ ของธุรกิจก็ตาม

Day 1 คือรายการพ็อดแคสต์เล่าเรื่องธุรกิจจาก Salmon Podcast และ Capital ที่พาไปพบกับวันแรกของการลุกมาทำบางสิ่งบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือการปรับธุรกิจเพราะอยากทำธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น ขายดีขึ้น เป้าหมายที่เคยมีใหญ่ขึ้น หรืออยากให้คนทำงานมีความสุขมากขึ้น

ก่อนหน้านี้ รายการ Day 1 เคยจัดอยู่ที่ Salmon Podcast แต่กลับมารอบนี้ Day 1 ย้ายมาอยู่ภายใต้บ้านใหม่ ในสถานีพ็อดแคสต์ ‘Capital Listen’ ซึ่งจะเผยแพร่ผ่าน Capital อย่างที่ทุกคนเห็นอยู่นี้

เราเชื่อว่า business ไม่ได้สร้างเสร็จภายใน one day การย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นและดูเส้นทางการเติบโตจนสำเร็จของธุรกิจต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่คนทำธุรกิจคนอื่นน่าเรียนรู้ และเอาไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Day 1 หรือวันไหนๆ ของธุรกิจก็ตาม

Day 1 คือรายการพ็อดแคสต์เล่าเรื่องธุรกิจจาก Salmon Podcast และ Capital ที่พาไปพบกับวันแรกของการลุกมาทำบางสิ่งบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือการปรับธุรกิจเพราะอยากทำธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น ขายดีขึ้น เป้าหมายที่เคยมีใหญ่ขึ้น หรืออยากให้คนทำงานมีความสุขมากขึ้น

ก่อนหน้านี้ รายการ Day 1 เคยจัดอยู่ที่ Salmon Podcast แต่กลับมารอบนี้ Day 1 ย้ายมาอยู่ภายใต้บ้านใหม่ ในสถานีพ็อดแคสต์ ‘Capital Listen’ ซึ่งจะเผยแพร่ผ่าน Capital อย่างที่ทุกคนเห็นอยู่นี้

เราเชื่อว่า business ไม่ได้สร้างเสร็จภายใน one day การย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นและดูเส้นทางการเติบโตจนสำเร็จของธุรกิจต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่คนทำธุรกิจคนอื่นน่าเรียนรู้ และเอาไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Day 1 หรือวันไหนๆ ของธุรกิจก็ตาม

ชวนหยิบ 8 งานพิมพ์ที่เป็นที่สุดจาก witti.studio มาใส่ตะกร้า

witti.studio

witti.studio add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

witti.studio

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

คุยกับ ‘เถียงนา’ จากคาเฟ่เล็กๆ ในจังหวัดตากจนมีสาขาที่สุขุมวิท และคนต่อคิวซื้อครัวซองต์ตั้งแต่วันแรก

Tiengna Viennoiserie

Tiengna Viennoiserie Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว คือรายการธุรกิจอาหารโดย Capital และ Salmon Podcast ที่จะพาเข้าหลังร้านไปสำรวจแนวคิดทางการตลาดของจักรวาลธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร แฟรนไชส์ ขนม เครื่องดื่ม เครื่องปรุง ไล่ลามไปถึงเครื่องครัวและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอาหารทั้งสเกลเล็ก กลาง ใหญ่

รายการนี้ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่ มณีเนตร วรชนะนันท์ อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย และหญิงสาวผู้หลงรักอาหาร ที่จะทำให้ผู้ฟังอร่อยที่ฟังแล้วท้องหิวแต่อิ่มไปกับเคล็ดและเคสการตลาด

Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว คือรายการธุรกิจอาหารโดย Capital และ Salmon Podcast ที่จะพาเข้าหลังร้านไปสำรวจแนวคิดทางการตลาดของจักรวาลธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร แฟรนไชส์ ขนม เครื่องดื่ม เครื่องปรุง ไล่ลามไปถึงเครื่องครัวและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอาหารทั้งสเกลเล็ก กลาง ใหญ่

รายการนี้ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่ มณีเนตร วรชนะนันท์ อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย และหญิงสาวผู้หลงรักอาหาร ที่จะทำให้ผู้ฟังอร่อยที่ฟังแล้วท้องหิวแต่อิ่มไปกับเคล็ดและเคสการตลาด

Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว คือรายการธุรกิจอาหารโดย Capital และ Salmon Podcast ที่จะพาเข้าหลังร้านไปสำรวจแนวคิดทางการตลาดของจักรวาลธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร แฟรนไชส์ ขนม เครื่องดื่ม เครื่องปรุง ไล่ลามไปถึงเครื่องครัวและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอาหารทั้งสเกลเล็ก กลาง ใหญ่

รายการนี้ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่ มณีเนตร วรชนะนันท์ อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย และหญิงสาวผู้หลงรักอาหาร ที่จะทำให้ผู้ฟังอร่อยที่ฟังแล้วท้องหิวแต่อิ่มไปกับเคล็ดและเคสการตลาด

Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว คือรายการธุรกิจอาหารโดย Capital และ Salmon Podcast ที่จะพาเข้าหลังร้านไปสำรวจแนวคิดทางการตลาดของจักรวาลธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร แฟรนไชส์ ขนม เครื่องดื่ม เครื่องปรุง ไล่ลามไปถึงเครื่องครัวและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอาหารทั้งสเกลเล็ก กลาง ใหญ่

รายการนี้ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่ มณีเนตร วรชนะนันท์ อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย และหญิงสาวผู้หลงรักอาหาร ที่จะทำให้ผู้ฟังอร่อยที่ฟังแล้วท้องหิวแต่อิ่มไปกับเคล็ดและเคสการตลาด

Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว คือรายการธุรกิจอาหารโดย Capital และ Salmon Podcast ที่จะพาเข้าหลังร้านไปสำรวจแนวคิดทางการตลาดของจักรวาลธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร แฟรนไชส์ ขนม เครื่องดื่ม เครื่องปรุง ไล่ลามไปถึงเครื่องครัวและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอาหารทั้งสเกลเล็ก กลาง ใหญ่

รายการนี้ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่ มณีเนตร วรชนะนันท์ อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย และหญิงสาวผู้หลงรักอาหาร ที่จะทำให้ผู้ฟังอร่อยที่ฟังแล้วท้องหิวแต่อิ่มไปกับเคล็ดและเคสการตลาด

Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว คือรายการธุรกิจอาหารโดย Capital และ Salmon Podcast ที่จะพาเข้าหลังร้านไปสำรวจแนวคิดทางการตลาดของจักรวาลธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร แฟรนไชส์ ขนม เครื่องดื่ม เครื่องปรุง ไล่ลามไปถึงเครื่องครัวและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอาหารทั้งสเกลเล็ก กลาง ใหญ่

รายการนี้ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่ มณีเนตร วรชนะนันท์ อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย และหญิงสาวผู้หลงรักอาหาร ที่จะทำให้ผู้ฟังอร่อยที่ฟังแล้วท้องหิวแต่อิ่มไปกับเคล็ดและเคสการตลาด

Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว คือรายการธุรกิจอาหารโดย Capital และ Salmon Podcast ที่จะพาเข้าหลังร้านไปสำรวจแนวคิดทางการตลาดของจักรวาลธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร แฟรนไชส์ ขนม เครื่องดื่ม เครื่องปรุง ไล่ลามไปถึงเครื่องครัวและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอาหารทั้งสเกลเล็ก กลาง ใหญ่

รายการนี้ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่ มณีเนตร วรชนะนันท์ อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย และหญิงสาวผู้หลงรักอาหาร ที่จะทำให้ผู้ฟังอร่อยที่ฟังแล้วท้องหิวแต่อิ่มไปกับเคล็ดและเคสการตลาด

Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว คือรายการธุรกิจอาหารโดย Capital และ Salmon Podcast ที่จะพาเข้าหลังร้านไปสำรวจแนวคิดทางการตลาดของจักรวาลธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร แฟรนไชส์ ขนม เครื่องดื่ม เครื่องปรุง ไล่ลามไปถึงเครื่องครัวและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอาหารทั้งสเกลเล็ก กลาง ใหญ่

รายการนี้ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่ มณีเนตร วรชนะนันท์ อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย และหญิงสาวผู้หลงรักอาหาร ที่จะทำให้ผู้ฟังอร่อยที่ฟังแล้วท้องหิวแต่อิ่มไปกับเคล็ดและเคสการตลาด

เบื้องหลังโฆษณาพัดลมโดย วิชัย ที่เริ่มจากการถามว่า ‘ทำไม’ (แรงสะใจต้องชาร์ป)

ผมรู้สึกว่า มีอย่างหนึ่งที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับอาชีพครีเอทีฟ คือการต้องเป็นนักคิด อะไรก็ได้ที่สร้างสรรค์ คิดนอกกรอบนั่นนี่

แต่สำหรับอาชีพครีเอทีฟไม่ได้เป็นอะไรไปนอกจาก…นักแก้ปัญหา

เราถูกจ้างมาให้คิดแก้ปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเพิ่มยอดขาย, สร้างความรับรู้ใหม่, แก้ภาพลักษณ์ อยากโปรโมตงานอีเวนต์อะไรสักอย่าง ทุกอย่างมันคือการแก้ไขปัญหาทั้งนั้น ผมคงจะเคลมไม่ได้หรอกว่าผมผ่านปัญหามามากกว่าคนอื่น เพราะส่วนตัวผมก็ยังถือว่าใหม่มากในวงการนี้ ผมแค่เป็นนักโฆษณาที่สามารถเขียนหนังสือโม้ได้ ก็เลยรู้สึกว่าผมผ่านงานมาเยอะ 5555 แต่จริงๆ ผมว่านักโฆษณาหลายๆ คนก็น่าจะเคยผ่านโจทย์หลากหลายรูปแบบมากกว่าผม

แต่ผมเชื่อว่าไม่ว่านักโฆษณาจะผ่านปัญหามาในรูปแบบยังไง ปัญหาที่ยากที่สุดไม่ใช่อะไรอื่นเลย

นอกจากปัญหาที่ลูกค้าไม่ยอมบอก

เนื่องจากงานโปรดักชั่นมันเป็นงานที่ต้องอาศัยเวลาในการผลิต อย่างน้อยๆ ก็ 30-45 วันแน่ๆ ละ

ถ้าลูกค้าไม่ยอมบอกปัญหาจนหมดตั้งแต่แรก หรือเราไม่สามารถค้นเจอต้นตอปัญหาจริงๆ ตั้งแต่แรก ความต้องการของลูกค้าก็จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนในที่สุด มันจะถึงจุดที่หนังไม่สามารถแก้โจทย์ลูกค้าได้แล้ว เพราะโจทย์จริงๆ ของลูกค้าไม่เคยได้รับการแก้เลยตั้งแต่แรก (เพราะลูกค้าเองก็ไม่รู้ตัวเองว่าต้องการอะไร)

นี่ยังไม่ได้พูดถึงลูกค้าที่คิดว่าหนังหนึ่งเรื่องจะแก้ไขปัญหาสี่แสนห้าล้านอย่างของเขาได้หมด

ดังนั้นสิ่งที่นักโฆษณาควรจะต้องมีคือการถามว่า ‘ทำไม’

คำถามว่า ทำไม เอาจริงๆ มันเป็นคำถามที่ฟังดูโง่มากนะครับ แต่เป็นคำถามที่ผมกับเบนซ์ถามกันเองบ่อยมาก และเราจะตั้งคำถามทำไมกับสิ่งที่โง่ๆ ไม่น่าถาม เช่นทำไมต้องพูดประโยคนี้ ทำไมตัวละครนี้ต้องใส่เสื้อสีนี้ ทำไมตัวละครต้องอยู่ตรงนั้น ทำไมตรงนี้ไม่มีอันนั้น

คุณรู้มั้ยครับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดในงานครีเอทีฟและงานโปรดักชั่นเกิดจากอะไร?

มันเกิดจากการคิดกันไปเอง / เข้าใจกันไปเอง

การไม่เข้าใจกัน จะทำให้เกิดคำถาม แต่การเข้าใจกันไปเอง จะไม่เกิดคำถามอะไร เพราะทุกคนต่างเข้าใจว่าแต่ละคนเข้าใจตรงกัน

แล้วพอมันเกิดปัญหา มันจะเกิดตรงจุดที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาอะไรได้อีกแล้ว เพราะทุกคน (ที่เข้าใจกันเอง) ต่างทำงานของตัวเองไปมากเกินกว่าจะแก้อะไรได้อีกแล้ว

ดังนั้นคำถาม ‘ทำไม’ มันไม่ใช่คำถามเพื่อขอข้อมูลจากอีกฝ่าย

แต่ ‘ทำไม’ จะเป็นการคอนเฟิร์มข้อมูลของตัวเองว่า เราเข้าใจตรงกับคนอื่น

อย่างเช่นบรีฟประเภทหนึ่งจากลูกค้าที่มักจะได้ยินประจำคือ ‘เพิ่มยอดขาย’ แล้วทำไมถึงอยากเพิ่มยอดขาย

เพราะขายไม่ดี แล้วทำไมถึงขายไม่ดี เพราะคู่แข่งขายดีกว่า แล้วทำไมคู่แข่งขายดีกว่า เพราะราคาถูกกว่าเหรอ เพราะสินค้าเขาทำงานที่จุด POS (point of sale) มากกว่า

เหมือนตอนที่เคยทำงานให้กับพัดลม Sharp ที่มาด้วยโจทย์อยากเพิ่มยอดขาย จนเราคุ้ยแคะแกะเกาจนได้ข้อมูลว่า ที่พัดลม Sharp ขายไม่ดี เพราะคนไม่รู้ว่า Sharp ขายพัดลม ปัญหามีแค่นั้นเลย

Sharp ไม่มีปัญหาเรื่องการรับรู้เกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น หม้อหุงข้าว ตู้เย็น โอเคหมด แต่พอมาพัดลม…คนไม่รู้จริงๆ ว่า Sharp ทำพัดลม ทั้งที่คุณภาพ (ตามสเป็ก​) ดีกว่าคู่แข่งและราคาก็สูสีกับคู่แข่ง 

แต่มาเสียเปรียบตรงที่ คู่แข่งเขาทำโฆษณาเยอะจริงๆ และหลายอันต้องยอมรับว่า ติดตาติดหู และสนุกมากๆ

อีกอย่างคือพัดลมเป็นผลิตภัณฑ์ที่เวลาอยู่ตรงจุด POS แล้วหน้าตามันเหมือนกันหมด แปลว่าถ้าจุด POS มีสินค้าคู่แข่งเยอะกว่าก็จบ หรือถ้าคนจำชื่อไม่ได้ขนาดที่ว่า เดินไปที่ร้านแล้วบอกคนขายเลยว่า จะเอายี่ห้อไหน ทุกอย่างก็ไม่เวิร์กอีกเช่นกัน

ดังนั้น ถ้าจะทำหนังโฆษณาเพื่อเพิ่มยอดขาย สิ่งที่ต้องทำในหนังคือ การสร้างภาพจำให้ได้ว่า Sharp ขายพัดลม

กลุ่มเป้าหมายในบรีฟคือ น้องนักศึกษาที่อยู่หอ

อย่างแรกที่คิดคือจะต้องหนีโฆษณาที่คู่แข่งเคยทำ จำพวกลมแรงมากจนคนปลิว เพราะเราจะไปซ้ำทางเดิม เผลอๆ โฆษณาพัดลมของเราจะกลายเป็นโฆษณาของคู่แข่งไปอีก (เพราะภาพจำของเขาชัดเจนมาก)

หลายๆ ตอนที่ผ่านมา เราพูดเรื่องอินไซต์ วิธีหาให้เจอว่าผู้บริโภคอยากดูอะไร หรือทำอะไรสักอย่างให้ถูกใจผู้บริโภค

แต่หลายงานก็ต้องยอมรับว่า มันไม่มีอินไซต์อยู่ในนั้นเลย

เหมือนโฆษณาพัดลม Sharp ที่ไม่มีอินไซต์เลย เหตุผลก็ไม่มี ความเข้าใจก็ไม่มีอีก 5555555

แรงบันดาลใจของงานนี้ได้มาจากโพสต์ในอินเทอร์เน็ตหลายๆ โพสต์ช่วงนั้นว่า

“บุหรี่อยู่ในซอง บุเรงนองอยู่พม่า”

“สูบบุหรี่เป็นมะเร็ง ถัดมะเส็งเป็นมะโรง”

“ติดบุหรี่เป็นมะเร็ง ติดสำเพ็งเป็นเยาวราช”

อ่านแล้วไม่มีเหตุผล ไม่มีตรรกะ เอาแต่ใจอย่างเดียวเลยโว้ย 5555

แต่ดีมั้ย ดีชิบหาย

เบนซ์บอกว่าฝรั่งเรียกสิ่งนี้ว่า irrelevant joke คือการเอาสองสิ่งที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลย มาโยงกันให้เป็นโจ๊ก

แต่กรณีของไทย มันเท่ขึ้นเพราะคำคล้องจองด้วยอีกชั้น

หลักเบื้องต้นของการโฆษณา ถ้าเราพูดอะไรบ่อยๆ ผู้ชมจะจำได้เอง (แต่จะจำได้แบบรำคาญหรือจำได้แบบดี อันนี้ก็อีกเรื่องนะ)

งั้นหลักการเดียวกัน เราจะทำหนัง irrelevant joke เป็นหนังสั้นๆ มุกละ 5-6 วินาที ที่ขึ้นต้นด้วยอะไรก็ไม่รู้ แต่ทุกประโยคต้องลงท้ายด้วย ‘แรงสะใจ ต้องชาร์ป’ เหมือนโฆษณาญี่ปุ่นที่ชอบมาสั้นๆ ไวๆ

บังเอิญต่อมาว่า Sharp เป็นแบรนด์ญี่ปุ่น เลยอยากให้เราทำหนังแบบที่มีมู้ดญี่ปุ่น ไอเดียและวิธีนำเสนอทุกอย่างก็เลยลงตัวกัน

มันจึงเป็นหนังที่เล่าสั้นๆ เช่น “นอนดึกเป็นร้อนใน แรงสะใจต้องชาร์ป” หรือ “ไหว้พระแล้วสุขใจ แต่แรงสะใจต้องชาร์ป”

ก็คือประโยคแรกคิดอะไรก็ได้ให้ลงท้ายด้วยไม้มลาย แล้วต่อด้วย ‘แรงสะใจต้องชาร์ป’

สิ่งที่จะเห็นย้ำๆ คือ ภาพพัดลม กับคำว่า แรงสะใจต้องชาร์ป ย้ำๆ ไปเรื่อยๆ ทีนี้พี่จำไม่ได้ก็ไม่รู้ยังไงละ

ความเลว (คำชม) ที่เบนซ์หยอดไว้ในหนังคือ ผมมีไอเดียอยากให้มันโยงถึงเรื่องความรักวัยรุ่นด้วย

พอดีช่วงนั้นมีเอ็มวีเพลง ‘ไม่รู้ทำไม’ ของ Whal & Dolph ปล่อยออกมาพอดี เบนซ์เลยก๊อปซีนนางเอกร้องไห้ในเอ็มวีอีกรอบ (ทั้งฉาก มุมกล้อง จัดไฟและนางเอกที่แสดงจริง) มาใส่ลงไปพร้อมก๊อปปี้ว่า ‘มีรักแล้วช้ำ ไม่รู้ทำไง…แต่แรงสะใจต้องชาร์ป’

ซึ่งกลายเป็นซีน easter egg ของหนังไป คนเก็ตก็เก็ตเลย ฮาในทันที

สิ่งที่บทตัวนี้ทำงานกับคนดูคือตอนเริ่มองก์สองของหนัง

ที่พักวิน / ภายนอก / กลางวัน

วินมอเตอร์ไซค์กำลังดูโฆษณา

วินมอเตอร์ไซค์

พัดลมอะไรวะ

VO

ดูโฆษณานี้แล้วไม่เข้าใจ

แพน กระแทกซูม พัดลม และซูเปอร์ขึ้น

VO

แรงสะใจต้องชาร์ป

ที่วินพูดคำว่า พัดลมอะไรวะ

เกิดขึ้นหลังจากที่คนดูได้ยินคำว่า ‘แรงสะใจต้องชาร์ป’ ไปแล้วสี่ครั้งโดยที่ไม่อธิบายอะไรเลย มันถี่พอที่คนดูจะตั้งคำถามแล้วว่า โฆษณานี้คืออะไร เราก็เลยสร้างคาแร็กเตอร์ให้ถามแทนใจคนดูเลยว่า ‘พัดลมอะไรวะ’

ก่อนที่โฆษกจะมาตบมุกที่รู้ใจคนดูอีกรอบว่า “ดูโฆษณานี้แล้วไม่เข้าใจ…แต่แรงสะใจต้องชาร์ป”

ประโยคนี้เป็นการบอกคนดูว่า “ไม่ต้องสนใจอะไรแล้วน้อง รู้แค่อย่างเดียวพอว่า แรงสะใจต้องชาร์ป”

ความตลกของการทำบทนี้คือ ตอนที่ได้ดราฟต์สุดท้ายก่อนส่งลูกค้า เบนซ์ ผู้กำกับก็มาคุยอีกรอบ

เบนซ์ : ผมว่าจังหวะได้หมดละ แต่ผมว่ามันนิ่งๆ ว่ะ

วิชัย : เออ รู้สึกว่าผมดูๆ แล้วกราฟมันไม่ขึ้น

เบนซ์ : นั่นดิ

กราฟไม่ขึ้นแปลว่า ตัวหนังมันมีจังหวะที่แน่นอน ยิงมุกต่อๆ กันไป จนคนดูเริ่มชินกับจังหวะ เราควรหาอะไรสักอย่างให้หนังมันตื่นเต้นขึ้น

เบนซ์ : เราเติมไรดีวะ

วิชัย : งั้นเติมซอมบี้!!!

เบนซ์ : เอ้า ซอมบี้มาไง

วิชัย : แต่แรงสะใจต้องชาร์ป

(อันนี้ไม่ได้มุก พูดแบบนี้จริงๆ 5555)

จะซอมบี้ทั้งที อยากให้กวนตีน ทุกทีซอมบี้มันเดินช้าๆ ใช่มั้ย คราวนี้กูเอาซอมบี้ให้เป็นนักวิ่งยูเซน โบลต์เลย

แล้วที่คนดูได้ยินเสียงโฆษกพูดขึ้นมาว่า “เอ้า มีซอมบี้ด้วยเหรอ” คือรีแอ็กชั่นจริงๆ ของพี่โฆษกนะ 5555 แบบดูอยู่ดีๆ เอ้า ทำไมอยู่ดีๆ มีซอมบี้ด้วยวะ

พอมีซอมบี้ยูเซน โบลต์ ปุ๊บทุกอย่างก็วายป่วงทันที พี่วินโดนกัด และน้องผู้หญิงในเอ็มวีที่เมื่อกี้ร้องไห้สวยๆ อยู่ดีๆ ต้องมาวิ่งสับหนีซอมบี้ ก่อนที่จะมาสรุปหนังว่า “ไม่ว่าหนังเรื่องนี้จะมั่วแค่ไหน แต่แรงสะใจ ยังไงก็ต้องชาร์ป”

เพื่อเป็นการคอนเฟิร์มกับคนดูว่า หนังมันมั่วใช่มั้ย เออ คนทำเค้าตั้งใจให้มั่ว เพราะสิ่งที่อยากให้จำให้ได้จากเรื่องนี้คือ แรงสะใจต้องชาร์ป

ตอนที่ปล่อยหนังออกไป ประโยค “แรงสะใจต้องชาร์ป” กลายเป็นไวรัลในชั่วข้ามคืน 

ใครก็ตามพิมพ์คอมเมนต์ที่ลงท้ายด้วยไม้มลาย มันจะต้องมีคนไปตอบว่า “แรงสะใจต้องชาร์ป” เสมอ 55555

ไอเดียก่อนที่จะมาเป็นหนังแบบนี้ ก็เกิดขึ้นจากการพูดคุย เพื่อให้ทุกฝ่าย ‘เข้าใจตรงกัน’ ว่าแต่ละฝ่ายต้องการอะไร

ลูกค้าต้องคุยกันภายในว่าจริงๆ แล้วปัญหาคืออะไร มีการถามว่าทำไม…

Café Joyeux คาเฟ่แห่งความสุขจากฝรั่งเศสที่ขับเคลื่อนโดยคนที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา

คำที่เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางทั้งในโลกธุรกิจและสังคมในยุคนี้ คงหนีไม่พ้นคำว่า ความหลากหลาย หรือ diversity

นิยามของคำว่า หลากหลาย ก็มีรายละเอียดที่ไล่เรียงไปได้ตั้งแต่ความหลากหลายทางเพศ เชื้อชาติ สีผิว วัฒนธรรม ภาษา ทุกความแตกต่างของมนุษย์เราน่าจะนิยามมันได้จากการจัดหมวดหมู่แยกคนกลุ่มหนึ่งออกจากคนกลุ่มหนึ่ง การเปิดใจของคนในสังคมที่ดูเหมือนจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้คำว่า ความหลากหลายถูกหยิบยกเอามาใช้อยู่บ่อยๆ ในโลกยุคปัจจุบัน

อย่างการสร้างหนัง ละคร ซีรีส์ของค่ายสตรีมมิงหรือบริษัทหนังรายใหญ่ๆ ที่เรามักจะเห็นความหลากหลายที่ว่าเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ผ่านตัวละครที่มีความแตกต่างทางสีผิวและเชื้อชาติ ทุกวันนี้เราได้เห็นซูเปอร์ฮีโร่ที่เป็นชาวเอเชียผิวสีเหลือง เราได้เห็นเจ้าหญิงแอเรียลเงือกสาวนำแสดงโดยหญิงผิวดำ นักแสดงชาวเอเชียหรือแอฟริกาเริ่มมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ในโลกฮอลลีวูด 

ในโลกธุรกิจการยอมรับความหลากหลาย ก็กำลังก่อตัวขึ้นอย่างเข้มข้นเช่นกัน อย่างเช่นค่าเฟ่แห่งหนึ่งในประเทศฝรั่งเศสที่ชื่อ Café Joyeux 

Café Joyeux แปลเป็นภาษาอังกฤษคงเขียนได้ว่า Joyful Café และถ้าจะแปลเป็นไทยอีกทีคงแปลได้ว่า คาเฟ่แห่งความสุข ที่ว่าเป็นคาเฟ่แห่งความสุข เพราะที่นี่มุ่งเน้นให้ทุกคนในสังคมมีความสุข 

แล้วการจะทำให้ทุกคนมีความสุขได้เราต้องทำยังไงบ้าง?

คำถามที่ว่าอาจไม่สามารถตอบได้แบบกระชับ แต่ถ้าจะให้ตอบแบบรวบรัดอาจจะเริ่มที่ความเท่าเทียมทางโอกาสที่ทุกคนควรจะได้รับอย่างเสมอภาคกัน ไม่เว้นแม้แต่คนที่บกพร่องทางสติปัญญา

ภารกิจหลักของ Café Joyeux คือการฝึกฝน พัฒนาและว่าจ้างเหล่าคนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เช่น ดาวน์ซินโดรม และออทิสติก หรือที่เรานิยมเรียกกันว่าคนที่มีความต้องการพิเศษให้เป็นที่มองเห็นและได้เป็นส่วนหนึ่งของสังคม

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการที่พวกเขามีความบกพร่องทางสติปัญญาและพัฒนาการทางสังคม พวกเขาจึงเป็นกลุ่มคนที่มักจะไม่ได้รับโอกาสอย่างทัดเทียมเทียบเท่ากับคนอื่นๆ ทั้งการเข้าเรียน การทำงาน รวมถึงโอกาสอีกหลายต่อหลายอย่างในชีวิตที่พวกเขาต้องพลาดไปเพียงเพราะพวกเขาเกิดมาพร้อมความบกพร่องนั้น

ปี 2017 Café Joyeux แห่งแรกที่มีความมุ่งหวังจะพัฒนาสังคมความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนที่มีความต้องการเป็นพิเศษจึงถูกเปิดขึ้น โดยคนที่มีความต้องการพิเศษกลุ่มนี้จะถูกฝึกปรือจนชำนาญในทักษะด้านต่างๆที่จำเป็นต่อการทำงานในร้านคาเฟ่ เช่น การเป็นพนักงานต้อนรับ แคชเชียร์ กุ๊ก และเด็กเสิร์ฟ 

หลังเสร็จสิ้นกระบวนการฝึก พวกเขาก็จะถูกว่าจ้างให้ทำงานในร้านคาเฟ่แห่งนี้ตามแต่ทักษะที่พวกเขาถนัด และจะมีผู้จัดการร้านที่ไม่ได้เป็นคนที่มีความต้องการพิเศษเป็นผู้ดูแลกำกับกิจการต่างๆ ในร้านอีกที แต่เป้าหมายใหญ่ของคาเฟ่นี้ก็อย่างที่เล่าไป คือ ต้องการให้คนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญามีความมั่นใจมากขึ้น และรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคมมากขึ้น

Yann Bucaille-Lanrezac ผู้ก่อตั้ง Café Joyeux เล่าถึงที่มาของการก่อตั้งคาเฟ่นี้ว่า

“มีอยู่วันหนึ่ง มีชายออทิสติกอายุประมาณ 20 ปี เดินเข้ามาของานผมทำ ตอนที่เขาเดินมาคุยกับผม เขาเข้ามาด้วยท่าทีที่มีความสุขและตื่นเต้นมาก แต่พอผมปฏิเสธเขาไป เขาพูดออกมาด้วยท่าทีโกรธว่า มันไม่แฟร์เลย ผมต้องการทำงาน ผมอยากเป็นคนที่ทำประโยชน์ได้บ้าง แต่ไม่มีใครให้งานผมทำเลย”

ทันทีที่ได้ยินดังนั้น Yann เฝ้าครุ่นคิดกับตัวเองว่าเขาน่าจะทำอะไรสักอย่างเพื่อคนที่มีความต้องการพิเศษพวกนี้ได้บ้าง เพราะสิ่งที่ชายหนุ่มออทิสติกคนนั้นพูดนั้นถูกทุกอย่าง มันไม่แฟร์กับพวกเขาเลย พวกเขาไม่ได้ทำอะไรผิดแม้แต่น้อย แต่ดูเหมือนกับว่า สังคมกลับหันหลังให้พวกเขาทั้งๆ ที่ยังไม่ทันให้พวกเขาได้มีโอกาสพิสูจน์ตัวเองเลยด้วยซ้ำ

และนั่นจึงเป็นที่มาของการเปิดค่าเฟ่แห่งความสุข Café Joyeux สาขาแรก

ในปัจจุบัน ฝรั่งเศสมีประชาชนที่เป็นออทิสติก 7 แสนคน และคนที่เป็นดาวน์ซินโดรม 65,000 คน แน่นอนว่าคนที่มีความต้องการพิเศษเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นผู้ว่างงาน ข้ามฟากมาดูที่สหรัฐอเมริกาดินแดนที่มีความเชื่ออย่างแรงกล้าเรื่องความเท่าเทียมของมนุษย์ ที่อเมริกามีคนที่มีภาวะออทิสติกสเปรกตรัม 5.5 ล้านคน และเป็นดาวน์ซินโดรม 250,000 คน จากตัวเลขนี้ มีเพียง 38% เท่านั้นที่ได้รับการจ้างงาน

การเริ่มต้นของ Café Joyeux จึงอาจจะเป็นการเริ่มต้นแบบก้าวเล็กๆ แต่มีความหมายอย่างยิ่งใหญ่ต่อคนเหล่านี้ที่เป็นคนพิเศษของสังคม 

Café Joyeux นิยามตัวเองว่าเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร แต่กำไรที่ได้จากการขายอาหารและกาแฟทั้งหมดของร้านทั้ง 100% จะถูกนำไปลงทุนเปิดร้านใหม่เพื่อเพิ่มการจ้างงานคนที่มีความต้องการพิเศษไปเรื่อยๆ จนตอนนี้ Café Joyeux มีการจ้างงานคนที่มีความต้องการพิเศษไปแล้ว 83 คน และ ปัจจุบันนี้ Café Joyeux มีการขยายสาขาออกไป โดยมีทั้งหมดทั้งหมด 8 สาขาในฝรั่งเศส ทั้งในปารีส, แรนส์, บอร์โด, ลียง และอีก 1 สาขาที่ เมืองลิสบอน โปรตุเกส

Yann เคยเล่าเอาไว้ถึงเหตุผลที่เขามักเลือกโลเคชันในการเปิดร้าน  Café Joyeux ให้อยู่ในสถานที่ๆ เป็นสถานที่ท่องเที่ยว หรือต้องเป็นที่ๆ ตั้งอยู่ในใจกลางเมืองเพราะเขาคิดว่า คนพวกนี้สมควรได้รับโอกาสและศักดิ์ศรีที่จะได้ทำงานในที่ๆ มีความศิวิไลซ์เยี่ยงคนธรรมดาทั่วไป

“พนักงานที่มีความต้องการพิเศษเหล่านี้เขาทำงานดีเยี่ยมมากๆ เลยครับ พวกเขาทำอาหารเก่ง เสิร์ฟอาหารเก่ง พวกเขาภูมิใจกับงานที่ตัวเองทำ พวกเขารู้สึกซาบซึ้งกับงานที่ตัวเองทำ เพราะงานที่พวกเขาทำ พวกเขาจึงค้นพบศักดิ์ศรีของตัวเอง เพราะพวกเขาสามารถหารายได้เลี้ยงตัวเองได้ พวกเขาทำงานอยู่ใจกลางเมืองที่ๆ มีความสวยงาม ทันสมัย ที่ๆ รายล้อมไปด้วยภัตตาคารอันหรูหรา พวกเขาสมควรจะได้ทำงานอยู่ท่ามกลางบรรยากาศแบบนี้ครับ”

แล้วผู้ปกครองของคนที่มีความต้องการพิเศษเหล่านี้เขารู้สึกยังไงกันบ้าง หลังจากที่ได้รับรู้ว่าลูกหลานของพวกเขาได้ทำงานที่คาเฟ่ใจกลางเมืองอย่าง  Café Joyeux

“พวกเรารู้สึกโล่งใจที่ได้เห็นนิโคลัสมีงานทำที่  Café Joyeux พวกเรารู้สึกภูมิใจในตัวลูกชายของเรามากๆ เมื่อเห็นลูกชายเราตื่นแต่เช้าและมีความสุขในทุกๆ เช้าที่เขาไปทำงาน นิโคลัสรู้สึกภูมิใจในตัวเอง รู้สึกว่าตัวเองมีประโยชน์ เขาเห็นคุณค่าในตัวเอง เขารู้สึกดีกับตัวเอง”

นี่คือคำบอกเล่าจากปากคำของพ่อแม่ของลูกจ้างที่คาเฟ่แห่งนี้ คาเฟ่ที่ไม่ได้เสิร์ฟแค่กาแฟแต่เสิร์ฟความสุขให้กับทุกคนในสังคม ทั้งลูกค้าที่มาใช้บริการ ทั้งลูกจ้างที่ทำงานให้ ทั้งพ่อแม่ผู้ปกครองของลูกจ้างรวมไปถึงคนที่ได้อ่านเรื่องราวของคาเฟ่แห่งนี้ 

สมกับชื่อเรียกของร้าน

Café Joyeux

อ้างอิง

Marimade สินค้าค่อนข้างสุ่มจาก Marimekko ที่จงใจใส่ใจโลกตั้งแต่ก่อนผลิต

‘ค่อนข้างสุ่ม’ (หรือเรียกเป็นภาษาอังกฤษแสนน่ารักว่า pretty random) คือแท็กไลน์ที่บอกเราอย่างตรงไปตรงมาว่าโปรดักต์ใน Marimade คอลเลกชั่นพิเศษจาก Marimekko นั้นมีความหลากหลายเกินกว่าจะจัดเรียงเข้าหมวดใดหมวดหนึ่ง 

สมุด ขวดน้ำ แก้วน้ำ กล่องข้าว pouch กระเป๋าผ้า ผ้าเช็ดปาก

แม้จะแตกต่างอย่างที่เห็น แต่โปรดักต์ในคอลเลกชั่น Marimade มีจุดร่วมอยู่ 2 อย่าง

1–เป็นโปรดักต์ที่อยู่รายรอบตัวเราในทุกๆ วัน

2–เป็นโปรดักต์ที่สะท้อนปรัชญาเรื่องความยั่งยืนของ Marimekko และชาวฟินน์อย่างถึงแก่น

Marimade ถูก made ด้วยความคิดความเชื่อแบบไหน

ขอจิบน้ำจากขวดน้ำรักษ์โลกแสนสวยหนึ่งอึกแล้วจะเล่าให้ฟัง

Product

คอลเลกชั่นที่ขีดเส้นใต้ปรัชญาเรื่องความยั่งยืนของ Marimekko

Product Pivot

คล้ายกับหลายๆ แบรนด์ที่ต้อง pivot หรือปรับตัวในช่วงโควิด-19 คอลเลกชั่น Marimade ก็เป็นผลผลิตหนึ่งของช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อนั้น 

“ช่วงโควิดคนเดินทางไม่ได้ ต้องอยู่กับบ้าน และ Marimekko ให้ความสำคัญกับชีวิตประจำวันอยู่แล้ว ทีมออกแบบจึงต้องการทำสินค้าที่ใช้ได้จริงในทุกๆ วันขึ้นมา” แพรว–แพรวไพลิน เอมอักษร Head of Lifestyle Strategy Marketing แห่ง TANACHIRA ผู้จัดจำหน่าย Marimekko ในประเทศไทย เริ่มต้นเล่า

“ทีนี้ Creative Director ของ Marimekko ชื่อคุณ Rebekka Bay เขามีจุดยืนว่าจะไม่ออกแบบสิ่งที่เป็นเทรนด์แฟชั่น จะออกแบบสิ่งที่ใช้ได้ตลอดไป รวมทั้งธีมในการออกแบบที่ครอบคลุมมาถึงปีนี้คือการมองย้อนไปข้างหลังเพื่อมองไปข้างหน้าแล้วดูว่าเราจะอยู่กับมันยังไงต่อ Marimade จึงถือกำเนิดขึ้น โดยมีคอนเซปต์ว่า Grab & Go คือสนุก ง่าย ใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ทรีตมันเป็นของสะสม”

นอกจากนี้ แพรวยังแชร์อินไซต์ในมุมธุรกิจให้ฟัง 2 ข้อ

1–จากการทำรีเสิร์ชพบว่า ลูกค้า Marimekko กว่า 50% ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว

2–แต่ถึงอย่างนั้น Marimekko ก็หวังว่า Marimade จะเปิดประตูเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ได้ หนึ่งคือ ลูกค้าสายกรีน เพราะคอลเลกชั่นนี้ตั้งใจขีดเส้นใต้เล่าเรื่องความยั่งยืนของแบรนด์แบบเน้นๆ และสองคือ ลูกค้าวัยรุ่นวัยทำงาน เพราะสินค้าไลฟ์สไตล์นั้นเข้าถึงง่ายและเข้าใจง่ายกว่าเสื้อผ้าหรือผ้าพิมพ์คอตตอนที่ถือเป็นสินค้าหลัก

เรียกได้ว่าการทำคอลเลกชั่น Marimade นั้นวินทั้งโลก วินทั้งธุรกิจ

Product Sustainability

ก่อนจะ Grab & Go ไปไกลกว่านี้ ต้องขอแวะเล่าสักนิดว่า Marimade ไม่ใช่การกระโจนเข้าสู่ตลาดสินค้าสายกรีนครั้งแรกของแบรนด์ฟินน์ เพราะ Marimekko มีสินค้าที่คิด ออกแบบ และผลิตอย่างยั่งยืนซุกซ่อนอยู่ในคอลเลกชั่นประจำฤดูกาลหรือคอลเลกชั่นพิเศษอื่นๆ อยู่แล้ว เช่น Funny Bags แก๊งกระเป๋าหลากหลายทรงที่ทำมาจากโพลีเอสเตอร์รีไซเคิลและผ้าคอตตอนส่วนเกินจากการผลิตผ้าพิมพ์คอตตอน หรือ Candle Cup เทียนวีแกนสารพันกลิ่นในถ้วยเซรามิกหลุด QC ที่ไม่อยากปล่อยทิ้งไว้ให้ฝุ่นจับเฉยๆ 

หรือกระทั่งโปรเจกต์พิเศษเพื่อความยั่งยืนที่เราเห็นบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น Marimekko x Spinnova ความร่วมมือตั้งแต่ปี 2020 ที่ผสานศาสตร์ผ้าพิมพ์ของ Marimekko เข้ากับนวัตกรรมสุดล้ำอย่าง SPINNOVA เส้นใยที่ลดการใช้น้ำในกระบวนการผลิตถึง 99% เมื่อเทียบกับการผลิตเส้นใยฝ้ายในระบบอุตสาหกรรมทั่วไป

Marimekko Pre-loved แพลตฟอร์มสำหรับซื้อ-ขายสินค้า Marimekko มือสอง ซึ่งช่วยให้เสื้อผ้านอนตู้มีเจ้าของใหม่ที่จะใส่น้องๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก (น่าเสียดายที่ตอนนี้ยังใช้ได้แค่ในฟินแลนด์เท่านั้น!) 

ทั้งหมดทั้งมวลเป็นเพราะ Marimekko ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนตั้งแต่ยุคของผู้ก่อตั้งอย่าง Armi Ratia ดังนั้นความยั่งยืนจึงเป็นปัจจัยสำคัญในทุกกระบวนการทำงาน ตั้งแต่การคิดและออกแบบสินค้าที่ไร้กาลเวลาและคงทน ตลอดจนกระบวนการผลิตที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดและยุติธรรมกับพาร์ตเนอร์ที่เกี่ยวข้อง

ถามว่า Marimekko จริงจังกับความยั่งยืนแค่ไหน ต้องตอบว่าถึงขั้นมีแผนก sustainability อยู่ในบริษัทเลยทีเดียว

“แผนกนี้ทำหน้าที่วางโครงสร้างการผลิตสินค้าของ Marimekko ทั้งระบบให้มีความยั่งยืนและมีมาตรฐานเพื่อไปสู่เป้าหมายที่เราตั้งกันไว้ ทุกปีเราจะมาดูตัวชี้วัดกันว่าเราทำสำเร็จตามเป้าหมายยังไงบ้าง เช่น เราลดการใช้น้ำไปกี่เปอร์เซ็นต์จากปีก่อน” แพรวขยายความ

เป้าหมายเรื่องความยั่งยืนแต่ละข้อนำมาสู่วิธีการทำงานและข้อกำหนดที่แตกต่างกันไปในรายละเอียด แต่ถ้าเล่าให้เห็นภาพใหญ่ในเชิงกระบวนการผลิตคือ แผนก sustainability จะทำหน้าที่คัดเลือกผู้ผลิตที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก (เช่น Better Cotton ซึ่งให้ความรู้เรื่องการดูแลธรรมชาติและสิทธิแรงงานแก่เกษตรกรปลูกฝ้าย) รวมทั้งช่วยตรวจสอบดูแลให้ผู้ผลิตทำงานอย่างถูกต้องตามหลักการและได้มาตรฐาน

“เราเป็นแบรนด์ ยังไงก็มีการผลิตสินค้าออกมาขาย แต่สิ่งสำคัญคือเราจะผลิตยังไงให้กระทบกระเทือนสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด” แพรวสรุป

Product Mix

กลับมาที่ Marimade แพรวบอกว่า “การทำ Marimade ไม่ยากเลย เพราะความยั่งยืนมีอยู่แล้วในองค์กร”

พอได้คอนเซปต์มาแล้ว ทีมออกแบบและทีม sustainability จึงทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาโปรดักต์ออกมา โดยมีทั้งที่นำวัสดุส่วนเกินจากการผลิตสินค้าต่างๆ มาอัพไซเคิลและรีไซเคิล รวมถึงทำงานร่วมกับผู้ผลิตที่เชี่ยวชาญด้านวัสดุยั่งยืนในการออกแบบและผลิตสินค้าใหม่ 

ทั้งนี้ทั้งนั้น แม้จะเป็นคอลเลกชั่นรักษ์โลก Marimekko ก็ยังไม่ทิ้งลายแบรนด์ที่รักการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ เพราะ Marimade มีรายละเอียดน่ารักและยังมีลายพิมพ์ที่แฟนๆ หลงรัก อย่างที่เราได้เห็นกันในสินค้าที่ปล่อยออกมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็น

Takeaway Mug & Lunch Box (จะเข้าไทยเร็วๆ นี้)– แก้วน้ำและกล่องข้าวปั๊มนูนเป็นลาย Räsymatto ผลิตโดย Sulapac (อ่านว่า ซุลลาปา) บริษัทที่คิดค้นวัสดุ bio-based ซึ่งทำมาจากดินเหนียวผสมกับวัสดุชีวภาพ ให้เนื้อสัมผัสคล้ายเซรามิก และสามารถย่อยสลายได้ 100% โดยไม่ปล่อยไบโอพลาสติก

Fabric Notebook–สมุดขนาด A5 เนื้อในทำจากกระดาษรีไซเคิล ส่วนปกทำจากผ้าส่วนเกินจากการผลิตสินค้าประเภทอื่น แต่ละชิ้นจะวางลายไม่เหมือนกัน ถ้าอยากได้แบบ ‘ค่อนข้างสุ่ม’ ก็สามารถกดจากเว็บไซต์ได้เลยหรือถ้าอยากเลือกเองให้ถูกใจต้องไปที่หน้าร้านเท่านั้น

Pouch–กระเป๋าใส่ของขนาด A4 และ A5 ทำจากเซลลูโลสหรือเส้นใยธรรมชาติ สัมผัสคล้ายไม้คอร์กแต่สามารถซักและใช้ซ้ำได้ พิมพ์ลายซิกเนเจอร์ตลอดกาลอย่าง Mari Logo และ Unikko

Price & Promotion

ราคาเดิมๆ โปรโมชั่นเดิมๆ เพราะ Marimekko ยั่งยืนมาแต่ไหนแต่ไร

“จริงๆ แล้วต้นทุนการใช้วัสดุรีไซเคิลสูงกว่านะเพราะมันผ่านการพัฒนาและสรรหาวัสดุเพื่อไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม”​ แพรวเกริ่นเมื่อเราถามถึงวิธีการตั้งราคา Marimade “แต่เราไม่ได้ตั้งราคาต่างจากสินค้าอื่นเลย เพราะอย่างที่บอกว่าเรามีสินค้าที่เป็นรีไซเคิลและอัพไซเคิลอยู่แล้ว”

เมื่อถามถึงโปรโมชั่น แพรวให้คำตอบคล้ายกัน “คอลเลกชั่นนี้ร่วมทุกโปรโมชั่นหน้าร้าน และลูกค้าที่สมัครสมาชิกไว้สามารถใช้ส่วนลด 10-15% ตาม tier ที่สะสมยอดไว้ได้เลย เพราะเราอยากให้ทรีตว่ามันเป็น Grab & Go ไม่เหมือนสินค้าบางตัวที่ทรีตเป็น collectible piece (สินค้าสำหรับสะสม) แล้วจะไม่ร่วมโปรโมชั่น”

แม้พื้นฐานคือราคาเดิมๆ และโปรโมชั่นเดิมๆ แต่ในช่วงเปิดตัวคอลเลกชั่นในเดือนกันยายน 2565 ก็มีโปรโมชั่นพิเศษที่เข้ากับคอนเซปต์สายกรีน ซึ่งช่วยขยายให้เห็นภาพของความยั่งยืนแบบองค์รวมชัดเจนขึ้นด้วย

“เพราะเป็นคอลเลกชั่นที่เน้นเรื่องความยั่งยืนเราเลยนำถุงผ้า Mari Logo มาอยู่ในโปรโมชั่นด้วย ซึ่งเราก็จะขอความร่วมมือกับลูกค้าว่าขอใส่สินค้าลงไปในถุงผ้าเลย เพราะมันเป็นแคมเปญที่ทำมาเพื่อลดการใช้กระดาษ แล้วเราก็จะสื่อสารกับลูกค้าด้วยว่าถุงผ้าของเราทำจากผ้าฝ้ายที่ผลิตในประเทศอินเดีย ไม่ผ่านการฟอกสีเคมีเลย ดังนั้นจะเห็นรอยฝ้ายเป็นจุดๆ อยู่ตามเนื้อผ้า”

แพรวให้ทิปส์ด้วยว่าปกติแล้วเธอจะไม่จัดโปรโมชั่นถุงผ้า Mari Logo บ่อยนัก จะจัดเฉพาะช่วงเดือนเมษายนซึ่งเป็นวันเกิดของ Marimekko ประเทศไทยและเป็นเดือนที่มีวัน Earth Day, ช่วงที่เปิดร้านสาขาใหม่ และช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่เท่านั้น ดังนั้นลูกค้าประจำจะรับรู้ได้ว่าโปรโมชั่นนี้จะมีเฉพาะช่วงเวลาที่พิเศษจริงๆ เท่านั้น

Place

นำเข้าสินค้าพร้อมแนวคิดความยั่งยืนแบบฉบับฟินแลนด์สู่ไทยแลนด์

คอลเลกชั่น Marimade วางขายทางเว็บไซต์ marimekko.co.th, ทาง Facebook Live Streaming และหน้าร้าน 2 สาขา ได้แก่ เซ็นทรัลเอ็มบาสซี่ และเซ็นทรัลเวิลด์ เรียกได้ว่าอำนวยความสะดวกทั้งลูกค้านักกดปุ่ม add to cart และลูกค้าที่ต้องการหยิบจับสัมผัสสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อ

 Place เหล่านั้นถือเป็นพื้นฐาน แต่ประเด็นเรื่อง Place ที่น่าสนใจจริงๆ ของ Marimade น่าจะเป็นการข้ามน้ำข้ามทะเลจากฟินแลนด์มาสู่ไทยแลนด์มากกว่า คำถามคือทำไมแพรวถึงตัดสินใจนำคอลเลกชั่นนี้เข้ามาในประเทศไทย

“เรามองว่าคอลเลกชั่นนี้มีประโยชน์ในเรื่องความยั่งยืน คือสามารถช่วยให้คนเปลี่ยนมุมมองและเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ได้ ลูกค้าเองก็จะได้ในสิ่งที่คู่ควรกับเขา ด้วยคอนเซปต์​ ด้วยการใช้งาน และเราคิดว่าคนไทยจะเห็นภาพ Marimekko ชัดมากขึ้นด้วย”

ในฐานะคนที่ทำงานกับใกล้ชิดกับแบรนด์ Marimekko มากว่า 8 ปี รวมทั้งได้เดินทางท่องเที่ยวในประเทศฟินแลนด์และศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประเทศต้นกำเนิดของแบรนด์มาอย่างลึกซึ้ง แพรวให้อินไซต์เพิ่มเติมว่า ความยั่งยืนไม่ใช่แค่จุดยืนของมารีเมกโกะแต่เป็นสิ่งที่ถูกปลูกฝังจนหยั่งรากลึกในจิตวิญญาณของชาวฟินน์ทุกคนจนสะท้อนออกมาในแบรนด์

“คนฟินแลนด์จริงจังเรื่องสิ่งแวดล้อมมาก ขนาดเขามีธรรมชาติเหลือเฟือ คือฟินแลนด์มีพื้นที่ขนาดเท่าๆ กับประเทศไทยแต่เขามีประชากรแค่ 5 ล้านคน ดังนั้นเขามีธรรมชาติมากกว่าคน แต่เขาก็ยังเป็นห่วงเรื่องธรรมชาติ เขามองว่าธรรมชาติอยู่รอบตัว ถ้าเขาทำร้ายธรรมชาติตัวเขาก็จะได้รับผลกระทบตามมาเพราะเขายังใช้น้ำ ยังอาศัยอยู่ในพื้นที่ และต่อไปลูกหลานเขาก็ต้องอยู่กับธรรมชาติ หรือต่อให้มนุษย์ไม่อยู่แล้ว ธรรมชาติก็จะยังคงอยู่”

ดังนั้นในแง่หนึ่ง การนำคอลเลกชั่น Marimade เข้ามาในประเทศไทยจึงเป็นการถ่ายทอดจิตวิญญาณเรื่องความยั่งยืนของชาวฟินน์ให้กับชาวไทยด้วย แต่แพรวก็หมายเหตุว่า เธอเข้าใจบริบทที่แตกต่างกันระหว่างสองประเทศ รวมถึงเข้าใจข้อจำกัดที่คนไทยหลายคนต้องเผชิญอยู่ในปัจจุบันด้วย

“ฟินแลนด์ทำเรื่องสิ่งแวดล้อมได้เพราะเขาทำอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ ดังนั้นสำหรับตัวเราเองหรือคนใกล้ตัวเราจึงคิดว่าเป็นเรื่องของการบอกกล่าวให้ความรู้เรื่องความยั่งยืน และการทำเป็นประจำจนกลายเป็นนิสัย ส่วนในระดับรัฐบาลหรือองค์กรระดับประเทศก็ต้องต้องช่วยกัน เช่น สนับสนุนและพัฒนาให้มีบริษัทแบบ Sulapac ในบ้านเรา

“แต่เราก็เข้าใจนะว่าการที่เราจะใส่ใจดูแลสิ่งแวดล้อม ปัจจัยพื้นฐานเราต้องโอเคก่อน อย่างเราทำงานรีเทลก็จะเห็นพนักงานห้างเยอะแล้วก็เห็นความยากลำบากในการเดินทางมาทำงานของพวกเขา บ้านไกลแล้วต้องขี่มอเตอร์ไซค์บ้าง ต่อคิวรถตู้บ้าง นั่งรถเมล์ไม่ไหวเพราะต้องตื่นเช้ามาก รถไฟฟ้าก็จ่ายไม่ไหวเพราะแพง ถามว่าตื่นกี่โมง ตื่นตีห้าเพื่อมาทำงานให้ทันเก้าโมง แล้วกลับบ้านเกือบสี่ทุ่ม ไหนจะต้องเอาโน้ตบุ๊กกลับบ้านเพื่อไปทำงานต่อ จะคาดหวังให้เขาพกแก้วน้ำ พกกล่องข้าวเพื่อช่วยโลกอีก มันไม่ไหวจริง เราเข้าใจเขานะ ดังนั้นแม้มันจะดูเป็นเรื่องใกล้ตัว แต่จริงๆ แล้วเป็นภาพใหญ่ที่เราต้องช่วยกันทั้งหมด”

People

คนผลิต ผลิตให้ยั่งยืน คนใช้ ใช้ให้ยั่งยืน

เมื่อถามถึง P สุดท้ายที่ขาดไม่ได้สำหรับการสร้างแบรนด์ให้มีความยั่งยืน แพรวตอบทันทีโดยไม่ต้องคิดว่า “people” 

“สำหรับ Marimade เรานึกถึง people เพราะ planet จะอยู่กับเราได้ และจะอยู่ในสภาพที่ดีได้ก็ต่อเมื่อ people ช่วยกัน people เป็นคนผลิต people เป็นคนใช้ แล้ว people ก็เป็นคนที่อยู่กับมัน”

แพรวเสริมเป็นตัวอย่างว่า แม้กระทั่งเธอเองที่เป็นคนธรรมดาทั่วไปที่ทำงานในภาคเอกชนก็ช่วยในมุมของตัวเองได้

“ด้วยความที่เราทำงานมาร์เก็ตติ้งคนก็จะบอกว่า ยังไงคุณก็ขายของ คือเราขายของก็จริง แต่พอเราอยู่ Marimekko เราเห็นว่าความยั่งยืนมันมีมาตั้งแต่ก่อนการผลิต เราเลยมีความเชื่อว่าเขาทำจริงๆ ดังนั้นก็ช่วยกันพูดเถอะ ถึงบางคนจะมองว่าเป็นแบรนด์พูดแต่มันก็ดีที่มีจุดเริ่มต้นในการพูดคุยเรื่องนี้”

Day 1 ของ witti.studio สตูดิโอให้บริการออกแบบและพิมพ์งานด้วย Risograph อย่างพิถีพิถัน

witti.studio

witti.studio Day 1 คือรายการพ็อดแคสต์เล่าเรื่องธุรกิจจาก Salmon Podcast และ Capital ที่พาไปพบกับวันแรกของการลุกมาทำบางสิ่งบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือการปรับธุรกิจเพราะอยากทำธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น ขายดีขึ้น เป้าหมายที่เคยมีใหญ่ขึ้น หรืออยากให้คนทำงานมีความสุขมากขึ้น

ก่อนหน้านี้ รายการ Day 1 เคยจัดอยู่ที่ Salmon Podcast แต่กลับมารอบนี้ Day 1 ย้ายมาอยู่ภายใต้บ้านใหม่ ในสถานีพ็อดแคสต์ ‘Capital Listen’ ซึ่งจะเผยแพร่ผ่าน Capital อย่างที่ทุกคนเห็นอยู่นี้

เราเชื่อว่า business ไม่ได้สร้างเสร็จภายใน one day การย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นและดูเส้นทางการเติบโตจนสำเร็จของธุรกิจต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่คนทำธุรกิจคนอื่นน่าเรียนรู้ และเอาไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Day 1 หรือวันไหนๆ ของธุรกิจก็ตาม

Day 1 คือรายการพ็อดแคสต์เล่าเรื่องธุรกิจจาก Salmon Podcast และ Capital ที่พาไปพบกับวันแรกของการลุกมาทำบางสิ่งบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือการปรับธุรกิจเพราะอยากทำธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น ขายดีขึ้น เป้าหมายที่เคยมีใหญ่ขึ้น หรืออยากให้คนทำงานมีความสุขมากขึ้น

ก่อนหน้านี้ รายการ Day 1 เคยจัดอยู่ที่ Salmon Podcast แต่กลับมารอบนี้ Day 1 ย้ายมาอยู่ภายใต้บ้านใหม่ ในสถานีพ็อดแคสต์ ‘Capital Listen’ ซึ่งจะเผยแพร่ผ่าน Capital อย่างที่ทุกคนเห็นอยู่นี้

เราเชื่อว่า business ไม่ได้สร้างเสร็จภายใน one day การย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นและดูเส้นทางการเติบโตจนสำเร็จของธุรกิจต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่คนทำธุรกิจคนอื่นน่าเรียนรู้ และเอาไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Day 1 หรือวันไหนๆ ของธุรกิจก็ตาม

witti.studio

Day 1 คือรายการพ็อดแคสต์เล่าเรื่องธุรกิจจาก Salmon Podcast และ Capital ที่พาไปพบกับวันแรกของการลุกมาทำบางสิ่งบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือการปรับธุรกิจเพราะอยากทำธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น ขายดีขึ้น เป้าหมายที่เคยมีใหญ่ขึ้น หรืออยากให้คนทำงานมีความสุขมากขึ้น

ก่อนหน้านี้ รายการ Day 1 เคยจัดอยู่ที่ Salmon Podcast แต่กลับมารอบนี้ Day 1 ย้ายมาอยู่ภายใต้บ้านใหม่ ในสถานีพ็อดแคสต์ ‘Capital Listen’ ซึ่งจะเผยแพร่ผ่าน Capital อย่างที่ทุกคนเห็นอยู่นี้

เราเชื่อว่า business ไม่ได้สร้างเสร็จภายใน one day การย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นและดูเส้นทางการเติบโตจนสำเร็จของธุรกิจต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่คนทำธุรกิจคนอื่นน่าเรียนรู้ และเอาไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Day 1 หรือวันไหนๆ ของธุรกิจก็ตาม

Day 1 คือรายการพ็อดแคสต์เล่าเรื่องธุรกิจจาก Salmon Podcast และ Capital ที่พาไปพบกับวันแรกของการลุกมาทำบางสิ่งบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือการปรับธุรกิจเพราะอยากทำธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น ขายดีขึ้น เป้าหมายที่เคยมีใหญ่ขึ้น หรืออยากให้คนทำงานมีความสุขมากขึ้น

ก่อนหน้านี้ รายการ Day 1 เคยจัดอยู่ที่ Salmon Podcast แต่กลับมารอบนี้ Day 1 ย้ายมาอยู่ภายใต้บ้านใหม่ ในสถานีพ็อดแคสต์ ‘Capital Listen’ ซึ่งจะเผยแพร่ผ่าน Capital อย่างที่ทุกคนเห็นอยู่นี้

เราเชื่อว่า business ไม่ได้สร้างเสร็จภายใน one day การย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นและดูเส้นทางการเติบโตจนสำเร็จของธุรกิจต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่คนทำธุรกิจคนอื่นน่าเรียนรู้ และเอาไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Day 1 หรือวันไหนๆ ของธุรกิจก็ตาม

Day 1 คือรายการพ็อดแคสต์เล่าเรื่องธุรกิจจาก Salmon Podcast และ Capital ที่พาไปพบกับวันแรกของการลุกมาทำบางสิ่งบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือการปรับธุรกิจเพราะอยากทำธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น ขายดีขึ้น เป้าหมายที่เคยมีใหญ่ขึ้น หรืออยากให้คนทำงานมีความสุขมากขึ้น

ก่อนหน้านี้ รายการ Day 1 เคยจัดอยู่ที่ Salmon Podcast แต่กลับมารอบนี้ Day 1 ย้ายมาอยู่ภายใต้บ้านใหม่ ในสถานีพ็อดแคสต์ ‘Capital Listen’ ซึ่งจะเผยแพร่ผ่าน Capital อย่างที่ทุกคนเห็นอยู่นี้

เราเชื่อว่า business ไม่ได้สร้างเสร็จภายใน one day การย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นและดูเส้นทางการเติบโตจนสำเร็จของธุรกิจต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่คนทำธุรกิจคนอื่นน่าเรียนรู้ และเอาไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Day 1 หรือวันไหนๆ ของธุรกิจก็ตาม

Day 1 คือรายการพ็อดแคสต์เล่าเรื่องธุรกิจจาก Salmon Podcast และ Capital ที่พาไปพบกับวันแรกของการลุกมาทำบางสิ่งบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือการปรับธุรกิจเพราะอยากทำธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น ขายดีขึ้น เป้าหมายที่เคยมีใหญ่ขึ้น หรืออยากให้คนทำงานมีความสุขมากขึ้น

ก่อนหน้านี้ รายการ Day 1 เคยจัดอยู่ที่ Salmon Podcast แต่กลับมารอบนี้ Day 1 ย้ายมาอยู่ภายใต้บ้านใหม่ ในสถานีพ็อดแคสต์ ‘Capital Listen’ ซึ่งจะเผยแพร่ผ่าน Capital อย่างที่ทุกคนเห็นอยู่นี้

เราเชื่อว่า business ไม่ได้สร้างเสร็จภายใน one day การย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นและดูเส้นทางการเติบโตจนสำเร็จของธุรกิจต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่คนทำธุรกิจคนอื่นน่าเรียนรู้ และเอาไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Day 1 หรือวันไหนๆ ของธุรกิจก็ตาม

Day 1 คือรายการพ็อดแคสต์เล่าเรื่องธุรกิจจาก Salmon Podcast และ Capital ที่พาไปพบกับวันแรกของการลุกมาทำบางสิ่งบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือการปรับธุรกิจเพราะอยากทำธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น ขายดีขึ้น เป้าหมายที่เคยมีใหญ่ขึ้น หรืออยากให้คนทำงานมีความสุขมากขึ้น

ก่อนหน้านี้ รายการ Day 1 เคยจัดอยู่ที่ Salmon Podcast แต่กลับมารอบนี้ Day 1 ย้ายมาอยู่ภายใต้บ้านใหม่ ในสถานีพ็อดแคสต์ ‘Capital Listen’ ซึ่งจะเผยแพร่ผ่าน Capital อย่างที่ทุกคนเห็นอยู่นี้

เราเชื่อว่า business ไม่ได้สร้างเสร็จภายใน one day การย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นและดูเส้นทางการเติบโตจนสำเร็จของธุรกิจต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่คนทำธุรกิจคนอื่นน่าเรียนรู้ และเอาไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Day 1 หรือวันไหนๆ ของธุรกิจก็ตาม

ชวน Studio 360 มาหยิบ 11 สิ่งที่เป็นที่สุดมาใส่ตระกร้า

Studio 360

Studio 360ห add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

Studio 360

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

add to cart คือรายการที่ชวนผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ เลือกหยิบไอเทมที่เป็น ‘ที่สุด’ ของแบรนด์มาใส่ตระกร้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นแรกสุด ชิ้นขายดีที่สุด ชิ้นที่ภูมิใจที่สุด ชิ้นที่ราคาถูกและแพงสุดของแบรนด์ ไปจนถึงชิ้นที่ขายไม่ค่อยดีนะแต่ก็อยากป้ายยาสุดๆ

หากดูรายการนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ เพิ่มสามารถฟังได้ในพ็อดแคสต์รายการ Day 1 ที่ ย้วย–นภษร ศรีวิลาส บรรณาธิการของ Capital ชวนเจ้าของแบรนด์ไทยมาคุยกันถึงวิธีทำธุรกิจของพวกเขาอย่างลงลึกตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการจนกระทั่งทุกวันนี้

ทำไม Adobe อยากได้ Figma แต่นักลงทุนและผู้ใช้งานกลับรู้สึกหวั่นใจจนหุ้นบริษัทร่วงเกือบ 20%

Adobe เป็นบริษัทซอฟต์แวร์ที่อยู่คู่กับเรามานานหลายสิบปี ถ้าเอ่ยแค่ชื่อบริษัทหลายคนอาจจะไม่แน่ใจว่ารู้จักไหม แต่ถ้าพูดว่านี่คือเจ้าของ Photoshop, Lightroom หรือ Illustrator ทุกคนน่าจะร้องอ๋อกันแน่นอน โดยเฉพาะกับคนที่ทำงานอยู่ในสายคอนเทนต์ ออกแบบ ตกแต่งภาพ และสร้างสรรค์ผลงานด้วยเครื่องมือดิจิทัล

จากเมื่อก่อนที่ขายเป็นแผ่นดิสก์ (ยังมีคนรู้จักไหมนะ) ตอนนี้เปลี่ยนเป็นระบบรายเดือน (มีทั้งคนรักคนเกลียด) ที่สร้างรายได้ให้กับบริษัทอย่างมหาศาล เติบโตจนบริษัทมีมูลค่ากว่า 320,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และหุ้นเพิ่มสูงขึ้นเกือบ 10 เท่าในช่วงที่ผ่านมา

จนเมื่อวันที่ 15 กันยายนที่ผ่านมาก็มีข่าวฮือฮาว่า Adobe ประกาศเข้าซื้อบริษัทสตาร์ทอัพซอฟต์แวร์เล็กๆ ชื่อ Figma ด้วยเงินจำนวนกว่า 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับคนที่ยังไม่รู้จัก Figma คือเครื่องมือออนไลน์สำหรับใช้ในการออกแบบหน้าตาและตัวต้นแบบของเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่นมือถือ และอีกมากมาย ฟีเจอร์ที่โดดเด่นคือการที่ผู้ใช้งานหลายคนสามารถเข้ามาร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานดิจิทัลร่วมกันได้ 

โดยหลังจากที่ประกาศปุ๊บหุ้นบริษัทร่วงไปเลยเกือบ 20 เปอร์เซ็นต์ 

เรื่องที่น่าสนใจก็คือว่าทำไม​ Adobe ถึงได้ทุ่มเงินมากขนาดนั้นและทำไมนักลงทุนรวมถึงผู้ใช้งานเริ่มกังวลถึงอนาคตที่จะมาถึง

ทำไม Adobe ถึงกล้าทุ่ม?

ช่วงที่ผ่านมาระหว่างที่โควิดระบาดหนักจนคนไม่สามารถออกไปเจอหน้ากันได้ตามปกติ เราเห็นการเติบโตแบบก้าวกระโดดของแอพพลิเคชั่นที่ช่วยให้คนทำงานร่วมกันอย่างเช่น Zoom ที่ถือว่ากลายเป็นสแตนดาร์ดของประชุมออนไลน์ไปเรียบร้อย Figma เองก็ไม่ต่างกัน เพราะช่วงที่นักออกแบบไม่สามารถเจอกันได้ สิ่งที่จำเป็นคือเครื่องมือที่ช่วยให้พวกเขาทำงานออนไลน์ด้วยกันอย่างไม่ติดขัด (collaborative tool) 

นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมแอพพลิเคชั่นอย่าง Figma หรือ Canva (เครื่องมือสร้างสรรค์มีเดียออนไลน์จากประเทศออสเตรเลียอีกเจ้า) ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

Adobe เจ้าใหญ่แห่งวงการซอฟต์แวร์สำหรับตลาดนักออกแบบและครีเอทีฟ ที่ผ่านมาพยายามเข้าไปแย่งตลาดซอฟต์แวร์ที่ให้คนทำงานด้วยกันได้อยู่ตลอด แต่กลับทำได้ไม่สำเร็จและตอนนี้ก็เริ่มเห็นผลกระทบของตลาดที่กำลังเติบโตนี้เข้ามาแย่งลูกค้าเก่าๆ ของพวกเขาไปบ้างแล้ว

ล่าสุด Adobe ได้ประกาศผลการดำเนินการรายไตรมาสแสดงให้เห็นถึงรายได้ที่เติบโตลดลงต่ำกว่าความคาดหวังของนักลงทุน ยอดขายของระบบสมาชิก Creative Cloud ก็ไม่ได้สูงอย่างที่คาดหวังเอาไว้

แม้ว่าจะยังมีผู้ใช้งาน Photoshop และ Illustrator เป็นจำนวนมาก แต่มันก็เป็นเครื่องมือที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง คนที่ไม่เคยใช้หรือไม่มีประสบการณ์มาก่อนเรียกว่าหลงทางทันทีเมื่อเปิดขึ้นมา นั่นเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ผู้ใช้งานหน้าใหม่ๆ หลีกเลี่ยงที่ใช้แอพฯ ของ Adobe และหันไปหาคู่แข่งอย่าง Figma เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะความเรียบง่าย แถมใน Figma คนในทีมยังสามารถทำงานร่วมกันได้เลยแบบเรียลไทม์ ฟีดแบ็กคอมเมนต์กันระหว่างประชุมออนไลน์และแก้ไขกันตอนนั้นได้เลย

แดเนียล วินซี (Daniel Vinci) หนึ่งในผู้ใช้งาน Figma ที่เป็นเจ้าของบริษัทออกแบบเว็บไซต์ของตัวเองบอกกับเว็บไซต์ The Wall Street Journal บอกว่า

“Figma เล็ก เร็ว และไม่เทอะทะ ใครก็สามารถเข้ามาแล้วก็เริ่มใช้งานได้เลย ไม่มีผลิตภัณฑ์ของ Adobe สักอันเลยที่เป็นแบบนั้น” 

แม้ Adobe จะคอยบอกเสมอว่าพวกเขาอัพเดตผลิตภัณฑ์ของตัวเองอยู่ตลอดเวลา แต่เราก็ต้องยอมรับว่าผลิตภัณฑ์ของพวกเขาอย่าง Photoshop หรือ Illustrator นั้นมีฟังก์ชั่นเยอะมาก ทำได้ทุกอย่างก็จริง แต่มันทั้งใหญ่ เทอะทะและค่อนข้างซับซ้อน สำหรับวินซีและผู้ใช้งานรุ่นใหม่ๆ บอกว่า Figma ตอบโจทย์การใช้งานมากกว่า นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไม Adobe จึงยอมจ่ายถึง 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อซื้อบริษัทเล็กๆ แห่งนี้ ซึ่งสูงกว่ามูลค่าตลาดหลังจากระดมทุนปีที่แล้วถึงสองเท่า

ถ้าเป็นบริษัทที่ดีทำไมหุ้นถึงร่วง?

ไบรอัน ชวาร์ตซ์ (Brian Schwartz) นักวิเคราะห์อาวุโสจากบริษัทการลงทุน Oppenheimer & Co. กล่าวว่า “การซื้อครั้งนี้อยู่ในระดับที่ทำให้เลือดกำเดาไหลได้เลย ทำให้เกิดความกังวลว่าเกิดอะไรขึ้นกับธุรกิจหลักกันแน่”

หลังจากประกาศไปวันแรกหุ้นร่วง 17% วันต่อมาร่วงไปอีก 3% นับรวมแล้วทั้งปีนี้หุ้นของ Adobe ร่วงไปแล้วกว่า 47% ถือว่าเป็นหุ้นที่ทำผลงานได้ย่ำแย่กว่าตลาดโดยรวมเยอะมาก

ชานทานู่ นาราเยน (Shantanu Narayen) ซีอีโอของ Adobe ออกมาแสดงจุดยืนเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าการเข้าซื้อจะสร้าง ‘ความเปลี่ยนแปลง’ ที่จำเป็นสำหรับการเติบโตในยุคต่อไปของบริษัท ตัวเลขที่สูงแบบนี้มักสร้างความหวั่นใจให้กับนักลงทุนในตลาดเสมอจึงไม่ได้คิดว่าการร่วงลงของหุ้นบ่งบอกถึงอะไรมากนัก แถมตลาดที่กำลังซบเซาแบบนี้ก็เหมาะแล้วที่บริษัทจะลงมือทำอะไรที่แตกต่างด้วย

“บริษัทที่เข้มแข็งกว่าคือบริษัทที่ควรจะเคลื่อนไหวเพื่อวางตำแหน่งตัวเองให้บริการลูกค้าต่อไปอีกหลายทศวรรษ เราเชื่อจริงๆ ว่าโอกาสสำหรับเราคือการเข้าสู่โลกใหม่ของความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานร่วมกัน”

ความสำเร็จของ Adobe ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาต้องยกความดีความชอบให้กับนาราเยนเป็นหลัก หลังจากที่เขาเข้ามารับตำแหน่งซีอีโอในปี 2007 โมเดลธุรกิจตอนนั้นยังขายโปรแกรมเป็นแผ่นซีดีอยู่เลย (ซึ่งก็มีของปลอมเยอะมากๆ) ก่อนจะนำบริษัทเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงในปี 2011 ไปเป็นระบบสมาชิกแบบจ่ายรายเดือนพร้อมทั้งให้บริการคลาวด์กับลูกค้าด้วย

ในตอนแรกนักวิเคราะห์ก็บอกว่ามันเป็นโมเดลที่ไม่น่ารอด แต่กลับกลายเป็นว่าจากรายได้ต่อปี 4,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตอนนี้พวกเขาทำได้มากกว่านั้นภายในเวลาแค่ไตรมาสเดียว มูลค่าของบริษัทก็พุ่งไปแตะจุดสูงสุดที่ 320,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อปีที่แล้วด้วย (การเปลี่ยนแปลงไปให้บริการคลาวด์และระบบสมาชิกในตอนนี้ดูเป็นเรื่องปกติแต่ในตอนนั้นถือว่าเป็นเรื่องใหม่โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แบบนี้) 

ผู้บริหารของ Adobe ต่างก็เห็นตรงกันว่าการเข้าซื้อ Figma จะเป็นเหมือนหมุดหมายการเติบโตยุคใหม่ สร้างความแตกต่างให้กับบริษัทของตัวเองที่จะดันยอดขายให้เติบโตในช่วงหลายปีต่อจากนี้ นอกจากนั้นแล้วอย่าลืมว่ากลุ่มผู้ใช้งานของ Figma ไม่ใช่แค่กลุ่มครีเอทีฟเพียงอย่างเดียว แต่เป็นกลุ่มที่ทำงานในอุตสาหกรรมอื่น (เช่นโปรแกรมเมอร์) แต่ต้องการใช้เครื่องมือเพื่อออกแบบเล็กๆ น้อยๆ ไม่ซับซ้อนด้วย

แน่นอนว่าหลังจากนี้สิ่งที่นาราเยนต้องพิสูจน์คือ Figma จะสร้างผลกระทบทางบวกต่อบริษัทได้มากแค่ไหน เราอาจจะได้เห็นเครื่องมือของ Photoshop ไปอยู่ใน Figma แต่งรูปในนั้นเลยก็ได้ แต่สิ่งที่ต้องระวังคือการนำเอาเครื่องมือที่ไม่จำเป็นและเทอะทะไปใส่ใน Figma แทนที่จะสร้างความสะดวกสบายจะกลายเป็นสร้างความรำคาญให้กับลูกค้าซะมากกว่า

อย่างวินซีเองก็บอกว่าตอนนี้เขาเริ่มมองหาทางเลือกใหม่นอกจาก Figma แล้ว เพราะไม่คิดว่า Adobe จะทำให้ประสบการณ์การใช้งานดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเรื่องแบบนี้ก็เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ แค่ดูตัวอย่างอินสตาแกรม ที่สูญเสียตัวตนของตัวเองไปหมดเมื่อเฟซบุ๊กซื้อไปก็น่าจะชัดเจนพอแล้ว

อ้างอิง