นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

เปิดเทอมใหญ่ หัวใจ (ไม่) ว้าวุ่น

S.C.S. เจ้าของรองเท้านักเรียนเห็นแล้วปิ๊งใส่แล้วป๊อป และวิธีทำธุรกิจที่ขายดีเฉพาะช่วงเปิดเทอม

ตอนเป็นนักเรียน ช่วงเดือนที่นักเรียนหลายคนเกลียดหรือกลัวที่สุดคือ เดือนพฤษภาคมและพฤศจิกายน เพราะนั่นหมายถึงช่วงเวลาพักผ่อนอันหอมหวานกำลังจะสิ้นสุดลง

แทบนึกไม่ออกว่าจะมีใครที่รัก 2 เดือนนั้นด้วยเหตุผลที่ว่า โรงเรียนจะเปิดเทอม

จนกระทั่งวันนี้คิดได้ว่ามีธุรกิจที่ทำเงินได้เพียงเฉพาะช่วงอยู่นี่นะ โดยเฉพาะธุรกิจรองเท้านักเรียน อย่าง S.C.S. ที่ วิษณุ วงศ์วีระนนท์ชัย ทายาทผู้ควบตำแหน่งเป็นรองกรรมการผู้จัดการบริษัท เอส.ซี.เอส กรุ๊ป บอกกับเราว่าช่วงเปิดเทอมนี่แหละคือช่วงเวลาที่แบรนด์สร้างยอดขายกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ให้บริษัท

ลองเท้านักเรียน

ได้ยินชื่อรองเท้านักเรียน S.C.S. คนอาจจะงงว่าแบรนด์อะไร แต่ถ้าบอกว่า S.C.S. Group คือผู้ผลิตรองเท้านักเรียนยี่ห้อ POPTEEN, CATCHA, BREAKER เราว่าคนคงพากันร้องอ๋อ

ธุรกิจของ S.C.S. เริ่มต้นจากรุ่นที่หนึ่งอย่างพ่อ ลุง และป้าของวิษณุ ที่ตอนนั้นทำธุรกิจลักษณะซื้อรองเท้ามาขายรองเท้าไปแถวกล้วยน้ำไท กระทั่งปี 2523 ความฝันในการมีโรงงานรองเท้าของครอบครัวก็เป็นจริง โดยรับผลิตรองเท้าให้คนอื่น ก่อนเริ่มหันมาผลิตสินค้าของตัวเอง

และแน่นอนว่ารองเท้านักเรียนคือหนึ่งในนั้น

“ตอนนั้นทุกคนยังไม่รู้หรอกว่าผลิตรองเท้าอะไรแล้วจะขายได้ ก็ลองถูก ลองผิดมาเยอะ

“เป็นความโชคดีของรุ่นผมที่รุ่นผู้ใหญ่มีมุมมอง และลงมือทำจนมาถึงจุดนี้ได้” วิษณุผู้มีวัยเด็กผูกพันกับโรงงาน ติดตามพ่อมาวิ่งเล่น ดูพ่อซ่อมเครื่องจักร ดูกระบวนการทำรองเท้ามาตั้งแต่เล็กแต่น้อยย้อนเล่า

ดูจากอายุอานามของบริษัท และจากจำนวนประชากรผู้ใส่รองเท้านักเรียนของ S.C.S. ที่มีมากล้น กระจายตัวอยู่แทบทุกโรงเรียน เลยชวนให้เราคิดว่า S.C.S. คงเป็นแบรนด์รองเท้าเจ้าแรกๆ ในตลาดแน่ๆ ถึงได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าวัยเรียนมากมายขนาดนั้น 

แต่วิษณุแย้งว่าเราคิดผิด ความจริง S.C.S. เข้าไปในตลาดรองเท้านักเรียนเป็นเจ้าหลังๆ เสียด้วยซ้ำ

“เมื่อก่อนรองเท้านักเรียนมีหลายยี่ห้อมาก การตลาดสมัยนั้นจะเน้นแถมกระติกน้ำ แถมนาฬิกา เหมือนไม่ได้ขายรองเท้าเลย ขายของแถมมากกว่า สู้กันตรงนั้น จนเรามองว่าเราไม่แข่งด้วยวิธีนี้แล้วดีกว่า เอาผลประโยชน์ให้ลูกค้าเป็นที่ตั้ง ทำคุณภาพให้ดี”

คุณสมบัติที่ดีของรองเท้านักเรียน ซึ่งเป็นรองเท้าที่คนใส่ต้องใช้งานกันตลอดเทอม อันดับแรกไม่ใช่ความคงทนหรืออะไร แต่คือความสบายต่างหากที่วิษณุมองว่าสำคัญ

“ถ้าใส่แล้วรองเท้ากัด ลูกค้าก็คงเขวี้ยงทิ้งตั้งแต่วันแรก” เขาหัวเราะก่อนอธิบายต่อว่ารองเท้าเป็นสินค้าที่มีความละเอียดอ่อนมาก หากเสื้อแบ่งเป็น 4 ไซส์คือ S, M, L และ XL รองเท้าจะละเอียดอ่อนถึงขั้นวัดไซส์ต่างกันเป็นมิลลิเมตร ฉะนั้นการจะพัฒนาแบบรองเท้าขึ้นมาสักคู่ บริษัทจึงต้องทำการทดลองและวิจัยว่ารองเท้าที่ออกแบบมาจะครอบคลุมความต้องการ และเกิดปัญหาหลังใส่น้อยที่สุด

“เราต้องดูว่ารูปทรงแบบไหนถึงจะทำร้ายเท้าน้อยที่สุด ความสูงแบบไหนที่เด็กเดินแล้วจะไม่ล้ม ทดลองและวิจัยก่อนว่าเด็กนักเรียนชอบแบบไหน ชอบเพราะอะไร แล้วก็เอาสิ่งที่วิจัยได้มาทำงาน”

ในด้านนวัตกรรมการทำรองเท้า บริษัทก็คอยอัพเดตและพัฒนาเสมอมา

“เมื่อก่อนพอเข้าหน้าฝน ใครหลายคนอาจเคยเจอปัญหารองเท้าพะงาบ เพราะน้ำฝนซึมเข้าไปในรองเท้า แต่เดี๋ยวนี้บริษัทก็พัฒนาเทคนิคการผลิตฉีดพื้นกับหน้าผ้าเชื่อมเป็นเนื้อเดียวกัน เด็กจึงไม่มีปัญหาเรื่องของรองเท้าปากอ้าอีกต่อไป” 

นี่เป็นเรื่องที่ S.C.S. พัฒนาอยู่ตลอด เขาว่าอย่างนั้น 

เจ้าตลาดแม้ไม่ใช่เจ้าแรกในตลาด

เพื่อเป็นการยืนยันระหว่างพูดคุยวิษณุหยิบรองเท้าคู่จิ๋วตีตรา S.C.S. ซึ่งมีอายุเทียบเท่าคนวัยกลางคนมาให้เราดูพัฒนาการของบริษัทเทียบกันกับรองเท้ารุ่นปัจจุบัน ก่อนเล่าว่า

“สมัยก่อนเราผลิตรองเท้าหลายแบบ หลายสไตล์มากแต่ใช้ชื่อ S.C.S. เหมือนกันหมด ทำให้คาแร็กเตอร์ไม่ชัดเจน ต่อมาเราจึงพยายามหาโพซิชันนิ่งที่ชัดเจนในตลาด แตกเป็นแบรนด์ย่อย เพื่อให้เราทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แยกให้ออกก่อนว่าลูกค้าของเราเป็นใคร คาแร็กเตอร์ยังไง จะได้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจนมากขึ้นและตรงขึ้น” 

นั่นเองอาจเป็นจุดที่ทำให้ S.C.S. ก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในเจ้าตลาด

บริษัทอื่นๆ อาจมีไลน์สินค้าเดียว แต่ S.C.S. ที่ให้ความสำคัญกับการวิจัย มีไลน์สินค้ารองเท้าทั้งนักเรียนหญิงและนักเรียนชาย และสินค้ารองเท้านักเรียนหญิงก็มีด้วยกันถึงสองแบรนด์

หากอยากซ่าก็ต้องใส่ ‘แคทช่า’

อยากสวยใส สไตล์หวานๆ ก็ต้อง ‘ป๊อปทีน’

“เราทำวิจัยมาว่าเด็กผู้หญิงเองก็มีบุคคลิกที่แตกต่างกัน มีทั้งที่เป็นเด็กสวยใสหวานๆ และเด็กที่มีความแสบซ่า เราเลยคิดว่าเราควรทำรองเท้าเพื่อตอบสนองลูกค้าทั้ง 2 กลุ่ม ไม่ว่าจะเรียบร้อย เก่ง ฉลาด เด็กหน้าห้องหรือเด็กหลังห้อง”

แต่เพราะรองเท้านักเรียนใส่ความเป็นแฟชั่นไม่ได้มากเพราะต้องอยู่ในกฎระเบียบของโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นรองเท้านักเรียนแบรนด์ไหน ดูภายนอกก็คล้ายคลึงกันหมด

ด้วยโจทย์นี้ บวกกับอินไซต์ที่ว่าเด็กนักเรียนหญิงส่วนใหญ่รักความสวยงาม ที่นี่จึงเป็นเจ้าแรกที่ใส่แฟชั่นลงไปในรองเท้านักเรียนด้วยการออกแบบ buckle ให้ดึงดูดใจกลุ่มลูกค้าสาวๆ

“เราสร้างความแตกต่างด้วยวิธีนี้ สร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้เห็นตัวตนของผู้สวมใส่ ส่วนเรื่องคุณภาพเดี๋ยวเขาก็จะได้รับรู้ว่ามันใส่สบาย จากการลองใส่ในช่วงที่ห้างต่างๆ จัดรายการ Back to School อยู่แล้ว” วิษณุอธิบาย

ทำเงินได้แค่ช่วงเปิดเทอมใหญ่ แต่ไม่เป็นไรหัวใจไม่ว้าวุ่น

แม้แบรนด์จะขายดีจนครองตลาด แต่สุดท้ายก็ไม่อาจหนีความจริงที่ว่าสินค้าประเภทนี้มีโอกาสทำเงินเพียงช่วงเปิดภาคเรียนใหม่ ซึ่งมีเพียง 2 ครั้งต่อปี คือช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม และตุลาคม-พฤศจิกายน อยู่ดี 

ด้วยเหตุนี้ S.C.S. จึงเพิ่มรองเท้ากีฬาเข้ามาสู่ไลน์ผลิตเพื่อเพิ่มความหลากหลายของสินค้า

“มันเป็นความท้าทายมาก ที่หนึ่งปีมีรายรับอยู่แค่สองช่วงใหญ่ เราเลยต้องมีลู่ทางอื่นด้วย หลังจากฤดูกาลรองเท้านักเรียน เราจะหันมาดูในส่วนของรองเท้ากีฬา ฟุตซอล ฟุตบอล แล้วก็พวกรองเท้ายูนิฟอร์ม ครู พยาบาล ข้าราชการ ตำรวจ ทหาร

“อะไรจะมาเป็นรายได้ให้เราได้ เราทำหมดเลย” ผู้บริหารอย่างวิษณุหัวเราะร่วน บอกว่าเพื่อจะทำให้บริษัทยังอยู่รอด พวกเขาจึงต้องคอยสังเกตตลาดอยู่เสมอ ต้องดูว่าช่วงนี้คนกำลังฮิต และกำลังต้องการอะไร

อย่างรองเท้าสเก็ต ซึ่งเป็นไลน์สินค้าหนึ่งของเบรกเกอร์ เอ็กซ์ตรีม ก็เกิดมาจากการสังเกตเทรนด์ในช่วงที่ผ่านมาแล้วเห็นว่ามีคนหันมาสนใจเล่นเซิร์ฟสเก็ตกันเยอะขึ้นนั่นเอง แถมการทำเป็นรองเท้า 3 ข้าง มีข้างสำรองไว้ให้นักสเก็ตที่ต้องเผชิญปัญหารองเท้าข้างที่ถนัดสึกหรอก่อนอีกข้างนึง ก็สะท้อนให้เห็นว่าถึงจะแตกไลน์ไปทำ category ใหม่ยังไง สิ่งที่ S.C.S. ไม่ลืมใส่ก็คือความใส่ใจผู้บริโภคอยู่ดี

“เรื่องของ know-how ในการผลิตรองเท้า และความที่เราคิดจะพัฒนารองเท้าให้ดีขึ้นตลอดเวลานี่แหละที่ทำให้แบรนด์เราอยู่มาได้ถึงวันนี้” 

เขาบอกว่าคนรุ่นพ่อส่งต่อปรัชญาในการทำงานมาให้คนรุ่นเขาเยอะมากๆ ทุกวันนี้คนเหล่านั้นก็ยังลงไปตรวจเช็กความเรียบร้อยของงานอยู่บ่อยครั้ง ทุกๆ วันของคนใน S.C.S ดำเนินไปด้วยความคิดที่ว่าจะทำยังไงให้ S.C.S. ก้าวไปอย่างไม่หยุดยั้งจริงๆ 

“เราเลยเก็บรองเท้าคู่จิ๋วนี้ไว้ตลอดเพื่อจะเตือนตัวเองว่าห้ามให้มันพัง” 

เสริมพิเศษ สำหรับใครที่ข้องใจว่าในสถานการณ์โควิด-19 ที่โรงเรียนส่วนใหญ่ต่างปิดภาคเรียนแบบนี้ S.C.S. เป็นยังไง วิษณุแถลงไขว่าหากเทียบกับโปรดักต์สินค้าอุปโภคอื่นๆ เช่น ทัวร์ กิจการโรงแรม หรือที่พัก สินค้ารองเท้านักเรียนอย่างเขาไม่ได้รับผลกระทบขนาดนั้น ถึงอย่างนั้นก็นับว่าเกือบเสียศูนย์เหมือนกันเพราะตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมาที่เด็กนักเรียนเริ่มเรียนออนไลน์ก็ทำให้ยอดซื้อรองเท้านักเรียนลดลงไปอย่างมาก แต่บริษัทก็พยายามแก้ไขสถานการณ์ด้วยการปรับลดกำลังการผลิต ลดค่าใช้จ่าย แต่ยังดูแลพนักงานทุกภาคส่วนเหมือนเดิม ไม่มีการปลดคนงานออก เพราะเข้าใจดีว่าทุกคนต่างก็ลำบากเช่นเดียวกัน

Tagged:

Writer

ฟรีแลนซ์ที่หวังจะมีของอร่อยกินในทุกวัน และมีงานทำในทุกเดือน

Photographer

ชีวิตต้องมีสีสัน

You Might Also Like