นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

2843
October 25, 2023

Market Pet

รวมหลักคิดของธุรกิจสัตว์เลี้ยงที่เกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาให้เหล่าทาส และสร้างคุณภาพความเป็นอยู่ที่ดีให้สัตว์เลี้ยง

ถ้าถามว่าธุรกิจไหนเฟื่องฟูที่สุดในยุคนี้ หากตอบ ‘ธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง’ คงไม่เกินไปนัก เพราะท่ามกลางการซบเซาของหลายธุรกิจในช่วงยุคโควิดระบาด มาจนถึงตอนนี้ที่เศรษฐกิจทั่วโลกถอดถอย ธุรกิจสัตว์เลี้ยงกลับค่อยๆ โตขึ้นและโตต่อเนื่อง 

มีการคาดการณ์ว่าในปี 2012-2026 มูลค่าของตลาดสัตว์เลี้ยงทั่วโลกจะมีการเติบโตเฉลี่ยแบบทบต้นเฉลี่ยปีละ 7.2% จนมีมูลค่ารวมอยู่ที่ประมาณ 217,651 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนไทยบ้านเราก็คาดว่าตลาดสัตว์เลี้ยงจะโตเฉลี่ยปีละ 8.4% และทำให้ภายในอีก 3 ปีข้างหน้าตลาดสัตว์เลี้ยงในไทยจะมีมูลค่าอยู่ที่ 66,748 ล้านบาท 

ในวันที่ธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงผุดขึ้นกันเป็นดอกเห็ด Capital ซึ่งเคยมีโอกาสพูดคุยกับเจ้าของแบรนด์เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง จึงอยากรวบรวมเรื่องราวของธุรกิจเหล่านี้ ทั้งที่มีอายุมาหลายสิบปี และธุรกิจใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงธุรกิจสัตว์เฟื่องฟู ไล่ตั้งแต่ Kafbo แบรนด์ที่ลับเล็บแมวกระดาษเจ้าแรกของไทย, Petige ร้าน selected petshop รวมสินค้าคุณภาพเยี่ยมสำหรับสัตว์เลี้ยง, Ready to Woof แบรนด์หมวกคู่ที่อยากให้มะนุดและสัตว์เลี้ยงแต่งตัวคู่กันได้ทุกวัน, Royal Canin แบรนด์อาหารหมาแมวที่อยู่คู่เหล่า pawrent มากว่า 15 ปี และโรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ โรงพยาบาลสัตว์ขวัญใจชาวทาสที่ยืนหยัดมาในตลาดสัตว์เลี้ยงจนปีที่ 30

ท่ามกลางการแข่งขันของตลาดสัตว์เลี้ยง ธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงเกิดขึ้นใหม่ไม่หยุดหย่อน แบรนด์หรือธุรกิจต่างๆ เหล่านี้มีวิธีคิดและแนวทางการบริการธุรกิจยังไงให้แตกต่าง กระทั่งบางธุรกิจทำยังไงให้แบรนด์ยืนระยะมาได้ยาวนาน ตามไปหาคำตอบเกี่ยวกับหลักคิดของธุรกิจสัตว์เลี้ยงเหล่านี้ได้ที่ Capital List ตอนนี้

Kafbo ที่ลับเล็บแมวกระดาษเจ้าแรกของไทย ที่อยากแก้ pain point ให้คนรักแมว

5 หลักคิดในการทำธุรกิจของ Kafbo

  1. ส่งเสริมและต่อยอดสิ่งที่มีให้ดียิ่งขึ้น Kafbo จึงใช้ความชอบผสานกับต้นทุนที่มีอย่างธุรกิจรับทำพาเลตกระดาษของครอบครัวมาต่อยอด
  2. Kafbo เกิดขึ้นในยุคที่ตลาดสัตว์เลี้ยงยังไม่โตเท่าปัจจุบัน แต่ความที่เป็นเด็กจบใหม่ของเจ้าของแบรนด์ เธอจึงใช้แพสชั่นนำทาง และค่อยๆ คราฟต์ Kafbo ขึ้นทีละนิด
  3. ศึกษาพฤติกรรมแมวอย่างลึกซึ้งเพื่อให้เข้าใจอินไซต์และพัฒนาโปรดักต์ได้ตรงจุด ซึ่ง Kafbo พบว่าแมวเป็นสัตว์ป่าที่เคยอยู่ตามธรรมชาติมาก่อน พฤติกรรมหนึ่งของมันคือมักลับเล็บกับเปลือกต้นไม้ แต่เมื่อคนเอาแมวมาเลี้ยง แมวจึงต้องลับเล็บกับเฟอร์นิเจอร์ในบ้านซึ่งสร้าง pain point ให้กับคนเลี้ยง 
  4. เชื่อในโปรดักต์ที่ทำเพราะมองเห็นโอกาสว่ายังไม่มีสินค้าไหนในตลาดที่ตอบโจทย์ทั้งแมวและคน
  5. ยึดถือสโลแกน Happy Home, Happy Cat (ความสุขของแมว ความสวยของบ้าน) สินค้าทุกชิ้นของแบรนด์จึงให้ความสำคัญกับความสุขของทั้งเจ้าของและแมว 
  6. ให้ความสำคัญกับดีไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์และคุณภาพของสินค้า แม้ในวันที่โรงงานจีนเริ่มเข้ามาตีตลาดที่ลับเล็บแมว ก็ยังทำให้ Kafbo เอาชนะใจลูกค้าได้
  7. ปรับตัวอยู่เสมอ โดย Kafbo จะดูว่าสินค้าเดิมเป็นแบบไหน และลองหาที่ทาง เช่น เพิ่มสีใหม่ๆ ที่เข้ากับเทรนด์สมัยใหม่ กระทั่งลองทำไซส์ใหญ่ที่ตอบโจทย์ลูกค้าที่มีแมวตัวใหญ่ เป็นต้น

อ่านบทสัมภาษณ์เต็มได้ที่  capitalread.co/kafbo

Petige แหล่งรวมสินค้าคุณภาพเยี่ยมสำหรับสัตว์เลี้ยง ที่เป็นที่รักของเหล่า pawrent

6 หลักคิดในการทำธุรกิจของ Petige

  1. brand positioning ที่ใช่คือหัวใจที่ไม่ควรมองข้าม แม้ตลาดสัตว์เลี้ยงจะเป็นเทรนด์ และธุรกิจสัตว์เลี้ยงมีโอกาสเติบโตในอนาคต แต่ไม่ใช่ว่าต้องกระโดดลงไปทำมันเดี๋ยวนั้น Petige จึงรีเสิร์ชตัวตนและตลาด เพื่อหาที่ทางว่าจะเข้าไปในตลาดนี้ยังไงก่อนเริ่มลงมือทำ
  2. โลเคชั่นที่ถูกต้องคือแต้มต่อทางธุรกิจ พวกเขาจึงเลือกย่านที่อยู่อาศัยเพราะเชื่อว่าแถบที่พักอาศัยผู้คนมักจะเลี้ยงหมาเลี้ยงแมวกันเยอะ และเลือกเป็นปั๊มน้ำมันเนื่องจากหมาแมวไม่สามารถเข้าคอมมิวนิตี้หรือห้างได้ 
  3. ใครชอบเดินร้าน pet shop เป็นประจำ อาจเห็นแพตเทิร์นบางอย่างจากหลายร้านที่ส่วนใหญ่มักอัดแน่นด้วยสารพัดสิ่งของ ไม่ได้รับการจัดโซนนิ่ง และทำให้หลายครั้งไม่มีทางเดิน แต่สำหรับ Petige ไม่ใช่แบบนั้น เพราะที่นี่จัดระเบียบโซนต่างๆ อย่างดี และออกแบบพื้นที่ให้แตกต่าง ด้วยตั้งใจอยากสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้า
  4. อีกหลักคิดที่พวกเขายึดถือและสะท้อนให้เห็นชัดผ่านโปรดักต์ที่วางขายก็คือ คัดสรรจากหัวใจ โดยวิธีการเลือกสินค้าจะเลือกจากส่วนผสมเป็นอย่างแรกและจะดูเรื่องมาตรฐานและคุณภาพ ที่สำคัญยังดูว่าสินค้าแต่ละประเภทที่เลือกมานั้นปลอดภัยกับน้องหมาน้องแมวหรือไม่ 
  5. เก็บข้อมูลและปรับตัวอยู่เสมอ โดยทีมจะประชุมกันทุกเดือนเพื่อลงลึกในลูกค้า เช่นดูว่าลูกค้าใหม่กลับมาซื้อซ้ำไหม ลูกค้าเก่ามีพอหรือยัง ถ้าอยากขยายฐานลูกค้าต้องทำอะไรบ้าง 
  6. ข้อสุดท้ายก็คือต้องรักแมวและรักสัตว์ เพราะความรักที่มีต่อสัตว์เลี้ยงคือย่อมเป็นหัวใจสำคัญที่ขับเคลื่อนให้ Petige เติบโต

อ่านบทสัมภาษณ์เต็มได้ที่ capitalread.co/petige

Ready to Woof แบรนด์หมวกคู่ที่อยากให้มะนุดและสัตว์เลี้ยงแต่งตัวคู่กันได้ทุกวัน

6 หลักคิดในการทำธุรกิจของ Ready to Woof 

  1. มองหาโอกาสใหม่ๆ สำหรับธุรกิจที่จะทำ แม้ตลาดสัตว์เลี้ยงจะโตและดูมีโอกาส แต่ก็ใช่ว่าทุกสินค้าจะเหมาะกับทุกโลเคชั่น สินค้าบางชิ้นอาจเวิร์กกับคนในประเทศหนึ่งแต่ไม่เวิร์กกับคนในอีกประเทศ ถ้ามองไปยังแถบยุโรปที่คนชอบพาหมาไปเดินเล่นออกกำลังกาย ชุดคู่อาจจะขายไม่ดีเท่าสายจูงหรือถุงเก็บอึ แต่สำหรับประเทศไทยที่คนชอบไปถ่ายรูปที่คาเฟ่ ไอเทมคู่เจ้าของและสัตว์เลี้ยงอาจเป็นสินค้ายอดนิยม
  2. ทำ market research เพื่อดูว่าสินค้าหมาแมวในเมืองไทยมีอะไรและยังไม่มีอะไร ซึ่งจากการศึกษาตลาดของ Ready to Woof ได้คำตอบว่าของใช้ประเภทเสื้อผ้ามีเยอะ แต่หมวกคู่ของเหล่าทาสกับหมาแมวยังคงมีน้อย 
  3. ใส่ใจทุกรายละเอียดและขั้นตอนการผลิตเพราะการทำเสื้อผ้าสัตว์เลี้ยงมีจุดที่ต้องคำนึงถึง ตั้งแต่ลองทำแพตเทิร์น ทดลองให้น้องหมาน้องแมวใช้สินค้าก่อนขายจริง และละเอียดในวัสดุที่ใช้เพื่อให้ทั้งเจ้าของและน้องหมาน้องแมวสบายตัวมากที่สุดเวลาสวมใส่
  4. ด้วยคอนเซปต์หลักของแบรนด์คือการเป็นแบรนด์เสื้อผ้าสัตว์เลี้ยงที่น้องหมาแมวใส่ได้ทุกวัน สินค้าทุกชิ้นจึงเริ่มคิดจาก ‘มะนุด’ เป็นหลัก โดยเน้นออกแบบสิ่งที่คนอยากใส่ โฟกัสเทรนด์ที่คนกำลังสนใจ แล้วค่อยทำไอเทมนั้นในไซส์สัตว์เลี้ยง
  5. ตามหาอินไซต์ของลูกค้าให้เจอ เช่นอินไซต์คนเลี้ยงหมาจะชอบแต่งตัวให้สัตว์เลี้ยงในช่วงเทศกาล สิ่งที่แบรนด์ทำจึงเป็นการออกสินค้า seasonal อย่างชุดผู้ช่วยซานต้าสำหรับวันคริสต์มาส หมวกผีน้อยสำหรับวันฮาโลวีน
  6. ข้อสุดท้ายก็คล้ายๆ ธุรกิจสัตว์เลี้ยง ที่ต้องมีแพสชั่นและความรักต่อหมาแมวและลูกๆ ของตัวเอง

อ่านบทสัมภาษณ์เต็มได้ที่  capitalread.co/ready-to-woof

Royal Canin แบรนด์อาหารหมาแมวที่อยู่มาตั้งแต่ยุคตลาดสัตว์เลี้ยงยังไม่โต เพราะไม่หยุดพัฒนา

9 หลักคิดในการทำธุรกิจของ Royal Canin

  1. จุดเริ่มต้นของ Royal Canin นั้นเกิดจากความรักและวิทยาศาสตร์ หลักการแตกไลน์ผลิตภัณฑ์จึงมีตั้งแต่ A Better World for Pets, Cats and Dogs First, Science Behind Nutrition จนถึงในปัจจุบันอย่าง Health Through Nutrition  หรือการสร้างสุขภาพที่ดีผ่านโภชนาการที่ถูกต้องเหมาะสม 
  2. ให้ความสำคัญกับหมาแมวทุกๆ สายพันธุ์ แม้ทั้งโลกจะมีคนเลี้ยงสายพันธุ์ ‘ทิเบตัน มาสทิฟฟ์’ แค่หลักพันกว่าตัว แต่ Royal Canin ก็ยังผลิตอาหารสูตรเฉพาะสำหรับสายพันธุ์นี้ขึ้นมาเพราะแบรนด์มองว่าจำเป็น ด้วยทิเบตัน มาสทิฟฟ์ต้องการโภชนาการที่เฉพาะเจาะจง
  3. ส่งมอบความรู้ให้ทั้งผู้เพาะพันธุ์ ร้านขายอาหารสัตว์ และคุณหมออย่างจริงจังผ่านการเทรนและการทำงานวิจัยร่วมกัน เพราะ Royal Canin เน้นมอบความรู้ให้ทุกคนใน ecosystem นี้ เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจเรื่องอาหารสัตว์ นอกจากการให้ความรู้กับพาร์ตเนอร์แล้ว แบรนด์ยังเน้นให้ความรู้โดยตรงกับลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ
  4. ตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงเปลี่ยนไป ความท้าทายเองก็เปลี่ยนแปลง สิ่งที่ Royal Canin ทำคือไม่วางขายสินค้าในโมเดิร์นเทรด และเปลี่ยนไปเน้นกระจายสินค้า ส่งตัวแทนแบรนด์เข้าไปเทรนร้านขายอาหารสัตว์ ตลอดจนเทรนคุณหมอตามคลินิกว่าถ้าหมาแมวป่วยควรจะใช้อาหารสูตรไหนประกอบการรักษา จนปัจจุบันทำให้แบรนด์มีพาร์ตเนอร์คลินิกมากกว่า 1,500 แห่ง และร้านขายอาหารสัตว์อีก 1,200 ร้านทั่วประเทศ
  5. ใช้การตลาดออนไลน์เพื่อให้ลูกค้าเกิด awareness หรือความตระหนักรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงดูที่ถูกต้อง
  6. พัฒนาระบบการขายเพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงสินค้าได้ง่ายขึ้น เช่นมี online official store ทั้งใน Lazada, Shopee และมี distribution outlet รวมถึงพัฒนาระบบแอพพลิเคชั่น ให้คุณหมอสั่งอาหารสัตว์ป่วยให้ลูกค้าได้โดยตรง
  7. คุณภาพอาหารคือสิ่งที่ Royal Canin ให้ความสำคัญที่สุดก็จริง แต่การพัฒนาธุรกิจให้เติบโตและตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างตรงจุดต้องมาจากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก Royal Canin ทุกๆ ประเทศจึงต้องเก็บสถิติและข้อมูลต่างๆ อยู่เสมอ เพื่อนำข้อมูลมาสร้าง ecosystem ให้กับธุรกิจ
  8. ความรักที่มีต่อน้องหมาน้องแมวคือแรงจูงใจสำคัญในการทำงานของทีม Royal Canin แน่นอนว่าการทำให้ธุรกิจกำไรเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำ แต่มากกว่ากำไรขาดทุน ความรักและแพสชั่นของทีมที่มีต่อน้องหมาน้องแมวก็สำคัญในการขับเคลื่อนการทำงาน
  9. ทำการตลาดในแบบที่เชื่อ แม้ว่าตลาดสัตว์เลี้ยงจะโตมากและมีโอกาสโตขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ต้องไม่รอให้ตลาดโตของมันเองเท่านั้น แต่ต้องสร้างตลาดขึ้นมาเองผ่านการทำการตลาดในแบบที่เชื่อ นั่นก็คือการทำให้คนตระหนักถึงความสำคัญของการให้อาหารที่มีโภชนาการเหมาะสมผ่านการให้ความรู้ คอนเทนต์​ แคมเปญ และการเทรนพาร์ตเนอร์ 

อ่านบทสัมภาษณ์เต็มได้ที่ capitalread.co/royal-canin

โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ โรงพยาบาลสัตว์ที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพและมาตรฐาน จนยืนระยะมาได้ 30 ปี

5 หลักคิดในการทำธุรกิจของโรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ 

  1. ทุ่มเทและตั้งใจทำงาน เพราะอยากทำให้คุณภาพชีวิตของหมาแมวดีขึ้น และอยากทำให้การรักษาสัตว์ดีขึ้นได้กว่าเดิม
  2. มองหาโมเดลธุรกิจตัวอย่าง ด้วยตลาดโรงพยาบาลสัตว์เมื่อ 30 ปีที่แล้วยังไม่ได้มีมากเช่นปัจจุบัน แน่นอนว่าโรงพยาบาลสัตว์ตัวอย่างเองก็ไม่ค่อยมีให้ศึกษา โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อจึงใช้โรงพยาบาลคนเป็นตัวอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการมีใบสั่งงานเพื่อให้ทุกอย่างมันควบคุมได้ เปลี่ยนจากระบบกระดาษเป็นดิจิทัลเพื่อลดความผิดพลาดวุ่นวาย กระทั่งนำระบบ iMed® ระบบ HIS หรือ Hospital Information System ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ในโรงพยาบาลคนมาใช้กับโรงพยาบาลสัตว์
  3. ถือหลักคิดว่าวันนี้ต้องดีกว่าเมื่อวาน ทำให้วิชชั่นของโรงพยาบาลสัตว์แห่งนี้คือการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง เมื่อเจอกับปัญหาก็จะแก้ไขทันที หรือระบบอะไรที่ไม่ดี ยังไม่มีประสิทธิภาพก็จะปรับให้ดีขึ้น ดังเช่นนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างข้อที่กล่าวไปข้างต้น มากไปกว่านั้นคือพัฒนาบุคลากรเสมอ โดยจะมีทุนให้เรียนและอบรม
  4. รับฟังความคิดเห็นของลูกค้าเพื่อให้เข้าใจความต้องการของลูกค้าได้ และพัฒนาโรงพยาบาลให้ตรงกับความต้องการได้มากขึ้น เช่น Pet Taxi บริการรับ-ส่งพ่อแม่และหมาแมวถึงหน้าบ้าน ร้านกาแฟนั่งรอเจ้าสัตว์เลี้ยงตรวจร่างกาย หรือจะมี pet shop ที่เจ้าของหมาแมวก็มาซื้อได้เลย 
  5. แม้จะเป็นโรงพยาบาลก็ไม่ได้แค่รักษาสัตว์อย่างเดียว ทั้งยังเอาความรู้ในแง่การเป็นสัตวแพทย์ไปเติมเต็มเพื่อพัฒนาอาหารและขนมน้องหมาน้องแมว ไปจนถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของแบรนด์มากมาย เช่น แบรนด์ Remy ที่มีขนมหมาและแมวที่ดีต่อสุขภาพ เป็นต้น

อ่านบทสัมภาษณ์เต็มได้ที่ capitalread.co/thonglorpet

You Might Also Like