นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

Aged Society

จะเป็นอย่างไรเมื่อไทย อาจกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ‘ขั้นสุดยอด’เร็วกว่าที่คาดเอาไว้

นอกจากเรื่องของสิ่งแวดล้อม สงคราม ภาวะเงินเฟ้อ อีกหนึ่งปัญหาที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญร่วมกันอยู่ตอนนี้คือปัญหาโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไปจากอดีต

เกิดน้อยลง แก่มากขึ้น จึงนำมาสู่ปัญหาสังคมผู้สูงวัย ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น ซึ่งเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบมานานหลายปีแล้ว เกาหลีใต้ ที่มีอัตราการเจริญพันธุ์ลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นทั่วโลก

กระทั่งจีน ประเทศที่เคยมีประชากรมากที่สุดในโลกจนต้องออกนโยบายลูกคนเดียว แม้ภายหลังจีนจะออกมาผ่อนปรนนโยบายดังกล่าวเพื่อแก้ปัญหาอัตราการเกิดที่ต่ำมากจนเกินไป ทว่าด้วยสังคมที่เต็มไปด้วยวิกฤตและโรคระบาด การผ่อนปรนนโยบายลูกคนเดียวก็ยังไม่สามารถทำให้จีนแก้ปัญหาการลดลงของประชากรเกิดใหม่ได้ โดยจีนเจอปัญหาจำนวนประชากรลดลงมากที่สุดเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ทศวรรษ และถูกอินเดียแซงหน้าเรื่องจำนวนประชากรไปเป็นที่เรียบร้อย 

เช่นเดียวกับไทยที่ได้เริ่มก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยมาตั้งแต่ช่วงปี 2548 แต่เหตุผลที่ทำให้เราหยิบยกประเด็นนี้มาพูดถึงอีกครั้งเพราะช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ออกรายงานเกี่ยวกับเรื่อง ‘การมาถึงของสังคมสูงอายุขั้นสุดยอดที่เร็วกว่าที่คาดไว้’ 

แล้วสังคมผู้สูงอายุ ‘ขั้นสุดยอด’ วัดจากอะไร? 

องค์การสหประชาชาติได้กำหนดเกณฑ์เอาไว้ว่า สังคมผู้สูงอายุจะแบ่งเป็น 3 ขั้นหลักๆ ด้วยกัน 

ขั้นแรกคือสังคมผู้สูงอายุทั่วไป–มีคนอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 10% หรือมีคนอายุมากกว่า 65 ปีมากกว่า 7% ของประชากรทั้งหมด

ขั้นที่สองคือสังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์–มีคนอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 20% หรือมีคนอายุมากกว่า 65 ปีมากกว่า 14% ของประชากรทั้งหมด

ขั้นที่สามคือสังคมผู้สูงอายุขั้นสุดยอด–มีคนอายุมากกว่า 65 ปีมากกว่า 20% ของประชากรทั้งหมด

ซึ่งไทยอาจกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุขั้นหลังสุดตอนปี 2572 เร็วขึ้นกว่าจากเดิมซึ่งคาดไว้ว่าจะเป็นปี 2574 โดยเหตุผลที่ทำให้ไทยอาจก้าวสู่สังคมผู้สูงวัยขั้นสูงสุดเร็วกว่าที่กำหนดไว้มาจาก 3 ข้อหลักๆ ด้วยกัน

ข้อแรก ประชากรของไทยมีจำนวนลดลงแล้วตั้งแต่ปี 2563 เป็นการลดลงที่เร็วขึ้นถึง 9 ปี จากเดิมที่เคยคาดกันเอาไว้ว่าประชากรไทยน่าจะเริ่มมีจำนวนลดลงในปี 2572 อีกทั้งในปี 2564-2565 จำนวนผู้เสียชีวิตก็เริ่มแซงหน้าจำนวนเด็กเกิดใหม่แล้ว

ข้อที่สอง อัตราการเกิดและภาวะเจริญพันธุ์ในไทยมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีอัตราการเกิดอยู่ที่ 0.7% มีภาวะเจริญพันธุ์อยู่ที่ 1.33 สวนทางกับตัวเลขของประชากรรุ่นเบบี้บูมเมอร์ ที่กำลังจะก้าวเข้าสู่อายุ 60 ปีจำนวนกว่า 1 ล้านคนในปีนี้

ข้อสุดท้าย เมื่อโลกเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจ โรคระบาดและความไม่แน่นอนทั้งหลาย จึงทำให้คนรุ่นใหม่นิยมมีลูกกันน้อยลง ส่งผลให้อัตราการเกิดใหม่ลดลงตามไปด้วย

เมื่อโครงสร้างของประชากรในประเทศเริ่มเปลี่ยนแปลง ธุรกิจก็ควรเริ่มที่จะปรับตัวตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปด้วย แม้วันนี้รายได้ของธุรกิจคุณจะยังดีอยู่ ลูกค้ายังซื้อของจากคุณในจำนวนเฉลี่ยเท่าเดิม ยังมีลูกค้าประจำที่เป็นฐานแฟนของธุรกิจอยู่ แต่หากประเทศเริ่มก้าวสู่สังคมผู้สูงวัยมากกว่านี้ ลูกค้าคนเดิมเริ่มล้มหายไปตามกาลเวลา การหมั่นสร้างกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจเติบโตต่อไปได้

หรือแม้แต่ในวันที่จำนวนคนเกิดใหม่มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ย่อมส่งผลให้ต้นทุนแรงงานสูงขึ้นตามไปด้วย การมองหาเทคโนโลยีมาทดแทนแรงงานก็อาจเป็นหนทางในการประหยัดต้นทุนของธุรกิจในระยะยาวได้ 

ไม่เพียงแต่ภาคเอกชนหรือธุรกิจเท่านั้น การที่ประเทศก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยยังถือเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ของภาครัฐด้วยเช่นกัน เพราะสังคมผู้สูงวัยนั้นพ่วงมาด้วยค่าใช้จ่ายและต้นทุนอีกมากมายที่ภาครัฐต้องแบกรับ ทั้งเบี้ยผู้สูงอายุ หรือค่าใช้จ่ายด้านสาธารณะสุขก็ตาม สวนทางกับจำนวนเด็กเกิดใหม่ซึ่งเป็นวัยที่เต็มไปด้วยพละกำลังในการทำงานและเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินหน้าต่อไป

นี่จึงถือเป็นโจทย์ใหญ่ ที่ไม่ใช่แค่ไทย แต่หลายประเทศก็ยังแก้ไม่ตกเช่นกัน 

แล้วประเทศที่หลายคนมักจะนึกถึงเมื่อพูดถึงสังคมผู้สูงวัยอย่าง ‘ญี่ปุ่น’ แก้ปัญหานี้ยังไง? 

การแก้ปัญหาสังคมผู้สูงอายุในญี่ปุ่นนั้นมี 3 วิธีหลักๆ ด้วยกันคือการขยายอายุเกษียณ โดยตั้งแต่ญี่ปุ่นเริ่มก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยในปี 1980 นับแต่นั้นรัฐบาลญี่ปุ่นก็ได้มีการขอความร่วมมือให้ขยายอายุเกษียณจากเดิม 55 ปี มาเป็น 60 ปี กระทั่งในปี 2006 ก็ได้มีการปรับให้จ้างงานได้จนถึงอายุ 65 ปี ทั้งยังมีการเสนอให้ผู้สูงอายุรับเงินบำนาญในช่วงอายุ 60-70 ปี ซึ่งหากผู้สูงอายุคนไหนรับเงินบำนาญในช่วงอายุ 65 ปีขึ้นไปก็จะได้เงินจำนวนมากกว่า เพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้สูงอายุทำงาน และเพื่อแก้ปัญหาแรงงานขาดตลาด 

วิธีที่สองคือการใช้กฎหมายบังคับนายจ้างเพื่อสร้างความมั่นคงในการทำอาชีพให้กับผู้สูงอายุ ส่วนวิธีสุดท้ายคือการมีมาตรการที่ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้ทำงานกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการฝึกอาชีพ หรือการให้คำปรึกษาเรื่องการทำงานก็ตาม

แม้ว่าอายุและพละกำลังของผู้สูงวัยจะยังไม่สามารถมาทดแทนแรงงานที่มาจากคนรุ่นใหม่ได้ แต่นโยบายเหล่านี้ก็ทำให้อัตราว่างงานของผู้สูงอายุในญี่ปุ่นลดน้อยลงไปในจำนวนที่ไม่น้อยเลย

และหากไทยนำนโยบายเหล่านี้มาปรับใช้บ้าง ก็อาจช่วยชะลอให้การเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยขั้นสุดยอด ช้าลงก็เป็นได้

อ้างอิง

  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
  • tdri.or.th/2017/01/2017-01-20

Writer

บรรณาธิการธุรกิจ มีความสนใจเรื่องกลยุทธ์ธุรกิจ-การตลาด และชื่นชอบการเข้าโรงงานเพื่อดูเบื้องหลังการผลิตเป็นอย่างยิ่ง

You Might Also Like