Happiness / Art / Life / Fascination

H.A.L.F แบรนด์เก้าอี้ชายหาดของพร็อพสไตลิสต์ที่ทำเพื่อความสนุก ลงมือเมื่ออยาก หยุดเมื่อเหนื่อย

อาร์ต–ศุภชัย เพ็ชรี่ คือพร็อพสไตลิสต์ฟรีแลนซ์ ผู้เป็นเจ้าของแบรนด์ H.A.L.F แบรนด์สินค้าไลฟ์สไตล์ที่มีหัวใจหลักของการออกแบบคืออยากให้คนใช้งานได้พักผ่อน

ในขณะเดียวกันเจ้าของแบรนด์ก็สร้างแบรนด์นี้ขึ้นเพื่อเป็นเหมือนที่หย่อนใจจากการงาน H.A.L.F

ทำเพราะสนุกและมีความสุข เมื่อไหร่ก็ตามที่รู้สึกเบื่อและหมดสนุกก็จะเลิกทำ 

เน้นความสุขในการทำมากกว่าจะมองหากำไร

ต่างไปจากการทำแบรนด์ที่ใครๆ ก็มองว่าต้องทำให้ต่อเนื่องเพื่อให้ลูกค้าจดจำตัวเรา และเพิ่มโอกาสในการขาย

แทนที่จะสื่อสารถึงคุณสมบัติของสินค้า บางครั้งเขาสื่อสารด้วยการบอกให้ลูกค้าอดทนรอ เพราะคนทำหมดแรงจากงานประจำ บ้างก็เป็นการอัพเดตว่าส่งมอบสินค้าล็อตแรกไปแล้ว แต่ล็อตถัดไปจะขอพักเบรกไปทำอย่างอื่นก่อน ถ้าใครสนใจสินค้ารุ่นนี้เพิ่มเติมขอให้ลงชื่อไว้ 

อาร์ตทำยังไงให้ H.A.L.F กลายเป็นสินค้าที่ขายหมดตั้งแต่ยังไม่ทันโพสต์ขาย ทำยังไงให้ใครๆ พร้อมใจกันรอเก้าอี้ชายหาดที่ต้องหาผ้าเหมาะๆ ให้เจอก่อนจึงจะเริ่มผลิต รอกระเป๋าที่อาจจะเสร็จช้าสักหน่อยเพราะเจ้าของมัวแต่วุ่นกับงานหลัก 

นี่คือ หลัก 4P+1 ที่เขายึดถือในการทำแบรนด์ที่ว่า

PRODUCT
ทำในสิ่งที่สนุก และคิดว่าทำได้

หากดูในอินสตาแกรมของ dotherhalf จะเห็นโพสต์แรกๆ ที่อาร์ตเคยเขียนอธิบายไว้ว่า H.A.L.F เริ่มต้นขึ้นมาตั้งแต่ปี 2015 แต่เขาบอกว่าตอนนั้นจะเรียกว่าแบรนด์ไหม ก็ไม่เชิง เพราะ H.A.L.F สำหรับเขาคืองานเสริมที่ทำแบบครึ่งๆ กลางๆ เน้นความสุขความสนุกที่ได้จากการทำมากกว่าจะหันมาทำเต็มตัว 

“H.A.L.F คือโปรเจกต์ระยะยาวที่ใช้ทดลองว่าเราชอบอะไร อะไรบ้างที่ไม่มีขายและเราอยากให้มี การทำพร็อพสไตลิสต์ ทำให้เราเจอสินค้าและความต้องการที่หลากหลาย มันเลยเหมือนได้เรียนรู้ไปด้วยในตัว เรียนรู้วิธีการคิดของลูกค้า เรียนรู้ตัวเราเองว่าจริงๆ แล้วเราชอบอะไร ถนัดอะไร การหาของก็เหมือนกับการสำรวจตลาดคร่าวๆ ว่ามันมีอะไรที่คนขายเยอะ อะไรที่หาให้ตายก็ไม่มี อะไรที่ควรจะลงทุนซื้อเก็บไว้

“เป็นเหมือนการพัฒนาโปรดักต์ที่ไม่ได้รีบเร่งจะส่งออกสู่ตลาด เพราะเราเชื่อว่ากว่าจะมีของที่ตัวเราเองชอบ และคนอื่นก็ชอบด้วยมันใช้เวลานาน และถ้าเราพัฒนาไปเรื่อยๆ แล้วมีจุดที่รู้สึกว่ามันยังไม่ดี ยังไม่ชอบ ก็อาจแปลได้ว่าสินค้านั้นๆ ถ้าปล่อยขายไปก็อาจจะอยู่ได้ไม่นาน”

H.A.L.F จึงเริ่มมาแบบทำๆ หยุดๆ ปรับปรุงและพัฒนาไปเรื่อยๆ อยากทำอะไรก็ค่อยๆ ทำทิ้งไว้ เหนื่อยก็พัก ถึงเวลา เจอจังหวะที่ใช่ อยากทำต่อก็หยิบกลับมาเคาะฝุ่นใหม่ปรับปรุงจนกว่าจะชอบ ด้วยจุดมุ่งหมายเล็กๆ ในใจว่าสิ่งนี้จะกลายมาเป็นโปรเจกต์ที่เขาสามารถหยิบมาทำได้หลังจากเกษียณ 

“ถึงเวลานั้นก็เหมือนเรามีโปรโตไทป์ตัวแบบอยู่แล้ว แค่หยิบอะไรสักอย่างนึงมาทำขาย ไม่ต้องทดลองอะไรมากมายแล้ว” เขาว่า

สินค้าส่วนใหญ่ก็เป็นสินค้าไลฟ์สไตล์มากกว่าจะไล่ตามเทรนด์ด้วย ยิ่งเมื่อเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการตกแต่งภายในหรืองานเฟอร์นิเจอร์ มันเลยเป็นของที่คนไม่ได้ซื้อกันบ่อยๆ ไม่ได้มีการเปลี่ยนเทรนด์กันทุกซีซั่น การทิ้งระยะเวลาแบบที่เขาทำจึงไม่ใช่ปัญหา

ในฐานะที่ทำอาชีพพร็อพสไตลิสต์ เขาบอกว่า “ของบางอย่างที่มันไม่มีก็ไม่มีเลย จะผ่านไป 5 ปี 10 ปี ก็ยังไม่มี อาจจะเพราะมันไม่คุ้มค่าหากต้องผลิตจำนวนมาก ตลาดมันอาจจะจำเพาะเจาะจงเกินไป เลยไม่มีใครลุกขึ้นมาทำ พอเราทำเอง เราก็ไม่คิดจะขายตลาดที่มันกว้างอยู่แล้ว ตรงนี้เลยอาจจะทำให้เรากล้าที่จะทำ เพราะไม่ได้คิดถึงผลกำไรมาตั้งแต่เริ่มต้นอยู่แล้ว”

อาร์ตอธิบายต่อว่าสินค้าของ H.A.L.F ไม่มีเจาะจงว่าจะเป็นสินค้าประเภทใด ทุกอย่างทำขึ้นตามใจผู้เป็นเจ้าของ บ้างก็เป็นเสื้อ เป็นกระเป๋า เป็นเก้าอี้ชายหาด โดยที่ทั้งหมดมีเงื่อนไขสำคัญในการผลิตคือต้องไม่มีกระบวนการทำที่ยากเกินกว่าที่เขาจะทำเองได้ และต้องไม่ใช้เวลาทั้งหมดของชีวิตในการทำ 

เขาจึงนิยามสินค้าของตัวเองว่าเป็นงานฮาล์ฟ เพราะเชื่อว่าของที่ตัวเองทำไม่ได้สวยและเนี้ยบระดับงานคราฟต์ งานฝีมือ แต่เป็นการนำของที่มีอยู่แล้วมาปรับปรุงให้ดีขึ้น

ที่สำคัญคือสินค้าตัวนั้นต้องสามารถแชร์ความรู้สึก และตัวตน ระหว่างเขากับคนใช้งานได้ 

เพราะแบบนี้สินค้าจาก H.A.L.F จึงมีน้อยชิ้น ทั้งจำนวนและประเภท เพราะหากไม่ผ่านเงื่อนไขที่ตั้งไว้ อาร์ตก็ขอไม่ทำดีกว่า

“ทั้งคนทำ คนใช้ มันต้องสนุกแล้วก็แชร์ไปด้วยกัน ต้องมีพื้นที่ที่ปล่อยให้ลูกค้าของเราไปสร้างคาแร็กเตอร์ให้ของที่เขาซื้อไป สมมติเราขายเสื้อผ้าแบบเดียวกัน แต่วิธีที่แต่ละคนใส่ก็ไม่เหมือนกันนะ เฟอร์นิเจอร์ก็เหมือนกันไปอยู่บ้านนึงก็เป็นอีกแบบนึง เพราะฉะนั้นเราก็ทำในส่วนของเราให้ดี ที่เหลือให้เขาไปสร้างมันขึ้นมา มันเหมือนการแชร์กันคนละครึ่ง 

“เราเน้นทำในกระบวนการที่เราทำได้ ทำด้วยมือเป็นหลัก ส่วนของโรงงานคือส่วนที่เราไม่ทำ เช่น เก้าอี้ชายหาดอันนี้ก็เป็นแบบที่มันมีขายอยู่แล้ว เราก็ไปซื้อมา ตัด เจาะใหม่ ทุกอย่างเพื่อให้เป็นเก้าอี้แบบนี้ เย็บผ้าทั้งหลาย ทำส่วนที่เป็นงานมือ แต่พวกงานไม้ งานหนักๆ ที่เราทำเองยังไงก็ไม่สวยก็ไม่ทำ ไม่รู้จะทำทำไมในเมื่อมีคนทำได้ดีกว่าเรา”

ที่เขาเลือกทางนี้ก็เพราะไม่อยากมีปัญหาเรื่องจำนวนการผลิต เรื่องการสต็อกสินค้าด้วย ไหนจะการคุยกับโรงงาน คุยกับช่างที่มีปัญหามากมายรอให้แก้ไข จนพานทำให้การทำงานมันไม่สนุก 

“พอไม่สนุกปุ๊บมันก็ผิดหลักการที่เราคิดไว้แต่แรก” เขาเล่าเคล้าเสียงหัวเราะ 

“เวลาเราคิดพัฒนาสินค้าส่วนใหญ่จะคิดให้มันมีอารมณ์ของการพักผ่อน เป็นสินค้าที่ใช้แล้วผ่อนคลาย สนุก ไม่เครียด แล้วก็เป็นสินค้าที่ไม่ได้ทำให้ชีวิตเขาลำบาก ต้องตั้งใจใช้”

อย่างเก้าอี้ชายหาดที่มีที่บังแดดอันนี้ ก็พัฒนามาจากว่าอาร์ตอยากได้เก้าอี้ชายหาดที่มีที่บังแดด แต่ในอินเทอร์เน็ตดันมีขายแค่ในประเทศอังกฤษ แถมยังเป็นแบบโบราณ ดั้งเดิม เป็นของที่ต้องดูแลมากเกินไป เขาเลยออกตามหาผ้า ซื้อมาทำเอง และพัฒนาอยู่หลายหน้าร้อนกว่าจะได้เป็นเก้าอี้ชายหาดที่พับได้ตรงใจ พร้อมค่อยๆ เติมดีเทลว่าเก้าอี้นี้ควรมีฟังก์ชั่นอะไรให้โดนใจผู้ใช้งานอีก

“ไปทะเลมีหนังสือหนึ่งเล่ม ควรมีที่เก็บหนังสือไหม อยากเอามือถือวางไว้ที่เก้าอี้ แต่วางแล้วร่วง งั้นเพิ่มช่องเก็บไหม จะได้วางทิ้งไว้เวลาอยากไปเข้าห้องน้ำได้” อาร์ตอธิบายวิธีการทำงาน ที่เกิดจากการค่อยๆ ใช้ ค่อยๆ เติมฟังก์ชั่น จนสุดท้ายก็เริ่มไปถูกใจใครบางคน

“นักเศรษฐศาสตร์หลายคนก็จะบอกว่า ไม่ใช่ว่าจะขายอะไร แต่ต้องรู้ก่อนว่าขายใคร แล้วค่อยทำของนั้นไปขายคนที่พร้อมที่จะซื้อของชิ้นนั้น

“เรารู้ว่าลูกค้าส่วนใหญ่ของเรามักเป็นคนที่ชอบเดินทางท่องเที่ยวอยู่แล้ว เขาอยากทำให้บ้านของเขามีอารมณ์ของการได้พักผ่อนตลอดเวลา อยากมีสักอย่างที่ทำให้การกลับมาบ้านมันผ่อนคลาย ได้รู้สึกว่าได้ไปเที่ยว ได้หลุดออกจากชีวิตในเมือง เล็กๆ น้อยๆ เขาก็พร้อมจ่าย”

PRICE & (NO) PROMOTION
ถึงเงินจะไม่ใช่เรื่องแรกที่คิดถึง แต่ก็เป็นสิ่งที่สมควรได้รับ

เท่าที่อาร์ตสังเกต ลูกค้าของเขาจะเป็นคนที่กล้าที่จะใช้เงิน หาข้อมูล เขารู้ว่าอะไรมีขายไม่มีขาย มันเลยไม่ได้ยาก และเพราะไม่ได้วางขายอย่างจริงจังเลยพานทำให้ H.A.L.F ไม่เคยจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขายใดๆ  

“เรื่องราคา คนที่เป็นลูกค้าเรามักเป็นคนที่ตั้งคำถามว่าทำไมของชิ้นนี้ขายถูกจัง ไม่ใช่แค่ของเรานะ แต่สมมติเขาเจอเสื้อตัวนึงอยู่ในไอจีแล้วมันดูดี เขาก็จะสงสัยแล้วทำไมขายราคานี้ได้ เพราะคนซื้อของก็คือคนซื้อของ เขาไม่ได้เพิ่งมาซื้อครั้งแรก เขารู้อยู่แล้วว่าราคาที่สมเหตุสมผลคือเท่าไหร่

“สำหรับเราของแพงมันคือของที่ซื้อไปแล้วไม่ได้ใช้ จ่ายหลักร้อยแต่ไม่ได้ใช้งาน มันก็เป็นของแพงได้ แต่อย่างเก้าอี้ถ้าเขาซื้อไปแล้วรู้สึกว่าทำให้บ้านผ่อนคลาย สบายตาขึ้นมา รู้สึกว่าของชิ้นนี้ให้อะไรบางอย่างกับเขา ทำงานเหนื่อยๆ แล้วได้นั่ง ได้มองก็มีความสุข ทำให้มีพลังไปทำอย่างอื่นที่มันมีมูลค่ากับชีวิตของเขาได้ มันก็ไม่ใช่ของแพง ต่อให้เขาซื้อมาแพงก็เถอะ”

ถึงอย่างนั้นวิธีการตั้งราคาของอาร์ตก็ยังเป็นไปตามวิธีการคิดราคาทั่วไป คือคูณเพิ่มจากต้นทุน โดยไม่ลืมบวกเติมราคาความสุข และคิดค่าเสียโอกาสที่ไม่ได้รับงานอื่นอีก 

“ตั้งราคาเอาที่เราไม่เหนื่อยฟรี” เขาว่า “ถ้าทำแล้วเสียเวลาเราก็ไม่รู้จะทำไปทำไม ต่อให้เรื่องเงินไม่ใช่เรื่องแรกของการทำงานนี้ มันก็ยังเป็นสิ่งที่สมควรได้รับ”

PLACE
ถ้ารู้ว่าลูกค้าคือใคร จะขายที่ไหน เมื่อไหร่ ก็มีคนพร้อมซื้อ

แม้ H.A.L.F จะก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาตั้งแต่ 2015 แต่อาร์ตกลับเพิ่งคิดจะเปิดอินสตาแกรมแยกออกมาในปีนี้ แถมสาเหตุก็ไม่ใช่เพราะอยากจะโฟกัสการขายให้จริงจังขึ้น แต่เป็นเพราะมีคนมาฟอลโลว์ในอินสตาแกรมส่วนตัวเยอะเกินไป

“สิ่งที่มันเปลี่ยนไปเลยของผู้บริโภคปัจจุบัน มันเป็นเรื่องการทำอะไรสักอย่างให้เข้ากับเขา ไม่ใช่การเอาเขาไปเข้ากับโปรดักต์ แม้กระทั่งเสื้อตัวนึง ซื้อมาตัวใหญ่ ก็ไม่เป็นไร ใส่โอเวอร์ไซส์ ตัวเล็กก็ไม่เป็นไร มีวิธีการใส่มากมาย เพราะฉะนั้นเราเลยคิดว่าวิธีการคิด ซื้อของของคนที่ซื้อของออนไลน์มันไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว ของไม่ได้สำคัญกับเขามากเท่าตัวตนของเขา

“เราไม่ได้อยากให้คนซื้อของเพราะไลฟ์สไตล์ของเรา อยากให้คนซื้อของเพราะมันเป็นสิ่งที่เขาอยากได้มากกว่า คนที่ซื้อของเราเขาไม่ต้องการการอินสไปร์ใช้ชีวิตจากเราแล้ว เขามีชีวิตของเขาอยู่แล้ว และหาของที่ไปเติมเต็มส่วนที่เขากำลังขาดอยู่มากกว่า ก็เลยไม่อยากเอาเรื่องส่วนตัวไปผูกกับสิ่งนี้มากเกินไป มันจะไปกระทบกับสิ่งที่เราบอกไว้แต่แรกว่า H.A.L.F คือมันต้องแชร์กัน ถ้าเราเอาคาแร็กเตอร์ของเราใส่ไปมากเกินไปมันจะไม่เหลือที่ให้ลูกค้า”

และถึงจะมีอินสตาแกรมของแบรนด์แล้ว แต่วิธีการขายก็ยังคล้ายเก่า 

ขาย แบบไม่ค่อยประกาศขาย

“ส่วนใหญ่เราจะโพสต์บอกแค่ว่าเดี๋ยวจะทำขายนะ แล้วลูกค้าก็มักจะเป็นคน DM มาเองว่าทำเมื่อไหร่ ขายหรือยัง จองเลยหนึ่งตัว พอครบห้าตัวปุ๊บเราก็จะบอกว่าหมดแล้วนะ ทีนี้มันก็จะมีคนที่รอได้ เราก็จะถามว่ารอได้ไหม แต่ยังไม่รู้นะว่าจะทำเมื่อไหร่ แต่ถ้ารอได้ก็จะทำ บางครั้งถ้าปล่อยให้เขารอจนถึงจุดที่เราคิดว่ามันนานเกินไปแล้วเราก็จะกลับมาถามใหม่ก่อนว่าเขายังอยากได้อยู่ไหม ถ้าอยากได้ก็จะทำ แต่ถ้าไม่อยากได้ก็ไม่เป็นไร ไม่ว่ากัน” 

PERSONAL
เป็นตัวเอง ลูกค้าก็จะรับรู้ถึงตัวตน

P สุดท้ายที่แบรนด์ตามใจฉันของอาร์ตให้ความสำคัญคือ Personal หรือตัวตนทั้งหมดของเขาที่แบ่งครึ่งไปแชร์กับลูกค้า 

“ตัวย่อของ H.A.L.F มาจาก Happiness, Art, Life และ Fassination มันเป็นแก่นของเราอยู่แล้ว แต่เราแค่ไม่เคยร่ายออกมาให้คนอื่นเข้าใจ แต่พอต้องทำไอจีขายของ มันก็ต้องแชร์กับคนซื้อของเราให้เข้าใจด้วยว่าทำไมบางครั้งเราไม่รีบทำ ทำๆ หยุดๆ หรือบางครั้งทำแล้วดูเหมือนไม่เสร็จ ทำแล้วดูเหมือนไปเอาของอย่างอื่นมาทำ มันต้องเคลียร์ตั้งแต่แรกให้เขาเข้าใจร่วมกัน” 

เพราะเขาเชื่อว่าสิ่งที่จะทำให้แบรนด์ต่อเนื่องไม่ใช่สินค้า แต่เป็นเรื่องความคิดเบื้องหลังที่หากคนได้เข้ามาติดตาม ซึมซาบไปพร้อมกัน ก็อาจทำให้เขารู้จักตัวตนของแบรนด์ และพร้อมที่จะซื้อสินค้าในอนาคต 

อาร์ตบอกว่าสินค้าภายในแบรนด์ H.A.L.F ล้วนถ่ายทอดมาจากตัวตนของเขาก็จริง แต่ความสุขอย่างนึงที่เขาได้จากการทำแบรนด์ก็คือการที่ของชิ้นนั้นไปสร้างความสุข สร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่นได้ต่อ 

“การทำแบรนด์นี้ขึ้นมา ทำให้เราได้ทำอย่างอื่นนอกเหนือจากงานประจำ ได้กระจายวงความคิดไปทำอย่างอื่นบ้าง รวมถึงได้แปลงความคิดออกมาเป็นสิ่งที่มันเป็นตัวตน จับต้องได้มากขึ้น เป็นเหมือนพื้นที่ที่ทำให้ความคิดสร้างสรรค์ไม่ตาย”

H.A.L.F ยังทำให้เขามองข้ามความสมบูรณ์แบบ รู้ตัวว่าตัวเองไม่ใช่ช่างมืออาชีพ จึงไม่มีทางทำของได้สมบูรณ์เทียบเท่ากับระบบโรงงาน 

“แบรนด์ของเราจึงยังเป็นแค่แบรนด์เล็กๆ แบบนี้ ทำเล็กๆ ก็ได้ แต่สิ่งที่ปล่อยผ่านไม่ได้เลยในการทำธุรกิจคือทุกสิ่งที่ทำต้องมีพื้นที่สนุกให้กับทั้งเราและลูกค้า”


ติดตามแบรนด์ H.A.L.F ได้ที่อินสตาแกรม dotherhalf

จะก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาตั้งแต่ 2015 แต่อาร์ตกลับเพิ่งคิดจะเปิดอินสตาแกรมแยกออกมาในปีนี้ แถมสาเหตุก็ไม่ใช่เพราะอยากจะโฟกัสการขายให้จริงจังขึ้น แต่เป็นเพราะมีคนมาฟอลโลว์ในอินสตาแกรมส่วนตัวเยอะเกินไป

“สิ่งที่มันเปลี่ยนไปเลยของผู้บริโภคปัจจุบัน มันเป็นเรื่องการทำอะไรสักอย่างให้เข้ากับเขา ไม่ใช่การเอาเขาไปเข้ากับโปรดักต์ แม้กระทั่งเสื้อตัวนึง ซื้อมาตัวใหญ่ ก็ไม่เป็นไร ใส่โอเวอร์ไซส์ ตัวเล็กก็ไม่เป็นไร มีวิธีการใส่มากมาย เพราะฉะนั้นเราเลยคิดว่าวิธีการคิด ซื้อของของคนที่ซื้อของออนไลน์มันไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว ของไม่ได้สำคัญกับเขามากเท่าตัวตนของเขา

“เราไม่ได้อยากให้คนซื้อของเพราะไลฟ์สไตล์ของเรา อยากให้คนซื้อของเพราะมันเป็นสิ่งที่เขาอยากได้มากกว่า คนที่ซื้อของเราเขาไม่ต้องการการอินสไปร์ใช้ชีวิตจากเราแล้ว เขามีชีวิตของเขาอยู่แล้ว และหาของที่ไปเติมเต็มส่วนที่เขากำลังขาดอยู่มากกว่า ก็เลยไม่อยากเอาเรื่องส่วนตัวไปผูกกับสิ่งนี้มากเกินไป มันจะไปกระทบกับสิ่งที่เราบอกไว้แต่แรกว่ามันต้องแชร์กัน ถ้าเราเอาคาแร็กเตอร์ของเราใส่ไปมากเกินไปมันจะไม่เหลือที่ให้ลูกค้า”

จะก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาตั้งแต่ 2015 แต่อาร์ตกลับเพิ่งคิดจะเปิดอินสตาแกรมแยกออกมาในปีนี้ แถมสาเหตุก็ไม่ใช่เพราะอยากจะโฟกัสการขายให้จริงจังขึ้น แต่เป็นเพราะมีคนมาฟอลโลว์ในอินสตาแกรมส่วนตัวเยอะเกินไป

“สิ่งที่มันเปลี่ยนไปเลยของผู้บริโภคปัจจุบัน มันเป็นเรื่องการทำอะไรสักอย่างให้เข้ากับเขา ไม่ใช่การเอาเขาไปเข้ากับโปรดักต์ แม้กระทั่งเสื้อตัวนึง ซื้อมาตัวใหญ่ ก็ไม่เป็นไร ใส่โอเวอร์ไซส์ ตัวเล็กก็ไม่เป็นไร มีวิธีการใส่มากมาย เพราะฉะนั้นเราเลยคิดว่าวิธีการคิด ซื้อของของคนที่ซื้อของออนไลน์มันไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว ของไม่ได้สำคัญกับเขามากเท่าตัวตนของเขา

“เราไม่ได้อยากให้คนซื้อของเพราะไลฟ์สไตล์ของเรา อยากให้คนซื้อของเพราะมันเป็นสิ่งที่เขาอยากได้มากกว่า คนที่ซื้อของเราเขาไม่ต้องการการอินสไปร์ใช้ชีวิตจากเราแล้ว เขามีชีวิตของเขาอยู่แล้ว และหาของที่ไปเติมเต็มส่วนที่เขากำลังขาดอยู่มากกว่า ก็เลยไม่อยากเอาเรื่องส่วนตัวไปผูกกับสิ่งนี้มากเกินไป มันจะไปกระทบกับสิ่งที่เราบอกไว้แต่แรกว่ามันต้องแชร์กัน ถ้าเราเอาคาแร็กเตอร์ของเราใส่ไปมากเกินไปมันจะไม่เหลือที่ให้ลูกค้า”

จะก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาตั้งแต่ 2015 แต่อาร์ตกลับเพิ่งคิดจะเปิดอินสตาแกรมแยกออกมาในปีนี้ แถมสาเหตุก็ไม่ใช่เพราะอยากจะโฟกัสการขายให้จริงจังขึ้น แต่เป็นเพราะมีคนมาฟอลโลว์ในอินสตาแกรมส่วนตัวเยอะเกินไป

“สิ่งที่มันเปลี่ยนไปเลยของผู้บริโภคปัจจุบัน มันเป็นเรื่องการทำอะไรสักอย่างให้เข้ากับเขา ไม่ใช่การเอาเขาไปเข้ากับโปรดักต์ แม้กระทั่งเสื้อตัวนึง ซื้อมาตัวใหญ่ ก็ไม่เป็นไร ใส่โอเวอร์ไซส์ ตัวเล็กก็ไม่เป็นไร มีวิธีการใส่มากมาย เพราะฉะนั้นเราเลยคิดว่าวิธีการคิด ซื้อของของคนที่ซื้อของออนไลน์มันไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว ของไม่ได้สำคัญกับเขามากเท่าตัวตนของเขา

“เราไม่ได้อยากให้คนซื้อของเพราะไลฟ์สไตล์ของเรา อยากให้คนซื้อของเพราะมันเป็นสิ่งที่เขาอยากได้มากกว่า คนที่ซื้อของเราเขาไม่ต้องการการอินสไปร์ใช้ชีวิตจากเราแล้ว เขามีชีวิตของเขาอยู่แล้ว และหาของที่ไปเติมเต็มส่วนที่เขากำลังขาดอยู่มากกว่า ก็เลยไม่อยากเอาเรื่องส่วนตัวไปผูกกับสิ่งนี้มากเกินไป มันจะไปกระทบกับสิ่งที่เราบอกไว้แต่แรกว่ามันต้องแชร์กัน ถ้าเราเอาคาแร็กเตอร์ของเราใส่ไปมากเกินไปมันจะไม่เหลือที่ให้ลูกค้า”

จะก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาตั้งแต่ 2015 แต่อาร์ตกลับเพิ่งคิดจะเปิดอินสตาแกรมแยกออกมาในปีนี้ แถมสาเหตุก็ไม่ใช่เพราะอยากจะโฟกัสการขายให้จริงจังขึ้น แต่เป็นเพราะมีคนมาฟอลโลว์ในอินสตาแกรมส่วนตัวเยอะเกินไป

“สิ่งที่มันเปลี่ยนไปเลยของผู้บริโภคปัจจุบัน มันเป็นเรื่องการทำอะไรสักอย่างให้เข้ากับเขา ไม่ใช่การเอาเขาไปเข้ากับโปรดักต์ แม้กระทั่งเสื้อตัวนึง ซื้อมาตัวใหญ่ ก็ไม่เป็นไร ใส่โอเวอร์ไซส์ ตัวเล็กก็ไม่เป็นไร มีวิธีการใส่มากมาย เพราะฉะนั้นเราเลยคิดว่าวิธีการคิด ซื้อของของคนที่ซื้อของออนไลน์มันไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว ของไม่ได้สำคัญกับเขามากเท่าตัวตนของเขา

“เราไม่ได้อยากให้คนซื้อของเพราะไลฟ์สไตล์ของเรา อยากให้คนซื้อของเพราะมันเป็นสิ่งที่เขาอยากได้มากกว่า คนที่ซื้อของเราเขาไม่ต้องการการอินสไปร์ใช้ชีวิตจากเราแล้ว เขามีชีวิตของเขาอยู่แล้ว และหาของที่ไปเติมเต็มส่วนที่เขากำลังขาดอยู่มากกว่า ก็เลยไม่อยากเอาเรื่องส่วนตัวไปผูกกับสิ่งนี้มากเกินไป มันจะไปกระทบกับสิ่งที่เราบอกไว้แต่แรกว่ามันต้องแชร์กัน ถ้าเราเอาคาแร็กเตอร์ของเราใส่ไปมากเกินไปมันจะไม่เหลือที่ให้ลูกค้า”

“สิ่งที่มันเปลี่ยนไปเลยของผู้บริโภคปัจจุบัน มันเป็นเรื่องการทำอะไรสักอย่างให้เข้ากับเขา ไม่ใช่การเอาเขาไปเข้ากับโปรดักต์ แม้กระทั่งเสื้อตัวนึง ซื้อมาตัวใหญ่ ก็ไม่เป็นไร ใส่โอเวอร์ไซส์ ตัวเล็กก็ไม่เป็นไร มีวิธีการใส่มากมาย เพราะฉะนั้นเราเลยคิดว่าวิธีการคิด ซื้อของของคนที่ซื้อของออนไลน์มันไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว ของไม่ได้สำคัญกับเขามากเท่าตัวตนของเขา

“เราไม่ได้อยากให้คนซื้อของเพราะไลฟ์สไตล์ของเรา อยากให้คนซื้อของเพราะมันเป็นสิ่งที่เขาอยากได้มากกว่า คนที่ซื้อของเราเขาไม่ต้องการการอินสไปร์ใช้ชีวิตจากเราแล้ว เขามีชีวิตของเขาอยู่แล้ว และหาของที่ไปเติมเต็มส่วนที่เขากำลังขาดอยู่มากกว่า ก็เลยไม่อยากเอาเรื่องส่วนตัวไปผูกกับสิ่งนี้มากเกินไป มันจะไปกระทบกับสิ่งที่เราบอกไว้แต่แรกว่ามันต้องแชร์กัน ถ้าเราเอาคาแร็กเตอร์ของเราใส่ไปมากเกินไปมันจะไม่เหลือที่ให้ลูกค้า”

จะก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาตั้งแต่ 2015 แต่อาร์ตกลับเพิ่งคิดจะเปิดอินสตาแกรมแยกออกมาในปีนี้ แถมสาเหตุก็ไม่ใช่เพราะอยากจะโฟกัสการขายให้จริงจังขึ้น แต่เป็นเพราะมีคนมาฟอลโลว์ในอินสตาแกรมส่วนตัวเยอะเกินไป

“สิ่งที่มันเปลี่ยนไปเลยของผู้บริโภคปัจจุบัน มันเป็นเรื่องการทำอะไรสักอย่างให้เข้ากับเขา ไม่ใช่การเอาเขาไปเข้ากับโปรดักต์ แม้กระทั่งเสื้อตัวนึง ซื้อมาตัวใหญ่ ก็ไม่เป็นไร ใส่โอเวอร์ไซส์ ตัวเล็กก็ไม่เป็นไร มีวิธีการใส่มากมาย เพราะฉะนั้นเราเลยคิดว่าวิธีการคิด ซื้อของของคนที่ซื้อของออนไลน์มันไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว ของไม่ได้สำคัญกับเขามากเท่าตัวตนของเขา

“เราไม่ได้อยากให้คนซื้อของเพราะไลฟ์สไตล์ของเรา อยากให้คนซื้อของเพราะมันเป็นสิ่งที่เขาอยากได้มากกว่า คนที่ซื้อของเราเขาไม่ต้องการการอินสไปร์ใช้ชีวิตจากเราแล้ว เขามีชีวิตของเขาอยู่แล้ว และหาของที่ไปเติมเต็มส่วนที่เขากำลังขาดอยู่มากกว่า ก็เลยไม่อยากเอาเรื่องส่วนตัวไปผูกกับสิ่งนี้มากเกินไป มันจะไปกระทบกับสิ่งที่เราบอกไว้แต่แรกว่ามันต้องแชร์กัน ถ้าเราเอาคาแร็กเตอร์ของเราใส่ไปมากเกินไปมันจะไม่เหลือที่ให้ลูกค้า”

จะก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาตั้งแต่ 2015 แต่อาร์ตกลับเพิ่งคิดจะเปิดอินสตาแกรมแยกออกมาในปีนี้ แถมสาเหตุก็ไม่ใช่เพราะอยากจะโฟกัสการขายให้จริงจังขึ้น แต่เป็นเพราะมีคนมาฟอลโลว์ในอินสตาแกรมส่วนตัวเยอะเกินไป

“สิ่งที่มันเปลี่ยนไปเลยของผู้บริโภคปัจจุบัน มันเป็นเรื่องการทำอะไรสักอย่างให้เข้ากับเขา ไม่ใช่การเอาเขาไปเข้ากับโปรดักต์ แม้กระทั่งเสื้อตัวนึง ซื้อมาตัวใหญ่ ก็ไม่เป็นไร ใส่โอเวอร์ไซส์ ตัวเล็กก็ไม่เป็นไร มีวิธีการใส่มากมาย เพราะฉะนั้นเราเลยคิดว่าวิธีการคิด ซื้อของของคนที่ซื้อของออนไลน์มันไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว ของไม่ได้สำคัญกับเขามากเท่าตัวตนของเขา

“เราไม่ได้อยากให้คนซื้อของเพราะไลฟ์สไตล์ของเรา อยากให้คนซื้อของเพราะมันเป็นสิ่งที่เขาอยากได้มากกว่า คนที่ซื้อของเราเขาไม่ต้องการการอินสไปร์ใช้ชีวิตจากเราแล้ว เขามีชีวิตของเขาอยู่แล้ว และหาของที่ไปเติมเต็มส่วนที่เขากำลังขาดอยู่มากกว่า ก็เลยไม่อยากเอาเรื่องส่วนตัวไปผูกกับสิ่งนี้มากเกินไป มันจะไปกระทบกับสิ่งที่เราบอกไว้แต่แรกว่ามันต้องแชร์กัน ถ้าเราเอาคาแร็กเตอร์ของเราใส่ไปมากเกินไปมันจะไม่เหลือที่ให้ลูกค้า”

Writer

ฟรีแลนซ์ที่หวังจะมีของอร่อยกินในทุกวัน และมีงานทำในทุกเดือน

Photographer

ช่างภาพที่สนุกกับการแต่งตัว อยู่กับเสียงเพลง และหลงรักในความทรงจำ Ig : mocfirst

You Might Also Like