นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

The Ping Pong Effect    

เบื้องหลังการผลักดันนักกีฬาเยาวชนของ “สโมสรเทเบิลเทนนิสบ้านปู” ให้เป็นทั้ง “คนเก่ง” และ “คนดี” 

หากเอ่ยถึงการขับเคลื่อน Soft Power ด้านกีฬา หลายคนมักจะนึกถึงกีฬามหาชนยอดนิยมอย่างมวยไทย วอลเลย์บอล แบดมินตัน ฯลฯ อุตสาหกรรมกีฬาทั้งภาคธุรกิจและภาครัฐจึงมักเทความสนใจและทุ่มการสนับสนุนให้กีฬายอดนิยมเหล่านี้เป็นหลัก นั่นแปลว่ากีฬาบางประเภทที่คนไทยนิยมเล่นรองลงมาอย่างเทเบิลเทนนิสหรือที่ใครหลายคนคุ้นปาก ในชื่อกีฬาปิงปองมักได้รับการสนับสนุนน้อยกว่าในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นด้านองค์ความรู้ การสร้างทักษะของนักกีฬาให้มีมาตรฐานระดับนานาชาติ การฝึกอบรมผู้ฝึกสอน รวมทั้งการส่งลงแข่งขัน

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) มีเป้าหมายการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) เพื่อส่งเสริมศักยภาพของผู้คนในหลากหลายมิติ ทั้งด้านสนับสนุนพลังความรู้ (Intellectual Enhancement) ส่งเสริมคุณภาพชีวิต (Wealth & Wellbeing) สร้างสรรค์โลกให้น่าอยู่ (Earth Betterment) และ ส่งต่อพลังงานที่ยั่งยืน (Energy Sustainability) 

และสำหรับสโมสรเทเบิลเทนนิสบ้านปู (Banpu Table Tennis Club : BTTC) เป็นหนึ่งในภารกิจที่บ้านปูมุ่งพัฒนา และสนับสนุนการเข้าถึงความรู้และทักษะด้านกีฬาเทเบิลเทนนิสให้กับเยาวชนไทย 

สโมสรเทเบิลเทนนิสบ้านปู ก่อตั้งขึ้นในปี 2551 โดยมีจุดเริ่มต้นจากบริษัทในเครือของบ้านปูในสาธารณรัฐประชาชนจีนที่ได้สนับสนุนศูนย์ฝึกอบรมกีฬาเทเบิลเทนนิสแห่งชาติ ประจำเมืองเจิ้งติ้ง บ้านปูจึงเล็งเห็นโอกาสในการนำเอาความเชี่ยวชาญและเทคนิคด้านกีฬาเทเบิลเทนนิสของจีนซึ่งถือว่าเป็นอันดับต้นๆ ของโลก มาถ่ายทอดสู่เยาวชนไทย รวมทั้งการสนับสนุนการฝึกซ้อมและส่งนักกีฬาเข้าแข่งขันในทัวร์นาเมนต์สำคัญทั้งในและต่างประเทศ เพื่อยกระดับขีดความสามารถของเยาวชนไทยให้ทัดเทียมนานาชาติและมาตรฐานสากล

โค้ชต้อม-อาสาฬห์ อมรรัตนสุชาติ หัวหน้าผู้ฝึกสอนสโมสรเทเบิลเทนนิสบ้านปู เป็นโค้ชที่อยู่กับสโมสรฯ มาตั้งแต่ก่อตั้งสโมสรฯ ในปัจจุบันสโมสรฯ มีนักกีฬาทั้งหมด 91 คน โดยอยู่ในช่วงวัย 6-20 ปี นอกจากนี้ยังมีโค้ชประจำสโมรสรฯ 6 คน และสมาชิกทั่วไปอีก 13 คน 

สโมสรฯ บ้านปูได้ปั้นเยาวชนทีมชาติเข้าร่วมสนามแข่งขันระดับโลกมาแล้วมากมาย เช่น ซีเกมส์ และเอเชียนเกมส์

จากอิมแพ็คทั้งหมดที่สโมสรฯ สร้างตั้งแต่ก่อตั้งมา วันนี้จึงขอชวนคุยกับโค้ชต้อม ถึงเบื้องหลังการแข่งขันและความภาคภูมิใจในการพัฒนาศักยภาพด้านกีฬาเทเบิลเทนนิสให้แก่เยาวชนไทย รวมทั้ง ความตั้งใจของสโมสรฯ ที่ต้องสร้างนักกีฬาที่เป็นทั้ง “คนเก่ง” และ “คนดี”

เส้นทางการเป็นโค้ชนักกีฬาเยาวชนให้สโมสรเทเบิลเทนนิสบ้านปู

ผมเริ่มเข้ามาเป็นโค้ชของสโมสรเทเบิลเทนนิสบ้านปูจากการชักชวนของรุ่นพี่ที่เป็นโค้ชทีมชาติตั้งแต่ ตอนเริ่มก่อตั้งสโมสรฯ ราว 16 ปีก่อน ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นโค้ชอยู่แล้วประมาณ 6 ปี รวมแล้วตอนนี้ทำหน้าที่โค้ชมาเป็นเวลาทั้งหมด 20 ปี 

ตอนที่เริ่มเข้ามาดูแลสโมสรฯ บ้านปู ผมไปออกกำลังกายตามศูนย์กีฬาเยาวชนต่างๆ ในกรุงเทพฯ แล้วไปเห็นน้องๆ ที่เล่นปิงปองอยู่ตามศูนย์เยาวชนเหล่านี้ว่ามีทักษะสูงอยู่แล้ว สามารถลงแข่งขันได้แต่ไม่มีโค้ชที่คอยแนะนำและไม่มีใครพาไปแข่งขัน ก็เลยเริ่มจากชักชวนเยาวชนที่นั่นมาฝึกซ้อมแล้วพาไปแข่ง

โค้ชนำมาตรฐานจากต่างประเทศมาพัฒนาให้นักกีฬาในสโมสรฯ อย่างไรบ้าง 

ผมมีโอกาสไปดูการฝึกซ้อมที่ประเทศจีนซึ่งปกติสโมสรฯ บ้านปูจะส่งนักกีฬาแต่ละรุ่นไป หลังจากไปแล้วก็เห็นภาพว่าประเทศมหาอำนาจในวงการเทเบิลเทนนิสซ้อมกันยังไง มีเทคนิคอะไรบ้างแล้วก็นำตรงนั้นกลับมาสอนให้น้องๆ ในสโมสรฯ ตัวผมเองเรียนการโค้ชนักกีฬามาจากสหพันธ์การโค้ชนานาชาติด้วยก็นำเอาทั้ง 2 ศาสตร์นี้มาใช้ร่วมกันในการสอนน้องๆ จนถึงทุกวันนี้เพื่อยกระดับมาตรฐานนักกีฬาไทย

เวลาพาน้องๆ ของสโมสรฯ ไปแข่งในรายการทัวร์นาเมนต์แบบเวิลด์ทัวร์ก็เพื่อให้ได้เจอชาติมหาอำนาจของกีฬา น้องๆ จะได้เห็นภาพใหญ่ว่านักกีฬาเยาวชนทีมชาติของแต่ละประเทศเขาเตรียมตัวในการแข่งอย่างไร ฝึกซ้อมในวันแข่งอย่างไร มีระเบียบวินัยในการซ้อมยังไงบ้าง ทำให้เห็นภาพการทำงานที่มีความเป็นมืออาชีพซึ่งแตกต่างจากบ้านเรามาก

บ้านปูพานักกีฬาเยาวชนเก็บสะสมชั่วโมงบินและประสบการณ์จากประเทศไหนมาบ้าง 

ทัวร์นาเมนต์ที่บ้านปูเคยส่งเยาวชนไทยไปก็มี World Table Tennis หรือ WTT เป็นการแข่งขันกีฬาเทเบิลเทนนิสที่รับรองโดยสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (The International Table Tennis Federation: ITTF) นอกจากนี้ก็มีจีน ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย

สโมสรฯ บ้านปูจะผลักดันให้น้อง ๆ ลงแข่งทั้งเวทีในประเทศและเวทีนานาชาติ เพื่อเก็บประสบการณ์จากการแข่งขัน เพื่อให้เรียนรู้เทคนิคของคู่แข่งให้มากที่สุด 

การสร้างนักกีฬาที่เป็น คนดี ของสโมสรเทเบิลเทนนิสบ้านปูมีการขยายอิมแพ็คยังไงบ้าง 

กิจกรรมที่ทางสโมสรฯ บ้านปูภาคภูมิใจ คือกิจกรรม “ค่ายสโมสรเทเบิลเทนนิสบ้านปูสร้างแรงบันดาลใจ และพัฒนาเยาวชนไทย” (Remote camp) เพราะกิจกรรมนี้ช่วยปลูกฝังให้นักฬาของเราเป็นทั้ง “คนเก่ง” และ “คนดี” ที่ได้นำเอาความรู้ ความสามารถที่มี ไปส่งต่อเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนในหลายจังหวัด ทั่วทุกภูมิภาค ที่ทั้งยะลา ปัตตานี สตูล อุบลราชธานี ขอนแก่น ร้อยเอ็ด เชียงใหม่ บุรีรัมย์ อุตรดิตถ์ ฯลฯ โดยส่วนใหญ่สโมสรฯ จะเลือกไปจัดกิจกรรมในพื้นที่ห่างไกลที่เยาวชนยังขาดแคลนโอกาสในการพัฒนาทักษะด้านกีฬา หรือในบางปีก็มีให้นักกีฬาของเราไปสอนผู้สูงอายุตีปิงปอง เพื่อสร้างความสุขให้ผู้สูงอายุในบ้านพักคนชรา

การไปจัดกิจกรรมในแต่ละจังหวัด นอกจากเป็นโอกาสที่ปลูกฝังความเก่งความดีให้กับนักกีฬาในสโมสรฯ แล้ว ยังเป็นโอกาสที่สโมสรฯ จะได้ค้นพบเยาวชนที่มีศักยภาพเข้ามาเป็นสมาชิกเพิ่มเติม มาร่วมพัฒนาศักยภาพนักกีฬาของสโมรสรฯ ที่กระจายตัวอยู่ในทุกภูมิภาค โดยในแต่ละภูมิภาคก็จะโค้ชประจำศูนย์ฝึกซ้อมในพื้นที่อยู่แล้ว น้องๆ ไม่จำเป็นต้องเดินทางมาฝึกซ้อมที่ศูนย์หลักในกรุงเทพฯ 

Pain Point ขอกีฬาในไทยที่โค้ชมองเห็นคืออะไร

ความจริงนักกีฬาไทยมีศักยภาพสูงมากในแทบจะทุกชนิดกีฬาเลยนะ เพียงแต่ไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนทั้งจากภาครัฐและเอกชนในกีฬาที่ไม่ได้เป็นกีฬายอดนิยม บ้านเราจะเทความสนใจไปที่กีฬายอดนิยมที่มีคนดูเยอะ เช่น ฟุตบอล วอลเลย์บอล พอองค์ประกอบต่างๆ ในการสนับสนุนและผลักดันให้เกิดโอกาสมีน้อย การพัฒนาก็เลยหยุดนิ่งทั้งๆ ที่ความจริงแล้วบ้านเรามีนักกีฬาที่มีความสามารถสูง สามารถสู้กับนานาชาติได้

แล้วการสนับสนุนสโมสรกีฬาของต่างประเทศที่ทำให้นักกีฬามีข้อได้เปรียบคืออะไรบ้าง

ตัวอย่างประเทศที่มีจำนวนประชากรเยอะเป็นอันดับต้นๆ ของโลกและมีนักกีฬาเทเบิลเทนนิสเยอะกว่าทุกชาติในโลกนี้คือจีน เมืองหนึ่งของเขามีจำนวนนักกีฬาเท่ากับนักกีฬาไทยทั้งประเทศ แล้วเขาสามารถเอานักกีฬาทุกเมืองมารวมกันเพื่อคัดเลือกคนที่ยอดเยี่ยมที่สุดมาเป็นทีมชาติทำให้มีโอกาส ชนะสูงกว่าบ้านเรา

เทเบิลเทนนิสเป็นกีฬาประจำชาติที่คนจีนรู้สึกว่าจะแพ้ชาติไหนไม่ได้ในโลกนี้ และแทบจะเรียกว่าเป็นวาระแห่งชาติ ของจีนเลยก็ว่าได้ ดังนั้นประเทศเขาจะทุ่มกับการแข่งขันกีฬาประเภทนี้มากและวิธีการฝึกซ้อมจะต่างกับไทยอย่างเห็นได้ชัด เด็กจีนจะซ้อมวันละ 3 รอบต่างจากเด็กไทยที่มีเวลาซ้อมแค่ 1 รอบหลังเลิกเรียน นักกีฬาจีนยังได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐทั้งหมด ทั้งอุปกรณ์ เวลาฝึกซ้อม สนับสนุนแม้กระทั่งการเลือกโรงเรียนที่เอื้อในการซ้อมของนักกีฬา 

ในขณะเดียวกันถ้าไปฝั่งยุโรป หลักสูตรการศึกษาของฝั่งตะวันตกก็ให้เรียนแค่ครึ่งวันทำให้นักกีฬามีเวลาเหลือในการซ้อม 2 รอบ ส่วนไทยเรามีหลักสูตรการศึกษาที่ให้เรียนตั้งแต่เช้าจรด 5 โมง เผลอๆ น้องบางคนยังต้องเรียนพิเศษต่ออีก 2 ชั่วโมงถึงจะมีเวลามาซ้อม ทำให้เวลาซ้อมกีฬาเต็มที่ก็มีแค่ 2-3 ชั่วโมงเท่านั้นในแต่ละวัน ด้วยลักษณะของระบบการศึกษาและการสนับสนุนก็ทำให้ประเทศอื่นซ้อมได้มากกว่าบ้านเรา

ทุกวันนี้มีกลยุทธ์ในการโค้ชเยาวชนทีมชาติไทยอย่างไร 

ณ ตอนนี้ เราพยายามผลักดันให้เยาวชนทีมชาติไทยไปสู่ระดับนานาชาติมากขึ้นซึ่งน้องๆ กลุ่มนี้ก็จะซ้อมกับแชมป์ทีมชาติอย่างเข้มข้นวันละ 2-3 รอบ ซ้อมสัปดาห์ละ 6 วัน พัก 1 วัน 

สำหรับการซ้อมในวงการกีฬาเรามักจะได้ยินคำว่า ‘เอาที่ซ้อมไปใช้แข่ง’ หรือ ‘ซ้อมให้เหมือนแข่ง แข่งให้เหมือนซ้อม’ อยู่บ่อยๆ เพราะส่วนใหญ่เวลาแข่งขันมันต้องเริ่มวางแผนตั้งแต่ตอนซ้อมเลยว่าจะซ้อมแบบไหนเพื่อไปแข่งขันในทัวร์นาเมนต์ไหน

ยกตัวอย่างการวางแผนการซ้อม เราจะแบ่งเป็น 3 ส่วน ช่วงแรกคือเรื่องของร่างกายและพละกำลังทั้งหมด การตี ความแม่นยำที่ต้องเตรียมให้พร้อมไว้ก่อน ช่วงที่ 2 ก็จะเริ่มวางโครงสร้างเทคนิคในการตี เช่น ตีไปทางซ้าย ตีไปทางขวา จะตีเข้าตัวหรือเสิร์ฟแบบไหน เป็นต้น ช่วงที่ 3 จะเป็นการวางกลยุทธ์ล้วนๆ ว่าจะใช้เทคนิคไหนในตอนไหน 

ในวันแข่งเราแทบจะแนะนำนักกีฬานิดเดียวเพียงแค่ว่าคู่ต่อสู้มีจุดอ่อนตรงไหน ที่เหลือให้นักกีฬาเป็นฝ่ายครีเอตเทคนิคเข้าไปแล้วนำสิ่งที่ซ้อมและวางแผนตั้งแต่ต้นออกมาใช้

ความภาคภูมิใจที่ได้พานักกีฬาไทยโกอินเตอร์คืออะไร 

เริ่มตั้งแต่ตอนที่ผมเริ่มเข้ามาดูเยาวชนทีมชาติ ประเทศไทยเคยได้เป็นเจ้าอาเซียนคือได้เหรียญทองทั้งหมด 11 เหรียญในการแข่งขัน 11 ประเภทจากทั้งหมด 13 ประเภท เราชนะทั้งในรุ่นอายุ 15 ปี, 19 ปี, ประเภทเดี่ยว-ทีม-คู่ผสม, ชนะทั้งการแข่งประเภทหญิงและชาย ชนะเยอะมากจนได้เป็นเจ้าอาเซียน ซึ่งเป็น ความภูมิใจแรกๆ เลยตอนที่เริ่มทำ

จากนั้นผมก็เขยิบมาเป็นโค้ชทีมชาติทีมใหญ่ ดูแลนักกีฬาที่ไปซีเกมส์ โอลิมปิกเกมส์ ตอนเริ่มทำครั้งแรกได้ไปแข่งที่เวียดนาม นักกีฬาของเราได้ 4 เหรียญทองกลับมา และได้เป็นเจ้าอาเซียนอีกเหมือนกัน ส่วนซีเกมส์อีกสมัยที่กัมพูชา ทีมเราได้ 3 เหรียญทอง อีกหนึ่งมหกรรมกีฬาคือเอเชียนเกมส์ พอผมมาคุมทีมก็ทำให้ได้เหรียญทองแดงในรอบ 53 ปี ที่ไทยไม่เคยได้เหรียญเลย 

ส่วนโอลิมปิกครั้งล่าสุด ทีมเราไม่เคยได้เข้าร่วมแข่งขันประเภททีมมาก่อนและเราก็ทำผลงานได้ในที่สุดว่า “ได้ไปแข่งแล้วถึงแม้จะยังไม่ชนะก็ตาม”

ทุกครั้งก่อนไปทั้งนักกีฬาและทีมงานทั้งหมดก็จะกดดันเพราะคนไทยทั้งประเทศไทยจับตามองอยู่ว่า เราจะทำผลงานออกมาเป็นยังไง แต่เราก็ประทับใจหมดทุกรายการที่ลงแข่ง เวลาที่เราได้รางวัลแล้วธงชาติไทยถูกชักขึ้นสู่เสา มันเป็นภาพที่ทำให้รู้สึกว่าเราทำสำเร็จแล้ว

ปัจจุบันนี้กีฬาเทเบิลเทนนิสไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 5 ของเอเชีย ส่วนอันดับ 1-4 ของโลกนั้นอยู่ในแถบเอเชียทั้งหมด ในขณะที่ยุโรปจะอยู่ราวอันดับที่ 5-8 ของโลก เพราะฉะนั้นขีดความสามารถและศักยภาพของนักกีฬาเทเบิลเทนนิสไทยก็ถือว่าทัดเทียมกับนานาชาติ

ความภาคภูมิใจในฐานะโค้ชตลอด 16 ปีที่ดูแลเยาวชนในสโมสรเทเบิลเทนนิสบ้านปูคืออะไร   

คิดว่าหนึ่งในความสำเร็จที่สุดของบ้านปู คือ การจัดกิจกรรม “ค่ายสโมสรเทเบิลเทนนิสบ้านปูสร้างแรงบันดาลใจ และพัฒนาเยาวชนไทย” (Remote camp) นี่แหละ เวลาเยาวชนทีมชาติของเราไปค่ายเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ เขาจะได้ความภาคภูมิใจกลับมามากๆ เพราะนักกีฬาที่อยู่ตามพื้นที่ห่างไกลติดตามพวกเขาอยู่ การได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกัน เกิดภาพการขอลายเซ็น การขอเสื้อก็ทำให้น้องๆ เยาวชนทีมชาติเกิดความภูมิใจที่ไม่เคยคิดว่าจะได้พบเจอ สิ่งนี้เป็นข้อหนึ่งที่บ้านปูปลูกฝังให้นักกีฬาตลอดเลยว่า เก่งอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเป็นคนดีด้วย

You Might Also Like