นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

มองการณ์ไก่

วิกฤตข้าวมันไก่ในสิงคโปร์ และเหตุผลที่ว่าทำไมคนสิงคโปร์จึงรักเมนูนี้

ก เอ๋ย ก ไก่

ถ้าคิดถึงต้มยำกุ้งคิดถึงประเทศไทย นึกถึงครัวซองต์เมื่อไหร่ต้องคิดถึงฝรั่งเศส เมื่อเอื้อนเอ่ยถึงอาหารบางชนิดเหมือนจิตใจของเรามักจะผูกโยงเข้ากับประเทศใดประเทศหนึ่งที่เป็นที่เลื่องชื่อลือชาของอาหารชนิดนั้นๆ เสมือนกับว่ามันเป็นทูตวัฒนธรรมประจำประเทศ ข้าวมันไก่สิงคโปร์

สำหรับ ‘ข้าวมันไก่’ คงไม่มีประเทศไหนถูกพูดถึงชื่อเมนูนี้ไปมากกว่า ‘สิงคโปร์’ หรือที่เราชอบเรียกกันติดปากในหมู่คนไทยจนกลายเป็นชื่อเมนูไปแล้วว่า ‘ข้าวมันไก่สิงคโปร์’ ทั้งที่จริงแล้วเมนูนี้เป็นเมนูที่ได้รับอิทธิพลมาจากมณฑลหนึ่งในจีนที่ชื่อว่า ไห่หนาน (หรือไหหลำ) จนเมนูข้าวมันไก่มีชื่อเรียกกันอย่างแพร่หลายในภาษาจีนว่า 海南鸡饭 หรือที่แปลเป็นภาษาอังกฤษคือ Hainanese Chicken Rice แต่เมื่อเดินทางมาถึงเมืองไทยเรากลับไม่นิยมเรียกถึงมันว่า ‘ข้าวมันไก่ไหหลำ’ แต่กลับเรียกกันอย่างแพร่หลายว่า ‘ข้าวมันไก่สิงคโปร์’ ถึงแม้ว่าในรายละเอียดแล้ว ข้าวมันไก่ที่จีน ไทย หรือที่สิงคโปร์จะมีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยตามแต่ละตำรับที่ตกทอดและดัดแปลงกันมา แต่สิ่งที่แชร์ร่วมกันของอาหารจานนี้คือ ตัวชูโรงของมันเป็นข้าวและไก่ (อาจจะนับรวมลีลาของน้ำจิ้มอันหลากหลายที่กินแกล้มกันเข้าไปด้วยก็ได้)

ข้าวมันไก่ : ฟาสต์ฟู้ดประจำชาติสิงคโปร์

ข้าวมันไก่ถือเป็นเมนูที่คนสิงคโปร์รักและหลงใหลจนเป็นอาหารที่มีร้านขายอยู่ทั่วประเทศ หากินง่าย ซื้อได้ตาม hawker Centre (ศูนย์รวมขายอาหารแบบพื้นที่เปิดโล่ง) และ ฟู้ดคอร์ตของห้างสรรพสินค้าในสิงคโปร์

สำนักข่าว BBC, CNN และ NBC เคยทำสกู๊ปข่าวโดยลงไปสำรวจว่า เพราะเหตุใดคนสิงคโปร์จึงรักข้าวมันไก่เสียจนเมนูนี้ได้รับการขนานนามว่าเป็นเมนูประจำชาติของสิงคโปร์ เหตุผลส่วนใหญ่รวบรวมได้ความว่าเพราะเป็นเมนูที่ ‘อร่อย ราคาถูก เข้าถึงง่าย’ อาจจะด้วยเทคนิคการหุงข้าวให้หอมนุ่มและเทคนิคการทำเนื้อไก่ให้นุ่มชุ่มฉ่ำเต็มปากเต็มคำเมื่อตักกิน บวกกับซอสพริกเผ็ด และขิงบดละเอียดตัดเลี่ยนที่เสิร์ฟมาพร้อมกับข้าวมันไก่ เหนือสิ่งอื่นใด นี่คืออาหารที่กินสะดวกในเวลาเร่งด่วน และอาจจะถือเป็นฟาสต์ฟู้ดที่มีองค์ประกอบลงตัวสำหรับชาวเอเชียที่นิยมกินข้าวมากกว่าขนมปัง ทำให้ข้าวมันไก่เป็นเสมือนหนึ่งในอาหารประจำชาติของคนสิงคโปร์

ข้าวมันไก่สิงคโปร์

ร่ำรวยด้วยเงินทอง แต่ยากแค้นด้วยพื้นที่

สิงคโปร์ถือเป็นประเทศที่มั่งคั่งด้วยทรัพย์สินมากที่สุดประเทศหนึ่งของเอเชีย แต่กลับเป็นประเทศที่ขาดแคลนในเชิงพื้นที่ใช้สอยและเกษตรกรรม

สถิติของ Singapore Food Agency (SFA) มากกว่า 90% ของอาหารที่บริโภคในสิงคโปร์ถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งสิงคโปร์เองพยายามเพิ่มการนำเข้าอาหารมาจากหลากหลายประเทศให้มากขึ้นทุกปี เพื่อความมั่นคงทางอาหารให้กับประชากร จาก 172 ประเทศ (ปี 2019), 175 ประเทศ (ปี 2020) จนมาถึงปี 2021 ที่สามารถเพิ่มการนำเข้าจากหลากหลายประเทศจนเป็น 180 ประเทศ

ปี 2021 สิงคโปร์นำเข้าเนื้อไก่ทั้งหมด 214,300 ตัน โดยเนื้อไก่ 48% นำเข้ามาจากบราซิล, 34% มาจากมาเลเซีย, 8% มาจากสหรัฐอเมริกา และอีก 10% มาจากประเทศอื่นๆ รวมทั้งประเทศไทยด้วย แต่ดูเหมือนกับว่า ไก่จากมาเลเซียดูจะเป็นไก่ที่ได้รับความนิยมจากพ่อค้าแม่ค้าขายข้าวมันไก่ในสิงคโปร์มากที่สุด ด้วยเพราะการขนส่งที่ไม่ไกลมากจนเกินไปนัก ทำให้การขนไก่จากมาเลเซียมายังสิงคโปร์สามารถขนส่งได้ในสภาวะที่ไก่ยังมีชีวิตอยู่ แล้วมาชำแหละกันที่สิงคโปร์

ไก่สด vs ไก่แช่แข็ง

หมูมวลนักชิมและเชฟผู้เชี่ยวชาญคงจะทราบดีว่าเนื้อสัตว์ที่ชำแหละสดๆ แล้วถูกส่งตรงไปปรุง กับเนื้อสัตว์ที่แช่แข็งก่อนแล้วนำไปปรุง ย่อมให้รสสัมผัสที่แตกต่างและเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ด้วยศักดิ์ศรีที่แบกรับอยู่บนบ่าของการมีข้าวมันไก่เป็นอาหารประจำชาติทำให้ ไก่ที่ส่งตรงจากมาเลเชีย และถูกนำมาชำแหละผ่านเขียงของสิงคโปร์ ก่อนถูกส่งตรงมาสู่พ่อค้าแม่ค้าขายข้าวมันไก่ เป็นไก่ที่เป็นบรรทัดฐานที่พ่อค้าแม่ค้าข้าวมันไก่ในสิงคโปร์ยอมรับได้โดยดุษณี

แล้วเหตุการณ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดก็เกิดขึ้น ทั้งในแง่การสูญเสียชีวิต มิตรภาพ และผลกระทบที่เกิดขึ้นเป็นวงกว้างจากสงครามยูเครน-รัสเซีย รวมถึงการขาดแรงงานและกำลังการผลิตทางการเกษตรและอุตสาหกรรมจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งหมดทั้งมวลทำให้เกิดสภาวะการขาดแคลนอาหารและการขนส่งต้องหยุดชะงัก มาเลเซียมีนโยบายหยุดการส่งออกไก่ไปยังสิงคโปร์ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหาร (โดยเฉพาะไก่) ในประเทศซึ่งส่งผลให้ไก่มีราคาแพงขึ้น

แล้วคนขายข้าวมันไก่ในสิงคโปร์จะทำยังไงกันล่ะคราวนี้?

ข้าวมันไก่สิงคโปร์

วิกฤตข้าวมันไก่ของชาวสิงคโปร์

ทางออกง่ายที่สุดที่ในหัวใจของคนขายข้าวมันไก่ในสิงคโปร์ต่างรู้ดีแก่ใจ แต่ไม่อยากจะพูดมันออกมา คือการใช้ไก่แช่แข็งมาแทนที่ไก่ (เป็นๆ) นำเข้าจากมาเลเซีย แม้ว่าจะเป็นทางออกที่ไม่ถูกใจเท่าไหร่ แต่ก็ดูเหมือนกับว่าจะเป็นเพียงทางออกเดียวในการแก้สถานการณ์ไก่ขาดตลาด ณ เดือนมิถุนายน 2022 ราคาไก่ 1 ตัวอยู่ที่ 3 ดอลลาร์สหรัฐ และเป็นที่คาดการณ์ว่าราคาไก่น่าจะสูงขึ้นเป็นตัวละ 4-5 ดอลลาร์สหรัฐในเร็ววันนี้

คุณ Mohammad Jalehar พ่อค้าขายข้าวมันไก่ในตลาดสดสิงคโปร์วัย 50 ให้สัมภาษณ์กับ CNN ว่า

“คนขายไก่บอกผมให้เตรียมรับมือกับราคาไก่ที่จะสูงขึ้น ไก่ 1 ตัวอาจจะราคามากขึ้นอีก 1 ดอลลาร์สหรัฐ แล้วถ้าผมซื้อไก่ 100 ตัว ผมจะเอาเงินที่ไหนไปจ่ายเพิ่มล่ะครับ ลูกค้าจะรับได้เหรอถ้าผมขึ้นราคา”

ทาง BBC เขียนถึงสถานการณ์การระงับการส่งออกไก่จากมาเลเซียถึงสิงคโปร์ว่า มาเลเซียคงจะระงับการส่งออกไก่ไปยังสิงคโปร์จนกว่าราคาไก่ในประเทศ (มาเลเซีย) จะทรงตัวมากกว่านี้ ระหว่างนั้นสิงคโปร์อาจจะต้องใช้ไก่แช่แข็งไปก่อน แถมผู้นำประเทศอย่าง ลี เซียนลุง นายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ก็ออกมาพูดถึงสถานการณ์นี้อย่างจริงใจกับประชาชนว่า

“ครั้งนี้คือไก่ ครั้งต่อไปอาจจะเป็นอย่างอื่น พวกเราต้องเตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์เช่นนี้”

จากเคยใช้ไก่สดต้องเปลี่ยนมาเป็นไก่แช่แข็ง แถมสถานการณ์อาหารและการขนส่งของโลกก็ดูขัดข้องเพราะสงครามกับโรคระบาด หมายความว่านอกจากเหล่าพ่อค้าแม่ค้าขายข้าวมันไก่จำเป็นต้องใช้ไก่แช่แข็งเพราะสถานการณ์บังคับ ยังจำต้องเพิ่มราคาขายข้าวมันไก่ขึ้น แล้วพวกเขามีความเห็นยังไงบ้างหากจำต้องใช้ไก่แช่แข็ง แถมอาจจะยังต้องเจอกับสถานการณ์ไก่ราคาแพงอีก

เจ้าของร้านข้าวมันไก่ Tian Tian Hainanese Chicken Rice หนึ่งในร้านข้าวมันไก่ชื่อดังที่สุดร้านหนึ่งของสิงคโปร์บอกกับ CNN ว่า ในสถานการณ์ที่ไก่เป็นของหายากเช่นนี้ ทางร้านจะดำเนินการขายข้าวมันไก่ต่อไป แต่จะหยุดขายเมนูอื่นที่ต้องใช้ไก่เป็นวัตถุดิบไปก่อน จนกว่าสถานการณ์เนื้อไก่จะดีขึ้น

คุณ Lim Wei Keat เจ้าของร้านข้าวมันไก่ Ah Keat Chicken Rice บอกกับ BBC ว่า “การใช้ไก่แช่แข็งมาทำข้าวมันไก่อาจจะมีกลิ่นช่องแช่แข็งหรือเนื้อสัมผัสมันอาจจะต่างออกไป แต่พูดตรงๆ ผมว่ามันก็ไม่ได้ต่างมากขนาดนั้น ตอนพวกเรากินไก่ในร้านฟาสต์ฟู้ด มันก็อร่อยดีนี่ครับ”

มาดาม Tong แม่ค้าขายข้าวมันไก่ร้านดังอีกแห่งหนึ่งในสิงคโปร์ Katong Mei Wei Boneless Chicken Rice พูดกับนักข่าว CNN หลังจากนักข่าวถามว่า มีความเห็นอย่างไรบ้างหากต้องใช้ไก่แช่แข็งในการทำข้าวมันไก่ เธอให้สัมภาษณ์แบบยังยิ้มได้กับสถานการณ์นี้ว่า

“ไก่แช่แข็ง? คุณหวังอยากจะให้เราทำข้าวมันไก่จากไก่แช่แข็ง? มันจะไม่อร่อยเอานะ” มาดาม Tong พูดพลางหัวเราะปิดท้ายด้วยประโยคสัพยอกว่า

“ถ้าเป็นอย่างนั้น ถ้าคุณแฮปปี้กับคุณภาพ (ของข้าวมันไก่) แบบนั้นน่ะ คุณไปกินข้าวมันไก่ที่มาเลเซียเอาก็ได้ lah”

สิงคโปร์ ประเทศที่มั่งคั่งทางเศรษฐกิจและการเงินประเทศหนึ่งของเอเชีย แถมยังเป็นประเทศที่ดูน่าชื่นชมในการบริหารจัดการสถานการณ์อย่างโควิด-19 เมื่อต้องเผชิญสถานการณ์วิกฤตข้าวมัน ลี เซียนลุงและทีมงานจะจัดการกับปัญหารสชาติของปากท้องอย่างวิกฤตข้าวมันไก่ที่เกิดขึ้นยังไง นั่นคือสิ่งที่เราต้องติดตามกันต่อไป

อ้างอิง

bbc.com

edition.cnn.com

nbcnews.com

sfa.gov.sg

Writer

อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย หญิงสาวผู้หลงรักอาหาร และโฮสต์รายการพอดแคสต์ชื่อ 'Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว'

You Might Also Like