‘ไปดูบอล’ ธุรกิจทัวร์ดูบอลของคนบ้าบอล ที่อาสาสานฝันพาแฟนบอลไปดูทีมรักถึงขอบสนาม

“ถ้าเรารักอะไรสักอย่าง มันจะพาเราไปสักที่”

ประโยคที่เราได้ยินได้ฟังกี่ครั้งก็ยังรู้สึกว่ากระทบใจทุกครั้ง และไม่น่าจะใช้ได้เพียงแค่การลงมือทำในสิ่งที่รัก แต่ยังรวมไปถึงความฝันในการไปสัมผัสสิ่งที่รักด้วย

ไปดูบอล

จะบอกว่าเป็นโชคร้ายก็คงพูดไม่ได้เต็มปาก ที่คนไทยอย่างเราๆ หลงใหลกีฬาฟุตบอลที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอังกฤษ และสโมสรที่ฝังใจเชียร์มาตั้งแต่เด็ก ล้วนแล้วแต่ตั้งอยู่ในประเทศแถบยุโรปทั้งสิ้น การจะไปสัมผัสบรรยากาศจริงๆ ที่ขอบสนามอาจเป็นเรื่องยาก เพราะอย่างที่รู้กันว่า การแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ลีก โดยเฉพาะการมาเจอกันของทีมระดับท็อปโฟร์หรือศึกแดงเดือด การเป็นเจ้าของตั๋วสักใบ ไม่ใช่สิ่งที่ใครจะสามารถทำได้ง่ายๆ แม้จะมีเงินก็ตาม

แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะล่าสุดได้เกิดธุรกิจทัวร์รูปแบบใหม่ นั่นคือทัวร์ที่พาไปดูบอลโดยเฉพาะ เพราะเชื่อว่าการเฝ้าดูทีมที่รักเก็บชัยชนะผ่านหน้าจอทุกคืนวันเสาร์อาทิตย์ เทียบไม่ได้เลยกับการได้ไปร้องเพลงเชียร์และตะโกนให้กำลังใจนักเตะที่ข้างสนาม ซึ่งเป็นความฝันของเหล่าแฟนบอลแทบทุกคน

‘ไปดูบอล’ คือธุรกิจทัวร์ดูบอล ที่บอกใน About Us ของเว็บไซต์ว่า “เกิดจากความบ้าฟุตบอล และมีความฝันว่าจะไปดูฟุตบอลรายการใหญ่ๆ ในต่างประเทศ เมื่อไปสัมผัสบรรยากาศจริง มันรู้สึกว่าแตกต่างจากที่เราดูถ่ายทอดอยู่หน้าจอเยอะเลย จึงอยากจะแบ่งปันประสบการณ์ให้กับคนมีฝันคล้ายๆ กันให้ลองติดตามดู” นั่นคือความในใจของ ก๊อป–สันต์ สุวรรณไชยศรี ผู้ก่อตั้ง และ เฟรนด์–อรรถพล กิตติธรรมสาร แอดมินดูแลโซเชียลมีเดีย ที่จะมาเปิดเผยถึงเบื้องหลังในการสานฝันของแฟนบอลให้กลายเป็นจริง

ไปดูบอล

เตรียมแพ็กกระเป๋า

“ก่อนหน้านี้ผมดูฟุตบอลแค่ในประเทศ แต่พอหลังๆ ทำงานมีเงินก็ไปต่างประเทศบ่อย แล้วก็ลองเข้าไปดูในสนามจริงบ้าง คู่แรกที่ผมได้ไปดูคือ แดงเดือดที่โอลด์แทรฟฟอร์ดเมื่อหลายปีก่อน ตื่นเต้นมาก ทั้งๆ ที่ผมไม่ได้เชียร์แมนยูนะ บรรยากาศมันบรรยายไม่ได้จริงๆ แต่พอได้ไปแอนฟีลด์คือดีใจมากยิ่งกว่าอีก” ก๊อปเกริ่นถึงความรู้สึกที่ได้เข้าไปสัมผัสบรรยากาศในสนามเป็นครั้งแรกที่อังกฤษ ก่อนที่เฟรนด์จะเล่าถึงความรู้สึกของตัวเองบ้าง

“ปี 2019 เป็นปีที่ลิเวอร์พูลมีลุ้นแชมป์ เราก็รู้สึกว่าอยากไปนะ แต่ก็ยังลังเล สุดท้ายก็กดซื้อตั๋วไปก่อน เป็นตั๋วที่ราคาแพงกว่าปกติประมาณ 5 เท่า ไปกับแฟนสองคน รู้สึกว่าเราอยู่มาทั้งชีวิตเพื่อความฝันนี้รึเปล่าวะ อยากไปสัมผัสตรงนั้นสักครั้งหนึ่ง คือก่อนหน้านั้นไม่เคยไปยุโรปเลย ไปอังกฤษครั้งแรก คือเดินทางเอง จองตั๋ว จองที่พัก ทำวีซ่าอะไรเองหมด พอไปก็น้ำตาไหลเลยจริงๆ บรรยากาศมันสุดยอดมาก รู้สึกว่านี่คือสิ่งที่เราต้องการมาทั้งชีวิตจริงๆ

“ผมรู้สึกว่าถ้าคนรักอะไรสักอย่างหนึ่ง แล้วเป็นความฝันของเขา มันจะพาเขาไปที่นั่นได้” ก๊อปยืนยันความเชื่อของตัวเอง

ไปดูบอล

จากจุดเริ่มต้นของความฝันเล็กๆ ณ โรงละครแห่งความฝัน ก๊อปก็มีโอกาสได้เดินทางไปชมเกมฟุตบอลที่ต่างประเทศอีกหลายครั้ง จนเมื่อปี 2018 ฟุตบอลโลกที่รัสเซีย ระยะเวลาของทริปที่ยาวนานถึง 20 วัน ได้ชมเกมระดับโลกถึง 5 นัด มากพอที่ทำให้เขาเขียนเรื่องราวลงในกระทู้พันทิป ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างแฟนบอลด้วยกัน ก่อนจะได้เดินทางไปชมพรีเมียร์ลีกในปีถัดมาถึง 7 นัดติดๆ กัน

ทำให้เขาตัดสินใจเปิดเพจ ‘ไปดูบอล’ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ไปดูบอลที่อังกฤษ ตั้งแต่การรีวิว แชร์ความรู้ การวางแผนต่างๆ รวมไปถึงทริกในการซื้อตั๋วราคาถูก

“พอสร้างเพจขึ้นมา ก็มีคนติดตามเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตอนแรกก็ไม่คิดว่าจะจัดทัวร์หรืออะไร แต่พอดีลูกเพจเขาอินบอกซ์เข้ามาบอกว่าอยากไปด้วย จะไปเมื่อไหร่ ขอไปด้วยนะ จนถึงจุดหนึ่งมีคนอินบอกซ์เข้ามาถาม 6-7 คน ก็สามารถจัดเป็นทริปเหมือนชวนเพื่อนไปได้ หลังจากทริปแรกผ่านไป ก็มีลูกเพจติดต่อเข้ามาเรื่อยๆ จนกลายเป็นธุรกิจขึ้นมา” ก๊อปเล่าถึงจุดเริ่มต้น

ไปดูบอล

แม้ว่าในช่วงแรกพวกเขาไม่ได้มองว่าจะทำกำไรจากตรงนี้ แต่พอเริ่มกลายเป็นธุรกิจจริงจังขึ้นมา จึงปรับรูปแบบให้กลายเป็นบริษัททัวร์เต็มรูปแบบ มีใบอนุญาตและมีไกด์อาชีพคอยดูแล โดยร่วมกับพาร์ตเนอร์ที่ทำบริษัททัวร์อยู่แล้ว ทำให้สามารถขยายสเกลรับลูกค้าได้จำนวนมากขึ้น

จับจองที่นั่ง

สำหรับแผนการเดินทาง ก๊อปเลือกออกแบบจากการดูโปรแกรมการแข่งขันที่ประกาศออกมาตอนต้นฤดูกาล โดยตั้งต้นจากโปรแกรมสำคัญ จากนั้นจึงดูคู่รองที่เตะกันในเมืองใกล้ๆ เพื่อให้สามารถเก็บได้ครบทุกคู่

“ส่วนใหญ่แฟนบอลที่ไป เขาไม่ได้อยากดูแค่เกมเดียว อย่างน้อยๆ ต้องมีสัก 2-3 เกม” ก๊อปเล่าวิธีคิดในการวางแผนแต่ละทริป ก่อนที่เฟรนด์จะช่วยเสริม “เราไม่ได้พาไปแค่ดูบอลอย่างเดียว มีพาไปชมสเตเดียมต่างๆ ลูกค้าก็จะแฮปปี้ เพราะได้เข้าไปเหยียบสนามจริงๆ ด้วย”

เมื่อถามถึงความสำคัญของการมีทัวร์ไปดูบอล ในยุคที่การเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศด้วยตัวเองเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็ทำได้ เฟรนด์จึงขอเล่าย้อนกลับไปในวันที่เขาเดินทางไปอังกฤษด้วยตัวเองเป็นครั้งแรก “คือในวันที่ผมไปเอง ผมเป็นคนที่ไม่เก่งภาษา สื่อสารไม่ค่อยได้ มีคำถามตั้งแต่ทำวีซ่าที่ไหน ใช้เวลาเท่าไหร่ จองโรงแรมยังไง การขึ้นเครื่องต้องไปต่อเครื่องแบบไหน เพราะบางทีไปอังกฤษต้องต่อเครื่อง แล้วพอไปถึงแล้ว เราจะเดินทางยังไง กินอะไร ซื้อของกินที่ไหน จะมีอันตรายไหม” 

นั่นคือความกังวลของแฟนบอล แม้จะรักทีมที่เชียร์ขนาดไหน แต่การเดินทางไปอังกฤษด้วยตัวเองก็ไม่ใช่เรื่องง่ายแน่นอน

“การที่เราไปเอง ต้องลองผิดลองถูก และมักจะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน สำคัญคือเรื่องตั๋วฟุตบอลที่อังกฤษ ไม่ได้หาซื้อกันง่ายๆ หลายสโมสรมันมีขั้นตอนในการซื้อตั๋วแบบยากมาก อย่างลิเวอร์พูลถือว่ายากสุดๆ สมมติไปซื้อซี้ซั้วตามที่เห็นในเว็บของเมืองนอก อาจโดนหลอกได้ วงการรีเซลล์ตั๋วฟุตบอลนี่แหละน่ากลัวมาก การมีบริษัททัวร์ ทำให้ช่วยลดความเสี่ยงตรงนี้ได้ 

“ตั๋วฟุตบอลที่เราหาให้ เราจะพยายามหาตั๋วที่ดีที่สุด เป็นตั๋วที่เรียกว่า hospitality หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็นตั๋ววีไอพี จะมีอาหาร มีเครื่องดื่ม มีห้องรับรองให้ใช้บริการ และทำเลที่นั่งดีกว่า” ก๊อปฉายภาพให้เห็นความสำคัญ และไม่ลืมที่จะเอ่ยถึงจุดขายของการไปทัวร์กับ ‘ไปดูบอล’ อย่างการได้ตั๋ว hospitality ซึ่งถือว่าเป็นสวรรค์ของการไปดูบอลที่สนามเลยทีเดียว

แม้ธุรกิจทัวร์ดูบอลจะมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนและหาลูกค้าได้ไม่ยาก แต่ก็ยังต้องพบกับอุปสรรคสำคัญจากโปรแกรมการแข่งขันที่ไม่แน่นอน

“พรีเมียร์ลีกเขาประกาศโปรแกรมแข่งเอาไว้ล่วงหน้า ว่าสัปดาห์นี้ใครเจอใคร แต่เขาไม่ได้ระบุว่าวันเสาร์หรืออาทิตย์ เตะกี่โมง ส่วนใหญ่จะมาคอนเฟิร์มก่อนแข่งจริงประมาณหนึ่งเดือน ซึ่งเราต้องวางแพลนล่วงหน้าหลายเดือน เพราะต้องมีขั้นตอนขอทำวีซ่า ซื้อตั๋วล่วงหน้า ทำให้การวางแผนโปรแกรมอย่างละเอียด ไม่สามารถทำได้เลย” ก๊อปเผย

“อีกปัญหาคือเรื่องของปัจจัยที่เราควบคุมไม่ได้ เช่นช่วงที่ผ่านมา เมื่อปี 2020 เราทำทัวร์ไปดูลิเวอร์พูลนัดสุดท้ายที่จะรับแชมป์ในปีนั้น คือขายทัวร์หมดไปแล้ว แต่ตอนนั้นโควิดมา เราก็ต้องยกเลิกหมด แล้วก็อย่างล่าสุด แดงเดือดเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา จริงๆ โปรแกรมเดิมที่วางไว้เป็นเดือนมีนาคม แต่ลิเวอร์พูลต้องไปเตะ FA Cup ทำให้ต้องย้ายไปเตะเมษายน ลูกค้าบางคนทำงานประจำ ก็ต้องไปเลื่อนวันหยุดใหม่ ให้ตรงกับวันที่จะไป ทางคุณก๊อปก็เป็นกาวใจเคลียร์ลูกค้า โชคดีที่ลูกค้าก็น่ารัก เขาก็เข้าใจว่ามันไม่ได้เกิดจากเรา” เฟรนด์เสริมถึงอุปสรรคที่ต้องรับมือ

ไปดูบอล

ร้องเพลงเชียร์ไปด้วยกัน

“ผมออกทริปมาเยอะ แต่ไม่มีทริปไหนที่รู้สึกว่าประทับใจเป็นพิเศษ เพราะประทับใจทุกครั้งที่ไป พอผมได้เห็นคนที่เขาไปครั้งแรก แล้วเขาดีใจ ร้องไห้ แค่นี้ผมก็รู้สึกดีใจแล้ว” ก๊อปเผยสิ่งที่ได้รับ ก่อนที่เฟรนด์จะช่วยเสริมถึงความรู้สึกว่า “ประทับใจที่สุด น่าจะเป็นรอบแดงเดือดล่าสุดที่ไป ลูกค้าไปแบบไม่รู้จักกันเลย บางคนทำงานประจำ เป็นเจ้าของธุรกิจบ้าง แต่พอไปในสนาม เหมือนเป็นฟีลเดียวกัน เชียร์คนละทีมกันด้วยนะ มีทั้งแมนยู มีทั้งลิเวอร์พูล พอกลับมาเขาสามารถไปนัดกินเบียร์ ชวนคุยเรื่องบอลกันได้” 

สำหรับอนาคตของ ‘ไปดูบอล’ ทั้งสองวางแผนระยะยาวด้วยการต่อยอดทัวร์ไปดูบอลในลีกระดับโลกอื่นๆ อย่างสเปน เยอรมนี และอิตาลี รวมถึงการพาไปดูกีฬาระดับโลก อย่างการแข่งขันรถแข่ง F1, บาสเกตบอล NBA, เทนนิส และกอล์ฟรายการใหญ่ๆ ของโลก

ไปดูบอล

“ถ้าเขามีความรักในกีฬาประเภทต่างๆ แล้วมีความฝันอยากจะไปดูในสนาม เราแค่ทำหน้าที่หลักๆ คือมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับเขา” ก๊อปอธิบายถึงหัวใจของการทำธุรกิจ

“ถ้าพูดในแง่ของธุรกิจ การทำทัวร์แบบนี้คนทำน้อย มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราทำ ไม่ได้มองในแง่ของตัวเงินเป็นหลักตั้งแต่แรก แต่เรามองถึงเป้าหมายของเราคือ Love / Dream / Experience ใครที่มีความรักในการเชียร์ มีความชอบในการชม มีความฝันในการไปสัมผัสถึงที่ และอยากไปรับบรรยากาศจริงๆ ในสนาม สามารถมาหาเราได้” เฟรนด์ทิ้งท้าย

ไปดูบอล

3 สิ่งที่ควรรู้ก่อนจะไปดูบอลที่ขอบสนาม

  1. เรียนรู้วัฒนธรรมการเชียร์บอล

สิ่งแรกที่ต้องเรียนรู้คือการเลือกฝั่งที่นั่ง เหย้าหรือเยือนต้องเช็กให้ดี และที่สำคัญต้องใส่เสื้อให้ถูกฝั่ง เพราะเป็นเรื่องของความปลอดภัย สำคัญที่สุด ควรจะหัดร้องเพลงเชียร์ของทีมรักให้ได้ เพราะจะทำให้อารมณ์ร่วมในสนามเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า 

  1. เตรียมใจเพื่อไปดูบอลจริงๆ

การไปดูบอล จะเน้นเรื่องการไปสัมผัสประสบการณ์กับฟุตบอลเป็นหลัก ตั้งแต่การชมการแข่งขันในสนาม ไปทัวร์สนามจริง หรือไปรอขอลายเซ็นนักเตะ ขอให้เผื่อใจไว้ให้ทีมรักแบบเต็มๆ จะได้ไม่ผิดหวัง

  1. วางแผนการเงินให้ดี

เรื่องของค่าใช้จ่ายในการไปทัวร์ดูบอล ต้องวางแผนการเงินในกระเป๋าให้ดี นอกจากเรื่องการทำวีซ่า การจองตั๋วเครื่องบิน การจองที่พัก และค่าตั๋วที่แสนแพงแล้ว นั่นก็คือของที่ระลึกของสโมสรทีมรัก ที่บอกเลยว่าถ้าอดใจไม่ไหว กระเป๋าฉีกได้ง่ายๆ เลยทีเดียว

ไปดูบอล

รู้จัก pitch fee ระบบที่ช่วยป้องกันไม่ให้เอเจนซีคิดงานฟรี ที่ 3 สมาคมโฆษณาไทยลุกขึ้นมาปรับใหม่ในรอบเกือบ 20 ปี

‘พิตช์งาน’ เป็นคำที่หลายคนเคยได้ยินกันบ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนในวงการโฆษณา ซึ่งความหมายของคำนี้ก็คือเมื่อแบรนด์ต้องการจะทำแคมเปญหรือโฆษณาอะไรสักอย่าง ก็มักจะเรียกเอเจนซีโฆษณาหลายๆ เอเจนซีมารับโจทย์เพื่อให้นำกลับไปคิด แล้วนำมาเสนอกับแบรนด์ใหม่ เอเจนซีไหนชนะใจแบรนด์ก็พิตช์งานนั้นไปได้

ซึ่งภายใต้การพิตช์งานแต่ละครั้งจะมีสิ่งที่เรียกว่า ‘pitch fee’ ที่หมายถึงค่าธรรมเนียมในการแข่งขันเพื่อนำเสนองาน โดยอัตราของค่าธรรมเนียมมีตั้งแต่ 50,000 ไปจนถึง 100,000 บาท ที่ฝั่งแบรนด์ต้องจ่ายให้กับเอเจนซีที่เรียกเข้าไปนำเสนองาน

ถามว่าทำไมถึงต้องมี pitch fee?

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ สมมติเวลาแบรนด์มีโปรเจกต์ที่อยากจะทำสามารถเรียกเอเจนซีโฆษณาเข้ามานำเสนองานกี่เจ้าก็ได้ แต่สุดท้ายก็เลือกแค่เพียงเจ้าเดียว ทว่าขั้นตอนของการคิดงานเพื่อไปพิตชิ่งแต่ละครั้งล้วนแต่ต้องอาศัยต้นทุนมากมาย ทั้งเรื่องของคน ความคิด เวลา ค่ารีเสิร์ช ซึ่งการไปพิตช์แต่ละครั้งเฉลี่ยแล้วใช้เวลาเตรียมตัวนานร่วมเดือนเลยทีเดียว

ดังนั้นเพื่อความยุติธรรมกับคนทำงานและไม่ให้เป็นการบั่นทอนการทำงานของคนวงการโฆษณา สมาคมโฆษณาไทยจึงมีการกำหนดสิ่งที่เรียกว่า ‘pitch fee’ ขึ้นมาเพื่อป้องกันไม่ให้แบรนด์เรียกเอเจนซีเข้าไปนำเสนอมากจนเกินไปจนอาจกลายเป็นผลเสียต่อวงการโฆษณาในระยะยาวได้ โดย ‘pitch fee’ เป็นสิ่งที่เริ่มทำมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547

จนกระทั่งวันนี้ (29 กรกฎาคม 2565) สมาคมโฆษณาทั้ง 3 ของไทยคือ 1. สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย 2. สมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) 3. สมาคมมีเดียเอเยนซี่ และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย ได้มาจับมือกันประกาศปรับเกณฑ์ pitch fee ครั้งใหม่ ซึ่งต้องบอกว่าเรตราคาของค่าธรรมเนียมในปัจจุบันนั้นไม่แตกต่างจากเมื่อ 20 ปีก่อนหน้า คืออยู่ที่ราวๆ 50,000-100,000 บาท เหมือนเดิม

แต่ส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามาก็คือการปรับรายละเอียดและเงื่อนไขบางอย่างให้เข้ากับยุคสมัย เพราะเมื่อก่อนการทำโฆษณาหลักๆ แล้วก็มีเพียงแค่การรับบรีฟ ครีเอตแคมเปญ แล้ว execute ไอเดีย แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าโฆษณาดิจิทัล มีเรื่องดาต้า มีสื่อออนไลน์มากมาย ดังนั้นแล้วการปรับเกณฑ์ในครั้งนี้ก็เพื่อทำให้รายละเอียดต่างๆ เข้ากับสิ่งที่เปลี่ยนไปขึ้น

แล้วพิตช์แบบไหน ต้องจ่าย pitch fee เท่าไหร่ หากเป็นเรตของสมาคมโฆษณาประเทศไทย รายละเอียดคือ 
พิตช์ด้วยการเสนอประวัติและงานที่ผ่านมา : ไม่มีค่าธรรมเนียม
พิตช์กลยุทธ์ : มีค่าธรรมเนียม 50,000 บาท / 1 เอเจนซี
พิตช์แบบนำเสนอแคมเปญใหญ่และงานครีเอทีฟต่างๆ : มีค่าธรรมเนียม 100,000 บาท / 1 เอเจนซี

และหากเป็นเรต pitch fee ของสมาคมมีเดียเอเยนซี่ และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย
พิตช์งานแบบเต็มรูปแบบ (วางแผนไปถึง journey การซื้อของลูกค้า) ค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 100,000 บาท
พิตช์งานแบบไม่เต็มรูปแบบ ค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 50,000 บาท

แม้รายละเอียด pitch fee ของแต่ละสมาคมจะต่างกันออกไปตามรูปแบบโฆษณาที่ไม่เหมือนกัน แต่หลักการในการเรียกเก็บนั้นแทบไม่แตกต่างกันเท่าไหร่ คือเมื่อเอเจนซีได้รับการติดต่อจากแบรนด์ให้เข้าไปพิตช์งาน ตัวเอเจนซีจะต้องแจ้งให้สมาคมฯ รู้ว่าเดี๋ยวจะมีการพิตช์งานเกิดขึ้นนะ จากนั้นทางสมาคมจะไปเรียกเก็บค่า pitch fee จากทางแบรนด์ เมื่อเก็บเงินได้สมาคมก็จะบอกให้เอเจนซีดำเนินการพิตช์งานต่อไป

ถ้าหากเอเจนซีไหนที่พิตช์งานได้ สมาคมจะนำเงินค่า pitch fee ส่งคืนลูกค้าเพราะถือว่าเอเจนซีได้ประโยชน์จากการได้งานนั้นแล้ว ต้นทุนต่างๆ ที่ใช้ในการคิดงานมาก็ถือว่าคุ้มค่ากับการที่ได้โปรเจกต์จากแบรนด์นั้นกลับไป

ส่วนเอเจนซีไหนไม่ได้งาน สมาคมก็จะส่งค่า pitch fee ให้กับเอเจนซี แม้เงินจำนวน 50,000 หรือ 100,000 จะไม่ได้ครอบคลุมกับต้นทุนที่ทางเอเจนซีลงทุนเพื่อมาพิตช์งาน แต่ก็ถือเป็นการป้องกันไม่ให้แบรนด์เรียกเอเจนซีเข้ามาพิตช์งานแบบตามใจชอบจนเกินไป

โดยตั้งแต่มีการกำหนด pitch fee ขึ้นมาค่าเฉลี่ยในการที่แบรนด์เรียกเอเจนซีไปพิตช์แต่ละครั้งจะอยู่ที่ประมาณ 3-4 เจ้า ต่างจากตอนก่อนที่จะกำหนดเกณฑ์นี้ที่แต่ละครั้งแบรนด์เรียกเอเจนซีไปพิตช์งานราว 6-7 เจ้าต่อโปรเจกต์เลยทีเดียว

รติ พันธุ​ทวี นายกสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทยบอกว่าความตั้งใจหลักๆ ของการลุกขึ้นมาปรับหลักเกณฑ์ของ pitch fee ในครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องของกำไร เพราะอย่างไรแล้วเงิน 100,000 บาทก็ไม่ครอบคลุมกับต้นทุนของคน เวลา และความคิดที่ใช้ในการพิตชิ่งอยู่ดี แต่ที่ต้องทำเพราะลูกค้าหลายๆ แบรนด์ที่เป็นคนรุ่นใหม่ยังไม่รู้จักสิ่งที่เรียกว่า pitch fee จึงไม่ได้มีการแพลนงบรายปีเผื่อค่า pitch fee เอาไว้ และหัวใจหลักสำคัญก็เพื่อความเป็นธรรมและไม่เป็นการบั่นทอนการทำงานของคนในอุตสาหกรรมโฆษณาในระยะยาว

คุยกับ ‘โต-ตาล’ แห่งร้านเนื้อแท้ วิธีคิด ความฝัน และการทำตลาดออนไลน์จนเป็นไวรัล

เนื้อแท้

เนื้อแท้ Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว คือรายการธุรกิจอาหารโดย Capital และ Salmon Podcast ที่จะพาเข้าหลังร้านไปสำรวจแนวคิดทางการตลาดของจักรวาลธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร แฟรนไชส์ ขนม เครื่องดื่ม เครื่องปรุง ไล่ลามไปถึงเครื่องครัวและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอาหารทั้งสเกลเล็ก กลาง ใหญ่

รายการนี้ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่ มณีเนตร วรชนะนันท์ อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย และหญิงสาวผู้หลงรักอาหาร ที่จะทำให้ผู้ฟังอร่อยที่ฟังแล้วท้องหิวแต่อิ่มไปกับเคล็ดและเคสการตลาด

Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว คือรายการธุรกิจอาหารโดย Capital และ Salmon Podcast ที่จะพาเข้าหลังร้านไปสำรวจแนวคิดทางการตลาดของจักรวาลธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร แฟรนไชส์ ขนม เครื่องดื่ม เครื่องปรุง ไล่ลามไปถึงเครื่องครัวและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอาหารทั้งสเกลเล็ก กลาง ใหญ่

รายการนี้ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่ มณีเนตร วรชนะนันท์ อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย และหญิงสาวผู้หลงรักอาหาร ที่จะทำให้ผู้ฟังอร่อยที่ฟังแล้วท้องหิวแต่อิ่มไปกับเคล็ดและเคสการตลาด

Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว คือรายการธุรกิจอาหารโดย Capital และ Salmon Podcast ที่จะพาเข้าหลังร้านไปสำรวจแนวคิดทางการตลาดของจักรวาลธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร แฟรนไชส์ ขนม เครื่องดื่ม เครื่องปรุง ไล่ลามไปถึงเครื่องครัวและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอาหารทั้งสเกลเล็ก กลาง ใหญ่

รายการนี้ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่ มณีเนตร วรชนะนันท์ อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย และหญิงสาวผู้หลงรักอาหาร ที่จะทำให้ผู้ฟังอร่อยที่ฟังแล้วท้องหิวแต่อิ่มไปกับเคล็ดและเคสการตลาด

Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว คือรายการธุรกิจอาหารโดย Capital และ Salmon Podcast ที่จะพาเข้าหลังร้านไปสำรวจแนวคิดทางการตลาดของจักรวาลธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร แฟรนไชส์ ขนม เครื่องดื่ม เครื่องปรุง ไล่ลามไปถึงเครื่องครัวและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอาหารทั้งสเกลเล็ก กลาง ใหญ่

รายการนี้ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่ มณีเนตร วรชนะนันท์ อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย และหญิงสาวผู้หลงรักอาหาร ที่จะทำให้ผู้ฟังอร่อยที่ฟังแล้วท้องหิวแต่อิ่มไปกับเคล็ดและเคสการตลาด

Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว คือรายการธุรกิจอาหารโดย Capital และ Salmon Podcast ที่จะพาเข้าหลังร้านไปสำรวจแนวคิดทางการตลาดของจักรวาลธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร แฟรนไชส์ ขนม เครื่องดื่ม เครื่องปรุง ไล่ลามไปถึงเครื่องครัวและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอาหารทั้งสเกลเล็ก กลาง ใหญ่

รายการนี้ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่ มณีเนตร วรชนะนันท์ อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย และหญิงสาวผู้หลงรักอาหาร ที่จะทำให้ผู้ฟังอร่อยที่ฟังแล้วท้องหิวแต่อิ่มไปกับเคล็ดและเคสการตลาด

Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว คือรายการธุรกิจอาหารโดย Capital และ Salmon Podcast ที่จะพาเข้าหลังร้านไปสำรวจแนวคิดทางการตลาดของจักรวาลธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร แฟรนไชส์ ขนม เครื่องดื่ม เครื่องปรุง ไล่ลามไปถึงเครื่องครัวและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอาหารทั้งสเกลเล็ก กลาง ใหญ่

รายการนี้ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่ มณีเนตร วรชนะนันท์ อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย และหญิงสาวผู้หลงรักอาหาร ที่จะทำให้ผู้ฟังอร่อยที่ฟังแล้วท้องหิวแต่อิ่มไปกับเคล็ดและเคสการตลาด

Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว คือรายการธุรกิจอาหารโดย Capital และ Salmon Podcast ที่จะพาเข้าหลังร้านไปสำรวจแนวคิดทางการตลาดของจักรวาลธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร แฟรนไชส์ ขนม เครื่องดื่ม เครื่องปรุง ไล่ลามไปถึงเครื่องครัวและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอาหารทั้งสเกลเล็ก กลาง ใหญ่

รายการนี้ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่ มณีเนตร วรชนะนันท์ อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย และหญิงสาวผู้หลงรักอาหาร ที่จะทำให้ผู้ฟังอร่อยที่ฟังแล้วท้องหิวแต่อิ่มไปกับเคล็ดและเคสการตลาด

Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว คือรายการธุรกิจอาหารโดย Capital และ Salmon Podcast ที่จะพาเข้าหลังร้านไปสำรวจแนวคิดทางการตลาดของจักรวาลธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร แฟรนไชส์ ขนม เครื่องดื่ม เครื่องปรุง ไล่ลามไปถึงเครื่องครัวและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอาหารทั้งสเกลเล็ก กลาง ใหญ่

รายการนี้ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่ มณีเนตร วรชนะนันท์ อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย และหญิงสาวผู้หลงรักอาหาร ที่จะทำให้ผู้ฟังอร่อยที่ฟังแล้วท้องหิวแต่อิ่มไปกับเคล็ดและเคสการตลาด

Day 1 ของ Côte d’Soleil แบรนด์ชุดว่ายน้ำดีไซน์ minimal และ timeless

Côte d’Soleil

Côte d’Soleil Day 1 คือรายการพ็อดแคสต์เล่าเรื่องธุรกิจจาก Salmon Podcast และ Capital ที่พาไปพบกับวันแรกของการลุกมาทำบางสิ่งบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือการปรับธุรกิจเพราะอยากทำธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น ขายดีขึ้น เป้าหมายที่เคยมีใหญ่ขึ้น หรืออยากให้คนทำงานมีความสุขมากขึ้น

ก่อนหน้านี้ รายการ Day 1 เคยจัดอยู่ที่ Salmon Podcast แต่กลับมารอบนี้ Day 1 ย้ายมาอยู่ภายใต้บ้านใหม่ ในสถานีพ็อดแคสต์ ‘Capital Listen’ ซึ่งจะเผยแพร่ผ่าน Capital อย่างที่ทุกคนเห็นอยู่นี้

เราเชื่อว่า business ไม่ได้สร้างเสร็จภายใน one day การย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นและดูเส้นทางการเติบโตจนสำเร็จของธุรกิจต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่คนทำธุรกิจคนอื่นน่าเรียนรู้ และเอาไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Day 1 หรือวันไหนๆ ของธุรกิจก็ตาม

Day 1 คือรายการพ็อดแคสต์เล่าเรื่องธุรกิจจาก Salmon Podcast และ Capital ที่พาไปพบกับวันแรกของการลุกมาทำบางสิ่งบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือการปรับธุรกิจเพราะอยากทำธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น ขายดีขึ้น เป้าหมายที่เคยมีใหญ่ขึ้น หรืออยากให้คนทำงานมีความสุขมากขึ้น

ก่อนหน้านี้ รายการ Day 1 เคยจัดอยู่ที่ Salmon Podcast แต่กลับมารอบนี้ Day 1 ย้ายมาอยู่ภายใต้บ้านใหม่ ในสถานีพ็อดแคสต์ ‘Capital Listen’ ซึ่งจะเผยแพร่ผ่าน Capital อย่างที่ทุกคนเห็นอยู่นี้

เราเชื่อว่า business ไม่ได้สร้างเสร็จภายใน one day การย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นและดูเส้นทางการเติบโตจนสำเร็จของธุรกิจต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่คนทำธุรกิจคนอื่นน่าเรียนรู้ และเอาไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Day 1 หรือวันไหนๆ ของธุรกิจก็ตาม

Côte d’Soleil

Day 1 คือรายการพ็อดแคสต์เล่าเรื่องธุรกิจจาก Salmon Podcast และ Capital ที่พาไปพบกับวันแรกของการลุกมาทำบางสิ่งบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือการปรับธุรกิจเพราะอยากทำธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น ขายดีขึ้น เป้าหมายที่เคยมีใหญ่ขึ้น หรืออยากให้คนทำงานมีความสุขมากขึ้น

ก่อนหน้านี้ รายการ Day 1 เคยจัดอยู่ที่ Salmon Podcast แต่กลับมารอบนี้ Day 1 ย้ายมาอยู่ภายใต้บ้านใหม่ ในสถานีพ็อดแคสต์ ‘Capital Listen’ ซึ่งจะเผยแพร่ผ่าน Capital อย่างที่ทุกคนเห็นอยู่นี้

เราเชื่อว่า business ไม่ได้สร้างเสร็จภายใน one day การย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นและดูเส้นทางการเติบโตจนสำเร็จของธุรกิจต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่คนทำธุรกิจคนอื่นน่าเรียนรู้ และเอาไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Day 1 หรือวันไหนๆ ของธุรกิจก็ตาม

Day 1 คือรายการพ็อดแคสต์เล่าเรื่องธุรกิจจาก Salmon Podcast และ Capital ที่พาไปพบกับวันแรกของการลุกมาทำบางสิ่งบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือการปรับธุรกิจเพราะอยากทำธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น ขายดีขึ้น เป้าหมายที่เคยมีใหญ่ขึ้น หรืออยากให้คนทำงานมีความสุขมากขึ้น

ก่อนหน้านี้ รายการ Day 1 เคยจัดอยู่ที่ Salmon Podcast แต่กลับมารอบนี้ Day 1 ย้ายมาอยู่ภายใต้บ้านใหม่ ในสถานีพ็อดแคสต์ ‘Capital Listen’ ซึ่งจะเผยแพร่ผ่าน Capital อย่างที่ทุกคนเห็นอยู่นี้

เราเชื่อว่า business ไม่ได้สร้างเสร็จภายใน one day การย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นและดูเส้นทางการเติบโตจนสำเร็จของธุรกิจต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่คนทำธุรกิจคนอื่นน่าเรียนรู้ และเอาไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Day 1 หรือวันไหนๆ ของธุรกิจก็ตาม

Day 1 คือรายการพ็อดแคสต์เล่าเรื่องธุรกิจจาก Salmon Podcast และ Capital ที่พาไปพบกับวันแรกของการลุกมาทำบางสิ่งบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือการปรับธุรกิจเพราะอยากทำธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น ขายดีขึ้น เป้าหมายที่เคยมีใหญ่ขึ้น หรืออยากให้คนทำงานมีความสุขมากขึ้น

ก่อนหน้านี้ รายการ Day 1 เคยจัดอยู่ที่ Salmon Podcast แต่กลับมารอบนี้ Day 1 ย้ายมาอยู่ภายใต้บ้านใหม่ ในสถานีพ็อดแคสต์ ‘Capital Listen’ ซึ่งจะเผยแพร่ผ่าน Capital อย่างที่ทุกคนเห็นอยู่นี้

เราเชื่อว่า business ไม่ได้สร้างเสร็จภายใน one day การย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นและดูเส้นทางการเติบโตจนสำเร็จของธุรกิจต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่คนทำธุรกิจคนอื่นน่าเรียนรู้ และเอาไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Day 1 หรือวันไหนๆ ของธุรกิจก็ตาม

Day 1 คือรายการพ็อดแคสต์เล่าเรื่องธุรกิจจาก Salmon Podcast และ Capital ที่พาไปพบกับวันแรกของการลุกมาทำบางสิ่งบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือการปรับธุรกิจเพราะอยากทำธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น ขายดีขึ้น เป้าหมายที่เคยมีใหญ่ขึ้น หรืออยากให้คนทำงานมีความสุขมากขึ้น

ก่อนหน้านี้ รายการ Day 1 เคยจัดอยู่ที่ Salmon Podcast แต่กลับมารอบนี้ Day 1 ย้ายมาอยู่ภายใต้บ้านใหม่ ในสถานีพ็อดแคสต์ ‘Capital Listen’ ซึ่งจะเผยแพร่ผ่าน Capital อย่างที่ทุกคนเห็นอยู่นี้

เราเชื่อว่า business ไม่ได้สร้างเสร็จภายใน one day การย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นและดูเส้นทางการเติบโตจนสำเร็จของธุรกิจต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่คนทำธุรกิจคนอื่นน่าเรียนรู้ และเอาไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Day 1 หรือวันไหนๆ ของธุรกิจก็ตาม

Day 1 คือรายการพ็อดแคสต์เล่าเรื่องธุรกิจจาก Salmon Podcast และ Capital ที่พาไปพบกับวันแรกของการลุกมาทำบางสิ่งบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือการปรับธุรกิจเพราะอยากทำธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น ขายดีขึ้น เป้าหมายที่เคยมีใหญ่ขึ้น หรืออยากให้คนทำงานมีความสุขมากขึ้น

ก่อนหน้านี้ รายการ Day 1 เคยจัดอยู่ที่ Salmon Podcast แต่กลับมารอบนี้ Day 1 ย้ายมาอยู่ภายใต้บ้านใหม่ ในสถานีพ็อดแคสต์ ‘Capital Listen’ ซึ่งจะเผยแพร่ผ่าน Capital อย่างที่ทุกคนเห็นอยู่นี้

เราเชื่อว่า business ไม่ได้สร้างเสร็จภายใน one day การย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นและดูเส้นทางการเติบโตจนสำเร็จของธุรกิจต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่คนทำธุรกิจคนอื่นน่าเรียนรู้ และเอาไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Day 1 หรือวันไหนๆ ของธุรกิจก็ตาม

รู้จัก Hatari แบรนด์พัดลมสัญชาติไทยที่มีจุดเริ่มต้นมาจากร้านซ่อมพัดลม

หากจะบอกว่า Hatari คือ ‘เจ้าแห่งสาย(พัด)ลม’ ในบ้านเรา ก็คงไม่ใช่คำกล่าวที่ผิดแต่อย่างใด เพราะเชื่อว่ารอบตัวของผู้อ่านหลายคนตอนนี้คงมี Hatari เปิดคลายร้อนอยู่ เช่นเดียวกันกับรอบตัวของผู้เขียนในตอนนี้

ความเป็นเจ้าแห่งสายลมของ Hatari ยังสะท้อนได้จากผลประกอบการของบริษัทในเครือ

เริ่มที่บริษัท บริษัท ฮาตาริ อิเลคทริค จำกัด
ปี 2564 มีรายได้รวมอยู่ที่ 6,300 ล้านบาท กำไร 65 ล้านบาท

บริษัท วนวิทย์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
ปี 2564 มีรายได้รวมอยู่ที่ 5,700 ล้านบาท กำไร 645 ล้านบาท

บริษัท วนวิทย์ เมทัล เวิร์ค จำกัด
ปี 2564 มีรายได้รวมอยู่ที่ 478 ล้านบาท กำไร 45 ล้านบาท

ทว่าก่อนจะกลายมาเป็นเจ้าแห่งสายลมอย่างทุกวันนี้ คุณจุน วนวิทย์ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ไม่ได้มีต้นทุนอะไรมากไปกว่าความพยายามและไม่ย่อท้อต่อโชคชะตา แม้จะเรียนจบเพียงแค่ ป.2 และพออายุได้เพียงแค่ 12 ปีก็ต้องไปเป็นลูกจ้างกวาดพื้น เปลี่ยนไปเป็นคนขับรถรับจ้าง เป็นลูกจ้างร้านทำป้ายพลาสติก ช่างทำแม่พิมพ์ฉีดชิ้นงานพลาสติก ทำอะไหล่พัดลม ทำร้านซ่อมพัดลม และหลายๆ อาชีพมากมาย แต่ด้วยความเป็นคนขยันขันแข็งทำให้คุณจุนมองหาลู่ทางในการสร้างรายได้อยู่เสมอ และหนึ่งในนั้นก็คือการทำโครงพัดลมจากพลาสติก

เล่าให้ฟังก่อนว่าโครงพัดลมในสมัยก่อนมักจะทำมาจากวัสดุอลูมิเนียมเป็นส่วนใหญ่ แต่ด้วยความที่คลุกคลีอยู่กับพลาสติกมา คุณจุนจึงเกิดความคิดในการทำโครงพัดลมจากพลาสติก จากนั้นก็ได้นำไปเสนอขายให้กับโรงงานผลิตพัดลมมากมาย ด้วยความแข็งแรงทนทาน โครงพัดลมพลาสติกที่เกิดจากความคิดของคุณจุนก็ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย และกลายเป็นต้นแบบสำคัญของพัดลมที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้

จากนั้นคุณจุนก็ได้บินไปไต้หวันเพื่อศึกษาวิธีการทำมอเตอร์ในพัดลมแล้วกลับมาสร้างแบรนด์เป็นของตัวเอง โดยก่อนจะมาเป็น Hatari คุณจุนเคยทำแบรนด์พัดลมที่ใช้ชื่อว่า ‘K’ และ ‘Tory’ มาก่อน ส่วนแบรนด์ Hatari คือแบรนด์ที่คุณจุนได้มาเริ่มทำตอนที่มีอายุ 52 แล้ว

สิ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กับเรื่องราวของคุณจุนก็คือวิธีทำธุรกิจของ Hatari แม้พัดลมจะดูเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่แสนธรรมดา ทว่าการทำให้ความธรรมดานั้นเข้าไปอยู่ในแทบจะทุกบ้านได้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ซึ่งหากจะให้ถอดรหัสความสำเร็จของ Hatari จะพบว่ามีอยู่ 4 ข้อหลักๆ ด้วยกัน

ข้อแรกหนีไม่พ้นอากาศของเมืองไทยที่ร้อนแทบทั้งปี พัดลมจึงกลายเป็นของที่หลายบ้านใช้กันอยู่ทุกวัน และ Hatari ขึ้นชื่อในเรื่องของความแข็งแรงทนทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความทนต่อแรงนิ้วเท้าของหลายๆ คนในบ้าน (ใครเป็นบ้างตอนร้อนๆ แล้วจะออกแรงที่นิ้วเท้ามากเป็นพิเศษ) เมื่อของเก่าพัง หลายคนก็ยังเลือกที่จะกลับมาซื้อ Hatari อยู่

ข้อที่สองคือเรื่องของราคา เมื่อพัดลมเป็นสินค้าที่ไม่ได้มีราคาแพงมาก หลายคนจึงเลือกที่จะซื้อใหม่มากกว่าเอาไปซ่อม

ข้อที่สามคือเรื่องของช่องทางการขาย หากเทียบกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นทีวี เครื่องเสียง หรือตู้เย็นก็ตาม พัดลมเป็นสิ่งที่ใช้การตัดสินใจซื้อที่ง่ายกว่า และสำหรับสินค้าที่มีการตัดสินใจซื้อที่ง่าย เรื่องของช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลายเพื่อให้ผู้คนเห็นสินค้าได้มากที่สุดจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง

ข้อที่สี่คือการปรับตัวของแบรนด์ ทั้งดีไซน์ของสินค้าที่ปรับหน้าตาพัดลมให้มีความมินิมอล ดูทันสมัย และกลมกลืนไปกับการตกแต่งบ้านมากขึ้น และไม่ใช่แค่ดีไซน์ของสินค้าเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงแนวทางการสื่อสารแบรนด์ที่ทำโฆษณามาได้ถูกใจคนรุ่นใหม่ ซึ่งหากใครได้ดูโฆษณาของ Hatari หลายๆ ชิ้น จะพบกับเสียงของผู้ชายคนหนึ่งที่มีเอกลักษณ์ เป็นเสียงกวนๆ ที่เพิ่มความสนุกให้กับโฆษณาไม่น้อย และนั่นไม่ใช่เสียงใครที่ไหน แต่เป็นหนึ่งในทายาทของ Hatari เอง

ตลอดระยะเวลาในการทำธุรกิจ Hatari ให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์มากกว่าจะออกมาโฆษณาป่าวประกาศ โดยจะเห็นได้ว่าคุณจุนไม่ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมากเท่าไหร่นัก จะมีช่วงนี้ที่เขากลับมาได้รับความสนใจจากสื่อและผู้คนอีกครั้ง จากการที่บริจาคเงินให้กับมูลนิธิรามาธิบดีจำนวน 900 ล้านบาท

แม้วันนี้เขาจะส่งไม้ต่อให้กับทายาทรุ่นถัดไปขึ้นมาบริหารแทนแล้ว ทว่าวิสัยทัศน์ของ Hatari ที่เขาได้วางเอาไว้ว่า ‘ฮาตาริ คือผู้เชี่ยวชาญทางด้านสายลม’ รวมถึง motto ของแบรนด์ที่ว่า Wind of Happiness ยังคงไม่เปลี่ยนไป ซึ่งความ Happiness ที่ว่านี้ก็ยังถูกส่งต่อ และ Hatari ก็ยังคงเป็นแบรนด์อันดับต้นๆ ที่หลายบ้านเลือกไว้ใช้คลายร้อนอยู่

เคท กันธิชา จากเด็กสถาปัตย์สู่การทำ Surgery Review เอเจนซีศัลยกรรมเกาหลีที่อยู่เคียงข้างลูกค้าตลอดเส้นทางความงาม

นอกจากการไปตามรอยซีรีส์ ดูคอนเสิร์ต ตระเวนชิมอาหาร ถ่ายรูปคาเฟ่ และช้อปปิ้งจนล้มละลาย อีกหนึ่งสิ่งที่หลายคนตั้งจิตอย่างแน่วแน่เมื่อไปเยือนประเทศเกาหลีใต้คือ การไปทำหน้า

สองข้างทางของย่านกังนัม ชินซา และอับกูจองรายเรียงไปด้วยตึกของโรงพยาบาลและคลินิกที่พร้อมให้บริการด้านความงามแบบเต็มรูปแบบ หลายๆ ที่ถึงขนาดมีบริการล่ามหลากหลายภาษาไว้รองรับ จนทำให้การเข้าถึงความสวยของเหล่านักเดินทางเป็นเรื่องง่ายดาย

แต่ถึงอย่างนั้นด้วยความที่มีเยอะมหาศาลชนิดที่คนเกาหลียังงง ธุรกิจ ‘เอเจนซีศัลยกรรม’ จึงมองเห็นโอกาสในตลาดและกระโดดเข้ามาอาสาเป็นผู้แบกรับความปวดหัว กลั่นกรองสารพัดข้อมูล ออกมาเป็นแพ็กเกจที่มาแต่ตัวก็พร้อมบินไปทำสวยในทันที ในโอกาสอันดีที่เกาหลีใต้เปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวแล้ว  เราจึงชวน เคท–กันธิชา ชีพสมุทร ผู้ก่อต้ัง Surgery Review เอเจนซีศัลยกรรมเกาหลีมาเล่าถึงเส้นทางการเดินทาง ตั้งแต่วันแรกที่เธอได้ยินชื่อธุรกิจนี้จากการไปฝึกงานภูมิสถาปนิกที่สิงคโปร์ จนถึงวันนี้ที่เธอสร้างและบริหาร Surgery Review มา 7 ปีแล้ว

Departure
จันทบุรี – กรุงเทพฯ – สิงคโปร์

เคทเป็นคนจันทบุรี เติบโตมาในครอบครัวค้าขายที่มีบรรดาพี่ๆ เรียนบริหารและวิศวกรรม ด้วยความกดดันภายในจิตใจว่าต้องเรียนอะไรเท่ๆ แบบพี่ทั้งสาม เคทจึงรวบรวมความชอบได้แก่ ต้นไม้และการวาดรูป มุ่งสอบเข้าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้สำเร็จ

ทว่าเมื่อเรียนไปสองปี เคทค้นพบว่านี่อาจไม่ใช่เส้นทางที่เธอต้องการ เธออดทนจนกระทั่งขึ้นปี 3 และหาโอกาสไปฝึกงานที่สิงคโปร์ที่ขึ้นชื่อเรื่องงานสถาปัตยกรรมภูมิทัศน์ เพื่อหาคำตอบว่าเธอควรไปต่อหรือพอแค่นี้

“ตอนนั้นเราบังเอิญเจอคนสิงคโปร์ที่อยู่ในหอพักเดียวกัน เขาไปทำศัลยกรรมที่เกาหลีมา เราก็ถามว่าเขาไปทำได้ยังไง นั่นเป็นครั้งแรกที่เราได้ยินคำว่าเอเจนซีศัลยกรรม”

เคททดความสงสัยไว้ในใจจนกลับมาไทย ประจวบเหมาะกับมีเพื่อนเปิดคลินิกเสริมความงามมาเล่าให้ฟังว่ามีลูกค้าหลายคนอยากไปทำศัลยกรรมที่เกาหลี เคทจึงเริ่มต้นหาข้อมูลเรื่องเอเจนซีอย่างจริงจัง

“ตอนนั้นข้อมูลต่างๆ มีน้อยมาก เอเจนซีส่วนใหญ่จะทำเป็นเว็บไซต์ หรือเพจที่ใส่รูปรีวิวเป็นรูปคนจีนบ้าง เป็นรูปคนเกาหลีบ้าง แต่ยังไม่มีข้อมูลว่าโรงพยาบาลไหนดี หรือหมอคนไหนเก่ง เราเลยคิดว่ามันน่าจะเป็นโอกาส”

เคทซึ่งในขณะนั้นเรียนอยู่ปี 4 และกำลังเผชิญมรสุมทีสิส เธอตัดสินใจเริ่มต้นทำธรุกิจที่เธอไม่เคยมีประสบการณ์ใดๆ มาก่อนพร้อมๆ กับการเรียนปีสุดท้าย

“จริงๆ ที่บ้านก็อยากให้เรียนให้จบก่อน แต่เหตุผลที่เราตัดสินใจเด็ดขาดเลยว่าฉันมาเริ่มทำเอเจนซีดีกว่า เพราะตอนเรียนก็เริ่มรู้แล้วว่าถ้าอยากเจริญรุ่งเรืองในสายอาชีพสถาปัตย์คือต้องเป็นคนเก่งและโดดเด่น แต่เรารู้ว่าเราไม่สามารถเอาดีในด้านนี้ได้แน่ๆ ซึ่งถ้าเด่นไม่ได้ก็ต้องทำอย่างอื่น ตอนที่เรียนในคณะเราค้นพบว่าตัวเองเป็นคนชอบจัดแจงกับนำเสนอ เวลาทำงานกลุ่มก็จะแบ่งว่าใครทำอะไรก่อน-หลัง เลยคิดว่าเราน่าจะเหมาะกับงานแบบนี้มากกว่า”

แต่การเริ่มต้นก็ไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะโรงพยาบาลที่เกาหลีมีเยอะมาก เคทจึงตั้งหลักด้วยการเสิร์ชจากเว็บไซต์ของเอเจนซีสิงคโปร์ และเว็บไซต์ของจีน เพราะเธอเห็นว่าทุกโรงพยาบาลมีล่ามจีนหมด เคทไปตามโรงพยาบาลต่างๆ ที่เว็บไซต์มีดีลและรีวิว ก่อนจะนำมาแยกตามหมวดหมู่ เช่น ขากรรไกร จมูก ตา ฯลฯ

เคทเลือกทำเว็บไซต์ที่บอกข้อมูลที่เธอได้มาอย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล บริการของแต่ละที่ ที่ตั้ง หรือราคา

“เอาจริงๆ คือคนรอบตัวเราไม่ใช่กลุ่มลูกค้าแน่นอน เด็กสถาปัตย์ฯ ที่ไหนจะเอาเงินมาทำหน้า (หัวเราะ) เราเลยต้องหาลูกค้าจากการทำการตลาดออนไลน์อื่นๆ ที่สำคัญคือเรามองว่าคนที่จะมาทำศัลยกรรม ยอมจ่ายราคาครึ่งล้าน หรือล้านกว่าบาท เขาต้องค้นหาหาข้อมูลเยอะมาก เราเลยคิดว่าต้องมีเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลทุกอย่างที่ในท้องตลาดตอนนั้นไม่มี ไม่ขายฝัน โดยข้อมูลในเว็บไซต์จะเป็นบทความให้ความรู้ และความเห็นของเราเอง รวมถึงรายละเอียดการไปทำศัลยกรรมเกาหลี ว่าต้องเตรียมตัวยังไง กินนอนที่ไหน อยู่ยังไง เพื่อให้ลูกค้าได้ข้อมูลอย่างเต็มที่และครบถ้วนที่สุด”

On Board
Full Service

กายพร้อม ใจพร้อม ข้อมูลพร้อม ลูกค้าคนแรกก็พร้อม!

“ลูกค้าคนแรกไปทำ lifting ที่โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งซึ่งมีล่ามไทย เราก็วางใจระดับหนึ่ง เราบอกเขาว่าจะไปเยี่ยมตอนพักฟื้น แต่พอไปถึงเกาหลีแล้วดันขี้เกียจ ด้วยความที่เอาง่ายๆ เลยขอให้ล่ามไปแทน สรุปโดนด่ายับ เราก็คิดว่า เออ มันไม่ถูกต้องนะ ถ้าเราจะทำงานนี้เราต้องปรับตัว จากนั้นเราก็พยายามจัดแจงให้ลูกค้าทุกคนพอใจ

“ช่วงแรกๆ ที่ไปทำเราบินประกบลูกค้าแบบ 1:1 เลย หนึ่งคือไปเป็นล่ามแปลอังกฤษให้ กับสองคือไปดูวิธีการทำงานของแต่ละโรงพยาบาล ดูขั้นตอน วิธีการจัดการ อุปสรรคต่างๆ การดูแลก่อนและหลังผ่าตัด ก็เก็บข้อมูลมาเรื่อยๆ ว่าที่ไหนทำดี ลูกค้าพอใจ แก้ปัญหาได้

“ส่วนใหญ่โรงพยาบาลดังๆ จะเป็นเหมือนโรงเรียนผลิตหมอ พอคนไหนเก่งก็ออกไปเปิดคลินิกเอง เราเลยไม่รู้ว่าหมอคนไหนจะมาผ่าคนไข้ให้เรา ปัจจุบันเราจึงมีลิสต์โรงพยาบาลเฉพาะด้านซึ่งบางที่คนไทยอาจไม่ค่อยคุ้นหู แต่โด่งดังในหมู่คนเกาหลี บริการดี และหมอมีฝีมือจริงๆ”

นอกจากการสรรหาหมอ เมื่อธุรกิจเริ่มเติบโต จำนวนลูกค้ามากขึ้น แต่เคทไม่สามารถแยกร่างไปประกบกับทุกคนได้ เธอจึงคิดหาคนที่คอยดูแลแทนเมื่ออยู่เกาหลี 

“เราตัดสินใจจ้างล่ามที่สอบผ่านระดับภาษาของคนเกาหลี ซึ่งราคาจะค่อนข้างสูง แต่พวกเขามีความเชี่ยวชาญ แล้วก็เนื้องานจริงๆ มันไม่ใช่แค่การแปลภาษา แต่มันคือการให้คำปรึกษาและดูแล เราก็ต้องเทรนให้ล่ามอยู่ในมาตรฐานเหมือนเราไปเอง”

แม้ปัจจุบันหลายๆ โรงพยาบาลจะมีล่ามภาษาไทยคอยให้บริการแล้ว แต่เคทก็ยังคงส่งล่ามไปดูแลลูกค้าแบบส่วนตัว 

“ล่ามในโรงพยาบาลจะดูแลในส่วนของการผ่าตัดอยู่ในโรงพยาบาล ไม่ได้ดูแลเรื่องอื่น เช่น หยูกยา ข้าวปลาอาหาร พักโรงแรมไหน ไปยังไง แต่ล่ามที่เราส่งไปดูแลลูกค้าคือทีมของเราเอง เวลาเกิดอะไรขึ้นมา หรือลูกค้าต้องการสิ่งนี้ เขาสามารถพูดแทนลูกค้าได้ เพราะฉะนั้นการตอบสนองต่อคนไข้เลยต่างกัน”

เมื่อถามถึงกลุ่มลูกค้าของ Surgery Review เคทเล่าว่าถ้าเป็นเมื่อก่อนส่วนใหญ่จะเป็นคนกลุ่มวัย 40 ขึ้นไป แต่เมื่อทำไปหลายปีเข้า กลายเป็นว่าอายุค่อยๆ น้อยลง จนตอนนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 20-30 ปี 

สำหรับการติดต่อเข้าใช้บริการเอเจนซีจะเป็นระบบออนไลน์หมดเลย โดยเคทมองว่าการที่ลูกค้าเชื่อใจเธอขนาดที่ยอมจ่ายเงินหลักแสนหลักล้านเป็นเพราะเว็บไซต์ที่บอกข้อมูลหมดทุกอย่าง และการตอบคำถามอย่างตรงไปตรงมา

“เราเคยถามลูกค้าว่าทำไมถึงเลือกทำกับเรา เขาก็บอกว่าพอเข้าไปในเว็บไซต์แล้วมีข้อมูลที่ตอบข้อสงสัยได้หมดทุกอย่าง อีกอย่างคือเคทเป็นคนตอบไลน์ลูกค้าทั้งหมด เราเลยรู้ว่าลูกค้ากังวลอะไร ซึ่งมันเป็นพื้นฐานสถาปัตย์ฯ เหมือนกันนะ เพราะเวลาออกแบบ เราต้องวิเคราะห์ผู้ใช้เพื่อตอบสนองการใช้งาน พอมาทำธุรกิจ คุยกับลูกค้าก็ต้องรู้ว่าปัญหาของเขาคืออะไร หาวิธีแก้ไข ตอนเราเรียนเราคิดว่าเราไม่เก่งอะไรเลย เด่นไม่ได้ แต่กลายเป็นว่าเราได้วิธีคิดและกระบวนการจัดการมาใช้ได้แบบจับวางเลย เลยคิดว่าการทำเว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลทุกอย่างเป็นจุดเด่นที่ทำให้ลูกค้าเลือกเรา”

ในส่วนของขั้นตอนการทำงาน ส่วนใหญ่ลูกค้าที่ติดต่อมาจะมีแบบในใจอยู่แล้ว สิ่งที่เคทต้องทำคือการประสานงานปรึกษากับหมอทางเกาหลี หากลูกค้าต้องการทำหลายอย่างก็จะมีการประเมินว่าต้องทำส่วนไหนก่อน-หลัง เพราะโรงพยาบาลแต่ละแห่งอยู่คนละที่ และร่างกายต้องใช้เวลาในการพักฟื้น 

“ถ้าจะทำตา โครงหน้า และจมูก แผนคือเริ่มทำตาก่อน อีกวันหนึ่งทำโครงหน้า เว้น 7 วันมาทำจมูก แล้วรออีก 7 วันไปตัดไหม เพราะฉะนั้นต้องอยู่เกาหลีประมาณ 16 วัน ถ้าลูกค้าไม่มีเวลา งั้นต้องตัดจมูกออกไปก่อน แล้วค่อยไปทำรอบหน้า แต่ส่วนมากลูกค้าก็มีเวลาหมด ลูกค้าศัลยกรรมคือสู้ (หัวเราะ) 

“พอได้จำนวนวันเราก็ทำโปรแกรมให้ว่าแต่ละวันทำอะไรบ้าง พักที่ไหน ไปยังไง มีลิสต์ร้านอร่อย ชอบหมูย่างไปร้านนี้ ชอบปูดองไปร้านนั้น รวมถึงเรื่องเอกสารทั้งของคนไข้และญาติ เราดูแลให้หมด

“แต่ถ้าไม่มีเวลาจริงๆ เราจะขออย่างน้อย 5 วัน เพราะหลังผ่าตัดเลือดยังออกได้ มีโอกาสที่แผลจะติดเชื้อ ถ้าพ้น 3 วันมาได้ก็จะเลยขีดอันตรายมานิดหนึ่ง แต่ถ้าอยู่ถึงตัดไหมเลยก็แปลว่าแผลมันปิดสนิทแล้ว มันก็จะมีความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งถ้าอยู่ไม่ถึง เราก็จะดีลโรงพยาบาลตัดไหมในไทยให้ เป็นหมอที่มีคอนเนกชั่นกับทางเกาหลีและรู้มือกัน”

Turbulance
ปัญหาระหว่างเดินทาง

ถ้าทำธุรกิจแล้วไม่มีปัญหา คงเป็นเรื่องโกหก

ระหว่างการทำเอเจนซีเคทเล่าว่าเจอปัญหามาหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นไปทำมาแล้วไม่ชอบ โดนที่บ้านทักว่าไม่สวย หรือกระทั่งมีคนยอมทิ้งเงินมัดจำเพื่อหลบหนีไปทำงาน

“อันดับแรกคือเราต้องให้ข้อมูลกับลูกค้าว่าหลังทำเสร็จมันจะบวมนะ และมันจะบวมได้เป็นเดือนเลย อย่าเพิ่งตกใจที่ทำแล้วยังไม่สวยในทันที

“หรืออย่างมีเคสทำจมูกโดยใช้กระดูกซี่โครง ปีแรกแฮปปี้มาก แต่พอเข้าปีที่สองส่วนที่ทำมันเรียวลง ตอนแรกทำมาพอดีกับหน้า กลายเป็นว่าเล็กเกินไป อันนี้ก็ต้องมาแก้ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมคือค่ายาสลบ แต่แก้ไขฟรี การผ่าตัดมันเหมือนการเก็บข้อมูลระยะยาว เมื่อระยะเวลาผ่านไป อันไหนได้ผล อันไหนมันไม่ได้ผล หมอศัลยกรรมกับเราก็ศึกษากับคนไข้ไปเรื่อยๆ

“ส่วนเรื่องติด ตม. คนที่ทำกับเราจะมีใบเชิญจากโรงพยาบาล ต่อให้เรียกเข้าไปในห้องเย็น ก็สามารถติดต่อถามโรงพยาบาลได้เลย แต่ก็มีเคสที่คนยอมทิ้งเงินมัดจำเหมือนกัน คือเราจะมีบริการรถรับ-ส่งสนามบิน แล้ววันนั้นคนขับโทรมาบอกว่าติดต่อลูกค้าไม่ได้ เราก็ลองบ้าง โทรไม่รับ ไลน์ไม่อ่าน หายวับไปเลย ก็คิดว่าเขาน่าจะตั้งใจหนี แต่ทำมาเจ็ดปีก็มีเคสเดียวนะ”

และแน่นอนว่าเมื่อเปิดมาเจ็ดปี แปลว่าสองสามปีที่ผ่านมา ธุรกิจของเคทก็ต้องเผชิญกับสิ่งที่ทั่วโลกเจอ นั่นก็คือโควิด-19

เคทเล่าว่าสักปลายปี 2019 เริ่มมีข่าวโรคระบาดในเมืองอู่ฮั่น ตอนนั้นเธออยู่เกาหลีและคิดว่ามันคงมาไม่ถึงหรอก เคทยังคงจัดทัวร์อย่างสม่ำเสมอจนกระทั่งถึงเดือนเมษยนปี 2020

“ลูกค้าชุดสุดท้ายคือที่บินไปเกาหลีช่วงเดือนเมษายนพอดี บินไปถึงปุ๊บ อีกวันประกาศล็อกดาวน์ จากแพลนเดิมคืออยู่สามอาทิตย์ ลูกค้าค้างอยู่เกาหลีเดือนครึ่ง เพราะตอนนั้นไม่มีเครื่องบินพาณิชย์แล้ว เราต้องติดต่อสถานทูตและรอคิวไปเรื่อยๆ แต่ลูกค้านิสัยดีมาก เข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ระหว่างรอเขาก็ไปฉีดผิว กลายเป็นว่าจอยมาก 

“พอพากลับมาได้ ก็กลายเป็นเราว่างมาก เพราะจัดทัวร์ไม่ได้ ช่วงแรกคือช็อก ต้องพบจิตแพทย์เพราะปรับตัวไม่ทัน จริงๆ ก็พอมีเงินเก็บ แต่มันไม่ได้ เรามีลูกน้องที่ต้องดูแลอีก จิตแพทย์ก็บอกว่าเดี๋ยวมันก็ผ่านไป เราทำอะไรไม่ได้เลยตัดสินใจกลับมาอยู่บ้านที่จันทบุรี ตอนเช้าพาแม่ไปเดินเล่นกับหมา ตอนเย็นไปเล่นโยคะ ไปๆ มาๆ ก็อยู่ได้นี่นา ช่วงโควิด-19 เลยเป็นเวลาที่เราได้พักพอดี ไม่ทำงานเลยเป็นปี (หัวเราะ) แต่ก็ยังตอบลูกค้าอยู่นะ”

แม้จะแฮปปี้ แต่ลึกๆ เคทยอมรับว่ามีความรู้สึกโหวงๆ เหมือนกัน เพราะขณะที่เธอกำลังหยุดพัก เพื่อนหลายคนก็เริ่มก้าวไปข้างหน้า บ้างเรียนหมอเฉพาะทาง บ้างก็สอบอัยการผู้พิพากษา จนเมื่อได้คุยกับเพื่อนคนหนึ่งจึงได้รู้ว่านอกจากงานเอเจนซี เธอยังทำอย่างอื่นได้อีก

จากเดิมที่เคทเขียนบทความ SEO ในเว็บไซต์ด้วยตัวเองจนมีลูกค้าติดต่อเข้ามามากมาย เธอเริ่มนำสกิลนี้ไปต่อยอดด้วยการรับเขียนให้บริษัทอื่นๆ และกลายเป็นอีกหนึ่งในอาชีพที่เคททำจนถึงปัจจุบัน

Arrival
สวยโดยสวัสดิภาพ

งานหลักของเคทคือการติดต่อกับมนุษย์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า หมอ ล่าม และอื่นๆ ระยะเวลาการทำงานของเธอจึงไม่ตายตัว 

“ส่วนมากลูกค้าจะชอบไลน์มาตอนกลางคืน เข้าใจว่าเป็นช่วงที่จิตว่าง มีคำถามผุดขึ้นมา เหมือนเราที่ชอบช้อปปิ้งตอนกลางคืน เขาก็ไม่ได้คาดหวังให้เราตอบตอนนั้น แต่บังเอิญเป็นคนไม่ชอบเห็นแจ้งเตือนไลน์ ก็เลยตอบไปเลย กลายเป็นว่าเขาประทับใจ เมื่อก่อนตี 1 ตี 2 ก็ตอบ แต่ตอนนี้ไม่ไหว ชีวิตฉันต้องนอน (หัวเราะ)

“พอเห็นลูกค้ามีความสุขที่สวยขึ้น เคทรู้สึกยังไง” เราถาม

“รู้สึกดีนะ เหมือนสถาปนิกที่ออกแบบบ้าน บ้านก็ต้องตอบสนองผู้ใช้ให้เขาอยู่อย่างแฮปปี้ถูกไหม แต่อันนี้เหมือนเขามีปัญหา เช่น ทำจมูกแล้วจมูกเบี้ยว แล้วพอไปแก้แล้วจมูกสวยขึ้น เขาแฮปปี้มาก เราก็ดีใจ

“ส่วนมากลูกค้าพอทำสวยแล้วก็เป๊ะปังในอาชีพ เช่น มีลูกค้าเป็นพริตตี้มอเตอร์โชว์ จากที่เคยได้เลเวลไม่สูงมาก พอไปทำสวยมาปุ๊บ ได้อัพเลเวล ได้เงินเยอะขึ้น แค่นี้ก็ทบค่าศัลยกรรมแล้ว เหมือนเป็นการลงทุนที่เขาได้ผลตอบแทนกลับมาในระยะเวลาอันสั้น

“หรือบางคนมีความมั่นใจมากขึ้น เช่น เขาเคยหน้าใหญ่ พอทำโครงหน้าแล้วหน้าเรียว ทำผมอะไรก็ได้ เขามาบอกเราว่าเมื่อก่อนไม่กล้าตัดผมสั้นเลย แต่ตอนนี้กล้าตัดสั้นแล้ว กล้ารวบผมแล้ว เราก็เลยรู้สึกว่ามันคืออาชีพที่ได้ช่วยแก้ปัญหาผู้คนเหมือนกัน”

ตอนนี้เกาหลีใต้กลับมาเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวอีกครั้ง ธุรกิจของเคทก็กำลังดำเนินไปได้ด้วยดี แต่เมื่อถามถึงทิศทางการเติบโตของ Surgery Review เคทกลับให้คำตอบที่น่าสนใจว่า เธออยากทำศูนย์ศัลยกรรมในประเทศไทย

“ที่เกาหลีการศัลยกรรมคือชิลล์มาก ลูกค้าสามารถเดินเข้าไปได้เลย มันไม่น่ากลัว ทุกวันนี้คนไทยบินไปทำหน้าเสียเงินให้ประเทศเขาตั้งเยอะ ในอนาคตเราเลยอยากเปิดศูนย์ศัลยกรรมความงามสไตล์เกาหลีในไทย ให้ได้ฟีลเหมือนไปทำที่เกาหลี เพราะจริงๆ หมอไทยก็มีดีๆ และเก่งไม่แพ้กัน”

3 สิ่งที่ควรรู้ก่อนไปทัวร์ศัลยกรรมเกาหลี

1. มีทัศนคติที่ดีต่อการศัลยกรรม

ก่อนการผ่าตัดทำศัลยกรรมต้องมีการสื่อสารกับคนไข้และคนใกล้ชิดเพื่อทำความเข้าใจเรื่องอาการบวมที่เกิดขึ้นได้เป็นปกติ โดยความเร็วในการยุบตัวก็จะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน อีกทั้งควรให้คนใกล้ชิดเปิดรับและทำความคุ้นชินกับใบหน้าใหม่ เพื่อไม่ให้คนไข้รู้สึกแย่ เนื่องจากบางครั้งอาจมีคนบอกว่าชอบของเดิมมากกว่า

2. เตรียมเงินและเวลาพักฟื้นให้พร้อม 

การทำศัลยกรรมแต่ละครั้งจำเป็นต้องหาข้อมูลและเปรียบเทียบอย่างถี่ถ้วนเพื่อเลือกสิ่งที่ดีที่สุด และหลังการผ่าตัดแต่ละครั้ง การพักฟื้นร่างกายก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะศัลยแพทย์แต่ละโรงพยาบาลมีความชำนาญในแต่ละด้านที่แตกต่างกัน เราจึงไม่แนะนำให้แปลงโฉมทั้งหมดโดยที่เวลาไม่เพียงพอ ค่อยๆ แบ่งทำทีละอย่างจะดีกว่า

3. ไปกับเอเจนซีที่มีประสบการณ์ เพื่อผลลัพธ์ที่ตรงใจ

เนื่องจากเอเจนซีมีคอนแทกต์กับโรงพยาบาลโดยตรง ซึ่งในแต่ละปีเราส่งคนไทยไปทำศัลยกรรมเกาหลีเยอะมาก จึงสามารถต่อรองราคาให้คนไข้ได้รับความคุ้มค่ามากขึ้น และหากเกิดปัญหาหลังการทำศัลยกรรม เรายังมีทีมงานที่คอยดูแลทั้งในไทยและที่เกาหลี สามาถติดต่อโรงพยาบาลและประสานได้ตลอดเวลา

ความมืดในเขาวงกตและแสงสว่างในการทำงานของ สุรชัย พุฒิกุลางกูร แห่ง Illusion

หลายคนเรียก สุรชัย พุฒิกุลางกูร แห่ง Illusion ว่าเป็น llustrator หรือคนทำภาพประกอบงานโฆษณาอันดับ 1 ของโลก

แต่หลังจากที่บทสนทนากว่า 3 ชั่วโมงจบลง ผมอยากเรียกเขาว่า นักหาทางออกจากเขาวงกตในความมืด

ในทุกช่วงชีวิต สุรชัยเคยติดชะงักอยู่ในเขาวงกตอันมืดมิดไม่ต่างจากคนอื่น–ในความหมายของเส้นทางที่ชวนสับสน มองไม่เห็นทางออก

แทนที่จะทนเดินวนอยู่ในนั้นอย่างไร้จุดหมาย ทุกครั้งเขาจะตั้งคำถามที่เป็นคล้ายแสงสว่าง และพาตัวเองออกมาจากเขาวงกตที่ปกคลุมไปด้วยความมืดได้เสมอ

ไม่ว่าจะเป็นตอนที่ยังศึกษาเล่าเรียนที่ตั้งคำถามว่าเส้นทางที่เลือกถูกต้องหรือยัง จนเลือกหันเหเส้นทางมาเลือกศึกษาในสาขาที่ตัวเองเชื่อ ตอนเริ่มทำงานที่ตั้งคำถามว่าในวงการโฆษณาอะไรจะมาดิสรัปต์การถ่ายภาพนิ่งและการรีทัช จนได้คำตอบและเป็นที่มาของการก่อตั้ง ‘Illusion CGI Studio’ ที่สร้างภาพประกอบงานโฆษณาด้วยเทคนิค CGI ตั้งแต่วันที่ยังไม่มีใครเชื่อในวิธีการนี้

หรือแม้ในยามที่ประสบความสำเร็จจนคล้ายไม่มีสิ่งใดให้ไขว่คว้า ถึงวันนี้ Illusion ได้รับการจัดอันดับจากนิตยสาร Lürzer’s Archive ให้เป็น Illustrator อันดับ 1 ของโลกมา 11 ปีติดต่อกัน กวาดรางวัลจากทั่วโลกมากว่า 2,700 รางวัล และคว้ารางวัล Grand Prix ซึ่งถือเป็นเกียรติยศสูงสุดในวงการประกวดโฆษณามาแล้วถึง 39 รางวัล เขาก็ยังตั้งคำถามว่ารูปแบบการทำงานที่ดีควรเป็นเช่นไร ทั้งในองค์กรและการทำงานกับลูกค้า

‘วิธีหาทางออกจากเขาวงกตในความมืด’ คือหนึ่งในเรื่องที่อยากอธิบายมากๆ แต่ยังไม่มีโอกาสสักที

ประโยคข้างต้นคือส่วนหนึ่งที่สุรชัยพิมพ์เอาไว้ในสเตตัสเฟซบุ๊กส่วนตัวก่อนที่เราจะนัดเจอกันที่ออฟฟิศของเขาในวันรุ่งขึ้น 

แม้เขาจะเคยบรรยายในหลายประเด็น แต่ประเด็นที่เกริ่นไว้เป็นสิ่งที่เขาอาจจะไม่เคยพูดบนเวทีไหนมาก่อน และมันน่าจะเป็นแสงไฟเล็กๆ ในการทำงานให้ใครหลายคน ไม่ว่าจะอยู่ในฟากฝั่งลูกค้าหรือผู้ให้บริการ

เราพบกันในช่วงรอยต่อของเวลาระหว่างเย็นย่ำกับค่ำมืด แต่นั่นไม่ใช่ปัญหา

เพราะสถานที่ที่เรานั่งสนทนามีแสงสว่าง

หลายคนที่ฟังบรรยายคุณบ่อยๆ น่าจะเข้าใจว่าในงานที่ทำคุณน่าจะเอาอยู่ทุกอย่าง ในชีวิตจริงการทำงานมันราบรื่นแบบนั้นไหม

แน่นอน มันเป็นเพราะกระบวนการของผม 

ในชีวิตผมจะล้มเหลวสั้นๆ เสมอ ตอนเด็กๆ ผมล้มเหลวมาเยอะนะ ในความหมายของผมคือสมมติเปรียบเทียบกับคนรอบข้าง เราเรียนสายวิทย์อยู่ แล้วทุกคนที่เรียนต้องไปทางเดียวกัน แต่ผมหยุดกึกแล้วบอกว่า ไม่แล้ว ผมจะไม่ไปทางนี้แล้ว กูจะไปอีกทางหนึ่ง ซึ่งมันจะเป็นแบบนี้ทุกๆ ช่วงชีวิตเลย

หรือสมมติตอนเรียน เวลาอาจารย์ให้ทำงานโปรเจกต์หนึ่งเขาก็จะเริ่มจากให้ขายคอนเซปต์ แล้วก็ขายสเกตช์ครั้งที่ 1, 2, 3 แล้วก็ขายขั้นตอนงาน แล้วก็ทำงานไปจนจบ แต่คุณรู้ไหมว่าวันแรกที่ขายคอนเซปต์ไปแล้ว พอเดินออกจากห้องผมก็คิดว่ากูเปลี่ยนคอนเซปต์ดีมั้ย เพราะฉะนั้นตอนที่เพื่อนคนอื่นเขาข้ามไปขายสเกตช์ครั้งที่ 1 ผมต้องย้อนกลับมาขายคอนเซปต์ใหม่

แล้วพอขายผ่านเริ่มทำไปสักพัก ไม่เอาว่ะ กูเปลี่ยนใหม่ได้ไหม ฉะนั้นในขณะที่คนเก่งๆ เขาคิดแค่ครั้งเดียว แล้วเขาทำตาม process ไปเรื่อยๆ แต่นึกดู ผมนี่โคตรได้เปรียบเลย ผมทำงานหนึ่งผมคิดคอนเซปต์ใหม่ 5-6 รอบ (หัวเราะ) นี่ไงคือสิ่งที่ผมเรียกว่าผมล้มเหลว ก็คือว่าถ้าคิดตามเกณฑ์ในระบบ สุดท้ายงานผมก็จะได้ประมาณสักเกรด D หรือ D+

คุณไม่ใช่คนที่เก่งที่สุดมาตั้งแต่เด็ก

ไม่ใช่แน่นอน อาจจะมีบางโมเมนต์ที่ประสบความสำเร็จ แต่อย่างที่บอก ผมเป็นคนที่คล้ายๆ จะล้มเหลวแบบสั้นๆ ก็คือทำตามระบบไม่ได้ ตอนประมาณสักปี 5 ตอนทำสัมมนาศิลปะ ผมพบว่าผมมีปัญหา คือผมไม่อยากทำงานนั้นนานๆ พอผมคิดเสร็จ วาดไปแล้วหนึ่งชิ้น แล้วคิดว่ามันไม่ใช่ว่ะ ผมก็อยากเปลี่ยนงานแล้ว ทุกคนก็เลยบอกว่า อ๋อ มึงจับจดไง นี่แหละ ผมว่าคำเหล่านี้คือสิ่งที่ทำให้พวกเราทุกคนไม่ไปไหน เพราะเรากลัวคำเหล่านี้ที่บอกว่าจับจด ถ้าเปลี่ยนเยอะๆ ก็จะกลายเป็นเราจับจด ถูกมั้ย เพราะฉะนั้นมึงต้องฝืนทำไปในแบบที่ไม่ต้องเจอคำพูดแบบนี้ หลายคนก็เลยใช้ชีวิตแบบนี้ไปเรื่อยๆ โดยที่ไม่เคยตั้งคำถาม แล้วก็ไม่เปลี่ยนแปลงมัน

คนจะมองว่าเป็นความอดทน

ใช่ คนก็จะบอกว่าเราต้องอดทน ต้องทำแบบนี้ไปก่อน แต่ผมบอกไม่ เพราะฉะนั้นผมจึงมาทำงานโฆษณาไง เพราะว่ามันเปลี่ยนไปเรื่อยๆ โจทย์มันเปลี่ยน แล้วผมรู้สึกว่าแบบนี้แหละคือใช่กูที่สุดแล้ว เพราะฉะนั้นที่คุณถามว่ามันราบรื่นขนาดนั้นไหม ผมถึงบอกว่ามันราบรื่นไง เพราะว่ามันเหมาะกับคาแร็กเตอร์เรา วันนี้ทำโฆษณาผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับผิว อีกวันหนึ่งทำโฆษณารถ อีกวันหนึ่งทำโฆษณาบ้านจัดสรร โอ้โห มันสนุก นี่คือทางที่ผมเลือก ถามว่าทำไมผมถึงเคลียร์ ราบรื่น เพราะผมเข้าใจตัวผมเอง ผมรู้ว่าผมชอบอะไร ผมไม่ถนัดอะไร ผมเก่งอะไร ผมไม่เก่งอะไร และจะไม่เก่งอะไรด้วย พอมันเคลียร์หมด มันแทบจะไม่มีปัญหาอะไรเลย นอกจากเราจะแก้ปัญหาตามที่เกิด ณ เวลานั้นไปเรื่อยๆ

ก่อนที่จะทำงานอย่างราบรื่น Illusion เคยเจอปัญหาอะไรบ้างไหมในการทำงานกับลูกค้า

ที่ผ่านมาผมว่าปัญหามันเกิดจากเราไม่เข้าใจวิธีการทำงาน คือเราทำงานมาประมาณสัก 20 กว่าปีแล้ว วันหนึ่งก็พบว่าทำไมงานที่ทำอยู่ทุกวันนี้มันเหมือนเป็นงานแก้ แก้ แก้ แก้แล้วแก้อีก แก้แล้วแก้อีก แก้แล้วแก้อีก ช่วงแรกมันอาจจะเป็นงานตกแต่ง มีการสร้างใหม่ แต่ระยะหลังๆ ทำไมมันมีแต่งานที่ต้องแก้แล้วแก้อีก มันวนอยู่แบบนั้น นั่นหมายความว่ามันต้องมีมายด์เซตอะไรที่ผิดแล้วล่ะ

คือในช่วง 20-30 ปีนี้ อาชีพ photo retouching มันเข้ามาในอุตสาหกรรมการทำโฆษณาภาพนิ่ง แล้วได้สร้างมายด์เซตทั้งตัวคนทำงานเองและลูกค้าโดยอัตโนมัติว่ามันคือการแก้ไข พอมันคือการแก้ไขนั่นก็หมายความว่า เมื่อถึงขั้นตอนโปรดักชั่น ตอนเราถ่ายนางแบบ เสื้อผ้าหน้าผม หรือถ่ายอะไรไม่ได้ เราก็มองว่าไม่เป็นไร เดี๋ยวไปแก้ที่รีทัช พร็อพทำไม่เรียบร้อย ชุดตัดไม่พร้อมเราก็ถ่ายให้ได้ แล้วจากนั้นไปแก้ในขั้นตอนรีทัช เพราะฉะนั้นมันเกิดลูปแบบนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทุกคนก็เลยคิดว่าเดี๋ยวไปแก้ที่หน้าจอ เพราะฉะนั้นทุกอย่างมันเลยวิ่งมาที่นี่

แล้วมันเป็นขั้นตอนสุดท้าย ที่มักมาในตอนที่ไม่เหลือเวลาอีกแล้ว ทุกอย่างมันอัดตูมมา แล้วที่อัดลงมามันก็ไม่ใช่สิ่งที่แม่นยำด้วยนะ ขณะที่มานั่งดูหน้าจอ อาร์ตไดเรกเตอร์ก็อยากจะเป็นคนรีทัช ตรวจงานละเอียดยิบ ดูนั่นดูนี่ ตรวจนั่นตรวจนี่ พอลูกค้ามาตรวจงาน ลูกค้าก็อยากเป็นครีเอทีฟ ทุกคนทำหน้าที่ทับกัน โดยที่ไม่ยอมที่จะให้แต่ละตำแหน่งมีพื้นที่ให้ตัวเองเล่น เรียกว่าไม่ซื้อความเป็นโปรเฟสชันนอลของแต่ละคน มันก็เลยทำให้ทุกคนทำงานซ้ำซ้อน ทับๆ กันไปเรื่อย

แล้วปัญหาที่ว่าในอุตสาหกรรมโฆษณามันเกิดจากอะไร

สิ่งที่เราทำทุกครั้งเวลาจะแก้ปัญหาคือเราจะมองว่ามันคล้ายอะไร เพื่อที่จะทำให้เห็นภาพชัดขึ้นว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ แล้วผมเลยรู้สึกว่า มันเหมือนเราเดินในเขาวงกตที่มันมืดๆ แล้วคนถือไฟดันอยู่หลังสุด

คิดดูว่าเวลาทำงานจะมีหัวหน้า มีครีเอทีฟ ครีเอทีฟก็ส่งอาร์ตไดฯ มานั่งทำงานกับเราสองสามวัน แล้วบนหน้าจอพออาร์ตไดฯ เห็นก็บอกว่าพี่สวยมากเลย พอส่งไปให้ครีเอทีฟดู ครีเอทีฟก็บอก เฮ้ย มันไม่ใช่ว่ะ อารมณ์ภาพมันไม่ใช่ ก็รื้อ แก้กันไปแก้กันมา ครีเอทีฟมาดู ผ่านแล้วก็ส่งไปให้ ECD (Executive Creative Director) ECD ก็บอกมันไม่ใช่ แบบผิด พอแก้เสร็จปุ๊บ บอกว่าเอาประมาณนี้แหละขายลูกค้า ลูกค้าที่อาจจะไม่ใช่ตำแหน่งใหญ่สุด ไม่ใช่คนตัดสินใจ ก็บอกให้แก้อีก ขอปรับสี ปรับดีเทล ปรับๆๆ สุดท้ายส่งไปให้หัวหน้าใหญ่ หัวหน้าบอกไม่ใช่ รื้ออีก ผมก็เลยรู้สึกว่า ทำไมคนตัดสินใจมันอยู่คนหลังสุดเลยวะ แล้วไอ้แสงที่เขามีมันไม่ส่องมา เราก็ตรอมตรมกันอยู่ในเขาวงกตที่มันมืดอย่างนี้เป็นเวลาหลายๆ วัน มันคืออะไร

แล้วเราก็วนอยู่แบบนี้ โอ้โห ชีวิต มันมีแต่คนเครียด พนักงานก็เครียด คือบางครั้งการทำโปรเซสต่างๆ มันต้องมีกระบวนการเตรียมเพื่อที่จะทำให้ได้ตามที่ต้องการ เพราะฉะนั้นแล้วการที่มันเปลี่ยนซ้ำแล้วซ้ำเล่า แล้วเวลาเหลือน้อยมากๆ แล้วก็ต้องไปในอีกทิศทางหนึ่ง มันไม่ใช่หนักแค่กับคนพรีเซนต์ แต่มันลามไปถึงคนเตรียมงาน ทุกคนมันเหนื่อยล้าไปหมด ผมรู้สึกว่ามันคือสงครามที่ไม่รู้ว่าเราจะชนะหรือเปล่า ซึ่งการที่เราทำตรงนี้ แบบนี้ 10 ปี 20 ปีผมว่ามันเบิร์นเอาต์ได้

สิ่งที่คุณว่ามาเหมือนมันไม่ใช่แค่ Illusion ต้องเผชิญ

ใช่ มันคือทั้งหมดเลย แล้วมันเป็นอย่างนี้ทุกจ็อบเลยนะ ผมเลยรู้สึกว่ามันมีปัญหาหนึ่งที่คนอาจจะไม่เข้าใจ ก็คือเวลาเรามองตำแหน่งเราจะมองภาพตำแหน่งที่สูงขึ้นในแนวดิ่งหรือแนวตั้ง ก็คือเป็นจูเนียร์ เป็นซีเนียร์ เป็นกรุ๊ปเฮด เป็นไดเรกเตอร์ จนถึงระดับ C-level ก็คือไล่ขึ้นไปเรื่อยๆ เป็นแนวดิ่ง โดยที่ทุกคนไม่ได้คิดว่ามันมีการทำงานในระดับแนวราบอีก

แนวราบคืออะไร อย่างผมชอบดูหนังสงคราม แล้วเวลาเราย้อนกลับไปดูหนังสงครามยุคเก่าๆ ยุคแรกๆ เราจะเห็นว่าหัวหน้าจะอยู่หน้าสุดเลย ทีนี้ก็เริ่มดูมาเรื่อยๆ ก็เริ่มรู้สึกว่าตำแหน่งผู้นำมันเปลี่ยน ในขณะที่ยังสู้กันแค่สองมือและมีชุดเกราะ ตำแหน่งผู้นำจะอยู่ข้างหน้า แล้วหลังจากนั้นพอมนุษย์เริ่มคิดค้นเรื่องปืน อาวุธ ขีปนาวุธหรืออะไรก็แล้วแต่ ตำแหน่งผู้นำจะถอยลงมาข้างหลังเรื่อยๆ จน ณ วันนี้ ตำแหน่งผู้นำเวลาเกิดสงครามเราจะไม่รู้เลยว่าอยู่ที่ไหน อันนี้คือการถอยร่นลงมาของตำแหน่ง 

ขณะที่เราโตขึ้นไปในแนวดิ่ง ในแนวตั้ง แต่ทุกคนไม่เห็นแนวราบนี้ เพราะฉะนั้นทุกคนจะไม่รู้เลยว่า ถ้าคุณถอยออกมาขนาดนี้ คุณจะบัญชาการสงครามนี้ให้ชนะต้องทำยังไง เรารู้แค่ว่าเราขึ้นไปเป็นหัวหน้า แต่เราไม่รู้วิธีการทำงานจริงๆ ว่า สมมติว่าถ้าเราเป็นหัวหน้าในกลุ่มเล็กๆ เราอาจจะพูดปลุกใจแค่ครั้งเดียวแล้วก็ลุยกันเลย เพราะทุกคนได้ยิน communication ในกลุ่มเล็กๆ มันทำได้ แต่เมื่อกองทัพใหญ่ขึ้น เมื่อคุณถอยไปเรื่อยๆ โดยที่คุณไม่ communicate กับทีม ยังไงก็ตาย ไม่มีทางที่ทั้งกองทัพจะรู้ว่าคุณคิดอะไร เหมือนอย่างที่ผมบอกว่าเหมือนเดินในเขาวงกตที่มันมืดแล้วคนถือไฟอยู่หลังสุด

สิ่งที่ผมจะบอกก็คือยิ่งคุณถอยออกมาไกลเท่าไหร่ คุณจะต้องให้ไฟเขา หรือไม่ก็ให้ความสว่างเขา ถ้าเราจะเดินเข้าเขาวงกต คุณต้องให้สิทธิ์เขาถือไฟ ถึงแม้มันจะเป็นดวงเล็กๆ แต่มันจะทำให้การเดินทางของเราไม่เปลืองเวลา ไม่สูญเสียเวลา ไฟของผมในความหมายนี้คือเครดิตของวิชาชีพแต่ละวิชาชีพ หรือคุณจะอยู่หลังสุดก็ได้ แต่ส่องไฟมาให้เราเห็นทางหน่อย พวกเราจะได้เดินไม่หลงทาง นั่นหมายความว่า หัวหน้าคนที่ตัดสินใจใหญ่สุด ต้องอยู่ในโปรเซสของสงครามนั้น ไม่ใช่มาถึงตอนสุดท้ายแล้วค่อยมาบอกว่าไหนดูซิ ตอนนี้รบกันไปถึงไหนแล้ว แบบนี้ไม่ได้

สิ่งที่เราทำทุกครั้งเมื่อมีลูกค้าใหม่คือเราจะอธิบายวิธีการทำงาน พร้อมตัวอย่างการทำงาน เพื่อให้เขาเห็นภาพว่าขั้นตอนจะเป็นยังไง จุดไหนเป็นทางเลี้ยวที่สำคัญที่เอเจนซีต้องให้ลูกค้าตัดสินใจด้วย เพราะถ้าผ่านจุดนี้ไปแล้ว การกลับมาแก้จะมีค่าใช้จ่าย มากน้อยตามความเสียเวลาและยาก-ง่าย วิธีนี้ช่วยให้คนตัดสินใจมาอยู่รวมกัน ณ จุดสำคัญๆ ได้ แก้ปัญหาที่ต้องเดินในเขาวงกตที่มืดมิดได้

ทุกวันนี้เวลาเราสั่งของ ซื้อของ เรายังสามารถแทร็กได้ว่าอยู่ที่ไหน มันคือการมอนิเตอร์ง่ายๆ ที่เราใช้ในชีวิต เวลาทำงานก็เหมือนกัน คนที่มีอำนาจตัดสินใจเขาต้องอยู่ในโปรเซส จะมากจะน้อยอยู่ที่วิธีการจัดการ เราถึงตัดสินใจในเวลาที่ฉับพลันได้

คือสุดท้ายถ้าไม่ให้คนอื่นถือไฟ คุณก็ต้องส่องไฟให้กับคนอื่นๆ ได้เห็นทางตลอดเวลา

ใช่ ความหมายผมก็คือว่า เราทำงานในเลเวลระดับสูงโดยที่เราไม่ทำงานในระนาบเดียวกัน ถ้ามันเป็นระนาบเดียวกันมันจะมีการแทร็กกิ้ง มีการมอนิเตอร์ตลอดเวลา

มีอยู่ช่วงหนึ่งผมดูฟุตบอล เวลาเขาทำโทษโค้ชเขาจะไล่ไปนั่งบนอัฒจันทร์ ตอนนั้นผมก็หัวเราะว่า ลงโทษแค่นี้เองเหรอวะ แต่มันมีผลมากจริงๆ นัดนั้นถ้าโค้ชไม่ได้อยู่ในระนาบเดียวกัน ไม่ได้สั่งงานในระนาบเดียวกัน ทีมตายเลย ถึงจะฝากคนอื่นสั่งลูกทีมยังไงมันก็ไม่มีทางเรียลไทม์ ในการทำงานก็คล้ายๆ กัน ในความหมายของผมก็คือ ระยะที่มันใกล้พอดีและ communication โคตรสำคัญเลย ไม่ว่าจะทำอะไรก็แล้วแต่ ซึ่งคุณต้องหาเอาเองว่าระยะพอดีของคุณคือตรงไหน สำหรับฟุตบอลก็คือข้างสนาม

ย้อนกลับมาพูดในมุมคนถือไฟ การจะให้สิทธิ์ใครสักคนถือไฟแสดงว่าคนคนนั้นก็ต้องทำให้เชื่อมั่นด้วยว่าจะไม่พาไปผิดทาง

ใช่ คือมันทั้งสองฝ่าย อย่างที่ผมบอกเสมอว่า คุณต้องถามตัวเองก่อนว่าคุณเป็นผู้ให้บริการที่ดีพอหรือยัง ฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นครีเอทีฟหรืออาร์ตไดเรกเตอร์ก็ต้องถามตัวเองว่าเราเข้าใจโปรดักต์เขามากพอหรือยัง มันเป็นทอดๆ มันเกี่ยวข้องกันหมด เพราะฉะนั้นสิ่งที่ผมมักจะบอกก็คือว่า การที่เราทำงานมันไม่ใช่แค่เราจะไปชี้คนอื่นว่ามึงผิด มึงไม่เข้าใจ แต่เราต้องถามตัวเองด้วยว่าเราเข้าใจจริงๆ ไหม แล้วเขาจะรู้ว่าอันนี้เขาให้คนนี้ถือไฟได้ แต่ถ้าเขาไม่มั่นใจคุณ เขาจะอนุญาตให้คุณใช้ไฟไหม เขาก็ไม่ยอม เขาก็บอกเดี๋ยวรอกูตัดสินใจ

พอคุณเข้าใจเรื่องเขาวงกตในความมืด คุณปรับการทำงานใน Illusion ยังไง

วิธีง่ายๆ เลย ก็ออกจากเขาวงกตสิ เพราะเรารู้ว่าไม่มีทางแก้ได้ สุดท้ายในบ้านเรายังไงมันก็ต้องมีโปรเซสแบบที่ว่า ถ้าอย่างนั้น สมมติฐานต่อมาก็คือ ถ้าเราไม่เดินในเขาวงกตที่มันมืดแบบนี้ล่ะ ถ้าเราไปเดินในเขาวงกตที่มันสว่างล่ะ ทำได้ไหม มันต้องมีสิ เราเชื่อว่ามันจะต้องมีระบบการทำงานที่ดี

แล้วเหมือนมันเป็นโชคช่วยด้วย พอเราได้ทำงานกับทางครีเอทีฟต่างประเทศ พอได้ทำงาน ‘Heaven and Hell’ ของ Samsonite ที่ครีเอทีฟเขาเป็นคนสิงคโปร์แล้วไปอยู่จีน เมื่อเราได้ทำงานกับเขา เรารู้สึกว่า เฮ้ย เราสามารถจุดไฟเดินได้ว่ะ เขาให้สเปซเรา เขาให้เรานำทางเขาด้วยซ้ำไป สมมติฐานที่เกิดขึ้นก็คือว่า ถ้าอย่างนั้นหมายความว่า งานที่ทำกับครีเอทีฟต่างประเทศมันมีโอกาสที่จะเป็นแบบนี้ใช่ไหม เราก็เริ่มทำเยอะขึ้นๆ แล้วมันก็เริ่มพิสูจน์แล้วว่ามันใช่ เขาอนุญาตให้เราจุดไฟเอง เผลอๆ เราบอกว่าน่าจะไปทางซ้ายเขาก็เชื่อด้วยซ้ำไป อันนี้คือสิ่งที่แตกต่างมากๆ ดังนั้นผมก็เลยขยายตลาดต่างประเทศให้มากขึ้นเรื่อยๆ จนตอนนี้ลูกค้าประมาณ 99.99 เปอร์เซ็นต์ของ Illusion คือลูกค้าต่างประเทศ

ถ้าชวนวิเคราะห์ คุณคิดว่าทำไมลูกค้าต่างประเทศถึงไม่มีปัญหาอย่างที่ว่ามา

เขาก็อาจจะมีบ้าง แต่อย่างที่บอกก็คือ ในบ้านเรา เราอาจจะไม่ได้ถูกสอนมาให้แต่ละคนเป็นโปรเฟสชันนอลแล้วก็ไม่ได้ยอมรับในความสามารถของอีกฝ่ายหนึ่งพอที่จะวางใจว่า อ๋อ นี่คือหน้าที่คุณ อย่างที่บอกว่าเวลาอาร์ตไดฯ มาดูหน้าจอคนรีทัช อาร์ตไดฯ ก็จะทำตัวเหมือนเป็นคนรีทัช ลูกค้ามาดูงานครีเอทีฟก็จะดูงานเหมือนสายตาครีเอทีฟทั้งที่ตัวเองไม่ได้มีความสามารถทางด้านนี้ ก็คือต่างคนต่างทับหน้าที่ แล้วใช้ในส่วนที่ตัวเองไม่มีมาทับ เพราะฉะนั้นพอมันทับๆ กันอย่างนี้ มันก็เลยมีปัญหา ผมรู้สึกว่าแบบนี้มันไม่ใช่ คุณแค่บอกสิว่าคุณต้องการอะไร แล้วผมก็ทำงานให้อย่างที่บอก

มีตัวอย่างหนึ่ง ตอนที่ทำงาน ‘Civilization’ ของ Maxam ที่เป็นฟัน (เอเจนซี JWT Shanghai) ชิ้นนั้นตอนแรกไอเดียมันคือ อย่าให้แบคทีเรียมันสร้างอาณาจักรในฟันของคุณ ผมก็มีภาพในหัวของผมว่า ภาพนี้ต้องเหมือนเราส่องไฟเข้าไปในปากแล้วเราเห็นฟันมันผุอยู่ ผมก็ทำเลยนะ ทำเป็นฟันผุ ส่งไปให้หยาง (Yang Yeo, Chief Creative Officer) เขาเห็นก็บอกว่า “ไม่ใช่ สุรชัย ผิดทางแล้ว ไม่ใช่ทางนี้ เพราะมันตายเหมือนฟันเน่าๆ เลย” แล้วเขาก็บอกแค่ว่า “สุรชัย มันจะต้องเป็นฟันที่ยังมีชีวิตอยู่ และแบคทีเรียยังมีชีวิตอยู่” เขาพูดแค่นี้เอง ไม่ต้องทำอะไรเลย ไม่ต้องบอกว่าสุรชัยเดี๋ยวตรงนี้ทำแบบนี้ เดี๋ยวเอาเรเฟอเรนซ์ให้ เขาพูดแค่นี้ว่า สุรชัย ไม่ใช่ ทางนี้ไม่ใช่ ไปอีกทางหนึ่ง นี่แหละ ผมรู้สึกว่านี่คือไฟของกู มันทำให้เรากลับมาทบทวนตัวเองว่า เฮ้ย ทำไมเราไม่เข้าใจวะ อันนี้มันเป็น advertising ภาพมันจะต้องน่าดูสิ ผมเรียกว่านี่คือความมืด พอเขาสาดสปอตไลต์มาเราเลยรู้ว่าเราหลงอยู่ สุดท้ายงานชิ้นนี้ก็เป็นงานที่ประสบความสำเร็จในความรู้สึกผมนะ เพราะว่ามันเป็นการทำของน่าเกลียดให้เป็นของน่ามองได้

นี่คือคอมเมนต์ในอุดมคติของสุรชัย

ใช่ ไม่ใช่บอกว่าตรงไหนสีอะไร ตรงไหนทำแบบไหน หรือเอาเรเฟอเรนซ์มาให้ดู การที่เอาเรเฟอเรนซ์มาให้ดูผมรู้สึกว่าไม่มีประโยชน์ เพราะว่าสุดท้ายเราก็ไม่ได้สิ่งใหม่ เราก็ได้แต่สิ่งที่เหมือนเดิม ซึ่งเขามาหาเราเขารู้อยู่แล้วว่าเขาต้องการสิ่งใหม่ ถ้าเขาเอาเรเฟอเรนซ์มาให้เขาก็โง่แล้ว ถูกไหม แต่นี่เขาโคตรฉลาดเลย

ผมรู้สึกว่าวิธีการแบบนี้ต่างชาติจะเป็นกัน ก็คือว่าเวลาเราไปผิดทิศผิดทาง เขาจะใช้ประโยคเป็นก๊อบปี้ ไม่ใช่ใช้รูปหรืออะไรมาบังคับเรา สิ่งนี้มันทำให้เราเห็นด้วยตาของเราเอง มันทำให้เราพัฒนามาจากสเตปหนึ่งไปอีกสเตปหนึ่งด้วยความเข้าใจที่ชัดเจนจากความล้มเหลวของเรา

คุณคิดว่าทำไมเขาจึงสามารถคอมเมนต์งานได้อย่างแหลมคม

เพราะเขาเป็นครีเอทีฟ เขาก็ทำหน้าที่ครีเอทีฟ เขามีหน้าที่อะไรเขาก็ทำหน้าที่ของเขา แค่นั้น แล้วผมทำงานกับที่ไหนก็แล้วแต่ ครีเอทีฟทั้งโลกก็จะถามว่า แล้วทีม Illusion คิดยังไง คิดว่ามันใช่หรือยัง ส่วนใหญ่เขาก็จะพูดแบบนี้ ผมก็จะรู้สึกว่า ผมเจอลูกค้าที่ใช่แล้ว เขาซื้อความเป็นมืออาชีพของเรา เขาซื้อตาเรา เขาซื้อทักษะเรา 

แล้วเขาจ่ายในราคาที่เหมาะสมด้วย เราก็พัฒนาการบริการของเราไปได้เรื่อยๆ มันจะมีแต่ข้อดี มันส่งเสริมซึ่งกันและกัน แต่พอบ้านเรามันไม่เกิดอย่างนี้ ทุกคนทำในสิ่งที่เราไม่ถนัด แล้วก็ไม่ซื้อความเป็นมืออาชีพในแต่ละตำแหน่ง มันก็เลยทับถมกันอยู่อย่างนี้ อย่างที่บอกคือ เราทรีตโปรดักชั่นเฮาส์เป็นโปรดักชั่นเฮาส์ แล้วก็บอกว่ามึงทำตามสิ่งที่กูบอกสิ มันก็เลยทำให้วัฒนธรรมการทำงานของเรามันเป็นแบบนี้

ในเมืองไทยสมัยก่อน ก่อนที่จะมี Illusion ก็จะมีโปรดักชั่นเฮาส์ ภาพนิ่ง มีพี่ๆ หลายคน แต่พอผ่านระยะหนึ่งงานเขาก็จะน้อยลงๆ ซึ่งฝีมือเขาไม่ได้น้อยลงนะ ผมก็ถามว่ามันเกิดอะไรขึ้น ทำไมคนที่เก่งถึงไม่มีงานทำ สรุปก็คือเป็นเรื่องราคา ตอนนั้นลูกค้าไม่สามารถที่จะจ่ายในราคาที่สูงได้ โดยพื้นฐานเขาไม่ได้เลือกคุณภาพก่อน เขาเลือกราคา บ้านเรายังใช้วิธีคิดแบบเปิดซองของราชการ ใครถูกเอางานไป เพราะฉะนั้นถ้าเราพิตชิ่งด้วยราคา สิ่งที่น่ากลัวคือจะไม่มีใครพัฒนาเป็นโปรเฟสชันนอลขึ้นไปได้ นี่คืออีกเหตุผลหนึ่งที่ผมต้องออกไปตลาดต่างประเทศ เพราะผมเชื่อว่าวันหนึ่งผมจะต้องเจอแบบนั้นแน่ๆ เพราะราคาของเราอาจจะสูงเกินไป

อย่างที่บอกก็คือผมเสียดาย จริงๆ แล้ว Illusion เกิดขึ้นมาจากการเรียนรู้แล้วก็ได้รับการสั่งสอนจากวงการโฆษณาไทย เราเติบโตมาแบบนั้น แต่แล้ววันหนึ่งผลผลิตนี้มันไม่ได้ย้อนกลับไปช่วยอุตสาหกรรมโฆษณาไทย เราต้องออกไปหากินข้างนอก

นอกจากเรื่องวิธีการทำงาน เรื่องค่าจ้าง มีเหตุผลไหนอีกไหมที่ทำให้คุณเลือกรับงานลูกค้าต่างชาติ

จริงๆ เราต้องมองว่างานภาพนิ่งมันน้อยลงทั้งโลก ไม่ใช่แค่ไทย สุดท้ายถ้าเรายังมองแค่ในเมืองไทยมันเหมือนเราจับแค่ปลาในแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งวันนี้แม่น้ำเจ้าพระยาอาจจะหดลง แต่ถ้าเรามองทั้งโลกได้ ทำให้ตลาดทั้งโลกเป็นตลาดของเรา มันก็จะมีปริมาณปลามากพอให้เราจับ อันนี้คือเรื่องสเกล เรื่อง proportion ของมัน เพราะฉะนั้นมันคล้องจองกันในเวลาที่พอดี ถ้าเรามองว่าการทำงานที่เป็นอยู่ในช่วง 20 ปีมันเป็นการเดินอยู่ในเขาวงกตในความมืด เราเลยคิดว่าถ้าไปรับงานต่างประเทศแล้วทำให้โอกาสในทางธุรกิจของเรายังสามารถที่จะเติบโตได้ มันก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี 

อย่างที่บอกว่าตอนแรกมันเป็นแค่สมมติฐาน แล้วเราก็เริ่มทดลองทำ ทดลองหาลูกค้า จากนั้นก็เริ่มมี represent หรือตัวแทนเข้ามาติดต่อเรา บอกว่าอยากจะเป็นตัวแทนรับงานของ Illusion ในภาคพื้นยุโรป ในฝรั่งเศส ในอังกฤษ ในอเมริกา แล้วเขาก็กินเปอร์เซ็นต์ไป ผมก็คิดว่ามันก็เป็นช่องทางหนึ่งของเรา เหมือนเขาเป็นโชว์รูมแล้วเราเป็นโรงงานผลิต ดังนั้นโอกาสที่เราจะทำงานตลาดโลกมันก็เป็นไปได้

ฟังดูอาจจะพูดง่าย แต่ในความเป็นจริงต้องทำยังไงจึงจะได้งานจากลูกค้าทั่วโลกแบบ Illusion

นี่ไง ใครจะมาใช้คุณ ถ้าคุณไม่ดัง ถ้าคุณไม่พรูฟว่าฝีมือคุณดี คุณเก่ง

ผมอาจจะไม่เหมือนหลายๆ คน ผมไม่ทำงานด้วยระบบคอนเนกชั่น ความสัมพันธ์ไม่ใช่ปัจจัยในการรับงาน ทุกวันนี้ Illusion ทำงานกับต่างประเทศ ลูกค้าแทบจะไม่รู้จักสุรชัยเลย 

ผมใช้แบรนด์ชนแบรนด์ business to business ฉะนั้นเราจะต้องทำงานให้มันอยู่ในระดับที่เขาเห็นว่า เขาสามารถฝากชีวิตกับเราได้ อย่าลืมว่าครีเอทีฟที่ติดต่องานกับเราก็เป็นลูกจ้างคนหนึ่งในบริษัทที่ต้องดูแลลูกเมีย ครอบครัว เพราะฉะนั้นการที่เขาจะเอาชีวิตมาฝากไว้กับเรา เราต้องพรูฟอะไร อันนั้นต่างหากคือสิ่งที่คุณต้องตอบ Illusion ใช้คุณภาพของงานขายตัวมันเอง เพราะฉะนั้นผมโฟกัสแค่งาน ถ้าคุณภาพมันถึงมันจะแสดงตัวมันเอง เพราะว่าผมเชื่อว่าในโลก ไม่ว่าจะเป็นการรับจ้างทำของ หรือการผลิตโปรดักต์อะไรก็แล้วแต่ คุณภาพสำคัญที่สุด นั่นเป็นเหตุผลที่ Illusion ถึงต้องทำงานส่ง award ผมพรูฟมันด้วยรางวัล

นี่คือเหตุผลที่ทำให้ Illusion พยายามคว้ารางวัลระดับโลกมาครองให้มากที่สุด

เป็นเหตุผลเดียวที่ง่ายที่สุดเลย

ไม่ได้บ้ารางวัลหรืออยากดัง แต่มีเหตุผลทางธุรกิจ

ไม่ใช่บ้ารางวัล ถ้าผมอยากได้รางวัลหรืออยากดัง รายการทุกรายการในประเทศไทยที่เชิญผมไปออกรายการผมต้องไปทั้งหมด แต่ผมแทบไม่เคยไปเลย เพราะผมไม่ได้อยากดัง แต่ครีเอทีฟต้องรู้จักเรา ต้องรู้จัก Illusion เพราะถ้าครีเอทีฟไม่รู้จัก Illusion อันนี้เป็นปัญหาของผม แต่ถ้าคนข้างบ้านไม่รู้จักว่าสุรชัยเป็นใครผมไม่เคยแคร์ ผมไม่เคยสนใจว่าผมจะต้องดัง สิ่งที่ Illusion ปรากฏในสายตาของลูกค้าทั้งโลกคือเราต้องการสร้างความเชื่อมั่นหรือ belief ให้เขาเชื่อว่า ถ้าเขาเอาชีวิตมาฝากไว้ที่ Illusion งานต้องมีคุณภาพแน่ๆ ซึ่งวิธีทำให้เขาเชื่อมันทำได้ 2 แบบ ไม่โฆษณาก็พรูฟมัน และสิ่งที่ผมทำคือพรูฟมัน ผมจะทำให้เขารู้สึกว่า มันได้รางวัลอีกแล้วเหรอ ทำไมมันได้อีกแล้ว ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซึ่งมันก็คือโฆษณาแบบหนึ่งแหละ มันคือกลยุทธ์แบบเดียวกัน คือทำให้เขาเห็นซ้ำๆ ซ้ำๆ จนเขาเชื่อเรา

ผมเชื่อว่าในสนามประกวด ครีเอทีฟที่เป็นลูกค้าผมเขาโฟกัสอยู่ตรงนั้นอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นถ้าเราสามารถสร้างความเชื่อแบบนี้ให้ครีเอทีฟเขาเชื่อ เขาก็จะมาใช้เรา มันคือการสร้างโอกาสทางธุรกิจ วิธีคิดมันไม่ได้ซับซ้อนเลยนะ แต่โปรเซสมันยากเท่านั้นเอง

เหมือนรางวัลคือการโฆษณาที่ทรงพลังที่สุดของ Illusion

แล้วก็ง่ายที่สุด ใช้เงินน้อยที่สุด

ได้เงินด้วย

ใช่ (หัวเราะ) ได้เงินด้วย แล้วสนุกด้วย มันท้าทาย มันอัพเลเวลเรา มันทำให้เราเก่งขึ้นเพราะเราเจอโจทย์ที่มันยากขึ้นเรื่อยๆ นี่คือสนามที่ผมหวงมาก

ทุกวันนี้ Illusion มีภาพจำว่ารับแต่งานที่ได้รางวัล แล้วจริงๆ คุณรับงานอื่นที่ไม่ใช่งานรางวัลด้วยไหม

รางวัลมันเป็นมันเป็นแค่การ communication แบบหนึ่งเท่านั้นเอง แต่งานที่เป็น pure business ผมไม่เคยแชร์ จริงๆ Illusion เราอยู่เพื่อซัพพอร์ตเอเจนซี ไม่ว่าเขาจะทำงาน award หรือเขาจะทำงานเพื่อมาร์เก็ตติ้ง เพราะฉะนั้นต่อให้เป็นงานขายของเราก็ซัพพอร์ตเขาอยู่ดี มันอยู่ที่เขาสู้ราคาที่เราประเมินไปไหมแค่นั้นเอง ถ้าเขาคิดว่าราคานั้นเหมาะสมแล้วเขาจ่ายได้ ก็ทำ

อย่างที่บอกว่า ถ้าเราจะ communication กับครีเอทีฟทั้งโลก ให้เขา belief ในสิ่งที่เราทำแล้วเขาจ้างเรา เราต้อง promise อะไรบางอย่างกับเขา มันคือวิถีที่เรา promise กับครีเอทีฟทั้งโลกว่าเราจะทำมาสเตอร์พีซให้คุณนะ ผมหวังแค่ครีเอทีฟทั้งโลกแต่ละคนอยากมีมาสเตอร์พีซ แล้วส่งงานมาให้ผมทำ ชาตินี้ผมก็ทำไม่หมดแล้ว ถูกไหม ซึ่งมาสเตอร์พีซเกิดได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นงานรางวัลหรืองานทำมาหากิน

คุณบอกว่าการทำงานของคุณไม่ได้มีความสัมพันธ์กับลูกค้า แล้วความอิ่มเอมในการทำงานร่วมกันมันอยู่ตอนไหน

ถ้าลองไปอ่านในเว็บไซต์ของ Illusion มันจะมีคำที่ครีเอทีฟทุกคนพูดถึงเมจิกโมเมนต์ที่เขาทำงานกับ Illusion คือทุกเมลที่เราส่งไปหาลูกค้าตลอดการทำงานจะต้องสร้างความประทับใจให้เขามากขึ้นๆ เหมือนดูหนังเลย เพราะเขาเฝ้ารอว่า ไอ้สเกตช์ที่เขาส่งมาให้เรา เราทำให้มันมีชีวิตยังไง แล้วทุกอีเมลที่เราส่งไปมันจะเหมือนงานค่อยๆ มีชีวิตขึ้นมา มันเหมือนค่อยๆ เจริญเติบโต ค่อยๆ งอกเงยจนได้สิ่งใหม่ บางคนพูดถึงขั้นว่า เวลาเปิดเมลของ Illusion เหมือนเวลาเปิดของขวัญวันคริสต์มาสเลย คือในเมลแต่ละเมลของเรา เราจะใส่มูลค่าเพิ่มเข้าไป นี่คือทริกที่เราไม่ต้องใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวเลย เราแค่ส่งงานที่ดี ส่งงานที่เหมือนเขาได้เห็นเด็กที่เจริญเติบโต มันคือสิ่งใหม่ที่ทำให้เขาเห็นว่างานเขาดีขึ้นทุกๆ ครั้งที่เขาเปิดเมล มันเป็นความสุขอีกแบบหนึ่ง คือเมื่อเขามีความสุขแบบนั้นเราก็มีความสุข

แต่จริงๆ ผมก็ไม่ได้ต้องการความสุขอะไรขนาดนั้นหรอก ความสุขผมคือ billing ของบริษัท (ยิ้ม)

เวลาชวนคุยเรื่องความสุขการทำงานไม่ค่อยได้ยินใครตอบเรื่องเงิน หรือแม้กระทั่งฟังคุณบรรยายมาหลายที่ก็ไม่ค่อยได้ยินเรื่องนี้

มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ ก็คุณทำธุรกิจให้อยู่มาได้ 20 ปี ถ้าคุณไม่พูดถึง billing ก็บ้าแล้ว ผมว่าเรื่องเงินไม่ใช่เรื่องน่าเกลียด billing มันเป็นหัวใจ ไม่อย่างนั้นเด็กในทีมของผมจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ยังไง เพราะเขาก็ต้องเติบโต เขามีลูกมีเมีย มีบ้านมีรถ เราต้องไม่ไปกดราคาเขา ทุกคนถึงถามผมว่าทำไมถึงมีพนักงานอยู่กับ Illusion นานถึง 10 ปี 20 ปี 

ส่วนใหญ่คนที่ทำงานวงการนี้เขาก็จะบอกกันว่าคนเปลี่ยนงานกันบ่อย คำถามคือคุณจ่ายให้เขาพอหรือเปล่า คุณภาพชีวิตเขาดีขึ้นไหม ซึ่งเงินก็คือปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มีชีวิตที่ดีขึ้น ถูกไหม แต่เวลาผมไปพูดข้างนอกจะบอกว่า billing ของบริษัทเยอะก็พูดไม่ได้หรอก คนหมั่นไส้ตายเลย แต่พอมาสัมภาษณ์เรื่องธุรกิจ ยังไงเราก็ต้องยืนอยู่บนความเป็นจริง

ไม่ใช่พูดแต่ในมุมการสร้างงานที่ดี

อันนั้นเป็นหน้าที่ของคุณอยู่แล้ว ไม่ใช่เรื่องวิเศษอะไรเลย มันคือเรื่องของมาตรฐาน ถ้าจะทำธุรกิจ ให้คนอื่นจ่ายเงินให้คุณ คุณต้องทำงานให้ได้มาตรฐานก่อน อันนี้มันคือเรื่องธรรมดา


Good Client of Illusion CGI Studio

กำพล ลักษณะจินดา

Executive Creative Director, Ogilvy Bangkok

“Illusion เกิดขึ้นมาภายใต้กรอบของผมคือเราเป็น tool ให้ครีเอทีฟ ซึ่ง tool นี้จะทำให้เขาประสบความสำเร็จ เพราะฉะนั้นมันก็เลยทำให้ผมนิยามลูกค้าของ Illusion ชัดเจนว่า ลูกค้าของเราจะต้องเป็นเอเจนซีเท่านั้น เราจะทำซัพพอร์ตครีเอทีฟเท่านั้น

“คือในทุกวิชาชีพมันมีความเป็นโปรเฟสชันนอลของมันอยู่ ในความหมายก็คือว่า ถ้าเป็นเจ้าของแบรนด์เองเลย ไม่ว่าจะเก่งแค่ไหน ผมก็เชื่อว่าเขาพูดภาษาอีกภาษาหนึ่ง ทำไมเราถึงมีตำแหน่งในอาชีพต่างๆ ล่ะ มันก็คือการ communication ผมถึงบอกว่า Illusion อยู่เพื่อครีเอทีฟ เพราะเราเชื่อว่าเราพูดภาษาเดียวกัน เราชี้สิ่งสิ่งนี้ว่ามันเป็นสีดำ มันคือสีดำ เราชี้ว่าอันนี้คือแก้ว มันคือแก้ว แต่ขณะที่ลูกค้าที่เป็นเจ้าของโปรดักต์เขาจะพูดอีกภาษาหนึ่ง ตีความเป็นอีกความหมายหนึ่ง ผมถึงจะไม่รับลูกค้าตรงที่เป็นเจ้าของแบรนด์

“ผมเหมือนเป็นลูกปิงปอง เจ้าของแบรนด์เปรียบเหมือนมือ เขาต้องไปหาไม้ปิงปองมา ซึ่งคือเอเจนซี มาตีผม ผมไม่ยอมให้เอามือมาตีลูก เพราะผมเชื่อว่าไม้ปิงปองที่ดีมันนุ่ม มันจะ precision มาก ซึ่งการทำ advertising มันคือเรื่อง precision คือการคอนโทรลทั้งหมด รูปรูปหนึ่งถูกคอนโทรลทุกอย่างเพื่อที่จะทำให้ communicate ได้อย่างที่ครีเอทีฟต้องการ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ผมเห็นมันคือกีฬา มันคือสิ่งที่ต้องแม่นยำ

“ถ้ามองว่าครีเอทีฟคนไหนที่สร้างเราขึ้นมาก็ต้องย้อนกลับไปก่อนที่เราจะมีวันนี้ อย่างที่เคยบอกว่าเราอยากทำ CGI เพราะผมเชื่อว่ามันจะมาแทนการถ่ายรูปและรีทัช แต่ว่าในช่วงสิบปีแรกมันเป็นช่วงที่เราไม่มีคนที่มีความรู้ความเข้าใจพอ ผมมีแค่ความเชื่อว่ามันจะมา แต่สกิลเราก็ยังไม่มี เครื่องไม้เครื่องมือ คอมพิวเตอร์ก็ยังไม่เร็วพอ เราก็แค่สร้างทีมทดลองทำ ในขณะที่เรากำลังทดลองก็มีลูกค้าที่ให้โอกาสเราได้ลองทำก็คือ พี่ป้อม–กำพล ลักษณะจินดา ที่ Ogilvy Bangkok สมัยก่อนยังเป็นลักษณะแบบใช้ความสนิทสนม คือพอเราเห็นว่ามีไอเดียแบบนี้ก็เสนอว่าน่าจะลองใช้ CGI ไหม ก็ลองทำกันมา เดี้ยงบ้าง ถูกด่าบ้าง พอช่วงแรกที่มันเดี้ยงเขาไม่กล้าใช้

“จนสักประมาณปี 2008-2009 ผมเริ่มกลับมาแล้วก็บอกว่า ผมเริ่มทำได้แล้วนะ พี่เขาก็ให้โอกาสแล้วก็ทดลองทำกันมา โดยเริ่มทำงานที่มันเป็นงาช้างแกะของ WWF ที่ทำให้โอกิลวี่ แล้วงานชิ้นนี้เองที่ทาง JWT เซี่ยงไฮ้ทำออกมาเป็นเรเฟอเรนซ์ตอนทำงาน Samsonite ที่สร้างชื่อให้เรา มันมีสเตปที่ซัพพอร์ตซึ่งกันและกัน 

“สุดท้ายพอเราเริ่มขยับไกลขึ้น เราก็เริ่มทดลองทำอะไรทุกอย่างกับโอกิลวี่ กับพี่ป้อม กำพล คือเติบโตมาด้วยกัน ในความหมายว่า เขาให้โอกาสเราในการที่จะเรียนรู้ว่า เราใช้ CGI ในการทำงานซัพพอร์ตไอเดียเขาได้ไหม เขามองเราเป็นพาร์ตเนอร์ เราก็มองเขาเป็นพาร์ตเนอร์ คือเรามีโปรดักต์ใหม่เราก็ไปนำเสนอว่า solution แบบนี้น่าสนใจไหม แล้วก็ลองกันมา

“จริงๆ ลูกค้าที่ดีสำหรับเรา ข้อแรกคือยอมจ่ายเราในราคาที่เหมาะสม เพราะผมถือว่านี่คือการ respect กัน ข้อที่สองก็คือจ่ายตรงเวลา แต่ในเมืองไทยมันก็ยากนิดหนึ่งเพราะมันเป็น B2B แต่พูดถึงโอกิลวี่มันคือข้อที่สาม นั่นคือร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา ที่ Illusion มีวันนี้ ถ้าถามว่ามองย้อนกลับไปใครเป็นคนสร้างเราขึ้นมา ใครเป็นคนที่ให้โอกาสเรามากที่สุด ใครทำให้เราลืมตาอ้าปาก กล้าที่จะเสนอ CGI เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง คำตอบก็คือโอกิลวี่”

ทำไมหุ้นของ Netflix จึงขึ้น สวนทางกับผู้ใช้บริการที่ลดลงกว่าล้านคน และโจทย์ใหญ่ที่รออยู่ของ Netflix

เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาเราได้เห็นข่าวใหญ่ ๆ ในวงการเทคโนโลยีหลายอย่างมาก ตั้งแต่การเปิดตัวของ Nothing Phone (1) ที่ขายดีมาก ข่าวอีลอน มัสก์ ตัดสินใจไม่เข้าซื้อ Twitter แล้ว หรืออย่างการอัพเดตฟีดของ Facebook ให้กลายเป็นสองส่วนในอนาคตที่จะมาถึงเพื่อรับมือกับการเติบโตของ TikTok

แต่ข่าวหนึ่งที่หลายคนอาจจะพลาดไปหรือไม่ค่อยมีคนพูดถึงนักคือเรื่องของจำนวนผู้ใช้งานของ Netflix ที่ลดลงไปเกือบหนึ่งล้านคนในไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งถ้ายังจำกันได้ช่วงไตรมาสแรกต้นปีที่จำนวนผู้ใช้งานลดลงไป 2 แสนคน ตอนนั้นหุ้นบริษัทตกไปถึง 37% หลังจากประกาศข่าวนี้ออกมา

แต่ครั้งนี้ต่างออกไป จำนวนผู้ใช้งานลดลงไปถึงกว่าล้านคนหรือเกือบ 5 เท่าของไตรมาสแรก ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งไตรมาสที่มีจำนวนผู้ใช้ลดลงเยอะที่สุดในประวัติศาสตร์ของบริษัท ทว่าการลดลงนี้กลับสวนทางกับหุ้นของ Netflix ที่ขยับขึ้นมาเรื่อยๆ มาตั้งแต่เดือนที่แล้วกว่า 25% และพอข่าวออกก็ไม่ได้กระทบอะไรเลย

คำถามสำคัญคือทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?

หากดูเพียงตัวเลข 1 ล้านคน เทียบกับจำนวนตัวเลข 2 แสนคนอย่างเดียว มันก็คงถือเป็นข่าวร้ายมากๆ แต่ถ้าเรามองบริบทโดยรวมแล้ว ตัวเลข 1 ล้านคนนั้นถือว่าน้อยกว่าที่ Netflix คาดการณ์เอาไว้ก่อนหน้านี้ว่าจำนวนสมาชิกมีโอกาสลดลงอย่างน้อย 2 ล้านคนในไตรมาสนี้ เพราะฉะนั้นแผลเลือดออกที่บริษัทและนักลงทุนคาดคิดเอาไว้ไม่ได้เลวร้ายเท่าที่คิด เพราะน้อยกว่าที่คาดเอาไว้ถึง 50% เลยทีเดียว

ที่หุ้นขึ้นก็เพราะโล่งใจว่ามันไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด จำนวนผู้ใช้งานที่ลดลงน้อยกว่าที่คาดการณ์ ซึ่งถือเป็นข่าวดีในภาพใหญ่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า Netflix จะกลับมาแข็งแกร่งได้ในเร็ววันนี้หรอกนะครับ ยังคงมีปัญหาก้อนใหญ่ที่ต้องเผชิญต่อไป เพราะอย่างที่บอกไปว่าการลดลงเกือบล้านคนนี้เป็นการลดลงที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ 25 ปีของบริษัทสตรีมมิงยักษ์ใหญ่ของโลก

เนื้อหาส่วนใหญ่ในรายงานไตรมาสที่สองของบริษัท คือการแสดงจุดยืนของบริษัทว่าตอนนี้พวกเขาทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น กำลังเร่งแก้ไขในส่วนต่างๆ ทั้งลดค่าใช้จ่าย ปลดพนักงานหลายส่วน จำกัดงบการสร้างคอนเทนต์ และชะลอการจ้างงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แถมยังบอกด้วยว่าในไตรมาสสามพวกเขาน่าจะมีโอกาสได้สมาชิกเพิ่มขึ้นประมาณ 1 ล้านคนด้วย พร้อมทั้งยังบอกอีกว่าจะหาโมเดลการสร้างรายได้แบบอื่นๆ เพื่อชดเชยและเสริมความแข็งแกร่งให้บริษัทในเร็ววันนี้

สำหรับคนที่ถือหุ้น Netflix อยู่คงเริ่มอุ่นใจมากขึ้นอีกนิดหน่อย

ล่าสุดเราเห็น Netflix กำลังจับมือกับ Microsoft เพื่อร่วมทำระบบโฆษณาบนคอนเทนต์ใน Netflix ซึ่งข่าวก็บอกว่าที่ดีลนี้เกิดขึ้นได้ก็เพราะว่า Microsoft สัญญาว่าจะไม่ทำธุรกิจสตรีมมิงแข่ง (ต่างจากกูเกิลที่มียูทูบ) คาดว่าจะลองเปิดตัวฟีเจอร์การดูคอนเทนต์แบบมีโฆษณาติดมาด้วยในหลายๆ ตลาดช่วงต้นปี 2023

การปรับตัวตรงนี้ของ Netflix แสดงให้เห็นถึงสัญชาตญาณเอาตัวรอดของบริษัทเช่นกัน เพราะอย่างที่หลายคนทราบดีว่าพวกเขาหลีกเลี่ยงที่จะมีโฆษณามาโดยตลอด อาจจะด้วยหลักการหรืออะไรก็ตาม แต่ตอนนี้เริ่มเห็นแล้วว่าถ้ามันมีออพชั่นแบบนี้มาให้ลูกค้าเลือก ดูคอนเทนต์แบบมีโฆษณาคั่นและดูได้ฟรีหรือเสียเงินเล็กน้อย อาจดึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ให้เข้ามาลองใช้งานได้ แม้รายได้อาจจะไม่เยอะเท่ากับสมาชิกแบบจ่ายเงิน ก็ยังดีกว่าที่สมาชิกหายไปเรื่อยๆ ทุกไตรมาสอยู่ดี

อีกเรื่องหนึ่งที่ Netflix กำลังโฟกัสอย่างหนักคือการ ‘ตั้งตี้’ หรือการแชร์พาสเวิร์ดบัญชีเดียวเข้าหลายเครื่อง หลายคน หลายบ้าน จากการประเมินพบว่ามีประมาณ 100 ล้านเครื่องที่เข้าชมโดยการแชร์รหัสจากคนอื่น ซึ่งนี่เป็นเรื่องใหญ่ที่บริษัทเองก็พอทราบมาก่อนหน้านี้แล้ว เพียงแต่ไม่ได้โฟกัสจริงจังเพราะจำนวนสมาชิกยังคงเติบโตอยู่ แต่วิกฤตตอนนี้ที่มีคู่แข่งอยู่รอบด้าน ทำให้พวกเขาต้องกลับมาอุดรอยรั่วตรงนี้ก่อนเพื่อให้แน่ใจว่าการเติบโตต่อไปในอนาคตจะเป็นผู้ใช้งานที่สร้างรายได้ให้พวกเขาอย่างแท้จริง

ตอนนี้ทางแก้ที่กำลังถูกทดสอบมีอยู่สองอย่างคือหนึ่งสมาชิกสามารถเพิ่ม ‘เพื่อน’ หรือคนอื่นเข้ามาในบัญชีของตัวเองได้ และสองสมาชิกสามารถเพิ่ม ‘บ้าน’ หรือสมาร์ตทีวีที่อยู่ที่บ้านมาบนบัญชีของตัวเองได้ ซึ่งค่าใช้จ่ายอยู่ที่ราวๆ 2.99 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน

ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าเรามีบัญชี Netflix อยู่แล้ว อยากเพิ่มเพื่อนเข้ามาคนหนึ่ง และเพิ่มทีวีบ้านญาติอีกเครื่องก็ต้องจ่ายเพิ่มเดือนละ 5.98 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 200 บาท จากรายเดือนที่เราจ่ายอยู่แล้วปกติ (ซึ่งราคาไทยต้องรอประกาศอย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง) ซึ่งนี่ก็เป็นวิธีหารายได้จากคนที่แชร์พาสเวิร์ดให้คนอื่นนั่นเอง

อีกการเปลี่ยนแปลงหนึ่งที่เราน่าจะเห็นมากขึ้นคือการหันมาพึ่งพาคอนเทนต์ของตัวเองมากขึ้นกว่าแต่ก่อน Netflix มีบทเรียนที่เจ็บปวดกับดิสนีย์มาแล้ว หลังจากที่จับมือทำงานร่วมกันมานานหลายปี เมื่อดิสนีย์ออกมาทำสตรีมมิงของตัวเองและถอดคอนเทนต์ทุกอย่างออกจาก Netflix ทั้งหมดก็ทำให้จำนวนผู้ใช้งานหายไปไม่น้อย

การลดลงของจำนวนสมาชิกสองไตรมาสติดต่อกันทำให้ Netflix เริ่มหันกลับมาตาสว่างอีกครั้งหนึ่ง แม้ว่าตอนนี้ยังเป็นบริการสตรีมมิงเจ้าใหญ่ที่สุด มีจำนวนสมาชิกกว่า 220 ล้านคนก็ตาม นักลงทุนเห็นแล้วว่าทุกอย่างสามารถเกิดขึ้นได้ เจ้าอื่นๆ ที่อยู่ในตลาดก็มีจุดเด่นในแต่ละด้านของตัวเอง สามารถดึงสมาชิกไปจาก Netflix ได้ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นต่อจากนี้สงครามสตรีมมิงจะยิ่งลุกเป็นไฟมากยิ่งขึ้น ยุคสมัยแห่งความรุ่งเรืองของ Netflix อาจจะจบลงไปแล้ว การคาดหวังให้จำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นทุกไตรมาสคงไม่มีทางเป็นไปได้อีกต่อไป

ความสะดวกในการสมัครและยกเลิกสมาชิกเองก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ Netflix ต้องพยายามแก้ไข บางคนสมัครเพียงเดือนเดียวเพื่อดูโชว์ที่ตัวเองต้องการแล้วก็ยกเลิก เมื่อไหร่มีโชว์ที่อยากดูก็ค่อยสมัครใหม่อีกครั้ง

เทคนิคหนึ่งที่เราเห็น Netflix ได้ลองทำแล้วประสบความสำเร็จมากในช่วงที่ผ่านมาคือการดึงเกมในการปล่อยซีรีส์อย่าง Stranger Things Season 4 ที่ได้เสียงตอบรับดีมาก จากเมื่อก่อนที่ Netflix จะปล่อยทุกตอนออกมาทีเดียว สร้างกระแสให้ดังสนั่นไปเลยในคราวเดียว ตอนนี้พวกเขาปล่อยออกมาทุกตอนยกเว้นตอนสุดท้าย ให้คนได้พูด ได้เขียน ได้เล่า สร้างกระแสออนไลน์ให้ยาวไปเรื่อยๆ แล้วค่อยปล่อยตอนสุดท้ายออกมาจบทีหลัง ซึ่งก็ประสบความสำเร็จมาก กลายเป็นซีรีส์ที่คนดูไปแล้วกว่า 1,300 ล้านชั่วโมงทั่วโลก ติดอันดับท็อปโชว์หลายสัปดาห์

แต่ถึงอย่างไร สำหรับคนที่เป็นแฟนของ Netflix และติดตามออริจินอลคอนเทนต์มานานพอจะทราบดีว่าช่วงที่ผ่านมานั้นปริมาณของคอนเทนต์บน Netflix หลากหลายมากขึ้นก็จริง แต่ซีรีส์คุณภาพอย่าง Stranger Things, Squid Game, The Crown, Orange Is the New Black หรือ Ozark ก็นานทีกว่าจะมีสักเรื่อง ซีรีส์ระดับ A+ หายากขึ้น ซึ่งนี่ก็เป็นอีกปัจจัยที่คนสมัครเพื่อดูโชว์ดีๆ จึงเลิกสมัครเพื่อไปอยู่กับสตรีมมิงที่เป็นคู่แข่ง เพราะฉะนั้นถ้า Netflix ตัดงบประมาณในการสร้างคอนเทนต์ของตัวเอง ก็อาจทำให้การแข่งขันในมุมนี้อาจจะไม่ได้แข็งแกร่งเหมือนเดิมอีกต่อไป ซึ่งเป็นอีกโจทย์ที่สำคัญ

การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องของธรรมชาติ เกิดมา ตั้งอยู่ และถ้าไม่ดับไปเสียก่อนก็ต้องพยายามดิ้นรนกันต่อไป Netflix ก็เหมือนทุกอย่างบนโลกใบนี้ นักลงทุนคงไม่สามารถคาดหวังว่าจำนวนสมาชิกจะเติบโตไปได้ทุกไตรมาส สุดท้ายแล้วก็ต้องถึงจุดอิ่มตัว การปรับตัวให้อยู่รอดและเพิ่มช่องทางอื่นให้ธุรกิจได้เติบโต (อย่างโฆษณา) อาจจะเป็นทางเลือกที่ดีก็ได้

จำนวนสมาชิกที่ลดลงไปหนึ่งล้านคนในไตรมาสนี้อาจจะถือเป็นข่าวดี ให้ Netflix ได้หายใจหายคอกันเล็กน้อย ถ้าเปรียบเรื่องราวของ Netflix เป็นซีรีส์สักเรื่องหนึ่ง ตอนนี้คือตอนจบของซีซั่นที่ปะทะบอสเรียบร้อย รอดตาย เติบโต แต่ก็มีแผลเลือดออกติดตัวไปไม่น้อย แต่เราก็ทราบดีว่าพอเปิดซีซั่นหน้า พวกเขาต้องแกร่งกว่าเดิม เพื่อสู้กับปัญหาใหญ่ที่ยังรออยู่และดูเหมือนว่าจะท้าทายมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ

เรื่อง : โสภณ ศุภมั่งมี

อ้างอิง

ทางหมื่นลี้ของห้างใบชาลิ้มเมี่ยกี่ ตราสิงห์ม้า กับวิทยายุทธไร้กระบวนท่าที่ทำชามา 108 ปี

ว่ากันว่าคนไทยชอบเดินห้าง แต่คุณเคยเดินห้างใบชาหรือยัง

ณ ห้องแถวซอยเท็กซัส เยาวราช ที่ตรงนี้ย้อนกลับไปในยุคที่เยาวราชเป็นย่านการค้าหลัก คือจุดเริ่มต้นของห้างใบชาลิ้มเมี่ยกี่ ตราสิงห์ม้า กิจการชายุคแรกเริ่มในไทยที่ประสบความสำเร็จในการค้าปลีกและส่งชาทั่วประเทศตั้งแต่ยุคเสื่อผืนหมอนใบ เป็นต้นตำรับของชาหลายชนิด

หากเคยดื่มชาตราดอกบ๊วย น้ำเต้าเขียวเด็กคู่ ใบทอง ต้าหงเผา ตราสิงห์ นกอินทรีย์ทอง นั่นแปลว่าคุณเคยดื่มชาของห้างแห่งนี้

ห้างใบชาลิ้มเมี่ยกี่ ตราสิงห์ม้า

ในยุคสมัยที่กิจการห้างใบชาสัญชาติไทยโด่งดังกว่าแบรนด์ชาหรือกาแฟแฟรนไชส์จากเมืองนอก เรื่องราวเบื้องหลังร้านชาแห่งนี้ไม่ใช่แค่ภูมิปัญญาความรู้เกี่ยวกับชาแต่เป็นกลยุทธ์การทำธุรกิจไร้กระบวนท่าที่มีเสน่ห์

ทั้งการทำการตลาดสไตล์กงสีที่แตกต่างจากการทำแบรนด์ยุคปัจจุบัน การขยายกิจการให้โตทั่วประเทศด้วยรถไฟ ขายชาด้วยสิ่งพิมพ์แค็ตตาล็อก ไปจนถึงกำลังภายในของคนทำธุรกิจครอบครัว

แมค–วัชรพงศ์ เหลืองอรุณศิริ และ ออย–ณภัทชา ภามโนดมผล ทายาทรุ่น 5 เป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่ที่ไม่ได้ลงคอร์สในห้องเรียนธุรกิจติดแอร์แต่กลับมาเรียนรู้ศาสตร์ธุรกิจจากครอบครัวและสุดยอดเคล็ดลับคือเอกลักษณ์การอบชาแบบดั้งเดิมที่ทำให้ชาตราสิงห์ม้าไม่เหมือนใครและอยู่มาได้จนถึงทุกวันนี้

มาฟังทั้งสองคนเล่าเรื่องราวย้อนกลับไปในยุคสมัยของทายาทรุ่นก่อนไปจนถึงรุ่นบุกเบิกว่าการทำกิจการชาตั้งแต่ยุคแรกเริ่มนั้นเหมือนและแตกต่างจากตำราธุรกิจยังไงบ้าง

ห้างใบชาลิ้มเมี่ยกี่ ตราสิงห์ม้า

หนีระเบิด เกิดเป็นห้างใบชา

ในขณะที่นักธุรกิจและคนรุ่นใหม่ยุคนี้เครียดกับวิกฤตเศรษฐกิจและการปรับตัวให้ทันโลกอยู่เสมอ วิกฤตของ young entrepreneur เมื่อร้อยปีที่แล้วคือหนีสงคราม

พ.ศ. 2457 ผู้ก่อตั้งแซ่ลิ้ม หรือเหล่าโจ๋วกงของทายาทรุ่น 5 ชาตราสิงห์ม้าในปัจจุบันต้องบอกลาครอบครัวที่เมืองเจี๋ยหยาง (揭阳/ เก๊กเอี้ย) มณฑลกว่างตง (广东/กวางตุ้ง) ตั้งแต่วัยรุ่น อพยพมาก่อตั้งกิจการค้าใบชาในไทยพร้อมนำวิชาความรู้ติดตัวที่ได้จากตระกูลค้าใบชาที่จีนมาด้วย

Start small! เหล่าโจ๋วกงไม่ได้สอนแต่ทำทิ้งไว้ให้ดู

เริ่มจากหาบใบชาและยาสูบเร่ขายตามชุมชนและถนน เก็บหอมรอมริบจนมั่นใจว่ามีเงินลงทุนและได้กระแสตอบรับที่ดีจากลูกค้า เห็นโอกาสขยับขยายทางธุรกิจ จึงชักชวนญาติพี่น้องมาช่วยกันเปิดหน้าร้าน ห้างใบชาลิ้มเมี่ยกี่ ตราสิงห์ม้าจึงถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2475 เปิดร้านแรกที่เสือป่าก่อนย้ายมารุ่งทรัพย์ที่เยาวราช

ต่อมาเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาใน พ.ศ. 2485-2488 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ระเบิดตกที่โกดังทำชา สินค้าและอุปกรณ์ทำชาทั้งหมดเสียหายจึงย้ายร้านมาที่ซอยเท็กซัส เยาวราชซึ่งเป็นตำแหน่งร้านในปัจจุบัน

เปิดห้างยังไงให้ปัง

ยุคสมัยก่อนลูกหลานคนจีนโตมากับชา มีวัฒนธรรมชงชากินเองที่บ้าน ตื่นเช้ามาชงชากาใหญ่ ผู้คนนิยมเดินทางมาซื้อหน้าร้าน ใครอยากซื้อชาต้องนึกถึงเยาวราช ซึ่งถือเป็นใจกลางย่านการค้าสมัยก่อนที่คนเดินทางไปมาสะดวก

Right timing, right location! คือหลักเปิดธุรกิจสุดคลาสสิกที่ใช้ได้ทุกสมัย

บรรยากาศห้างใบชาลิ้มเมี่ยกี่ขนาด 2 คูหาที่เปิดถูกที่ถูกเวลาในยุคสมัยที่วัฒนธรรมการดื่มชาเฟื่องฟูแต่ยังไม่มีร้านชาในไทยเยอะมากนัก จึงมีคนแน่นขนัดเหมือนห้างสรรพสินค้าช่วงลดราคาในทุกวันนี้

หากมา ‘เดินห้างใบชา’ จะได้กลิ่นชาหอมอบอวลทันทีที่ย่างก้าวเข้ามา ความหอมของชานี้เป็นเอกลักษณ์ของชาสิงห์ม้า ซึ่งมีชาหลากหลายแบบให้เลือกสมชื่อเรียกกิจการว่าห้างใบชา ทั้งชาไทยสำหรับชงชาเย็น ชามะนาว ชาเขียวไทย ชาดำอย่างชาซีลอนและชาไข่มุก ชาจีนที่แบ่งออกเป็นชาสุ่ยเซียน รสเข้มข้นนุ่มชุ่มคอ ชาทิกวนอิมที่หอมและมีความเข้มข้นหลายระดับ ชาใบทั้งแบบกล่องและถุง ชาหมัก ชาแผ่นสำหรับชงร้อน ชาผงสำหรับชงเย็น

ชาแต่ละแบบยังแบ่งออกเป็นอีกหลายเกรดและรสชาติตามชนิดและกรรมวิธี พร้อมอุปกรณ์ชงชาดั้งเดิมทั้งกาน้ำชา ไก้หว่าน ฯลฯ วางเรียงรายแน่นขนัด เป็นสวรรค์ของคนรักชาที่น่าตื่นตาตื่นใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อย้อนกลับไปเมื่อเกือบร้อยกว่าปีที่แล้ว

สมัยก่อนพื้นที่ในห้างยังถูกแบ่งเป็นอุตสาหรรมทำชาขนาดเล็ก ในตึกสามชั้นมีโกดังเก็บชา ที่อบชา โรงงานอบชาที่มีเตาอบหลายแบบทั้งเตาไฟฟ้า เตาฟืน เตาถ่าน ซึ่งเป็นความลับที่ทำให้ชาหอมและเข้มข้นชุ่มคอ

โฆษณาให้ดังไกลหมื่นลี้

ด้วยเป็นครอบครัวใหญ่ ญาติพี่น้องตระกูลลิ้มซึ่งนับเป็นรุ่น 2 ของกิจการร่วมแรงร่วมใจกันทำการตลาด ขายของและหาลูกค้าใหม่ทุกวันด้วยสารพัดวิธีต่อเนื่องเป็นเวลาหลายสิบปี     

แมค ทายาทรุ่น 5 เล่าถึงการตลาดสมัยก่อนว่า “เซลส์ถือกระเป๋าหนึ่งใบ นั่งรถไฟไปต่างจังหวัด เอาแค็ตตาล็อกเข้าไปหาร้านโชห่วย” แยกย้ายกันไปหลายจังหวัดทั่วประเทศ ทำให้ขยายตลาดค้าส่งในต่างจังหวัดได้อย่างรวดเร็ว พ่วงด้วยออกโฆษณาโทรทัศน์ ออกงานที่คนเข้าร่วมล้นหลามในสมัยนั้นอย่างงานกาชาดและงานวชิราวุธเพื่อให้เป็นที่รู้จักมากที่สุด

วิชาการทำแบรนด์ 101 ของคนยุคก่อนคือ แตกแบรนด์เดียวออกเป็นหลายแบรนด์ แม้เครื่องหมายการค้าหลักคือสิงห์ม้าแต่ในแค็ตตาล็อกจะพบแพ็กเกจชาในดีไซน์คลาสสิกหลากหลายแบบภายใต้ชื่อยี่ห้อที่แตกต่างกัน ทั้งดอกบ๊วย น้ำเต้า นกอินทรีย์ทอง ตั้งชื่อตามชนิดและรสชาติของชาที่แตกต่างกันออกไป

ห้างใบชาลิ้มเมี่ยกี่ ตราสิงห์ม้า

ถ้าเปรียบกับปัจจุบัน สิงห์ม้าเป็นดั่ง house brand หรือสินค้าตราห้างนั่นเอง ส่วนชื่อตราที่แตกออกไปมากมายคล้ายแบรนด์ย่อยภายใต้ห้างหรือบริษัทนั้นๆ ตราดอกบ๊วยเป็นชาจีน ตรานกอินทรีย์ทองเป็นชาซีลอน ตราสิงห์เป็นชาผง เป็นต้น ทำให้ลูกค้าทั้งปลีกและส่งจดจำชื่อและรุ่นชาได้ง่ายจนคงเอกลักษณ์ใช้ต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้

เมื่อห้างชาเป็นที่รู้จักโด่งดังก็เชิญชวนดารามาเป็นพรีเซนเตอร์ที่ร้าน จัดลดแลกแจกแถมของสมนาคุณและของรางวัล อย่างการแจกแก้วสกรีนลายห้างใบชาลิ้มเมี่ยกี่แถมไปในกระป๋องชา ใครได้แก้วลิ้มเมี่ยกี่ไปใช้ถือเป็นคอชาที่คูล ไม่ต่างกับคอกาแฟยุคปัจจุบันที่นิยมถือแก้วสตาร์บัคส์

ห้างใบชาลิ้มเมี่ยกี่ ตราสิงห์ม้า

อบชาให้หอมหมื่นลี้กับสำนักชาสิงห์ม้า

พระเอกที่ทำให้ชาตราสิงห์ม้าอยู่ได้นานกว่าศตวรรษคือ ศาสตร์การอบชาแบบดั้งเดิม 

ออย (ทายาทรุ่น 5) เล่าว่า สมัยก่อนมีแต้ซือ หรือ ผู้เชี่ยวชาญด้านชาจีนมาถ่ายทอดความรู้ให้สมาชิกในครอบครัว ทายาทบางรุ่นอย่างอาติ่ง–วีรพล มโนดมผล ทายาทรุ่น 3 ศึกษาชาจนเชี่ยวชาญถึงขั้นเป็นแต้ซือด้วยตัวเอง 

ในขณะที่บุณณดา เตชะกัลยาณิน (ทายาทรุ่น 4) บอกว่าแต่ก่อนศึกษาชาไปเรื่อยๆ จากการช่วยผู้ใหญ่ หัวใจคือคลุกคลีอยู่กับชาจนชำนาญ ทายาทแซ่ลิ้มแต่ละรุ่นต้องฝึกชิมชาซึ่งเป็นศาสตร์ที่ละเอียดอ่อนเปรียบได้กับการชิมน้ำเปล่าให้รู้รสแตกต่างกัน “เวลาเรากินน้ำเปล่า 10 ขวด ถ้ากินเยอะจะรู้ว่าไม่เหมือนกันทั้งกลิ่นและรสชาติ” ศิลปะของชาก็เช่นกัน แต่ละคนชิมแล้วรสชาติอาจไม่เหมือนกัน จึงต้องชิมให้เยอะแล้วมาคุยกัน 

กรรมวิธีอบชาของสิงห์ม้ามีหลายวิธีทั้งเตาไฟฟ้าและเตาถ่านดั้งเดิม แต่แมคบอกว่าการอบถ่านที่อนุรักษ์มาตั้งแต่รุ่นแรกนั้นเป็นชาเกรดพรีเมียมที่สุด ทุกขั้นตอนใช้คนดูแลซึ่งต้องใช้ฝีมือ

รายละเอียดเล็กน้อยที่ส่งผลต่อรสชาติของชามีทั้งระยะเวลาอบ ความแรงและความร้อนของไฟ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้ขึ้นอยู่กับว่าต้องการให้ชาเป็นรสชาติแบบไหน ต้องลองผิดลองถูกจนรู้จริง พิถีพิถันสังเกตวิธีการวางถ่านและฟืน เก็บชาในห้องที่เหมาะสมกับรูปแบบการทำชาแต่ละแบบเพื่อให้กลิ่นหอมอบอวล คั่วใบชาให้ได้รสชาติใกล้เคียงเดิมที่สุด 

สำหรับชาจีนรุ่นดั้งเดิมจะบรรจงห่อชาด้วยมือที่ฝึกฝนการห่อนานหลายสิบปีจนเชี่ยวชาญ ใช้กระดาษพิเศษจากจีนที่ไม่มีกลิ่น เก็บใบชาที่ห่อแล้วในลังดีบุกเพื่อไม่ให้ชื้นและมีกลิ่นอับ เมื่อเปิดฝาถังชาออกมาจะได้กลิ่นหอมอบอวล

ห้างใบชาลิ้มเมี่ยกี่ ตราสิงห์ม้า
ห้างใบชาลิ้มเมี่ยกี่ ตราสิงห์ม้า

กรรมวิธีเหล่านี้ โดยเฉพาะการอบชา คือประสบการณ์กว่าร้อยปีที่สะสมบ่มเพาะจนสามารถสร้างสรรค์รสชาติเอกลักษณ์ที่ทุกวันนี้ยังคงรายละเอียดดั้งเดิมไว้ได้ เป็นตำราสืบทอดจากบรรพบุรุษที่ยากจะบันทึกเป็นขั้นตอน 1 2 3 4 ไว้ได้ทั้งหมด 

ศาสตร์ชาเหมือนวิชากระบี่ไร้กระบวนท่าที่ต้อง ‘รู้ทุกท่าจนคิดวิธีแก้ทางได้ทุกอย่าง’ แต่เดิมชามีเป็นร้อยชนิดที่แมคและออยบอกว่าคงจำไม่ได้ทั้งหมด แต่เมื่อรู้หลักการทำชาโดยคร่าวก็สามารถปรับแต่งรสชาติชาได้ตามใจชอบ เพิ่มรสเปรี้ยวนิดหวานหน่อยได้ตามต้องการ 

หากกระบี่ไร้กระบวนท่าเพราะต้องปรับไปตามคู่ต่อสู้ จะเก่งหรือไม่ขึ้นอยู่กับความเข้าใจในศาสตราและอาวุธที่หลากหลาย ชาก็ไร้กระบวนท่าเพราะปรับไปตามสิ่งที่ลูกค้าต้องการเช่นกัน การเรียนรู้ทั้งศาสตร์ชาไทยที่เติมน้ำแข็งให้หอมเข้มข้นสดชื่นและการชงชาจีนที่หอมกลิ่นควันจากการคั่วให้รสเข้มข้นชุ่มคอจึงเหมือนเรียนวิทยายุทธของชาครบจบทั้งหยินและหยาง 

แมคบอกว่าเข้ามาเริ่มศึกษาธุรกิจครอบครัวเพราะ “ถ้ายังไม่ทำอะไร อีกหน่อยเรื่องนี้จะหายไป  ต้องเรียนจากทุกทาง” คือหน้างานและผู้คน ไม่เหมือนเรียนหนังสือแต่เหมือนเรียนวิทยายุทธในสำนักชา

“คนที่รู้เรื่องชาตั้งแต่ต้นและให้เราสัมภาษณ์ได้เหลือน้อยลงทุกที เราไปคุยกับอาเจ็ก คนรุ่นก่อน แลกเปลี่ยนกับหลายคนเพราะเรายังรู้ไม่เยอะ ต้องรักษาความรู้เหล่านี้ให้สืบทอดต่อไป” แม้จะเรียนแล้วยาก แต่อยู่ที่ใจ “ถ้าใส่ใจและให้เวลากับมันเพียงพอ ก็ไม่เกินความสามารถ”

ห้างใบชาลิ้มเมี่ยกี่ ตราสิงห์ม้า

วิทยายุทธตั้งชื่อชา    

สำหรับคนนอกวงการชาอาจรู้สึกว่าร้านชาเข้าถึงยาก เฉพาะชาจีนสุ่ยเซียนก็แบ่งชาออกเป็นหลายเกรดที่ชื่อคล้ายกันมากมายอย่าง ต้นเก่า เก่าจริง เก่าเกรดที่หนึ่ง เกรดดี ชื่อในภาษาจีนก็ออกเสียงคล้ายกัน มีทั้ง เจี้ยจี่ เกาจี่ หยีจี่ ปิ่งจี่ เจินจี่ 

แมคที่เป็นคนรุ่นใหม่จึงหาทางเล่าเรื่องชาให้เข้าใจง่ายมากขึ้นด้วยการทำเมนูที่เรียงสเกลความเข้มข้นของรสและความหอมของชาเพื่อให้ลูกค้าเลือกได้ง่ายขึ้น

รวมทั้งแปลชื่อชาจีนบางชนิดจากภาษาจีนแต้จิ๋วเป็นชื่อไทยที่คนจำง่าย “สมัยก่อนไม่มีคำพวกนี้ เราเอามาแปลเป็นไทยตรงตัวอย่างกุญแจทอง น้ำเต้าเพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงได้ง่ายขึ้น” 

การตั้งชื่อชาเป็นทั้งวิธีการบรรยายสรรพคุณและการตลาดของคนจีนตั้งแต่โบราณแล้ว คนสมัยก่อนมักนำเรื่องเล่าและนิทานมาตั้งเป็นชื่อชา การเข้าใจความหมายของคำจึงทำให้เข้าใจที่มาของชาไปด้วย

ห้างใบชาลิ้มเมี่ยกี่ ตราสิงห์ม้า

ตัวอย่างเช่น ชาจักรพรรดิมาจาก ในอดีตจักรพรรดิจีนไม่สบายเลยไปเด็ดชาจากยอดเขา พอดื่มแล้วร่างกายหายเจ็บป่วย ทำให้ชาเป็นที่เลื่องลือว่าสามารถดื่มเพื่อล้างพิษหรือรักษาสุขภาพได้ หากเลือกชาจากยอดเขาโดยเฉพาะก็จะยิ่งมีมูลค่าสูงที่มีสรรพคุณบำรุงร่างกาย ดั่งได้ดื่มชาเหมือนจักรพรรดิ

ส่วนชาไม่รู้ฤดูใบไม้ ผลิมาจากเรื่องเล่าว่าชาชนิดนี้จะงอกหลังฤดูใบไม้ผลิเท่านั้น ต้องสังเกตจุดสิ้นสุดของฤดูแล้วเก็บให้ทัน

เพราะชามีความหมาย ผู้คนจึงนิยมให้ชาเป็นของขวัญกันตั้งแต่ยุคก่อน ด้วยห้างใบชาลิ้มเมี่ยกี่สืบสานการห่อชาแบบดั้งเดิมมานาน แมคจึงทำห่อชาเป็นเซตของขวัญที่ผูกกับหลักฮวงจุ้ย จับคู่ชาแต่ละคาแร็กเตอร์กับธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ เพื่ออวยพรคนทั้ง 5 ธาตุ ตั้งชื่อว่าเซต 5 มงคล

ชาจักรพรรดิแทนธาตุดิน ชากุญแจทองที่มีรสหนักสีเข้มแทนธาตุทอง ชาขาวเข็มเงินที่รสเบา กลิ่นหอม ดื่มง่าย แทนธาตุน้ำที่เป็นคนสบายๆ ส่วนชามังกรดำมีกลิ่นคั่วจากถ่านไม้แทนธาตุไม้

การตั้งชื่อและเล่าเรื่องชาเหล่านี้สามารถทำเองง่ายๆ สไตล์ธุรกิจขนาดเล็ก แต่กว่าจะจรดจดคำเป็นชื่อชาและรวบรวมเป็นคอนเซปต์ให้เป็นเรื่องง่ายแบบนี้ได้ต้องศึกษาจนรู้จริงอย่างละเอียดให้ได้ก่อน

ห้างใบชาลิ้มเมี่ยกี่ ตราสิงห์ม้า

มาตรฐานในวันวานและวันนี้  

ความท้าทายของธุรกิจเก่าแก่กว่าร้อยปีคือการคงมาตรฐานเดิมและสร้างมาตรฐานใหม่  

มาตรฐานเดิมคือทำยังไงให้ดีเท่าเดิม

ออยบอกว่ากาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้คุณภาพชาจากต้นทางไม่เหมือนเดิม 

“ชาแต่ละตัวที่มาจากจีนไม่เคยเหมือนกันเลย การคงสิ่งเดิมให้คุณภาพเท่าเดิมหรือดีกว่าเดิมก็เป็นเรื่องยากมากแล้ว”

พอดินฟ้าอากาศเปลี่ยน ผลผลิตและรสชาติย่อมเปลี่ยนตามแต่ลูกค้าที่ดื่มชามายาวนานย่อมคาดหวังชาสเปกเดิม “ความยากคือความดั้งเดิม ถ้าเป็นเครื่องจักร เรากดสั่งได้ แต่ของเราเป็นศาตร์และศิลป์ เราเอาวัตถุดิบจากธรรมชาติมาทำ เลยกำหนดธรรมชาติไม่ได้ว่าจะต้องเป็นแบบเดียวกันทุกครั้ง” สิ่งที่ทำได้คือพยายามทำให้ใกล้เคียงแบบเดิมที่สุด 

มาตรฐานใหม่คือทำยังไงให้ปรับไปตามโลกได้  

โลกต้องการสร้างมาตรฐานใหม่เพิ่มขึ้นทุกวัน เช่น มีกฎหมายควบคุมความสะอาดเพิ่มเติมจากยุคเสื่อผืนหมอนใบ ลูกค้าโรงงานเจ้าประจำอยากได้คุณภาพที่มั่นคงซึ่งแมคบอกว่า

“ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน สิ่งที่ปรับมาเยอะคือ มาตรฐานการผลิต เราไม่เหมือนสมัยก่อนในเรื่องมาตรฐานแต่กระบวนการยังคงแบบเดิม”

ห้างใบชาลิ้มเมี่ยกี่ ตราสิงห์ม้า

ทั้งนี้แพ็กเกจของห้างใบชาลิ้มเมี่ยกี่ตราสิงห์ม้ายังคงชื่อแบรนด์และกลิ่นอายดีไซน์จากสมัยก่อนด้วย แต่ปรับรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ในบางรุ่น จากกระป๋องชาไทยยุคดั้งเดิมที่ทำให้ขนส่งยากและราคาแพงในยุคปัจจุบัน ก็เปลี่ยนเป็นซองเพื่อให้ขนส่งปริมาณเยอะได้สะดวกขึ้น

มาตรฐานใหม่ยังรวมถึงการสร้างสิ่งใหม่ที่ต้องปรับไปตามยุคสมัยด้วย จากฐานกลุ่มลูกค้าต่างจังหวัดที่ขายมายาวนานจนเป็นที่รู้จักแล้วก็ขยายมาโปรโมตในกรุงเทพฯ มากขึ้น เพิ่มช่องทางขายออนไลน์ตามยุคสมัย เพิ่มสินค้ารุ่นใหม่  

แมคสังเกตเห็นว่า “คนที่ชอบดื่มชาดอกบ๊วยก็ยังมีอยู่มาก แต่มีคอชากลุ่มใหม่ขึ้นมาอย่างวัยรุ่นที่ชอบชาผลไม้ รุ่นเราเลยทำชาพีชออกมา เราผสมใบชาเอง คั่วชาเอง ทำได้เองหมดเลย ทำให้พัฒนาชารสใหม่จากสิ่งที่เรามีอยู่แล้วได้” การทำชาขึ้นอยู่กับคนผลิต ส่วนความต้องการสินค้าต้องสังเกตจากลูกค้า

ห้างใบชาลิ้มเมี่ยกี่ ตราสิงห์ม้า

กำลังภายในของทายาทบู๊ลิ้ม
ที่ทำธุรกิจอยู่กับปัจจุบัน

ในฐานะคนรุ่นใหม่ที่เคยทำงานประจำในบริษัทมาก่อนทำธุรกิจครอบครัว แมคบอกว่า

“เราเคยคิดว่าเราเก่งจนพอมาทำธุรกิจถึงพบว่ามันต่างกัน ในแง่ความทุ่มเทและใจที่เราลงไป เราเคยคิดว่าเราทำได้แค่นี้ แต่ความจริงเราทำได้มากกว่านั้นเยอะ ไม่มีใครบอกว่าให้ทำยังไง เราต้องดูแลทั้งหมด ทุกอย่างเกิดจากใจ ลงมือลงแรงด้วยตัวเอง ไม่ได้มีหลักสูตรเรียน”

“บางทีเรามองว่าสิ่งที่คนรุ่นก่อนทำมันเก่า แต่จริงๆ แล้วมันไม่ได้เก่า มันมีคุณค่า สิ่งที่เขาทำคือ the best at that time แล้วในตอนนั้น สิ่งที่เราทำ คือ the best ของเราในเวลานี้เหมือนกัน เราจะเอาสิ่งที่มีมาใช้ยังไงให้เหมาะกับเวลาและพื้นฐานของเรามากกว่า”

กาลเวลาผ่านไปกว่า 100 ปีจากวันที่เหล่าโจ๋วกงของทายาทรุ่น 5 ก่อตั้งกิจการชา บุณณดาบอกว่า “ไม่ค่อยกังวลกับกิจการชาที่เปิดใหม่เพราะค้าขายกันคนละแนว  ชามีหลายชนิดและปรุงแต่งได้หลายแบบ เป็นทางเลือกหลากหลายให้คนดื่มชาได้หลายแนว”

นอกจากต่อยอดจากคนรุ่นก่อน หนุ่มสาวทายาทรุ่น 5 ยังบอกว่าอยากต่อยอดกับกิจการอื่นในเยาวราชแถวนี้ด้วย “เรามองว่ากิจการเรามีเรื่องเล่าและความเชี่ยวชาญด้านชา ธุรกิจและคาเฟ่อื่นๆ ก็มีความเชี่ยวชาญในวัตถุดิบที่ต่างกัน มองว่าสามารถแลกเปลี่ยนให้เกิดเมนูใหม่ร่วมกันได้” 

ศาสตร์ของชาไม่ใช่แค่ปลายทางที่ได้ดื่มชาแต่รวมถึงกระบวนการชงที่แมคบอกว่า “เวลาดื่มชาเหมือนได้กลับมาอยู่กับตัวเอง” คล้ายการทำธุรกิจที่ไม่ใช่แค่ปลายทางแต่เป็นเรื่องระหว่างทางที่มีความหมาย 

จิบชาแล้วจดบทเรียนจากแมค ทายาทรุ่น 5 ในวันนี้ไว้ว่า 

“เราเรียนรู้ว่าคนรุ่นก่อนทำอะไรมาเยอะกว่าที่เราคิด การที่เขาไม่ได้พูดไม่ได้หมายความว่าไม่ได้ทำ แต่ให้โอกาสเราทำ ถ้ายังไม่พร้อมเปลี่ยนแปลงทันที ยังไม่พร้อมลงทุนมาก ลองไปดูก่อนว่าสิ่งที่คนรุ่นก่อนทำมา เขาทำไปเพื่อจุดประสงค์อะไรและจะปรับกับเราได้ยังไงบ้าง แล้วใช้สิ่งที่เรามีสู้กับปัจจุบัน”

“ลองเข้าไปดูแล้วจะรู้ว่าผ่านอะไรมา”

ห้างใบชาลิ้มเมี่ยกี่ ตราสิงห์ม้า

7 เบื้องหลังการตั้งชื่อโรงแรมตามชื่อเมืองและสถานที่ยอดฮิตจนใครได้ยินก็อยากไปเที่ยว

อยู่กับโรคระบาดมาหลายปี พอเปิดประเทศทีคนรอบตัวก็วาร์ปไปต่างประเทศกันเก่งมาก แต่สำหรับใครที่ยังไปไหนไม่ได้ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร เราอยากชวนวาร์ปไป ‘เมืองนอก’ ที่ตั้งอยู่ในไทย, พูดให้ถูกก็คือวาร์ปไปโรงแรมที่ตั้งชื่อตามเมืองหรือสถานที่ยอดนิยมกัน

ไม่ใช่แค่โรงแรมเหล่านี้ชื่อน่าฉงนที่ฟังแล้วก็ต้องสงสัย หรือมีไวบ์สที่ให้ความรู้สึกเหมือนได้ไปเที่ยวที่เมืองนอก ทว่าทุกโรงแรมที่เราขออนุญาตหยิบมาแนะนำครั้งนี้ยังมี ‘ของดี’ และ ‘ทีเด็ด’ ที่หลายคนอาจนึกไม่ถึง อย่างโรงแรมฟลอริดามีซี่โครงหมูย่างที่อร่อยมาก หรือโรงแรมไมอามี่มีสระว่ายน้ำสวยที่เคยไปปรากฏในหน้านิตยสาร เอ็มวีของ อิ้งค์ วรันทร ไปจนถึงซีรีส์เน็ตฟลิกซ์!

ทำไมโรงแรมเก่าแก่หลายที่จึงตั้งชื่อตามเมืองหรือสถานที่ยอดนิยม และทีเด็ดที่ว่าของแต่ละโรงแรมจะชวนให้ไปเยี่ยมเยียนได้ขนาดไหน คอลัมน์ Brand Name ขอพาไปหาคำตอบ

โรงแรมไมอามี่

โรงแรมสไตล์ mid century vintage ในย่านสุขุมวิท เจ้าของสระว่ายน้ำสุดไอคอนิกที่มีคำว่า MIAMI เด่นหราบนพื้นกระเบื้อง ซึ่งหลายคนอาจคุ้นตาในหน้านิตยสาร เอ็มวีเพลงเหงา เหงาของอิงค์วรันทร ไปจนถึงซีรีส์เน็ตฟลิกซ์เรื่อง The Serpent

ไมอามี่โฮเต็ลก่อตั้งในปี 2508 โดยคุณบัญชาและคุณมาลี แซ่ตั้ง (ตัณศิริชัยยา) สองสามีภรรยาชาวจีนที่แรกเริ่มทำกิจกรรมสามล้อถีบมาก่อน กระทั่งรัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ออกประกาศให้ยกเลิกใช้สามล้อเพื่อปรับภาพลักษณ์การคมนาคมไทย สองสามีภรรยาจึงมองหาธุรกิจใหม่และมาจบที่โรงแรมในที่สุด ด้วยเหตุผลที่ไม่ต่างจากโรงแรมอื่นๆ ในสมัยนั้น คือเปิดเพื่อต้อนรับทหารจีไอที่ยกพลกันเข้ามาตั้งฐานทัพ

เพราะต้องฮัลโหลเวลคัมคนอเมริกัน ชื่อโรงแรมก็ต้องตั้งให้คุ้นหูคนอเมริกันและเจ้าบ้านคนไทย เผอิญว่าปีนั้นเวทีนางงามจักรวาลไปจัดที่หาดไมอามี่ สหรัฐอเมริกาพอดี ซึ่งตัวแทนจากไทยก็ไม่ใช่ใครที่ไหน อาภัสรา หงสกุล ผู้คว้ามงแรกมาให้ไทยแลนด์ สร้างตำนานไว้ขนาดนี้ก็เอาชื่อหาดมาตั้งเป็นชื่อโรงแรมไปเลยสิคะ

โรงแรมฟลอริดา

นับตั้งแต่ปีพ.ศ.2498 ที่มีสงครามเวียดนาม ชาวอเมริกันจำนวนมากหลั่งไหลมายังฐานทัพประเทศไทย ฟลอริดาเป็นอีกโรงแรมที่ตั้งชื่อตามรัฐที่ชาวอเมริกันคุ้นเคยดีอย่างฟลอริดา รัฐทางตะวันออกเฉียงใต้ของอเมริกา แถมยังมีห้องเต้นรำชื่อ ‘ออร์แลนโด’ และห้องอาหารชื่อ ‘แทมป้า’ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเมืองในรัฐฟลอริดาทั้งสิ้น

ทีเด็ดมันอยู่ห้องหลัง ซึ่งถือเป็นร้านอาหารสไตล์กุ๊กช็อป (อาหารฝรั่งที่ปรุงจากฝีมือกุ๊กอาหารจีน) ไม่กี่แห่งของไทยที่เปิดมาจนถึงปัจจุบัน ร้านแทมป้าเคยได้สัญลักษณ์ ‘เชลล์ชวนชิม’ ที่มอบโดยม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์ ทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นได้ในความอร่อย โดยเฉพาะเมนูซี่โครงหมูอ่อนย่างซอสบาร์บีคิวที่ขึ้นชื่อเรื่องความนุ่ม เปื่อย ถึงขนาดว่าถ้าใช้ไม้เขี่ยเบาๆ เนื้อก็หลุดออกมาจากกระดูก ไหนจะเมนูนานาชาติอื่นๆ ที่น่าลองไม่แพ้กันอย่างขนมปังบัทเทอร์โรลกรอบนอกนุ่มไน บีฟสโตรกานอฟสไตล์รัสเซีย ซุปหัวหอมสไตล์ฝรั่งเศส และหมี่กรอบแบบไทยๆ

แอบกระซิบว่าห้องอาหารของโรงแรมฟลอริดาเคยถูกใช้เป็นโลเคชั่นใน Freelance ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ ของเต๋อ-นวพลด้วยนะ ใครอยากแกล้งๆ สวมบทเป็นยุ่นไปปั่นงานตอนกินข้าวก็เชิญเลย

โรงแรมมาเลเซีย

ลัดเลาะเข้าไปในซอยงามดูพลี มีโรงแรมเก่าแก่ชื่อ ‘มาเลเซีย’ ตั้งตระหง่านต้อนรับแขกทั้งชาวไทยและต่างชาติมาตั้งแต่ปี 2510 ชื่อมาเลเซียไม่ได้มาจากประเทศมาเลเซียเสียทีเดียว แต่หยิบยกมาจากนามสกุลของอากงเป็งฮุย แซ่เบ๊ ผู้ก่อตั้งโรงแรมที่เป็นชาวจีนแต้จิ๋ว

เบ๊ ในภาษาจีนแปลว่า ม้า ชื่อของโรงแรมจึงตั้งต้นมาจากตรงนั้น แต่จะให้ตั้งว่าโรงแรมม้าก็ไม่เข้าที อากงเลยตั้งให้คล้องกับคำที่คุ้นหูคนทั่วไปอย่างมาเลเซีย อาจเพราะได้รับอิทธิพลของชื่อโรงแรมในสมัยนั้นที่นิยมเอาชื่อสถานที่ ชื่อเมือง ไปจนถึงชื่อประเทศมาตั้งด้วยอีกทอด

โรงแรมมาเลเซียมีห้องพักราว 120 ห้อง เพิ่งรีโนเวตไปในวาระครบรอบ 50 ปี จากตึกสีขาวเก่าๆ ก็แปลงโฉมให้เป็นสีเหลืองทองเหมือนสีประจำชาติมาเลเซีย แต่ความพิเศษจริงๆ คือห้องอาหาร 24 ชั่วโมงชื่อมาลัยที่ย้ายมาจากโรงแรมเร็กซ์ ซึ่งขึ้นชื่อลือชาเรื่องเมนูข้าวต้มสามสี ตัวข้าวจะข้นคลั่ก มีความหนืดนิดๆ แต่กินพร้อมเมนู recommended อย่างหมูสับปลาเค็มทอด ต้มจับฉ่าย หรือคอหมูคั่วพริกเกลือ ก็เข้ากันดีนักแล

โรงแรมเซี่ยงไฮ้ แมนชั่น

หลายคนรู้จักโรงแรมเซี่ยงไฮ้ แมนชั่นในฐานะสถานที่จัดงานเต้นสวิง Yaowarat Street Jam ที่ชวนเราใส่ชุดวินเทจตัวเก่งไปส่ายสะโพกกับดนตรีแจ๊ส และอย่างที่หลายคนอาจเดาได้ เซี่ยงไฮ้แมนชั่นตั้งชื่อตามคอนเซปต์ของโรงแรมที่มีกลิ่นอายจีนยุคเจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้นั่นเอง

ในอดีต พื้นที่ของโรงแรมเซี่ยงไฮ้ แมนชั่น เป็นตึกเก่าอายุหลายสิบปีที่แปลงโฉมมาแล้วหลายรอบ ที่นี่เคยเป็นทั้งโรงงิ้วแห่งแรกของกรุงเทพฯ ตลาดหลักทรัยพ์ ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร ร้านขายยาสมุนไพร กระทั่งกลุ่มบุราส่าหรีเข้ามาซื้อและพัฒนาให้เป็นโรงแรมในปี2551

สถาปัตยกรรมของโรงแรมได้แรงบันดาลใจมาจากตึกรามของจีนสมัยปี 2473 เบลนด์ไปกับแสงสีของตึกรามในย่านเยาวราชเป็นอย่างดี นอกจากกลิ่นความเป็นเจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ที่ซ่อนอยู่ในทุกองค์ประกอบ ไฮไลต์ของที่นี่คือน้ำตกและบ่อปลาขนาดใหญ่ซึ่งกินเนื้อที่ 1 ใน 3 ของพื้นที่ชั้น 2 ให้ลูกค้าได้พักผ่อนหย่อนใจกันริมบ่อ

โรงแรมมาราเกช หัวหิน รีสอร์ท แอนด์ สปา

ใครอินกับหนังเรื่อง Aladdin จนอยากไปโมร็อกโกแต่ยังเดินทางไม่ได้ ลองขับรถขึ้นหัวหินแล้วแวะไป ‘มาราเกช หัวหิน รีสอร์ท แอนด์ สปา’ อาจได้ฟีลคล้ายกัน

ที่นี่คือรีสอร์ทสไตล์ Neo-Moroccan ริมหาดหัวหิน ที่นอกจากจะหยิบชื่อเมืองท่องเที่ยวริมทะเลสุดฮิตมาตั้งเป็นชื่อโรงแรมแล้ว สถาปัตยกรรมด้านในก็ได้แรงบันดาลใจจากคำว่า ‘City of Red’ ฉายาของมาราเกชที่เหล่านักท่องเที่ยวตั้งให้ สะท้อนผ่านสีแดงสดใสที่กวาดตาไปทางไหนก็เห็น ยังไม่นับลวดลายบนพื้น ทรงเว้าโค้งของอาคาร และของตกแต่งสไตล์อาหรับ

ด้วยความเป็นโรงแรมติดหาดก็ต้องขึ้นชื่อเรื่องการเป็นสถานที่แต่งงานริมทะเล แต่สิ่งที่เลื่องลือไม่แพ้กันคือห้องอาหาร AL HAMRA (อัล ฮัมรา) ซึ่งแปลว่าเมืองสีแดงเหมือนมาราเกช นั้นเสิร์ฟอาหารสไตล์โมร็อกโกหากินยาก เช่น Couscous Salad สลัดเท็กซ์เจอร์หนึบหนับแบบโมร็อกโก, ไก่ตุ๋นสไตล์โมร็อกโก และเครื่องดื่มอีกสารพัดที่ได้ฟีลโมร็อกโกแบบตะโกน

โรงแรมแมนฮัตตัน

แมนฮัตตัน นิวยอร์ก ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองที่มีชีวิตชีวาที่สุดเมืองหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ในขณะเดียวกันมันก็เป็นหนึ่งในเมืองที่ชาวโลกคุ้นหูกันมากที่สุดด้วย นั่นอาจเป็นเหตุผลให้โรงแรมใจกลางสุขุมวิทอย่าง ‘แมนฮัตตัน’ ตั้งชื่ออย่างนั้นในปี 2508 ที่โรงแรมได้ก่อตั้ง

กับคนที่โตมากับซีรีส์ถ่ายทอดชีวิตสาวๆ ในเมืองใหญ่อย่าง gossip girl หรือ Sex in The City หลายคนอาจอยากไปเดินช้อปปิงในแมตฮัตตันสักครั้ง แต่ถ้ายังไปไม่ได้ด้วยเหตุผลใดก็ตาม การพักผ่อนสักคืนในโรงแรมแมนฮัตตันก็อาจเป็นชอยส์ที่ไม่เลว เพราะโรงแรมเพิ่งปรับปรุงครั้งใหญ่ไปเมื่อปี 2562 อัพเกรดห้องพัก สิ่งอำนวยความสะอาด และการตกแต่งให้มีชีวิตชีวา แถมทำเลยังเหมาะกับสายช้อปปิงสุดๆ เพราะอยู่ห่างจากศูนย์การค้า Terminal 21 แค่ไม่กี่ก้าวเอง

โรงแรมแชงกรี-ลา

แชงกรี-ลาไม่ใช่ชื่อเมืองที่มีอยู่จริง แต่เป็นสถานที่สมมติในนิยายเรื่อง Lost Horizon ของ James Hilton นักเขียนชาวอังกฤษ หนังสือของเขานิยามแชงกรี-ลาไว้ว่าหุบเขาลึกลับอันสวยงามที่ซ่อนอยู่ทางตะวันตกของเทือกเขาคุนหลุน ประเทศจีน ในภาษาทิเบต แชงกรี-ลา (หรือแชมบาลา) ยังหมายถึงพระอาทิตย์และพระจันทร์ที่อยู่ในใจ (The Sun and the Moon in One’s Heart)

โรงแรมแชงกรี-ลาคือเครือโรงแรมเชนของพี่น้องตระกูลก๊วก (Kuok) ตระกูลนักธุรกิจใหญ่ของสิงคโปร์ซึ่งเป็นเจ้าของเดียวกับ Kerry Express ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นโรงแรมเชนที่ดีที่สุดในโลกเชนหนึ่ง แชงกรี-ลาเปิดครั้งแรกในไทยเมื่อปี 2529 ในทำเลริมแม่น้ำเจ้าพระยาบนถนนเจริญกรุง และไปเปิดอีกสาขาที่เชียงใหม่ในปี 2550

ความดีงามของโรงแรมแชงกรี-ลาไม่ได้อยู่ที่วิวหลักล้านในราคาเอื้อมถึง ห้องอาหารที่นี่เขาก็โด่งดังในหมู่นักกินไม่น้อย แถมยังมีให้เลือกสรรตามแต่ฟีลว่าวันนั้นอยากกินอะไร ทั้งห้องอาหารจีนแชงพาเลซที่เสิร์ฟติ่มซำน่าหม่ำ, ห้องอาหารไทยริมแม่น้ำ ศาลาทิพย์ ที่มีสำรับไทยสูตรลับเฉพาะมาบริการ ที่เด่นที่สุดน่าจะเป็นร้าน NEXT2 Café ที่เสิร์ฟมื้อค่ำธีม Lobsterlicios หรือบุฟเฟ่ต์ล็อบสเตอร์นั่นเอง  

อ้างอิง

bangkokbiznews.com

ibreak2travel.com

youtube.com

shangri-la.com

longtunman.com

youtube.com

reviewnowz.com

themomentum.co

youtube.com