นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

สัตว์เศรษฐกิจ

เบื้องหลัง 9 แบรนด์ไทยที่ใช้ชื่อ ‘สัตว์’ จนคนจดจำ

เคยสังเกตไหมว่ารอบตัวเรามีสินค้าที่ใช้ชื่อเป็นสัตว์อยู่มากมาย ตั้งแต่สัตว์ปีก สัตว์เลื้อยคลาน ไปจนถึงสัตว์ในเทพนิยายที่แฝงไปด้วยอิทธิฤทธิ์

หลายครั้งก็ตั้งขึ้นเพื่อสื่อสารคุณสมบัติของสินค้า บ้างก็อยากให้แบรนด์จดจำได้ง่ายๆ และบ้างก็แค่เกิดจากเหตุผลและความชอบส่วนตัว

ต่อไปนี้คือ 9 แบรนด์ชื่อสัตว์ในโลกธุรกิจที่เราล้วนคุ้นเคยในชีวิตประจำวัน 

ตามไปดูกันว่าอะไรคือวิธีคิดเบื้องหลังกว่าจะมาเป็นสัตว์เหล่านั้น

ชามตราไก่

แม้จะเรียกกันติดปากว่าชามตราไก่ แต่จริงๆ แล้ว ‘ไก่’ ไม่ใช่ชื่อยี่ห้อ ‘ธนบดีสกุล’ ต่างหากคือชื่อแบรนด์ (หรือชื่อโรงงาน) ที่แท้จริงและเป็นผู้ผลิตชามตราไก่รายแรกในไทย 

ลายไก่บนจานชามที่เราคุ้นชินนั้นไม่ได้มีจุดเริ่มต้นที่ลำปาง ประเทศไทย แต่มีการผลิตและใช้งานที่ประเทศจีนมาแล้วกว่าร้อยปี สมัยก่อนเวลาคนจีนโพ้นทะเลอพยพไปยังประเทศต่างๆ ก็มักจะนำชามตราไก่ติดตัวไปใช้งานด้วยจนเป็นที่นิยม ในไทยเองก็มีการใช้กันอย่างแพร่หลายมากในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่ด้วยกาลเวลาและการนำเข้าจานชามจากต่างประเทศเข้ามาในไทยก็ทำให้ชามตราไก่ค่อยๆ หายไป ก่อนที่ทายาทรุ่นที่สองของโรงงานธนบดีสกุลจะนำกลับมาทำใหม่อีกครั้งในปี 2540

ว่ากันว่าไก่เป็นสัตว์มงคล หมายถึงความขยันทำมาหากิน และนำโชคลาภมาให้ นั่นเองจึงอาจเป็นที่มาว่าทำไมคนจีนจึงนิยมวาดลายไก่ไว้บนชาม และทำไมชามที่มีรูปไก่จึงได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน

กระต่ายบิน

ท้องอืด แน่นเฟ้อ มองหายาธาตุน้ำขาวตรากระต่ายบิน 

ใครเป็นสายบุฟเฟต์ที่ต้องมองหาตัวช่วยบ่อยๆ คงจำสปอตโฆษณาตัวนี้ได้ดี ที่มาของชื่อยี่ห้อกระต่ายบินมาจากปีนักษัตรของ สุนันท์ เจียมจรรยา ภรรยาของไร่เฮง เจียมจรรยา ผู้เป็นแพทย์แผนจีนที่คิดค้นสูตรยาขึ้นมา ซึ่งเกิดในปีกระต่าย และอีกเหตุผลคือเขาไม่ค่อยชอบใจนิทานอีสปเรื่องกระต่ายกับเต่าที่เขียนให้กระต่ายแพ้เต่าราบคาบนัก เมื่อทำแบรนด์นี้ขึ้นจึงคิดติดปีกให้กระต่าย คราวนี้จะได้บินแซงหน้าเต่าและถึงเส้นชัยก่อน

เต่าเหยียบโลก 

รู้ไหมว่าจริงๆ แล้ว ‘เต่าเหยียบโลก’ ไม่ได้ใช้ชื่อนี้มาตั้งแต่แรก ชื่อแรกของแบรนด์คือ ‘จับเต่า’ ที่สื่อความหมายแสนตรงตัวถึงคุณสมบัติเด่นของสินค้าที่สามารถจับกลิ่นเต่าได้อยู่หมัดต่างหาก 

แต่เพราะการเอ่ยปากเรียกชื่อแบรนด์นั้นเป็นเรื่องที่ทำให้ลูกค้าหลายคนเขินอายคล้ายประกาศว่าตัวเองมีกลิ่นเต่า บางคนเลยเลี่ยงบอกว่ามาซื้อเต่าเหยียบโลกที่เป็นโลโก้สินค้าแทน (แบรนด์เคยแก้ปัญหานี้ด้วยการเปลี่ยนชื่อเป็น ‘JT’ แล้วด้วย แต่สุดท้ายคนก็คุ้นเคยที่จะเรียกว่า ‘เต่าเหยียบโลก’ ไปแล้วอยู่ดี)

ส่วนเหตุผลที่ต้องมีเต่าเข้ามาเอี่ยวในชื่อแบรนด์ นอกเหนือจากเรื่องกลิ่น นั่นก็เพราะสมชาย จันทิพย์วงษ์ นึกถึงประสบการณ์สมัยทำงานในร้านขายยาสมุนไพรมาก่อน ที่เวลาชาวบ้านมาหาซื้อยาก็มักจะเรียกตามภาพโลโก้ที่เป็นสัตว์แทน ทำให้แม้คนที่ไม่รู้หนังสือก็สามารถซื้อได้ เขาจึงนำเทคนิคนี้มาใช้ แถมเต่ายังนับเป็นสัตว์มงคลที่เขามองว่าเดินช้าแต่มั่นคง ส่วนที่วาดโลโก้ให้เต่าเหยียบโลกไว้ก็เพราะมุ่งหวังว่าจะส่งสินค้าไปขายทั่วโลกได้นั่นเอง

แป้งเย็นตรางู

หน้าร้อนทีไร หลายๆ คนเป็นต้องถามหาแป้งเย็นตรางู แป้งเย็นที่ หมอล้วน ว่องวานิช คิดค้นขึ้นมาเพื่อรักษาชาวต่างชาติที่ปรับตัวกับอากาศร้อนๆ ในไทยไม่ได้จนเกิดผดผื่นคัน หรือ prickly heat ตามตัว 

แบรนด์ตรางูจึงเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของการรักษาโรค งูบนโลโก้สินค้าหมายถึงโรคภัยไข้เจ็บ ส่วนลูกศรที่ปักอยู่บนหัวงูก็หมายถึงการรักษา หรือการกำจัดโรคภัย

หัวม้าลาย

อ่านที่มาของชื่อมาหลายแบรนด์ คงรู้กันแล้วว่าเหตุผลหลักๆ นั้นมาจากเพราะเมื่อก่อนคนอ่านหนังสือออกยังมีน้อย คนจึงมักจะใช้สัญลักษณ์สิงสาราสัตว์มาเป็นตราสินค้าให้ง่ายต่อการจดจำ 

เสถียร ยังวาณิช เจ้าของแบรนด์สินค้าตราหัวม้าลายก็คิดเช่นนั้น แต่เรื่องดันมีอยู่ว่าตอนที่เขาไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ปรากฏว่าสัตว์ที่คนรู้จักกันโดยทั่วไปนั้นแทบจะถูกจดทะเบียนไปหมดแล้ว เหลือเพียงก็แต่ส่วนหัวของม้าลาย เสถียรมองว่าอย่างน้อยม้าเองก็นับเป็นสัตว์มงคลของจีน เขาจึงตัดสินใจใช้ตราการค้าที่ว่าตั้งแต่นั้นมา

กาวตราช้าง

ด้วยความเคยชินเวลาเราเห็นไซยาโนอะคริเลต หรือกาวที่มีคุณสมบัติติดแน่นทนทาน ไม่ว่าจะยี่ห้อไหนๆ ใครๆ ก็เรียกกันว่ากาวตราช้าง แต่ถ้าเป็นของแท้แล้วละก็ชื่อยี่ห้อมันคือ ‘กาวตราช้าง เคนจิ’ หนึ่งในกาวซูเปอร์กลูยี่ห้อแรกๆ ที่เริ่มจำหน่ายในประเทศไทย 

ที่คนเรียกกันว่ากาวตราช้างมาจากรูปสัญลักษณ์บนแผงกาวที่เป็นรูปช้างสีเหลือง ที่น่าจะสื่อถึงความทรงพลัง ติดแน่นไม่หลุด และโฆษณาทางโทรทัศน์ที่ทำให้ชาวบ้านพูดกันติดปากว่า ‘กาวช้าง ของแท้ ต้องเคนจิ’

ชาตราสามม้า

จริงๆ แล้วที่มาของชื่อแบรนด์ยังเป็นปริศนา แม้กระทั่งทายาทของชาตราสามม้าอย่าง อิศเรศ อุณหเทพารักษ์ ก็ยังไม่ทราบที่มาแน่ชัด จนเคยนำความสงสัยไปปรึกษาเพื่อนชาวจีนแต้จิ๋วและได้ข้อมูลว่านอกจากตราสามม้า สมัยก่อนยังมีแบรนด์ชาของชาวแต้จิ๋วที่ใช้คำว่า ‘สาม’ ในชื่ออีกมากมาย สันนิษฐานว่าเลขสามนี้อาจมาจากธรรมเนียมการชงชาของคนแต้จิ๋วที่จะมีจอกชาเตรียมไว้เพียงแค่สามใบเท่านั้น ไม่ว่าจะมีคนไปเยี่ยมที่บ้านกี่คนก็จะไม่เพิ่มจอกชา ต้องรอให้สามคนแรกดื่มเสร็จ แล้วจึงจะวนรินชาให้คนถัดไปจนกว่าจะครบคน 

นอกจากนี้ยังมีเกร็ดสนุกๆ ที่ไม่อาจทราบได้ว่าเกี่ยวข้องกับการตั้งชื่อแบรนด์ตราสามม้าหรือเปล่า นั่นคือ ก่อนหน้าจะมีตราสามม้า คุณปู่ของอิศเรศ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ก็เคยทำชาตราหนึ่งไก่และสองเหรียญมาก่อนด้วย

สำนักพิมพ์แซลมอน

คอหนังสือคงรู้กันว่าหนังสือจากสำนักพิมพ์แซลมอนนั้นอ่านสนุก และมีรสชาติแปลกใหม่น่าติดตามแค่ไหน ที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะพวกเขาทำงานด้วยแนวคิดตามชื่อ ทั้งว่ายทวนกระแสน้ำ เฟ้นหาสิ่งที่อยู่นอกกระแสหลักแต่น่าสนใจและคิดว่ามีประโยชน์ต่อผู้อ่าน เสิร์ฟเนื้อหารสชาติอร่อย ครบถ้วนด้วยสารอาหาร จนหากใครได้ลองอ่านก็รับรองเลยว่าจะติดใจ เช่นเดียวกันกับเนื้อปลาแซลมอนที่คนทั่วโลกพากันหลงรักยังไงล่ะ

หงษ์ทอง

ข้าวหงษ์ทอง เริ่มต้นมาจากธุรกิจค้าข้าวแถวสามย่านของ ‘บัวลิ้ม แซ่โค้ว’ ก่อนจะได้ลูกชายอย่างโกศล มานะธัญญา และกมล มานะธัญญา ค่อยๆ พัฒนาจนสามารถมีโรงสีข้าวของตัวเอง ส่งออกข้าวไปขายทั้งในและต่างประเทศภายใต้ชื่อ ‘หงษ์ทอง’ 

สาเหตุที่ใช้ชื่อนี้ก็เพื่อความเป็นมงคลแก่สินค้าของบริษัท เพราะเห็นว่าหงษ์ทองเป็นนกในนวนิยายที่มีอิทธิฤทธิ์และอานุภาพ เป็นที่เกรงกลัวของสัตว์ทั้งหลาย

Writer

ฟรีแลนซ์ที่หวังจะมีของอร่อยกินในทุกวัน และมีงานทำในทุกเดือน

Illustrator

บรรณาธิการศิลปกรรม Email: y.pongtorn@gmail.com

You Might Also Like