นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

ผู้ประกอบการไทยเจาะตลาดสัตว์เลี้ยงยังไง? กลยุทธ์และเทรนด์ที่น่าจับตามอง เมื่อไทยส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงอันดับ 4 ของโลก

ความถี่ในการใช้หมาแมวในโฆษณาสินค้าต่างๆ และจำนวนห้างร้านแบบ pet-friendly ที่เพิ่มขึ้น คงตอบได้แล้วว่า เทรนด์การเลี้ยงสัตว์เป็นลูกจะไม่ใช่กระแสแต่จะอยู่คู่กับประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลกไปอีกนาน เช่นเดียวกับตอนนี้ที่มหกรรมสัตว์เลี้ยง Pet Expo กลับมาจัดเป็นรอบที่ 2 ของปี

เทรนด์ที่ว่านี้ไม่เพียงส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตเหล่าสัตว์น้อยใหญ่ แต่ผู้ประกอบการไทยก็ยิ่งต้องจับตามองเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งทางการตลาดมาให้ได้ 

ตัวเลขที่น่าสนใจและเทรนด์ที่น่าจับตามอง

1. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ คาดการณ์ว่าตลาดสัตว์เลี้ยงของไทยจะเติบโตเฉลี่ยปีละ 8.4% เป็น 66.748 พันล้านบาทในปี 2569 นั่นทำให้อาจเกิดธุรกิจใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมนี้ และการเติบโตของไทยยังส่งผลต่ออุตสาหกรรมสัตว์เลี้ยงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาจนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางการจัดงาน Pet Fair เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

2. ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่าประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงอันดับ 4 ของโลก แถมในปีนี้ยังคาดการณ์อีกว่า มูลค่าการส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงของไทยปี 2024 จะอยู่ที่ 2,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 19.5% จากปีก่อนที่หดตัว 15.0% 

3. ก่อนหน้านี้ อดีตนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ได้กล่าวว่ารัฐบาลไทยพร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการไทยที่ทำธุรกิจในตลาดสัตว์เลี้ยง เนื่องจากในช่วง 5 ปีมานี้คนไทยนิยมเลี้ยงสัตว์มากขึ้น รวมถึงได้ทำให้ธุรกิจ 3 ประเภทต่อไปนี้เติบโตขึ้น ได้แก่ อาหารและของเล่นสำหรับสัตว์เลี้ยง การดูแลและบริการสำหรับสัตว์เลี้ยง และฟาร์มสัตว์เลี้ยง 

การสนับสนุนที่ว่าอ้างอิงจากการที่กระทรวงพาณิชย์นำผู้ประกอบการไทยที่ประกอบธุรกิจสัตว์เลี้ยง 18 ราย เข้าร่วมงาน Taipei Pets Show 2024 ที่ประเทศไต้หวัน เมื่อวันที่ 5-8 กรกฎาคม ในจำนวนผู้แสดงสินค้า 400 ราย 1,800 บูท จากนานาประเทศ มีผู้เข้าชมงาน 160,000 คน บูทนิทรรศการไทยได้รับความสนใจจากผู้นำเข้าจากไต้หวันและประเทศต่างๆ จนสามารถเจรจาการค้าได้กว่า 200 ราย ซึ่งคาดว่ายอดสั่งซื้อต่อปีจะทะลุ 2.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ไทยเองได้เปรียบด้านวัตถุดิบที่ใช้ผลิตอาหารสัตว์เลี้ยง อันเป็นผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมเกษตรและประมงที่ไทยเราเชี่ยวชาญ ทั้งแป้ง ธัญพืช และเศษอาหารทะเล เป็นสิ่งที่หลายประเทศไว้ใจให้เราเป็นฐานการผลิตก็จริง แต่จากปัจจัยด้านต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น และมีคู่แข่งอย่างกัมพูชา หรือประเทศใกล้เคียง อาจทำให้ไทยเพลี่ยงพล้ำได้หากไม่ปรับกลยุทธ์

กลยุทธ์แบบไหนที่ผู้ประกอบการควรตั้งรับ

1. จากการที่ต้นทุนการผลิตของไทยสูงขึ้น อาจทำให้ไทยเพลี่ยงพล้ำต่ออันดับ 4 ของโลกได้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้แนะว่าผู้ประกอบการไทยควรเจาะตลาดพรีเมียมรับเทรนด์ผู้บริโภคที่ยอมจ่ายสูงขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงด้านการแข่งขัน 

เช่น อาหารสัตว์เลี้ยงแบบ human grade ที่มีคุณภาพเทียบเท่าอาหารคน อาหารสัตว์เลี้ยงออร์แกนิก อาหารสัตว์เลี้ยงจากโปรตีนทางเลือกอย่างพืชหรือแมลง อาหารเฉพาะทางอย่างอาหารสำหรับสัตว์น้ำหนักเกิน อาหารสัตว์สูงวัย และอาการประกอบการรักษาโรค

ที่จริง ไม่เพียงแต่ศูนย์วิจัยกสิกรเท่านั้น แต่ Pet Fair SE ASIA ยังกล่าวว่าแม้กลุ่มอาหารสุนัขและแมวราคากลางจะเป็นผู้นำในตลาด แต่กลุ่มอาหารพรีเมียมจะเป็นผู้นำในการเติบโตมากกว่า เนื่องจากคนให้ความสำคัญกับสุขภาพสัตยว์เลี้ยงมากขึ้น ผลสำรวจยังพบว่าตลาดของไทยมีการผสมผสานที่ดีระหว่างผู้เล่นทั้งในประเทศและระดับโลก โดยมี Mars Inc และเครือเจริญโภคภัณฑ์เป็นผู้นำ

2. ที่ผ่านมาประเทศไทยมักรับจ้างผลิต (OEM) กว่า 80% แต่ในเวลานี้ ผู้ประกอบการไทยควรสร้างแบรนด์สินค้าของตัวเองมากขึ้น เพื่อให้สามารถลงแข่งกับผู้เล่นในตลาดนี้ อย่างเยอรมนี สหรัฐฯ ฝรั่งเศส ที่ผลิตและส่งออกแบรนด์ของตัวเอง

3. ผู้ประกอบการควรยืดหยุ่นและพร้อมปรับตัวไปตามพฤติกรรมการเลี้ยงสัตว์ที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ เช่น เทรนด์เลี้ยงสัตว์ Pet Premiumization ในสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ที่ผู้เลี้ยงส่วนใหญ่ลงทุนกับอาหารสัตว์คุณภาพสูง ทำให้ยอดใช้จ่ายอาหารสัตว์มากกว่ายอดอื่นๆ  

4. ตลาดนิวซีแลนด์เป็นตลาดที่น่าสนใจ เนื่องจากข้อตกลงทางการค้า FTA ไทย-นิวซีแลนด์ ที่ทำให้ไทยได้เปรียบเรื่องการทำราคา นอกจากนั้น นิวซีแลนด์ยังเป็นประเทศที่เลี้ยงสัตว์ในอัตราเฉลี่ยต่อครัวเรือนสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก 

5. แม้ตลาดอังกฤษจะไม่ใช่ตลาดหลัก เมื่อเทียบกับสหรัฐฯ และอิตาลี แต่ตลาดอาหารสัตว์อังกฤษนั้นเติบโตต่อเนื่องตามจำนวนสัตว์เลี้ยงที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะน้องหมาที่อังกฤษมีจำนวนมากที่สุดในบรรดาทวีปยุโรป

6. มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนเข้มงวดมากขึ้น โดยเฉพาะในยุโรป ฐานการผลิตอย่างไทยจึงต้องเร่งเพิ่มมาตรฐานโรงงานและวัตถุดิบในด้านนี้มากขึ้น ไม่ว่าจะลดการปล่อยคาร์บอน การตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของวัตถุดิบ 

เทรนด์สัตว์เลี้ยงที่มาแรงจึงไม่ใช่เพียงทางออกของผู้ประกอบการในด้านธุรกิจสัตว์เลี้ยง แต่ยังเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้ภาคเกษตรกรรม ภาคธุรกิจอาหารหาแนวทางและลู่ทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์เทรนด์ที่กำลังกลายเป็นกระแสหลักของโลก

อ้างอิง

Writer

กองบรรณาธิการไลฟ์สไตล์ที่มีแมวเป็นแรงผลักดันในการทำงาน

Illustrator

บรรณาธิการศิลปกรรม Email: y.pongtorn@gmail.com

You Might Also Like