นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

New Normal- New Formal

เมื่อดินแดนแห่งปลาดิบเริ่มมี ‘ตู้กดซาชิมิอัตโนมัติ’ เพื่อโอบรับความปกติใหม่หลังยุคโควิด-19

คำว่า  ‘new normal’ หรือความปกติใหม่ คงเป็นคำแห่งยุคที่เราได้ยินบ่อยที่สุดใน 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งคำนี้บ่งบอกถึงพฤติกรรมรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นบนโลกหลังการอุบัติของโควิด-19 ทั้งการออกไปไหนต่อไหนโดยต้องสวมใส่หน้ากากอนามัย การบีบเจลแอลกอฮอล์ใส่มือหลังสัมผัสสิ่งของ การสวมถุงมือก่อนตักอาหารบนไลน์บุฟเฟต์ ตลอดไปจนถึงการใช้ข้อศอกกดหมายเลขบนแป้นลิฟต์

หลายต่อหลายอย่างเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วจนดูคล้ายกับว่า นี่คือการจัดระเบียบสังคมครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งที่ธรรมชาติ (?) จัดสรรให้กับเหล่ามวลมนุษยชาติ รวมไปทั้งพฤติกรรมการจับจ่ายซื้อของกินก็เช่นกันที่เปลี่ยนแปลงไป

หากเรายังพอจำกันได้ในช่วงปี 2020-2021 เป็นช่วงปีที่เราได้เห็นการระบาดอย่างหนักไปทั่วโลกของไวรัสโควิด-19 รัฐบาลแต่ละประเทศต่างออกมารณรงค์การใส่หน้ากากอนามัยในพื้นที่สาธารณะและสนับสนุนให้ผู้คนรักษาระยะห่างทางสังคม รวมไปถึงอีกหลายประเทศที่มีการประกาศล็อกดาวน์พื้นที่ จำกัดเวลาการออกจากบ้านของประชาชนเลยทีเดียว

ทั้งหมดที่กล่าวมาส่งผลกระทบโดยตรงต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคและต่อผู้ประกอบกิจการไปด้วยในเวลาเดียวกัน เมื่อผู้คนออกจากบ้านน้อยลง การกินดื่มสังสรรค์นอกบ้านก็ต้องน้อยลงตามไปด้วย อีกทั้งยังมีข้อจำกัดอื่นๆ อีกในการรับประทานอาหารนอกบ้าน ทั้งการรักษาระยะห่างทางสังคมและการจำกัดจำนวนคนในร้านอาหาร (และผับบาร์)

ผู้คนจึงต้องกินข้าวที่บ้านมากขึ้น เนื่องด้วยทั้งจากการลดการสัมผัส การรักษาระยะห่างและการเวิร์กฟรอมโฮม ธุรกิจร้านอาหารเครื่องดื่มจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะได้รับผลกระทบนี้ไปเต็มๆ

ประเทศญี่ปุ่น–ด้วยรักและปลาดิบ

ญี่ปุ่น–ประเทศแห่งความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการที่เรามักจะเห็นไอเดียและความกล้าที่จะคิดจนหลายต่อหลายครั้งถึงขั้นทำให้เราต้องร้อง “ว้าว” หรือไม่ก็เอียงคอด้วยความสงสัยว่า “แบบนี้ก็(คิด)ได้ด้วยเหรอ” ญี่ปุ่นดูเหมือนจะเป็นประเทศที่ทำให้เราเห็นความละเอียดอ่อนในการใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ตลอดจนถึงการโอบรับความเป็นไปได้ในทุกรูปแบบ จนเป็นที่มาของนวัตกรรมและความคิดใหม่ๆ บนโลกใบนี้

ถ้าเราพูดถึงความเป็น ‘ญี่ปุ่น’ และอาหารญี่ปุ่น ลิสต์รายชื่อของอาหารคงเรียงรายมากมายไม่รู้จบ และหนึ่งในนั้นก็น่าจะมี ‘ซาชิมิ’ ประกอบอยู่ด้วย

‘ซาชิมิ’ หรือที่คนไทยมักเรียกชื่อกันแบบสั้นๆ ว่า ปลาดิบ คืออาหารจานดิบที่ถูกหั่นแล่สไลด์ให้บางแบบพอดีคำ ปกติแล้วเรามักจะคุ้นชินกับ ซาชิมิที่เป็นเนื้อปลา แต่อันที่จริงจะหมายรวมถึงอาหารอย่างอื่นที่รับประทานแบบแล่ดิบๆ ก็ได้ เช่น เนื้อวัว เนื้อม้า เนื้อกวาง แต่เนื้อปลาดิบและซีฟู้ดดิบดูจะเป็นที่นิยมมากกว่าเนื้อดิบชนิดอื่น

ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่ได้รับสมญานามว่า ‘ดินแดนแห่งปลาดิบ’ นอกจากจะเป็นประเทศที่นิยมบริโภคปลาดิบแล้ว ยังเป็นประเทศที่เปรียบเสมือนกับเป็นเมืองหลวงแห่งปลาดิบของโลกอีกด้วย เพราะในปี 2010 แค่เฉพาะปลาทูน่าที่ซื้อ-ขายในตลาดปลาซาชิมิ ก็มีจำนวนมหาศาลถึง 300,000-400,000 ตันแล้ว ในขณะที่การซื้อ-ขายปลาทูน่าซาชิมิที่อื่นๆ ทั่วโลกทุกประเทศรวมกันมีปริมาณเพียงแค่ 60,000-100,000 ตันต่อปีเท่านั้น

แต่อย่างที่เกริ่นไปข้างต้นว่าโควิด-19 ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ไม่มีข้อยกเว้นแม้กระทั่งการกินซาชิมิของคนญี่ปุ่น ตามสถิติจาก MAFF (Minitry of Agriculture, Forestry and Fisheries) ของญี่ปุ่น สถิติการบริโภคอาหารทะเลของคนญี่ปุ่นมีปริมาณลดลงจากที่ปริมาณการบริโภคซีฟู้ดต่อคนต่อปีตกอยู่ที่คนละ 40.2 กิโลกรัม ในปี 2001 พอมาในปี 2019 จำนวนการบริโภคลดลงเหลือแค่ 23.8 กิโลกรัมต่อคนต่อปีเท่านั้น

สาเหตุสำคัญที่ MAFF สรุปไว้ต่อการบริโภคที่ลดลงดังกล่าว ทั้งที่ใจจริงแล้วคนญี่ปุ่นยังคงมีความตั้งใจและรักที่จะกินซาชิมิและอาหารทะเลอย่างต่อเนื่อง คือราคาอาหารที่แพงขึ้น และความลำบากในการตระเตรียม

ทีนี้ก็มาถึงฮีโร่ที่จะมาช่วยแก้สถานการณ์นี้

หลบหน่อย พระเอกมา

ฮีโร่ที่มาช่วยทำให้คนญี่ปุ่นเข้าถึงปลาดิบได้มากขึ้นกว่าเดิมอยู่ที่เมืองคานาซาวะ จังหวัดอิชิคาวะ ประเทศญี่ปุ่น โดยจะมาช่วยแก้ไขสถานการณ์ให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายปลาดิบสามารถพบเจอกันได้ตรงกลาง ทั้งๆ ที่มีข้อจำกัดที่เพิ่มขึ้นมากมาย ซึ่งฮีโร่ที่ว่าเราหมายถึงตู้กดซาชิมิ

ในระหว่างที่มีการจำกัดระยะห่างทางสังคมช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ร้านค้าหลายแห่งไม่สามารถเปิดหน้าร้านได้ หรือหลายร้านที่เปิดได้ก็ขายไม่ดี เพราะคนไม่นิยมรับประทานอาหารนอกบ้าน ทำให้ธุรกิจร้านอาหารได้รับผลกระทบตั้งแต่ปลายน้ำ (ร้านอาหาร) ไปจนถึงต้นน้ำ (ร้านค้าขายวัตถุดิบในการทำอาหาร) รวมไปจนถึงร้านขายปลาที่อยู่ในตลาดโอมิโจ (ตลาดที่ขายของกินของใช้รวมถึงของทะเลสดๆ ขึ้นชื่อของเมืองคานาซาวะ เช่น ปู กุ้ง ปลา) ก็พลอยลำบากเพราะโควิด-19 ไปด้วย

ร้านขายปลา Ohguchi Suisan ที่ตั้งอยู่ในตลาดโอมิโจจึงผุดไอเดียตั้งตู้กดขายซาชิมิขึ้นช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2022 โดยซาชิมิที่ขายในตู้กดอัตโนมัติแห่งนี้มีทั้ง ปลา กุ้ง และปลาหมึกสดๆ จากจังหวัดอิชิคาวะ โดยคุณสามารถเลือกชนิดของซาชิมิ (อาจจะเป็น ปลา กุ้ง หรือปลาหมึก) ให้รวมมาอยู่ในแพ็กเดียวกันได้ รับประกันคุณภาพและความสดของซาชิมิจากที่ตั้งของตู้กดนี้ที่อยู่ใกล้ๆ กับร้านปลาเจ้าใหญ่อย่าง Ohguchi Suisan ของตลาดโอมิโจ

ทีนี้มาถึงคำถามสำคัญ ของการลงทุนคิด และทำตู้กดซาชิมิอัตโนมัตินี้ว่า ในเมื่อเดินต่อไปอีกไม่กี่ก้าวก็ถึงตลาดและร้านขายปลาแล้ว ทำไมเราต้องมาซื้อซาชิมิจากตู้กดอัตโนมัติอีกล่ะ? 

แปลเป็นภาษาง่ายๆ คือ “ตู้กดซาชิมินี้มันจะขายได้หรือ?”

ซาชิมิ 3 อย่าง = 500 เยน

คำตอบของคำถามนี้เราขอตอบคุณด้วยราคาของซาชิมิจากตู้กดซาชิมิอัตโนมัตินี้ ราคาของซาชิมิรวม 3 อย่างจะพร้อมเสิร์ฟให้คุณในไม่กี่อึดใจเพียงแค่คุณใส่เงินเข้าไป 500 เยน หรือประมาณ 129 บาท (1 บาท = 3.86 เยน) เท่านั้น

เท่ากับว่าคุณสามารถกินซาชิมิสดใหม่จากตลาดปลาในราคา 500 เยน แถมข้อดีอีกข้อคือ ตู้กดซาชิมินี้ไม่มีเวลาหยุดทำการ มันสามารถทำการเปิดร้านขายซาชิมิได้ตลอด 24 ชั่วโมงตราบเท่าที่ทางร้านค้าเอาปลามาเติมให้ทุกครั้งที่ขายหมด

ชาวญี่ปุ่น (หรือจะพูดให้ถูกคือ ชาวเมืองคานาซาวะ) ให้การตอบรับตู้กดซาชิมินี้เป็นอย่างดี เห็นได้จากการที่ต้องมีการเติมของให้กับเจ้าตู้กดซาชิมินี้ทุกวันวันละ 2 ครั้ง คือตอน 9 โมงเช้า กับบ่าย 3 โมง คุณมาซารุ อารากิ (Masaru Araki) ผู้อำนวยการของ Ohguchi Suisan พูดกับ Nikkei Asia ว่า “ตู้กดซาชิมิเราขายหมดเกลี้ยงทุกวันเลยครับ”

เกร็ดความรู้เล็กน้อยเกี่ยวกับชาวคานาซาวะคือ เมื่อปี 2019-2021 จากการสำรวจรายรับและรายจ่ายของประชากรทั่วทั้งญี่ปุ่นโดย Ministry of Internal Affairs and Communication แสดงให้เห็นว่า ประชาชนจากเมืองคานาซาวะ เป็นประชาชนที่มีการใช้จ่ายไปกับ ค่าเนื้อปลาและเค้ก มากที่สุดในบรรดาประชากรทั้ง 52 เมืองของญี่ปุ่น

ในเมื่อคนที่เมืองนี้นิยมกินปลาอยู่แล้ว จึงอาจจะนับเป็นแต้มต่อให้กับก้าวแรกของการปรากฏตัวขึ้นของตู้กดซาชิมิ ก็ว่าได้ที่ได้เดบิวต์เปิดตัวครั้งแรกในเมืองที่มีแนวโน้มจะใช้จ่ายกับเนื้อปลาอย่างสะดวกใจ

คุณมาซารุอธิบายต่อว่า ไอเดียแรกของการตั้งตู้กดซาชิมิ คือต้องการขายซาชิมิหลังจากที่ร้านปิดแล้วตอน 5 โมงเย็น โดยกลุ่มเป้าหมายคือนักท่องเที่ยวที่พักอยู่ในโรงแรมใกล้ๆ ย่านนั้น หรืออาจจะเป็นพนักงานบริษัทที่เพิ่งทำงานกลับมาถึงบ้านหลังเวลา 5 โมงเย็น แถมการตั้งตู้กดซาชิมิเป็นการทำธุรกิจแบบให้ลูกค้าบริการตนเอง (self-serivce) ถือเป็นการลดต้นทุนการทำธุรกิจไปในตัวอีกด้วย

นอกจากตู้กดซาชิมิแล้ว Ohguchi Suisan ยังมีตู้กดอาหารอัตโนมัติที่ขายอาหารจานปลาในรูปแบบอื่นๆ อีกด้วย เช่น ปลาทอด, ปลาราดซอสมิโซะ, ข้าวหน้าปลาโนโดกุโระ

ในประเทศที่มีตู้กดสินค้าอัตโนมัติต่างๆ มากกว่า 5.5 ล้านเครื่อง หรือเมื่อเทียบตามสัดส่วนประชากรแล้วนับเป็น 1 ตู้กด ต่อประชากร 23 คนในประเทศ จึงน่าจะเรียกได้ว่านี่คือประเทศแห่งตู้กดอัตโนมัติ เราอาจต้องติดตามตอนต่อไปว่า นอกจากตู้กดซาชิมิแล้ว ญี่ปุ่นจะมีตู้กดอะไรออกมาให้เราตื่นตาตื่นใจอีกหรือไม่

ที่มา

Writer

อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย หญิงสาวผู้หลงรักอาหาร และโฮสต์รายการพอดแคสต์ชื่อ 'Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว'

You Might Also Like