นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

968
April 2, 2024

ถอดบทเรียนการรวมพลังแก้ปัญหาสังคมของภาคธุรกิจจากงาน Good Society Thailand 2024 

คุณเคยตั้งคำถามหรือไม่ว่าเราตัวคนเดียวหรือองค์กรแห่งเดียวจะสามารถแก้ปัญหาสังคมและเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ได้มากน้อยแค่ไหน งาน Good Society Day ในปีนี้ได้ชวนหลายภาคส่วนในสังคมมาแชร์ประสบการณ์ร่วมกันว่าการมีพาร์ทเนอร์จากคนละวงการ คนละบทบาทมาทำงานร่วมกันจะช่วยต่อจุดและต่อยอดการผลักดันในสังคมให้สำเร็จได้อย่างไรบ้าง  

จากเซสชั่น ‘จุดร้อยพลัง Collaboration for Good Society’ เมื่อวันที่ 22 มีนาคมที่ผ่านมา หลายองค์กรเพื่อสังคมจากหลากวงการได้แชร์อินไซต์ว่าปัญหาสังคมมักมีสเกลใหญ่ที่แก้คนเดียวไม่ได้แต่จะทำงานง่ายขึ้นเมื่อรวมพลังกัน 

คุณเปิ้ล-จริญญา แจ่มแจ้ง จาก Learn Education กิจการเพื่อสังคมด้านการศึกษามองว่าปัญหาการศึกษาต้องแก้ไปถึงระดับนโยบายซึ่งจะทำได้ดีกว่าเมื่อร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ส่วนคุณบิ๊ก-สุภอรรถ โบสุวรรณ จาก HAND SE วิสาหกิจที่ทำระบบธรรมาภิบาลและต่อต้านคอร์รัปชันก็ได้พยายามร้อยเรียงกลุ่มภาคีและสร้างระบบที่เปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสเพื่อให้การตื่นตัวเรื่องคอร์รัปชันเป็นเรื่องของทุกคน ในขณะที่คุณสุนิตย์ เชรษฐา จาก Change Fusion ที่รณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมก็มองว่าหากผู้ที่เป็นทั้งกองหนุน กองหน้าในการรณรงค์รวมถึงประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาก็จะทำให้การแก้เรื่องสิ่งแวดล้อมราบรื่นยิ่งขึ้น 

แต่ไม่ใช่แค่ภาคสังคมเท่านั้นที่สามารถผลักดันประเด็นต่างๆ เหล่านี้ให้เกิดขึ้นได้ หากคุณเป็นผู้ประกอบการหรือคนทั่วไปที่อยากผลักดันอะไรบางอย่างจากภายในองค์กรของตัวเอง ตลอดทั้งงานจาก Good Society Day ได้แสดงให้เห็นเรื่องราวน่าประทับใจว่าคนตัวเล็กๆ ก็สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้และจะมีพลังยิ่งขึ้นเมื่อแต่ละคนใช้ความเชี่ยวชาญและต้นทุนของตัวเองมาสนับสนุนกันและกัน 

นอกจากเซสชั่นข้างต้นแล้ว เราขอชวนทุกคนอ่านสรุปจากสองเสวนาของภาคธุรกิจที่สรุปเคล็ดลับการผลักดันการแก้ปัญหาสังคมให้สำเร็จ ทั้งเรื่องราวการร่วมมือของภาคธุรกิจกับภาคสังคมจากสามเคสของธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และผู้ผลิตแบรนด์ถุงขยะแชมเปี้ยนในเซสชั่น ‘จุดต่อยอด : Social x Businesses: Collaborative Sustainability’ และการทำแคมเปญเพื่อสังคมที่สร้างอิมแพ็กของ LINE MAN Wongnai และ SATI app ผู้ให้คำปรึกษาทางจิตวิทยาจากเซสชั่น ‘จุดก้าวกระโดด : Decoding Successful Social Campaigns’

แม้จะไม่ใช่เรื่องง่ายที่องค์กรต่างรูปแบบจะทำงานร่วมกัน แต่เรื่องราวของธุรกิจเหล่านี้น่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้ใครหลายคนเชื่อและมีความหวังได้มากขึ้นว่าเมื่อ Good Dots มาอยู่ร่วมกันจะสามารถรวมพลังเพื่อสร้างแรงกระเพื่อมบางอย่างให้สังคมได้ 

1. การแก้ปัญหาการศึกษาอย่างต่อเนื่องของธนาคารยูโอบี ประเทศไทยที่สำเร็จเพราะพันธมิตร

ปัญหาการศึกษาตั้งแต่เด็กหลุดออกจากระบบไปจนถึงความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทยมาเป็นเวลานาน หลายคนอาจมองว่าธนาคารน่าจะช่วยสนับสนุนปัญหานี้ได้ในด้านการเงินเท่านั้นแต่คุณเอ๋-ธรรัตน โอฬารหาญกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่จากธนาคารยูโอบี ประเทศไทยบอกว่าภาคธุรกิจอย่างธนาคารยูโอบีมองถึงการสร้างอิมแพ็กที่มากกว่านั้นและอยากเป็นจุดหนึ่งที่คอนเน็กกับภาคสังคมและหน่วยงานอื่นๆ เพื่อสนับสนุนการศึกษาที่มีคุณภาพ

หลักสูตรการศึกษาโดยธนาคารยูโอบี ประเทศไทยมีตั้งแต่หลักสูตรการเงิน ‘UOB Money 101’ ที่สอนตั้งแต่วิชาการเงินพื้นฐานไปจนถึงเรื่องการเงินที่ไม่ค่อยได้สอนในห้องเรียนและยังขยายผลการสร้างห้องเรียนอื่นๆ ในวิชาพื้นฐานทั้งคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ฯลฯ ไปจนถึงชวนครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงจากองค์กร Teach for Thailand และกิจกรรมแนะแนวจากโครงการ a-chieve มาให้คำแนะนำเพื่อให้เด็กๆ มองเห็นโอกาสในทางเดินชีวิตมากขึ้น

คุณเอ๋ยังเล่าว่าความตั้งใจในการทำกิจกรรมเพื่อสังคมของธนาคารยูโอบีนั้นเน้นในสามแกนคือ เยาวชน การศึกษา ศิลปะ โดยมีหลักว่าในแต่ละโครงการอยากเชื่อมกับภาคีต่างๆ เพื่อขยายผล อยากสร้างการมีส่วนร่วมและมีการบริจาค ตัวอย่างเช่น ‘UOB Heartbeat Run/Walk’ โครงการวิ่งระดมทุนเพื่อสนับสนุนการศึกษาของเยาวชนที่ชวนพนักงานในองค์กรและองค์กรพันธมิตรมาวิ่งร่วมกัน โดยมีเสื้อวิ่งในงานจากโรงงานผู้ผลิตเสื้อที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และยังมีองค์กรเพื่อสังคมมาช่วยจัดการด้านการแยกขยะและรับบริจาคในงานอีกด้วย 

สาเหตุที่ธนาคารยูโอบีสามารถทำโครงการเพื่อการศึกษาอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลาหลายปีแบบนี้ได้เพราะชวนพันธมิตรจากหลายภาคส่วนมามีส่วนร่วมในโครงการด้วยกันและมีความหวังอยู่เสมอว่าปัญหาการศึกษาสามารถแก้ให้ดีขึ้นได้ซึ่งนับเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญที่สุดในการแก้ไขปัญหาสังคมอย่างยั่งยืน

2. การแก้ปัญหาทุพโภชนาการในเด็กด้วยความเชี่ยวชาญด้านดาต้าของธนาคารกรุงศรีฯ  

หลายครั้งการแก้ปัญหาสังคมก็ต้องการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในภาคธุรกิจมาเป็นกำลังสำคัญ
เช่น ความร่วมมือของธนาคารกรุงศรีอยุธยากับ FOOD FOR GOOD ซึ่งเป็นโครงการเพื่อสังคมที่สนับสนุนการแก้ปัญหาทุพโภชนาการในเด็กซึ่งมีที่มาความร่วมมือครั้งนี้จากทีมนวัตกรรมของธนาคารกำลังมองหาโจทย์ที่ภาคธุรกิจสามารถช่วยสังคมได้มากกว่าแค่ให้ทุนทรัพย์

เมื่อทีมธนาคารกรุงศรีอยุธยาค้นพบว่าหลายโรงเรียนมีปัญหาที่เด็กๆ ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนจึงตั้งคำถามว่า “ในมุมนวัตกร มีอะไรที่ทีมสามารถตอบแทนสังคมในรูปแบบที่ต่างออกไปได้บ้าง ที่ผ่านมาธนาคารดึงความรู้ของทีมมาช่วยกันแก้ปัญหาในมุมธุรกิจมาตลอด วันนี้เรากำลังมองไปที่สังคมแล้วทำแบบเดียวกัน”

คุณโจ้-ประมุข แจ่มจันทึก พ่อทัพฝ่ายนวัตกรรมของธนาคารกรุงศรีอยุธยาได้เล่าเบื้องหลังการทำงานไว้ว่า “เราไม่สามารถแก้ทุกปัญหาพร้อมกันได้ เลยเลือกปัญหาการแทร็คข้อมูลขึ้นมาแก้ ฟังดูเป็นเรื่องไม่ใหญ่ แต่ที่ผ่านมาไม่มีเครื่องมือที่เก็บและเชื่อมโยงข้อมูลอย่างบันทึกน้ำหนักและส่วนสูงของเด็กให้หน่วยงานเหล่านี้” 

ทีมธนาคารทำงานร่วมกับ FOOD FOR GOOD ในการเลือกโรงเรียนที่พร้อมนำเครื่องมือและกระบวนการเก็บข้อมูลไปใช้พร้อมพัฒนาปรับปรุงตามฟีดแบ็คจากโรงเรียน ผลลัพธ์คือหน่วยงานทีี่เกี่ยวข้องด้านการดูแลโภชนาการเด็กไปจนถึงผู้ปกครองสามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น โดยมีจำนวนโรงเรียนที่ใช้งานเครื่องมือนี้ไปแล้ว 50 โรงเรียนและกำลังมีแผนขยายถึงหลักร้อยโรงเรียน ส่วนในมุมของธนาคารเองนอกจากได้ช่วยสังคมแล้ว ยังได้สร้างแรงบันดาลใจและจิตสำนึกที่ดีให้พนักงานในทีมมองเห็นโอกาสในการสร้างผลกระทบเชิงบวกกับสังคม ซึ่งคุณโจ้มองว่าแม้จะเร่ิมจากการแก้ปัญหาจุดหนึ่งเล็กๆ แต่ถ้าทำอย่างต่อเนื่องก็จะสามารถขยายผลให้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และกลายเป็นการแก้ปัญหาสังคมที่ยั่งยืนได้ 

3. การรณรงค์ลดขยะของผู้ผลิต ‘ถุงขยะแชมเปี้ยน’ ที่ตั้งใจรับผิดชอบต่อสังคม

บริษัท ดนุเดช อุตสาหกรรม จำกัดเป็นผู้ผลิตแบรนด์ ‘ถุงขยะแชมเปี้ยน’ และนั่นเป็นเหตุผลให้ คุณตุ๋ย-รัชฎา อินทรชลิต รองกรรมการผู้จัดการเล่าว่าบริษัทของเธออยากมีจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อสินค้าที่ผลิตขึ้นมา

หลายคนอาจจะเคยเห็นถุงขยะสีสดใสของแบรนด์ที่แยกออกเป็นหลายสีเพื่อคให้แยกขยะได้ง่ายขึ้นมาบ้างแล้ว คุณตุ๋ยบอกว่า “เราพยายามบอกทุกคนให้แยกขยะเพราะมันจะช่วยลดขยะจนในที่สุดการใช้พลาสติกจะลดลง” ที่ผ่านมาบริษัทชวนองค์กรจากหลากหลายอุตสาหกรรมมามีส่วนร่วมในการแยกขยะอย่างจริงจัง ทั้งการไปสอนแยกขยะให้นักเรียนในโรงเรียนต่างๆ, การร่วมมือกับร้านอาหารชื่อดังเช่น สมบูรณ์ภัตตาคารเพื่อให้ความรู้ในการแยกขยะ, ร่วมมือกับ gourmet และกทม. ในการแยกเศษอาหาร ไปจนถึงสนับสนุนชุมชนต่างๆ ในการแยกขยะอย่างชุมชนวัดจันแดง  ชุมชนหนองแขม เพื่อให้แต่ละชุมชนแยกขยะอย่างสม่ำเสมอกันมากขึ้น

นอกจากโครงการเหล่านี้บริษัทยังสนับสนุนโครงการรักษ์ทะเล, โครงการหนึ่งคนว่าย หลายคนช่วย (One man and the sea) และ หนึ่งคนว่าย หลายคนให้ (One man and the river) ที่ระดมทุนให้ศูนย์รักษาพันธุ์สัตว์ทะเลหายากและช่วยเหลือโรงพยาบาลทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขง โดยตั้งใจใช้สินค้าถุงขยะที่ผลิตเองไปสนับสนุนในโครงการต่างๆ เช่น ใช้ถุงขยะแชมเปี้ยนในโครงการรักษ์ทะเลในการเก็บขยะที่ชายหาด

ถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ดีในการแก้ปัญหาสังคมด้วยการร่วมมือกับพันธมิตรต่างๆ และทำให้บริษัทไม่ได้เป็นแค่ผู้ผลิตอีกต่อไป แต่กลายเป็นผู้รณรงค์ที่สามารถสร้างอิมแพ็กได้จากสินค้าของตัวเอง  

4. การสร้างแคมเปญของ LINE MAN Wongnai ที่อิมแพ็กเพราะรู้จุดแข็งของตัวเองและพาร์ทเนอร์

LINE MAN Wongnai คือบริษัทเทคโนโลยีด้าน platform on-demand ของคนไทยที่เกิดจากการควบรวมบริษัทของ LINE MAN ที่ใช้สั่งอาหาร เรียก Messenger หรือ เรียกรถ และ Wongnai แพลตฟอร์มรีวิวอาหาร จุดแข็งของแอปคือการมีผู้ใช้เป็น active user จำนวนมากเฉลี่ยประมาณเดือนละมากกว่า 10 ล้านคน

ด้วยจุดแข็งที่เข้าถึงคนได้มากนี้เองที่ทำให้ Mastercard มาชวน LINE MAN Wongnai ทำโครงการเพื่อสังคมด้วยกัน ดร.มาลียา โชติสกุลรัตน์ ผู้จัดการอาวุโสด้านนโยบายสาธารณะและรัฐกิจสัมพันธ์เล่ากิมมิคของแคมเปญ ‘สั่งมื้อนี้ ส่งมื้อดีให้น้อง’ ที่อยากให้คนทั่วไปมีส่วนร่วมให้ฟังว่า ทุกๆ การสั่งอาหารถ้าสั่งผ่าน LINE MAN ทาง Line Pay แล้วจ่ายด้วย Mastercard จะมีการสมทบทุน 10 บาทให้โครงการ FOOD FOR GOOD ที่ทำงานด้านโภชนาการ” โดย LINE MAN เป็นผู้ทำประชาสัมพันธ์ออกไปให้ผู้ใช้แอปที่กำลังจะสั่งอาหารหรือกำลังจะจ่ายเงินรับรู้ทางเลือกในการบริจาคเมื่อจ่ายด้วย Mastercard ผลลัพธ์คือเมื่อผ่านไปเพียง 1 เดือนครึ่งเท่านั้นก็ได้เงินบริจาคมาทั้งหมด 1,760,000 บาท

ดร.มาลียาให้คำแนะนำในการทำแคมเปญเพื่อสังคมว่า “คีย์ของความสำเร็จคือการมีพาร์ทเนอร์ที่ถูกต้อง เพราะเราไม่รู้บางเรื่อง เราทำได้แค่บางเรื่อง เพราะฉะนั้นเราต้องหาคนที่รู้และเป็นตัวจริงมาช่วยทำแทนเรา” ซึ่ง FOOD FOR GOOD ก็เป็นมูลนิธิที่เลือกมาเพราะเป็นตัวจริงในวงการและลงลึกในการแก้ปัญหาด้านโภชนาการในเด็ก โดยมูลนิธิไม่ได้แค่นำอาหารไปมอบให้โรงเรียนเป็นมื้อๆ แล้วจบไปแต่มีการให้ความรู้แก่คุณครูผู้เตรียมอาหารและนักเรียนที่เป็นผู้ทานด้วย 

ในการทำงานร่วมกันดร.มาลียายังบอกว่าสิ่งสำคัญคือความจริงใจ “ถ้าจับมือว่าเราจะทำงานร่วมกัน เราก็ต้องแชร์ทุกอย่างอย่างจริงใจ ไม่พยายามบิดเพื่อภาพพจน์แล้วสุดท้ายสิ่งที่ตกลงกันไว้แล้วมันไม่ได้เป็นตามนั้น เพราะมันจะทำให้การทำงานร่วมกันต่อไปมีปัญหา ถ้าเรามีข้อจำกัดบางอย่างก็ต้องบอกอย่างจริงใจไปเลยว่าอะไรทำได้ทำไม่ได้เพื่อจะมาหาทางแก้ร่วมกันแล้วปฏิบัติต่อกันหรือสื่อสารต่อกันอย่างเคารพในฐานะที่แต่ละคนมีความเชี่ยวชาญด้านนั้น”  

นอกจากอิมแพ็กที่สร้างให้สังคมแล้ว พนักงานในองค์กร LINE MAN Wongnai ที่ได้มีส่วนร่วมตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้นรีเสิร์ชในการทำแคมเปญจนถึงติดตามมูลนิธิเข้าไปทำกิจกรรมที่โรงเรียนก็ยังได้ความรู้เรื่องโภชนาการเพิ่มมากขึ้นและแรงบันดาลใจในการสร้างอิมแพ็กให้สังคมตามไปด้วย  

5. การขยายผลการแก้ปัญหาสุขภาพจิตของ Sati App ด้วยแบรนด์และอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดัง

Sati App เป็น on-demand listening service ที่ช่วยแก้ปัญหาสุขภาพจิต จุดเริ่มต้นคือคุณซันจู-อมรเทพ สัจจะมุณิวงศ์เคยเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อนและพบว่ามีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูงไปจนถึงรู้สึกว่าหาคนรับฟังความรู้สึกในเวลาย่ำแย่ได้ยาก จึงศึกษาโมเดลจากประเทศที่มีจิตแพทย์และนักจิตวิทยาไม่เพียงพอและพบว่าทางแก้คือชวนคนทั่วไปมาเป็นอาสาสมัครในการรับฟังและสอนการฟังเชิงลึกให้คนเหล่านั้น แอป Sati ที่มีเพื่อนรับฟังเป็นคนทั่วไปจึงเกิดขึ้น

แม้ Sati App จะเริ่มจากทีมเล็กๆ แต่ก็ได้ร่วมทำแคมเปญสื่อสารกับแบรนด์ระดับโลกอย่าง Maybelline New York ที่สนใจด้านการสนับสนุนด้านสุขภาพจิตอยู่แล้ว คุณซันจูได้มีโอกาสเข้าไป pitch กับแบรนด์ดังโดยสื่อสารว่า Sati จริงจังกับการแก้ปัญหาถึงขั้นผลักดันในระดับนโยบายจนได้ทำวิดิโอโปรโมทแอปในชื่อ ‘Brave together’ ร่วมกับแบรนด์ที่เข้าถึงคนหลายล้านคนและทำให้แอปเติบโตจากมีผู้ใช้ที่มาขอคำปรึกษาในแอปหลักพันสายต่อสัปดาห์เป็นหลักหมื่นต่อสัปดาห์ 

อีกแคมเปญหนึ่งของ Sati ที่สร้างแรงกระเพื่อมไม่แพ้กันคือ ‘Better Mind, Better Bangkok’ เกิดจากการเห็นปัญหาว่าเวลาพูดถึงสุขภาพจิตในสังคมไทย มักมีการพูดถึงในมิติเดียวในมุมเกี่ยวกับโรคเท่านั้นและมักไม่ค่อยมีใครพูดถึงว่าสภาพแวดล้อมก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาทางใจได้เช่นกัน แคมเปญนี้จึงสื่อสารเรื่องสุขภาพจิตในหลายมิติไปยังคนหลายกลุ่มมากขึ้นทั้งเยาวชน สตรี กลุ่ม LGBTQI คนเมือง คนชนบท 

ในแคมเปญนี้คุณซันจูได้ติดต่อขอความร่วมมือกับทางกทม. ว่าอยากผลักดันเรื่องสุขภาพจิตให้เป็นหนึ่งในนโยบายของกทม. โดยได้เริ่มแคมเปญจากกรุงเทพฯ ก่อนและตั้งใจขยายผลไปยังจังหวัดอื่นๆ ในหลายภาคของไทย ซึ่งการชวนพาร์ทเนอร์ใหญ่อย่างกทม. มาเป็นพันธมิตรได้กลายเป็นจิ๊กซอสำคัญที่ทำให้การติดต่อพาร์ทเนอร์เจ้าอื่นเป็นเรื่องง่ายขึ้น ที่ผ่านมา Sati ยังได้ออกสื่อแมสต่างๆ ทั้งไลฟ์ทาง Youtube และ Tiktok ไปจนถึงชวนดาราและอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังมาที่กิจกรรมของ Sati เช่น สมาชิกวง BNK, อุ๋ย Buddha Bless, อแมนด้า, จอมขวัญ พิธีกรชื่อดัง

Sati ทำให้สุขภาพจิตกลายเป็นเรื่องที่คุยกันได้อย่างผ่อนคลายมากขึ้นและเข้าถึงคนทั่วไปได้มากขึ้นด้วยการกล้าเข้าหาพาร์ทเนอร์ต่างๆ หาจุดเชื่อมโยงที่พาร์ทเนอร์แต่ละฝ่ายต่างอินด้วยกันทั้งคู่ไปจนถึงหาจุด win-win ในการทำงานร่วมกันระหว่างแบรนด์ ภาคเอกชน และภาคสังคม  ในฐานะผู้ทำองค์กรเพื่อสังคม คุณซันจูบอกว่า KPI หรือเป้าหมายขององค์กรเพื่อสังคมอาจมีภาพคนละแบบกับทางฝั่งแบรนด์แต่เคล็ดลับในการทำงานร่วมกันให้ราบรื่นคือการหาจุดตรงกลางว่าจะทำให้มุม Human กับ Brand ในการทำแคมเปญเชื่อมโยงกันได้ยังไงบ้าง

Lesson learned

1. Multi-Stakeholders Collaboration : การร่วมมือจากหลายภาคส่วน 

ปัญหาสังคมเป็นปัญหาสเกลใหญ่ที่มีหลายมิติ แทบทุกประเด็นอาศัยการมีส่วนร่วมจากคนหลายภาคส่วนในสังคมทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม ภาคการศึกษา ประชาชนทั่วไป ฯลฯ เมื่อแต่ละหน่วยในสังคมมารวมพลังกันและมีการ ‘put the right man on the right job’ หรือจัดสรรให้แต่ละคนช่วยแก้ปัญหาในส่วนที่ตัวเองถนัด การแก้ปัญหาก็จะมีโอกาสสำเร็จลุล่วงมากยิ่งขึ้น

2. Find Compability : หาสิ่งที่ตรงกันและเข้ากันได้

การทำแคมเปญหรือโครงการเพื่อสังคมให้สำเร็จคล้ายกับการหาคู่เดท นั่นคือสามารถเริ่มได้ง่ายๆ ด้วยการหาพาร์ทเนอร์ที่ใช่ก่อน พาร์ทเนอร์ที่ใช่คือองค์กรหรือผู้ที่ให้คุณค่าตรงกันกับเรา มีวิสัยทัศน์ สิ่งที่ให้คุณค่าและความสำคัญในทิศทางที่ใกล้กัน 

3. Sprint Testing : รับฟีดแบ็คและปรับตัวร่วมกับพาร์ทเนอร์

ในการเริ่มต้นทำโครงการอาจไม่จำเป็นต้องหวังการร่วมงานกับพาร์ทเนอร์ระยะยาวตั้งแต่แรกเสมอไป อาจเริ่มได้ง่ายๆ ในสิ่งเล็กๆ ที่ทำได้ด้วยแคมเปญระยะสั้นก่อน จากนั้นสามารถนำผลลัพธ์มาประเมินแล้วหาพาร์ทเนอร์เพิ่มเติมไปจนถึงขยายผลต่อไปได้เรื่อยๆ 

Illustrator

บรรณาธิการศิลปกรรม Email: y.pongtorn@gmail.com

You Might Also Like