นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

Mocha Mousse

สีแห่งปี 2025 จาก Pantone กับคำถามที่ว่าใครเลือกและจำเป็นแค่ไหนกับธุรกิจเรา?

เมื่อปลายปี 2024 ที่ผ่านมา Pantone บริษัทผู้สร้างระบบสีระดับสากลได้ประกาศว่าสีแห่งปี 2025 นี้คือสี PANTONE 17-1230 หรือ Mocha Mousse 

ณ จุดๆ นี้เชื่อว่าหลายคนน่าจะมีคำถามสงสัยว่าแต่ละสีที่ปล่อยออกมานั้นกำหนดจากอะไร และยุคสมัยปัจจุบันที่ทุกคนบนโลกต่างสร้างความรับรู้และสร้างอิทธิพลของตัวเองได้อย่างอิสระไร้พรมแดนมากขึ้น Pantone ยังจำเป็นอยู่ไหม ผู้ประกอบการควรจะโอบรับสีใหม่ๆ จาก Pantone หรือเปล่า

1. รู้จัก Pantone

ก่อนอื่น ขอชวนทุกคนทำความรู้จัก Pantone สักหน่อย Pantone ถือกำเนิดในช่วงทศวรรษ 1950 ภายใต้บริษัทการพิมพ์อย่าง M&J Levine Advertising จาก pain point งานพิมพ์ที่นักออกแบบก็ออกแบบมาอย่างหนึ่ง แต่เครื่องพิมพ์ก็แปรการออกแบบมาอีกสีหนึ่ง ด้วยไม่มีมาตรฐานเรื่องสีที่เป็นระบบชัดเจน ทำให้ต้องพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง จึงเริ่มมีการจัดระบบและทำให้เม็ดสีของบริษัทและการผลิตหมึกสีของบริษัทตรงกันมากขึ้น 

จากความสำเร็จนั้นนำมาสู่การจัดตั้งบริษัทในปี 1962 มีการก่อตั้ง Pantone Color Matching System® (PMS) หรือมาตรฐานที่ช่วยให้นักออกแบบระบุสีที่ต้องการได้ ส่วนเจ้าเครื่องพิมพ์ก็สร้างสีที่ตรงตามความต้องการของนักออกแบบได้ 

Pantone ยังพัฒนาระบบการตั้งชื่อสีที่มากกว่าแค่ตัวเลข แต่เป็นชื่อสวยเก๋ที่ได้ยินครั้งแรกต้องร้องเอ๊ะ เช่น Mocha Mouse ของปีนี้ ซึ่งช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับสี จนหลายๆ อุตสาหกรรมเลือกใช้สีของ Pantone เพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้ผลิตภัณฑ์ของตัวเอง นอกจากนั้นยังมี Pantone Color Institute™ หรือกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำปรึกษาด้านสีและการพยากรณ์เทรนด์สี เพื่อช่วยแบรนด์สร้างมาตรฐานสีที่เหมาะสม

เมื่อเทียบกับระบบสีอื่นๆ Pantone เหมือนเป็นระบบสีที่เชื่อมโยงโลกดิจิทัลและการพิมพ์เข้าด้วยกัน ขณะที่ CMYK เป็นระบบที่ใช้ในงานพิมพ์ มีช่วงสีที่จำกัดเมื่อเทียบกับ Pantone ส่วน RGB ใช้ในจอดิจิทัล เหมาะสำหรับการออกแบบบนหน้าจอ แต่ไม่เหมาะกับการพิมพ์

2. Pantone เลือกสีแห่งปียังไง

ที่จริงแล้ว นอกจาก Pantone ยังมีผู้นำด้านการพยากรณ์สีเจ้าอื่นอีก แต่หนึ่งในกลยุทธ์สำคัญของ Pantone คือการประกาศสีแห่งปีที่ช่วยเรียกความสนใจจากสื่อและผู้คนได้ ทั้งยังเป็นการสะท้อนถึงภาพลักษณ์ผู้นำระบบสี 

คำถามสำคัญที่หลายคนคงสงสัยคือ Pantone เลือกสีแห่งปียังไง คำตอบคือคณะกรรมการจากสถาบันสี Pantone จะเดินทางไปทั่วโลกเพื่อสำรวจสีในสถานที่และเหตุการณ์ต่างๆ คล้ายกับว่าเป็นการถ่ายภาพสีจากทั่วโลกว่าในแต่ละปีมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ก่อนนำมาประมวลว่าสีไหนน่าจะสื่อสารถึงปีนั้นๆ ได้ 

ไม่ว่าจะ New York Fashion Week ไปจนถึง London Fashion Week เดินตามนิทรรศการต่างๆ เสื้อผ้าที่ผู้คนใส่ในชีวิตประจำวันไปจนถึงเฉดสีของภาพยนตร์ในแต่ละปี การคิดค้นสีใหม่ๆ ของแบรนด์รถยนต์ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีการผลิตสีใหม่ๆ ที่ก้าวหน้ามาก ที่สำคัญ Pantone ยังเน้นพิจารณาสีจาก ‘สิ่งที่จำเป็นในโลกของเราทุกวันนี้’

เช่น Cerulean Blue สีแห่งปีสีแรกที่ปล่อยออกมาในปี 2000 เป็นสีที่ Pantone บอกว่าสื่อถึงท้องฟ้าที่แจ่มใสและเงียบสงบ ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย สอดคล้องกับปี 2000 ซึ่งเป็นปีแห่งการเปลี่ยนสหัสวรรษ ในปี 2016 Pantone เลือกสีชมพู Rose Quartz และสีน้ำเงิน Serenity เป็นสีแห่งปี เพื่อสื่อถึงความลื่นไหลทางเพศ ในปี 2023 Pantone กำหนดให้ Viva Magenta เป็นสีแห่งปี เพื่อเป็นภาพสะท้อนของเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์  

3. สีแห่งปีและความสำคัญของ Pantone ในโลกดิจิทัล

เจ้าสีแห่งปีของ Pantone ยังมีอิทธิพลต่อเทรนด์ปัจจุบัน เพราะหลายครั้งที่ประกาศสีแห่งปี หลายบริษัทยังคงใช้สีนั้นๆ ไปกำหนดภาพลักษณ์แบรนด์ การสื่อสาร การตลาด ไปจนถึงการพัฒนาสินค้าและบริการ บางแบรนด์ยังเลือกคอลแล็บกับ Pantone เพื่อสร้างความรับรู้ในกลุ่มลูกค้า เช่น ในปี 2018 MINISO ได้ร่วมมือกับ Pantone สร้างสินค้าในคอลเลกชั่น ‘MINISO Color’ หรืออย่าง Apple ที่ปล่อยสินค้าสี Rose Gold ออกมา 

สำหรับผู้ประกอบการรายย่อย การกระโดดเข้าไปเล่นกับสีแห่งปีอาจนำไปใช้กับแคมเปญทางการตลาด หรือการออกผลิตภัณฑ์ให้ดูเท่าทันกับยุคสมัย สีแห่งปียังอาจช่วยสะท้อนความต้องการของลูกค้าได้ ขณะเดียวกันก็กำหนดทิศทางผู้บริโภคได้ การวิเคราะห์สินค้าและบริการจากสีที่ Pantone เลือกให้เป็นสีแห่งปี อาจจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เดาใจลูกค้าได้ตรงขึ้น

ส่วน Pantone ในฐานะบริษัทผู้นำเรื่องสี ปฏิเสธไม่ได้ว่าสีสันของ Pantone ยังคงสำคัญ เพราะระบบสีของ Pantone ช่วยสร้างมาตรฐานและความสม่ำเสมอ เหมือนเป็นภาษาสากลของนักออกแบบ แบรนด์ และทุกคนในห่วงโซ่การทำงาน Pantone จึงสำคัญกับแบรนด์ที่จริงจังกับการสร้างแบรนดิ้ง เพื่อให้แน่ใจว่าในทุกชิ้นงานที่ผลิตออกมาจะแม่นยำ นอกจากช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ ยังช่วยสร้างการจดจำให้แบรนด์ได้ดี 

เช่นแบรนด์ใหญ่ๆ อย่าง Tiffany & Co. กับสี Tiffany Blue ที่พัฒนาโดยเฉพาะร่วมกับ Pantone ซึ่งสื่อถึงความหรูหราและความสง่างาม หรือ Starbucks ที่มีสีเขียวเป็นเอกลักษณ์ซึ่งถูกกำหนดด้วยระบบจับคู่สีของ Pantone ไปจนถึงสีของ Pepsi ที่สำคัญต่อการสร้างแคมเปญการตลาดทั่วโลก

แต่ด้วยข้อจำกัดที่ ‘Pantone Guide’ ซึ่งเป็นสินค้าหลักของ Pantone นั้นราคาค่อนข้างสูงและต้องเปลี่ยนทุก 2-3 ปี จึงอาจไม่ตอบโจทย์ผู้ประกอบการรายย่อยได้ นอกจากนั้นความขัดแย้งระหว่าง Pantone และ Adobe ในปี 2022 ที่ Adobe ได้ถอด Pantone ออกไปในซอฟต์แวร์ ยิ่งทำให้การเข้าถึง Pantone ในซอฟต์แวร์ออกแบบเข้าถึงได้ยากขึ้น ถึงอย่างนั้น Pantone ยังปรับตัวให้เข้ากับยุคดิจิทัลด้วยการออกแอพฯ Pantone Connect และซอฟต์แวร์ Pantone Color Manager ที่ช่วยให้เข้าถึงคลังสี Pantone ได้สะดวก

กล่าวได้ว่าสำหรับวงการออกแบบ การพิมพ์ แฟชั่น Pantone ยังคงมีบทบาทสำคัญทั้งในเชิงการสร้างผลงานที่สม่ำเสมอ และเป็นมาตรฐาน ยิ่งกับแบรนด์ใหญ่ๆ ที่ภาพลักษณ์นั้นสำคัญยิ่ง การใช้ Pantone ในการคุมแบรนดิ้งยังเป็นสิ่งที่ละทิ้งไม่ได้ 

สำหรับผู้ประกอบการตัวเล็กๆ การเลือกใช้หรือไม่ใช้ Pantone อาจต้องพิจารณาถึงคุณค่าที่แบรนด์หรือบริษัทให้ความสำคัญ เริ่มต้นจากคำถามง่ายๆ เช่น ซีเรียสเรื่องแบรนดิ้งแค่ไหน ไปจนถึงอุตสาหกรรมหลักที่ตนเองทำอยู่คืออะไร

Writer

พิลาทิสและแมว

VDO Creator

บรรณาธิการศิลปกรรม Email: y.pongtorn@gmail.com

You Might Also Like