ส่องเทรนด์ Balanced Diet จากงานแถลงเนสท์เล่ เมื่อ 70% ของชาวไทย นิยาม ‘กินดี’ ว่ากินอร่อยแบบโนสนแคลอรี่

ทุกวันนี้หากโดนถามว่า ‘กินอะไรดี’ คำตอบของหลายคนคงไม่ใช่ ‘กินอะไรก็ได้’ อีกต่อไป เพราะคนไทยหันมาใส่ใจการกินอาหารเพื่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น 

ความน่าสนใจคือนิยามของการกินดีในที่นี้ไม่ได้หมายถึงแค่การกินอาหารคลีนเท่านั้นแต่จากการวิจัยของ Mintel ในปี 2566 พบว่า ผู้บริโภคชาวไทยกว่า 70% มองว่าการกินดีหรือการกินอาหารเพื่อสุขภาพคือการได้เอนจอยกับอาหารที่มีรสชาติอร่อย แบบไม่ต้องนับแคลอรี่

ผลสำรวจที่ว่าสอดคล้องกับการวิจัยของเนสท์เล่และคันทาร์ในปี 2565 ที่พบว่า 91% ของผู้บริโภคชาวไทยต้องการกินอาหารที่ดีและให้คนในครอบครัวกินอยู่อย่างสมดุลหรือ Balanced Diet แต่ในขณะเดียวกันกลับมีเพียง 42% เท่านั้น ที่สามารถกินอยู่อย่างสมดุลได้

unhealthy woman over eating fast food burgers, fired chicken, donuts, and desserts, Binge Eating Disorder (BED) concept

ปัจจัยที่ทำให้ผู้คนไม่สามารถกินอยู่อย่างสมดุล

  • 44% เป็นเหตุผลเรื่องราคา อย่างที่รู้กันว่าอาหารที่ดีต่อสุขภาพมักจะมีราคาสูงกว่าปกติ ทำให้ไม่สามารถกินอาหารเหล่านั้นได้บ่อยๆ
  • 40% ไม่มีเวลาทำอาหารเอง ถึงแม้การทำอาหารเพื่อสุขภาพกินเองอาจมีราคาถูกกว่าการซื้อ แต่ในวัยทำงานที่ทุกอย่างเร่งรีบไปหมด ทำให้ไม่มีเวลามาทำอาหารมากนัก
  • 40% มีพฤติกรรมติดกินของหวาน ไม่ว่าจะเป็นการกินอาหารคาวแล้วต้องตบท้ายด้วยของหวานทุกครั้ง รวมถึงการที่คนอยากเติมความสุขเล็กๆ น้อยๆ ในแต่ละวัน ด้วยการกินของหวานหรือขนม
  • 24% อยากกินอาหารที่อร่อย แต่บางทีอาหารเพื่อสุขภาพจะลดการปรุง ทำให้มีรสชาติอ่อน ไม่จัดจ้าน และมักใช้วัตถุดิบไม่หลากหลาย ทำให้หลายคนรู้สึกเบื่อและคิดว่าอาหารเหล่านี้ไม่อร่อยเท่าอาหารปกติ

ภาคธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มควรปรับตัวยังไงให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคชาวไทย?

จากปัจจัยที่กล่าวไปข้างต้น หากให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินจากหน้ามือเป็นหลังมือเพื่อทานอาหารเพื่อสุขภาพก็ดูเป็นเรื่องยาก ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มจึงเลือกปรับสินค้าที่ขายอยู่เดิมให้ดีต่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้แก่ผู้บริโภค อย่างกรณีของเนสท์เล่ที่ปรับกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมการกินอยู่อย่างสมดุล 

  1. ขยายกลุ่มสินค้าเพื่อสุขภาพ โดยเน้นปรับสูตรกลุ่มสินค้าสำหรับการบริโภคได้ทุกวันให้ผู้บริโภคได้กินของอร่อยแบบไม่ทำลายสุขภาพ เช่น เนสกาแฟ นมตรามือ ซอสแม็กกี้ ที่ลดน้ำตาลและลดโซเดียมลง จนปัจจุบันมีสินค้าเนสเล่ท์กว่า 100 รายการที่ได้รับการรับรองสัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพ ซึ่งนับเป็นจำนวนสินค้าที่ได้รับรองสูงสุดในบรรดาบริษัทอาหารและเครื่องดื่มทั้งหมดในไทย
  2. กลุ่มสินค้าด้านโภชนาการเฉพาะกลุ่ม เช่น สินค้าที่เกี่ยวกับเด็ก ได้ปรับสูตรให้มีคุณค่าทางโภชนาการมากขึ้น โดยได้เสริมแร่ธาตุและวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย พร้อมพยายามควบคุมราคาสินค้าต่อ 1 บริโภคให้อยู่ที่ 5-10 บาท เพื่อประคองราคาให้ผู้บริโภคเข้าถึงได้  
  3. กลุ่มผลิตภัณฑ์ของว่าง เนสท์เล่ปรับสูตรอาหารให้ผู้บริโภคได้กินอย่างเหมาะสม เช่น ไอศครีมสำหรับเด็กที่ให้พลังงานไม่เกิน 110 กิโลแคลอรี ขนมแบบมัลติเสิร์ฟที่แบ่งเป็นซองเล็กๆ ให้หยิบกินได้หลายคน หรือแบ่งกินได้หลายครั้ง และมีการบอกปริมาณการกินที่เหมาะสมแต่ละมื้อไว้อย่างชัดจนบนบรรจุภัณฑ์

กลยุทธ์ของเนสท์เล่ไม่เพียงสะท้อนถึงเทรนด์การใส่ใจสุขภาพของผู้บริโภคชาวไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นหนึ่งในกรณีศึกษาที่น่าสนใจของของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มที่รู้จักปรับตัวเพื่อตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

Writer

นักเขียนที่อยากเปลี่ยนเรื่องธุรกิจให้เป็นเรื่องสนุก และมีแมวกับกาแฟช่วยฮีลใจในทุกวัน

Illustrator

บรรณาธิการศิลปกรรม Email: [email protected]

You Might Also Like