นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

Golden Generation

หยิน-หยางในธุรกิจ 121 ปีของ ‘คั้นกี่น้ำเต้าทอง’ ผู้สืบทอดตำนานน้ำขมที่ลือนาม

ที่สุดของความขม โคตรขม ขมปี๋ติดปากติดคอ คือกิตติศัพท์ของน้ำขมร้อยปีที่เลื่องชื่อของคั้นกี่น้ำเต้าทอง

หน้าร้านของคั้นกี่น้ำเต้าทองตั้งอยู่ที่เยาวราชมา 121 ปี โดดเด่นด้วยน้ำเต้าทองคู่ตั้งเด่นกลางร้าน ขายน้ำขม-น้ำหวานสูตรเก่าแก่ มีสรรพคุณรักษาอาการร้อนใน บำรุงสมดุลธาตุในร่างกาย สูตรน้ำขมแก้หยางสูง ส่วนน้ำหวานแก้หยินพร่อง

สัญลักษณ์เครื่องหมายการค้าน้ำเต้าคู่มีความหมายลึกซึ้งสื่อถึงหยินและหยาง ออกแบบโดยซินแสตามหลักฮวงจุ้ยตั้งแต่สมัยคุณทวด ค้างคาว 5 ตัวที่อยู่ในเมฆเหนือน้ำเต้าสื่อถึง 5 ธาตุแบบจีน คือ ดิน น้ำ ไม้ ไฟ ทอง มีสัญลักษณ์ของ ฮก ลก ซิ่วซ่อนอยู่ สื่อถึงลาภ ยศ สรรญเสริญ น้ำเต้าทองยังเป็นภาชนะบรรจุยาของคนจีนในยุคโบราณ นับเป็นสิ่งของมีค่าในบ้านอีกด้วย

น้ำขมเป็นชื่อน้ำสมุนไพรที่หลายแบรนด์ใช้เรียกทั่วไป แต่ต้นตำรับผู้คิดค้นน้ำขมในไทยเจ้าแรกคือคั้นกี่น้ำเต้าทองที่นำสูตรยาสมุนไพรแผนโบราณมาจากเมืองจีนโดยทุกวันนี้ต่อยอดสินค้าจากสมุนไพรหลายชนิดและรูปแบบพร้อมแพ็กเกจที่ทันสมัย ทั้งแบบผงพร้อมชงดื่ม แบบเม็ดบรรจุแผง ลูกอมสมุนไพรที่สดชื่น ชุ่มคอ รวมทั้งต้มสดแบบดั้งเดิมและสเลอปี้สำหรับคนรุ่นใหม่พร้อมขายที่หน้าร้าน เน้นคอนเซปต์ที่อยากผลักดันต่อไปในอนาคตคือทานอาหารให้เป็นยา

วันนี้ทายาทของคั้นกี่น้ำเต้าทอง 3 เจนฯ 3 รุ่น เสถียร ธรรมสุริยะ รุ่น 3, ชวน ธรรมสุริยะ รุ่น 4 และชัชภณ ธรรมสุริยะ รุ่น 5 จะมาแกะแพ็กเกจยาและใบปลิวโฆษณายุคก่อน เล่าเรื่องราวเทคนิคการขายยาตั้งแต่ร้อยกว่าปีที่แล้วซึ่งไม่เหมือนสมัยนี้ การพัฒนาสูตรในโรงงาน และการปรับตัวตามโลก เรื่องราวยาวนานกว่าศตวรรษที่คลี่ให้เห็นประวัติศาสตร์ของวงการยาสมุนไพรไทยและปรัชญาหยิน-หยางที่ซ่อนอยู่ในธุรกิจ

ต้นตำรับยาขมที่ลือนาม

คุณทวด ไค้ แซ่ถ่ำ เป็นชาวจีนย้ายถิ่นฐานจากกวางตุ้งมาตั้งรกรากในไทย เปิดร้านค้าเพิงหมาแหงนขายน้ำสมุนไพร

ครอบครัวธรรมสุริยะรำลึกประวัติการก่อตั้งสมัยนั้นว่า “แรกเริ่มค้าขายเป็นห่อ สั่งมาทีละ 100 ห่อต่อเดือน ค่อยๆ ขายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พอเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ช่วงนั้นร้านที่ค้าขายยาสมุนไพรจากจีนต้องหนีสงครามจากกวางตุ้งมาที่ฮ่องกง เราช่วยเหลือเขาให้หนีภัยสงครามบวกกับทางนั้นเห็นว่าเราสั่งของเยอะเลยบอกว่าเอาไปผลิตขายเองดีไหม”

คุณชวนบอกว่าต้นตำรับของน้ำขมเป็นยาพื้นบ้านซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายในท้องถิ่นแถบจีนตอนใต้ ฮ่องกง และกวางตุ้ง

“ตอนที่คุณทวดเอายาจากจีนมาเมืองไทย เนื่องจากไทยมีอากาศร้อนชื้น คนไทยกินของเผ็ด มัน คุณทวดเลยเพิ่มฤทธิ์ยาเข้าไปให้เหมาะกับวิถีชีวิต เวลาเล่าให้ผู้บริโภค เราบอกว่าสูตรนี้คือสูตรยาแผนจีนโบราณที่เสริมฤทธิ์ เพิ่มกำลังของยาโดยเติมสมุนไพรท้องถิ่นลงไป กลายเป็นแบรนด์ของเรา สูตรน้ำเต้าทอง”

ร้านขายน้ำขมและน้ำหวานจึงถือกำเนิดขึ้นใน พ.ศ. 2444 ใช้ชื่อยี่ห้อ ‘น้ำเต้าทอง ซังโฮ่วโล้วเลี่ยงเต๊’ ตอนก่อตั้ง

ส่วนผสมของน้ำขมเป็นสมุนไพร 24 ตัวที่คุณชวนบอกว่าทำยาก “วัตถุดิบ 24 ตัวนั้นไม่ง่าย ส่วนใหญ่เป็นรากต้นไม้ เคยได้ยินยาไทยชื่อยาแก้ไข้ 5 รากไหม มีหลักการทำยาเหมือนกันคือใช้รากมาแก้ไข้ แต่ของเราเป็นยาจีน” 

สรรพคุณหลักคือแก้ร้อนใน หมายถึงกลุ่มอาการที่หยางสูงกว่าหยิน ทำให้มีธาตุร้อนมากเกินไป เช่น ไอร้อน (ไอมีเสมหะเหนียว) หวัดร้อน (หวัดมีน้ำมูกข้น) หวัดแดด ลิ้นแตก ในปากเป็นแผล คอเจ็บ คอแห้ง อดนอน ฯลฯ

คุณชวนอธิบายว่าโดยทั่วไปแล้วน้ำขมแก้หยางสูง ช่วยลดร้อนใน น้ำหวานแก้หยินพร่องช่วยเย็นใน แต่ธรรมชาติของแต่ละคนมีธาตุหยิน-หยางในตัวไม่เท่ากันทำให้เหมาะกับการกินน้ำสมุนไพรไม่เหมือนกัน “คนกินยาขมแล้วยังเป็นซ้ำบ่อยๆ ต้องกินยาหวาน บางคนกินยาขมแล้วกดเกินไป เป็นถี่ เลยกินทีเดียว 2 อย่าง กินยาหวานช่วยจะทำให้ระยะความถี่ของอาการห่างออกไป” 

ในด้านรสชาติ ลูกค้าที่มาหน้าร้านแล้วกินน้ำขมไม่ไหวจะเอาน้ำหวาน หรือที่ปัจจุบันเรียกว่าเก๊กฮวย 8 เซียนมาผสมเพื่อให้ทานง่ายขึ้น

ขายดิบขายดีที่ชุมทางค้าขาย

ในยุคแรกเริ่ม คุณชวนบอกว่าคนรู้จักคั้นกี่น้ำเต้าทองที่เยาวราชเยอะเพราะตำแหน่งร้านดี “ตรงที่เราอยู่เป็นภูมิศาสตร์ของการตลาด เป็นแหล่งชุมชน สมัยตอนพ่อหนุ่มๆ เหมือนสยามสแควร์”

เมื่อร้อยปีก่อนที่สามแยกเฉลิมบุรี เยาวราชเป็นชุมทาง มีรถรางผ่าน เป็นจุดต่อรถไปสนามหลวง สวนลุมฯ หัวลำโพง เป็นแหล่งเฮฮาบันเทิงที่ผู้คนรวมตัวเฮฮาสังสรรค์กัน รายล้อมด้วยโรงหนังเฉลิมบุรี โอเดียน บรอดเวย์ และโรงมหรสพทั้งโรงงิ้ว โรงลิเกไม่ต่ำกว่า 10 โรง ทำให้มีคนสัญจรไปมาเยอะ เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ดีในการค้าขาย

รุ่นสองผู้รับช่วงต่อจากรุ่นหนึ่ง คือ คุณปู่องอาจและคุณย่าจินต์ ธรรมสุริยะ ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลัก หนังสือประวัติคั้นกี่น้ำเต้าทองของครอบครัวบันทึกเรื่องราวในยุคนั้นเอาไว้ว่า  

“ขายเป็นชาม ชามละ 1 สตางค์ เริ่มขายตั้งแต่ 9 โมงเช้า เรียง 3 เตา น้ำขม 2 หม้อ น้ำหวาน 1 หม้อเพราะน้ำขมขายดีกว่า ช่วง 1-4 ทุ่ม ลูกค้าจะเข้ามาซื้อมากเพราะมีโรงมหรสพมาก”

ทายาทรุ่นสามอย่างคุณเสถียรนั้นช่วยที่บ้านค้าขายตั้งแต่เด็ก “มีหน้าที่ช่วยคุณแม่หาฟืนและถ่านมาต้มยาตั้งแต่เด็กๆ ต้มไปขายไป วิ่งไปหาซื้ออุปกรณ์ต่างๆ เช่น ขวด กระป๋อง เชือกปอผูกขวด เชือกกล้วยผูกกระป๋องเพื่อใช้บรรจุน้ำขม น้ำหวาน แถวสะพานเหล็กล่างและตลาดน้อย”

สมัยนั้นเมื่อมีลูกค้ามากขึ้นและอยากซื้อแบบ takeaway จะประยุกต์เอากระป๋องนมข้นหวานมาใส่เชือกกล้วยห้อยสำหรับถือกลับบ้านโดยราคาเพิ่มมาเป็นกระป๋องละ 2 สตางค์ ขายดิบขายดีจนต้องเตรียมกระป๋องนมไว้ 3-4 เข่งต่อวัน

 

บุกเบิกสมุนไพรแบบชงละลาย
จากการสังเกตกาแฟ instant

การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเมื่อคุณเสถียรเข้ามาทำเต็มตัวคือการคิดค้นน้ำขมและน้ำหวานชนิดกลับไปต้มเองที่บ้านได้ เริ่มจากตั้งคำถามว่า “ทำยังไงจะให้การขายยากระจายกว่านี้ ทำยังไงจึงจะสะดวกแก่ผู้ซื้อมากกว่านี้”

คุณเสถียรลองโม่ยาเป็นผงละเอียดด้วยตัวเอง ใส่ในซองกระดาษคล้ายผ้าสาลูที่ต้มได้โดยไม่ละลายน้ำ คุณชวนบอกว่า “จากแต่ก่อนใช้ผ้าดิบ พัฒนามาใช้กระดาษกรองที่ต้มแล้วไม่เปื่อยไม่ยุ่ย ต้มได้ 1-2 ชั่วโมง เป็นกระดาษกรองที่ไม่มีใครมี แล้วปรับให้ซีลได้เหมือนชาผงสำเร็จรูปสมัยนี้”

ด้วยเหตุนี้เมื่อกิจการไม่จำกัดแค่ค้าขายหน้าร้าน แต่สามารถทานเองที่บ้านได้ ธุรกิจจึงขยับขยายเข้าสู่ยุคทอง จากตึกแถวเติบโตเป็นโรงงาน ขายต่างจังหวัดทั่วประเทศ

ในยุคนั้นแบรนด์ต่างชาติเริ่มคิดค้นกาแฟสำเร็จรูปที่ได้รับความนิยม คุณชวนรับช่วงต่อมาช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างเต็มตัวโดยได้คำแนะนำจาก ดร.ฤกษ์ ศยามานนท์ อดีตอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อนของคุณเสถียรผู้ชี้แนะกรรมวิธี spray dye ที่บริษัทกาแฟชื่อดังของไทยใช้

หลักคิดสำคัญที่คุณเสถียรและคุณชวนมีคือวิธีคิดแบบนวัตกรที่ช่างสังเกตและลงมือทำ “เห็นกาแฟทำได้ เลยคิดว่าสมุนไพรก็น่าจะทำได้เหมือนกัน” ทั้งนี้การสกัดยาผงแบบใหม่ต้องนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศและลองผิดลองถูกอยู่พักใหญ่ โดยเฉพาะน้ำหวานที่สกัดจากดอกเก๊กฮวย ที่ต้องรักษากลิ่น รสชาติและสรรพคุณของสมุนไพรไว้

เมื่อทำสำเร็จจนน้ำขมและน้ำหวานเป็นที่รู้จักมากขึ้นก็นำสมุนไพรอื่นมาสกัดเพิ่มเติม ออกสินค้าใหม่เป็นเครื่องดื่มสมุนไพรชนิดชงละลายอื่นๆทั้งจับเลี้ยง มะขามป้อม บัวบก ในส่วนยาขมและยาหวานก็ปรับแพ็กเกจอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาให้เข้ากับยุคสมัย

คุณชวนยังริเริ่มทำยาเม็ดสำเร็จรูปก่อนจะพัฒนาเพิ่มเติมเป็นลูกอมที่คนรุ่นใหม่คุ้นชินมากขึ้น “เอามาตอกเป็นเม็ด ทำส่วนผสมให้รสไม่จัด เติมมินต์ เติมความเย็นให้น่ากิน” ลูกอมสมุนไพรมีหลายรสโดยต่างมีสรรพคุณพิเศษของตัวเอง ทั้งลูกอมจับเลี้ยง ชะเอมมินต์ มะขามป้อม ชาเขียวใบหม่อน ตรีผลา

นิยามอาหารเป็นยา แล้วจะขายที่ไหนก็ได้ 

ระยะเวลากว่าร้อยปีทำให้คุณชวนมองเห็นการเปลี่ยนแปลงของวงการสมุนไพรไทย และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาที่มีข้อจำกัดทางกฎหมาย

“สมัยก่อนยาสัตว์ยังไม่แพร่หลาย เอายาขมไปให้สัตว์กินได้ ไก่เป็นขี้ตาแฉะ วัวเป็นกลีบเท้าเปื่อย เอาไปให้กินก็หายจริง แต่ซาลงเพราะกฎหมายไม่รับขึ้นทะเบียนเป็นยาสัตว์

“ยุคก่อน พ.ศ. 2526 ยังไม่ได้ประกาศว่ายาต้องขายในร้านขายยา ขายที่ไหนก็ได้  ไปขายที่งานหนังกลางแปลง พอฉายหนังกลางคืน ชาวบ้านแห่มาดูหนังก็โฆษณาขายยาไปด้วย มีรถขายยาไปทุกจังหวัด ขายตามงานที่ขายของธรรมชาติ พอออกกฎใหม่ ต้องขายในร้านขายยาเท่านั้น ไปโฆษณากลางถนนไม่ได้”

จากการทำงานในวงการสมุนไพรและคลุกคลีกับกฎหมายไทยคุณชวนบอกว่า หากนิยามเป็นยาต้องขายในร้านขายยาเท่านั้น หากนิยามเป็นอาหารหรือเครื่องดื่ม สามารถขายที่ไหนก็ได้

ดังนั้นเพื่อการส่งเสริมการขายอย่างสะดวก คุณชวนจึงเลือกตั้งคอนเซปต์ “ทานอาหารเป็นยา” นิยามสินค้าของ Nam Tao Thong Herb เป็นอาหารเพื่อช่องทางการขายที่แพร่หลายกว่าเพราะสิ่งสำคัญคือขายยังไงและขายที่ไหน

ในอนาคตครอบครัวธรรมสุริยะตั้งใจต่อยอดแนวคิดการทำอาหารให้เป็นยาต่อไป

เพื่อให้คนซื้อได้ง่าย มีตัวเลือกหลากหลายให้ทานในชีวิตประจำวัน

อยากเป็นเซียนสมุนไพรที่เข้าใจง่าย   

ปัจจุบันคุณชัชภณ ทายาทรุ่น 5 รับหน้าที่ดูแลด้านการตลาด “พยายามทำให้ยี่ห้อเราเข้าถึงง่าย ปรับขวดทรงน้ำเต้าให้น่าซื้อ ปรับโลโก้

“ขวดเดิมมีข้อดีคือลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ กลมเหมือนน้ำเต้า แต่มีข้อเสียคือ บุบง่ายระหว่างขนส่ง ใช้เนื้อที่ในการขนส่งเยอะ และลูกค้าทานไม่หมดในครั้งเดียว พอเราออก SKU ใหม่ที่เป็นขวดน้ำเต้าทรงแบน ขนส่งได้ดีขึ้น ลดปริมาณให้ทานได้หมดพอดีและขายในราคาที่ถูกลง คนรับไปขายต่อก็ทำราคาได้ดีขึ้น”

สิ่งสำคัญคือการปรับการสื่อสารให้สมุนไพรเข้าใจง่ายกับคนทั่วไปมากขึ้น

“รุ่นก่อนไม่ได้พูดส่วนผสม เวลาพูดถึงน้ำหวาน คนรุ่นใหม่จะเข้าใจว่าน้ำหวานเฮลซ์บลูบอยหรือเปล่า เดี๋ยวนี้คนต้องการรู้รายละเอียดมากขึ้น เลยเรียกใหม่จากน้ำหวานเป็นเก๊กฮวย 8 เซียนให้เข้ากับยุคสมัย แปดเซียนหมายถึงมีสมุนไพรอื่นๆ อีกแปดตัวรวมกัน”

เครื่องดื่มแต่ละรสมีจำนวนสมุนไพรต่างกัน เรียกเป็น ‘เซียน’ ให้จำง่าย อย่างน้ำขม 24 เซียน จับเลี้ยง 10 เซียน 

จากสมัยก่อนที่กลุ่มลูกค้าหลักอายุ 40+ นิยมทานน้ำขมรสชาติตำรับจีนดั้งเดิมเป็นประจำทุกวัน ทายาทคนหนุ่มพบว่าบางคนคุ้นหูชื่อเสียงน้ำขมที่ลือนามแต่ทนความขมไม่ไหว เลยเพิ่มตัวเลือกน้ำขมรสขมน้อยเข้ามา “เอาเก๊กฮวยมาผสมเข้าไปให้ขมน้อยลงกลายเป็นสูตรขมน้อยและปรับใช้น้ำตาลหล่อฮังก๊วยให้ดีต่อสุขภาพมากขึ้น ทานง่ายขึ้นด้วย”

สินค้าใหม่ที่ได้รับความนิยมมากคือสเลอปี้ จับเลี้ยงหิมะและเก๊กฮวยหิมะ นำสมุนไพรมาทำเป็นเครื่องดื่มเกล็ดหิมะ เย็นชื่นใจ ถูกอกถูกใจลูกค้าที่ไม่ได้เป็นสายสมุนไพรจ๋าไม่แพ้ลูกอมสมุนไพรที่พกพาง่ายเข้ากับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่

ช่องทางการขายก็ปรับเปลี่ยนไป จากปักหลักที่เยาวราชก็เข้าหาลูกค้ามากขึ้น “ขายออนไลน์เป็นหลัก ออกบูทตามห้างและลานกิจกรรมหลากหลายทำเล คนตอบรับดีโดยเฉพาะงานตรุษจีน สารทจีน งานเทศกาล”

คุณชัชภณบอกว่า “วิธีวัดว่าลูกค้าเก่ามาเยอะไหมเวลาออกบูทคือน้ำขมขายออกไหม ถ้าออกเยอะแปลว่าลูกค้าเก่าตามมาซื้อ” แม้รสชาติจะขมปี๋ แต่ยังเป็นรสชาติที่ดีต่อใจและกายสำหรับแฟนคลับน้ำขมที่ทานต่อเนื่องมาเนิ่นนาน 

หยิน-หยางกับสมดุลในธุรกิจ

ในตำราธุรกิจ หยิน-หยางเป็นแนวคิดหนึ่งที่ใช้บริหารชีวิตและธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ

หยางคือรุก หยินคือรับ
หยางคือการแสวงหาโอกาส สร้างผลิตภัณฑ์และการตลาดเชิงรุกให้เติบโตโดยไม่รอเพียงตั้งรับผลกระทบ มุ่งมั่นผลักดันเป้าหมายและนวัตกรรมสู่อนาคต

หยินคือการอยู่กับปัจจุบัน ทำงานตรงหน้า รับมือกับอุปสรรค แก้ไขปัญหาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น สร้างความสัมพันธ์และรักษากำลังใจ

ตลอด 121 ปี ทายาทแต่ละรุ่นของคั้นกี่น้ำเต้าทองใช้ทั้งหยินและหยาง ไม่ใช่แค่กลยุทธ์แต่รวมถึงวิธีคิดทางธุรกิจที่เตรียมพร้อมสำหรับการรุกและรับเสมอ

ข้อคิดการใช้หยินจากคุณเสถียร ซึ่งเป็นรุ่นที่ 3 คือ “ถ้าถามว่าช่วงไหนของชีวิตที่ท้อที่สุดลำบากที่สุด สำหรับผมตอบได้เลยว่าไม่มี เพราะผมเป็นคนประเภทไม่มั่นคงไม่เดิน ไม่แน่ใจไม่เดิน ถึงแม้จะมีพลาดบ้างแต่ไม่ถลำลึก ตลอดเวลาของเรา จะบุกอย่างมีระเบียบ ถอยก็ถอยอย่างมีระเบียบ สิ่งที่เกินตัวจะไม่ทำ ผมทำแบบนี้มาตั้งแต่วัยเด็ก จะเดินอย่างพอดี อะไรที่เป็นความเสี่ยงจะไม่ทำ เพราะถ้าล้มแล้วไม่ใช่เราแค่คนเดียว แต่ยังหมายถึงลูกน้องและทุกๆ คนที่อยู่ข้างหลังเราด้วย”

คุณชวน รุ่นที่ 4 ผู้โดดเด่นด้านคิดค้นผลิตภัณฑ์ ไม่เพียงใช้หยางในการรุกและเร่งเดินหน้ากับธุรกิจส่วนตัวเท่านั้นแต่ยังแบ่งปันความรู้ให้วงการสมุนไพรพร้อมตั้งรับเทคโนโลยีเช่นเดียวกัน โดยรับตำแหน่งเป็นประธานกลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยคนแรกเพื่อขับเคลื่อนองค์ความรู้เรื่องยาแผนโบราณและสมุนไพรกับภาครัฐด้วย

“สมัยนั้นเวลาหน่วยงานราชการมาดูเครื่องจักรผลิตยาแผนโบราณที่ทันสมัย ก็มาดูที่คั้นกี่น้ำเต้าทอง เพราะเราก้าวหน้ามากที่สุดในเรื่องเทคโนโลยีและเครื่องจักรใหม่ๆ ผมก็ไม่มีอะไรปิดบังให้ความรู้ต่างๆที่มีหมด เพราะเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและวงการสมุนไพรไทย คงเป็นเพราะบรรพบุรุษที่สอนกันมารุ่นต่อรุ่นเสมอว่า ทำงานต้องมีความซื่อสัตย์ ต้องเห็นแก่ส่วนรวม อย่าเอาแต่ประโยชน์ส่วนตัว”

คุณชัชภณ ทายาทรุ่น 5 กล่าวถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จากรุ่นก่อนว่า “คุณพ่อเชี่ยวชาญเรื่องปรุงสมุนไพร การผลิต รู้การใช้งานจริง ลงมือทำจริง พลิกแพลงหน้างาน เชี่ยวชาญการทำเครื่องจักร เคยจัดการเครื่องจักรทุกเครื่อง เวลามีปัญหาแก้ได้”

“สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกจากความรู้จากการทำงาน คือ การสังเกตพฤติกรรมลูกค้า สังเกตว่าคนรุ่นใหม่ เขามีปัญหาอะไรในการเข้าถึงน้ำสมุนไพรของเราบ้าง ได้ผิดลองถูกหาสินค้ารูปแบบใหม่ๆ แพ็คเกจใหม่ๆ ไปตอบ pain point ของเขา นอกจากกลยุทธ์และการเข้าใจลูกค้าว่าต้องการอะไรแล้ว การเปิดใจและเข้าใจคนที่ทำงานร่วมกันก็เป็นอีกตัวแปรที่สำคัญไม่แพ้กัน การทำงานข้ามรุ่น ข้าม generation ต้องเข้าใจและยอมรับในความคิดซึ่งกันและกัน ให้ความเคารพในวิธีคิดของซึ่งกันและกัน จึงจะทำงานด้วยกันได้อย่างสมดุล”

เพราะแตกต่างจึงสมดุล รู้จักรุกและรับ

เหมือนที่มีหยินย่อมต้องมีหยาง มีน้ำขมย่อมมีน้ำหวาน

การอยู่คู่กันทำให้เกิดความสมดุลพอดี

Writer

Craft Curator, Chief Dream Weaver, Lifestyle Columnist, Editor-in-Cheese, Design Researcher 'Instagram : @rata.montre'

Photographer

ช่างภาพที่สนุกกับการแต่งตัว อยู่กับเสียงเพลง และหลงรักในความทรงจำ Ig : mocfirst

You Might Also Like