นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

657
February 16, 2024

ทำธุรกิจด้วยรักไม่ใช่รบ ‘LQ (Love Quotient)’ ทักษะรักตัวเองสำหรับผู้ประกอบการ

แม้วันแห่งความรักจะผ่านพ้นไปแล้วแต่เดือนแห่งความรักยังไม่จบลง นอกจากรักคู่รัก รักครอบครัว รักเพื่อน รักคนรอบตัวแล้ว วันนี้เราอยากเตือนให้ทุกคนนึกถึงอีกหนึ่งทักษะที่สำคัญคือการรักตัวเอง (self-love) ซึ่งเป็นทักษะสำคัญมากโดยเฉพาะกับอาชีพที่มีความเครียดสูงอย่างนักธุรกิจ  

‘แนวความคิดว่า ‘Business is a Battle’ อาจไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้ประกอบการเท่าไหร่นัก’

ภาพจำของผู้ประกอบการในทุกวันนี้คือต้องอดทนต่อความกดดันได้สูง ล้มแล้วพร้อมที่จะลุกขึ้นใหม่เสมอ กล้าเผชิญความเสี่ยงและฝ่าสารพัดปัญหาของธุรกิจทั้งความกังวลว่าจะขาดทุนไหม จะมีเงินพอจ่ายพนักงานท่ามกลางวิกฤตหรือไม่ ผลประกอบการจะประสบความสำเร็จหรือเปล่า ยังไม่นับการทำงานหนักที่ทำให้เจ้าของกิจการหลายคนมีไลฟ์สไตล์ทำงานแบบอดหลับอดนอน ไม่ออกกำลังกาย ทานอาหารไม่เป็นเวลา ทำให้การทำธุรกิจมักถูกมองเป็นการต่อสู้เอาตัวรอด (Business is a Battle) ทั้งต่อสู้กับโลกภายนอก คู่แข่ง และก้าวข้ามขีดจำกัดตัวเองเพื่อความอยู่รอด

ตามทฤษฎีทางจิตวิทยาแล้ว เมื่อคนเรารู้สึกเหมือนอยู่ในสนามรบหรือต้องต่อสู้อยู่ตลอดเวลาจะทำให้เข้าโหมดตอบสนองที่เรียกว่า Fight or Flight กล่าวคือ หากรู้สึกว่าเกิดการคุกคาม บางคนก็จะต่อสู้ด้วยความก้าวร้าว หรือบางคนก็จะสู้โดยการหนี หากเทียบกับสนามธุรกิจให้เห็นภาพ เช่น ถ้าเจ้าของกิจการรู้สึกเครียดมากๆ ก็อาจต่อว่าตัวเองเวลาล้มเหลวอย่างรุนแรง หรือบางคนเวลาเจอความเสี่ยงทางธุรกิจก็อาจเข้าโหมดหนี ไม่แก้ปัญหาไปเลยแต่กดดันตัวเองอยู่ลึกๆ กรอบความคิดที่มองธุรกิจเป็นการสู้รบแบบนี้จึงถูกขับเคลื่อนด้วยความกลัวและกดดันดั่งต่อสู้อยู่ในสนามรบตลอดเวลา (fight-based business paradigm) 

‘โอบรับแนวคิดใหม่ที่ขับเคลื่อนธุรกิจด้วยรัก (love-based business paradigm) และไม่ได้มองธุรกิจเป็นสนามรบ’

มีแนวความคิดใหม่ที่ healthy มากขึ้นสำหรับผู้ประกอบการที่รู้สึกว่าเลือดนักสู้ผู้ห้ำหั่นกันไม่ใช่ทางของตัวเอง
นั่นคือการมองว่าเราไม่ได้กำลัง ‘ต่อสู้’ กับคนอื่น แต่กำลังขับเคลื่อนธุรกิจด้วยความรัก เริ่มจากรักตัวเองแล้วแผ่ความรักและการสนับสนุนไปยังพนักงานในองค์กร พันธมิตร คู่ค้า ลูกค้าและอุตสาหกรรมของตัวเอง

แม้แต่ Jack Ma นักธุรกิจชาวจีนชื่อดังยังเคยกล่าวไว้เนิ่นนานแล้วในปี 2015 ว่า “ธุรกิจคือการแข่งขันที่สนุก แต่มันไม่ใช่สนามรบที่คุณจะตายหรือผมชนะ บางทีถึงคุณแพ้แต่ผมก็อาจจะไม่ชนะก็ได้” และวิธีที่จะปฏิบัติตามแนวทางนี้คือการเริ่มจากฝึกรักตัวเอง (self-love) นั่นเอง

ไม่ใช่แค่ EQ (Emotion Quotien) ที่สำคัญ แต่ LQ (Love Quotient) ก็เป็นรากฐานที่ทำให้สุขภาพใจแข็งแรงเช่นกัน’

สำหรับบทบาทที่ต้องสร้างอิมแพ็คและคำนึงถึงผู้อื่นอยู่เสมออย่างเจ้าของกิจการนั้น มีเกร็ดน่ารู้ที่ควรระวังไว้คือในทุกๆ การให้ของคนเราจะไม่สามารถทำได้อย่างยั่งยืน ถ้าไม่คำนึงถึงสุขภาพใจและกายของตัวเองก่อน ความรักที่ดีที่สุดคือรักตัวเองก่อนเสมอโดยมีคำศัพท์ที่เรียกว่า Love Quotient หรือทักษะในการรักและโอบกอดข้อดีข้อเสียของตัวเองซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญในการใจดีต่อคนอื่นต่อไป ยิ่งมีทักษะ LQ สูงเท่าไหร่ ก็จะยิ่งสามารถขยายขอบเขตนิยามการรักตัวเองให้กว้างขึ้นและทำได้หลายรูปแบบมากขึ้นโดยครอบคลุมทั้งการดูแลสุขภาพ ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอซึ่งจะส่งผลให้มีพลังงานเต็มที่ในการฝ่าอุปสรรคต่อไปและยังทำให้ทักษะการจัดการอารมณ์ (EQ) ง่ายขึ้นตามมาอีกด้วย

แล้วเราจะสามารถสร้างเสริมทักษะ LQ ในการรักตัวเองยังไงได้บ้าง ?  

วิธีที่ 1 : คำนึงถึงตัวเองในสมการการตัดสินใจของธุรกิจ

หลายครั้งที่บทบาทผู้ประกอบต้องตัดสินใจภายใต้ความกดดันโดยคำนึงถึงความต้องการของคนอื่นและปัจจัยภายนอก เช่น ลูกค้า พาร์ทเนอร์ สิ่งสำคัญคือย่าลืมนึกถึงตัวเองด้วยในทุกๆ การตัดสินใจ เช่น การตัดสินใจในธุรกิจครั้งนี้จะทำให้เราใช้ชีวิตอย่างมีความสุขไหม สนับสนุนให้เราเติบโตตามคุณค่าของเราไหม การรักตัวเองจะทำให้เราหันกลับมามองคุณค่า พันธกิจ และอิมแพ็คทางสังคมที่เราอยากสร้างแล้วตัดสินใจด้วยความกล้าและความรักมากกว่าความกลัว

วิธีที่ 2 : ยอมรับจุดอ่อนด้วยการมี self-talk หรือบทสนทนาที่ดีกับตัวเอง

เมื่อรู้สึกท่วมท้นไปด้วยอารมณ์ลบทั้ง เศร้า ผิดหวัง กลัว โกรธ การมีบทสนทนาที่ดีกับตัวเองด้วยคำพูดง่ายๆ อย่างเรารู้สึกยังไงบ้างในวันนี้ รู้จักขอโทษและให้อภัยตัวเองที่ทำผิดพลาดจะทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีกับตัวเอง วิธีนี้ยังทำให้เราได้กลับมาคุยกับตัวตนในวัยเด็กที่มีบาดแผลอยู่ในตัว (inner child) และยอมรับจุดอ่อนตัวเองได้เก่งขึ้น ยิ่งมี LQ สูงเท่าไหร่ มุมมองที่มีต่อจุดอ่อนของตัวเองก็จะยิ่งแข็งแรงขึ้น จากที่เคยมองว่าจุดอ่อนคือความอ่อนแอก็จะสามารถพลิกมุมมองมาหาข้อดีในจุดอ่อนและพร้อมแชร์สิ่งนั้นให้เกิดความเชื่อมโยงที่ดีและได้รับการสนับสนุนจากคนรอบข้างในทีมมากขึ้นได้ 

วิธีที่ 3 : สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มีทักษะ LQ

เมื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับตัวเองได้แล้วก็จะทำให้ความสัมพันธ์กับผู้อื่นดีตามไปด้วย มีคำกล่าวว่าผู้นำที่มีทักษะ LQ หรือรักตัวเองได้ดีจะยิ่งสามารถ ‘Lead with Love’ หรือสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่พนักงานรักตัวเองและแฮปปี้ได้ตามไปด้วยในระยะยาว จะเห็นตัวอย่างได้จาก CEO ที่นำกิจกรรมใส่ใจดูแลตัวเองในชีวิตประจำวันมาสอดแทรกเป็นกิจกรรมขององค์กรด้วย เช่น Marc Benioff CEO ของ Salesforce ที่นั่งสมาธิเป็นประจำได้สร้างโซนและกิจกรรมฝึกฝนสมาธิให้องค์กรของเขาด้วย

เรื่องที่มักเข้าใจผิดกันคือ self-love หรือการรักตัวเองเท่ากับการเห็นแก่ตัวหรือตัดสินใจตามใจตัวเองโดยไม่คำนึงถึงคนอื่น หรือบางคนก็มองว่าการใช้ไม้อ่อนอย่างการรักตัวเองอาจทำให้ไม่สามารถขับเคลื่อนธุรกิจให้มีกำไรหรือบริหารองค์กรได้อย่างเด็ดขาดเท่าการมองธุรกิจเป็นสนามรบ ความจริงแล้วผู้ประกอบการสามารถรักตัวเองโดยยังคงความเด็ดขาด แน่วแน่ และมุ่งมั่นในการทำธุรกิจได้ แนวคิดการรักตัวเองจะทำให้อยากมอบสิ่งดีๆ ให้คนอื่นมากขึ้นซึ่งเป็นหัวใจในการทำธุรกิจที่จะสามารถสร้างกำไรได้อย่างยั่งยืนก็ต่อเมื่อเมื่อคำนึงถึงผู้อื่นได้อย่างแท้จริงนั่นเอง 

อ้างอิง

Illustrator

บรรณาธิการศิลปกรรม Email: y.pongtorn@gmail.com

You Might Also Like