นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

ทำไมแบรนดิ้งไม่เคยเอาต์? จากกระแสสมูตตี้เฉียดพันบาท สู่ Plantiful ที่ว่ากันว่าคือ Erewhon เมืองไทย 

หนึ่งในกระแสที่คนในช่องทางโซเชียลมีเดียยังคงพูดถึงเรื่อยๆ คือกระแสสมูตตี้ราคาเฉียดพันที่ดาราดังทั้งไทยและเทศต่างไปเจิม สมูตตี้ที่ว่าคือสมูตตี้จากห้างสรรพสินค้าที่ได้รับการขนานนามว่าขายสินค้าราคาแพงอย่าง Erewhon 

กระแสที่มาแรงแบบไม่ยอมซาทำเอาชาวไทยที่ยังไม่มีโอกาสเหยียบแผ่นดินแห่งเสรีภาพอย่างอเมริกาต้องตามหากันให้ควั่กว่าในเมืองไทยนั้นมีสมูตตี้ตัวตายตัวแทน Erewhon บ้างหรือเปล่า และ Plantiful คาเฟ่และร้านอาหารสุขภาพที่เน้นเสิร์ฟเมนู plant-based ของ ‘พริม–พริมา ภัทโรพงศ์’ เป็นหนึ่งในร้านที่ถูกเลือก 

จาก Erewhon สู่ Plantiful ความออร์แกนิกแบบพรีเมียม

Erewhon คือซูเปอร์มาร์เก็ตออร์แกนิกที่ขายสารพัดของใช้ออร์แกนิกที่ได้ตรารับรองมาตรฐาน นั่นทำให้ราคาสินค้าของ Erewhon สูงกว่าราคาสินค้าลักษณะเดียวกันในร้านอื่นๆ 4-5 เท่า 

ที่จริงแล้ว Erewhon ก่อตั้งขึ้นในปี 2539 โดยผู้อพยพชาวญี่ปุ่น Michio และ Aveline Kushi เน้นขายอาหารจากธรรมชาติ ก่อนที่ Tony Antoci และ Josephine สองสามีภรรยาจะเข้าซื้อกิจการในปี 2554 และได้รับความนิยมอย่างมากตั้งแต่ช่วงโควิด-19 จนพลิก Erewhon ให้เป็นซูเปอร์มาร์เก็ตราคาแพงที่สร้างรายได้ประมาณ 900,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อสัปดาห์ 

หนึ่งในเมนูที่สร้างเสียงฮือฮาให้ชาวโลกคือสมูตตี้ของ Erewhon ที่มีราคาตั้งแต่ 11-20 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 400-800 บาท ที่ไม่เพียงการันตีว่าดีต่อสุขภาพ แต่ยังร่วมมือกับดาราเซเลบมากมายให้มาครีเอตเมนูพิเศษที่ชวนให้ใครๆ ก็อยากลองชิม เช่น เมนูจาก Hailey Bieber ในราคา 17 ดอลลาร์สหรัฐ หรือจะเป็นเมนูพิเศษจาก Olivia Rodrigo ในราคา 18 ดอลลาร์

กลับมาที่ Plantiful ของไทยกันบ้าง ผู้ก่อตั้งอย่างพริมจบคอร์ส Raw Food Plant-based Level 1&2 จากลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อนเปิดร้าน Plantiful แห่งแรกย่านสุขุมวิท 61 ที่เน้นเสิร์ฟเมนูจากวัตถุดิบธรรมชาติที่ปราศจากคอเลสเตอรอล แคลอรีต่ำ ทั้งยังไม่ใช้เนื้อสัตว์จากพืชที่ผ่านการแปรรูปที่เต็มไปด้วยสารปรุงแต่งรส สีผสมอาหาร และโซเดียม 

หนึ่งในเมนูที่ทำให้ Plantiful เป็นที่พูดถึงในช่วงนี้คือเมนูสมูตตี้ที่ทั้งสีสันและการเสิร์ฟให้มู้ดคล้ายสมูตตี้ Erewhon มาก แต่เริ่มต้นที่แก้วละร้อยกว่าบาทถึงสองร้อยกว่าบาทเท่านั้น

เทรนด์อาหารสุขภาพ VS บทเรียนแบรนดิ้งที่ทุกธุรกิจต้องโฟกัส

จุดร่วมของ Erewhon และ Plantiful คือการนำเสนอวัตถุดิบธรรมชาติที่มีคุณภาพระดับพรีเมียม ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของ Innova market Insight พบว่าผู้บริโภคหนึ่งในสามทั่วโลกมักจะดูส่วนผสมก่อนช้อปหรือชิมเสมอ ทั้ง GITNUX MARKETDATA REPORT 2024 ยังพบว่า 60% ของชาวมิลเลเนียลมองหาอาหารที่ปรุงจากวัตถุดิบออร์แกนิก และอีก 40% นั้นพิจารณาสินค้าจากฉลากที่รับรองว่าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สัตว์ และถูกจริยธรรมเท่านั้น 

เทรนด์อาหารที่ดีต่อสุขภาพอาจเป็นหนึ่งในปัจจัยของกระแสสมูตตี้นี้ แต่ถ้าพิจารณาจากสิ่งที่ชาวโซเชียลพูดถึงทั้ง Erewhon และ Plantiful นั้นอาจกลับไปที่จุดตั้งต้นของการสร้างธุรกิจ นั่นคือการพัฒนาแบรนดิ้งให้แข็งแกร่ง ได้แก่

1. คอนเซปต์ชัด : ที่จริงแล้วสิ่งที่สองสามีภรรยาที่เข้ามารับช่วงต่อไม่ได้กำลังเปิดร้านขายของชำออร์แกนิก แต่กำลังสร้างร้านแบรนด์เนมอีกร้านหนึ่งจนเป็นสัญลักษณ์แห่งไลฟ์สไตล์ที่เซเลบเข้าถึงได้ และใครหลายคนปรารถนา เหมือนกับ Louis Vuitton หรือ Hermès 

2. กลุ่มลูกค้าถูกต้อง : ถ้าดูในแอ็กเคานต์อินสตาแกรมของร้านจะเห็นว่าผู้ติดตามคือกลุ่มประชากรหญิงกว่า 80% มีอายุระหว่าง 30-45 ปี ส่วนใหญ่อยู่ในแอลเอหรือนิวยอร์ก มักทำอาชีพเชฟ โค้ชกีฬา ตัวแทนอสังหาริมทรัพย์ นักออกแบบแฟชั่น ส่วนใน TikTok ผู้ติดตามของ Erewhon เป็นผู้หญิง 81% แต่มีอายุระหว่าง 20-28 ปี ชื่นชอบเสื้อผ้า ดนตรี การแต่งหน้า การท่องเที่ยว และได้รับอิทธิพลจาก Kendall Jenner, Hailey Baldwin, Rihanna และ Chrissy Teigen

ส่วน Plantiful นั้น แม้ไม่ได้เน้นตอบโจทย์กลุ่มคนรายได้สูงอย่างโจ่งแจ้ง แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าคนที่จะเข้าถึงอาหารสุขภาพราคาสองสามร้อยบาทขึ้นไปได้ทุกมื้อคงมีไม่มากนัก 

3. ปักหมุดทำเลทอง : Erewhon เน้นขยายสาขาไปยังย่านที่มีรายได้สูง เช่น Beverly Hills ที่มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนมากกว่า 116,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ต่อประชากรในแคลิฟอร์เนีย) ซึ่งสูงกว่ารายได้เฉลี่ยของพื้นที่อื่นๆ ในสหรัฐอเมริกาประมาณ 56% ภายในร้านจึงต้องตกแต่งอย่างหรูหราเสมือนเดินเข้าไปช้อปแบรนด์เนม

เมื่อเทียบกับ Plantiful แบรนด์ไทยนั้นก็เลือกปักหมุดที่ทำเลทองในย่านผู้มีรายได้สูงเช่นกัน ได้แก่ สุขุมวิท 61 และสาขาล่าสุดอย่าง Gaysorn Amarin ห้างสุดหรูที่ต่างเป็นที่หมายปองของนักท่องเที่ยวและเซเลบ

4. ตอบโจทย์ความต้องการอย่างตรงจุด : ผลิตภัณฑ์อย่างน้อย 95% ได้รับการรับรองออร์แกนิกของ USDA สินค้าหลายอย่างยังเฉพาะทางมากๆ เช่น อาหารคีโต และสินค้าที่แปะป้ายได้ว่าปราศจากกลูเตนของ Erewhon จะต้องผลิตในโรงงานที่แยกจากผลิตภัณฑ์ที่มีกลูเตนโดยสิ้นเชิงเพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน นั่นแปลว่าต้นทุนย่อมสูงแน่นอน รวมถึงสมูตตี้ราคาเฉียดพันที่ยังดึงดาราเซเลบมาร่วมสร้างสรรค์ ช่วยให้ประสบการณ์การช้อปใน Erewhon นั้นแสนพิเศษ 

แม้ Plantiful จะไม่ได้มีของให้เลือกช้อปมากมายด้วยความที่เป็นเพียงร้านอาหาร แต่ร้านก็พยายามนำเสนอภาพของความ ‘เลือกได้’ และ ‘โปร่งใส’ ในทุกเมนูที่เสิร์ฟ ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้เหมือนจะเป็นเรื่องพื้นฐาน แต่กลับเป็นสิ่งที่แลกมาด้วยการจ่ายที่มากกว่า

กระแสสมูตตี้ราคาเฉียดพันที่กลับสร้างผลดีให้ร้านอาหารและเครื่องดื่มในไทยอย่าง Plantiful นี้ จึงอาจไม่ใช่เพียงการสะท้อนเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพหรือความตระหนักรู้เรื่องสุขภาพที่เพิ่มขึ้นหลังโควิด-19 เท่านั้น แต่ยังเป็นอีกหนึ่งในเคสที่ยิ่งตอกย้ำถึงความสำคัญของแบรนดิ้งที่ไม่ว่าจะธุรกิจประเภทไหนก็ไม่ควรมองข้ามไป

อ้างอิง

Writer

กองบรรณาธิการไลฟ์สไตล์ที่มีแมวเป็นแรงผลักดันในการทำงาน

Illustrator

แด่ ชีวิต ที่มีเพลง หนัง หนังสือ ครอบครัวและนกเป็นส่วนประกอบหลัก

You Might Also Like