นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

ทะเลใจ

‘ทะเลใจ’ จากทะเลในฐานะใบสั่งยายุควิคตอเรียน สู่ความเฟื่องฟูของกิจการบ้านพักตากอากาศ

แต่ไหนแต่ไร ทะเลเป็นเหมือนดินแดนแห่งการเยียวยารักษา 

ไม่ว่าจะด้วยเสียงคลื่นที่เวียนวนไม่รู้จบ ไอเค็มที่โชยมากับคลื่นลม หรือจะเป็นการบรรจบกันของเส้นขอบฟ้าและผืนทะเลที่สวยงามราวภาพวาด สิ่งเหล่านี้เป็นเหมือนตัวยาในแคปซูลที่หมอจ่าย จนไม่ว่าจะเจ็บกายหรือเจ็บใจ มนุษย์เราก็ต้องขอเตร่ไปทะเล

ทว่ากว่าทะเลจะกลายเป็นพื้นที่ของการบำบัดรักษา ทะเลก็เป็นอีกพื้นที่ที่มีความหมายทางวัฒนธรรมของตัวเอง ด้วยความเปลี่ยนแปลงของโลกสมัยใหม่ การเกิดขึ้นของเมืองและการเดินทางที่ทำให้เรากลัวธรรมชาติลดลง ไปจนถึงความเปลี่ยนแปลงของความเชื่อทางการแพทย์ ทะเลที่เคยเป็นตัวแทนของความตายและดินแดนที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลังจึงค่อยๆ กลายเป็นพื้นที่ของการเยียวยาหัวใจ เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจการค้าริมทะเลและกิจการบ้านพักตากอากาศ

ในช่วงปลายฤดูร้อนแบบนี้น่าจะเป็นช่วงท้ายๆ ที่เราจะได้หนีไปนอนโง่ๆ ที่ริมทะเล ต่อให้ชีวิตเราสบายดีแต่การไปทะเลยังมีความหมายในการเยียวยาจากการทำงานและชีวิตจริง คอลัมน์ทรัพย์คัลเจอร์ขอพาทุกท่านกลับไปยังจุดเริ่มของกระแสการไปทะเลเพื่อบำบัดรักษา 

จากใบสั่งแพทย์โบราณที่พาผู้ป่วยไปยังชายหาดเพื่อบำบัดผ่านการจับกดลงน้ำ สู่วันที่องค์ความรู้ทางการแพทย์พัฒนาขึ้นจนการไปทะเลเพื่อเยียวยา (จริงๆ) กลายเป็นภาคปฏิบัติของคนทั่วไป

ทะเลกับพลังเยียวยาอันลึกลับ

มุมมองปัจจุบัน ทะเลเป็นพื้นที่ของความรื่นรมย์และการพักผ่อน แต่ความรู้สึกนี้พัฒนามาจากการที่เรามองธรรมชาติในมุมที่ไม่น่ากลัวอีกต่อไป เพราะถ้าพูดกันจริงๆ ในยุคโบราณทะเลเป็นโลกของสิ่งที่เราอธิบายไม่ได้และเป็นพื้นที่ของเหล่าภูตผีและอสูรกาย ทะเลมักเป็นตัวแทนของความบ้าคลั่ง เป็นพื้นที่อันตราย การยืนมองท้องทะเลของมนุษย์หมายถึงความหวาดหวั่น ความเวิ้งว้าง

ในสมัยก่อนการไปชายหาดและทะเลไม่ได้ง่ายแบบปัจจุบัน แต่ต้องดั้นด้นเพื่อออกเดินทางด้วยเรือและพาหนะต่างๆ เพราะชายหาดมักเป็นพื้นที่ห่างไกล เป็นที่อยู่ที่กินของชาวประมงซึ่งไม่ใช่กลุ่มชนที่มีฐานะมากนัก สำนวนของกะลาสีในสมัยก่อนที่ว่า ‘on the beach’ ยังมีนัยของการถูกทิ้งไว้ สะท้อนถึงความยากจนและไม่มีทางไป 

การเปลี่ยนแปลงเชิงความหมายของทะเลจึงสัมพันธ์กับบริบทสังคมหลายอย่าง โดยเฉพาะการมาถึงของการแพทย์สมัยใหม่และรถไฟของอังกฤษ จุดเปลี่ยนสำคัญของการไปทะเลเพื่อรักษาเริ่มต้นในราวปลายศตวรรษที่ 18 ในสมัยนั้นเกิดกระแสการรักษาด้วยการ ‘อาบทะเล’ แพทย์อังกฤษในยุคนั้นมีการจ่ายยาให้ผู้ป่วยด้วยการไปอาบน้ำทะเล ด้วยเชื่อว่าคลื่นและน้ำเค็มเป็นเครื่องมือในการรักษาโรคบางชนิด

ประเด็นเรื่องน้ำและการเยียวยารักษาค่อนข้างอยู่ในความเชื่อดั้งเดิมของโลกตะวันตก น้ำถือเป็นตัวแทนและของขวัญจากพระเจ้า เช่น ในยุคก่อนหน้าคือในศตวรรษที่ 16 มีความเชื่อเรื่องเมืองสปา แต่ในยุคแรกของการบำบัดด้วยน้ำค่อนข้างเชื่อว่าน้ำพุหรือน้ำผุดจากผิวดินเป็นตัวแทนของการรักษาจากพระเจ้า ซึ่งบ่อน้ำธรรมชาติเองก็อาจประกอบด้วยแร่ธาตุ สารอย่างกำมะถันซึ่งรักษาอาการบางประเภทได้

การจ่ายยาให้ไปทะเลจึงสัมพันธ์กับความรู้ทางการแพทย์โบราณ ทำนองเดียวกันกับเรื่องธาตุซึ่งตะวันตกอย่างกรีกก็น่าจะได้รับมาจากทางตะวันออก แต่ตะวันตกจะเชื่อว่าความเจ็บป่วยและลักษณะอารมณ์ของผู้คนสัมพันธ์กับสมดุลของน้ำในร่างกาย 4 ประเภท (4 humors) คือเลือด เสมหะ น้ำเหลือง และน้ำดี (blood, phlegm, yellow bile, black bile)

ความเชื่อเรื่องสมดุลของน้ำในอังกฤษรวมถึงการให้ผู้ป่วยไปอาบทะเลยังค่อนข้างสัมพันธ์กับตำรา The Anatomy of Melancholy ของนักคิดนาม Robert Burton เขาเชื่อว่าอาการเจ็บป่วยที่เรียกว่า Melancholy คืออาการโศกเศร้าที่เชื่อมโยงกับน้ำดีและม้าม เบอร์ตันยังเชื่อว่าการเปลี่ยนบรรยากาศรวมถึงการมองพื้นที่เวิ้งว้างกว้างไกลจะช่วยเยียวยาความเศร้า (ที่ตอนนั้นเชื่อว่ามาจากความไม่สมดุลของร่างกาย) ได้

กว่าจะถึงทะเลใจ ยังมีทะเลคลั่ง 

สองร้อยปีต่อมาจากคุณเบอร์ตัน บรรดาแพทย์ในศตวรรษที่ 18 ได้แรงบันดาลใจจากมุมมองทางการแพทย์และแนวทางการรักษา ในศตวรรษนี้เองที่แพทย์เริ่มระบุให้ผู้ป่วยเดินทางไปทะเลในฐานะส่วนหนึ่งของการรักษา แต่การรักษาด้วยทะเลอย่างเป็นทางการในยุคแรกไม่ใจดีกับคนป่วยเท่าไหร่

คำว่าการอาบทะเลหมายถึงการที่ผู้ป่วย (ส่วนใหญ่เป็นสุภาพสตรี) จะมีผู้ช่วยซึ่งจะจับผู้ป่วยกดลงในน้ำทะเล เพื่อแช่ตัว ให้คลื่นซัด และให้อยู่ในภาวะจมน้ำหรือใกล้หมดลมเพราะเชื่อว่าจะช่วยรักษาอาการบางอย่างได้ ส่วนระยะเวลาและการกำหนดอวัยวะที่จะแช่อยู่ในน้ำแพทย์จะเป็นผู้กำหนด

แต่ความเชื่อเรื่องการเจ็บป่วยจากปัจจัยต่างๆ นั้นเริ่มเปลี่ยนไปเมื่อเกิดการค้นพบทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์สมัยใหม่ เช่น มีการค้นพบออกซิเจนในปี 1778 และการค้นพบเชื้อโรคที่ทำให้เราเข้าใจว่าความเจ็บป่วยมาจากสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ดังนั้นความเชื่อเรื่องสมดุลของน้ำจึงเริ่มสำคัญลดลง แต่ความคิดเรื่องอากาศบริสุทธิ์และสุขอนามัยก็ยังคงสัมพันธ์กับการไปทะเลเพื่อสุขภาพ การไปตากอากาศดีๆ ที่สะอาดไร้การปนเปื้อนที่ชายหาดจึงตรงกันข้ามกับอากาศสกปรกของเมืองอุตสาหกรรม

จุดนี้เองที่พื้นที่ชายทะเลเริ่มเกิดการพัฒนาถึงขั้นเกิดรีสอร์ตริมทะเลขึ้น การไปทะเลในยุคแรกๆ มีแรงบันดาลใจจากการเดินทางไปรักษา ส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่คนชั้นสูงเท่านั้นที่กระทำได้ เช่น ในทศวรรษ 1780 มกุฎราชกุมารที่ต่อมาคือพระเจ้าจอร์จที่ 4 เสด็จไปเมืองไบรตัน (Brighton) ตามคำแนะนำและกล่าวว่าการแช่น้ำทะเลช่วยบรรเทาอาการปวดเกาต์ได้ดี จากนั้นก็เริ่มกลายเป็นกระแสและมีการแข่งขันกันในหมู่ชนชั้นสูง 

ยุควิคตอเรียน รถไฟ และเก้าอี้ผ้าใบ

ความเฟื่องฟูของเมืองริมทะเลสัมพันธ์กับบริบทสังคมในยุคต่อมาหรือยุควิคตอเรียน (เริ่มต้นในปี 1830) ด้วยเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ทำให้เกิดกลุ่มคนชั้นกลางหรือกลุ่มคนที่มีเงินและมีเวลาว่าง 

ในยุคนี้ ผู้คนยังเชื่อเรื่องความสะอาดและอากาศบริสุทธิ์ พื้นที่ริมทะเลจึงยังคงมีมนตร์ขลังและเป็นกิจกรรมพักผ่อนเพื่อการเยียวยา โดยเฉพาะการหลบหนีออกจากเมืองอันสกปรกวุ่นวายจากโลกอุตสาหกรรม

จุดเปลี่ยนสำคัญที่สุดของการท่องเที่ยวและกลุ่มรีสอร์ตริมทะเลคือการขยายตัวรางรถไฟในทศวรรษ 1820-1830 รถไฟที่ทอดจากเมืองใหญ่ไปถึงพื้นที่ริมทะเลเปิดโอกาสให้คนชั้นกลางสามารถนั่งรถไฟไปพักผ่อนบนชายหาดได้ รถไฟทำให้การเดินทางไปถึงพื้นที่ริมทะเลราคาถูกลง ใช้เวลาน้อยลง ทะเลเป็นพื้นที่ที่ให้ความหมายใหม่จากการทำงานในระบบที่จำเจน่าเบื่อหน่าย 

กลางศตวรรษที่ 19 เป็นช่วงเวลาที่การไปทะเลกลายเป็นกิจกรรมที่แทบจะหมายถึงคำว่า ‘วันหยุดพักผ่อน’ ชายหาดในยุควิคตอเรียนเต็มไปด้วยผู้คน มีตลาดนัดวันหยุด มีบริการลาตัวเล็กๆ ให้ขี่ มีขนมหวาน สายไหม และกิจกรรมเพลินใจอื่นๆ ชายหาดมักจะคลาคล่ำไปด้วยผู้คนตามการเปลี่ยนแปลงของบริบทสังคมที่เริ่มมีเวลาว่างและมีกำลังซื้อ

หนึ่งในสิ่งประดิษฐ์สำคัญของกิจกรรมเที่ยวทะเลของชาววิคตอเรียนคือการจดสิทธิบัตรเก้าอี้ชายหาด (deck chair) เป็นสิ่งประดิษฐ์ของ John Thomas Moore ซึ่งขึ้นทะเบียนในปี 1886 เก้าอี้ผ้าใบยุคแรกสุดทำขึ้นด้วยผ้าใบสีเขียวมะกอกก่อนที่จะมีสีสันอื่นๆ ในท้ายศตวรรษ

ชนชั้นกับการเปิดพื้นที่บริโภค

การไปเที่ยวทะเลและกิจการริมทะเลค่อนข้างเติบโตขึ้นตามความแมสและบริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป การไปทะเลเริ่มต้นที่การไปบำบัดรักษาของชนชั้นสูงที่อาจต้องดั้นด้นไปด้วยรถม้า พร้อมด้วยข้าวของต่างๆ ที่ชายทะเลซึ่งขนส่งไปอย่างยากลำบาก จนมาถึงยุครถไฟที่ขยายการไปทะเลไปยังเหล่าชนชั้นกลาง แรงงานคอปกขาว เจ้าของกิจการและผู้จัดการของกิจการต่างๆ 

ทว่าชายทะเลจะแมสไม่ได้เลยถ้าคนชั้นแรงงานที่มีจำนวนหลักล้านยังไม่เข้าร่วมกิจกรรมการไปทะเล

ช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 การไปทะเลเริ่มขยายตัวไปสู่ชนชั้นแรงงาน จากการปรับลดค่ารถไฟในช่วงปี 1844 ทำให้การท่องเที่ยวชายหาดแบบวันเดียวเป็นไปได้ แรงงานส่วนใหญ่อาจมีวันหยุดได้วันเดียวหรือมีเงินไม่เพียงพอในการพักค้างคืน การเกิดขึ้นของวันหยุดไม่ว่าจะเป็นการหยุด 1-2 วันของโรงงาน และการเกิดขึ้นของวันหยุดพิเศษ (วันหยุดธนาคารครั้งแรกในปี 1871) จึงเป็นวันที่แรงงานจะเก็บเงินเพื่อไปพักผ่อนหย่อนใจในวันหยุดนักขัตฤกษ์

ความเปลี่ยนแปลงทำให้พื้นที่กิจการริมทะเลเต็มไปด้วยบริการที่แทบจะตรงข้ามกัน ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 คือทศวรรษ 1870 เป็นต้นมาถือเป็นช่วงที่แรงงานกลายเป็นผู้บริโภคและนักท่องเที่ยวหลักของเมืองและพื้นที่ริมทะเล การไปเที่ยวทะเลของกลุ่มแรงงานสัมพันธ์กับหลายมิติทางวัฒนธรรม เช่น ความเชื่อมต่อของเมืองอุตสาหกรรม ด้วยระยะทางที่เหมาะสมทำให้เกิดเมืองชายทะเลยอดนิยมขึ้น  

หนึ่งในนั้นคือเมืองไบรตัน แต่เดิมไบรตันเป็นเมืองแนวหน้าของการพักผ่อน เมืองเต็มไปด้วยรีสอร์ตหรู ร้านค้า ท่าเรือที่สวยงาม การมาถึงของแรงงานที่อาจจะเดินทางไปและกลับ หรือแรงจับจ่ายที่มีเพียงพอในการนอนค้างทำให้กิจการของเมืองต้องรับมือกับการจับจ่ายใหม่ๆ ที่อันที่จริงมีกำลังซื้อเป็นจำนวนมาก

ด้วยความที่ชายทะเลเป็นดินแดนที่ตรงข้ามกับเมือง เป็นดินแดนของการเยียวยารักษาโรคสำคัญที่เราทุกคนรู้จักดี คือโรคของความเบื่อหน่ายจากชีวิตในเมือง ชายหาดของไบรตันจึงกลายเป็นพื้นที่ผสมผสานเพื่อบริการคนทุกชั้น ในแนวชายฝั่งเดียวกันเราจะพบรีสอร์ตและร้านรวงแสนเก๋ไก๋และมีราคาแพงในพื้นที่ใกล้ๆ กัน ไบรตันจะขึ้นชื่อเรื่องพื้นที่สนุกสนาน มีคาร์นิวัล มีการแสดงแปลกๆ ภาพบางส่วนของการพักผ่อนชายทะเลจึงเริ่มมีนัยของความแปลกประหลาด ความสนุกของพื้นที่ริมทะเลจึงขยายตัวไปในทำนองของพื้นที่ประหลาด มีอาหารแปลกๆ การแสดงแปลกๆ 

ถ้าเป็นบ้านเรา เราก็อาจจะมองเห็นพื้นที่สำคัญ เช่น หัวหินที่เติบโตขึ้นตามทางรถไฟในช่วงรัชกาลที่ 5 การขยายตัวของกิจการและเมืองชายหาดที่สัมพันธ์กับถนนและการขยายตัวออกไปเรื่อยๆ เช่น พัทยา ไปจนถึงย่านอื่นๆ เช่น แสมสาร ปราณบุรี เรื่อยไปจนถึงการท่องเที่ยวในเกาะที่ไกลออกไปด้วยมีพาหนะใหม่ๆ ตามยุคอย่างการบินในประเทศและบริการเรือรับ-ส่ง

สุดท้ายแม้แต่กิจกรรมการนั่งโง่ๆ ริมทะเลให้ลมและคลื่นเยียวยาหัวใจก็อาจมีประวัติศาสตร์ร่วมสมัยที่ไม่ไกลจากทุกวันนี้นัก คราวหน้าการนั่งโง่ๆ ของเราอาจมองเห็นภาพสุภาพสตรีในศตวรรษที่ 18 ถูกทุ่มตัวลงน้ำตามใบสั่งแพทย์ด้วยก็ได้

อ้างอิงข้อมูลจาก

Writer

ชื่อว่านครับ ทำงานรับจ้างทั่วไปด้านงานเขียน ส่วนใหญ่เขียนเรื่องการเขียน การอ่าน และวัฒนธรรม เชื่อว่าพื้นที่นามธรรมเป็นสินทรัพย์ที่จะพาเราเติบโตอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

Illustrator

ชื่อกล้วยค่ะ banana blah blah เป็นนักวาด บางวันจับเม้าส์ปากกา บางวันจับลูกกลิ้งทำภาพพิมพ์ สนใจ Art therapy และการวาดภาพเพื่อ Healing เชื่อว่าการทำงานที่ดีต้องทำให้เราอิ่มทั้งกายและใจ ได้มองเห็นตัวเองเติบโตภายใน

You Might Also Like