นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

3587
March 14, 2023

Renaming a Company

เหตุผลที่ทำให้บริษัทใหญ่ตัดสินใจเปลี่ยนชื่อ แม้ชื่อเดิมจะคุ้นหูคนส่วนใหญ่แล้วก็ตาม

การเปลี่ยนชื่อบริษัทของ Makro มาเป็น ซีพี แอ็กซ์ตร้า เมื่อปลายเดือนที่ผ่านมานี้ ด้วยเหตุผลที่ต้องการจะสื่อว่าบริษัทฯ ไม่ได้มีแค่ Makro แต่ยังมีแบรนด์ค้าปลีกอย่าง Lotus’s อยู่ในมือด้วยเช่นกัน ชวนให้เราคิดว่าที่จริงแล้วยังมีอีกหลายบริษัทขนาดใหญ่ที่ตัดสินใจเปลี่ยนชื่อบริษัท แม้ชื่อเดิมจะใช้เวลาในการสร้างมาอย่างยาวนานและเป็นอะไรที่ผู้คนรู้จักกันเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม

โดยเหตุผลที่ทำให้บริษัทเหล่านี้รีแบรนด์นั้นมาจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น 

1. เปลี่ยนเพราะชื่อเดิมให้ความหมายที่จำกัดต่อการขยายธุรกิจจนเกินไป 

อย่างในต่างประเทศ บริษัทที่เราคุ้นหูกันเป็นอย่างดีก็เช่น Google ที่ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Alphabet เพราะบริษัทไม่ได้เน้นทำธุรกิจเฉพาะเสิร์ชเอนจิน หรือมีเพียง Google เท่านั้น แต่ยังมีธุรกิจอื่นๆ อีกมากมายภายในเครือ ไม่ว่าจะเป็น YouTube, Android และ DeepMind โดยหลังจากเปลี่ยนชื่อหุ้น Alphabet ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้น 5% ภายในสองวันหลัง

ส่วน Facebook เองก็เปลี่ยนชื่อมาเป็น Meta เพื่อสื่อว่าพวกเขาไม่ได้ทำเพียงแค่ธุรกิจโซเชียลมีเดีย 

หรือกับ Twitter ที่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้ว่าที่จริงแล้วพวกเขาเองได้มีการแตกออกมาเป็นบริษัทใหม่ แยกตัวออกมาจากบริษัทแม่อย่าง Odeo  เพื่อป้องกันความสับสนระหว่างธุรกิจใหม่ที่ทำโซเชียลมีเดีย ออกจากธุรกิจเดิมที่ทำเกี่ยวกับพ็อดแคสต์ 

ไม่ใช่แค่บริษัทเทคโนโลยี แต่ธุรกิจอาหารก็ยังมีการเปลี่ยนชื่อด้วยเหตุผลที่ว่าชื่อเดิมให้ความหมายที่จำกัดต่อการขยายธุรกิจจนเกินไปด้วยเช่นกัน อย่างเช่น Dunkin’ Donuts ที่ได้ตัดคำว่า Donuts ให้เหลือเพียง Dunkin’ เพื่อสื่อความหมายว่า บริษัทไม่ได้ขายแค่โดนัทอีกต่อไป แต่ยังมีเมนูอื่นๆ อีกด้วย

สำหรับบริษัทในไทยที่น่าจะตรงกับเรื่องราวนี้มากสุดคงไม่พ้น SCBX ที่ประกาศว่าจะไม่ได้ทำแค่ธุรกิจธนาคารพาณิชย์แล้ว แต่จะเป็นบริษัทเทคโนโลยีด้านการเงิน

ซึ่งหลังจาก SCB ประกาศเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น SCBX ที่เป็นการบอกถึงทิศทางใหม่ขององค์กร ก็ทำให้หุ้น SCB เปิดตลาดบวกถึง 20% เลยทีเดียว 

และตอนนี้พอเราเห็นชื่อของ SCBX คงไม่ได้นึกถึงแค่ธนาคารไทยพาณิชย์เท่านั้นอีกแล้ว แต่ยังรวมถึงบริษัทและแบรนด์อื่นๆ ภายในเครือด้วย ตั้งแต่ InnovestX ธุรกิจเกี่ยวกับหลักทรัพย์ SCB10X ที่เน้นลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ไปจนถึง Robinhood แพลตฟอร์มให้บริการส่งอาหาร

2. เปลี่ยนเพราะอยากปรับปรุงภาพลักษณ์แบรนด์

บางครั้งเหตุผลในการเปลี่ยนชื่อบริษัทอาจเป็นเรื่องที่เรียบง่าย อย่างต้องการปรับปรุงภาพลักษณ์ให้น่าจดจำและน่าดึงดูดยิ่งขึ้น เพราะแม้ว่าชื่อของบริษัทบางแห่งจะเป็นที่รู้จักกันแล้ว แต่การใช้ชื่อเดิมที่ใช้มาอย่างยาวนาน อาจส่งผลต่อภาพลักษณ์บริษัทที่ดูไม่ทันสมัยก็เป็นได้ 

โดยบริษัทที่มีการรีแบรนด์เพื่อให้ทันสมัยคือ Citigroup ที่มีชื่อใหม่ว่า Citi เพื่อที่จะได้มีภาพลักษณ์ที่ดูมีความคิดก้าวหน้า เป็นมิตรและจดจำง่ายต่อลูกค้า รวมถึงสื่อถึงความหลากหลายมากขึ้นด้วย

หากดูตัวอย่างบริษัทในไทยที่ประสบความสำเร็จในการรีแบรนด์ก็คงต้องพูดถึง ศรีจันทร์ที่ได้พัฒนาชื่อเป็นภาษาอังกฤษอย่าง Srichand ทำให้แบรนด์เครื่องสำอางมีความอินเตอร์และยกระดับภาพลักษณ์

ซึ่งเมื่อก่อนหากใครพูดชื่อของศรีจันทร์ เราคงจะมีภาพจำว่าเป็นแบรนด์ที่โบราณหน่อยๆ เดาได้ไม่ยากเลยว่าคนวัยหนุ่มสาวยุคปัจจุบันจะอยากซื้อหรือไม่ แต่พอรีแบรนด์เป็นภาษาอังกฤษ พร้อมมีการทำการตลาดควบคู่ตาม แบรนด์ศรีจันทร์ก็ดูสดใหม่ทันที และยังสามารถไปตีตลาดต่างประเทศได้ด้วย ปัจจุบันมีฐานลูกค้ามากกว่า 200,000 ราย และภาพลักษณ์บริษัทที่ดูมีความพรีเมียมมากขึ้นก็ส่งผลให้ธุรกิจเติบโตจนมีรายได้แตะ 500 ล้านบาทในปัจจุบัน

3. เปลี่ยนเพราะเปลี่ยนทิศทางในการทำธุรกิจ

เมื่อธุรกิจที่ทำในปัจจุบันอาจไม่ตรงกับธุรกิจแรกเริ่มเสมอไป จึงต้องมีการปรับชื่อบริษัทให้สอดคล้อง

หนึ่งในบริษัทที่เราคุ้นกันเป็นอย่างดีก็คือนันยาง ที่ได้เปลี่ยนจนแทบไม่เหลือร่องรอยของชื่อเดิม โดยหลายคนอาจไม่รู้ว่าในอดีตบริษัทนันยางเคยใช้ชื่อว่า ‘ฮั่วเซ่งจั่น’ แต่ที่เปลี่ยนมาเป็นนันยางก็เพราะต้องการจะสื่อความหมายว่าจะไม่ได้ทำธุรกิจซื้อมา-ขายไปสินค้าหลากหลายชนิดอีกต่อไปแล้ว แต่จะหันมาโฟกัสที่ธุรกิจรองเท้าแทน 

4. เปลี่ยนเพราะต้องการเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นอย่างอื่น 

รู้หรือไม่ว่าจริง ๆ แล้ว Accenture บริษัทที่ปรึกษาระดับโลก เคยเป็นหนึ่งหน่วยงานของ Arthur Andersen หนึ่งในผู้ตรวจสอบบัญชีที่ล้มหายตายจากไปเพราะมีความผิดในการช่วยบริษัทอื่นตกแต่งบัญชี และยังเคยมีชื่อว่า Anderson Consulting ด้วย 

แต่ตอนนี้แทบไม่มีใครนึกแล้วว่า Accenture เคยเกี่ยวข้อง กับ Arthur Anderson ทำให้บริษัทสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีได้ง่ายขึ้น

ลองนึกภาพตามว่า หาก Accenture ยังใช้ชื่อเดิม ก็คงยากที่จะสร้างแบรนด์ได้ดีเท่าปัจจุบันที่กำลังเป็นอยู่อย่างแน่นอน เพราะชื่อนั้นมีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีไปแล้ว

5. เปลี่ยนเพราะต้องการใช้ประโยชน์จากชื่อบริษัทภายในเครือ

บางครั้งบริษัทที่มีหลายบริษัทอยู่ภายในเครือ อาจเปลี่ยนชื่อบริษัทของตัวเองให้คล้ายกับอีกบริษัทหนึ่ง เพราะว่าอีกชื่อเป็นที่รู้จักมากกว่า ซึ่งสามารถเพิ่มความยอมรับและความไว้วางใจจากผู้คนได้ง่ายขึ้น เช่น AB Food and Beverages เป็น Twinings & Co

จากตัวอย่างที่เล่ามาทั้งหมดทั้งมวลนี้จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนชื่อบริษัทที่อยู่มาอย่างยาวนานที่คนรู้จักกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงอยู่ไม่น้อย 

ทว่าในอีกมุม หลายๆ ตัวอย่างก็เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นเช่นกัน เพราะการไม่ยอมเปลี่ยนแปลงอะไรเลย และยึดติดกับความสำเร็จเดิมๆ กลับกลายเป็นความเสี่ยงของบริษัทยิ่งกว่าการลองทำอะไรใหม่ๆ เสียอีก

อ้างอิง

You Might Also Like