นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

Content Creator

อยากเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่แบรนดิ้งชัดต้องทำยังไง จาก iCreator Camp 2024

‘คอนเทนต์ครีเอเตอร์’ ขึ้นแท่นเป็นอาชีพในฝันของเด็กรุ่นใหม่โดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงโควิด-19 หลายคนผันตัวจากผู้เสพคอนเทนต์ ไปเป็นนักสร้างสรรค์ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาจึงมีครีเอเตอร์หน้าใหม่เกิดขึ้นทั่วโลกกว่า 165 ล้านคน และถือเป็น ‘ยุคทอง’ ที่บางคนแจ้งเกิดจนมีชื่อเสียง และสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ

คำถามสำคัญคือเหล่าครีเอเตอร์ต้องทำยังไงถึงจะไปอยู่ในใจของผู้ติดตาม และสร้างรายได้อย่างยั่งยืนท่ามกลางสนามการแข่งขันที่ดุเดือดได้

คอลัมน์ Keynote ครั้งนี้พาไปหาคำตอบจากหัวข้อคอนเทนต์มาร์เก็ตติ้ง ในงาน iCreator Camp 2024 Presented by SONY โดย RAiNMaker แคมป์ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เข้าเรียนกับครีเอเตอร์จากหลากหลายวงการอย่างใกล้ชิด 

‘ทำไมต้องสร้าง personal branding อย่างยั่งยืน’

อาจารย์ผึ้ง–ผศ. ดร.ปภัสสรา ชัยวงศ์ หัวหน้าภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เล่าว่าการที่คอนเทนต์ครีเอเตอร์สักคน จะมีตัวตนท่ามกลางการแข่งขันที่สูงได้นั้น จะต้องเริ่มจากการ ‘สร้าง personal branding อย่างยั่งยืน’ คือต้องมีลักษณะประจำตัวเป็นเอกลักษณ์จนคนยอมรับในวงกว้างอย่างยาวนาน

ส่วนเส้นทางที่ทำให้คนเปิดใจจนโดนตกในที่สุด ได้แก่

  • ทำให้คนสนใจ ผ่านคอนเทนต์ที่แปลกใหม่ไม่ซ้ำใคร 
  • ทำให้คนจดจำ ด้วยการลงคอนเทนต์สม่ำเสมอ ในทุกแพลตฟอร์มต้องมีคาแร็กเตอร์เหมือนกันเพื่อสร้างตัวตนที่แข็งแรง
  • ทำให้คนติดตามต่อไปเรื่อยๆ ด้วยการหาคำตอบในสมการนี้ให้เจอว่า เรามีอะไรที่อยากนำเสนอ + ผู้ติดตามอยากได้อะไร + สังคมเรียกร้องเรื่องอะไร 

‘วางแบรนดิ้งให้ชัด จนคนรักและภักดีด้วย personal branding canvas’

ประเด็นแรกที่เราหยิบมาพูดถึงคือ การหาตัวตนของตัวเองให้เจอ โดย ผศ. ดร.ปภัสสราแนะนำให้ทุกคน ‘เป็นตัวเองในเวอร์ชั่นที่ดีที่สุด’ ซึ่งสามารถค้นหาได้จาก personal branding canvas และคำถามเหล่านี้

1. คำถามส่วน personal คือ สิ่งที่เป็น + สิ่งที่อยากเป็น แบ่งออกเป็น

  • สถานะ เช่น พนักงานประจำ ทำธุรกิจส่วนตัว
  • สิ่งที่สนใจ เช่น เสื้อผ้า คาเฟ่ การออกกำลังกาย อุปกรณ์ไอที
  • คาแร็กเตอร์ เช่น พูดเก่ง หัวเราะง่าย สดใส เรียบร้อย
  • สิ่งที่ถนัด เช่น ชอบแต่งตัว ชอบกิน ชอบวางแผนเที่ยว

2. คำถามส่วน branding คือ สิ่งที่อยากให้คนอื่นมองเห็นว่าเราเป็นแบบไหน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตัวตนหรือทักษะ เพื่อให้แบรนดิ้งชัดขึ้น สุดท้ายพอนำทุกคำตอบมาเรียงกัน ก็จะจับจุดได้ว่าตัวตนที่ใช่และอยากให้คนชอบเป็นยังไง

‘สื่อสารกับผู้ติดตามให้ตรงจุด ตรงใจ ด้วยเทคนิคแบบ 3U 3V’

เมื่อตัวตนเริ่มชัดและรู้แล้วว่าจะวางแบรนดิ้งยังไง ต่อไปคือการสื่อสารให้ผู้ติดตามได้รับรู้และหลงรัก โดยเก่ง–สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Creative Talk ได้แชร์เทคนิคการสื่อสารที่เรียกว่า 3U 3V ดังนี้

1. 3U แบ่งออกเป็น

  • Understand เนื้อเรื่องเข้าใจง่าย ต้องอาศัยทั้งเรื่องเล่าที่น่าสนใจ และเล่าให้น่าติดตาม พร้อมเชื่อมโยงเข้ากับไลฟ์สไตล์หรือความสนใจของผู้คน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม
  • Unknown คิดว่าผู้ติดตามเคยรู้เรื่องนี้แล้วหรือยัง หรือเรื่องอะไรที่คนไม่ค่อยรู้
  • Useful เรื่องนี้รู้แล้วผู้ติดตามเอาไปทำอะไรต่อได้ เช่น แชร์เทคนิคที่คนเอาไปใช้ต่อได้เลย ป้ายยาให้ซื้อสินค้าจากรีวิว

2. 3V แบ่งออกเป็น

  • Verbal เนื้อหาที่เล่าดึงดูดใจผู้ฟังหรือผู้อ่านได้ 7% เพราะตอนนี้ทุกอย่างมาไวไปไว ก่อนที่คนจะเลือกเสพเนื้อหาจริงๆ คนโฟกัสที่ปัจจัยอื่นก่อน
  • Vocal วิธีการพูดและน้ำเสียงหยุดให้คนฟังได้มากถึง 38% หลังจากนั้นเนื้อหาจะเป็นตัวตัดสินว่าเขาจะดูจนจบหรือไม่
  • Visual หรือสิ่งที่เห็น เป็นปัจจัยที่ทำให้คนสนใจมากที่สุดถึง 55%

‘เมื่อครีเอเตอร์มีพลังในการขับเคลื่อนสังคม’

อาจารย์ไอซ์–ผศ. ดร.สกุลศรี ศรีสารคาม อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เน้นย้ำว่า ครีเอเตอร์มีพลังที่สามารถเชื่อมต่อกับผู้คนและสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อสังคมได้ รวมถึงเป็นการดึงดูดแบรนด์ต่างๆ ให้อยากร่วมงานด้วย ซึ่งสามารถหาประเด็นที่น่าขับเคลื่อนและน่าสนใจเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงและสร้างความน่าดึงดูดต่อแฟนๆ ได้จากคำถามเหล่านี้

  • Influences on Fans คุณมีอิทธิพลอะไรต่อความคิดและการกระทำของแฟนๆ
  • Pain ปัญหาหรือจุดเจ็บปวดต่อสังคมที่ผู้ติดตามประสบพบเจอ
  • Gain คุณค่าใหม่ที่คุณให้กับผู้ติดตามในประเด็นทางสังคม
  • Call to Action การมีส่วนร่วมของผู้ติดตามกับจุดยืนทางสังคมของครีเอเตอร์

‘ครีเอเตอร์สร้างรายได้จากการเป็นตัวของตัวเองได้ยังไง’

อุ้ย–พันธ์ศักดิ์ ลิ้มวัฒนายิ่งยง จาก AnyMind เปิดเผยแหล่งขุมทรัพย์ช่องทางการสร้างรายได้ให้กับเหล่าครีเอเตอร์ ดังนี้

1. platform monetization หรือการสร้างรายได้จากแพลตฟอร์ม เช่น ยูทูบ (ads), เฟซบุ๊ก (ads)

2. branded content เป็นรายได้จากแบรนด์ที่เข้ามาสปอนเซอร์ครีเอเตอร์ให้ทำคอนเทนต์เกี่ยวกับสินค้าหรือแบรนด์นั้นๆ ผ่านเอเจนซีหรือแพลตฟอร์มที่หาครีเอเตอร์โดยเฉพาะ ซึ่งเทคนิคการทำงานร่วมกันระหว่างครีเอเตอร์กับแบรนด์ คือ

  • ดูจุดประสงค์ว่าแบรนด์ต้องการอะไร เช่น awareness หรือ engagenent 
  • ทำความเข้าใจรายละเอียดของงาน เช่น ข้อความหลักที่ต้องการจะสื่อสารกับผู้ติดตามคืออะไร 
  • คุยสโคปงานให้ละเอียดและชัดเจน

3. fan funding หรือการสนับสนุนจากแฟนคลับ เช่น ส่งของขวัญใน TikTok Gifts หรือส่งดาวในเฟซบุ๊ก

4. merchandising เหมาะสำหรับครีเอเตอร์ที่แฟนๆ มีความเป็น loyalty มาก โดยจะเป็นการผลิตสินค้าและจำหน่ายด้วยตัวเองหรือไปคอลแล็บกับแบรนด์อื่นๆ

5. affiliate & live commerce หรือที่ทุกวันนี้คนชอบเรียกกันว่าเป็น ‘นายหน้า’ คือการทำคอนเทนต์หรือไลฟ์สดแนะนำสินค้าต่างๆ ถ้ามีคนซื้อสินค้าก็จะได้ค่าคอมมิชชั่น

นอกจากนั้น ยังเน้นย้ำว่า ‘ถ้าคาแร็กเตอร์ชัด = โอกาสที่คนจะรักและภักดี = โอกาสในการสร้างรายได้อย่างยั่งยืน’

Writer

นักเขียนที่อยากเปลี่ยนเรื่องธุรกิจให้เป็นเรื่องสนุก และมีแมวกับกาแฟช่วยฮีลใจในทุกวัน

You Might Also Like