นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

ESG Strategy

บรรทัดฐาน VS กิมมิก? กลยุทธ์ ESG ของภาคธุรกิจจำเป็นแค่ไหน

ในปี 2567 นี้หลายบริษัทในไทยไม่เพียงสร้างกลยุทธ์ในการเพิ่มยอดขายเท่านั้น แต่ยังจริงจังกับเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น 

ทั้ง SC Asset ที่ต้องการลดก๊าซเรือนกระจกลง 15% ภายในปีนี้ และ 25% ภายในปี 2573 ส่วน Central Retail ก็ตั้งเป้าจริงจังกับ ESG มากขึ้น ทั้งยังได้เรตติ้งสูงสุด AAA จากการประเมินผลหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ปี 2566 โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 

นอกจากทั้ง 2 บริษัทนี้แล้ว ยังมีบริษัทของไทยอีกหลายแห่งที่ตั้งเป้าหมายทางสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น คำถามสำคัญคือกลยุทธ์ทางสิ่งแวดล้อมนั้นจำเป็นแค่ไหน การตั้งเป้าเหล่านี้เป็นเพียงการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้องค์กรเช่นเดียวกับการทำโครงการ CSR ที่หลายคนเบือนหน้าหนีหรือไม่ หรือที่จริงแล้ว กลยุทธ์ด้านสิ่งแวดล้อมถือเป็นอีกหนึ่งทางออกให้ธุรกิจยุคใหม่

กลยุทธ์ด้านสิ่งแวดล้อมสำคัญยังไง?

1. เพิ่มภาพลักษณ์และชื่อเสียง : กลยุทธ์ทางสิ่งแวดล้อมที่จริงจังและจริงใจช่วยดึงดูดผู้บริโภคที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมให้หันมาสนใจแบรนด์มากขึ้น เพราะตามรายงานของ Sustainable Global Growth and Shopper Expectations โดย ESW บริษัทอีคอมเมิร์ซ DTC ระดับโลก พบว่าจากผู้ซื้อกว่า 16,000 รายใน 16 ประเทศ กว่า 83% มองว่าความยั่งยืนเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อสินค้า 54% ของกลุ่มเจนฯ Z ยังยอมจ่ายเพิ่มขึ้น 10% ถ้าสินค้านั้นแสดงถึงความกรีน

ส่วนการวิจัยในไทยเมื่อปี 2565 โดยมหาวิทยาลัยมหิดล หรือ CMMU เผยว่าคนไทยกว่า 1,252 คน 74% มีโอกาสเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ และปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวันให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น ส่วนผู้บริโภค 37.6% เป็นกลุ่มสายกรีนจ๋าจริงๆ ความน่าสนใจคือคนกลุ่ม Baby Boomer (อายุ 55-73 ปี) มีแนวโน้มเป็นสายกรีนสูงสุด เพราะยิ่งอายุมากก็ยิ่งพร้อมจ่ายมากกว่า ตรงข้ามกับผลสำรวจระดับโลก 

2. ลดต้นทุน : แม้ในช่วงแรก การเปลี่ยนแปลงนโยบายหรือโครงสร้างต่างๆ ของบริษัทเพื่อสร้างความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมนั้นอาจกินเงิน แต่ในระยะยาว การเปลี่ยนหลอดไฟธรรมดาเป็นหลอด LED การติดแผงโซลาร์เซลล์ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้ขยะ หรือวัสดุเหลือทิ้งนั้นกลับสร้างมูลค่าเพิ่มได้มหาศาล 

อย่าง UNILIVER บริษัท FMCG นั้นลดต้นทุนได้มากกว่า 1.27 พันล้านบาทจากกลยุทธ์ทางสิ่งแวดล้อม ผ่านการคิดค้นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ใช้คาร์บอนหมุนเวียน ทั้งภายในปี 2568 ยังตั้งเป้าลดปริมาณขยะอาหารจากกระบวนการผลิตโดยตรงนับตั้งแต่ที่โรงงานไปจนถึงชั้นวางของในร้านค้า ให้ได้ครึ่งหนึ่งทั่วโลก 

3. สิทธิประโยชน์ทางภาษี : นอกจากกลยุทธ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจะช่วยให้บริษัทปฏิบัติตามกฎระเบียบหลายๆ ด้านที่กำหนดโดยรัฐบาลได้แล้ว ในหลายประเทศ รัฐบาลยังสนับสนุนบริษัทที่จริงจังกับกลยุทธ์ทางสิ่งแวดล้อมโดยการลดภาษีด้วย

4. ลดต้นทุนการลาออก : กลยุทธ์ทางสิ่งแวดล้อมนั้นยังรวมถึงจริยธรรมในการดูแลพนักงานและสร้างประโยชน์ต่อสังคมเช่นกัน จากข้อมูลของ McKinsey และ NielsenIQ พบว่าบริษัทที่มีแนวทางปฏิบัติทางธุรกิจที่ยั่งยืนนั้นสร้างขวัญกำลังใจให้พนักงานสูงขึ้นถึง 55% และเพิ่มความรักใคร่ภักดีต่อพนักงานสูงขึ้น 38%  

5. เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น : ภาคการเงินให้ความสำคัญเรื่อง sustainable finance มากขึ้น เราจึงได้เห็นนโยบาย Green Fund และ Green Loan ที่อาจส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรม เช่น บริษัทที่จะขอแหล่งทุนได้จะต้องมีการประเมินทางสิ่งแวดล้อมถึงจะยอมให้กู้ เนื่องจากเรื่องกรีนๆ หรือ ESG นั้นเป็นเทรนด์โลกที่ถ้าบริษัทไหนไม่สามารถปรับใช้ได้ก็อาจชี้ได้ว่าในอนาคตอาจอยู่ยากในสมรภูมิที่ทุกอย่างมุ่งหน้าสู่ความกรีน 

กลยุทธ์กรีนแบบไหนบ้างที่ธุรกิจรายย่อยก็เริ่มได้

1. ลดการใช้พลังงานหรือเลือกใช้อุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงาน เช่น ปิดน้ำ ปิดไฟ เมื่อไม่ได้ใช้งาน  

2. หาพาร์ตเนอร์ที่มีใจรักจะกรีนไปด้วยกัน เพราะการทำธุรกิจกรีนๆ นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย การเข้าร่วมคอมมิวนิตี้ชาวกรีนจึงอาจช่วยให้คุณได้ไอเดียใหม่ๆ เช่น ทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์เพื่อดำเนินโครงการรีไซเคิลอย่าง Recycle Day Thailand ที่พร้อมช่วยเหลือและให้คำแนะนำในการรวบรวมกระดาษ กระดาษแข็ง พลาสติก และวัสดุอื่นๆ ในการนำไปรีไซเคิลต่อ หรือ N15 Technology ที่รับขยะกำพร้าไปเผาเป็นพลังงาน 

3. แปลงข้อมูลทั้งหมดในรูปแบบดิจิทัล เพื่อลดการใช้กระดาษ หมึกพิมพ์ ทั้งยังประหยัดพื้นที่จัดเก็บได้มาก รวมถึงเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้รวดเร็ว

4. โปร่งใสในทุกกระบวนการ เพราะผู้บริโภคในปัจจุบันพร้อมปวารนาตนให้กับแบรนด์ที่เชื่อถือได้และเปิดเผย

5. ลดการผลิตที่มากเกินไปและการสต็อกของจนล้นโกดัง ผ่านการรับฟังลูกค้า เคราะห์ความเสี่ยง และประเมินกับซัพพลายเออร์อย่างสม่ำเสมอ เผื่อลดการสร้างขยะ  

6. ตั้งเป้าเพียง 1 ข้อ ที่คิดว่าทำได้และเหมาะสมกับแบรนด์หรือบริษัท แทนการลิสต์สิ่งที่ต้องกรีนหลายๆ ข้อแล้วล้มเลิกเพราะรู้สึกยากเกินจัดการ วิธีนี้จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจค่อยๆ ปรับตัวและคุ้นชินกับเป้าหมายความกรีนได้ทีละข้อๆ โดยไม่รู้สึกท้อไปก่อน

ความยั่งยืนอาจเป็นเรื่องยากในวันนี้ แต่เมื่อได้เริ่มลงมือทำและหาพาร์ตเนอร์พร้อมเดินหน้าด้วยกัน ความยั่งยืนจะเป็นรากฐานที่ดีของทุกธุรกิจในวันหน้า วันที่ความยั่งยืนไม่ใช่ทางเลือก แต่คือทางรอดและทางออกที่เจ้าของธุรกิจต้องให้ความสำคัญ

อ้างอิง : 

Writer

กองบรรณาธิการไลฟ์สไตล์ที่มีแมวเป็นแรงผลักดันในการทำงาน

Illustrator

บรรณาธิการศิลปกรรม Email: y.pongtorn@gmail.com

You Might Also Like