นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

Pain Point

ซีรีส์ Dopesick กับประเด็นเรื่องยา ความโลภ ช่องโหว่กฎหมาย จนยาแก้ปวดโอปิออยด์ OxyContin ระบาดครั้งใหญ่

ภาพลักษณ์ของวงการแพทย์เป็นอะไรที่ซับซ้อนและเข้าถึงได้ยากสำหรับคนทั่วไป ศีลธรรมและจรรยาบรรณของแพทย์ถูกยกไว้บนหิ้งเชิดชูเป็นสิ่งสำคัญที่สุด การจ่ายยารักษาอาการเจ็บป่วยถือเป็นเป้าหมายอันสูงส่งเพื่อปกป้องชีวิตมนุษย์ แต่ในขณะเดียวกันแพทย์คือด่านหน้าของอุตสาหกรรมธุรกิจการแพทย์มูลค่าหลายแสนล้านทั้งโรงพยาบาล อุปกรณ์การแพทย์ ประกันสุขภาพและยารักษาโรค สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับองค์กรเหล่านี้ควรเป็นการรักษาและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้น แต่ความจริงบางทีก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้น บางครั้งที่เป้ากลับกลายเป็นผลกำไรและรายได้จำนวนมหาศาล สร้างผลประโยชน์ให้คนเพียงหยิบมือโดยไม่สนเลยว่าจะแลกมาด้วยหายนะของสังคม ครอบครัว และชีวิตของคนอีกหลายแสนคน

ซีรีส์ Dopesick ที่กำลังฉายอยู่ใน Disney+ ได้หยิบเอาเบื้องหลังอันน่าตกใจของอุตสาหกรรมการแพทย์ที่พึ่งพาภาพลักษณ์ของแพทย์อันน่าเชื่อถือเพื่อแนะนำการรักษา จ่ายยา และดูแลให้กับผู้ป่วยที่เต็มไปด้วยความกังวล พร้อมจะเชื่อฟังและทำตามทุกอย่างที่แพทย์บอกด้วยความไว้ใจ เรื่องราวในซีรีส์อ้างอิงถึงเหตุการณ์การระบาดของยาแก้ปวดโอปิออยด์ OxyContin ตั้งแต่ยุค 90s จนถึงปัจจุบันในอเมริกาที่ขับเคลื่อนด้วยทุนนิยม ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างผู้ช่วยให้รอดกับนักขายในการสร้างรายได้จำนวนมหาศาล ตลาดที่ผู้เคราะห์ร้ายคือผู้ป่วยที่เพียงแค่อยากกลับมาแข็งแรงเป็นปกติอีกครั้งหนึ่ง สำหรับบางคนโอกาสนั้นไม่เกิดขึ้นอีกเลย

หนึ่งในคนที่เห็นช่องว่างตรงนี้คือ อาเทอร์ แซกเลอร์ (Arthur Sackler) ชายผู้เป็นจุดเริ่มต้นของอาณาจักรผลิตยาหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐบนการทุจริตและบิดเบือนข้อมูลเพื่อหาผลประโยชน์

อาเทอร์เป็นลูกชายคนโตของผู้อพยพชาวยิวจากทวีปยุโรปที่มักมองหาโอกาสทางธุรกิจเสมอ เป็นจิตแพทย์ที่มีความสามารถ แต่สิ่งที่นำความร่ำรวยมาสู่ตัวเขากลับเป็นความสามารถทางการตลาดเสียมากกว่า ในปี 1980 บริษัท Purdue Pharma ที่สามพี่น้องจากตระกูลแซกเลอร์ได้ผลิตยาแก้ปวด MS Contin สำหรับคนไข้มะเร็งขั้นสุดท้ายที่กำลังทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวด เป็นมอร์ฟีนแบบเม็ดที่ออกฤทธิ์นานช่วยทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้เวลาช่วงสุดท้ายของชีวิตที่บ้านอย่างไม่โหดร้าย แทนที่จะต้องนอนหยอดมอร์ฟีนแบบเหลวที่โรงพยาบาล

ยาตัวนี้สร้างรายได้และความสำเร็จอย่างมากต่อ Purdue Pharma และตระกูลแซกเลอร์ก็ร่ำรวยขึ้นมาจากตรงนั้น (ซึ่งมีรายงานว่านำออกมาขายโดยยังไม่ได้รับการรับรองทางกฎหมายก่อนด้วย) หลังจากที่อาเทอร์เสียชีวิตในปี 1987 ทายาทของเขาก็ขายหุ้นให้กับพี่ชายของอาเทอร์ทั้งสองคนให้ดูแลต่อไป ซึ่งยุคต่อมาคำว่าจริยธรรมและกฎหมายแทบไม่มีความหมายสำหรับพวกเขาอีกต่อไป เมื่อริชาร์ด แซกเลอร์ (Richard Sackler) เข้ามารับช่วงต่อพยายามผลักดัน OxyContin สู่ท้องตลาดอย่างไร้ความรับผิดชอบในช่วงปี 90s ทั้งที่รู้ทั้งรู้ว่าโฆษณาเกี่ยวกับยานั้นเป็นเรื่องโกหก แต่เขาไม่สนใจเลยสักนิดว่ามันจะทำร้ายหรือสร้างผลกระทบกับสังคมแค่ไหน

OxyContin เป็นยาแก้ปวดโอปิออยด์ที่กลายเป็นต้นตอการระบาดของการใช้ยาเสพติดทั่วทั้งสหรัฐอเมริกา อย่างน้อยที่สุดมีคนเสียชีวิตจากการใช้ยาแก้ปวดโอปิออยด์อย่าง OxyContin ไปแล้วกว่า 500,000 ราย โดยจำนวนมากมาจากภูมิภาคแอปพาเลเชียที่มีอุตสาหกรรมหนักอย่างการขุดเหมืองเป็นแหล่งรายได้หลักของชาวเมือง สาเหตุที่เป็นแบบนั้นเพราะว่าคนงานขุดเหมืองเหล่านี้มักประสบอุบัติเหตุอยู่บ่อยครั้ง ทำให้เผชิญปัญหาเรื่องอาการบาดเจ็บอยู่บ่อยๆ จนกลายเป็นเป้าหมายแรกของ Purdue Pharma ในการเข้าไปเจาะกลุ่มแรงงานที่ต้องการยาระงับการเจ็บปวดเหล่านั้น

ยาแก้ปวดโอปิออยด์สร้างขึ้นมาโดยมีส่วนประกอบสำคัญคือสารโอปิออยด์เป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อตัวรับโอปิออยด์ (opioid receptor) ในสมองโดยตรง เมื่อสมองรับโอปิออยด์จะทำให้เคลิบเคลิ้ม และมีฤทธิ์ลดอาการปวด โอปิออยด์ที่ถูกนำมาใช้ทางการแพทย์ด้วยอย่างเช่นมอร์ฟีน (morphine) สามารถนำเข้าสู่ร่างกายได้ ทั้งแบบสูบ สูดทางจมูก ฉีดเข้าเส้นเลือดหรือกินทางปาก OxyContin ก็อยู่ในยาแก้ปวดกลุ่มนี้ ปัญหาอยู่ที่ Purdue Pharma บริษัทยาของครอบครัวแซกเลอร์บิดเบือนความจริง นำเสนอ OxyContin ว่าเป็นยาแก้ปวดโอปิออยด์ที่มีโอกาสเสพติดน้อยกว่า 1% สามารถใช้เป็นระยะเวลานานได้โดยมีผลข้างเคียงเพียงเล็กน้อย นั่นก็เป็นคำโกหกที่เซลส์ขายยาบอกแก่แพทย์และเภสัชกรจน OxyContin เริ่มถูกจ่ายให้กับคนไข้ที่มีอาการปวดนิดหน่อย (อย่างปวดหัวหรือปวดฟัน) กลายเป็นจุดเริ่มต้นการระบาดของวิกฤตเสพติดยาแก้ปวดโอปิออยด์ตั้งแต่ช่วงกลางของยุค 90s ที่สำคัญยาแก้ปวดโอปิออยด์เหล่านี้ยังเป็นการเบิกทางให้คนที่เสพติดหันไปหาเฮโรอีนมากขึ้นด้วย

ตระกูลแซกเลอร์ได้สร้าง OxyContin ให้กลายเครื่องผลิตรายได้หลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ แพทริก แรดเดน คีฟ (Patrick Radden Keefe) นักข่าวเชิงสืบสวนชาวอเมริกันได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้บนเว็บไซต์ The New Yorker เมื่อประมาณ 5 ปีก่อน ตอนนั้นชาวอเมริกันเริ่มแสดงความโกรธเคืองต่อครอบครัวแซกเลอร์ผู้อยู่เบื้องหลังการผลิตและจำหน่ายยาแก้ปวดโอปิออยด์ OxyContin และใช้เงินที่เปื้อนเลือดเหล่านั้นไปบริจาคเงินให้กับองค์กรการกุศลและพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ทั่วโลก (Louvre, The Metropolitan Museum of Art, Serpentine Sackler Gallery และมหาวิทยาลัยชั้นนำอื่นๆ อย่าง Harvard และ Oxford)

แพทริกเล่าถึงเบื้องหลังของครอบครัวนี้อย่างละเอียด โดยใช้หลักฐานประกอบอย่างแน่นหนาบ่งบอกว่าครอบครัวแซกเลอร์ ทราบดีว่ายา OxyContin ที่พวกเขาขายนั้นเป็นส่วนสำคัญที่ขับเคลื่อนการแพร่ระบาดของการใช้ยาแก้ปวดโอปิออยด์ที่มีสารฝิ่นในทางที่ผิดยังไงบ้าง และในความเป็นจริงพวกเขาทำการตลาดอย่างหนักเพื่อหาประโยชน์จากมันจนร่ำรวยมหาศาล จนมีเงินไปบริจาคเพื่อสร้างภาพลักษณ์ครอบครัวแซกเลอร์ผู้ใจบุญ (ใครสนใจเรื่องนี้สามารถหาอ่านได้ในหนังสือ Empire of Pain โดย แพทริก แรดเดน คีฟ เขียนไว้ดีมาก หรือถ้าดูซีรีส์ Dopesick แล้วอยากอ่านหนังสือก็ไปตามหนังสือ Dopesick ของ Beth Macy ได้ ดีไม่แพ้กัน)

ที่น่าตกใจก็คือว่าตระกูลแซกเลอร์นั้นปฏิเสธความผิดทุกอย่าง โดยเฉพาะริชาร์ดผู้นำที่อยู่เบื้องหลังบริษัท Purdue Pharma ที่ไม่แสดงความรับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากหน่วยงานกำกับดูแลที่หละหลวม ระบบสุขภาพและรักษาพยาบาลที่บกพร่อง และความโลภของกลุ่มคนจนทำให้ยาตัวนี้ถูกแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว นอกจากจะเคลมว่ามันคนไข้จะมีโอกาสเสพติดน้อยกว่าโอปิออยด์อื่นแล้ว (ซึ่งไม่จริง) พวกเขายังบอกว่าโครงสร้างของยาเป็นแบบออกฤทธิ์ช้า ซึ่งทำให้คนที่ทานไม่รู้สึกเคลิ้มทันที (high) จึงมีโอกาสน้อยที่จะถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด (ซึ่งก็ไม่จริงอีก) ผู้เสพติดบางรายใช้วิธีการบดยาเพื่อให้ตัวยาออกฤทธิ์เร็วขึ้นแล้วสูดทางจมูกเหมือนเฮโรอีน ช่วงแรกที่ทานจะแก้ปวดได้ดี แต่พอนานไปจะออกฤทธิ์สั้นลง ทำให้ต้องทานยาเพิ่มขึ้น บริษัทให้ข้อมูลกับแพทย์ว่ามันเป็นเรื่องปกติและสามารถเพิ่มโดสยาเพื่อระงับความปวดได้เพราะไม่ติดยาก (ซึ่งไม่จริง) แพทย์บางคนทั้งๆ ที่เริ่มรู้สึกถึงความรุนแรงของ OxyContin แต่ก็ยังไม่หยุดจ่าย (มีทั้งส่วนที่เชื่อคำโกหกและมีทั้งส่วนที่ได้ผลประโยชน์) บริษัทถึงขั้นมีมีลิสต์ของแพทย์ที่จ่าย OxyContin เกินความพอดีไว้ในมือ แต่ไม่เคยมีคนไปแจ้งหรือควบคุมการจ่ายยาของแพทย์เหล่านี้เลย ส่วนแพทย์เองก็จะได้รับการประคบประหงมอย่างดี พาไปงานเลี้ยง ทานข้าว พักผ่อน เพื่อให้เซลส์สามารถเข้าถึงตัวแพทย์และขาย OxyContin ได้มากขึ้น ส่วนเซลส์ขายยานอกจากจะได้คอมมิชชั่นสูงจากยอดขายแล้ว บริษัทยังจัดการแข่งขันภายในเพื่อหาเซลล์ที่ทำยอดขายได้มากที่สุดเพื่อชิงรางวัลใหญ่อย่างทริปเดินทางไปพักผ่อนต่างประเทศอีกด้วย

แม้จะมีรายงานเกี่ยวกับการเสพติดยา OxyContin มากมายแค่ไหน ริชาร์ดก็โต้กลับไปเหมือนเดิม

“ยาไม่ใช่ปัญหา ปัญหาคือเพราะคนที่ใช้ยาผิดวิธีต่างหาก”

Purdue Pharma สร้างรายได้จาก OxyContin ราวๆ 35,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ระหว่างที่บริจาคเงินให้กับองค์กรการกุศลเพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับครอบครัวเล็กๆ น้อยๆ พวกเขาก็ไปซื้อคฤหาสน์ทั่วยุโรปและสหรัฐอเมริกา มันเป็นความบกพร่องของระบบสาธารณะสุข อาจจะมาจากความละเลยในหน้าที่หรือผลประโยชน์บางอย่างส่วนตัว ในหนังสือของแพทริกรายงานเอาไว้ด้วยว่าเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ที่ดูแลเรื่องการอนุมัติ OxyContin ใช้เวลาสั้นมากเพียงแค่ 11 เดือนเท่านั้น พอยาถูกปล่อยสู่ตลาด ก็ลาออกจาก FDA แล้วหนึ่งปีต่อมาก็มาทำงานที่ Purdue Pharma โดยมีรายได้ 400,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี (ราวๆ 14 ล้านบาท) หรืออย่างอีกเหตุการณ์หนึ่งที่อัยการของรัฐบาลกลางเรียกผู้บริหารของ Purdue Pharma มาเข้าพบเพราะตอนนี้จำนวนคนที่เสพติดยาแก้ปวดเยอะขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นประเด็นระดับประเทศ ผู้บริหารของ Purdue Pharma ยอมรับว่า OxyContin แบบเม็ดขนาด 160 มก. รุนแรงมากพอที่จะทำให้เด็กเสียชีวิตได้ แต่หลังจากนั้นไม่นาน อัยการดังกล่าวตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งมารับงานเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัท Purdue Pharma แทน

แม้ว่าจะพยายามปกปิดและหลบเลี่ยงความผิดมาโดยตลอด แต่สุดท้ายกฎหมายที่ถูกขับเคลื่อนโดยสังคมและครอบครัวผู้เสียหายก็เริ่มมีหลักฐานมากพอเพื่อจะฟ้องร้องบริษัทได้ ในปี 2007 ที่ศาลรัฐเวอร์จิเนีย Purdue Pharma ยอมรับว่าโกหกเกี่ยวกับศักยภาพในการเสพติดของ OxyContin โดนปรับ 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่มันก็เป็นเพียงรอยข่วนเล็กๆ ไม่ได้สะทกสะท้าน หลังจากนั้นก็ขายยาเหมือนปกติต่อไป แต่ก็เจอการต่อต้านและถูกฟ้องอยู่เรื่อยๆ มาโดยตลอด จนกระทั่งเมื่อปี 2019 ที่เริ่มเจอข้อหาและหลักฐานที่มัดแน่นเอาผิดมากขึ้น ครอบครัวแซกเลอร์ตัดสินใจโยกเงินของครอบครัวออกจากบริษัทไปไว้ในธนาคารต่างชาติและยื่นล้มละลาย Purdue Pharma ทันที ซึ่งถ้าทำสำเร็จได้ก็หมายความว่าจะไม่มีใครสามารถเอาผิดและปรับสมาชิกในครอบครัวของพวกเขาได้เลย 

ในรายงานล่าสุดจากหนังสือพิมพ์ The New York Times เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2022 บอกว่าได้มีการตกลงจ่ายค่าปรับจากตระกูลแซกเลอร์เป็นเงินราวๆ 6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อนำไปช่วยเป็นค่าใช้จ่ายสนับสนุนให้กับองค์กรและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ OxyContin ส่วนตัวของสมาชิกครอบครัวแซกเลอร์จะไม่มีใครถูกเอาผิดทั้งที่ผ่านมาและในอนาคตเกี่ยวกับเรื่องการระบาดของยาแก้ปวดโอปิออยด์อีก (แต่ไม่ได้ครอบคลุมถึงการดำเนินคดีอาญา)

จริงอยู่ว่าการเมินเฉยต่อกฎหมายและความโลภของครอบครัวแซกเลอร์ทำให้ความเสียหายบานปลายมาจนถึงตอนนี้ แต่เรื่องราวของ OxyContin เป็นเพียงมุมหนึ่งของปัญหาระบบสาธารณะสุขของประเทศทุนนิยมทั่วโลกที่ใช้ผลประโยชน์เป็นตัวขับเคลื่อนกลไกการทำงาน (มองไปรอบๆ ตัวจะรู้ว่าไม่ใช่แค่อเมริกา) ใช้ช่องว่างระหว่างการเป็นผู้ช่วยให้รอดกับนักขายของแพทย์เพื่อโอกาสสร้างรายได้อันแปดเปื้อน เพราะฉะนั้นตราบใดที่กฎหมายยังมีช่องโหว่ อุตสาหกรรมการแพทย์ยังคงสร้างรายได้มหาศาล มนุษย์ยังมีความโลภ เรื่องราวของ OxyContin ตัวต่อไปก็ยังมีโอกาสที่จะเกิดขึ้น เปลี่ยนก็เพียงแต่ตัวยา ตัวละคร และความเสียหายที่รุนแรงมากแค่ไหนเพียงเท่านั้น

อ้างอิง

www.theguardian.com/books/2021/may/13/empire-of-pain-review-by-patrick-radden-keefe-the-dynasty-behind-an-opioid-crisis?CMP=Share_iOSApp_Other

www.youtube.com/watch?v=3ezLg1fL_jQ

www.ft.com/content/1db7800f-78d5-474e-9b1e-744b1c1a837c?fbclid=IwAR3LHcZ5NvbWoEUvE0CkHJMYGvhNZVuria9Bk12tpSyjyarkHl3Pm3kydFc

www.theguardian.com/us-news/2021/mar/16/purdue-pharma-10bn-opioid-settlement-plan-bankruptcy-sackler-family

www.nytimes.com/2022/03/03/health/sacklers-purdue-oxycontin-settlement.html

www.nytimes.com/2019/09/19/health/purdue-sackler-opioid-settlement.html

Tagged:

Writer

คุณพ่อลูกหนึ่งจากเชียงใหม่ที่รักการเขียน การอ่าน และการดองหนังสือเป็นชีวิตจิตใจ หลงใหลเรื่องราวที่สร้างแรงบันดาลใจและเป้าหมายการทำงานที่เป็นมากกว่าแค่ผลกำไรและทำงานหนักจนลืมความหมายของการมีชีวิตอยู่

You Might Also Like