นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

5568
February 23, 2023

Vietnam Economy

ทำไม GDP เวียดนามจึงโตกว่าไทยมากกว่าเท่าตัว ตัวเลขนี้กำลังบอกอะไรเราบ้าง

แม้โควิดจะซาลง กิจกรรมทางเศรษฐกิจแทบจะกลับมาเหมือนก่อนมีโควิดแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ ทว่าหากมองในแง่ของตัวเลขแล้ว เศรษฐกิจโดยรวมของทั่วโลกก็ยังคงชะงักเมื่อเจอกับภาวะเงินเฟ้อหนักจนทำให้หลายประเทศจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อลดความร้อนแรงของราคาสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

เศรษฐกิจทั่วโลกที่เติบโตช้าสะท้อนได้จาก GDP ของแต่ละประเทศ อย่างประเทศไทยบ้านเราเองจากเดิมที่คาดการณ์ว่า GDP จะเติบโต 3.0% แต่ผลสุดท้ายก็เติบโตอยู่ที่ 2.6% ส่วนสหรัฐอเมริกาเติบโต 2.1% ขณะที่จีนซึ่งเคยเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจก้าวกระโดดมาโดยตลอดก็เติบโต 3.0% เท่านั้น

แต่ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ไม่มีความแน่นอนนัก กลับมีประเทศหนึ่งที่เติบโตขึ้นมาอย่างรวดเร็วจนสามารถสร้าง GDP ได้ถึง 8% เลยทีเดียว ซึ่งนั่นก็คือประเทศเพื่อนบ้านของเราอย่าง ‘เวียดนาม’ นั่นเอง

GDP ของเวียดนามที่เติบโต 8% นี้มาจากภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้างที่ขยายตัว 7.78% ขณะที่ภาคบริการขยายตัว 9.99% และภาคเกษตรกรรมเติบโต 3.36% ส่วนที่การส่งออกเพิ่มขึ้น 10.6%

ด้วยการเติบโตระดับนี้ทำให้จากเดิมที่เวียดนามเคยติดอันดับหนึ่งในประเทศที่จนที่สุดในเอเชียในช่วงปี 2553 และมีอัตราคนยากจนสูงมากกว่า 70% แต่ปัจจุบันอัตราคนยากจนก็ลดลงเหลือน้อยกว่า 5% เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขณะที่ GDP ต่อประชากรก็อยู่ที่ 96,870 บาท เพิ่มมากกว่า 400 เท่า ภายในเวลา 40 ปี

ว่าแต่อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจของเวียดนามก้าวมาไกลขนาดนี้

ข้อแรก เวียดนามมีความกระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วมในการค้าระดับโลก โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเวียดนามมีการลงนามข้อตกลงการค้ากับประเทศต่างๆ ทั้ง FTA, EVFTA หรือ UKVFTA ซึ่งล้วนแต่เป็นข้อตกลงที่ช่วยส่งเสริมการค้าระหว่างเวียดนามและนานาชาติ พูดง่าย ๆ ว่ารัฐบาลเวียดนามได้สร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรแก่นักลงทุนและบริษัททั่วโลก จึงดึงดูดเม็ดเงินเข้ามาลงทุนได้อย่างมหาศาล จนในเดือนธันวาคมปี 2565 เวียดนามมี FDI หรือเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ คิดเป็นมูลค่า 775,000 ล้านบาทแล้ว

นอกจากนี้เวียดนามยังเป็นประเทศที่ได้รับผลประโยชน์โดยตรง จากการแข่งขันของมหาอำนาจ 2 ประเทศ ระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนอีกด้วย

จากความตึงเครียดของ 2 ขั้วอำนาจ พรรคคอมมิวนิสต์จีนเลยเริ่มมีท่าทีที่ไม่ดีต่อบริษัทสัญชาติอื่นๆ มากขึ้น และนโยบายโควิด-19 ของจีน ที่กลายเป็นนโยบายที่เข้มงวด ทำให้ธุรกิจต่างๆ จำเป็นต้องหาทางหนีทีไล่ ด้วยการกระจายกำลังการผลิตไปยังที่อื่นๆ เพื่อลดผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด โดยในปี 2564 เพียงปีเดียว บริษัทต่างชาติอย่างน้อย 11,000 แห่ง ยกเลิกการจดทะเบียนบริษัทในจีน ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่ตรงข้ามจากปี 2563 ที่บริษัทต่างชาติมีการจดทะเบียนบริษัทในจีนเพิ่มขึ้นสุทธิ 8,000 แห่ง

ตรงกันข้ามกับเวียดนามที่มีบริษัทขนาดใหญ่ได้ย้ายฐานการผลิตเข้ามา ไม่ว่าจะเป็น

  • Foxconn ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ ที่ทำสัญญากับบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่หลายแห่ง
  • Apple ประกาศลงทุน 10,000 กว่าล้านบาท ในโรงงานแห่งใหม่ ทางตอนเหนือของเวียดนาม
  • Microsoft ใช้เวียดนามเป็นแหล่งผลิตเครื่องเล่นวิดีโอเกม Xbox บางส่วน
  • ทำให้ปี 2565 FDI ในเวียดนาม เพิ่มขึ้นถึง 13.5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

อย่างไรก็ดี เวียดนามจะไม่มีบริษัทและนานาชาติกล้ามาลงทุนมากเพียงนี้ หากขาดปัจจัยข้อที่สองอย่างการมีแรงงานที่ถูกและมีจำนวนแรงงานที่เพียงพอ

แม้ว่าจีนจะเคยครองอุตสาหกรรมการผลิต แต่ด้วยค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ธุรกิจจำนวนมากต้องย้ายออกเพื่อหาแหล่งที่มีการผลิตต้นทุนต่ำสุด ผลพลอยได้จากครั้งนี้จึงลงมาตกที่เวียดนาม จากการมีค่าแรงงานที่ต่ำ

ในขณะเดียวกันเวียดนามก็ยังมีประชากรที่อายุน้อยค่อนข้างมาก และมีแรงงานที่มีทักษะพอสมควร เพราะประชากรส่วนใหญ่ที่เรียนจบมหาวิทยาลัย ประมาณ 40% จบจากสาขาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งตรงกับความต้องการของตลาด

เมื่อมีแรงงานที่มีทักษะมากกว่าประเทศอื่นๆ และมีค่าแรงงานที่ถูกกว่าด้วย จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่บริษัทต่างชาติจะให้ความสนใจในประเทศนี้กันมาก

เหตุผลข้อที่สามที่ทำให้เศรษฐกิจของเวียดนามกำลังเติบโต ก็เพราะตอนนี้เวียดนามกำลังลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอย่างเต็มกำลัง โดย 6% ของ GDP คือตัวเลขที่เวียดนามใช้จ่ายไปกับโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งสูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยเงินส่วนนี้ลงไปพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น

  • พัฒนาทางด่วนมากกว่า 9,000 กิโลเมตร เพื่อเชื่อมต่อศูนย์กลางเศรษฐกิจในแต่ละพื้นที่
  • ท่าอากาศยานนานาชาติล็องถั่ญ เพื่อเพิ่มจำนวนในการรองรับการเดินทางระหว่างประเทศ
  • โครงการรถไฟฟ้าใต้ดินระหว่างกรุงฮานอยและนครโฮจิมินห์
  • โรงไฟฟ้าที่ผลิตจากหลากหลายพลังงาน

แม้ว่าจากตัวอย่างจะดูเหมือนเวียดนามลงทุนไปหลายๆ โครงการแล้ว แต่โครงสร้างพื้นฐานของประเทศก็ยังมีช่องว่างสำหรับโอกาสในการเติบโตอยู่พอสมควร

โดยจากข้อมูลของ East Asia Forum บอกว่า “โรงงานหลายแห่งในเวียดนามยังคงพึ่งพาแรงงาน มากกว่าการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยทำงานอย่างเป็นระบบและอัตโนมัติอยู่ ดังนั้นเวียดนามก็ยังคงต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่อไป” เห็นข้อมูลเหล่านี้จะบอกว่าเวียดนามก็เหมือนไทยเมื่อก่อนก็คงได้

แล้วกรณีของเวียดนามกำลังบอกอะไรเราบ้าง?

สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว เวียดนามอาจจะยังไม่ใช่ประเทศที่น่ากลัว เพราะแม้แรงงานจะมีต้นทุนที่ถูก แต่ทักษะของแรงงานยังคงมีช่องว่าง ซึ่งต้องพัฒนากันต่อไป ต่างกับประเทศที่กำลังพัฒนาที่มักใช่ท่าของการเสนอต้นทุนการผลิตที่ถูก เวียดนามจึงถือเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวอยู่ไม่น้อย

เพราะพวกเขาไม่ได้เพียงมีค่าแรงงานที่ถูกอีกต่อไป แต่แรงงานกำลังมีทักษะที่แซงหน้าหลายๆ ประเทศแล้ว รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ และกฎเกณฑ์ก็ถูกพัฒนาอยู่เรื่อยมา เพื่อเอื้ออำนวยให้เหมาะกับการทำธุรกิจมากยิ่งขึ้น

และจากเดิมที่เศรษฐกิจเวียดนามตามหลังไทย ไม่แน่ว่าสักวันอาจจะแซงไทยก็ได้ หากรัฐบาลไม่ได้เตรียมมือให้พร้อมยกระดับการแข่งขันในวันข้างหน้า เพราะการจะให้ไทยสู้ด้วยแรงงานต้นทุนถูกเช่นเดิม คงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีอีกต่อไป ในเมื่อไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

อ้างอิง

You Might Also Like