นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

How School Heroes Scale Impact 

Saturday School โรงเรียนนอกหลักสูตรโดยอาสาสมัครหลายพันคนกับความฝันอยากขยายห้องเรียนทั่วไทย

Saturday School เริ่มต้นด้วยการจัดห้องเรียนสอนวิชานอกหลักสูตร 1 วิชาใน 1 โรงเรียนตอนปี 2014

ปีถัดมาเพิ่มเป็น 2 โรงเรียน ปีถัดไปเพิ่มเป็น 7 โรงเรียน ปีหลังจากนั้นเพิ่มเป็น 9 โรงเรียน 

ปีนี้ Saturday School มีอายุ 9 ปีและกำลังจะก้าวสู่ปีที่ 10 และผ่านช่วงที่ขยาย 5 เท่า โดยในกรุงเทพฯ เพิ่มจาก 10 โรงเรียน เป็น 50 โรงเรียนด้วยการร่วมมือกับ กทม. และยังขยายไปต่างจังหวัดอีก 9 จังหวัด 

ทุกวันนี้จากห้องเรียนทุกวันเสาร์ที่สอนโดยอาสาสมัครไม่กี่คนในตอนแรกก็ขยายผลจนมีโรงเรียนในโครงการรวมทั้งหมดราว 60 โรงเรียน, คุณครูอาสา 800 กว่าคน, อาสาสมัครทีมหลังบ้านอีกเกือบ 4,000 คนและเด็กในโครงการราว 9,000 กว่าคน

โมเดลของ Saturday School นั้นเป็นโมเดลที่แสนเรียบง่ายแต่ต้องใช้พลังมากในการขับเคลื่อน เป็นโมเดลที่เปิดพื้นที่ให้คนทั่วไปเข้ามามีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทยได้ด้วยการเป็นอาสาสมัครสอนเด็กๆ ในวันเสาร์หรือหลังเลิกเรียนและยังเปิดโอกาสให้องค์กรจัดกิจกรรมหรือหลักสูตรพิเศษร่วมกันเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ที่มีให้อนาคตของชาติ

หนึ่งในต้นทุนสำคัญที่ทำให้เกิด Saturday School คือทรัพยากรบุคคล ทั้งอาสาสมัครที่เป็นคนทั่วไปซึ่งมีสิ่งที่ถนัดอยู่แล้วและคนในองค์กรต่างๆ ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในสายอาชีพของตัวเอง เมื่อดึงศักยภาพของทุกคนออกมาช่วยกันพัฒนาการศึกษา ทุกคนก็กลายเป็นฮีโร่ในแบบของตัวเองและทำให้เด็กๆ รู้สึกว่าพวกเขาเองก็เป็นฮีโร่ได้

ผู้ก่อตั้ง Saturday School และเป็นผู้สร้างฮีโร่อีกมากมายผ่านโรงเรียนนอกหลักสูตรแห่งนี้ คือ ยีราฟ–สรวิศ ไพบูลย์รัตนากร วันนี้เราจึงอยากชวนเขามาคุยถึงเบื้องหลังการขยายและการบริหารคอมมิวนิตี้อาสาสมัครที่ดึงศักยภาพให้ทุกคนสามารถเป็นครูได้

Hero is Normal People Who Start Something 

สรวิศเคยเป็นครูในโรงเรียนตามหลักสูตรอยู่ 2 ปี และสังเกตเห็นว่าการศึกษาของเด็กเชื่อมโยงกับหลายมิติในสังคมที่กว้างกว่าในห้องเรียน

“ปัญหาการศึกษาไทยไม่ใช่แค่หลักสูตรหรือวิธีสอนในห้องแต่เป็นเรื่องของทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเด็ก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาครอบครัว เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเด็กทั้งหมด ทั้งคุณครู สังคมรอบข้าง รวมถึงมายด์เซตของคนที่มีอำนาจตัดสินใจด้านการศึกษา” 

เมื่อเห็นว่าทุกปัจจัยที่อยู่ล้อมรอบตัวเด็กล้วนสัมพันธ์เชื่อมโยงกันเหมือนใยแมงมุมทำให้สรวิศอยากสร้างการเปลี่ยนแปลงทางผ่านคนทั่วไปที่อยู่นอกระบบการศึกษา

“เราคิดว่าคนในระบบการศึกษาอาจจะยังไม่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน เลยคิดว่าคนในสังคมที่อยากเห็นการศึกษาไทยดีขึ้นก็น่าจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาและทำให้สังคมไทยดีขึ้นได้”    

Saturday School จึงเริ่มต้นขึ้นจากการชวนเพื่อนที่รู้จักมาใช้เวลายามว่างให้เป็นประโยชน์ด้วยการเปิดคลาสสอนในวันเสาร์ให้เด็กๆ เริ่มสอนจากวิชานอกหลักสูตรซึ่งหมายถึงวิชาที่มักไม่ได้สอนในห้องเรียนเป็นวิชาหลักอย่างศิลปะ, ร้องเพลง, เต้น, ทำอาหาร, ถ่ายรูป, ดนตรี, กีฬา, ทำหนังสั้น, coding, Esports, ออกแบบสติ๊กเกอร์ไลน์, ออกแบบบอร์ดเกม ฯลฯ เรียกว่ามีวิชาสร้างสรรค์ที่หลากหลายโดยวิชาเหล่านี้มาจากความสนใจของเด็กจริงๆ

“เราจะไปถามเด็กๆ ก่อนว่าเด็กสนใจวิชาอะไร แล้วก็จะเอาวิชาที่เด็กเลือกมากที่สุดในโรงเรียนนั้นมาเปิดรับอาสาสมัคร ซึ่งอาสาสมัครก็จะสามารถเลือกได้เลยว่าอยากไปสอนที่โรงเรียนไหนและวิชาไหน” 

โมเดลคือสอนในสิ่งที่เด็กอยากเรียนและหาอาสาสมัครมาสอนในสิ่งที่อยากสอน เด็กก็ได้เรียนตามความชอบและอาสาสมัครก็ได้ใช้ทักษะและความสนใจที่มีมาถ่ายทอดความรู้ให้เด็กๆ ตามสมัครใจ ให้นักเรียนที่อยากเรียนและคุณครูที่อยากสอนได้มาเจอกันโดยจะเน้นคัดเลือกโรงเรียนที่เด็กฐานะยากจนและผู้อำนวยการโรงเรียนให้การสนับสนุนเป็นหลัก

ทั้งนี้หลังจาก Saturday School สอนวิชานอกหลักสูตรเฉพาะวันเสาร์มาหลายปี ทุกวันนี้ได้เพิ่มการสอนวิชาหลักอย่างคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ หลังเลิกเรียนในวันธรรมดาด้วยและใช้โมเดลห้องเรียนวันเสาร์นี้ขยายผลไปยังหลายพื้นที่ทั้งในกรุงเทพฯ ในชื่อ Saturday School Bangkok ส่วนต่างจังหวัดที่เริ่มทำมาแล้ว 2 ปีจะใช้ชื่อว่า Saturday School Expansion โดยเริ่มจากจังหวัดอย่างภูเก็ต นนทบุรี ขอนแก่น สมุทรปราการ พัทยา ชลบุรี ราชบุรี นครสวรรค์ นครนายก

Broaden the Possibilities

แน่นอนว่าภาพห้องเรียนของ Saturday School ไม่ใช่การนั่งฟังเลกเชอร์แล้วทำข้อสอบปรนัยแต่เป็นห้องเรียนที่เปิดโลกกว้างให้เด็กๆ เห็นความเป็นไปได้ในโลกอันกว้างใหญ่นอกห้องเรียนให้ได้มากที่สุดเพื่อให้เด็กกล้าคิด กล้าทำ และกล้าฝัน  

“มิสชั่นหนึ่งของเราคืออยากให้ทั้งคนทั่วไปและองค์กรมีส่วนร่วมในการช่วยกันพัฒนาการศึกษา เราเลยไปพาร์ตเนอร์กับองค์กรต่างๆ ตามสายอาชีพที่เด็กน่าจะสนใจแล้วให้เด็กได้มาเจอกับพี่ๆ ในสายงานนั้นจริงๆ” 

เมื่อทำโครงการมาหลายซีซั่นสรวิศจึงออกแบบโครงการเพิ่มเติมจากการสอนทั่วไปคือ Saturday School Student Support ที่มีองค์กรและพี่เมนเทอร์จากหลากหลายสาขาอาชีพมาให้คำแนะนำนักเรียนมัธยมปลายในการค้นหาตัวเองสำหรับการเลือกอาชีพในอนาคต

ความตั้งใจของสรวิศคือขยายเส้นขอบฟ้าให้เด็กๆ เห็นว่ามีเส้นทางแห่งความฝันและความเป็นไปได้มากมายหลายทางให้เลือก

“จะมีการแนะนำว่าเบื้องหลังการทำงานจริงในแต่ละอาชีพเป็นยังไง มีอะไรมากกว่าสิ่งที่เด็กๆ เห็นหรือเปล่า เช่น เราจับมือกับ The Standard เพื่อเล่าให้น้องๆ รู้ว่าในวงการสื่อมีคนทำงานอะไรบ้างนอกจากการเล่าเรื่องถ่ายทอดออกมา ด้านเทคโนโลยีเราจับมือกับบริษัท Data Wow แนะนำน้องๆ ว่าสายโปรแกรมมิ่งมีตำแหน่งอะไรบ้างนอกจากโปรแกรมเมอร์ นี่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่เราจับมือกับองค์กร แล้วก็จะมีพี่ๆ เมนเทอร์ที่เป็นพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำ น้องๆ ก็จะสามารถขอคำปรึกษาและพูดคุยกับพี่ๆ นอกเหนือจากเรื่องสายอาชีพด้วยก็ได้” 

การมีองค์ความรู้และทรัพยากรจากองค์กรมาสนับสนุนทำให้รูปแบบการสอนไม่ติดอยู่ในกรอบเพราะแต่ละองค์กรใช้ความถนัดและความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกันมาสร้างสรรค์ห้องเรียนในแบบของตัวเองให้เด็กๆ 

“อย่างหลักสูตรอีสปอร์ตที่ร่วมมือกับบริษัท Garena ก็เกิดจากความสนใจของเด็กๆ และคุณครูในโรงเรียนที่อยากจัดแล้วมาคุยกับเรา เราก็เป็นเหมือนสะพานเชื่อมไปหาองค์กรที่ทำด้านนี้แล้วจับมือร่วมกันทำเพื่อขยายผล”

เด็กๆ ที่เข้าร่วมหลักสูตรในแต่ละโรงเรียนจะเริ่มจากเข้าร่วมชุมนุมและแข่งขันเกม Esports ในโรงเรียนตัวเองก่อน จากนั้นจะส่งตัวแทนทีมของแต่ละโรงเรียนมาแข่งกันและผู้เข้ารอบท้ายจะได้ไปแข่งที่ห้องไลฟ์สตรีมของ Garena 

Saturday School ยังเคยร่วมมือกับ Apple ให้เด็กยืมไอแพดหรือไอโฟนเพื่อเรียนรู้ทักษะต่างๆ เช่น การทำเพลงผ่านโปรแกรม GarageBand

“เด็กๆ เก่งมาก หลังจากได้เรียนกับพี่ศิลปินจบคลาสหนึ่งก็แต่งเพลงออกมาได้ดีมาก เรายังทำไม่ได้เลย แล้วผลงานออกมาไม่ใช่ธรรมดาด้วย แต่อยู่ในระดับดีเลย”

นอกจากหลักสูตรเหล่านี้ยังมีวิชาอื่นๆ อีกมากมาย เช่น วิชาสอนวาดรูปและดีไซน์งานอาร์ตในแอพพลิเคชั่น Procreate โดยกราฟิกดีไซเนอร์, วิชาสอนการทำหนังสั้นที่ร่วมมือกับสมาคมผู้กำกับหนังโดยเด็กๆ ได้ลงมือถ่ายทำหนังจริงออกมาเป็นหนังสั้นฝีมือตัวเอง 

โดยหลายครั้งการออกแบบรูปแบบการสอนก็ต้องออกแบบผ่านข้อจำกัด เช่น ในช่วงโควิด-19 ที่เด็กหลายคนไม่มีคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตและการมาโรงเรียนต้องถูกงดไป Saturday school ก็แก้ปัญหาด้วยการส่งกล่องการเรียนรู้ไปให้ทางไปรษณีย์ เปลี่ยนรูปแบบการสอนให้เด็กๆ ได้ลองฝึกตั้งเป้าหมายและวางแผนสิ่งที่อยากทำเองใน 21 วัน จดบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้เป็นไดอารี 21 Days Challenge ที่ได้บันทึกการเติบโตของตัวเอง โดยมีพี่เมนเทอร์คอยโทรให้คำปรึกษาและพูดคุยกับเด็ก 

แต่ไม่ว่าการสอนจะเป็นรูปแบบไหน ทุกห้องเรียนจะเน้นการสอนแบบ active learning ที่ให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้เพื่อติดปีกให้ความฝันของเด็กแต่ละคนได้โบยบิน หว่านเมล็ดพันธ์ุทั้งทักษะและมายด์เซตโดยหวังผลลัพธ์ให้ผลิดอกออกผลในระยะยาวเมื่อเด็กเหล่านี้เติบโตขึ้น 

Willpower Management 

โมเดลการระดมเงินทุนของ Saturday School คือรับบริจาคเงินจากบุคคลทั่วไปและองค์กรโดยมีบริการจัดหลักสูตรการสอนให้องค์กรต่างๆ ที่อยากจัดกิจกรรมเพื่อสังคม สรวิศเล่าว่าเบื้องหลังการทำ Saturday School นั้นนอกจากมีความท้าทายในการระดมเงินทุนแล้วยังมีอุปสรรคระหว่างทางมากมายที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้อย่างเรื่องการบริหารจัดการคอมมิวนิตี้อาสาสมัคร 

“คนอาจจะไม่ค่อยรู้ว่า Saturday School ไม่ค่อยมีเงิน การที่เราจะเติบโตและต้องดูแลอาสาสมัครจำนวนมากที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เราก็ต้องมีพนักงานประจำที่เยอะมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งตอนนี้เราก็จ้างพนักงานประจำได้ไม่เยอะมาก อันนี้ก็เป็นความท้าทายใหญ่เหมือนกันที่เรามีงานให้ทำเยอะกว่าจำนวนคนตลอดและทำให้พนักงานประจำค่อนข้างเหนื่อยล้า”  

ในการเปลี่ยนจากภาพฝันสู่การลงมือแก้ปัญหาจริงจึงต้องครอบด้วยระบบการจัดการและเซตโครงสร้างการบริหารที่ชัดเจนเพื่อให้ครูอาสาสมัครซึ่งเป็นคนทั่วไปที่ไม่ได้มีค่าตอบแทนมีส่วนร่วมจนจบโครงการ “ตอนรับอาสาสมัครเข้ามา เราจะเลือกคนที่มี commitment (ความมุ่งมั่น) และเพราะว่าส่วนใหญ่อาสาสมัครของเราไม่ใช่คุณครูที่รู้จักการออกแบบการสอน เราจึงมีการอบรมอาสาสมัครก่อน ให้รู้จัก Saturday School ว่ามีเป้าหมายยังไง ให้ลองสอนก่อนแล้วทำงานกันเป็นทีม” 

เป็นธรรมดาที่เวลาคนเราหว่านเมล็ดพันธ์ุแห่งการเรียนรู้ลงไปแล้ว ก็อยากเห็นต้นกล้าเหล่านั้นเติบโตเป็นป่าใหญ่โดยเร็ว สิ่งที่สรวิศได้เรียนรู้ในบทบาทผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงมาตลอดหลายปีคือการกลับมาดูแลสภาพร่างกายและจิตใจของตัวเองให้มีความสมดุลแบบที่ไม่เหนื่อยจนเกินไปก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน    

“บางทีเราทำงานหนักมากเพราะว่าเราเห็นความเปลี่ยนแปลง เพราะเราเห็นเด็กๆ พัฒนาขึ้น เราเลยจะมองแค่ในมุมว่าเรากำลังสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในสังคมแต่ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยได้หันกลับมามองตัวเองว่าเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งบางทีอาจจะต้องหาบาลานซ์ให้ตัวเองด้วยเหมือนกันให้เราสามารถที่จะทำต่อไปโดยไม่เหนื่อยเกินไปและมีพลังที่จะส่งต่อเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อไปเรื่อยๆ” 

Meaningful Impact Measurement 

แม้ภาพอิมแพกต์ปลายทางจะยังมีหนทางอีกยาวไกลแต่ความชื่นใจระหว่างทางคือผลลัพธ์
ที่เห็นเด็กๆ เติบโตขึ้น สิ่งแรกที่สรวิศสังเกตเห็นอย่างชัดเจนจากโครงการที่ผ่านมาคือความมั่นใจในตัวเองที่เพิ่มขึ้นของเด็ก 

“ครูทุกคนบอกเหมือนกันหมดเลยว่าเด็กๆ มั่นใจในตัวเองมากขึ้น กล้าแสดงออกมากขึ้นเมื่อเทียบระหว่างก่อนกับหลังสอนและเห็นได้ชัดโดยเฉพาะคลาสร้องเพลง เด็กๆ ร้องเพลงจนต้องชมว่าโอ้โห ร้องได้มีคุณภาพมาก คนในฮอลล์น้ำตาไหล พลังของเด็กส่งมาถึงคนดูได้เยอะมากๆ และการแสดงหลายอย่างเช่น วิชาเต้น เด็กๆ ก็ทำออกมาได้น่าสนใจและทุ่มเทมาก 

“พฤติกรรมของเด็กเปลี่ยนไปพอสมควรจากการที่ได้มาเรียนกับเรา อย่างคลาสเรียนเต้น ในตอนแรกเด็กก็อาจจะสนใจบ้างในระดับที่ไม่ได้ถึงขั้นสนใจมาก แต่พอได้มาเรียนแล้วมันมีสิ่งที่เขาใช้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและทุ่มเทกับมัน แทนที่เด็กจะนั่งเล่นมือถือในวันธรรมดาก็มาซ้อมเต้น มาพัฒนาตัวเอง พอมีวินัยมากขึ้น ในห้องเรียนก็ตั้งใจเรียนมากขึ้นตามไปด้วย” 

“เคยมีเด็ก ป.6 จากโรงเรียนหนึ่งที่มาเรียนภาษาอังกฤษกับเราแค่เทอมเดียว จากไม่เคยสอบผ่านโอเน็ตมา 9 ปีก็สอบผ่านเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปีนั้น ความจริงเราก็ไม่ได้ตั้งใจให้เด็กเรียนเพื่อจะไปสอบแต่ด้วยรูปแบบการสอนของเราก็ทำให้เด็กมั่นใจในตัวเองมากขึ้น สนุกและกล้าที่จะเรียนรู้ ไม่กลัวผิด มันคือผลจากการที่เราเชื่อว่าถ้าเด็กมี soft skill ก็จะทำให้สามารถพัฒนาด้านอื่นๆ ในชีวิตได้ดีด้วยเหมือนกัน”

วิธีประเมินผลและวัดการเติบโตของเด็กๆ จากห้องเรียน Saturday School ไม่ได้เน้นวัดจากข้อสอบหรือการบ้านแต่ประเมินผลจากทักษะ soft skill ของเด็ก อย่าง self-awareness (การรับรู้และเข้าใจตนเอง), growth mindset (ความคิดแบบพัฒนาได้), resilience (ล้มแล้วลุก) และ prosocial behavior (พฤติกรรมเอื้อต่อสังคม) โดยใช้วิธีวัดผลหลายวิธีไม่ว่าจะเป็นแบบสอบถามก่อนและหลังเรียนและการจดบันทึกพฤติกรรมและมายด์เซตของเด็กจากการสังเกตโดยครูอาสา นอกจากการพัฒนาของเด็กแล้ว อาสาสมัครเองก็เติบโตจากการเป็นครูเช่นกันโดยมีวิธีวัดผลที่ Saturday School กำลังจะเพิ่มขึ้นมาอย่างการประเมินแบบ peer-to-peer คือประเมินจากคนที่อยู่รอบข้างที่ทำงานด้วยกัน ไม่ได้ประเมินด้วยตัวเองอย่างเดียว

ในทุกซีซั่นหลังจบแต่ละโครงการยังมีวันที่เรียกว่า Big Day คือวันที่ให้เด็กทุกคนหรือทุกกลุ่มมานำเสนอผลงาน ซึ่งเมื่อจบโครงการไปแล้วสรวิศเล่าว่ายังเห็นการเติบโตในระยะยาวของเด็กหลายคนที่เหนือความคาดหมายอีกด้วย 

มีเด็กที่ได้แรงบันดาลใจจากการมาเรียนวันเสาร์แล้วชอบร้องเพลงและได้ไปต่อมหาวิทยาลัยในคณะสายดุริยางคศิลป์ มีเด็กที่ได้มาเรียนกราฟิกดีไซน์แล้วก็ไปเรียนสถาปัตย์ ไปออกแบบ เอาไปสร้างอาชีพได้ หลายคนก็กลับมาเป็นอาสาสมัครเพื่อพัฒนาตัวเองกับพี่ๆ และส่งต่อสิ่งที่เขาได้รับให้กับน้องๆ รุ่นถัดไปด้วย”

Classroom Scaling 

จากการเริ่มจากห้องเรียนวันเสาร์เพียงวันเดียวจนทุกวันนี้มีวิชาหลากหลายและอาสาสมัครมากมาย แต่สรวิศบอกว่าหนทางของ Saturday School ยังมีเส้นทางอีกยาวไกล “เป้าหมายของทาง กทม. คือนำโมเดลนี้ไปใช้กับโรงเรียนทั้งสังกัดทั่วกรุงเทพฯ ก็จะเป็น 437 โรงเรียน คืออีกประมาณ 8-9 เท่าของตอนนี้ เป้าหมายก็ยังอีกไกลเหมือนกัน เราก็หวังว่าจะหาอาสาสมัครจำนวนมากไปสอนได้ทั่วถึง”

เป้าหมายสำคัญของ Saturday School คือมุ่งขยายผลและสร้างอิมแพกต์ให้ได้มากที่สุด ไม่ใช่แค่ในกรุงเทพฯ แต่ขยายไปยังจังหวัดทั่วประเทศไทยโดยเริ่มจากค่อยๆ ขยายจังหวัดละ 1 โรงเรียน  

“นอกจากเรื่องของการขยายจำนวนโรงเรียนและห้องเรียน ในแง่การเปลี่ยนแปลงเชิงระบบก็น่าสนใจว่าเราจะทำยังไงให้สิ่งที่เราทำสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในระบบการศึกษาด้วย สิ่งที่เราอยากจะทำคือทำกิจกรรมให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเด็กที่แตกต่างจากเดิมหรือกลุ่มอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก เช่น ผู้ปกครอง คุณครูที่สามารถเข้าไปพัฒนาสิ่งแวดล้อมของเด็กๆ ซึ่งก็จะเป็นอีกเฟสหนึ่งหลังจากนี้พอสมควรที่จะพัฒนาในอนาคต”

ยังมีอีกหลายความฝันที่สรวิศอยากทำให้เด็กๆ หรือเคยลองทำแล้วแต่ต้องพักไว้ชั่วคราวอย่างหลักสูตรที่รับสมัครเด็กจากครอบครัวฐานะชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีกำลังจ่ายและเก็บเงินค่าเรียนเพื่อนำเงินตรงนั้นมาพัฒนาการสอนให้เด็กที่ต้องการการสนับสนุนทางทุนการศึกษาอีกต่อ, โมเดลห้องเรียนผสมที่เด็กที่ได้รับโอกาสและไม่ได้รับโอกาสทางการศึกษาได้เรียนด้วยกัน, Saturday Film หลักสูตรการทำหนังที่เจาะลึกสนับสนุนสอนการทำหนังให้เด็กในระยะยาว, Saturday School Community Project ที่ให้เด็กๆ ได้สำรวจปัญหาของชุมชนแล้วนำเสนอวิธีการแก้ไขที่สนใจในชุมชนของตัวเองเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนรอบข้างซึ่งทำมา 4 ปีแล้วแต่ตอนนี้เป็นโครงการที่พักไว้ชั่วคราว

“จริงๆ ต้องบอกว่าโครงการพวกนี้ไม่ได้ไม่เวิร์กนะแต่ว่าเราไม่มีแรงทำมากกว่า เรามีแรงทำและแรงคนที่จำกัดเลยต้องโฟกัสกับกิจกรรมหลักของเราก่อน มีบางจังหวัดที่เราอยากไปและก็มีเด็กจากต่างจังหวัดให้ความสนใจเยอะพอสมควรแต่อาสาสมัครของเรายังไม่พอ 

“เราขยายจำนวนโรงเรียนเพิ่มได้ตามจำนวนอาสาสมัครแล้วแต่ว่าอาสาสมัครในพื้นที่รู้จักเรามากขนาดไหน เราจะเลือกอาสาสมัครในพื้นที่ที่มีความสามารถและมีเป้าหมายตรงกับเรา พอมีอาสาสมัครที่ผ่านเกณฑ์มากพอ เราก็จะขยายไปที่จังหวัดนั้น” 

stakeholder (ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย) ในการเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทยจึงเป็นทุกคนในสังคมและจะสร้างแรงกระเพื่อมได้แค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับพลังของหลายภาคส่วนในสังคมรวมกันโดยมีตัวกลางอย่าง Saturday School เป็นผู้นำในการขับเคลื่อนการสร้างการเปลี่ยนแปลง 

Facebook : facebook.com/SaturdaySchoolThailand
Website : saturday-school.org

Writer

Craft Curator, Chief Dream Weaver, Lifestyle Columnist, Editor-in-Cheese, Design Researcher 'Instagram : @rata.montre'

Photographer

ช่างภาพและ baker ฝึกหัด

You Might Also Like