นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

Geishat

เมื่อเกอิชาออกร่ายรำช่วยเศรษฐกิจ ระบำแห่งเมืองหลวงเก่าหลังญี่ปุ่นย้ายเมืองหลวง 

ช่วงเดือนกรกฎาคมเป็นช่วงเข้าฤดูร้อนของญี่ปุ่น และในช่วงนี้เองที่เมืองเกียวโต เป็นเดือนของเทศกาลสำคัญที่เรียกว่าเทศกาลกิออนหรือ Gion Matsuri หนึ่งในสามเทศกาลใหญ่ประจำเมืองของญี่ปุ่นเคียงคู่มากับเทศกาลเท็นจินของโอซาก้า เทศกาลคันดะของโตเกียว เทศกาลกิออนก็ตามชื่อคือจัดขึ้นโดยมีศาลเจ้ายาซากะในย่านกิออนเป็นศูนย์กลาง เป็นเทศกาลของนิกายชินโต มีการประดับโคมและการแห่ลากรถขนาดใหญ่ไปตามถนนสายสำคัญของเมือง

พอพูดถึงย่านกิออน เราก็จะคิดถึงย่านพิเศษของเมืองโตเกียว เป็นย่านของเหล่าไมโกะ เกอิโอและบรรยากาศที่เหมือนหยุดเวลาไว้ เป็นหนึ่งในพื้นที่ทางศิลปวัฒนธรรมโบราณของญี่ปุ่น และแทบจะเป็นตัวแทนหนึ่งของความเป็นญี่ปุ่นยุคโบราณ

แต่ทว่าก่อนที่กรุงเกียวโตจะรุ่งโรจน์และย่านกิออนกลายเป็นย่านสำคัญอย่างเป็นทางการที่รุ่งเรืองนั้น ย้อนไปในช่วงยุคเมอิจิ สมัยรอยต่อที่ญี่ปุ่นก้าวเข้าสู่ความทันสมัยหรือ Modernization Period หลังจากสิ้นสุดจากระบอบโชกุนลง รัฐบาลเมอิจิและสมเด็จพระจักรพรรดิได้ตัดสินใจย้ายศูนย์กลางการปกครองออกจากกรุงเกียวโตอันเก่าแก่ไปยังเมืองเอโดะหรือโตเกียวในปัจจุบัน ในห้วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับการปกครองและความเปลี่ยนแปลงจากการปรับประเทศให้ทันสมัย เมืองเกียวโตที่เคยรุ่งเรืองกลับซบเซาลง

ในช่วงเวลานั้นเองทางเมืองเกียวโตจึงตัดสินใจที่จะกอบกู้เศรษฐกิจของเมือง และการกอบกู้ในช่วงนั้นคือการที่เมืองแสดงตัวตนและบทบาทในเวทีโลกด้วยการจัดงานเอกซ์โป ซึ่งก็คือการจัดเกียวโตเอกซ์โพซิชั่นขึ้น แต่การจัดงานก็มีความยากอยู่ จนกระทั่งทางเมืองได้ตัดสินใจออกแบบงานอย่างระมัดระวังและยกย่องมรดกทางศิลปวัฒนธรรมขึ้นเป็นจุดเด่นของงาน หนึ่งในนั้นคือการเชิญไมโกะออกร่ายรำแสดงในงาน

การร่ายรำของไมโกะในงานสาธารณะระดับนานาชาติและเป็นการเปิดตัวเมืองโตเกียวในฐานะพื้นที่มรดกทางวัฒนธรรมนับเป็นการแสดงครั้งประวัติศาสตร์ เป็นการร่ายรำแรกต่อสายตาสาธารณชนนอกเขตเมืองบุปผา ความสำเร็จและความร่วมมือจากย่านเริงรมย์ในครั้งทำให้เกิดย่านกิออนในฐานะย่านสมัยใหม่ เกิดประเพณีการแสดงสำคัญของเหล่าไมโกะและเกอิโกะประจำปี รวมถึงการกลายมาเป็นตัวแทนที่เป็นรูปธรรมของสัญลักษณ์และมรดกวัฒนธรรมของญี่ปุ่น

ย้ายเมืองหลวง เกียวโตเอกซ์โป

การย้ายเมืองหลวงของญี่ปุ่นเป็นห้วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลในทุกๆ ด้านของประเทศ ในปี 1868 ระบอบโชกุนและซามูไรล่มสลาย มีการสถาปนารัฐธรรมนูญที่มีองค์พระจักรพรรดิขึ้นเป็นศูนย์กลางอำนาจ หนึ่งปีให้หลังสมเด็จพระจักรพรรดิทรงย้ายเมืองหลวงมายังกรุงโตเกียวและกลายเป็นเมืองหลวงมาจนถึงปัจจุบัน ในห้วงเวลาดังกล่าวเรียกกันว่ายุคเมอิจิ เป็นยุคที่ญี่ปุ่นปรับประเทศเข้าสู่ความเป็นรัฐสมัยใหม่ เปิดรับความทันสมัยและวิทยาการต่างๆ 

การย้ายศูนย์กลางอำนาจเป็นการเปลี่ยนผ่านที่น่าสนใจ กรุงเกียวโตในฐานะศูนย์กลางอำนาจและความเจริญมากว่าพันปีนับตั้งแต่ศตวรรษที่ 8 การหันเหประเทศเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่และการย้ายเมืองหลวงออกไปทำให้เกียวโตประสบภาวะซบเซา จากเมืองหลวงที่เคยรุ่งโรจน์ เกียวโตต้องดิ้นรนเพื่อให้อยู่รอดในฐานะเมืองในกระแสธารของโลกสมัยใหม่

กรุงเกียวโตเองก็พยายามปรับตัวเองไปสู่เมืองสมัยใหม่ มีการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคส่วนต่างๆ เช่นธุรกิจสิ่งทอ ใบชา และที่สำคัญคือธุรกิจท่องเที่ยว หนึ่งในกลยุทธ์สำคัญคือการที่เลือกจัดเวิลด์เอกซ์โป หรือ Kyoto Exposition โดยเอกซ์โปของเกียวโตนับได้ว่าจัดขึ้นสองครั้งในปีต่อเนื่องกัน ในปี 1871 มีการเปิดงานแล้วแต่ค่อนข้างเงียบเหงา ไม่มีคนสนใจ ในช่วงนั้นเองจึงมีการก่อตั้งทีมผู้จัดงานขึ้นและวางกลยุทธ์ใหม่ก่อนที่จะเปิดงานในปีถัดมาคือ 1872

ในงานรอบสองของเกียวโตเอกซ์โป คณะจัดงานได้วางแผนงานอย่างถี่ถ้วนขึ้น มีการคัดเลือกการแสดงเพื่อดึงดูดและแสดงตัวตนของความเป็นเกียวโตอันมีนัยถึงสัญลักษณ์ของความเป็นญี่ปุ่น มีการแสดงพลุไฟ จัดการแข่งขันซูโม่ เปิดโรงละครโนห์ (Noh Theater) และที่สำคัญคือมีการจัดแสดงระบำของเหล่าไมโกะที่เรียกว่า Miyako Odori มีความหมายว่า ระบำแห่งนครหลวงโบราณ (Dances of the Old Capital) การร่ายรำในครั้งนั้นเป็นการแสดงของเหล่าไมโกะและเกอิโกะภายนอกนครบุปผาเป็นครั้งแรก และนับเป็นจุดพลิกผันสำคัญและเป็นรากฐานของย่านกิออนในปัจจุบัน

นครบุปผา จากย่านเริงรมย์สู่ย่านสมัยใหม่

ก่อนจะเข้าสู่บทบาทของเกอิชาและการเป็นย่านสมัยใหม่จากการแสดงระบำในปี 1872 ตัวย่านเริงรมย์ของเหล่าเกอิชานับเป็นย่านเก่าแก่ที่อยู่คู่กรุงเกียวโตอย่างน้อยก็ตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 17 ย่านเริงรมย์ของญี่ปุ่นเป็นย่านกินดื่มประเภทหนึ่งเรียกรวมว่าเป็นย่านบุปผาหรือ Hanamachi ในย่านนี้จะเป็นพื้นที่กินดื่มสำคัญของเมือง สำหรับกรุงเกียวโตเองมีศูนย์กลางอยู่ที่ศาลเจ้ายาซากะ ก่อตัวขึ้นจากการเป็นแหล่งกินดื่มของผู้ที่เดินทางจาริกมายังศาลเจ้า รวมถึงพื้นที่ใกล้เคียงคือบริเวณแม่น้ำคาโมะ

ในย่านบุปผาแต่เดิมเป็นย่านเริงรมย์ประเภทหนึ่ง มีการกินดื่มยามย่ำคืน ก็จะมีหญิงบริการด้วย ในส่วนของสตรีที่ทำงานในย่านเริงรมย์ก็เริ่มพัฒนาแบ่งแยกไปสู่หญิงสาวที่ได้รับการฝึกฝนศิลปะแขนงต่างๆ ทำหน้าที่ให้ความบันเทิงโดยที่ไม่ได้ค้าประเวณีโดยตรง การเกิดขึ้นของอาชีพใหม่ที่ต้องมีการฝึกฝนและกินอยู่นี้ก็คืองานและฝึกฝนของเหล่าเกอิชา เป็นผู้ให้ความบันเทิงระดับสูง พื้นที่ที่เกอิชาซึ่งประกอบด้วยไมโกะ และเกอิโกะหรือไมโกะฝึกหัดใช้ชีวิต เป็นพื้นที่ให้บริการและฝึกฝนศาสตร์ต่างๆ จะเรียกว่าเป็นนครบุปผา ตัวย่าน การแสดงและการเข้าถึงบรรดาเกอิโกะนับเป็นพื้นที่เฉพาะ มีขนบธรรมเนียมและรูปแบบการให้บริการที่เฉพาะเจาะจง คนทั่วไปเข้าถึงไม่ได้โดยง่าย

ทีนี้ ในการจัดแสดงเกียวโตเอกซ์โป มีการดีลที่น่าสนใจเกิดขึ้น คือการแสดงระบำแห่งเมืองหลวงอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม ในการร่ายรำแรกนี้มีโรงเรียนรำสำคัญคือโรงเรียนรำของตระกูลอิโนะอุเอะ (The Inoue School) โรงเรียนฝึกรำเก่าแก่ของเมือง ในการร่ายรำแรกนั้นทางผู้ว่าเกียวโตได้เชิญคาตายามะ ฮาคุโระ (Katayama Hakuro) ผู้สืบทอดในฐานะอิโนะอุเอะรุ่นที่สามเข้าร่วมด้วย อาจารย์ฮาคุโระตกลงช่วยเหลือผู้ว่าเมือง โดยทั้งออกแบบท่ารำและใช้งานเอกซ์โปที่จะจัดขึ้นเป็นที่แสดงฝีมือของเหล่าลูกศิษย์ที่มีแวว

การแสดงครั้งนั้นนับเป็นระบำแห่งนครโบราณแรก และอาจารย์ฮาคุโระได้ทำการขอรวมย่านย่อยๆ ทั้งแปดย่านที่ดีและมีฝีมือบริเวณกิออนเข้าด้วยกันและเรียกว่าเป็นกิออนโคบุ (Gion Kobu) และขอให้ย่านกิออนที่เหลือรวมและเรียกชื่อว่ากิออนโอซึบุ (Gion Otsubu–ปัจจุบันเรียกว่า Gion Higashi) ย่านกิออนโคบุเป็นย่านที่เธอขอผูกขาดการสอนร่ายรำของโรงเรียนอิโนะอุเอะไว้ 

การขอแบ่งย่านกิออนออกเป็นพื้นที่เฉพาะ เป็นส่วนหนึ่งของความเปลี่ยนแปลงของย่านบุปผาที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของย่าน (district) สมัยใหม่ที่อยู่ใต้การบริหารของเมือง (แต่มีความเป็นย่านที่พิเศษของตัวเอง) นอกจากการแบ่งย่านเป็นกิออนพิเศษ ในตอนนั้นความร่วมมือของย่านบุปผาต่อการบริหารเมืองเกียวโตทำให้ทางเมืองมอบรางวัลให้ มีการให้ที่ดินเพิ่มเติมบริเวณกิออนปัจจุบันทำให้ทางกิจการของย่านบุปผาสามารถสร้างโรงแสดงของตนเอง

ที่น่าสนใจคือย่านกิออนค่อนข้างกลายเป็นย่านสมัยใหม่แล้ว มีการสร้างโรงพยาบาล และพื้นที่ฝึกสอนศิลปะที่เกี่ยวข้องเช่นดนตรี การเต้นรำ หรือก็คือทักษะของสตรี ได้รับแต่งตั้งเป็นโรงเรียน นับเป็นส่วนหนึ่งของรูปแบบการให้การศึกษาในวิธีแบบสมัยใหม่ โรงพยาบาลเองก็เป็นส่วนส่งเสริมสุขภาพของสตรีที่ทำงานในย่าน ซึ่งบางส่วนเกี่ยวข้องกับการค้าประเวณีอยู่ด้วย การมีพื้นที่สาธารณสุขเฉพาะจึงส่งเสริมสวัสดิภาพของสตรีในกิจการและการทำงานต่อไป

ปัจจุบันย่านกิออนนับเป็น 2 ใน 5 ย่านบุปผาของเกียวโต ย่านส่วนใหญ่ตั้งอยู่จากศาลเจ้ายาซากะถึงแม่น้ำคาโมะ โดยศูนย์กลางของย่านจะมีโรงฝึก (kaburenjō) คือพื้นที่ฝึกฝนการร้องและร่ายรำเป็นศูนย์กลาง ย่านฮานะมาจิค่อนข้างมีรูปแบบความสัมพันธ์ของตัวเอง การทำงานร่วมกันของภาคส่วนต่างๆ ความเป็นย่านที่มีความเป็นครอบครัวในการใช้ชีวิตและการทำงาน

ความเป็นสมัยใหม่ของระบำและบทบาทของศิลปวัฒนธรรม

ปัจจุบัน ขนบธรรมเนียมรวมถึงการให้บริการในย่านบุปผาก็ยังคงรักษาธรรมเนียมเดิม คือแยกออกเป็นโลกเฉพาะ แต่ทว่าในการเป็นย่านสมัยใหม่ การเข้ามาร่วมกับเมืองทำให้ย่านบุปผามีพื้นที่ในฐานะย่านที่มีระบบระเบียบและมีการปกครองในการบริหารเมืองสมัยใหม่ นอกจากนี้ การเปิดกิจการและโลกของไมโกะให้กับเมือง เป็นส่วนหนึ่งของสัญลักษณ์และมรดกของญี่ปุ่นก็มีการปรับไปสู่ความทันสมัยแทรกอยู่ด้วย

ตัวอย่างสำคัญคือระบำ Miyako Odori อันเป็นระบำที่ออกแบบใหม่สำหรับงานเอกซ์โปโดยเฉพาะ และกลายเป็นธรรมเนียมที่จะมีการแสดงระบำนี้ในพื้นที่สาธารณะในทุกๆ ปีหลังจากนั้น ตัวระบำมิยาโกะเป็นพื้นที่ทดลองของผู้จัดงานคือเหล่าผู้กำกับ แรกเริ่มที่สุดคือการจัดเก้าอี้แบบตะวันตกเพื่อรองรับผู้ชมจากต่างชาติ ตัวการแสดงแบ่งย่อยเป็นองค์ราว 8-10 องค์ เล่าถึงความงามในฤดูกาลต่างๆ ด้วยความเข้าใจที่ว่าผู้ชมเป็นนักท่องเที่ยว การแสดงจะถูกย่อลงให้ใช้เวลาทั้งหมดเพียงหนึ่งชั่วโมง มีการแสดงภาพฤดูกาลที่เป็นจุดขายทางการท่องเที่ยวเช่นความสดใสของฤดูร้อน ความงดงามของนครโบราณที่คลุมด้วยหิมะ ตัวการแสดงปรับเปลี่ยนได้ แต่องค์สุดท้ายจะต้องเป็นฉากอันสวยงามของดอกซากุระอันบานสะพรั่ง

ในความเข้าใจว่าการร่ายรำต่อสาธารณชนที่เป็นนักท่องเที่ยวและมีผลเพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว ในการแสดงมักจะปรากฏฉากที่เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญของประเทศญี่ปุ่น ราวกับว่าผู้ชมได้ท่องเที่ยวไปทั่วญี่ปุ่นตลอดทั้งปี ก่อนจะจบลงด้วยภาพซากุระจนทำให้การแสดงระบำนี้ได้ฉายาในโลกตะวันตกว่าเป็นระบำดอกซากุระ

นอกจากเป้าหมายด้านประชาสัมพันธ์แล้ว การแสดงของเหล่าไมโกะยังได้รับการยกระดับเป็นการแสดงระดับชาติ หลายครั้งจัดแสดงเพื่อต้อนรับแขกของประเทศ ในการแสดงระบำสำคัญนี้มีบางครั้งที่ไมโกะหรือเกอิโกะจะสะบัดธงของชาตินั้นๆ มีบันทึกว่าครั้งมกุฏราชกุมารแห่งแมนจูเรียเสด็จเยือนในปี 1939 พระองค์และคณะทรงมีความปีติยินดีเมื่อเห็นธงของตนโบกสะบัดบนเวทีการแสดง

ระบำทั้งห้า จากห้าเมืองบุปผา

นับจากงานเอกซ์โป พื้นที่ของเมืองบุปผาบางส่วนกลายเป็นพื้นที่และกิจกรรมสาธารณะ เช่นการรวมตัวกันเพื่อปฏิญาณในช่วงปีใหม่ในโรงฝึกของเขตต่างๆ ในเขตสำคัญมีการถ่ายทอดสดผ่านโทรทัศน์ เป็นสิ่งที่คนทั่วไปจับตาชม หรือจากธรรมเนียมการแสดงระบำที่ Miyako Odori กลายเป็นอีเวนต์สำคัญของเมือง

หลังจากนั้นในทุกๆ ปี เขตบุปผาทั้งห้าของเกียวโตจะสลับกันจัดแสดงระบำเป็นการแสดงสาธารณะ มีการจำหน่ายบัตรในหลายราคาตั้งแต่ 1,500-4,500 เยน บัตรที่แพงขึ้นมาก็อาจจะรวมพิธีชงชาที่มีขนมวากาชิเสิร์ฟด้วย ในเทศกาลนอกจากระบำแล้วก็ยังมีการแสดงอื่นๆ ถ้าไล่ตามเวลาของปี ระบำหรือโอโดริจะเริ่มที่คิตาโนะโอโดริ จัดแสดงจากเขตคามิชิชิเคน (Kamishichiken) ย่านเกอิชาที่เก่าแก่ที่สุด จัดแสดงช่วงฤดูใบไม้ผลิคือราวสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายน, ระบำมิยาโกะโอโดริ จัดแสดงโดยย่านกิออนโคบุ แสดงช่วงเดือนเมษายน, เคียวโอโดริ (Kyō Odori) จากเขตมิยากวะ (Miyagawa-chō) เขตที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ตั้งของโรงละครคาบุกิ ระบำจึงได้รับอิทธิพลของละครคาบุกิเป็นจุดเด่นด้วย แสดงช่วงเดือนต้นเดือนเมษาเหมือนกัน, ระบำคาโมกาวะ โอโดริ (Kamogawa Odori) ของเขตปอนโตโช (Pontochō– แสดงครั้งแรกร่วมกับระบำมิยาโกะในงานเอกซ์โป) แสดงช่วงเดือนพฤษภาคม และสุดท้ายคือกิออนโอโดริ โดยย่านกิออนฮิกาชิ (Gion Higashi) แสดงช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน

นอกจากนี้ยังมีการแสดงรวมกันของทั้งห้าเขตเมืองบุปผาในช่วงปลายเดือนมิถุนายนเป็นอีเวนต์ใหญ่ เป็นการแสดงสองวันพร้อมบริการอาหารชุดแบบไคเซกิ งานใหญ่นี้จะมีราคาบัตรแพงและมีจำนวนน้อยหน่อย

การย้อนดูบทบาทที่น่าสนใจระหว่างเมืองบุปผา ซึ่งไม่ได้มีแค่เหล่าไมโกะแต่ยังรวมถึงศิลปะแขนงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่กิโมโน โรงน้ำชา ไปจนถึงบานประตูกระดาษและการบริหารกิจการและชุมชนในระดับย่านนับเป็นอีกกรณีที่น่าสนใจของการรักษาและปรับวัฒนธรรมไปสู่โลกสมัยใหม่ และยิ่งน่าสนใจมากขึ้นไปอีกในความพิเศษคือการรักษาความเป็นพื้นที่เฉพาะของย่านบุปผาที่เหมือนจะมีโลกและกาลเวลาของตัวเอง กับการแสดงตัวตนและประโยชน์ในกิจกรรมสาธารณะของเมือง 

การผนวกและเปิดตัวตนของย่านและศิลปวัฒนธรรมโบราณจากความหมิ่นเหม่ของการพ้นสมัยและการติดอยู่กับอดีต การปรับเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่ทำให้มรดกและศิลปวัฒนธรรมของกรุงเกียวโตก้าวไปสู่การเป็นสัญลักษณ์และมรดกทางวัฒนธรรมของญี่ปุ่น และสุดท้ายกลายเป็นมรดกที่คนทั่วโลกชื่นชมและหลงใหล

อ้างอิง

Writer

ชื่อว่านครับ ทำงานรับจ้างทั่วไปด้านงานเขียน ส่วนใหญ่เขียนเรื่องการเขียน การอ่าน และวัฒนธรรม เชื่อว่าพื้นที่นามธรรมเป็นสินทรัพย์ที่จะพาเราเติบโตอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

Illustrator

กราฟฟิกที่พยายาม ประคองสติ เพื่อค้นหาสไตล์

You Might Also Like