นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

เปิดกรุส่องโลกธุรกิจพระเครื่อง จากหนัง ‘The Stone พระแท้ คนเก๊’ 

‘พุทธคุณหรือจะสู้อำนาจเงินตรา’ คำถามที่ว่านี้วนเวียนซ้ำไปซ้ำมาตลอดระยะเวลา 1 ชั่วโมง 50 นาที ที่ภาพยนตร์เรื่อง ‘The Stone พระแท้ คนเก๊’ ดำเนินเรื่อง ซึ่งเป็นโจทย์ตามความตั้งใจของสองผู้กำกับอย่าง เป้-อารักษ์ อมรศุภศิริ และ บี-วุฒิพงษ์ สุขะนินทร์ ที่อยากพาคนดูสำรวจด้านมืดของวงการพระเครื่องในแบบที่ไม่เคยมีใครเห็นมาก่อน ซึ่งระหว่างที่บทความนี้กำลังเผยแพร่ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวกำลังทะยานแตะรายได้หลัก 50 ล้านบาท ถือเป็นนิมิตหมายอันดีแก่วงการภาพยนตร์ไทยในการเสิร์ฟเนื้อหารสชาติใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน 

นอกเหนือไปจากเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์หรือมวลสารปลุกเสกจากหลวงพ่อนามระบือ, การถกเถียงตามหาความจริงระหว่างพระแท้กับพระเก๊ และการชิงไหวชิงพริบของเซียนพระตัวเอ้ สิ่งที่น่าสนใจใน The Stone พระแท้ คนเก๊ พระแท้คนเก๊ คือการฉายให้เห็นถึง ‘โลกธุรกิจในวงการพระเครื่อง’ ว่าทำไมอุตสาหกรรมนี้จึงมีความสลับซับซ้อน และมีเสน่ห์ในแบบของตัวเอง ชนิดที่คนไม่เคยเล่นพระเครื่องยังสนใจ

ว่าแลัวคอลัมน์ Recap เลยอยากชวนผู้อ่านมาเปิดกรุส่องกล้องมองโลกธุรกิจพระเครื่อง ซึ่งปรากฏใน The Stone พระแท้ คนเก๊ ไปจนถึงการไขคำตอบว่า ทำไมวงการพระเครื่องจึงมีมูลค่าไม่ต่างจากอุตสาหกรรมสำคัญอื่นๆ ในประเทศไทย 

พนมมือตั้งจิตให้มั่น นึกถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แล้วไปหาคำตอบกันได้เลย

• จากของขลังสู่ต้นกำเนิดของค่านิยมพระเครื่อง

ความจริงแล้วเรื่อง ‘ของขลัง’ นั้นวนเวียนอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์บ้านเรานับพันปี ตั้งแต่สมัยอยุธยา ซึ่งจุดมุ่งหมายของเกจิอาจารย์ ณ อดีต ในการสร้างของขลังศักดิ์สิทธ์ เช่น ผ้าประเจียด ผ้ายันต์ ตะกรุด ฯลฯ ก็เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่นักรบยามออกศึก ในยุคที่ปราศจากชุดเกราะ ของขลังจึงไม่ต่างจากที่พึ่งทางใจให้แคล้วคลาดจากคมมีดคมหอกศัตรู กระทั่งบ้านเมืองเข้าสู่ยุคสมัยรัตนโกสินทร์ ในยุคที่มีเทคโนโลยีการพิมพ์เหรียญเข้าสู่ประเทศไทย จึงเริ่มมีการผลิตเหรียญพระเครื่องขึ้นมา

ข้อมูลส่วนหนึ่งจากหนังสือ พระเครื่องในเมืองสยาม โดย ศรีศักร วัลลิโภดม (สำนักพิมพ์มติชน, 2537) ได้ระบุไว้ว่า พระเครื่องมีการจำแนกออกเป็น 2 ประเภท นั่นคือ ‘เหรียญพระพุทธ’ ซึ่งจำลององค์พระพุทธปฏิมากร ส่วนอีกประเภทคือ ‘เหรียญพระสงฆ์’ ซึ่งเป็นเหรียญที่จำลองพระเกจิชื่อดังที่ผู้คนเคารพนับถือ โดยถูกสร้างขึ้นยามมีพิธีมงคล หรือพิธีเผาศพพระเถระชั้นผู้ใหญ่ จากบันทึกทางประวัติศาสตร์พบว่า เหรียญพระสงฆ์เหรียญแรกที่ถูกสร้างขึ้น คือเหรียญรูปรูปพระชลโธปมคุณมุนี (พุฒ ปณฺณกเถร) ปฐมเจ้าอาวาสวัดบางทราย จังหวัดชลบุรี ในปี พ.ศ.2540

จากความเชื่อของผู้คนสมัยก่อนที่ไม่นิยมนำพระเข้าบ้านหรือนำพระติดตัว เนื่องจากมองว่า ตัวแทนรูปหล่อของพระพุทธรูปคือสิ่งศักดิ์สิทธิ์บริสุทธิ์อันควรค่าแก่การอยู่ที่วัดเท่านั้น จึงค่อยๆ แปรเปลี่ยนเป็นค่านิยมใหม่ (ราวยุครัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา)  

เมื่อผู้คนมองว่าพระเครื่องไม่ต่างจากวัตถุนิยมอันมีมูลค่า และเป็นเครื่องบ่งบอกฐานะผู้ครอบครอง ยิ่งเป็นเกจิดังก็ยิ่งมีมูลค่าเพิ่ม หรือยิ่งเก่าเก็บก็ยิ่งมีมูลค่า ผู้คนจึงแห่ขุดกรุเจดีย์ซึ่งสมัยก่อนมีการฝังเหรียญพระเก็บเอาไว้ตามความเชื่อในการฝังเหรียญพระเพื่อต่อชะตาชีวิต จึงเป็นที่ของคำศัพท์ที่ว่า ‘กรุแตก’ ยามที่มีคนนำพระเครื่องหายากหรือพระคุณภาพดีมาปล่อยในตลาด

และนั่นทำให้เกิดการขุดหาพระเครื่องกันอย่างเอิกเกริก มากไปจนถึงการจัดตั้งตลาดซื้อ-ขายพระเครื่องกันอย่างเป็นกิจลักษณะ โดยตลาดพระในยุคแรกเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2500 ในลักษณะแผงลอยและแบกะดิน แหล่งนิยมอยู่ที่ข้างวัดมหาธาตุและกำแพงข้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

•วิวัฒนาการสู่ตลาดพระบนห้างดังและการซื้อขายอย่างเป็นระบบ

จากการขายซื้อขายพระเครื่องตามแผงลอย ความนิยมในพระเครื่องได้วิวัฒนาการกลายเป็นธุรกิจ หรือที่ผู้คนนิยามว่า ‘พุทธพาณิชย์’ อย่างเป็นรูปธรรม หนึ่งในแหล่งซื้อขายที่ใหญ่และเป็นที่รู้จัก ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังเรื่อง The Stone พระแท้ คนเก๊ นั้นอยู่ที่ ‘ห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่างามวงศ์วาน’ ในลักษณะร้านเป็นห้องจำแนกแยกย่อย คล้ายกับร้านค้าขายจิวเวลรี่ ที่ทั้งเปิดให้ผู้คนมาเช่าพระหรือปล่อยพระ ภายใต้บรรยากาศคึกคักไม่ต่างจากลานประลองจอมยุทธ์ในหนังจีนกำลังภายใน

ส่วนสาเหตุที่ห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่างามวงศ์วาน เป็นแหล่งซื้อขายพระเครื่องที่ใหญ่ที่สุด เพราะว่าเป็นแหล่งที่ตั้งของ ‘สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย’ (Thai Buddha Image Admiration Association) ซึ่งเป็นสมาคมที่ก่อตั้งในปี พ.ศ.2540 สมาคมดังกล่าวมีหน้าที่ดูแลระเบียบ ส่งเสริมความเข้าใจในวงการพระ และเชื่อมโยงบรรดาเซียนพระทั่วประเทศให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยมีแกนนำคือบรรดาเซียนพระที่ได้รับการยอมรับในวงการ 

เวลาเกิดอีเวนท์ใหญ่ๆ เช่น งานประกวดพระเครื่อง จึงใช้ห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่างามวงศ์วานเป็นเวทีประกวด โดยผู้ชนะหรือผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจะได้ ‘บัตรรับรองพระแท้’ ที่เปรียบเสมือนใบรับรองคุณภาพสินค้า ที่ระบุทั้งชื่อเจ้าของ ข้อมูลของพระเครื่ององค์นั้น ไปจนถึงคุณภาพของตัวพระเครื่องเพื่อนำไปประเมินราคาซื้อขายต่อไป

บางคนอาจจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยที่เซียนพระมีหน้าที่ชี้เป็นชี้ตายเรื่องมูลค่าพระ แต่หากมองในแง่ดีการมีอยู่ของเซียนพระนั้นสามารถช่วยให้ระเบียบการซื้อขายนั้นเป็นไปตามกลไกทางการตลาด ดังนั้นเราจึงเห็นร้านรับเช่าพระเครื่องของเซียนพระชื่อดังปรากฏอยู่ที่ห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่างามวงศ์วาน เช่น ร้านของบอย ท่าพระจันทร์ 

นอกจากสถานที่อย่างห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่างามวงศ์วาน ในยุค 4.0 วงการพระเครื่องยังพัฒนาไปสู่โลกดิจิทัล เช่น เว็บไซต์ uamulet.com ที่มีผู้ก่อตั้งคือ ‘วัชรพงศ์ ระดมสิทธิพัฒน์’ หรือ ‘อุ๊ กรุงสยาม’ และ ‘สุรเดช ลิ้มพานิช’ หรือ ‘หมึก ท่าพระจันทร์’ เป็นผู้ก่อตั้ง และมีสมาชิกในเว็บไซต์หลักแสนราย โดยมีการซื้อขายในรูปแบบออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง, มีการตรวจสอบคุณภาพพระภายใน 48 ชั่วโมง, มีพื้นที่ให้ร้านรับเช่าพระเครื่องได้โปรโมทร้านของตัวเอง ไปจนถึงเว็บบอร์ดให้บรรดาเซียนได้เข้ามาถกความคิดเห็น

•พระไหนดังพระไหนราคาดีต้องวัดที่อะไร?

“มูลค่าในวงการพระเครื่องปีนึงไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาท เวลานี้พระเครื่องไทยดังไกลถึงต่างประเทศ คนจีน คนสิงคโปร์ มาเลเซีย แม้กระทั่งลาวและกัมพูชาต่างก็ชอบในพระเครื่องไทย” 

ประโยคข้างต้นมาจากเซียนพระชื่อดังอย่างอุ๊กรุงสยาม ที่ให้สัมภาษณ์กับนิตยสารเส้นทางเศรษฐี เมื่อปี 2565 ที่ชวนให้เห็นว่าอุตสาหกรรมพระเครื่องบ้านเรามีมูลค่ามหาศาลทั้งในฐานะสินค้าในประเทศและสินค้าส่งออกนอกประเทศ แต่คำถามคือพระไหนดี พระไหนดัง เราวัดจากอะไรกันล่ะ? ในเมื่อเซียนพระมีหน้าที่แค่ตรวจดูคุณภาพของพระเครื่อง

ปัจจัยหลักของคำตอบนี้ คือ ‘สตอรี’ ของพระองค์นั้นๆ ยกตัวอย่าง ‘พระสมเด็จวัดระฆัง’ ที่เป็นคีย์สำคัญในการดำเนินเริ่องอันยุ่งเหยิงในภาพยนตร์ โดยพระองค์ดังกล่าวที่ถูกขนานนามว่าจักรพรรดิแห่งวงการพระเครื่อง ถูกจัดสร้างโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆัง ในสมัยรัชกาลที่ 4 ด้วยความเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทำให้ผู้คนต่างเลื่อมใสและกราบไหว้ท่านด้วยความเคารพนับถือ โดยเหตุผลการสร้างพระดังกล่าวมาจากการที่สมเด็จพระพุฒาจารย์โต ได้พบกับ ‘พระซุ้มกอ’ หรือพระพิมพ์โบราณจากยุคสุโขทัยจำนวนหนึ่ง ท่านจึงมีความตั้งใจที่จะสร้างพระพิมพ์ในลักษณะนั้นอีกครั้ง เพื่อสืบทอดเจตจำนงค์ในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาดังคนในอดีต

ส่วนกรรมวิธีในการผลิตพระสมเด็จวัดระฆัง สมเด็จพระพุฒาจารย์ใช้มวลสารในการสร้างที่ไม่เหมือนพระเกจิใดในยุคนั้น ด้วยการใช้ข้าวตากแห้ง ซึ่งเป็นข้าวก้นบาตร มาผสมรวมกับดอกไม้แห้งที่ไหว้บูชาพระมาบดผสม จากนั้นนำมาปั้นคล้ายแท่งชอล์กก่อนจะเขียนยันต์คาถาชินบัญชรกำกับ แล้วบดเป็นผงอีกครั้ง กระทั่งวันพระใหญ่จึงจะนำผงที่ว่ามาผสมกับปูนเปลือกหอย ข้าวสุก ดินสอพอง และน้ำมันตังอิ๋ว (น้ำมันลักษณะข้นเหนียวทำมาจากยางไม้ ใช้สำหรับชักเงาไม้ และช่วยรักษาเนื้อพระ) ให้เป็นเนื้อเดียวกัน ก่อนที่ท่านจะบรรจงนำเนื้อมวลสารมากดลงบนแม่พิมพ์เพื่อขึ้นรูปเป็นเหรียญ

หากมองออกมาจากมุมความเชื่อ พระสมเด็จวัดระฆังถือเป็น ‘งานแฮนเมด’ ที่ใช้ความพิถีพิถัน และหากเปรียบพระเกจิเป็นดัง ‘ศิลปินชื่อดัง’ สักคนจึงไม่แปลกใจที่พระองค์ดังกล่าวจะมีมูลค่ามหาศาล และเมื่อยิ่งผ่านกาลเวลามานานถึง 159 ปี หรือนับตั้งแต่ปีที่สร้างคือ พ.ศ.2409 ทั้งยังมีการสันนิษฐานว่ามีการผลิตเพียง 84,000 องค์เท่านั้น ก็ยิ่งลิมิเต็ด ยากที่จะหามาขึ้นคอ

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของโลกธุรกิจพระเครื่องที่สามารถถอดข้อมูลมาจากภาพยนตร์เรื่อง The Stone พระแท้ คนเก๊ ยังมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย และข้อควรรู้อีกมากหากนึกจะก้าวเท้าสู่วงการธุรกิจพระเครื่อง ถึงกระนั้นสิ่งที่ควรพึงระลึกเสมอก็คือ เนื้อแท้ของพระเครื่องนั้นคือสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจระหว่างมนุษย์กับศาสนาพุทธ ที่สอนให้ผู้คนตั้งมั่นในการประพฤติดี และตราบใดที่ผู้คนยังให้ความสนใจในศาสนา ธุรกิจวงการพระเครื่องก็ยังมีมูลค่ามากพอที่จะพัฒนาและเติบโตอย่างไม่รู้จบ

อ้างอิงข้อมูลจาก :

Writer

นักเขียนผู้หลงใหลโลกของฟุตบอล สนีกเกอร์ และกันพลา

Illustrator

บรรณาธิการศิลปกรรม Email: y.pongtorn@gmail.com

You Might Also Like