นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

สรุปวิกฤตเศรษฐกิจลาวตอนนี้ ที่ทำให้คนลาวต้องต่อคิวรอเติมน้ำมันเป็นชั่วโมง

ภาพของชาวลาวที่ไปรอต่อคิวเพื่อเติมน้ำมันกันเป็นชั่วโมงจนหางแถวยาวออกมานอกปั๊ม เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สะท้อนถึงวิกฤตเศรษฐกิจที่ลาวกำลังเผชิญอยู่ในตอนนี้

สาเหตุของปรากฏการณ์ดังกล่าวที่ชาวลาวต่อคิวกันยาวเหยียดจนล้นปั๊มน้ำมันเป็นเพราะปกติแล้วในแต่ละเดือนประเทศลาวมีความต้องการใช้น้ำมันประมาณ 120 ล้านลิตร แต่สถานการณ์ปัจจุบันกลับสามารถนำเข้าน้ำมันได้เพียง 20 ล้านลิตรเท่านั้น เมื่อดีมานด์มีมากกว่าซัพพลายถึง 100 ล้านลิตร ชาวเมืองจึงแห่กันออกไปต่อคิวล้นปั๊มอย่างที่เราเห็นกันในภาพข่าว

และไม่ใช่เพียงแค่น้ำมัน แต่ลาวยังเจอกับปัญหาสินค้าขาดตลาดอีกหลายชนิดมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เครื่องดื่ม ปศุสัตว์ หรือชิ้นส่วนรถยนต์ เป็นต้น

คำถามสำคัญคือ แล้วลาวเดินทางมาถึงจุดวิกฤตนี้ได้ยังไง

บทวิเคราะห์จากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ Economic Intelligence Center ธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ EIC ตอบคำถามเหล่านี้เอาไว้ได้อย่างน่าสนใจ โดย EIC บอกว่าวิกฤตในครั้งนี้มีต้นตอมาจากทั้งปัญหาเศรษฐกิจในระดับโลก และปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจที่ไม่แข็งแรงภายในประเทศลาวเอง

เริ่มที่สาเหตุจากปัญหาเศรษฐกิจระดับโลกว่าส่งผลกระทบต่อวิกฤตเศรษฐกิจลาวยังไงบ้าง เรื่องแรกคือสงครามรัสเซีย-ยูเครน เนื่องจากรัสเซียเป็นผู้ส่งออกน้ำมันใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก ส่วนลาวเองก็เป็นประเทศที่นำเข้าน้ำมัน 100% เมื่อเกิดสงครามลาวจึงได้รับผลกระทบอย่างเลี่ยงไม่ได้ ส่วนเรื่องที่สองก็คือการที่เงินเฟ้อทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นจึงทำให้ Fed หรือธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าสุดในรอบ 20 ปี และนั่นก็ทำให้เงินกีบของลาวอ่อนค่าลงไปอีก เมื่อเงินกีบอ่อนค่าก็ยิ่งจะทำให้ความเสี่ยงในการชำระหนี้ต่างประเทศมีมากขึ้นตามไปด้วย โดยจากวันที่ 1 กันยายน 2021 จนมาถึงวันที่ 8 สิงหาคม 2022 เงินกีบนั้นอ่อนค่าลงถึง 44% เมื่อเทียบกับเงินบาท

ส่วนสาเหตุที่มาจากโครงสร้างเศรษฐกิจของลาวเอง ก็คือลาวมีระดับหนี้สาธารณะที่สูงขึ้นเรื่อยๆ โดยในปี 2020 หนี้สาธารณะของลาวเป็นหนี้ต่างประเทศมากถึง 93.2% ซึ่งมีจีนเป็นเจ้าหนี้หลัก

อ่านถึงตรงนี้หลายคนอาจสงสัยว่าลาวกู้หนี้จากต่างประเทศมาทำอะไร คำตอบก็คือเอามาทำโครงการที่เรียกว่า ‘Battery Of Southeast Asia’ ที่ลาวตั้งใจอยากจะเป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

และกับอีกโครงการที่ต้องใช้เม็ดเงินมหาศาลในการสร้างมันขึ้นมาคือ ‘land-linked country’ หรือการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ในเซาท์อีสต์เอเชีย ซึ่งการจะเป็นศูนย์กลางอย่างที่วาดฝันเอาไว้ได้จำเป็นจะต้องลงทุนทำโครงสร้างพื้นฐานมากมายไม่ว่าจะเป็นเขื่อนและโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ (ปี 2018 เกิดเหตุการณ์เขื่อนแตก ทำให้ต้องหยุดสร้างเขื่อนชั่วคราว) รวมถึงระบบส่งไฟฟ้า และทางรถไฟความเร็วสูงจีน-ลาว โดย AidData ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยด้านเงินทุนเพื่อการพัฒนาบอกว่า รถไฟความเร็วสูงจีน-ลาวทำให้ลาวมีภาระหนี้สาธารณะมากถึง 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากปัจจัยที่เล่ามานี้ทำให้สองบริษัท credit rating หรือบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่าง Moody’s จัดให้ลาวเป็นประเทศที่อยู่ในระดับ Caa3 ส่วนอีกบริษัทคือ Fitch Ratings จัดให้ลาวอยู่ในระดับ CCC ซึ่งอันดับทั้งสองมีความหมายว่าลาวมีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ที่สูง

เมื่อมีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ที่สูง ก็ทำให้ความสนใจในการเข้ามาลงทุนในลาวของนักลงทุนต่างชาติลดลงไปด้วย และก็ส่งผลกระทบแบบโดมิโน่ทำให้ช่องทางในการระดมทุนเพื่อเอามาชำระหนี้เก่าของลาวมีจำกัดลงและมีต้นทุนที่สูงมาก

สถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในลาวตอนนี้ ทำให้หลายคนเกิดคำถามขึ้นมาในใจว่าแล้วลาวจะเป็นเหมือนกับศรีลังกาหรือไม่ ซึ่งในประเด็นนี้ EIC มองว่าวิกฤตในลาวนั้นยังไม่รุนแรงเท่ากับศรีลังกา เนื่องจากเจ้าหนี้ส่วนใหญ่ของลาวนั้นคือจีน จึงมีโอกาสในการพูดคุยเจรจาเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ได้มากกว่าศรีลังกาซึ่งมีเจ้าหนี้หลากหลาย และหากจีนไม่ยื่นมือเข้ามาช่วยลาวในครั้งนี้ก็จะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของจีนต่อประเทศอื่นในอาเซียนที่ต้องการกู้ยืมจากจีนเพื่อเอาเงินมาพัฒนาประเทศของตัวเอง และจีนเองก็มีโครงการรถไฟความเร็วสูงที่กำลังทำกับลาวอยู่ด้วย

ส่วนทางออกของวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นกับลาวในครั้งนี้ อย่างแรกคือการปรับโครงสร้างหนี้โดยเฉพาะกับจีนที่เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ด้วยวิธีการผ่อนผันและขยายเวลาในการชำระหนี้ อย่างที่สองการระดมทุนจากต่างชาติซึ่งไทยยังเป็นอีกช่องทางที่ลาวสามารถเข้ามาระดมทุนได้อยู่เนื่องจากมีต้นทุนทางการเงินที่ไม่สูงมากเมื่อเทียบกับตลาดการเงินโลก อย่างที่สามคือการแปรรูปบริษัทรัฐวิสาหกิจให้กลายเป็นบริษัทเอกชน โดยลาวมีรัฐวิสาหกิจทั้งหมด 178 องค์กร และเกือบทั้งหมดของ 178 องค์กรนั้นขาดทุนเนื่องจากการบริหารงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นการแปรรูปรัฐวิสาหกิจจึงเป็นอีกหนึ่งทางออกที่นอกจะสร้างรายได้จากการขายสินทรัพย์แล้ว สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือการเอาคนที่มีความรู้ความเข้าใจในธุรกิจจริงๆ เข้ามาบริหาร เมื่อเป็นแบบนี้ก็มีโอกาสที่รัฐวิสาหกิจที่เคยขาดทุนนั้นจะกลับมามีกำไรได้ นำมาสู่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการจ้างงานจนทำให้ชาวลาวไม่ต้องออกมาแสดงความคิดเห็นด้วยอารมณ์โกรธเคืองกับสิ่งที่เป็นอยู่ อย่างที่เป็นอยู่ในตอนนี้

อ้างอิง

– ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ Economic Intelligence Center ธนาคารไทยพาณิชย์

– asia.nikkei.com/…/Laos-faces-public-backlash-as…

Writer

บรรณาธิการธุรกิจ มีความสนใจเรื่องกลยุทธ์ธุรกิจ-การตลาด และชื่นชอบการเข้าโรงงานเพื่อดูเบื้องหลังการผลิตเป็นอย่างยิ่ง

You Might Also Like