นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

The Weekend

จุดเริ่มต้นของการทำงาน 5 วันมาจากไหน ประดิษฐกรรมสมัยใหม่ของวันทำงาน

หนึ่งวันคือการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์

หนึ่งเดือนคือระยะเวลาที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก

หนึ่งปีคือโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์

ทุกวันนี้เรายึดถึงการนับวันในหนึ่งสัปดาห์ที่ 7 วัน และใน 7 วันนั้น เราเองก็กำหนดให้เป็นวันทำงานไป 5 วัน หยุด 2 วัน ยึดถือมาเป็นธรรมชาติหนึ่งของชีวิต เป็นเรื่องแสนธรรมดาที่เราปฏิบัติเหมือนเป็นสัจธรรม ทว่า ก่อนที่ 1 สัปดาห์จะมี 7 วัน อาณาจักรโบราณเช่นโรมันก็เคยแบ่งสัปดาห์โดยมีวันทั้งหมด 8 วัน

แนวคิดเรื่องสัปดาห์ เมื่อเทียบกับการแบ่งวันและช่วงเวลาต่างๆ ที่มักเชื่อมโยงกับท้องฟ้า ดวงดารา และปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ ที่อันที่จริงเป็นสิ่งที่กำหนดการใช้ชีวิตของเราอย่างยิ่งยวด กลับเป็นสิ่งที่มนุษย์กำหนดขึ้น อันที่จริง ที่มาของวันทั้งเจ็ดและการทำงาน 5 วันก็มีที่มาจากศาสนา นั่นคือคริสต์ศาสนาและชาวยิว

จากรากฐานความเชื่อทางศาสนามาจนถึงยุคอุตสาหกรรม การทำงานในยุคนั้นยังสัมพันธ์กับความเชื่อทางศาสนา จากการหยุดวันที่ไม่ตรงกันของยิวและคริสเตียน ในที่สุดประดิษฐกรรมที่เราเรียกกันว่าวันหยุด (weekend) นอกจากจะเป็นการแก้ไขความเชื่อที่ไม่ลงรอยกันในวัฒนธรรมการทำงานที่เริ่มที่อเมริกาแล้ว การแยกวันหยุดและวันทำงานออกจากกันยังนับเป็นนวัตกรรมสำคัญในการสร้างประสิทธิภาพการทำงาน และทำให้การทำงานกลายเป็นศาสนาใหม่ของการใช้ชีวิตร่วมสมัย

ในบรรยากาศที่สังคมกำลังมองไปยังอนาคต ไปยังชีวิตที่ดี การทำงาน 5 วันก็นับเป็นหนึ่งในนวัตกรรมจากศตวรรษก่อนหน้า การทำงาน 5 วันเป็นสิ่งที่เริ่มถูกตั้งคำถามว่าเราทำงานน้อยกว่านี้ได้ไหม มีเวลาที่ใช้ไปกับการทำงานน้อยกว่านี้ได้ไหม ในทางกลับกัน บางช่วงของประวัติศาสตร์ที่การทำงาน 5 วันก่อตัว การทำงาน 5 วันอาจสัมพันธ์กับเทคโนโลยีที่ไม่ล้ำสมัยเพียงพอจนต้องใช้แรงมนุษย์ และมีการมองกันว่าในศตวรรษถัดไป มนุษย์ควรจะทำงานน้อยลงได้

และนี่คือที่มาที่ทั้งยืดยาวและแสนสั้น จากอิทธิพลของชาวสุเมเรียน การนับวันของคริสเตียนและวันหยุดศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่ตรงวัน การหาวันหยุด ประกาศในโรงงานรถยนต์ของฟอร์ด กฎหมายคุ้มครองเวลาทำงานที่ลดจาก 40 ชั่วโมงเหลือ 32 ชั่วโมงโดยไม่ลดเงินเดือน จนถึงการทดลองปรับสู่ความฝันใหม่ของการทำงาน 4 วันที่กำลังทดลองอย่างแข็งขันทั่วโลก

ศาสนาของสัปดาห์และวันหยุดสุดสัปดาห์

ความสนุกของการกำหนดให้สัปดาห์หนึ่งมี 7 วัน ฟังดูว่าน่าจะเป็นสัจธรรมทั่วไป แต่เมื่อปูทางมาว่าสัปดาห์หนึ่งมี 7 วัน เป็นการกำหนดของมนุษย์ซึ่งก็เป็นมิติทางวัฒนธรรมล้วนๆ การนับให้ 1 สัปดาห์มี 7 วันก็ค่อนข้างมีที่มาอย่างเก่าแก่ ในยุคโบราณจะมีการนับสัปดาห์ที่ 7 หรือ 8 มองอย่างคร่าวๆ ยุโรปค่อนข้างใช้ระบบ 8 วัน เช่นกลุ่มเคลติก (Celt) อารยธรรมดั้งเดิมแถบอังกฤษหรืออาณาจักรโรมันเองก็นับสัปดาห์ด้วยระบบ 8 วัน 

สำหรับระบบ 7 วันนักประวัติศาสตร์มักอ้างอิงไปที่อารยธรรมโบราณสำคัญคือชาวสุเมเรียน ในอาณาจักรบาบิโลนซึ่งค่อนข้างแผ่ขยายอยู่แถบตะวันออกกลาง การที่ยุโรปรับระบบ 7 วันก็มาจากการเปลี่ยนระบบนับสัปดาห์ของโรมัน ในสมัยโรมันที่ทางโรมันขยายอาณาจักรมาถึงตะวันออกกลาง นับยุคก็อยู่ที่ราวประมาณ 250 ปีก่อนคริสตกาล ในสมัยจักรพรรดิคอนสแตนติน จักรพรรดิผู้ก่อตั้งกรุงคอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบูลในปัจจุบัน) ในช่วงนี้เองที่โรมันรับเอาระบบ 1 สัปดาห์ 7 วันอย่างเป็นทางการ มีการให้วันอาทิตย์เป็นประธานและนับต่อโดยมีชื่อเทพเจ้าประจำดวงดาวที่มองเห็นด้วยตาเปล่าตามลำดับ

ตรงนี้เองเป็นจุดเริ่มต้นแสนไกลของวันทั้ง 7 และวันหยุด คือในสมัยคอนสแตนตินนี้เองที่องค์จักรพรรดิรับคริสต์ศาสนา จากความเชื่อเดิมที่ให้วันอาทิตย์เป็นวันเริ่มต้น ก็เลยกำหนดให้วันอาทิตย์เป็นวันแห่งการบูชาและเป็นวันสำหรับการหยุดพักผ่อนพร้อมกัน 

จากรากฐานในสมัยคริสตกาล ทีนี้ในเรื่องเล่าของคริสต์คือพระเจ้าทรงใช้เวลา 7 วันในการสร้างโลก และทรงถือให้วันสุดท้ายคือวันอาทิตย์เป็นวันพัก ตรงนี้เชื่อกันว่าคริสต์ศาสนารับเอาวิธีคิดทั้งวิธีนับวันและการวางวันหยุดมาจากสมัยโรมันนี่แหละ แต่พอเรื่องเล่าและความเชื่อแบ่งออกเป็นสองทาง คือเล่าเหมือนกันแต่วันสลับกัน ชาวยิวให้วันพักและวันเข้าโบสถ์เป็นวันเสาร์ ส่วนคริสเตียนเป็นวันอาทิตย์

ทีนี้ถ้าเรามองย้อนไป แนวคิดเรื่องการทำงานในยุคก่อนอุตสาหกรรม งานกับชีวิตเป็นเรื่องเดียวกัน คือการทำงานเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ไม่มีการแยกวันหยุดเป็นกาลเฉพาะ แต่ผู้คนจะหยุดทำงานในวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันศักดิ์สิทธื์ ทีนี้พอเราเดินทางมาถึงยุคอุตสาหกรรม หลักฐานเรื่องการให้วันหยุดสัมพันธ์กับความเชื่อในหลายขั้นตอน

แรกเริ่มสุด เราย้อนไปที่อังกฤษก่อนในฐานะประเทศที่ปฏิวัติอุตสาหกรรม เกิดโรงงานและคนเข้าไปทำงานในโรงงาน ในช่วงศตวรรษที่ 19 มีบันทึกว่าชาวอังกฤษที่ทำงานในโรงงาน จะหยุดในวันอาทิตย์ตามความเชื่อในพระคัมภีร์ คงด้วยว่างานโรงงานนั้นหนักหนา ในวันอาทิตย์ที่ได้หยุดพัก วันนั้นหนุ่มโรงงานก็จะเที่ยวเต็มที่ ทั้งดื่มกิน เล่นพนันจนเกิดอาการที่เรียกว่า ‘Saint Monday’ คืออาการโดดงานเพราะไปทำงานไม่ไหว ทีนี้โรงงานก็เลยมีการต่อรองว่างั้นจะให้วันหยุดเพิ่ม คือให้หยุดครึ่งวันของวันเสาร์และสัญญานะว่าจะมาทำงานวันจันทร์ได้ (คือให้ไปเละเย็นวันเสาร์แทน)

แนวคิดของฟอร์ด 40 ชั่วโมงและนวัตกรรมของการพักผ่อน

นับจากการให้หยุดครึ่งวันที่อังกฤษ การเริ่มต้นหยุดวันเสาร์ด้วยนั้นต้องย้ายมาที่อเมริกาซึ่งเป็นประเทศใหม่ แต่ทว่าผู้อพยพที่มีอิทธิพลในยุคนั้นโดยเฉพาะในการกำหนดวันคือคริสเตียน มีการล็อบบี้จนได้ออกกฎหมายให้ไปรษณีย์และกิจการอื่นๆ หยุดในวันอาทิตย์ตามความเชื่อ

ทีนี้ในปี 1908 โรงสีในนิวอิงแลนด์ถือเป็นหมุดหมายของการได้เริ่มหยุดสองวัน คือที่โรงสีมีคนทำงานทั้งชาวยิวและชาวคริสต์ วิธีการของโรงสีในตอนนั้นคือให้ชาวยิวหยุดวันเสาร์แล้วมาทำงานชดเชยวันอาทิตย์ ในการนั้นเอง ชาวคริสต์ที่ถือว่าวันอาทิตย์เป็นวันศักดิ์สิทธิ์ แม้แต่พระเจ้ายังหยุดก็ไม่พอใจ โรงสีก็เลยให้ชาวยิวหยุดไปเลยสองวัน หลังจากนั้นโรงงานอื่นๆ ก็เลยทำตามเรื่อยมา

จากปลายศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20 การค่อยๆ เกิดวันหยุดนับว่ายาวนานและยากลำบาก โดยสถิติในช่วงทศวรรษ 1890 ตัวเลขการทำงานในโรงงานสามารถสูงได้ถึง 100 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 

จากทำงาน 100 ชั่วโมง ในที่สุดโลกอุตสาหกรรมก็เรียนรู้ถึงพลังของการลดชั่วโมงการทำงานลง จุดเริ่มของการทำงาน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ วันละ 8 ชั่วโมง 5 วัน มาจากเฮนรี่ ฟอร์ด เจ้าพ่ออุตสาหกรรมยานยนต์และหนึ่งในผู้ปฏิวัติโลกสมัยใหม่ผ่านล้อและสายพานโรงงาน

เฮนรี่ ฟอร์ด เป็นผู้วางระบบการทำงานแบบสมัยใหม่ที่ยังส่งอิทธิพลมาในทุกวันนี้ คือการวางชั่วโมงการทำงานที่ให้วันหยุดเสาร์-อาทิตย์พร้อมระบบการจ่ายค่าจ้างรายวันที่คิดเป็นชั่วโมง ยุคอุตสาหกรรมก่อนนี้เชื่อเรื่องประสิทธิภาพ การทำงานเต็มระบบ ทุ่มเวลาให้การทำงานเป็นแนวทางสำคัญ แต่โรงงานรถยนต์ของฟอร์ดที่เปิดในปี 1922 โรงงานรถยนต์นี้มาพร้อมนวัตกรรมระบบการทำงาน 40 ชั่วโมงพร้อมวันหยุดเสาร์-อาทิตย์จึงนับเป็นโมเดลทดลองที่ล้ำสมัยมาก

แน่นอนว่ากระแสของนายจ้างคือช็อก หนังสือพิมพ์ก็บอกว่าโรงงานของฟอร์ดเหมาะมากกับคนที่อยากจะลดเวลาการทำงานลง ทำนองว่าจะขี้เกียจกัน แต่ฟอร์ดเองชี้ให้เห็นว่าประสิทธิภาพการทำงานในชั่วโมงที่น้อยลงกลับได้ผลงาน (productivity) เท่าเดิม

อันที่จริงฟอร์ดเองยังไม่เชิงว่ามีแนวคิดเรื่องสุขภาวะหรือสวัสดิภาพของคนทำงานเป็นสำคัญ แต่สิ่งที่ฟอร์ดคิดเป็นนวัตกรรมของชีวิตสมัยใหม่อย่างลึกซึ้งผ่านการคิดแบบทุนนิยม คือฟอร์ดมองในฐานะผู้ผลิตว่า โลกการผลิตก็ต้องมีผู้ซื้อ การให้วันหยุดกับแรงงาน แรงงานก็จะไปใช้เวลาว่าง ไปพักผ่อน ต้องมีช่วงเวลาผ่อนคลายจากการทำงานเพื่อไปใช้เงิน โดยอุตสาหกรรมรถยนต์ของเขาก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่ได้ประโยชน์ต่อเนื่องไปในท้ายที่สุด ตรงนี้เองถือเป็นจุดเริ่มอย่างเป็นทางการของวันทำงานและวันหยุด ของวันหาเงินและวันใช้เงินที่กลายเป็นโลกสองใบ เป็นศาสนาใหม่ของชีวิตเราๆ ท่านๆ ที่หมุนเวียนของวันทั้งสองวนไป

อย่างไรก็ตาม โรงงานต่างๆ และกิจกรรมการทำงานในโลกสมัยใหม่รับเอาการทำงาน 5 วัน ส่วนเวลาทำงานก็ค่อยๆ ปรับเปลี่ยนไป เช่นยุคหลังสงครามกลางเมือง มีแรงงานจากคนผิวดำเพิ่มขึ้น ก็เริ่มปรับให้ 8 ชั่วโมงเป็นมาตรฐาน หรือยุคเศรษฐกิจตกต่ำ (The Great Depression) รัฐก็ใช้นโยบายลดวันและเวลาทำงานลงเพื่อให้อัตราการว่างงานลดลง นอกจากภาคอุตสาหกรรมแล้ว การออกกฎหมายแรงงานเช่น Fair Labor Standards Act ในปี 1938 มีเนื้อหาแบนแรงงานเด็กรวมถึงเริ่มมีการวางกรอบการทำงานที่ 44 ชั่วโมง ถ้าเกินต้องจ่ายค่าล่วงเวลา ไปจนถึงการก่อตัวและการเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงาน

เราทำงานมากไปไหม การทดลองของการทำงาน 4 วัน

ประเด็นเรื่องทำงาน 5 วันและวันหยุด จากจุดเริ่มในโรงงานของฟอร์ด ในตอนนั้นฟอร์ดทำให้เราเห็นว่าการลดเวลาทำงานลงอาจนำไปสู่ผลดีในมิติอื่นๆ อันที่จริงนักคิดในยุคนั้นมองเห็นว่าการทำงานคือการเป็นแรงงานในภาคการผลิตเป็นความจำเป็น การทำงานมากๆ เกิดจากเทคโนโลยีที่ยังไม่ดีพอ ในอนาคตถ้าวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าขึ้น มนุษย์ก็ควรเป็นอิสระจากการทำงาน ใช้เวลาไปกับการทำงานน้อยลง 

ในปี 1928 ปรมาจารย์เศรษฐศาสตร์ John Maynard Keynes เขียนไว้ว่าความก้าวหน้าด้านนวัตกรรมจะทำให้เราลดเวลาการทำงานเหลือเพียง 15 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ภายใน 100 ปี หรือในปี 1965 คณะกรรมาธิการวุฒิสภา (Senate Subcommittee) ทำนายว่าชาวอเมริกันจะทำงานลดลงเหลือเพียง 14 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ตรงนี้เลยน่าคิดว่า แรงงานและการทำงานในยุคหนึ่งทำจากข้อจำกัด ในยุคปัจจุบันเราเองกลับรู้สึกกลับกันคือเมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าจนเราว่างงาน การไม่มีงานทำฟังดูเป็นเรื่องน่ากังวลใจเป็นอย่างยิ่งกับประวัติศาสตร์การทำงานจากร้อยชั่วโมงเมื่อร้อยปีก่อน

จากการย้อนดูประวัติศาสตร์ อันที่จริงเวลาการทำงานค่อยๆ ถูกลดลง นักคิดมากมายต่างพูดถึงการเป็นอิสระจากการทำงาน การเปลี่ยนตัวเองจากเฟืองในโลกการผลิตสู่ความหมายของการมีชีวิตที่ไม่ใช่แค่การทำงานแล้วตายจากไป ในปี 1956 ริชาร์ด นิกสัน (Richard Nixon) รองประธานาธิบดีในขณะนั้นให้คำมั่นกับอเมริกันชนว่าการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์เป็นอนาคตที่อยู่ไม่ไกล และถ้าเราดูความเคลื่อนไหวในรอบสิบปีที่ผ่านมา เรียกได้ว่าเกือบทุกที่ทั่วโลกได้ลงมือทดลองการทำงาน 4 วัน ลดการทำงานลงเหลือราว 32 ชั่วโมง รูปแบบการหยุดก็หยืดหยุ่นแล้วแต่ว่าจะหยุดวันศุกร์หรือวันพุธ ทว่าโดยรวมแล้วผลการทดสอบเป็นไปในเชิงบวก คนทำงานตึงเครียดน้อยลง ทำงานได้ผลดีขึ้น จัดสรรเวลาพักและทำงานได้ดีขึ้น

การทดลองทำงาน 4 วันค่อนข้างทำในหลายพื้นที่ทั่วโลก มีการทดลองจากในระดับบริษัทและค่อยๆ มีกลุ่มทดลองที่ใหญ่ขึ้น จากกลุ่มทดลองในไอซ์แลนด์ในปี 2015 และปี 2019 ผลการทดลองได้ผลอย่างน่าประทับใจ กลุ่มตัวอย่างเครียดน้อยลง เบิร์นเอาต์น้อยลง กลุ่มทดลองของไอซ์แลนด์ถือเป็นการทดลองขนาดใหญ่ที่มีกลุ่มตัวอย่างร่วมสูงถึง 2,500 ราย บางส่วนมีการต่อรองลดเวลาการทำงานอย่างถาวรในเวลาต่อมา นอกจากนี้ในปี 2019 ไมโครซอฟต์เจแปนทดลองให้พนักงานหยุดโดยได้รายได้ปกติในวันศุกร์ รวมถึงลดเวลาการประชุมเหลือครึ่งชั่วโมงและลดจำนวนผู้ร่วมประชุมลง ผลพลอยได้ที่น่าสนใจคือต้นทุนการดำเนินการลดลงคือค่าไฟฟ้าลดลง 23% แต่ยอดขายต่อหัวของพนักงานเพิ่มขึ้น 40%

แนวคิดการปรับเรื่องการทำงานกลับมาอยู่ในความสนใจอีกครั้งเมื่อวิถีการทำงานของเราเปลี่ยนไปในยุคโควิด-19 ในปี 2022 สหราชอาณาจักร มีความตื่นตัวเรื่องการทำงานยุคใหม่และชีวิตที่ดีในช่วงโรคระบาด ที่สหราชอาณาจักรมีการรวมตัวกันของภาคเอกชนกว่า 60 บริษัทจากแทบทุกกลุ่มธุรกิจและทุกขนาดกิจการ จากร้านอาหารเล็กๆ ถึงบริษัทใหญ่ ในการทดสอบการทำงาน 4 วันซึ่งก็คือการลดเวลาการทำงานลงเหลือ 80% โดยได้ค่าจ้างเท่าเดิม การทดสอบนี้ได้รับการบันทึกว่าเป็นการทดลองที่ใหญ่ที่สุดของโลก มีคนทำงานร่วมโครงการมากถึง 3,300 คน

ผลการทดสอบในระยะเวลา 6 เดือน ในมุมของลูกจ้างรายงานผลเป็นที่น่าพึงพอใจ นอนหลับ ความเครียด สุขภาพใจ และชีวิตส่วนตัวดีขึ้น ข้อที่น่าสนใจคือภาพรวมผลกำไรหรือผลประกอบการของบริษัทและห้างร้านไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด ทั้งยังมีรายงานว่าในช่วงทดลองทำงานน้อยลงกลับมีผลประกอบการที่ดีขึ้นราว 35% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาก่อนหน้า รายงานตัวเลขการลาออกลดลง จากจำนวนบริษัทที่เข้าร่วมจนจบการทดสอบทั้งหมด 61 บริษัท มี 56 บริษัทจะดำเนินการให้การทำงาน 4 วันจากการทดสอบกลายเป็นนโยบายหลัก, 2 บริษัทเลือกจะยืดการทดลองออกไป มีเพียง 3 บริษัทเท่านั้นที่ไม่ดำเนินการเปลี่ยนแปลงใดๆ

สำหรับเราที่เกลียดวันจันทร์ รักวันศุกร์ ทำงาน เรียนหนังสือ 5 วัน หยุด 2 วันมาตั้งแต่ลืมตาดูโลก จินตนาการสู่โลกใหม่ที่ทำงานแค่ 4 วันก็อาจจะดูเป็นเรื่องใหม่ ที่อันที่จริงก็พอจะจินตนาการได้ไม่ยากนักและน่าจะดีกับชีวิต แน่นอนว่าอุดมคติใหม่เป็นเรื่องที่ต้องทดลอง การทำงาน 4 วันอาจจะไม่เหมาะกับบางกิจการ อาจกระทบกับบางพื้นที่การทำงานที่ทำงานหนัก ขาดแรงงาน 

แต่ถ้าเรามองวัฒนธรรมการทำงานไม่ว่าจะเป็น 6 วันโดยมีเงื่อนไขการทำงานจากความเชื่อทางศาสนา การค่อยๆ ได้หยุดเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นข้อบังคับจำนวนชั่วโมงทำงานเพื่อให้เราในฐานะแรงงานมีชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยเงื่อนไขและคำมั่นที่มนุษย์เราเชื่อว่าเทคโนโลยีต่างๆ จะทำให้เราเป็นอิสระมากขึ้น ทำงานน้อยลง การย้อนดูอดีตที่นับว่าไม่ยาวนานนักเมื่อเทียบกับอารยธรรมของเราคือราวร้อยปีที่ผ่านมา การเปลี่ยนจากการทำงาน 5 วันให้สั้นลง การหาทางให้ชีวิตของมนุษย์ดีขึ้น ก็อาจจะเป็นอนาคตใหม่ที่ไม่ไกลจากวันนี้นัก

อ้างอิง

Writer

ชื่อว่านครับ ทำงานรับจ้างทั่วไปด้านงานเขียน ส่วนใหญ่เขียนเรื่องการเขียน การอ่าน และวัฒนธรรม เชื่อว่าพื้นที่นามธรรมเป็นสินทรัพย์ที่จะพาเราเติบโตอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

Illustrator

กราฟฟิกที่พยายาม ประคองสติ เพื่อค้นหาสไตล์

You Might Also Like