นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

MasterPieces of Mook V

wisdom ของ ‘มุก เพลินจันทร์’ ศิลปินสิ่งทอระดับโลกที่สร้างสรรค์ผลงานมาสเตอร์พีซสุดอลังการ 

พาดหัวข่าวตามสื่อต่างๆ มักแนะนำตัว มุก–เพลินจันทร์ วิญญรัตน์ ว่าเป็นศิลปินสิ่งทอระดับโลก หรือนักออกแบบสิ่งทอแถวหน้าของเมืองไทย และผู้คนมักรู้จักเธอในชื่อ Mook V (มุกวี) เจ้าของผลงานสิ่งทอและศิลปะจากขยะเหลือใช้

อาชีพ textile artist หรือศิลปินสิ่งทออาจไม่ค้นหูคนส่วนใหญ่นัก มุกเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท บียอนด์ ลิฟวิ่ง จำกัด (Beyond Living) ที่รับทำงานอาร์ตและผลงาน décor & accessories ไม่ว่าจะเป็นศิลปะประดับผนัง sculpture พรม หมอน ฯลฯ ให้ลูกค้ากลุ่มลักชูรี 

เอกลักษณ์ของมุกวีคืองานทอที่เล่นกับสีสันและผิวสัมผัส และไม่ใช่แค่ผ้าเท่านั้นที่เธอใช้เป็นวัสดุหลักในการสร้างสรรค์ผลงาน ขวดกระป๋อง มุ้งกันยุง ถุงน่อง และขยะจากละแวกบ้านก็ล้วนเป็นวัสดุที่นำมาเป็นงานศิลป์มูลค่าสูงได้

นอกจากผลงานศิลปะชิ้นยักษ์จากขยะที่ท้าทายที่สุดอย่าง ‘Woven Symphony’ และ ‘Adam’s Bridge’ ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์แล้ว ผลงานโดดเด่นที่มุกทำร่วมกับแบรนด์ระดับโลกคือโปรเจกต์ร่วมกับ Louis Vuitton ที่ทำมาถึง 4 โปรเจกต์ ตั้งแต่การตกแต่งรีเทลสโตร์ที่ไอคอนสยาม, Central Floresta ภูเก็ต, เอกซ์คลูซีฟ สโตร์ ณ ไอคอนสยาม และล่าสุดคือ LV The Place Bangkok ที่เกษรอัมรินทร์

ไม่น่าแปลกใจว่าทำไมการตกแต่งรีเทลสโตร์ของ Louis Vuitton ต้องเป็นมุก นั่นเพราะการออกแบบคอนเซปต์และเทคนิคที่เน้นการผสานความเป็นไทยอย่างร่วมสมัย เช่น แผงงานประดับด้วยลวดลายถัก macramé ที่ได้แรงบันดาลใจจากอุบะ และการเลือกใช้วัสดุอย่างเชือกพื้นบ้านมาถักเป็นแพตเทิร์นสุดเนี้ยบเพื่อประดับผนังและพรม 

คอลัมน์ Modern Nice ตอนนี้ชวนมาคุยกับ textile artist ถึง life wisdom และ business wisdom ทั้งในแง่ตัวตนของศิลปินที่ใช้กระบวนการคิดแบบ thinking with hands (คิดด้วยมือ) ไปจนถึงการทำธุรกิจที่ออกแบบกี่ทอผ้าและสร้างโรงงานด้วยตัวเอง 

Life Wisdom 
I am Mook V 

เป็นเรื่องเซอร์ไพรส์ที่มุกเปิดบทสนทนากับเราว่า ที่ผ่านมาเธอไม่กล้านิยามตัวเองว่าเป็นอาร์ตติสท์ด้วยซ้ำจนกระทั่งคนอื่นเรียก 

“ทั้งชีวิตนอกจากครอบครัวแล้วก็รู้สึกไม่ belong กับใครที่ไหนเลย เราจะรู้สึกว่าอาร์ตติสท์ที่โด่งดังหรือ art collector ก็ไม่ได้มองเราเป็นอาร์ตติสท์ แล้วก็รู้สึกว่าคนที่เป็นดีไซเนอร์เขาก็ไม่ได้มองเราเป็นดีไซเนอร์”

ที่รู้สึกแบบนี้เพราะหลังเรียนจบด้านสิ่งทอจากต่างประเทศ มุกเดินทางกลับมาทำงานที่ไทยและสังเกตว่านักสร้างสรรค์ในสายอาชีพต่างๆ มักรวมตัวกันเป็นกลุ่ม อาร์ตติสท์ที่เรียนจบจากมหาวิทยาลัยต่างๆ มักรู้จักมักคุ้นกัน ส่วนดีไซเนอร์ในไทยก็มักมีความชอบที่คล้ายคลึงกัน เช่น ความนิยมในสไตล์การแต่งตัวสีดำเท่ๆ ในขณะที่มุกชอบแต่งตัวด้วยสีสัน 

“เราจบจากเมืองนอก พอกลับมาไทย เราไม่มีใครเลย” แบ็กกราวนด์ที่แตกต่าง ความชอบเฉพาะ และความรู้สึกว่าไม่มีคอนเนกชั่นสายอาร์ตที่ลึกเหมือนคนอื่นในวงการทำให้มุกบอกว่ารู้สึกแตกต่าง

 “บางคนก็จะมองว่าเราเป็นเซเลบ แต่ว่าเราก็ไม่ได้ใส่แบรนด์เนมตั้งแต่หัวจรดเท้า” จากมุมคนนอก การได้เข้าไปทำงานและเข้าสังคมกับลูกค้าแบรนด์ลักชูรี น่าจะเรียกว่าเป็นเซเลบได้แต่มุกไม่ได้มองแบบนั้น 

“เราเคยนั่งกินข้าวคุยกับซีอีโอคนก่อนของ Louis Vuitton เขาบอกว่าคุณทำงานกับเราเป็นโปรเจกต์ที่ 4 แล้ว ทำไม from head to toe คุณถึงไม่ใส่ Louis Vuitton เลย เราก็เลยบอกว่า ฉันไม่จำเป็นต้องใส่ Louis Vuitton ฉันก็ยังเป็นฉัน คุณก็ยังจ้างฉันอยู่เลย” 

a day in life ของมุกเริ่มต้นจากการออกกำลังกายทุกวันตอนเช้าและหลายครั้งก็ใส่ชุดกีฬาสบายๆ มาทำงานที่ชั้นล่างของบ้านซึ่งเป็นโรงงานที่เต็มไปด้วยกี่ทอผ้า มุกมองว่าตัวตนของเธอเป็นคนไม่กังวลกับภาพลักษณ์และไม่อายที่จะบอกใครเวลาไม่เข้าใจ เพราะเชื่อว่าการเป็นตัวของตัวเองดีที่สุด

“เวลาคุยกับคนที่โรงงาน เราก็เป็นตัวเรา เห็นเขานั่งทำงานยังไงเราก็นั่งแบบนั้น ร้อนยังไงก็ร้อนแบบนั้นด้วยกัน เวลาไปหาลูกค้าเราก็ต้องรู้มารยาท ไปงานเราก็แต่งตัวดี เรามองว่าการสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำงาน เราอยู่กับใครก็ต้องพยายามเบลนด์กับเขาแต่ก็ยังต้องเป็นตัวเอง บางครั้งเขาพูดอะไรกันเราไม่รู้เรื่องเลยนะ เช่น เศรษฐกิจ นักการเมือง เราก็จะบอกเลยว่าไม่รู้เรื่อง ช่วยอธิบายหน่อย เราไม่อายที่จะบอกว่าฉันไม่เข้าใจ” 

แม้จะมีผลงานชิ้นโบแดงมากมาย ทุกวันนี้มุกก็ยังมองว่าไม่จำเป็นต้องให้คำนิยามก็ได้ว่าเราเป็นใคร แค่เป็นตัวของตัวเองก็พอ 

“เราไม่รู้ว่าเราเป็นใครแต่รู้ว่าเราเป็นเรา ใครจะเรียกว่าเป็นดีไซเนอร์ อาร์ตติสท์ เซเลบ จะเรียกอะไรก็ได้ ตัวตนเราคือเป็นคนใส่หมวกหลายใบและมีแพสชั่นกับงานที่ทำ ทุกอย่างที่ทำไม่ว่าจะเป็นงานทอ งานถัก งานอะไรก็ตาม มันทำจากใจและทำจากคนคนนี้” 

ตอนนี้มุกกำลังเตรียมตัวจัดนิทรรศการเดี่ยวที่กำลังจะเปิดตัวในเดือนกรกฎาคมซึ่งเธอแย้มคอนเซปต์ของงานไว้ว่า “exhibition นี้จะบอกเล่าเรื่องราวว่า I don’t know who I am แต่นี่คืองานของฉัน” 

Thinking with Hands 

ย้อนกลับไปในวัยเรียน สิ่งที่ทำให้เด็กคนหนึ่งกล้าเป็นตัวของตัวเองและเลือกเส้นทางสายศิลปะ

คือการค้นพบว่าไม่ถนัดวิชาที่คิดด้วยหัวแต่ชอบวิชาที่คิดด้วยมือ 

“ตอนอยู่เมืองไทยเราเรียนอยู่กลุ่มที่โหล่ตลอด ก็คิดแล้วว่าอยู่ไทยไปคงไม่รอดเพราะทุกอย่างสอบตกหมด ภาษาไทยก็ตก เลขก็ตก ไม่ชอบเลยสักอย่าง ตอนเรียนวิชาศิลปะก็ไม่ได้ดีเด่นด้วยนะ เพราะที่ไทยสมัยนั้นต้องวาดตามครู ทุกอย่างต้องอยู่ในกรอบ” 

มุกจึงตัดสินใจย้ายไปเรียนต่อต่างประเทศตั้งแต่ ม.2 ซึ่งมีอิสระในการเลือกวิชาที่อยากเรียนมากขึ้น

นั่นทำให้เธอรู้ตัวในเวลาต่อมาว่าชอบศาสตร์การออกแบบสิ่งทอ “แต่ก่อนนึกว่าอยากเป็นแฟชั่นดีไซเนอร์ แต่พอเรียนลงลึกจริงๆ ก็เลยรู้ว่ามันไม่ใช่ ไม่ได้อยากออกแบบเสื้อแต่อยากออกแบบผ้า อยากทำตั้งแต่เริ่มต้นก่อนที่จะมาเป็นเสื้อ”

ศาสตร์ออกแบบสิ่งทอสอนตั้งแต่เริ่มต้นจากศูนย์จนมาเป็นผ้าทอหนึ่งชิ้น ตั้งแต่เปลี่ยนจากปุยฝ้ายเป็นเส้นใย ตีเกลียวออกมาเป็นเส้น และนอกจากคำว่า textile art แล้วยังมีศัพท์อีกคำที่ออกเสียงคล้ายกันคือ tactile art 

tactile art คือการคิดจากมือและลงมือทำด้วยมือ คิดด้วยประสาทสัมผัส (sensory) มุกชอบการออกแบบลายด้วยมือมากกว่าสเกตช์ในโปรแกรม เอากระดาษมาตัด เอาดินน้ำมันมาปั้นเพื่อให้มองเห็นภาพให้ได้มากที่สุด เริ่มคิดด้วยมือและให้ทีมช่วยจบงานด้วยการทำพรีเซนต์ด้วยโปรแกรม

“ผลลัพธ์งานสุดท้ายมักจะออกมาต่างกับในพรีเซนต์ พอเราทำงานคราฟต์หรืองานทอ มันเป็นงานที่ทำกับมือ เพราะฉะนั้นถ้าลงกระดาษแล้วจะออกมาเหมือนในกระดาษเป๊ะไม่ได้ พอทำไปเรื่อยๆ แล้วจะอยากเพิ่มนั่นเพิ่มนี่ ฉะนั้นส่วนใหญ่ผลงานเราจะพัฒนาไปตามกระบวนการ ตามมือที่ปล่อยไป มันคือนิยามของงานอาร์ตจริงๆ ที่ผลงานจะออกมาไม่เหมือนสเกตช์”

ศิลปะ textile art เป็นงานที่เล่นกับลวดลาย แพตเทิร์น วัสดุ และผิวสัมผัส ทำให้การปรับเปลี่ยนตามหน้างานเป็นสิ่งสำคัญ บางครั้งมุกนำวัสดุอย่างมุ้งลวดมาใช้ซึ่งปรากฏว่าเปื่อยและขาดที่หน้างาน ก็ต้องประยุกต์ด้วยการขยุ้มมุ้งลวดแล้วแปะเข้าไปใหม่อีกรอบ กลายเป็นการสร้างเทกซ์เจอร์ที่สวยและมีมิติมากกว่าเดิมโดยบังเอิญ 

ด้วยลักษณะงานแบบนี้ทำให้มุกบอกว่าผลงานของเธอสามารถพัฒนาได้เรื่อยๆ ไม่มีวันจบ สิ่งสำคัญคือต้องกล้าลองและกล้าพัง กล้าออกนอกกรอบและปรับเปลี่ยนตามหน้างาน กล้าสร้างสรรค์จากกระบวนการไร้สเตปที่คาดเดาไม่ได้จนกลายเป็นศิลปะที่เหนือความคาดหมาย 

Business Wisdom
Disrupt Yourself 

แม้พรสวรรค์ด้านงานศิลปะของมุกจะหาตัวจับได้ยากจนทำให้เธอกลายเป็นที่รู้จัก แต่เส้นทางการปั้นบริษัทของ textile artist ก็ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ 

โมเดลธุรกิจในช่วงเริ่มแรกของ Beyond Living คือการขายส่งให้โรงแรม เช่น โรงแรมแห่งหนึ่งมี 200 ห้องก็จะมีดีมานด์ที่ต้องการพรม 200 ชิ้น หรือหมอน 200 แบบ 

“ทีนี้พอทำมาเรื่อยๆ ก็ไม่กำไรเลย ขาดทุนและเกือบจะปิดไปบางช่วง เพราะได้รู้ว่าคู่แข่งเยอะมาก เดี๋ยวก็ไปเทียบกับของจากจีนและอินเดีย เดี๋ยวก็มีลูกค้าให้เราทำแบบให้แล้วเอาของเราไปผลิตที่อื่น มันก็ไม่ประสบความสำเร็จเลย แม้ชื่อเสียงดี ทุกอย่างดูดี แต่เม็ดเงินไม่เหลือ ก็ถอดใจไปหลายหน” 

เนื่องจากพรมหนึ่งผืนใช้เวลาในการทอหลายอาทิตย์ ด้วยความอยากขายของให้ได้ บริษัทจึงรับออร์เดอร์จากลูกค้าเข้ามาก่อน แต่เมื่อแจกแจงค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการทำภายหลัง กลับพบว่าไม่ได้กำไรทั้งที่มีงานเยอะมากและขายได้ตลอดเวลา

“แต่ก่อนเราไม่รู้หรอกว่าขายหนึ่งชิ้นก็ขาดทุนหนึ่งชิ้น มันก็เลยขาดทุนสะสม เพิ่งจะมาดีขึ้นหลังโควิด-19 เพราะช่วงนั้นบีบรัดให้ต้องลดค่าใช้จ่ายทุกอย่างเพื่ออยู่ให้ได้ เราเลยต้องมาดูตัวเลข ก็เลยรู้ว่าไม่ใช่แล้ว

“เราเลยใช้วิธีถ่ายคลิปตัวเองขายพรม แล้วเปลี่ยนมาขายในราคารีเทล ซึ่งมี margin สูงขึ้น ขายได้ 10 ผืนต่อเดือนก็กำไรแล้ว จากที่แต่ก่อนทำพรม 100 ผืนในหนึ่งโปรเจกต์ยังไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายเลย มันต่างกันเยอะมาก ทุกวันนี้เรายังทำพรมกับหมอนอยู่แต่ทำในจำนวนน้อยลง” 

หลังจากทำธุรกิจขาดทุนมานาน มุกจึงได้ข้อคิดทางธุรกิจว่า หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ธุรกิจเจ๊งได้คือการบริหารสต็อกไม่ดี จุดเปลี่ยนสำคัญของ Beyong Living จึงเป็นการหันมาดูตัวเลขทางค่าใช้จ่ายมากขึ้น 

เปลี่ยนจากจับตลาดแมสมาเป็นตลาดลักชูรี ที่กลุ่มลูกค้ามองเห็นคุณค่าในงานฝีมือและงานศิลปะอย่างแท้จริง ปรับ brand positioning เป็นหมวดสินค้า functional art ซึ่งมีแบบและลวดลายที่พรมจากจีนและอินเดียไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ทำให้สามารถขายในราคาสูงขึ้นได้ 

เบื้องหลังการเลือกโพซิชั่นสินค้าแบบนี้ได้เพราะมุกก่อตั้งโรงงานทอ ปั่น ถักที่ออกแบบกี่ทอผ้าและกระบวนการทำงานเองทั้งหมด เมื่อถามว่าทำไมต้องลงทุนผลิตกี่ทอผ้าใหม่เป็นของตัวเองทั้งที่มีคนอื่นผลิตและคิดค้นกระบวนการมาก่อนแล้ว ก็ได้คำตอบว่า

“เราเป็นคนทอก็ต้องชอบกี่ที่ทำงานให้เรา ไม่ใช่เราต้องไปปรับตัวให้กี่ เราต้องปรับกี่ให้เข้ากับงานของเรา เส้นที่ใช้ทอ ความหนัก หรืองาน เพราะฉะนั้นเราจะทำกันเอง ทาสีกันเอง ปรับเปลี่ยนกันเอง ซึ่งอุปกรณ์หลัก ก็ต้องซื้อมาประกอบให้เหมาะกับงานของเรา”

ที่สำคัญคือมุกยังคิดต่างด้วยการอยากรับคนที่ไม่เคยมีทักษะในการทอผ้ามาทำงานด้วย “ไม่อยากเอาคนที่ทอเป็นแล้ว เพราะเขาจะมีภาพในหัวว่าต้องทอแบบนี้ กี่ของเราก็หนักกว่า เส้นด้ายก็หนากว่า ลายก็ยากกว่า เพราะฉะนั้นไม่เป็นมาก่อนเลยดีกว่าแล้วเรามาสอนกันเอง เราคิดลายเอง คิดวิธีผูกเท้าเหยียบเอง เรามีวิธีของเราเองทั้งหมด” 


Repurposed Art

ทุกวันนี้ผลงานชิ้นเอกของมุกไม่ได้อยู่แค่ในขอบเขตสิ่งทอ แต่หลายคนจะรู้จักเธอในนามผู้สร้างศิลปะจากขยะ ซึ่งเบื้องหลังจุดเริ่มต้นในการนำวัสดุ upcycle มาสร้างสรรค์ผลงานเกิดจากการอยากบริหารสต็อกทางธุรกิจให้ดีขึ้น 

เนื่องจากในแต่ละโปรเจกต์ต้องสั่งผ้ามาเผื่อเหลือ หลายครั้งจึงมีเศษผ้าเศษด้ายเหลือรวมกันเป็นตัวเลขหลักหลายกิโลเมตรจนรู้สึกสิ้นเปลือง มุกยังได้แรงบันดาลใจในการลดขยะจากสิ่งของรอบตัว ตั้งแต่ถุงเท้าตอนเด็กๆ ของลูกที่นำมาทอเป็นพรม กระดาษเหลือใช้จากออฟฟิศและขยะจากละแวกบ้านที่นำมารียูสใหม่เป็นงานศิลปะแขวนผนัง 

ผลงานท้าทายที่สุดของมุก คือ ‘Woven Symphony’ ลายรามเกียรติ์ และ ‘Adam’s Bridge’ ลายหนุมานขนหินถมทะเล ขนาดใหญ่กว่า 6 เมตร ยาว 24 เมตร ที่จัดแสดงเมื่อครั้งสร้างศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์โฉมใหม่ ที่บอกว่าท้าทายที่สุดเพราะต้องเสร็จงานชิ้นยักษ์ใหญ่นี้ภายในระยะเวลากระชั้น 59 วันด้วยขยะหลากหลายประเภททั้งกระป๋อง ถุงพลาสติก เศษผ้า ฟองน้ำ ถุงน่อง ฟองน้ำ ฯลฯ 

งานศิลปะที่ขายได้แบบนี้ทำให้ Beyond Living มีหมวดสินค้าศิลปะจากวัสดุ upcycle เป็นหมวดเด่นอีกหมวดซึ่งมุกบอกว่าเธอไม่ได้คิดตั้งแต่แรกว่าจะทำตามเทรนด์ความยั่งยืนเพื่อธุรกิจ “ที่เราทำงานศิลปะจากของเหลือไม่ใช่เพิ่งมาทำเพราะว่ามันเป็นกระแส แต่ทำมาเรื่อยๆ ด้วยจิตสำนึกอยากบริหารสต็อกและไม่อยากจะทิ้งขยะ จนวันหนึ่งกระแส upcycle และ recycle กลายเป็นเทรนด์ขึ้นมา” 

ผลงานมาสเตอร์พีซล่าสุดของมุกคือ ‘Call of the Cardamoms’ เสือจากขยะเหลือใช้ อย่างสารพัดขวดโซดา มุ้งลวด ฯลฯ ซึ่งเพิ่งจัดแสดงที่ House of Sathorn โดยเป็นแคมเปญเพื่อสื่อสารถึงป่าฝนแห่งสุดท้ายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กัมพูชาซึ่งมีเสือเหลืออยู่ในป่าเพียงตัวเดียว 

“ที่เลือกทำเสือเพราะที่ผ่านมาเราเป็นคนตัวเล็ก คนก็จะมองเราเหมือนแมวตัวเล็กๆ แต่วันนี้เราอยากเป็นเสือ เราอยากเปลี่ยนสิ่งเล็กๆ ให้กลายเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้คนเห็นและหันมาสนับสนุนสิ่งใหญ่ๆ” 

จากกี่ทอผ้าในโรงงานเล็กๆ และขยะเหลือใช้ที่ไม่มีใครเหลียวแล ทุกผลงานที่มุกทำนั้นเรียกได้ว่าล้วนเป็นมาสเตอร์พีซทุกชิ้น ด้วยคอนเซปต์ เทคนิค และสีสันที่เป็นเอกลักษณ์ มุกทำให้เห็นว่า นอกจากศิลปะจะเป็นสื่อที่ทำให้คนรู้สึกบางอย่างแล้ว ศิลปะยังสามารถส่งเสียงถึงบางประเด็นและเพิ่มมูลค่าให้เป็นงานศิลปะร่วมสมัยจนกลายเป็นธุรกิจที่ทำเงินและสนับสนุนงานฝีมืออย่างยั่งยืนได้

Editor’s Note : Wisdom from Conversation

ความโมเดิร์นของ Beyond Living คือการให้คุณค่ากับ ‘the new luxury’ ในโลกยุคใหม่ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญกับกระบวนการคิดและสร้างสรรค์ผลงานด้วยมือในโลกดิจิทัลไปจนถึงการคำนึงถึงความยั่งยืนที่สร้างมูลค่าจากขยะเหลือใช้ทำให้สามารถสร้างธุรกิจที่จับกลุ่มลูกค้า luxury ได้

ความเชี่ยวชาญในสายงานเฉพาะของตัวเองยังทำให้สามารถสร้าง ‘เครื่องมือ’ และ ‘กระบวนการทำงาน’ ของตัวเองขึ้นมาได้ อย่างกี่ทอผ้าที่ออกแบบและผลิตเองไปจนถึงเทคนิคการทอเฉพาะของตัวเอง และการวาง position ทางธุรกิจที่ชัดเจน เจาะตลาดตรงกลุ่มเป้าหมาย รู้ว่าสินค้ามีมูลค่าในสายตาของใครจึงสามารถสร้างโมเดลธุรกิจที่ยั่งยืนได้

ทั้งนี้การเติบโตภายในและการเติบโตในโลกธุรกิจนั้นก็มีความสวนทางกันอยู่ ในขณะที่การทำธุรกิจต้องรู้ position ที่ชัดเจน การรู้จักตัวเองอย่างแท้จริงอาจเป็นรูปแบบที่ไม่จำเป็นต้องให้คำนิยามและ position ก็ได้ว่าเราเป็นใครในสายอาชีพ รวมทั้งอาจไม่ต้องเหมือนคนอื่น แค่เป็นตัวของตัวเองก็พอ

Writer

Craft Curator, Chief Dream Weaver, Lifestyle Columnist, Editor-in-Cheese, Design Researcher 'Instagram : @rata.montre'

Photographer

ทำงานให้งานมันท้อเรา ig : chinnakanc

You Might Also Like