นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

แกะ ‘ทฤษฎีมินิสเกิร์ต’ เล่าเรื่องยากให้เข้าใจง่าย โดย ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน จากเวที iCreator Conference 2023

เพิ่งจบไปหมาดๆ สำหรับงาน iCreator Conference 2023 Presented by SUPALAI ภายในงานคับคั่งไปด้วยเหล่าครีเอเตอร์ชั้นนำระดับประเทศ และผู้เข้าร่วมงานกว่า 3,000 คน ถือเป็นการรวมตัวของครีเอเตอร์ครั้งใหญ่ที่พร้อมเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการผลักดันอาชีพครีเอเตอร์ไทยให้ก้าวสู่ระดับโลก

โดยหนึ่งในเซสชั่นที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือเซสชั่นของ ‘เฮียวิทย์’ หรือ ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน ผู้ดำเนินรายการ ‘8 Minute History’ ที่หยิบเรื่องราวประวัติศาสตร์มาเล่าได้อย่างสนุกน่าติดตาม งานนี้ ดร.วิทย์ขึ้นเวทีมาแชร์เทคนิคการเล่าเรื่องยากให้เข้าใจง่ายภายใน 8 นาที

โดย ดร.วิทย์เริ่มด้วยการย้อนเล่าว่า ช่วงแรกที่ทำรายการก็ตั้งคำถามกับตัวเองว่าทำไมคนถึงไม่สนใจเรื่องประวัติศาสตร์ ซึ่งในอดีตการจะเล่าประวัติศาสตร์ผ่านสื่อใหญ่อย่างโทรทัศน์คงทำได้ยาก เพราะมีต้นทุนสูง แต่เมื่อมาถึงยุคของอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นยุคทองของการสื่อสาร ก็เปิดโอกาสให้เราทำคอนเทนต์ได้ง่ายขึ้น

คำถามคือทำยังไงให้น่าสนใจและดึงดูดคนจำนวนมากได้

‘ทฤษฎีมินิสเกิร์ต’

ในคลิปแรกๆ ที่ทำยังเป็นช่วงทดลอง ดร.วิทย์เล่าว่าตนเองทำคลิป 20 นาที เมื่อได้รับฟีดแบ็กจากทีมงานจึงพบว่า มีความน่าสนใจแค่ 10 นาทีแรกเท่านั้น เพราะข้อมูลเยอะเกินไป ผู้ฟังย่อยไม่ทัน ทีมงานจึงลงความเห็นกันว่าควรตัดให้เหลือ 8 นาทีเพราะผู้ฟังยุคนี้ใจร้อน รายการจึงต้องปรับเปลี่ยนไปตามพฤติกรรมผู้ฟัง แม้จะเป็นเรื่องประวัติศาสตร์ที่หลายคนมองว่าน่าเบื่อ แต่ถ้าเวลาในการเล่าเหมาะสมมีการเรียบเรียงที่ดีก็สร้างความสนุกได้เหมือนกัน

และนั่นกลายเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ เมื่อเวลาถูกกำหนดให้อยู่ใน 8 นาที เนื้อหาจึงจำเป็นต้องกระชับ ก่อเกิดให้เป็น ‘ทฤษฎีมินิสเกิร์ต’ หรือ ‘กระโปรงตัวจิ๋วที่ขนาดพอดีตัว’ ไม่ปกปิดหรือเปิดเผยเกินไป เป็นชุดที่มีความกะทัดรัด เหมือนกับการเล่าเรื่อง ที่ควรยาวพอที่จะเล่าครอบคลุมในเรื่องราวนั้นๆ และสั้นพอที่เรื่องราวจะยังน่าสนใจ เรียกได้ว่าเป็น 8 นาทีที่ให้ความสำคัญกับแก่นของเรื่องอย่างแท้จริง

ปัญหาต่อมาที่พบคือ เมื่อเรื่องสั้นเกินไป ผู้ฟังอาจฟังไม่รู้เรื่องและไม่สามารถลงลึกไปในรายละเอียดของเรื่องนั้นๆ ได้ เทคนิคของ ดร.วิทย์คือ เลือกที่จะให้ข้อมูลเฉพาะหัวข้อสำคัญ มีการลำดับเหตุการณ์ที่ดี เพื่อให้คนเข้าใจไทม์ไลน์ที่เกิดขึ้น เพราะหากผู้ฟังสนใจ พวกเขาจะหาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยตัวเอง

‘สิ่งใดที่มีคำถาม สิ่งนั้นย่อมทำให้เกิดการเรียนรู้’

สำหรับช่วงแรก ถ้าไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง ดร.วิทย์แนะนำให้ตั้งคำถามก่อน เช่น การเล่าเรื่องสงครามอ่าวเปอร์เซียที่เกิดขึ้นในปี 1990 โดยเรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีแฟนรายการแนะนำมา จริงๆ แล้วเรื่องนี้ถือว่ายังเป็นเรื่องใหม่ที่หลายคนมองว่ายังไม่มีข้อมูลมากพอที่จะเรียงร้อยเป็นประวัติศาสตร์ได้ แต่เมื่อลองตั้งคำถามกับประเด็นนี้ก็พบว่าสามารถนำมาเล่าได้ เช่น อ่าวเปอร์เซียอยู่ที่ประเทศใด คู่สงครามคือใคร ปมขัดแย้งคืออะไร เป็นต้น ซึ่งเมื่อได้คำถามแล้ว การเล่าเรื่องก็ทำได้ไม่ยาก

สำหรับหลักในการตั้งคำถามให้เริ่มจากคำถามง่ายๆ หรือคำถามที่คิดว่าผู้ฟังควรรู้ เพราะในการทำคอนเทนต์ ถ้ากำหนดเป้าหมายไว้ชัด เช่น ต้องการให้ความรู้ ความเข้าใจ การตั้งคำถามที่ดีจะนำไปสู่การถ่ายทอดเรื่องราวที่พาผู้ฟังลงลึกไปในระดับที่สร้างความเข้าใจได้จริง และถ้าต้องการศึกษามากขึ้น พวกเขาจะลงมือสืบค้นด้วยตัวเองต่อไป

หาจุดเชื่อมโยงของเนื้อหา

อีกหนึ่งเทคนิคในการเล่าเรื่องยากให้กลายเป็นเรื่องง่ายคือ หาจุดเชื่อมโยงระหว่างคนดูและเนื้อหา ไม่ว่าจะเป็นการเล่าเรื่องประวัติศาสตร์โดยอิงกับภาพยนตร์ เพลง ละคร ฯลฯ เพื่อให้เกิดการหลอมรวมเป็นเรื่องเดียวกัน และเมื่อฟังจบผู้ฟังเข้าใจและจดจำเรื่องราวได้ดีขึ้น สามารถนำเทคนิคนี้ไปปรับใช้กับการเรียนได้ด้วย

เช่น การเล่าเรื่องสงครามครูเสด ความยากคือ ไม่รู้ว่าจะเริ่มจากตรงไหน และรายละเอียดเป็นยังไง สิ่งที่ ดร.วิทย์ทำคือ ลำดับและเรียบเรียงเนื้อหาให้ผู้ฟังเข้าใจ อาจไม่ใช่การเรียงลำดับแบบ 1 2 3 4 แต่อาจเล่าถึงไคลแมกซ์ก่อน และค่อยๆ ลงรายละเอียดก็ได้ พร้อมเชื่อมโยงกับผู้ฟังด้วยภาพยนตร์เรื่อง Kingdom of Heaven ยิ่งทำให้ผู้ฟังเห็นภาพและเข้าใจได้มากขึ้น

ดร.วิทย์ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า อย่าทิ้งคนดู อย่ารู้ทุกอย่าง ต้องสวมหมวกเป็นนักเรียนบ้าง เพราะ ง งู มาก่อน ฉ ฉิ่ง การโง่ก่อนฉลาดจึงไม่ใช่เรื่องแปลก คนทำคอนเทนต์ก็เช่นกัน อย่าหยุดที่จะเรียนรู้และพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา

Writer

นักเขียนที่สนใจเรื่องธุรกิจ การตลาด และความเป็นไปในสังคม

You Might Also Like