นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

Art of Retail Start Up 

Mediums รีเทลสตาร์ทอัพที่ได้แรงบันดาลใจการออกแบบอุปกรณ์ศิลปะจากเมคอัพ

จะมีร้านเครื่องเขียนและอุปกรณ์ศิลปะสักกี่แบรนด์ที่นิยามตัวเองว่าเป็นรีเทลสตาร์ทอัพ ลงทุนออกแบบร้านกึ่งไลฟ์สไตล์ใจกลางเอกมัย นำเมคอัพมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบขวดสีและพู่กันสไตล์โมเดิร์นมินิมอล ที่สำคัญคือเป็นแบรนด์ไทย

พีท–กษิดิศ ประสิทธิ์รัตนพร มีความชื่นชอบงานด้านศิลปะโดยเฉพาะวิจิตรศิลป์ (Fine Arts) เช่น การระบายภาพสีน้ำมันและศิลปะจัดวาง (installation art) ในฐานะศิลปินที่ชอบใช้เวลาเดินเล่นช้อปปิ้งอุปกรณ์ศิลปะเพื่อความผ่อนคลาย เขากลับพบว่าในประเทศไทยยังไม่ค่อยมีร้านรีเทลที่บรรยากาศดี จึงก่อตั้งธุรกิจตั้งแต่อายุ 16 ภายใต้บริษัท Apostofi ที่แตกแบรนด์ในเครือออกเป็น Mediums ร้านจำหน่ายอุปกรณ์ศิลปะและเครื่องเขียน, ร้านกาแฟ Ve/la และคอมมิวนิตี้ศิลปะ Makespace

Mediums ได้รับกระแสตอบรับค่อนข้างดีทันทีที่เปิด แต่หลังจากธุรกิจดำเนินมาได้ระยะหนึ่งพีทมองว่าร้านค้าปลีกแห่งนี้เป็นได้มากกว่าแค่ร้านขายเครื่องเขียนทั่วไปเลยตัดสินใจปรับโมเดลธุรกิจทั้งหมดในปีที่ผ่านมา จากการนำเข้าสู่การเป็นผู้ผลิตด้วยตัวเอง ขยายหมวดสินค้าเป็นหมวดไลฟ์สไตล์ที่มีทั้งเครื่องครัวและเทียนหอม พร้อมเตรียมขยายสาขา flagship เพิ่มอีกหนึ่งสาขาและขายออนไลน์ทั่วโลก 

เราชวนพีทมาพูดคุยถึงการปรับโฉมแบรนด์ครั้งใหม่ ตั้งแต่แนวคิดไปจนถึงเป้าหมายต่อไปในอนาคตของ Mediums

New Role of Mediums : From Importer to Designer 

พีทก่อตั้ง Mediums เมื่อเดือนมีนาคม ปี 2021 นับเป็นระยะเวลา 2 ปีในการทำธุรกิจ ความตั้งใจแรกของเขาคือการออกแบบร้านอุปกรณ์ศิลปะและเครื่องเขียนให้มีบรรยากาศน่าเดิน  “ถ้าไปญี่ปุ่นเราจะอยากไปเดินเล่นตามย่านต่างๆ ของโตเกียว เดินแล้วสนุกและเกิดไอเดียไปคิดงานต่อ แต่ร้านหมวดศิลปะที่มีในไทยไม่ค่อยน่าเดินเลย” 

ด้วยเหตุนี้พีทจึงคิดคอนเซปต์ของ Mediums เป็นรีเทลอุปกรณ์ศิลปะและเครื่องเขียนน้องใหม่ที่มีบรรยากาศเหมาะแก่กาฮอปปิ้งซึ่งฉีกออกจากร้านอุปกรณ์ศิลปะทั่วไปแบบเดิม ตั้งแต่การออกแบบและตกแต่งภายในที่เน้นความโมเดิร์น การดิสเพลย์สินค้าแบบมีคอนเซปต์เหมือนห้างสรรพสินค้า  มีโซนกิจกรรมสำหรับระบายสีและคาเฟ่กาแฟ Ve/la ให้นั่งพัก  “ถามว่าทำร้านเครื่องเขียนอุปกรณ์ศิลปะต้องลงทุนขนาดนี้ไหม ปกติคนอื่นเขาก็ไม่ทำแบบนี้กัน แค่รู้สึกว่าเราชอบเดินเลือกซื้อมากแต่ไม่มีที่ไหนน่าเดิน”

ขวบปีแรกของ Mediums เริ่มจากการขายสินค้านำเข้าจากต่างประเทศมากกว่า 100 แบรนด์ มีสินค้ากว่า 5,000 SKU (Stock Keeping Unit– รหัสสินค้าที่มีการจำแนกประเภทสินค้าอย่างละเอียดที่สุด) เป็นอุปกรณ์ศิลปะเฉพาะทางสำหรับสายอาร์ตที่ลงลึกในงานศิลป์ เฉพาะสีหนึ่งประเภทก็นำเข้าถึง 8 แบรนด์ แต่ละแบรนด์มี 3 เกรด รวมแล้วกว่า 100 เฉดสี 

พีทใช้จุดแข็งที่มีองค์ความรู้และคอนเนกชั่นจากธุรกิจโลจิสติกส์ของครอบครัวในการนำเข้าสินค้า “อุปกรณ์ศิลปะแบรนด์ต่างประเทศที่พบในไทยจะอัพราคากันมาแล้วรอบหนึ่งทำให้ราคาสูง แต่เราไม่อยากขายแพงแบบนั้นเลยหาวิธีซิกแซ็กที่ลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้า เช่น หาพาร์ตเนอร์ตรง พยายามดื้อหาหลายวิธีให้สามารถนำเข้าแบรนด์ที่หายากเข้ามาได้” 

แม้จะได้ผลตอบรับเป็นไวรัลทางโซเชียลมีเดียเมื่อคนถูกใจบรรยากาศของรีเทลที่มีมุม instagrammable เป็นดิสเพลย์อลังการจากหลายเฉดสีของสินค้าที่นำเข้ามาแต่พีทกลับบอกว่า 

“เมื่อต้นปีที่แล้วเรากลับมาดูโมเดลธุรกิจและเริ่มเห็นปัญหาหลายจุด เลยเปลี่ยนโมเดลธุรกิจใหม่และรีโนเวตร้าน” เขาตัดสินใจโละสต็อกเก่าที่เป็นอุปกรณ์ศิลปะเฉพาะกลุ่มทิ้งทั้งหมดแล้วเปลี่ยนมาทำสินค้า everyday essentials ที่คนใช้ประจำในชีวิตประจำวันในนามแบรนด์ Mediums โดยยังคงบรรยากาศของรีเทลที่สวยงามเอาไว้ 

หลังจากเปลี่ยนทิศทางครั้งใหญ่ ฟีดแบ็กที่ได้กลับมาเป็นไปในทางที่ดี “หลายคนอาจมองว่าก่อนหน้านี้สำเร็จแล้วในแง่การเข้าถึงกลุ่มลูกค้าวงกว้าง แต่คนที่เดินเข้ามาซื้อสินค้าจริงๆ คิดเป็น 0.5 ใน 10 พอเปลี่ยนมาทำสินค้าของตัวเอง ตอนแรกลูกค้าเก่าก็หายไปเยอะ แต่ได้ลูกค้าใหม่ที่กว้างขึ้นกว่าเดิมมาก เราได้ลูกค้ากลุ่มที่เป็นมือใหม่ในด้านศิลปะ คนที่หัดวาดรูปมาเพิ่ม ตอนนี้ถ้าเดินเข้าร้าน 10 คน มีอย่างน้อย 7 คนที่ซื้อสินค้ากลับไป” 

“สินค้าที่เรียบง่ายอย่างปากกาหรือโพสต์อิท เริ่มได้รับรีวิวทางบวก บางคนบอกว่าเป็นปากกาที่ดีที่สุดที่เคยใช้ สิ่งนี้จึงตอกย้ำว่าการเปลี่ยนแปลงในสิ่งเล็กๆ ทำให้ดีขึ้นได้”

เพียงผลิตสินค้าคุณภาพดีที่ครอบคอนเซปต์ด้วยแบรนด์ดิ้งอย่างปากกามินิมอลที่เขียนแล้วหมึกไม่เลอะ โพสต์อิทที่ดีไซน์สีกระดาษและแพ็กเกจให้โมเดิร์นก็ทำให้ลูกค้าชื่นชอบได้ เป็นสิ่งที่พีทได้เรียนรู้ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาว่า ‘คุณภาพสำคัญกว่าปริมาณ’ 

Thoughtful Design Behind Simplicity  

แล้วสินค้าที่ผลิตเองในนาม Mediums ต้องการแก้ปัญหาอะไร 

พีทเล่าถึงสิ่งที่เขารู้สึกว่าเป็นอีกหนึ่ง pain point สำหรับศิลปินให้ฟังว่าอุปกรณ์ศิลปะในไทยมักไม่ได้ถูกวางให้เป็นสินค้าไลฟ์สไตล์ที่ตั้งใจออกแบบให้มีความสวยงามและไม่มีตัวเลือกมากมายนักเหมือนสินค้าไลฟ์สไตล์หมวดอื่นๆ 

“พีทไม่ชอบช้อปปิ้งอุปกรณ์ศิลปะในไทยเลยเพราะรู้สึกว่ามีตัวเลือกแค่ไหนก็มีอยู่แค่นั้น ตั้งแต่เราอยู่อนุบาลจนตอนนี้ก็ยังมีเท่าเดิมแต่ราคาสินค้าแพงขึ้น เวลาไปต่างประเทศเลยชอบไปกวาดซื้อมาคราวละมากๆ เพราะของไทยตัวเลือกน้อยและราคาสูง สิ่งที่ตั้งคำถามมาตลอดคือ ทำไมอุปกรณ์ศิลปะในไทยถึงไม่เคยสวยเลยทั้งที่เป็นอุปกรณ์ที่ทำมาเพื่อคนที่ใส่ใจเรื่องรูปลักษณ์และความสวยงาม”

เมื่อซีอีโอวัย 18 ปีเริ่มลองรีเสิร์ชตลาดด้วยการหาเรเฟอเรนซ์อ้างอิงจากวงการอุปกรณ์ศิลปะก็พบว่าไม่มีรูปแบบที่ตรงใจแต่กลับได้แรงบันดาลใจจากหมวดสินค้าอื่นที่ไม่ใช่เครื่องเขียน เช่น เครื่องสำอางและของใช้ในครัว

“ขวดสีอะคริลิกของเราได้แรงบันดาลใจมาจากขวดรองพื้นที่มีหลายเฉดสี รองพื้นส่วนใหญ่จะอยู่ในขวดใสทำให้เห็นสีจริงข้างใน ถ้าเป็นสีอะคริลิกทั่วไปมักจะอยู่ในขวดอะลูมิเนียมหรือพลาสติกทึบโดยมีฉลากระบุสีไว้ ปัญหาคือเมื่อบีบสีออกมาแล้ว บางทีสีไม่ตรงกับบนฉลาก เข้มไปหรืออ่อนไปบ้าง แต่สินค้าของเราเลือกใช้ขวดใสทำให้มองเห็นสีจริงพร้อมบีบออกมาใช้ได้เลย ป้องกันความผิดเพี้ยนเรื่องสีซึ่งเป็นเรื่องสำคัญของคนทำงานศิลปะ”

นอกจากนี้พู่กันและแพ็กเกจยังมีดีไซน์เรียบง่ายน่าใช้เหมือนแปรงบรัชแต่งหน้า กล่องดินสอสีมีความโมเดิร์นคล้ายพาเลตต์ดินสอเขียนคิ้ว

พีทบอกว่าหากสังเกตวงการเครื่องสำอางจะพบว่ามีแบรนด์ขนาดเล็กเกิดใหม่ขึ้นเยอะมาก แต่ละแบรนด์มีการดีไซน์ภาพจำที่โดดเด่นเพื่อให้เข้าถึงคนง่ายขึ้นซึ่ง Mediums ก็อยากเป็นแบรนด์แบบนั้นจึงดีไซน์รูปลักษณ์ให้มีความซิมเปิลและมินิมอล “เราอยากให้สินค้าของเราดูเป็นมิตร ให้ศิลปะเป็นสิ่งที่เข้าถึงง่าย เป็นสินค้าที่ใครก็ซื้อได้ เข้าถึงได้ ด้วยรูปแบบที่น่าใช้” 

เบื้องหลังความเรียบง่ายคือการผ่านกระบวนการออกแบบที่คิดมาอย่างละเอียด คิดเยอะแทนความต้องการลูกค้า ซึ่งพีทเล่าถึงแนวคิดการออกแบบสินค้าให้ฟังว่า “เราจริงจังในการทำแล็บเพื่อให้คุณภาพเทียบเท่าหรือดีกว่าสินค้าที่ตลาดมีอยู่ จะไม่ปล่อยให้รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ คลาดสายตา นี่คือมาตรฐานที่เราทำมา ถ้าเป็นกระดาษวาดภาพก็จะค้นคว้าตั้งแต่ไฟเบอร์ คำนึงถึงระดับการละลายสีบนกระดาษเวลาระบายสี การสัมผัสเวลาพื้นผิวสัมผัสกับปากกาและดินสอ ถ้าเป็นสีก็จะปรับสูตรเคมีเรื่องเม็ดสี สินค้าแต่ละชิ้นจะมีต้นแบบ (prototype) เยอะมาก อย่างที่วางเทปก็ทำต้นแบบออกมา 80 อัน เพราะเทสต์แล้วไม่โอเคในมุมต่างๆ ทั้งฟอร์มและฟังก์ชั่น ต้องพัฒนาและปรับเปลี่ยนมาเรื่อยๆ บางคนคิดว่าการออกแบบและผลิตทำไม่นาน แต่ที่จริงค่อนข้างใช้เวลา” 

ความเรียบง่าย ไม่ซับซ้อนของพีทยังหมายถึงการนำเสนอตัวเลือกของรุ่นสินค้าที่เรียบง่ายอย่างสีอะคริลิกที่มีตัวเลือก 12 สี กระดาษ paper pad ที่คิดมาให้แล้วว่าควรมีกระดาษแบบไหนบ้าง 

“เวลาออกแบบ เรื่องหลักที่เราคำนึงถึงคือ product ecosystem ว่าทำยังไงให้ลูกค้าที่ไม่มีความรู้ในอุปกรณ์ศิลปะเลยเดินเข้ามาแล้วเลือกหยิบใช้ได้ง่าย จากที่เมื่อก่อนศิลปินมีเซตอุปกรณ์เยอะแยะมากมายเดี๋ยวนี้เราอาจมีเซตเดียวได้ เราคิดมาให้แล้วว่าสีประเภทนี้ควรใช้กับกระดาษชนิดใดถึงจะเมคเซนส์ที่สุด ถ้าเรามีตัวเลือกสินค้าที่ดีจะทำให้ไม่เกิดการสะดุดในการเปรียบเทียบเวลาทำงานศิลปะว่าควรใช้อุปกรณ์ตัวไหน ไปโฟกัสเรื่องงานได้เต็มที่ เป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดีในการใช้อุปกรณ์ศิลปะอย่าง seamless มากที่สุด” 

Creative Concept Wins 

พีทนิยามสินค้าของ Mediums ว่าเป็นสินค้าไลฟ์สไตล์สร้างสรรค์ที่อยากผลักดันวงการศิลปะ นอกจากเครื่องเขียนและอุปกรณ์ศิลปะแล้ว เขาจึงเพิ่มสินค้าหลายหมวดทั้ง Living, Ambiance, Kids มีทั้งเครื่องครัว เทียนหอม diffuser ของใช้ในบ้าน  โดยการออกแบบสินค้าทุกหมวดจะนำด้วยคอนเซปต์และแบรนด์ดิ้ง  

“พีทคิดว่าลูกค้ามองเราเป็นไลฟ์สไตล์แบรนด์ตั้งแต่แรก พอกลุ่มเป้าหมายชอบการดีไซน์และพื้นที่ของเราก็ตั้งใจออกแบบมาให้สวยทำให้ขยายสินค้าไปหมวดอื่นง่าย เพราะเวลาลูกค้าซื้อสินค้าเขาไม่ได้ซื้อแค่คุณภาพสีหรือแพ็กเกจ เขาซื้อคอนเซปต์ของแบรนด์”  

แม้จะมีหลายหมวดที่ไม่เกี่ยวข้องกันโดยตรง แต่ทุกอย่างมีคอนเซปต์ของศิลปะแฝงอยู่ 

เทียนหอม diffuser เป็นกลิ่นที่สร้างสรรค์ด้วยแรงบันดาลใจจากภาพวาด อย่างกลิ่น Château Noir ที่มาจากชื่อภาพวาดของ Paul Cézanne เป็นกลิ่นป่าไม้จากภาพวาดปราสาทในป่า กลิ่น Flowers on a Window Ledge จากภาพวาดของ John La Farge และกลิ่น 10/1 จากบ้านเลขที่ของ Mediums สาขาสุขุมวิท 42 ที่เป็นกลิ่นของการเริ่มต้นใหม่ 

ส่วนกาแฟ Ve/la มาจากการค้นพบว่าคนที่ไม่ใช่คอกาแฟสเปเชียลตี้อย่างจริงจังมักรู้สึกว่าการเลือกกาแฟแต่ละสายพันธ์ุนั้นเข้าใจยากเลยออกแบบคอนเซปต์ง่ายๆให้คนสนใจด้วยการเอาเวลามาเล่นกับกาแฟ ตั้งชื่อเป็น Morning, Midday, Dawn, Dusk, Midnight เพื่อให้คนเข้าใจ taste note ของกาแฟง่ายขึ้น  

นอกจากกลุ่มลูกค้าไลฟ์สไตล์ทั่วไปแล้ว ยังมีหมวด Mediums for Education จำหน่ายสีปลอดสารพิษ (non-toxic) ที่ปลอดภัยสำหรับเด็กเล็กรวมถึงอุปกรณ์ศิลปะอื่นๆ อย่างพู่กันไซส์จิ๋วเหมาะสำหรับขนาดมือเด็ก ด้วยดีไซน์เรียบง่ายทำให้ภาพลักษณ์สินค้ามีความอนามัย ดึงดูดกลุ่มลูกค้าเฉพาะกลุ่มอย่างนักเรียน ครู และพ่อแม่

“มีโรงเรียนนานาชาติหลายแห่งที่สนใจ ล่าสุดเพิ่งไปออกบูทที่ธรรมศาสตร์ เพราะเขากำลังมองหาแบรนด์ด้านอาร์ตและครีเอทีฟ ซึ่งได้รับการตอบรับดีมาก น้องๆ รู้สึกว่าสินค้าแบรนด์เราสวย เข้าถึงง่าย” พีทกล่าว 

ผลตอบรับของสินค้าแต่ละหมวดต่างประสบความสำเร็จ ทั้งเทียนหอมที่ขายดีกว่าที่คาดคิด ร้านกาแฟที่ขยายสาขาตามห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ พารากอน เอ็มโพเรียมอย่างต่อเนื่อง อุปกรณ์ศิลปะที่กำลังมีกลุ่มลูกค้าหลากหลายเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งโรงเรียน องค์กร และคนทั่วไป 

ทั้งหมดนี้สำเร็จได้เพราะเขาออกแบบทุกอย่างโดยใช้คอนเซปต์เป็นตัวนำ 

Aesthetics in Store   

หากใครเคยไปเยือน Mediums ภาพที่นึกถึงคงเป็นสตูดิโอสีขาวโปร่งซึ่งพีทบอกว่าตั้งใจให้สาขานี้เป็นพื้นที่รีทรีตสำหรับพักผ่อนของคนเมือง

“เราอยากให้ลูกค้ามีประสบการณ์หน้าร้านที่ได้มาพักผ่อน เดินเล่น ดูงานศิลปะ มีโซน Makespace สำหรับทำกิจกรรมเวิร์กช็อปที่สอนศิลปะง่ายๆ โดยใช้สินค้าของเราเองทั้งหมด ตอนนี้คนให้ความสนใจสูงมาก มีตั้งแต่คุณพ่อพาลูกมา ลูกหลานพาอาม่ามาทำกิจกรรมด้วยกัน ที่โซนกาแฟร้าน Ve/la ก็มีเค้กที่เพนต์แต่งหน้าเค้กเองได้ที่ได้รับความนิยมจากลูกค้ามาก การได้ใช้เวลาในร้านจะทำให้ลูกค้าเข้าใจคอนเซปต์ของแบรนด์เพิ่มขึ้น ช่วยเพิ่มโอกาสที่เขาจะซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นด้วย”

นอกจากการสร้างบรรยากาศที่ดีแล้ว บริการก็เป็นสิ่งที่ธุรกิจรีเทลต้องให้ความสำคัญ พีทมองว่าร้านขายเครื่องเขียนและอุปกรณ์ศิลปะไม่ต่างจากร้านเครื่องสำอางที่ลูกค้าอยากได้คำแนะนำเวลาเลือกซื้อสินค้า 

“พนักงานในร้านของเราได้แรงบันดาลใจมาจาก BA (beauty advisor) แบบร้านเครื่องสำอาง ต้องผ่านการเทรนนิ่ง 6 สัปดาห์เพื่อทำความรู้จักสินค้าทุกหมวด มีคู่มือ 500-600 หน้าที่ต้องอ่านและสอบ เพื่อสามารถให้คำแนะนำและช่วยเหลือลูกค้าได้ถูกต้อง ศิลปะเป็นเรื่องเฉพาะทางมาก พนักงานจึงต้องมีความรู้” 

นอกจากสาขาหลักที่ตั้งอยู่ที่สุขุมวิท 42 แล้ว ที่ผ่านมา Mediums ยังเปิดป๊อปอัพสโตร์ที่เซ็นทรัลเอ็มบาสซีและเซ็นทรัลลาดพร้าวเพื่อการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่มากขึ้น โดยวางแผนเปิดป๊อปอัพสโตร์แบบฮอปปิ้ง 2-3 เดือนในแต่ละที่ และเตรียมเปิดสาขา flagship อีกที่หนึ่งปลายปีนี้ 

พีทแอบบอกว่าเหตุผลที่ต้องมีสาขา flagship อีกที่เพราะมีคอนเซปต์คนละแบบกัน สำหรับสาขาใหม่จะมีความเป็นคอนเซปต์สโตร์น้อยลง แม้สินค้าที่วางขายเป็นแบบเดิมแต่เน้นการ grab & go ที่มาเร็วไปเร็วมากขึ้น ไม่ได้มีบรรยากาศที่ออกแบบมาเพื่ออยากให้ใช้ละเลียดเวลาผ่อนคลายหลายชั่วโมงเหมือนสาขาเดิม

Exponential Growth of Retail Start Up 

นับตั้งแต่วันแรกที่เริ่มธุรกิจจนถึงปัจจุบัน Mediums เติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งหากย้อนกลับไปในจุดเริ่มต้นเมื่อ 2 ปีที่แล้วพีทเล่าว่าตัวเขาในวัย 16 ปีเข้าไปพิตช์กับนักลงทุนและมองตัวเองเป็นสตาร์ทอัพตั้งแต่แรก 

“ในไทยส่วนใหญ่สตาร์ทอัพจะไปทางสายเทคโนโลยี แต่เราเป็นรีเทลสตาร์ทอัพ เราชนะใจนักลงทุนด้วยการขายคำว่า empathy (ความเข้าอกเข้าใจลูกค้า) และแพสชั่นที่คู่แข่งเราไม่ได้เน้นตรงนี้ บางคนขายเครื่องเขียนเพื่อขายแต่ถามว่ามันเริ่มมาจากความเข้าใจลูกค้าจริงๆ หรือปล่า บางครั้งตัวเลือกสินค้าที่เขาเลือกมาก็อาจไม่ได้ตรงกับสิ่งที่คนต้องการจริงๆ แต่เราใช้การทำความเข้าใจลูกค้าเอามาเป็นตัวตั้งของตัวเอง”  

สตาร์ทอัพแปลว่าธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด สำหรับรีเทล วิธีเติบโตอย่างรวดเร็วคือการสร้างช่องทางการขายหลายช่องทาง (omnichannel) และมีหลายยูนิตหลายแบรนด์ในบริษัทเดียว “เรายังบอกนักลงทุนว่าบริษัทเรามีหลายช่องทาง สามารถเติบโตทั้งหน้าร้านและ e-Commerce มีคาเฟ่ มีช่องทางออนไลน์ที่กำลังจะขยายต่อไปในอนาคต มองว่าประเทศไทยยังไม่มีแบรนด์เครื่องเขียนที่ทำแบบนี้” 

นอกจากขยายหลายช่องทางแล้ว Mediums ยังขยายกลุ่มลูกค้า หลังจากทำรีเทลที่ได้รับความสนใจจากลูกค้า B2C ทั่วไป (business-to-consumer) สำเร็จในระดับหนึ่ง ก็ขยายไปยังกลุ่มลูกค้า B2B (business-to-business)

“ความเรียบง่ายของดีไซน์ที่มีความคลาสสิกทำให้การทำ B2B ไปได้ดีมาก เพราะสินค้าเราไม่ได้ตะโกนจนกลบแบรนด์อื่น เรามีพื้นที่ให้แบรนด์ที่เราทำงานด้วยได้เป็นตัวเขา เข้าได้กับแทบทุกแบรนด์” ซึ่งที่ผ่านมา Mediums ได้ร่วมงานกับแบรนด์ที่โด่งดังหลายแบรนด์ไม่ว่าจะเป็น Stella McCartney, Soho House, Fujiflim, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา องค์กรต่างชาติจากทั้งอังกฤษและอเมริกา ฯลฯ 

พีทเล่าขั้นต่อไปของ Mediums ว่าอีกไม่นานจะเปิดขายออนไลน์ทั่วโลก โดยเริ่มจากประเทศในโซนเอเชียก่อน “คาดว่าเร็วๆ นี้จะเริ่มขายออนไลน์ทั่วโลกเป็น worldwide shipping เริ่มแรกจะเน้นในเอเชียอย่างสิงคโปร์เป็นหลักก่อน ที่เหลือจะค่อยๆ ปล่อยสินค้าทีละเฟสแล้วดูกระแสตอบรับจากลูกค้าว่าเป็นยังไง ลูกค้ามาจากประเทศโซนไหน” 

ทั้งนี้การสร้างตลาดในไทยและต่างประเทศมีความแตกต่างกัน พีทมองว่าในไทย คนยังใช้อุปกรณ์ศิลปะและเครื่องเขียนไม่มากเท่าลอนดอนกับนิวยอร์ก “ที่ต่างประเทศมีสถาบันสอนศิลปะเยอะกว่า มีคนเรียนศิลปะที่ต้องใช้อุปกรณ์ เครื่องเขียนต่างๆ เยอะ ถ้าเข้าตลาดต่างประเทศเราต้องไปในฐานะแบรนด์ใหม่ไปต่อสู้กับแบรนด์ที่มีอยู่ก่อนแล้ว ส่วนในประเทศไทยเราต้องสร้างตลาดขึ้นมาเอง การตลาดก็จะเป็นคนละแบบ” พีทกล่าว

แน่นอนว่าพฤติกรรมของลูกค้าก็แตกต่างกัน พีทบอกว่าคนไทยชอบมาแวะมาหน้าร้านก่อน ถ้ารู้จักแบรนด์แล้วค่อยตามไปซื้อของออนไลน์ ส่วนในต่างประเทศจะมีผู้ที่อยากลองสั่งสินค้าครั้งแรกผ่านช่องทางออนไลน์มากกว่า 

สำหรับนักธุรกิจวัย 18 อย่างพีท รายละเอียดในการสเกลธุรกิจเหล่านี้เรียนรู้ได้นอกตำรา “เชื่อว่าเรื่องธุรกิจเป็นสิ่งที่เรียนไม่ได้ แม้จะแน่นทฤษฎีมาแค่ไหน พอลงมือทำจริงอาจไม่เหมือนในตำรา ทุกอย่างไม่ได้เป็นเส้นตรง ไม่ใช่สิ่งที่สอนกันได้”  

Business that Supports Art Ecosystem 

แผนธุรกิจของพีททั้งหมดมาจากการคิดใหญ่ที่คิดแตกต่างจากคนอื่น ความกล้าหาญคือการลงทุนทำธุรกิจในตลาดเฉพาะกลุ่มซึ่งพีทเล่าความตั้งใจไว้ว่า  

“ตลาดศิลปะในไทยถือว่า niche มากๆ แต่ก็เป็นอุตสาหกรรมที่เติบโตในตัวของมันเอง แค่โตช้ามาก ตอนที่กลับมาดูโมเดลธุรกิจเมื่อต้นปีเราก็มีคำถามนะว่าวงการศิลปะจะตายหรือเปล่า แต่พอมาดูจริงๆ แล้วคนไทยยังฟังเพลงไวนิล ใช้กล้องฟิล์ม คนยังอยากกลับมาหาสิ่งที่จับต้องได้ ถึงแม้ว่าเราติดมือถือกันมากขึ้นแต่ก็ยังอยากอยู่กับสิ่งของที่จับต้องได้และทำกิจกรรมออฟไลน์ เวลาเบรนสตอร์มคนก็ยังอยากใช้กระดาษแผ่นกันอยู่ โลกยังต้องการเครื่องเขียน เป็นสิ่งที่ไม่ตาย เลยอยากทำแบรนด์นี้” 

นอกจากดีไซน์ของสินค้าทุกชิ้นที่คิดมาอย่างละเอียดรอบคอบแล้ว พีทยังกล่าวถึงความตั้งใจในการสนับสนุนการสร้างงานในไทยโดยพยายามใช้ซัพพลายเออร์ไทยให้ได้มากที่สุด แม้สินค้าบางรุ่นไม่ได้ผลิตในไทย ก็ออกแบบและคุมคุณภาพที่แล็บของ Mediums ทุกชิ้นดังที่เขียนบนฉลากสินค้าบางรุ่นว่า Design in Bangkok, Made in Italy 

“อยากให้คนไทยรู้สึกว่าเครื่องเขียนเหล่านี้ทำขึ้นเพื่อเขานะ ไม่ง่ายเลยที่จะผลิตในไทย แต่เราก็ยังมีส่วนที่เลือกซัพพลายเออร์ไทยอยู่เพราะอยากสนับสนุนโครงสร้างวงการดีไซน์ในประเทศตั้งแต่โครงสร้างการผลิตก่อนจะมาเป็นสินค้า” 

สำหรับพีทที่เป็นทั้งนักธุรกิจและศิลปิน เขามองว่าปัญหาของวงการศิลปะในไทยคือโครงสร้างของอุตสาหกรรมที่ขาดการสนับสนุนนักสร้างสรรค์  

“เกิดคำถามบ่อยว่าศิลปินที่อยู่ในไทยทำอะไรได้ คำตอบคือมันยังไม่มีหนทางในการเติบโต เด็กที่เรียนจบศิลปะมาไม่มีงานทำ จะสังเกตว่าประเทศเราไม่มีศิลปินที่ดังมากเยอะ ศิลปินไทยหลายคนที่เราชื่นชมเขาก็ไม่ได้เริ่มดังจากที่ไทย กว่าคนไทยจะชื่นชมงานเขากลายเป็นต้องไปแสวงหาโอกาสที่ต่างประเทศก่อน”    

ทั้งนี้พีทมองว่าสิ่งที่ธุรกิจอย่าง Mediums ช่วยผลักดันได้คือเป็นประตูที่เชื่อมต่อผู้คนเข้ากับศิลปะให้เป็นสิ่งที่เข้าถึงง่าย กลายเป็นเรื่องใกล้ตัวที่อยู่ในชีวิตประจำวัน

“เราอยากทำให้คนสนใจการวาดรูปให้ได้ก่อน ถ้าคนทั่วไปให้คุณค่ากับการวาดรูปทุกวันเสาร์ได้ สิ่งนี้จะทำให้เขาชื่นชมงานของศิลปินคนอื่นได้ง่ายขึ้น เวลาเห็นงานศิลปะราคาแพงก็จะเข้าใจมากขึ้นว่าราคาไม่ได้เว่อร์เพราะงานศิลปะไม่ได้ง่าย เราถึงอยากให้สินค้าของเราดูเป็นมิตร เป็นสินค้าที่ใครก็ซื้อได้ เข้าถึงได้ ด้วยรูปแบบที่น่าใช้ อยากให้คนมีความเข้าใจในคุณค่าของศิลปะมากขึ้นก่อนเราถึงจะสร้างคอมมิวนิตี้หรือผลักดันสังคมศิลปะให้ไปไกลขึ้นได้”  

Add to Cart
5 สินค้าแนะนำที่ออกแบบเองโดย Mediums

1. ดินสอเบอร์ 0
เรามักคุ้นหูกับดินสอแรเงาที่มีระดับความเข้ม 2B 3B 4B
แต่ Mediums คิดค้นสูตรใหม่ของตัวเองที่มีความเข้มให้เลือกตั้งแต่ 0-10
มีเนื้อนุ่มพิเศษจากชาร์โคลและแกรไฟต์ผสมกัน

2. Gel BallPoint Pen 
ปากกาเจลที่เขียนแล้วน้ำหมึกแห้งเร็วทันใจ ไม่เลอะง่าย
แก้ปัญหาหมึกเลอะที่คนใช้ปากกามักพบเจอ

3. Acrylic Paint 
สีอะคริลิก 12 สี ที่ออกแบบขวดให้มองเห็นสีและยังสวยงามน่าใช้

4. Coloured Pencil
ดินสอสี oil-based ที่เนื้อนุ่ม เม็ดสีแน่นในราคาเข้าถึงได้

5. Art Paper Pad 
กระดาษสำหรับงานศิลปะซึ่งแตกออกเป็นกระดาษหลายประเภทแล้วแต่
การใช้งานของแต่ละคน ทั้งสำหรับวาดรูปและระบายสี แบบม้วน 

Writer

Craft Curator, Chief Dream Weaver, Lifestyle Columnist, Editor-in-Cheese, Design Researcher 'Instagram : @rata.montre'

Photographer

ช่างภาพที่สนุกกับการแต่งตัว อยู่กับเสียงเพลง และหลงรักในความทรงจำ Ig : mocfirst

You Might Also Like