นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

เมื่อเกาหลีใต้จัดระเบียบนักท่องเที่ยวไทยจนเกิดแฮชแท็ก #แบนเที่ยวเกาหลี สุดท้ายใครได้รับผลกระทบ

ยิ่งใกล้วันไปเที่ยวเกาหลีใต้ ยิ่งกังวลใจ-ความรู้สึกคงเกิดขึ้นกับใครหลายคน

ในช่วงหลายปีมานี้ เกาหลีใต้กลายเป็นจุดหมายปลายทางที่คนไทยต้องการไปท่องเที่ยวมากเป็นอันดับต้นๆ แม้จะวางแผนเที่ยวอย่างละเอียด จองที่พัก และตั๋วเครื่องบินไป-กลับเรียบร้อย แต่เมื่อใกล้วันเดินทาง หลายคนกลับยิ่งกังวลใจ เพราะไม่รู้เลยว่า ตม.เกาหลีจะใช้ดุลยพินิจให้ผ่านเข้าไปท่องเที่ยวตามที่ฝันอย่างง่ายดายหรือฝันสลายถูกกักตัวไว้แล้วส่งตัวกลับบ้าน และนั่นนำไปสู่การเกิดของแฮชแท็ก #แบนเที่ยวเกาหลี จนขึ้นเทรนด์ใน X และเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง

‘เอกสารครบแต่ไม่ผ่าน’

จริงๆ แล้วการที่คนไทยถูกส่งตัวกลับประเทศไม่ใช่เรื่องใหม่ซะทีเดียว เพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนโควิดอยู่แล้ว และในช่วงเปิดประเทศหลังโควิดยิ่งเข้าเกาหลีได้ยากขึ้น ตม.คัดกรองเข้มข้นขึ้นโดยเฉพาะกับนักท่องเที่ยวจากไทย

ปัจจุบันเกาหลีใต้เปิดให้คนไทยเข้าประเทศได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า ทว่าแม้จะมีเอกสารครบ เตรียมแพลนเที่ยวมาอย่างดี K-ETA (Korea Electronic Travel Authorization ระบบออนไลน์ที่คัดกรองชาวต่างชาติเข้าประเทศเกาหลีใต้) ผ่านแล้ว แต่ก็เข้าประเทศไม่ได้ และถูกส่งกลับโดยไม่เต็มใจ ซึ่งในปัจจุบันอัตราการส่งตัวกลับค่อนข้างสูงมาก โดยในปีที่ผ่านมามีรายงานจากสื่อในเกาหลีใต้ว่าจาก 10,000 คนของคนไทยที่เดินทางเข้าเกาหลีใต้ ถูกปฏิเสธหรือส่งตัวกลับไม่ให้เข้าเมืองอย่างน้อย 5,000 คน (ข้อมูลจาก KBS News, 2022) จึงส่งผลกระทบอย่างหนักต่อภาคการท่องเที่ยว ทั้งในฝั่งของการไปด้วยตัวเอง และฝั่งเอเจนซีทัวร์ที่ลูกค้าไม่กล้าเดินทาง เพราะบริษัททัวร์เองก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่านักท่องเที่ยวจะเข้าประเทศได้

โดยหนึ่งในเหตุผลมาจากมีชาวไทยบางกลุ่มที่เข้าประเทศแบบถูกกฎหมายแต่หลังจากนั้นไปลักลอบทำงานและไม่กลับตามกำหนดเวลา หรือที่เรารู้จักกันในนาม ‘ผีน้อย’ ส่งผลให้ ตม.คัดกรองคนเข้าประเทศเข้มงวดเป็นพิเศษจนบางกรณีกลายเป็นทำให้คนทั่วไปที่ไม่ได้ตั้งใจไปทำงานพลอยได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ บางคนมีเอกสารต่างๆ ที่แสดงความบริสุทธิ์ใจครบถ้วน ก็โดนส่งตัวกลับ

‘ผีน้อย ไม่น้อย’

หากจะย้อนกลับไปยังต้นตอของความเข้มงวดที่หลายคนมองว่าเกินพอดี จนเป็นที่มาของแฮชแท็ก #แบนเที่ยวเกาหลี คงต้องย้อนไปดูตัวเลขสถิติที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้โดยตรง

มีข้อมูลจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงยุติธรรม ประเทศเกาหลีใต้ ระบุว่า มีคนไทยอาศัยอยู่ในเกาหลีใต้เกือบ 200,000 คน แบ่งเป็นคนที่เข้ามาทำงานแบบถูกกฎหมาย 40,000 คน และลักลอบทำงานแบบผิดกฎหมาย 140,000 คน นั่นหมายความว่า คนไทยกว่า 75% อาศัยอยู่ในเกาหลีใต้แบบผิดกฎหมาย สะท้อนให้เห็นว่าปัญหาดังกล่าวไม่ใช่แค่เรื่องส่วนบุคคล แต่เป็นปัญหาที่เชื่อมโยงถึงระบบและความสัมพันธ์ระดับประเทศ

มีงานวิจัยเรื่อง A Study of Thai ‘Illegal worker’ in South Korea หรือแรงงานผีน้อยไทยในเกาหลี เผยว่า แรงงานไทยในเกาหลีส่วนใหญ่ทราบดีว่าการเข้าไปทำงานแบบผิดกฎหมายมีความเสี่ยงในเรื่องใดบ้าง ซึ่งบางครั้งก็คุ้มที่จะเสี่ยง โดยเหตุผลที่ทำให้ตัดสินใจไปเป็นผีน้อยในเกาหลีมาจากความไม่มีเสถียรภาพในสังคมไทย ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ที่คนรายได้น้อยมักถูกตีกรอบให้ไม่มีทางเลือกในสังคม และการกระจุกตัวของการพัฒนาในกรุงเทพฯ จนละเลยพื้นที่ในต่างจังหวัด

ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้มีโอกาสและตัวเลือกไม่มากนัก การทำงานนอกประเทศจึงมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น หากปัญหาภายในประเทศยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างตรงจุด ปัญหาแรงงานผิดกฎหมายก็จะเกิดขึ้นต่อไป แม้ในอนาคตจะไม่สามารถทำงานในเกาหลีได้ พวกเขาก็จะมองหาการทำงานในประเทศอื่นๆ อยู่ดี

นอกจากนี้ ในปี 2562 มีข้อมูลจาก KBS Report เผยว่า นักท่องเที่ยวคนไทยประมาณ 20% ที่ลงสนามบินเชจู เมื่อผ่าน ตม.แล้วจะหายตัวทันที และไม่กลับประเทศตามเวลาที่ระบุไว้ ทั้งนี้การเดินทางไปเกาะเชจูไม่จำเป็นต้องผ่าน K-ETA ขณะเดียวกันคนไทยยังเป็นกลุ่มชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในเกาหลีใต้และถูกจับด้วยข้อหายาเสพติดมากที่สุด ทั้งในส่วนของการลักลอบนำเข้า และการจำหน่าย

สำหรับอาชีพที่เป็นที่ต้องการในเกาหลีใต้ หลักๆ ยังเป็นงานเกษตร พืชสวน อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเรือเดินทะเล อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น รายได้เฉลี่ย 2,000 บาทต่อชั่วโมง หรือ 70,000-80,000 บาทต่อเดือน

‘แค้นนี้ต้องชำระ’

เมื่อนักท่องเที่ยวที่บริสุทธิ์ใจได้รับผลกระทบจากปัญหาข้างต้น มีหลายคนที่แสดงความคิดเห็นว่า ควรต้องยกเลิกการเว้นวีซ่า เพื่อป้องกันปัญหาการหลบหนีเข้าไปทำงาน นักท่องเที่ยวที่มีความประสงค์จะไปท่องเที่ยวก็ทำวีซ่าท่องเที่ยว ซึ่งแน่นอนว่าวิธีนี้จะมีค่าใช้จ่ายและความยุ่งยากเพิ่มขึ้น

หลังจากมีประเด็นนักท่องเที่ยวโดนส่งกลับโดยไม่รับฟังเหตุผลใดๆ ทำให้หลายคนยึดหลัก ‘แค้นนี้ต้องชำระ’ ไม่ใช่แค่ #แบนเที่ยวเกาหลี แต่ในเมื่อ ตม.เกาหลีใต้เข้มงวดกับนักท่องเที่ยวไทย เราก็ควรเข้มงวดกับนักท่องเที่ยวเกาหลีใต้บ้าง คำถามคือสิ่งนี้จะเป็นผลดีต่อประเทศจริงหรือไม่

ซึ่งกรณีนี้หากมองในมุมเศรษฐกิจไทย ต้องบอกว่านักท่องเที่ยวแดนโสมนี่แหละที่กำลังก้าวขึ้นมาเป็นชนชาติที่สำคัญต่อการท่องเที่ยวในบ้านเราอย่างมาก

เมื่อดูข้อมูลย้อนหลังในปี 2562 ก่อนเกิดโควิด-19 นักท่องเที่ยวเกาหลีใต้เดินทางมาประเทศไทยประมาณ 1.89 ล้านคน ซึ่งถือเป็นประเทศที่มาเยือนประเทศไทยมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก สร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 75,000 ล้านบาท

  • ปี 2563 นักท่องเที่ยวเกาหลีใต้เดินทางมาไทยราว 262,000 คน
  • ปี 2564 นักท่องเที่ยวเกาหลีใต้เดินทางมาไทยราว 12,000 คน
  • ปี 2565 นักท่องเที่ยวเกาหลีใต้เดินทางมาไทยราว 530,000 คน

ซึ่งเมื่อเทียบกับอันดับนักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางไปเกาหลีใต้แล้ว นักท่องเที่ยวไทยยังไม่ติดอันดับ Top 5 ของนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศ โดยอันดับที่หนึ่งคือญี่ปุ่น ตามด้วยจีน ไต้หวัน สหรัฐฯ และสิงคโปร์ (ข้อมูลจาก Korea Times, 2023) แต่ถึงอย่างไรตัวเลขนักท่องเที่ยวไทยก็ไม่ถือว่าน้อย

ข้อมูลจากองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาหลี และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย รายงานว่าในปี 2562 ก่อนเกิดโควิด-19 มีนักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปเที่ยวประเทศเกาหลีราว 570,000 คน สำหรับปี 2566 ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ นักท่องเที่ยวไทยเดินทางเข้าเกาหลีกว่า 250,000 คน ซึ่งจากตัวเลขดังกล่าว สะท้อนชัดเจนว่าทั้งสองประเทศต่างเป็นตลาดการท่องเที่ยวที่สำคัญร่วมกัน

ในส่วนของกำลังซื้อ เกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยต่อคนค่อนข้างสูงอยู่ในระดับใกล้เคียงกับญี่ปุ่น โดยในปี 2565 เกาหลีใต้มีขนาดเศรษฐกิจเท่ากับ 1,734.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นรายได้เฉลี่ยต่อคนเท่ากับ 33,592 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี หรือ 1,178,000 บาทต่อปี (อันดับที่ 34 ของโลก) นอกจากนี้เกาหลีใต้ยังเป็นประเทศที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางออกนอกประเทศค่อนข้างสูง โดยในช่วงก่อนเกิดโควิด-19 มีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวเกาหลีใต้ออกเดินทางไปทั่วโลก 28.7 ล้านคน

อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้นักท่องเที่ยวเกาหลีสำคัญต่อไทยคือ ค่าใช้จ่ายต่อคนเวลาไปเที่ยวอยู่ที่ 39,891 บาทต่อทริป แม้จะเป็นตัวเลขที่ไม่มาก แต่เมื่อเทียบกับการท่องเที่ยวประมาณ 7 วันถือว่าสมน้ำสมเนื้อ โดยค่าใช้จ่ายที่มากที่สุดเป็นค่าใช้จ่ายด้านที่พัก ประมาณ 12,000 บาทต่อคน ตามด้วยค่าอาหารและเครื่องดื่ม 8,600 บาท ที่เหลือเป็นค่าช้อปปิ้ง ค่าเดินทาง และอื่นๆ

‘ทำไมเกาหลีจึงยังเป็นจุดหมายสำคัญ’

มาถึงตรงนี้ หลายคนอาจบอกว่าต่อให้มีประสบการณ์ไม่ดี หรือถูกส่งกลับ เกาหลีก็ยังเป็นประเทศในฝันที่อยากไปอยู่ดี โดยเฉพาะเด็กไทยที่อยู่ในยุค 2000 เติบโตมาพร้อมกับวัฒนธรรมเกาหลี ทานอาหารเกาหลี เทรนด์แฟชั่นแบบเกาหลี หรือเป็นแฟนคลับไอดอลเกาหลี เป็นการกลืนกินทางวัฒนธรรมโดยใช้ซอฟต์พาวเวอร์ ต่อให้คนไทยเข้าถึงเทรนด์เกาหลีแค่ไหน ในสายตาคนเกาหลีเราก็ยังเป็นรองอยู่ดี นั่นทำให้เกาหลีมีแต้มต่อกับคนไทยอย่างมาก

เกาหลีใต้ถือได้ว่าเป็นประเทศที่ใช้กลยุทธ์การตลาดเชิงวัฒนธรรม (cultural marketing) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือมีการนำต้นทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างเป็นจุดขาย และดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก เนื่องจากวัฒนธรรมของเกาหลีใต้สามารถเข้าถึงง่าย มีหลายรูปแบบ เหมาะกับทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นอาหาร การแต่งกาย สถานที่ถ่ายทำซีรีส์ ที่เป็นซอฟต์พาวเวอร์อย่างหนึ่งที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในประเทศได้

จะว่าไปแล้ว ปัญหาที่เกิดขึ้นจะโทษทาง ตม.เกาหลีอย่างเดียวก็ไม่ได้ เพราะในอีกมุมหากเรายังแก้ปัญหาเรื่องผีน้อยไม่ได้ คนไทยที่จะเดินทางเข้าเกาหลีใต้ก็อาจต้องเตรียมตัวเตรียมใจตั้งแต่เนิ่นๆ ว่าอาจถูกส่งตัวกลับ ซึ่งหากจะแก้ปัญหานี้จริงก็อาจต้องกลับมาย้อนมองถึงต้นตออันเป็นรากของปัญหา อย่างเรื่องการสร้างงานสร้างโอกาสให้คนไทยอย่างเท่าเทียมและเพียงพอ รวมถึงทำให้แต่ละอาชีพมีรายได้ที่เพียงพอต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีในประเทศบ้านเกิด เพื่อไม่ให้แต่ละคนต้องดิ้นรนกลายไปเป็นผีน้อยในต่างแดน

อ้างอิงข้อมูลจาก

Writer

กราฟฟิกที่พยายาม ประคองสติ เพื่อค้นหาสไตล์

You Might Also Like