นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

448
May 10, 2023

KKP Research ชวนคนไทยตั้งคำถามก่อนเลือกตั้ง ‘นโยบายแจกเงิน’ เป็นคำตอบที่ใช่หรือไม่ มีอะไรที่รัฐบาลในอนาคตต้องระวัง

เข้าสู่การเลือกตั้งใหญ่ที่ 4 ปีจะมีเพียง 1 ครั้ง เราจึงได้เห็นบรรดาพรรคการเมืองต่างสาดนโยบายที่มองว่าจะถูกใจประชาชนคนไทยจนเป็น 1 เสียงที่เข้ามาสนับสนุนพรรคของตัวเอง

หลายๆ นโยบายที่ออกมาล้วนต้องคิด วิเคราะห์ แยกแยะ เพื่อมองหาสิ่งที่ดีที่สุดให้กับประเทศไทย

แต่มีปรากฏการณ์หนึ่งในการเลือกตั้งที่กำลังใกล้เข้ามานี้ที่เห็นได้อย่างชัดเจนและได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง คือนโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองที่หนักไปทางการแข่งขันกันด้วยตัวเลขการให้เงินสนับสนุนในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเงินสวัสดิการ เงินอุดหนุน การแจกเงิน หรือการพักหนี้ 

ในขณะที่นโยบายประเภทที่จะแก้ปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจและยกระดับรายได้ของประเทศและประชาชนได้จริงในระยะยาว กลับไม่ได้ถูกหยิบยกมาอภิปรายกันมากเท่าที่ควร

นี่เองทำให้นักวิชาการหลายภาคส่วนล้วนออกมาวิพากษ์วิจารณ์นโยบายนี้ ที่ดูจะตามมาด้วยต้นทุนมหาศาลทั้งทางตรงและทางอ้อมที่คนไทยต้องร่วมกันแบกรับ ซึ่ง KKP Research ได้สรุปออกมาเป็น 3 เรื่องได้แก่

  1. ภาระทางการเงินการคลังที่จะสูงขึ้นจนเป็นตัวฉุดรั้งเศรษฐกิจ และเป็นต้นทุนและข้อจำกัดต่อสวัสดิการของประชาชนในวันข้างหน้า เพราะทุกวันนี้รายจ่ายประจำและรายจ่ายชำระคืนเงินกู้ก็รวมกันเกือบ 80% ของงบประมาณรวมไปแล้ว
  2. การสูญเสียโอกาสที่จะลงทุนพัฒนาให้เศรษฐกิจไทยมีศักยภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้คนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่และมีโอกาสที่ดีขึ้น 
  3. แรงจูงใจที่ถูกบิดเบือน ประชาชนหวังพึ่งพิงเงินอุดหนุนจากภาครัฐและการแทรกแซงกลไกตลาด ลูกหนี้ขาดวินัยทางการเงิน ขาดแรงจูงใจที่จะปรับตัว

ไม่แปลกที่หลายคนจะวิพากษ์วิจารณ์นโยบายเงินให้เปล่า เพราะแม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2566 จะทยอยฟื้นตัวขึ้นหลังสถานการณ์โควิดคลี่คลาย แต่สถานการณ์เงินเฟ้อที่สูงขึ้นกว่าปกติ ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มต่อเนื่อง ในขณะที่รายได้ของคนในประเทศเติบโตได้ช้า กลายมาเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กลุ่มคนรายได้น้อยยังคงประสบกับปัญหาทางเศรษฐกิจและการเงิน หรือมีรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย  

KKP Research ประเมินว่าปัญหารายได้เติบโตช้ากว่าค่าใช้จ่าย ไม่ใช่ปัญหาแค่ในระยะสั้น แต่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมานับ 10 ปี สะท้อนจากตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยที่โตช้าลงมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งเทียบกับตัวเราเองในอดีต และเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค (แม้กระทั่งประเทศที่รวยกว่าเรา) นอกจากนี้ มาตรฐานความเป็นอยู่ของคนส่วนใหญ่ในประเทศที่ชี้วัดโดยระดับรายได้ต่อหัว ก็โตช้ากว่าหลายประเทศในภูมิภาคเดียวกัน

เหล่านี้มาจากปัญหาของเครื่องยนต์ที่เคยขับเคลื่อนประเทศไทยอย่างแข็งเกร่ง ไม่ว่าจะเป็น

  • การส่งออก ที่เริ่มอ่อนแรงลงอย่างเห็นได้ชัด
  • การท่องเที่ยว ที่ในอนาคตอาจเติบโตได้ช้าลงและอาจไม่สามารถเป็นกำลังขับเคลื่อนหลักได้ดีเท่าในช่วงที่ผ่านมา 
  • ภาคเกษตร ที่ประสบกับปัญหาผลิตภาพที่อยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง และยังไม่มีการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างอย่างเหมาะสม

KKP Research ยังได้ประเมินว่า ความท้าทาย 8 ด้านหลักที่จะกระทบต่อความสามารถในการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยเชิงโครงสร้างที่ไทยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และจะส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อเศรษฐกิจไทย ดังต่อไปนี้

  • การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรจะทำให้ปัญหาขาดแคลนแรงงานรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ
  • โลกที่กำลังเผชิญกับการทวนกลับของโลกาภิวัตน์ และการดึงกลับของฐานการผลิต จะทำให้ภาคการส่งออกไทยไม่ได้รับอานิสงส์เหมือนเดิม
  • การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี กลายเป็นความเสี่ยงต่ออุตสาหกรรมเก่าของไทย และทำให้เกิดความยากในการดึงดูดเงินลงทุนใหม่จากต่างชาติ
  • การแข่งขันในตลาดที่อยู่ในระดับต่ำทำให้ธุรกิจไทยขาดแรงจูงใจในการพัฒนานวัตกรรม เกิดการกระจุกตัวของรายได้และกำไรของบริษัท
  • คุณภาพการศึกษาไทยที่ด้อยลง ความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาที่สูงขึ้น กับโอกาสที่สูญเสียไปในการยกระดับคุณภาพบุคลากร
  • ไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุเต็มขั้น ซึ่งจะตามมาด้วยปัญหาระบบสาธารณสุขและภาระสวัสดิการของภาครัฐ
  • ความมั่นคงทางพลังงานและการขาดดุลด้านพลังงานกำลังรุนแรงขึ้น
  • ปัญหาสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการขาดมาตรการรับมือที่เหมาะสมของไทย

หากเปรียบเทียบประเทศไทยในวันนี้เป็นมนุษย์สักคน ก็อาจจะเป็น ‘คนป่วยเรื้อรัง’ ที่ยังไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ซึ่งหากยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงอาการที่เป็นอยู่ก็อาจจะทรุดหนักลงไปอีก

และด้วยสถานการณ์ที่มีความท้าทายสูงที่ไทยกำลังเผชิญอยู่นี้ KKP Research วิเคราะห์ว่า ‘ถ้านโยบายยังไม่เปลี่ยน คนไทยกำลังจะเจอกับอะไร’ โดยผลลัพธ์อย่างน้อยใน 4 ด้านที่ตามมานี้

คนไทยขาดความมั่นคงในรายได้ รายรับโตไม่ทันกับรายจ่าย เป็นหนี้เรื้อรัง : ความสามารถในการแข่งขันของไทยที่ลดลงทั้งในภาคการผลิต การส่งออก การท่องเที่ยว และภาคการเกษตร จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้รายได้เฉลี่ยต่อหัวของไทยโตช้าลงเรื่อยๆ และมีความผันผวนสูงต่อปัจจัยภายนอก ในขณะที่ในด้านรายจ่ายมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเร็ว จากทั้งเงินเฟ้อและค่าใช้จ่ายราคา จะเข้ามาพอกพูนจนเป็นกับดักหนี้ที่คนไทยหลุดพ้นได้ยาก

โอกาสที่คนที่เกิดมาจนจะถีบตัวเองขึ้นมาเป็นชนชั้นกลางหรือคนรวย (economic mobility) จะเป็นไปได้ยากขึ้นมาก : ประเทศไทยมีปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านรายได้และสินทรัพย์รุนแรงเป็นลำดับต้นๆ ของโลกอยู่แล้ว เศรษฐกิจไทยที่เติบโตช้าลงกำลังซ้ำเติมให้ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนยิ่งถ่างออกจากกันมากขึ้นไปอีก ในอดีตคนรวยสุด 20% แรกของประเทศมีการเติบโตของรายได้สูงกว่า GDP 1.4 เท่า หรือมากกว่านั้น ในขณะที่คนจนสุด 20% มีการเติบโตของรายได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศที่ 0.8 เท่าของ GDP หรือต่ำกว่า หากเศรษฐกิจไทยเติบโตช้าลงจะยิ่งทำให้โอกาสในการเลื่อนชนชั้นทางเศรษฐกิจและสังคมลดลงตามไปด้วย

คนไทยต้องแบกรับภาระภาษีมากขึ้น สวัสดิการจากภาครัฐอาจต้องลดลง : ด้วยสถานะของการคลังไทยในปัจจุบันและระดับหนี้สาธารณะที่อาจแตะขอบบนของเพดานได้หากเศรษฐกิจโตได้ช้าลง หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย ภาครัฐอาจจำเป็นต้องลดสวัสดิการของประชาชนลงเพื่อลดค่าใช้จ่าย หรือเก็บภาษีเพิ่มขึ้นกับผู้จ่ายภาษีในระบบเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มรายได้ของภาครัฐให้ทันกับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น

ชีวิตเปื้อนฝุ่น ปัญหาสุขภาพ และข้อจำกัดในการใช้ชีวิต : ปัญหามลพิษของไทยกำลังรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะจากฝุ่น PM2.5 ที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นอกจากจะสร้างข้อจำกัดในการใช้ชีวิตของผู้คนแล้ว ยังเป็นสาเหตุให้คนไทยเสี่ยงเสียชีวิตก่อนวัยอันควรถึง 14% ผลกระทบต่อเด็กเล็กจะรุนแรงและอาจเป็นปัญหาในระยะยาวยิ่งกว่า ที่สำคัญยังเข้ามาเป็นหนึ่งในปัจจัยซ้ำเติมความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย

เพื่อไม่ให้ผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน บทบาทของนโยบายจึงจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่จะต้องเปลี่ยนไป เพื่อให้สามารถพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยให้กลับมาแข็งแกร่ง

ทั้งนี้ต้องบอกว่านโยบายการแจกเงินให้กับประชาชนไม่ได้มีเพียงแต่ด้านลบ เพราะอีกมุมหนึ่งนี่เป็นสวัสดิการที่ประชาชนหลายกลุ่มพึงได้รับจากภาครัฐและเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น

ส่วนในเชิงของเศรษฐกิจในระยะสั้นโยบายเหล่านี้เข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังฝืดเคืองให้มีความคล่องตัวได้มากขึ้น ทั้งยังช่วยประคองคนที่กำลังล้มให้เริ่มกลับมาลุกขึ้นยืนด้วยตัวเองได้ หรือยังสามารถดึงธุรกิจที่อยู่นอกระบบ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการรายย่อย พ่อค้าแม่ขายหน้าปากซอยให้เข้ามาอยู่ในระบบได้มากกว่าเดิมด้วยเช่นกัน

ท้ายที่สุดแล้วนโยบายแจกเงินเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ทำแล้ว ‘ได้คุ้มเสีย’ หรือไม่ จะเป็นการผลักดันให้เศรษฐกิจไทยเดินหน้าได้อีกครั้งหรือผลักลงไปในหุบเหวที่ลึกยิ่งกว่าเดิม ก็คงต้องไปดูแผนพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละพรรคกันต่อด้วยว่า นอกจากนโยบายใช้เงินแล้ว จะมีนโยบายหาเงินแบบไหน เพื่อมาทดแทนให้บัญชีของประเทศไทยไม่ได้มีเพียงแค่รายจ่ายเท่านั้น 

เพราะหากไม่มีวิธีการหารายได้ที่สมเหตุสมผลมากพอแล้วนั้น นโยบายแจกเงินก็คงจะเป็นเพียงแค่เครื่องมือในการหาเสียงที่ทำมาเพื่อเรียกคะแนนความนิยมให้กับพรรคตัวเอง มากกว่าผลประโยชน์ที่แท้จริงของประชาชนในระยะยาว

อ้างอิง:

– KKP Research : นโยบายที่หายไป ในวันที่เศรษฐกิจไทยไม่แกร่งเหมือนเดิม

Illustrator

บรรณาธิการศิลปกรรม Email: y.pongtorn@gmail.com

You Might Also Like