นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

Net Zero for Business

Net Zero ยังไงให้ไม่ตกขบวน บทสรุปจากงาน ASEW 2024

หนึ่งในเป้าหมายสำคัญของโลกในตอนนี้คือการก้าวไปสู่ ‘สังคมคาร์บอนต่ำ’ โดยแผนการเบื้องต้นที่ภาครัฐประกาศออกมาจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือ Net Zero Carbon ให้ได้ร้อยละ 30-40% ภายในปี 2030 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2065 ฟังดูเป็นแผนงานและความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ ที่ภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันเพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤตดังกล่าว 

ภายในงาน ‘ASEAN Sustainable Energy Week 2024’  ที่เพิ่งผ่านพ้นไปไม่นานได้เผยให้เห็นแล้วว่า การลงมือปรับเปลี่ยน ‘ห่วงโซ่อุปทาน’ ในภาคอุตสาหกรรมไทย คือฟันเฟืองสำคัญที่จะทำให้เป้าหมาย Net Zero Carbon เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม แต่วิธีลงมือปรับเปลี่ยนแบบไหนที่จะทำให้แต่ละองค์กรไม่ตกขบวนเทรนด์ที่ว่า ขอชวนมาหาคำตอบไปพร้อมกันจาก Key Note ตอนนี้ 

ต้องเรียนรู้และเข้าใจเรื่อง alternative energy 

โจทย์ใหญ่โจทย์แรกคือทำยังไงให้ผู้ประกอบการตั้งแต่รายเล็กจนถึงรายใหญ่เข้าใจถึงการใช้พลังงานทางเลือก หรือ alternative energy เพื่อทดแทนการใช้พลังงานเชื้อเพลิงจากฟอสซิล ทั้งที่เป็นถ่านหินหรือแก๊สธรรมชาติ  ซึ่งมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ยปีละ 1.87 พันตัน ที่แม้จะอยู่ในอัตราเฉลี่ยที่น้อยกว่าประเทศแถบยุโรป ที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปีละ 2.02-3.05 พันตัน ทว่าตัวเลขดังกล่าวก็ไม่ใช่ตัวเลขที่น่าพึงพอใจในระยะยาวสักเท่าไหร่นัก

วัฒนพงษ์ คุโรวาท อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ระบุว่า ณ เวลานี้ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน กำลังจัดทำแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (Alternative Energy Development Plan: AEDP 2024) และแผนอนุรักษ์พลังงาน (Energy Efficiency Plan: EEP 2024) เพื่อสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ หันมาใช้พลังงานทดแทนอย่างจริงจัง 

คำถามต่อมาคือพลังงานทดแทนที่เหมาะจะใช้ในภาคอุตสาหกรรมมีอะไรบ้างนั้น วัฒนพงศ์ได้จำแนกออกมาเป็น 3 ข้อหลักๆ ได้แก่

  1. biomass–แหล่งพลังงานทดแทนจากพืช ที่หาได้จากเศษวัสดุเหลือใช้จากผลผลิตทางการเกษตร เช่น เหง้ามันสำปะหลัง ฟางข้าว ปลายไม้ยางพารา ลำต้นปาล์มน้ำมัน แกลบ อ้อย ฯลฯ 
  2. biogas–ไบโอก๊าซ หรือก๊าซที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่ได้จากการย่อยสลายอินทรียวัตถุ เช่น ก๊าซมีเทน (CH4), ก๊าซออกซิเจน (O2), ก๊าซไฮโดรเจน (H2), ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) และก๊าซไนโตรเจน (N2) โดยก๊าซเหล่านี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งการหุงต้มหรือการให้แสงสว่าง
  3. solar cell–แหล่งพลังงานทางเลือกใหม่ ที่เปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้า เหมาะสำหรับการใช้ในภาคอุตสาหกรรมใหญ่ที่มีกำลังผลิตสูง เนื่องจากเป็นแหล่งพลังงานสะอาดที่มีทรัพยากรไม่จำกัดและนำไปใช้ได้ทันที

อย่างไรก็ตาม วิธีปรับเปลี่ยนข้างต้นอาจเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายน้ำ ฉะนั้นการปรับเปลี่ยนที่แท้จริงควรเริ่มจากรั้วสถาบันการศึกษา ที่ต้องบรรจุความรู้เรื่องพลังงานทดแทนแก่นักเรียน นักศึกษา เพื่อเตรียมพร้อมสู่การทำงานในอนาคต และยังต้องสร้างหลักเกณฑ์ที่สนับสนุนภาคอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ SME ที่หันมาใช้พลังงานทดแทน เช่น การให้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ที่ติดตั้งอุปกรณ์แผงโซลาร์เซลล์ 

battery passport รองรับการเติบโตของเทรนด์รถยนต์ไฟฟ้า

ถ้าพูดถึง Net Zero Carbon เรื่องของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าย่อมเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยข้อมูลจากสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าแห่งประเทศไทยระบุว่า 2566 มียอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าถึง 49,952 คัน ขณะที่ไตรมาสแรกถึงไตรมาสที่สองของปี 2567 (ถึงเดือนพฤษภาคม) มียอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าจำนวน 10,789 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนในช่วงเดียวกันราว 34.64% 

ที่น่าสนใจคือเมื่อมีการสนับสนุนให้ภาคประชาชนและภาคเอกชนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างจริงจัง แล้วแบตเตอรีที่หมดอายุการใช้งานจะมีมาตรการหรือวิธีจัดการใดๆ รองรับหรือไม่ ดร.พิมพา ลิ้มทองกุล นายกสมาคมเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทย (TESTA) ได้แนะนำมาตรการที่ภาครัฐและผู้จัดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าสามารถลงมือทำได้ทันที คือการจดทะเบียน ‘battery passport’ ที่ระบุข้อมูลการจดทะเบียน เช่น วันที่ผลิตและวันที่หมดอายุ เมื่อหมดอายุแล้วปลายทางของแบตเตอรีนี้จะถูกส่งไปที่ใด และผู้ผลิตรถยนต์จะนำรีไซเคิลยังไง 

ข้อมูลจากการจดทะเบียนแบตเตอรียังสามารถนำไปวิเคราะห์ต่อได้อีกว่า อายุการใช้งานของรถยนต์ไฟฟ้าหนึ่งคันมีส่วนช่วยลดปัญหาการสร้างคาร์บอนได้มาก-น้อยขนาดไหน และสอดคล้องต่อเป้าหมาย Net Zero Carbon ได้จริงหรือไม่นั่นเอง

เกษตรกรเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยโมเดล BCG

สุดท้ายคือเรื่องของโมเดลเศรษฐกิจแบบ BCG หรือ Bio-Circular-Green Economy ที่ ดร.นภัส แก้วตระกูลชัย คณะกรรมการจัดงาน และผู้ทรงคุณวุฒิการประชุมนานาชาติ ASEAN Bioeconomy and Bioeconomy Conference 2024 ระบุว่า เป็นโมเดลสำคัญที่ควรนำมาปรับใช้กับภาคการเกษตรเพื่อผลักดันประเทศสู่ carbon economy ในฐานะประเทศผู้นำด้านอุตสาหกรรมการเกษตร โดยโมเดล BCG แบ่งออกเป็น 3 หัวข้อ 

  1. bioeconomy–เศรษฐกิจชีวภาพที่นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่มาต่อยอดสู่ ‘ทรัพยากรชีวภาพและผลผลิตทางการเกษตร’ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า เช่น การพัฒนาธัญพืชหรือข้าวให้มีสารอาหารมากขึ้น
  2. circular economy–การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมๆ กับการลดปริมาณของเสียจากภาคการผลิต ด้วยการนำมาแปรรูปใหม่ หรือที่เรียกว่า Zero Waste 
  3. green economy–การพัฒนาเศรษฐกิจไปพร้อมกับการพัฒนาและรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่วนใหญ่เกิดได้ในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เช่น การควบคุมมลพิษ หรือการประชาสัมพันธ์ให้ตระหนักถึงคุณค่าของธรรมชาติ เพื่อให้สิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างยั่งยืน

ทั้งหมดนี้เป็นข้อเสนอแนะเบื้องต้นในการมุ่งสู่สังคมปลอดคาร์บอนเท่านั้น ยังมีวิธีอีกมากมายที่ทุกภาคส่วนสามารถร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อไปถึงเป้าหมายดังกล่าว แต่สิ่งที่สำคัญคือการสร้างความเข้าใจต่อทุกๆ ฝ่ายว่า ประโยชน์ของ Net Zero Carbon ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่งแต่เป็นของเราทุกๆ คนบนโลกใบนี้

Writer

นักเขียนผู้หลงใหลโลกของฟุตบอล สนีกเกอร์ และกันพลา

You Might Also Like