นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

Super Risk

คุยเรื่องเงินและการปรับตัวของ ‘SuperRich’ ร้านแลกเงินสีส้มผู้บุกเบิกนำเทคโนโลยีมาใช้ก่อนใคร

Super แปลว่า ยิ่งใหญ่

Rich แปลว่า รวย

เมื่อสองคำนี้มารวมกันจึงมีความหมายว่า ทั้งยิ่งใหญ่ทั้งรวย

และหากพูดถึง ‘SuperRich’ ภาพที่ลอยมาคือร้านแลกเปลี่ยนเงินตราที่อยู่แถวราชดำริ ที่ในแต่ละวันมีผู้คนทั้งไทยและเทศมากมายต่างแวะเวียนไปแลกเปลี่ยนเงินกันที่ร้าน

แม้จะมีหลายซุปเปอร์ริช แม้จะมีหลายสีทั้งส้ม เขียว หรือฟ้า ที่ชื่อมีคำว่า ซุปเปอร์ริช เหมือนกัน 

แต่ซุปเปอร์ริชที่เรากำลังจะพูดถึงนี้คือ ซุปเปอร์ริชสีส้ม ร้านแลกเงินที่เริ่มทำธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2508 มีสีส้ม-สีมงคลของชาวจีน เป็นสีประจำบริษัท มีโลโก้เป็นลูกศร 2 อันประกบกันเป็นสัญลักษณ์อินฟินิตี้ แรกเริ่มทำธุรกิจด้วยตัวเองแค่ 2 คน สามี-ภรรยา และค่อยๆ มีเครือญาติเข้าช่วยบริหาร ที่สำคัญคือปรับปรุง พัฒนา และนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในระบบหลังบ้านทำธุรกิจก่อนใคร จนสามารถขยายสาขาไปมากมาย และมีพนักงานกว่า 380 คน และส่งไม้ต่อให้ทายาทรุ่นที่ 2 ดูแล

58 ปี ของซุปเปอร์ริชสีส้ม ทำธุรกิจยังไง มีหลักการบริหารแบบไหน ‘ปิยะ ตันติเวชยานนท์’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซุปเปอร์ริช เคอเรนซี่ เอ็กซ์เชนจ์ (1965) จำกัด ทายาทรุ่นที่ 2 วัย 57 ปี รอให้คำตอบอยู่แล้ว

คำถามที่หลายคนสงสัยและไม่ถามไม่ได้คือ ซุปเปอร์ริชสีส้มและสีเขียวเป็นเจ้าของเดียวกันไหม

ตอบอย่างตรงไปตรงมาคือเป็นคนละเจ้า คนละบริษัท แต่เป็นญาติกันที่แยกออกไปทำเป็นเจ้าใหม่ เนื่องจากมีปัญหาในเรื่องของแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ไม่เหมือนกัน เริ่มแยกตัวออกไปตอนที่ผมเข้ามารับช่วงในการบริหารต่อ

งั้นอยากให้คุณช่วยย้อนเล่าถึงจุดเริ่มต้นของซุปเปอร์ริชสีส้มหน่อย

ซุปเปอร์ริชที่ตอนนั้นยังไม่ได้ใช้ชื่อนี้เกิดจากคุณพ่อวิบูลย์ ตันติเวชยานนท์ ที่ตอนนั้นท่านทำงานกับบริษัททัวร์ และเกิดเห็นช่องทางการแลกเปลี่ยนเงินตรา เงินต่างประเทศสะพัด มีทั้งนักท่องเที่ยวและนักลงทุน เลยออกมาทำเอง แรกเริ่มเลยคือขี่มอเตอร์ไซค์รับแลกเงินตั้งแต่หัวถนนสีลม สุรวงศ์ แล้วก็ไปส่งให้ร้านรับแลกเปลี่ยนเงินเจ้าใหญ่ในตอนนั้น

จากนั้นคุณพ่อกับคุณแม่ตัดสินใจไปเช่าตึกเปิดหน้าร้านครั้งแรกชื่อว่า ‘จิตรวานิชย์’ ปัจจุบันที่ตรงนั้นคือเซ็นทรัลเวิลด์ เปิดร้านไปได้สักพักก็ถูกปล้น จนเจ้าของตึกไม่ให้เช่าอีก เลยต้องหาทำเลใหม่ ทำเลใหม่คือฝั่งตรงข้ามแถวราชดำริที่ตอนนี้คือสำนักงานใหญ่ในปัจจุบัน และตั้งชื่อว่า SuperRich ที่เป็นมงคลทั้งยิ่งใหญ่ และร่ำรวย และมีสีประจำร้านเป็นสีส้ม ซึ่งเป็นสีมงคลของชาวจีน

ปี 2508 ก็ถือเป็นปีต้นกำเนิดซุปเปอร์ริชอย่างเป็นทางการ

หากให้ย้อนไปไกลกว่านี้อีกนิดก็ต้องบอกว่ารุ่นอากงก็ทำธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินเหมือนกัน อากงเป็นชาวจีนโพ้นทะเลที่เข้ามาทำงานในไทยและเริ่มรับแลกเปลี่ยนเงินสกุลหยวนกันในกลุ่มชาวจีนที่มาทำงานในยุคนั้น

แล้วธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตรากำไรที่ตรงไหน

ผมมองร้านแลกเงินเป็นเหมือนธุรกิจร้านสะดวกซื้อ ธุรกิจแลกเงินคือการซื้อมาขายไป และเน้นเรื่องปริมาณ จริงๆ ดูเหมือนน้อยแต่ในแต่ละวันเราหมุนเงินวันหลายรอบ ผมสมมติให้เห็นภาพว่าหากเรามีต้นทุน 1 ล้านบาท เอาไปซื้อเงินดอลลาร์ 30,000 ดอลลาร์ เราทยอยซื้อเรื่อยๆ และระว่างทางเราก็มีขายไปด้วย ในจำนวนเงิน 1 ล้านบาท เราหมุนเป็นสิบๆ รอบ รอบนึงสมมติว่ากำไรห้าสตางค์ เอาไปคูณสามหมื่นก็จะเท่ากับ 1,500 บาท วันนึง 10 รอบ ก็เท่ากับ 15,000 บาท เดือนนึงก็ 450,000 บาท อันนี้คือแค่คุณมีต้นทุน 1 ล้านบาทนะ วันนึงมันเกินอยู่แล้ว ค่อยๆ สะสม ค่อยๆ ทำไป อัตราแลกเปลี่ยนมันมีทั้งช่วงขึ้นและช่วงลง แต่รวมๆ แล้วร้านแลกเงินก็ยังสามารถทำกำไร

แล้วคุณรับมือกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนยังไง

อย่างที่บอกไปว่าธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินเป็นธุรกิจ cash flow เราปิดความเสี่ยงด้วยการซื้อมาขายไปนั่นแหละ ขายทุกวัน diversify ทุกวัน เพราะเราไม่ได้ซื้อเงินมาแล้วเก็บ มีการหมุนเวียนตลอดเวลา ตกตอนเย็นของทุกวันแม้จะมีสต็อกเงินตราเหลือค้างอยู่บ้าง ถ้าวันรุ่งขึ้นค่าเงินขึ้นเราก็ได้กำไร ถ้าค่าเงินลงก็ขาดทุน แต่เราขายในแต่ละวันเราหมุนได้รอบเยอะกว่า ถ้าเรตลงยังไงร้านแลกเงินก็ cover อยู่แล้ว

ถ้าเรามองว่ามันถัวเฉลี่ยกันทั้งปี เรตจะขึ้นหรือจะลงก็ไม่ต้องไปดูมัน เราขายเมื่อไหร่คือเราได้กำไรแล้ว สิ่งที่มัน liquidate กว่าคือ เงินตราสามารถซื้อ-ขายเมื่อไหร่ก็ได้ โอกาสขาดทุนมันเลยแทบไม่มี

เรื่องของคนก็เป็นสิ่งสำคัญในการบริหาร

ใช่ ซุปเปอร์ริชบริหารแบบให้ใจพนักงาน มีระบบ HR ที่ดี มีการฝึกเทรนนิ่ง และอบรมให้พนักงาน พนักงานของซุปเปอร์ริชมีความเชี่ยวชาญเพราะถูกฝึกอย่างชำนาญจนดูแบงก์ปลอมเป็น สิ่งเหล่านี้คือความเป็น Original Exchange Expert ของซุปเปอร์ริช

เปิดมาแล้ว 58  ปี จุดแข็งที่แตกต่างของคุณกับคู่แข่งคืออะไร

ย้อนกลับไปตอนนั้นคิดอยู่อย่างเดียวว่าจะทำยังไงให้ไม่เกิด conflict และไม่ต้องแข่งกับใคร ยุคนั้นมีร้านแลกเงินไม่มาก สิ่งที่ง่ายที่สุดในการทำมาร์เก็ตติ้งคือ ใช้เรื่องของราคา แต่ผมเองกลับมาตั้งคำถามว่า หากไม่ใช้เรื่องของราคา ซุปเปอร์ริชสีส้มจะแข่งอะไร  

คำตอบคือ ซุปเปอร์ริชเน้นเรื่องของเซอร์วิส และทำยังไงให้อยู่ใกล้กับลูกค้ามากที่สุดแทน 

เซอร์วิสของเราคือ การขยายสาขาเข้าไปให้ใกล้กับผู้บริโภคมากขึ้น ผมเริ่มขยายสาขาเข้าห้างสรรพสินค้าที่บิ๊กซี ราชดำริ ในปี 2544 เป็นครั้งแรก จากนั้นขยายไปเปิดสาขาที่สถานีรถไฟฟ้า BTS ชิดลม เมื่อเราขยายสาขานั่นเท่ากับว่าเราขายบริการให้กับลูกค้า ขายความสะดวกสบายในการมาแลกเปลี่ยนเงิน สิ่งที่ต่างออกไปคือ สาขาที่เราขยายไปนั้นเรตค่าเงินที่เรารับซื้อและขายนั้นต่างกว่าสาขาสำนักงานใหญ่เล็กน้อย เมื่อหักลบค่าเดินทางมาแลกเงินที่สำนักงานใหญ่แล้วก็ไม่ได้ต่างกันเท่าไหร่นัก ลูกค้าได้ประโยชน์อยู่แล้ว

ช่วงแรกๆ ที่ทำลูกค้าไม่เข้าใจว่าทำไมเรตต่างกัน ก็หาว่าซุปเปอร์ริชโกง กว่าจะเปลี่ยนแปลงแนวคิดนี้ได้ใช้เวลาปีกว่าเกือบสองปี หลักจากลูกค้าติดใจในการใช้บริการแล้ว ก็ค่อยๆ ขยายสาขาไปเรื่อยๆ แต่ละสาขาที่ซุปเปอร์ริชเปิดมีกำไรทุกที่ สมมติกำไรสาขาละ 50,000 บาท เปิด 10 สาขาก็กำไร 500,000 บาท เป็นสิ่งที่ตอบโจทย์มาก ทำให้ซุปเปอร์ริชสีส้มเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ซุปเปอร์ริชขยายสาขาไปทั้งในห้างสรรพสินค้าและตามเส้นรถไฟฟ้า และขยายออกต่างจังหวัด เคยมีสาขามากกว่า 50 สาขาในช่วงที่ผ่านมาและช่วงก่อนโควิด-19

เพราะฉะนั้นบริษัทไหนที่เน้นแข่งด้วยราคาตายหมด เพราะต้องรับซื้อในราคาที่สูง และขายในราคาที่สูงเช่นกัน พอขายไม่ออกก็ลดราคา กำไรก็ถูกกดลงไปอีก

แล้วตอนนี้ภาพรวมของตลาดธุรกิจรับแลกเปลี่ยนเงินตราเป็นยังไง

ผมมองว่าแนวโน้มมันจะลดลงนะ ลดลงตั้งแต่ช่วงโควิด-19 ซุปเปอร์ริชเองตอนโควิดก็มีปัญหาเช่นกัน ต้องลดสาขา ลดคน พอกลับมาในช่วงแรกก็มีปัญหาเรื่องคนไม่พออีก แต่ตอนนี้ค่อยๆ ดีขึ้น

ผมมองว่าธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินเป็นธุรกิจที่หมดอายุ

ขยายความคำว่าธุรกิจหมดอายุให้ฟังหน่อย

ในความหมายคือเราทำธุรกิจที่อยู่ในรูปของ physical คือถือเป็นเงินสด จะทำให้ไม่หมดอายุได้นั้นคือการหาโซลูชั่น นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ 

แล้วคุณเอาเทคโนโลยีอะไรมาใช้บ้าง

ซุปเปอร์ริชเป็นเจ้าแรกเลยนะที่นำเทคโนโลยีมาใช้ ย้อนกลับไปตอนผมเรียนจบใหม่ๆ ผมนำโปรแกรมซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่ชื่อว่า LOTUS 123 มาจัดการระบบหลังบ้าน พร้อมกับใช้โปรแกรมบัญชี EASY-ACC  ทำให้เราเห็นยอด เห็นเรตค่าเงิน เห็นรายรับ-รายจ่าย เห็นข้อมูลต่างๆ ได้ทั้งหมดอย่างรวดเร็ว

อีกจุดที่ต่างจากคนอื่นคือ การเปิดเว็บไซต์ ในอดีตเวลาจะแลกเงินทุกคนจะไม่เห็นเรตราคาว่าค่าเงินไหนแลกเปลี่ยนในราคาเท่าไหร่ จะรู้ได้คือการโทรเข้ามาถามเท่านั้น แต่เราเป็นเจ้าแรกที่เอาเรตราคาแลกเปลี่ยนทั้งหมดขึ้นโชว์ในเว็บไซต์ ใช้โปรแกรมสูตรตั้งค่าไว้ เวลาอัตราแลกเปลี่ยนปรับขึ้น-ลง ซุปเปอร์ริชก็ปรับได้ทันการณ์กว่าใคร  

เห็นแบบนี้ซุปเปอร์ริชทำเรื่องดาต้ามาตั้งแต่ต้น เพราะหากใครอยากเข้ามาดูเรตอัตราแลกเปลี่ยนจะต้องสมัครสมาชิกก่อน เราได้ดาต้าของสมาชิกมาปรับปรุงแนวทางการทำงานให้ดีขึ้น

แม้จะโดนเจ้าใหญ่เจ้าอื่น เพื่อนร่วมวงการถามว่าผมบ้ารึเปล่าที่เอาเรตข้อมูลไปโชว์ทั้งหมดบนเว็บไซต์แบบนั้น แต่ผมก็ไม่สนใจ ก็ปล่อยให้ผมบ้าของผมไป สุดท้ายทุกคนก็ทำตามกันหมด ส่วนยุคนี้ที่เทคโนโลยีดิจิทัลมีมากขึ้น การใช้เงินอยู่ในรูปของออนไลน์หรือการ์ดมากขึ้น ซุปเปอร์ริชเองมีทำบัตรเงินสด cash card ออกมาช่วงปี 2561 เช่นกัน แต่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก ไม่ทันเปิดตัวโควิด-19 ก็มาพอดีอีก

บัตร Travel Card มาดิสรัปต์คุณและวงการธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราไหม

ปัญหาที่เจอคือผมมองเรื่องดิจิทัลมาก่อนใคร ลองทำมาก่อน แต่ติดปัญหาตอนไปขออนุญาตกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บางบริการติดเรื่องกฎหมาย ซุปเปอร์ริชเป็น non-bank ไม่สามารถทำได้

ตอนแรกๆ บัตร Travel Card ไม่กระทบเท่าไหร่ แต่ตอนนี้กระทบกับลูกค้าที่เป็นคนไทยของที่ร้านค่อนข้างเยอะเหมือนกัน พฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนไปใช้มากขึ้น ลูกค้าหายไปเลยประมาณ 40%  แม้ปิดยอดปีที่ผ่านมาจะมีลูกค้าเพิ่มขึ้น แต่ยอดจำนวนเงินที่ลูกค้าแลกเปลี่ยนเงินลดลง

ต่อจากนี้เราจะเห็นอะไรใหม่ของซุปเปอร์ริชสีส้มบ้าง

เร็วๆ นี้ ซุปเปอร์ริชกำลังจะรีแบรนด์ดิ้งใหม่ รีแบรนด์ให้มีความชัดเจนและสะท้อนตัวตนของซุปเปอร์ริชมากขึ้น สะท้อนความเป็นผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจแลกเงินเป็น Original Exchange Expert พร้อมกับทำการตลาดและโปรโมชั่นมากขึ้น

ส่วนบริการซุปเปอร์ริชกำลังพัฒนาบริการทางดิจิทัลใหม่ๆ บริการแลกเงินผ่านวอลเล็ตที่กำลังจะเปิดตัวในไตรมาส 3 นี้ พร้อมกับใส่อินโนเวชั่นใหม่ๆ เข้ามา บางผลิตภัณฑ์ก็ยังขออุบไว้ก่อน ขณะที่การขยายสาขาก็จะกลับมาขยายสาขามากขึ้นหลังจากที่มีปิดตัวลงไปบ้างในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา

You Might Also Like