นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

Coffee Crisis

ภาวะโลกเดือดอาจทำกาแฟเสี่ยงเจอวิกฤต ผลผลิตอาจลดลงและราคาพุ่งจนเกินต้าน

กาแฟเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญและเป็นเครื่องดื่มที่มีการบริโภคมากเป็นอันดับ 2 ของโลก ในขณะที่ดูเผินๆ เหมือนจะเต็มไปด้วยโอกาสและแสงสว่างส่องทางข้างหน้า แต่อุตสาหกรรมกาแฟกลับกำลังเผชิญความเปราะบางและท้าทายเมื่อโลกเผชิญวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่ไม่ใช่เรื่องง่ายจะแก้ไขด้วยใครคนใดคนหนึ่ง

เหตุผลที่ทำให้เราหยิบประเด็นนี้มาพูดถึงอีกครั้งเพราะในเดือนกรกฎาคม ปี 2023 ที่ผ่านมา อุณหภูมิโลกสูงขึ้นและร้อนขึ้นเป็นประวัติการณ์  โดยกรกฎาคมกลายเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดในรอบ 120,000 ปี และถูกประกาศว่ายุคโลกร้อนได้สิ้นสุดลง และยุคแห่งความเดือดทั่วโลกได้มาถึงแล้ว

แล้ววิกฤตสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปเกี่ยวยังไงกับอุตสาหกรรมกาแฟทั่วโลก? 

ปีที่ผ่านมาหลายคนคงได้เห็นข่าวผ่านตามาบ้างว่าเกาหลีใต้เจอวิกฤตกิมจิ เนื่องจากผักกาดปลูกได้น้อยลงเพราะสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้กิมจิราคาแพงขึ้น ซึ่งกาแฟเองก็กำลังค่อยๆ ก้าวเข้าสู่ชะตากรรมเดียวกัน ด้วยอุณภูมิโลกที่เดือดขึ้นและสภาวะโลกรวนที่เกิดขึ้นตอนนี้ ทำให้ผลผลิตกาแฟทั่วโลกผลิตได้น้อยลง โดยเฉพาะกาแฟสายพันธุ์อาราบิก้า

งานศึกษา A Systematic Review on the Impacts of Climate Change on Coffee Agrosystems บอกว่า แม้กาแฟอาราบิก้าจะมีการปลูกอยู่ทั่วโลกและปลูกเป็นจำนวนมากที่สุดเมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่น แต่หากเทียบกับโรบัสต้าที่รองลงมา อาราบิก้าก็ยังเป็นสายพันธุ์ที่ไวต่อปัจจัยด้านสภาพอากาศมากที่สุด 

อาราบิก้าจะให้ผลผลิตที่ดีทั้งคุณภาพ กลิ่น และรสชาติก็ต่อเมื่อปลูกในสภาพอากาศ 18-20 องศา แต่ถ้ากระโดดไปถึง 23 องศา มันจะโตเร็วเกินไปและให้ผลผลิตเร็วเกินไป ซึ่งเป็นผลเสียต่อคุณภาพกาแฟ แม้โรบัสต้าจะทนต่อสภาพภูมิอากาศได้ดี แต่ก็ใช่ว่าจะไม่ได้รับผลกระทบ เพราะตั้งแต่ปี 2022-2024 กรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์ว่าเวียดนามจะเจอกับปรากฏการณ์เอลนีโญ อันเป็นภัยคุกคามสำคัญที่ส่งผลต่อการผลิตพืชผล

นอกจากนี้ รายงาน A Brewing Storm: The Climate Change Risks to Coffee ของ The Climate Institute ปี 2018 ยังระบุอีกว่า อุณหภูมิและปริมาณน้ำฝนที่สูงขึ้นได้เพิ่มอัตราการเกิดโรคและแมลงศัตรูพืช ซึ่งส่งผลต่อผลผลิตและคุณภาพของกาแฟ และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อไปไม่ใช่แค่ปัญหาของคุณภาพหรือผลผลิตกาแฟ แต่ยังนับรวมสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้ผลิต คนงาน และชุมชนด้วย

อนาคตจึงมีแนวโน้มว่าเครื่องดื่มที่เราดื่มกันทุกวันเป็นกิจวัตรนี้ นอกจากจะหาดื่มได้ยากแล้วก็จะมีราคาสูงขึ้นด้วย ยิ่งในวันที่การบริโภคกาแฟมีมากกว่าผลผลิตที่ทำได้ ก็ยิ่งชวนให้กังวลถึงวิกฤตที่กำลังจะเกิดขึ้นในเวลาอันใกล้ ปัญหา climate change จึงไม่เพียงส่งผลต่อน้ำแข็งขั้วโลก ไฟป่า หรือระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น แต่มันกำลังส่งผลต่อความมั่นคงทางด้านอาหารของมนุษย์ทั่วโลก 

ที่ผ่านมาอุณหภูมิในแต่ละพื้นที่ทั่วโลกที่ปลูกกาแฟสูงขึ้น และมันส่งต่อผลผลิตกาแฟยังไง ขอชวนไปย้อนไทม์ไลน์ดูผลกระทบของสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อการปลูกกาแฟของเกษตรกรในแต่ละปี โดยจะเริ่มตั้งแต่ปี 1960 

  • ระหว่างปี 1960-2006 ที่เอธิโอเปียมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้น 1.3 องศาเซลเซียส – เม็กซิโก กัวเตมาลา และฮอนดูรัส อุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้น 1 องศาเซลเซียส และตั้งแต่ปี 1980 ปริมาณน้ำฝนก็เปลี่ยนแปลง โดยลดลงถึงร้อยละ 15%
  • เริ่มตั้งแต่กลางปี 1990 ปริมาณน้ำฝนที่ลดลงส่งผลต่อการผลิดอกออกผลของกาแฟของเกษตรกรนิการากัวเช่นกัน 
  • ปี 1960-2011 ประเทศแทนซาเนียมีผลผลิตลดลงประมาณ 137 กิโลกรัมต่อเฮกเตอร์ ทุกๆ 1 องศาที่เพิ่มขึ้น 
  • ปี 2001 เป็นต้นมา อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียสยังกระตุ้นให้เกิดการระบาดของวัชพืชอย่างมอด (Hypothenemus hampei) ที่มาเจาะเมล็ดกาแฟจนเสียหาย 
  • ปี 2012 หลังจากมีอุณหภูมิสูงผิดปกติและปริมาณน้ำฝนในพื้นที่ก็สูงขึ้น ทำให้ที่อเมริกากลางเผชิญกับโรคราสนิมของกาแฟ (Coffee Leaf Rust) ส่งผลให้พืชผลสูญเสียไปกว่า 50% คิดเป็นมูลค่ากว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีแรงงานถูกเลิกจ้างอีกกว่า 350,000 คน นอกจากนั้น ในกัวเตมาลา เกษตรกรบางรายก็ได้สูญเสียพืชผลด้วยปัญหาเดียวกันถึง 85%
  • ปี 2021 บราซิลเคยเจอกับภัยแล้งและน้ำค้างลงจนปลูกกาแฟไม่ได้ และทำให้ปีนั้นไม่ได้ผลผลิตเลย 

นอกจากผลกระทบที่เกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมา วิกฤตสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปยังคงจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงอนาคต และมีแนวโน้มว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยเฉพาะพื้นที่ที่เหมาะสมในการเพาะปลูกกาแฟส่วนใหญ่ของนิการากัว จะสูญหายไปภายในปี 2050 และภายในปี 2060 ผลิตผลของอาราบิก้าที่ปลูกที่แทนซาเนียก็จะได้น้อยลง หรือเรียกได้ว่าตกต่ำจนถึงขั้นวิกฤต

หากไม่ทำอะไรสักอย่างเกี่ยวกับปัญหา climate change พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกกาแฟอาจลดลงครึ่งหนึ่งภายในไม่กี่ทศวรรษ และภายในปี 2080 กาแฟป่าที่เป็นทรัพยากรพันธุกรรม (genetic resource) ที่สำคัญสำหรับเกษตรกรอาจจะสูญพันธุ์ในที่สุด

แม้จะมีคำเตือนออกมาให้ได้เห็นกันอยู่เนืองๆ และมนุษยชาติต่างก็แก้บ้างไม่แก้บ้าง แต่จนถึงตอนนี้ปัญหาสภาพภูมิอากาศก็ยังไม่มีทีท่าจะดีขึ้น เราจะเจอกับวิกฤตทางอาหาร ต้องเผชิญกับปัญหาฝุ่นควัน และบางวันก็ต้องทนร้อนระอุ เมื่อโลกเข้าสู่ยุคโลกเดือด หรือ global boiling เช่นนี้ อาจตอกย้ำแล้วว่าเราคงจะกลับไปสู่จุดเดิมไม่ใช่เรื่องง่าย ยุคโลกเดือดจึงไม่ใช่ยุคที่เราต้องปรับตัวกันอีกต่อไปแล้ว แต่คือยุคที่เราต้องเร่งแก้ปัญหาความร้อนที่ค่อยๆ ระอุขึ้น ไม่เช่นนั้นมันอาจจะระเบิดได้ในท้ายที่สุด

อ้างอิง

You Might Also Like