นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

จากบทเรียนแผ่นดินไหวปี 2011 สู่ Spectee Pro บริการจัดการวิกฤตของญี่ปุ่นที่พัฒนา AI รายงานภัยพิบัติแบบเรียลไทม์

ช่วงบ่ายของวันนี้ หนึ่งในประเด็นร้อนที่ทุกคนให้ความสนใจและต่างก็ได้รับผลกระทบคือเหตุการณ์แผ่นดินไหวซึ่งมีจุดศูนย์กลางที่ประเทศเมียนมา ขนาด 8.2 แมกนิจูด ซึ่งหลายพื้นที่ในประเทศไทยรู้สึกได้ถึงแรงสั่นสะเทือน โดยเฉพาะอาคารขนาดสูง ทั้งตึกที่กำลังก่อสร้างบริเวณจตุจักรถล่ม รวมถึงถนนแถวสะพานพระราม 2 ก็เกิดการยุบตัว

ประเด็นที่ประชาชนพูดเป็นเสียงเดียวกันคือ เมื่อออกมานอกอาคารแล้วนั้นต้องปฏิบัติตัวอย่างไรต่อ รวมถึงกระบวนการแจ้งเตือนภัยพิบัติของไทยนั้นควรพัฒนาให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันหรือไม่ ทั้งหมดสะท้อนถึงการขาดความรู้และการเตรียมตัวด้านภัยพิบัติของไทย กลับกันกับประเทศที่เกิดภัยพิบัติบ่อยครั้งอย่างญี่ปุ่นนั้น ภาครัฐไม่เพียงจริงจังกับเรื่องการเตรียมพร้อม แต่ยังมีภาคเอกชนหลายเจ้าที่กระโดดเข้ามาร่วมพัฒนาการจัดการภัยพิบัติให้ดีขึ้น

หนึ่งในเคสที่ถือเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจคือ Spectee Inc. สตาร์ทอัพจากญี่ปุ่นที่ซีอีโออย่าง มุราคามิ เคนจิโร ได้หยิบเอาบทเรียนจากการเป็นอาสาสมัครในพื้นที่ภัยพิบัติหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในเดือนมีนาคม ปี 2011 มาพัฒนา Spectee Pro บริการจัดการวิกฤตบนคลาวด์

เจ้าบริการนี้ใช้ AI วิเคราะห์ข้อมูลจากหลายแหล่ง ทั้งโพสต์บนโซเชียลมีเดีย การวัดสภาพอากาศ ฟุตเทจจากกล้องถนนและแม่น้ำ รวมไปถึงข้อมูลจากรถราในท้องถนน นอกจากนั้นยังตรวจคัดกรองเฉพาะโพสต์บนโซเชียลมีเดียที่เชื่อถือได้ โดยระบบจะวิเคราะห์ข้อความและภาพในโพสต์ ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของผู้โพสต์ พร้อมกับเทียบรูปแบบข้อมูลเท็จกับข้อมูลที่เคยเรียนรู้มา รวมถึงยังมีทีมเจ้าหน้าที่คอยช่วยตรวจสอบและเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อคัดกรองข้อมูลที่ AI ตรวจจับไม่ได้ ทั้งหมดนี้ใช้เวลาเพียง 1 นาที ตั้งแต่การโพสต์ไปจนถึงการเผยแพร่ข้อมูลที่ได้รับการยืนยัน

อินเทอร์เฟซ Spectee Pro ยังใช้งานง่าย กรองข้อมูลได้แม่นยำ จัดหมวดหมู่โพสต์บนโซเชียลมีเดียได้กว่า 100 ประเภท เช่น ไฟไหม้ หรืออุบัติเหตุ ทั้งยังแสดงบนแผนที่รวมกับข้อมูลสภาพอากาศและการจราจรได้ด้วย กระบวนการเหล่านี้จะช่วยรายงานสถานการณ์ภัยพิบัติและตำแหน่งแบบเรียลไทม์ ไม่ต้องตามข่าวจากแอพฯ X หรือเฟซบุ๊กอย่างเดียวแบบที่คนไทยกำลังเผชิญในตอนนี้ 

นับตั้งแต่เปิดตัวในปี 2020 มีหน่วยงานท้องถิ่นและบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการจัดการภัยพิบัติกว่า 1,100 แห่ง เข้าร่วมใช้งาน Spectee Inc. ยังมีแผนขยายบริการไปทั่วโลก ตั้งใจเริ่มจากฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่ประสบภัยพิบัติธรรมชาติบ่อยที่สุดในเอเชีย นอกจากนั้นยังมีแผนขยายมายังเวียดนามและไทยด้วย 

ธุรกิจอย่าง Spectee Pro ได้ผสานทั้งการแจ้งเตือนภัยพิบัติอย่างเป็นระบบ การใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และการเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้การจัดการภัยพิบัติมีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือมากขึ้น

สำหรับไทยเอง แม้ว่าเราจะไม่คุ้นเคยกับภัยพิบัติรุนแรงเท่าญี่ปุ่น แต่การนำแนวทางเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ จะช่วยให้เรามีระบบการแจ้งเตือนภัยพิบัติที่ดีขึ้น และสามารถรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

อ้างอิง

Writer

กองบรรณาธิการไลฟ์สไตล์ที่มีแมวเป็นแรงผลักดันในการทำงาน

Illustrator

บรรณาธิการศิลปกรรม Email: y.pongtorn@gmail.com

You Might Also Like