นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

Let’s Ryde

หลักการตลาดของ Ryde Culture e-Bike สัญชาติไทยที่ใช้ความสนุกนำและทำด้วยมุมมองสตาร์ทอัพ

เอ่ยถึงจักรยานไฟฟ้าหรือ e-Bike เชื่อว่าภาพของจักรยานทั่วไปคันบางๆ ที่มีเพียงแบตเตอรีช่วยทุ่นแรง คงเป็นภาพที่ทุกคนนึกถึง 

แต่ Ryde Culture ไลฟ์สไตล์ e-Bike สัญชาติไทยไม่ใช่แบบนั้น ไม่ว่าจะรูปทรง สีสัน สมรรถนะ รวมถึงสไตล์ของมันกลับทำให้หลายคนที่ไม่ได้สนใจ e-Bike มากนักรู้สึกใจเต้นแรง 

ด้วยความแตกต่างและความเท่อย่างร้ายกาจของ Ryde Culture นี้เอง ไม่แปลกใจที่แบรนด์ไทยเล็กๆ แบรนด์นี้จะสามารถส่งออกไปได้หลายประเทศ ทั้งยังพา e-Bike ของพวกเขาไปอวดโฉมในงานจักรยานที่ใหญที่สุดอย่าง Euro Bike มาแล้ว

ทั้งหมดนี้เป็นผลงานของกลุ่มเพื่อนที่มีองค์ความรู้ในการทำธุรกิจอย่างรอบด้าน ทั้งการทำสตาร์ทอัพ คอนเทนต์ และมาร์เก็ตติ้ง ไม่ว่าจะเป็น โจ–พีระ จันจิราวุฒิกุล, คม–คมสิทธิ์ แสงมณี และกาแฟ–ประพนธ์ศักดิ์ กัมพลพันธ์ นอกจากนี้ยังมีนักร้องนักแสดงที่หลายคนรู้จักอย่าง ว่าน–ธนกฤต พานิชวิทย์ ที่เป็นทั้งผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นเบื้องหน้าที่ represent ความเท่และความสนุกของแบรนด์ได้เป็นอย่างดี  

“เราคุยกันว่ามันต้องสนุก มันต้องเท่ มันต้องมัน” โจเล่าถึงการรวมตัวกันเพื่อทำ Ryde Culture แต่ความสนุกเหล่านั้นก็ต้องผ่านการคิดมาอย่างละเอียดและใส่ใจ อย่างที่คมเล่าว่า 

“เราไม่ได้ก้าวพลาดสักเท่าไหร่ เพราะแต่ละก้าวของเรามันผ่านการคิดมาอย่างดีแล้ว แต่เมื่อถึงคราวที่เราพลาด เราก็ต้องรีบแก้ไขให้เร็วที่สุด” น่าสนใจว่าแต่ละก้าวของพวกเขาผ่านกระบวนการคิดอะไรมาบ้าง 

Let’s Ryde 

Product
รีเสิร์ชอย่างลงลึก

ถ้าจะบอกว่าดินที่ดีคือแต้มต่อให้ต้นไม้ต้นนั้นเจริญงอกงาม ธุรกิจที่ดีก็คงต้องสร้างขึ้นอย่างระมัดระวัง ใส่ใจ และจริงจังกับการรีเสิร์ช ยิ่งกับพาร์ตเนอร์ของ Ryde Culture ที่ต่างมีความรู้ความเข้าใจในการทำธุรกิจอยู่แล้ว การรีเสิร์ชถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำแบรนด์ 

“ช่วงก่อนโควิด-19 เราเดินทางไปต่างประเทศกันบ่อยมาก สิ่งที่เห็นคือในยุโรปเขาฮิตจักรยานไฟฟ้าหรือ e-Bike กันมากๆ และ e-Bike ของเขาก็มีหลายรูปแบบ ไม่ใช่แค่รูปทรงคล้ายจักรยานแม่บ้านที่เราคุ้นเคยเท่านั้น

“นั่นแปลว่าเทรนด์ e-Bike กำลังมาในต่างประเทศ และแน่นอนว่าในเอเชียก็ต้องมีเทรนด์นี้เข้ามาในอนาคต แต่แถบเอเชียยังไม่มีแบรนด์ไลฟ์สไตล์ e-Bike เลย เราเลยคิดกันว่าน่าจะลองทำแบรนด์ดู” โจย้อนเล่า

แต่นอกจากเทรนด์ที่ทำให้ใจชื้นว่ายังไงก็ต้องมีฐานลูกค้า เลือดคนรุ่นใหม่ที่มีองค์ความรู้ในการทำสตาร์ทอัพอยู่แล้วจึงทำให้พวกเขารีเสิร์ชลงลึกไปกว่านั้น เช่นเช็กคีย์เวิร์ดที่กำลังมาแรงใน Google Trend รวมถึงเช็กว่าในประเทศที่นิยม e-Bike นั้นมี e-Bike รูปทรงแบบไหนบ้าง เพื่อที่พวกเขาจะต้องทำออกมาให้แตกต่าง

“เราไม่ได้ใช้ Google Trend เฉพาะก่อนทำแบรนด์เท่านั้น แต่เรายังเช็กเทรนด์อยู่เสมอ อย่างช่วงแรกที่เราเปิดตัวสินค้าออกมา คำว่า e-Bike ก็กลายเป็นคำค้นหาที่สูงที่สุดในประเทศไทย” คมอธิบาย

จากการรีเสิร์ชอย่างลงลึกตรงนั้นเองที่ทำให้พวกเขาตัดสินใจเลือก Fat Bike เป็นรูปทรงหลักของแบรนด์ นอกจากจะสร้างภาพจำที่แตกต่างให้ลูกค้าทั้งในเอเชียและยุโรปได้แล้ว ยังเหมาะกับสภาพถนนและการจราจรของไทยเป็นพิเศษ เพราะ Fat Bike เป็นจักรยานที่มีหน้ายางที่กว้าง ช่วยยึดเกาะพื้นผิวถนนได้ดี ชนิดที่จะขี่บนหิมะไปจนทะเลทรายก็ยังได้ 

“รูปทรงจักรยานที่ดูแข็งแรงทำให้เวลาลูกค้ามาเห็นตัวจริงที่งานต่างๆ รู้สึกประหลาดใจเพราะมันไม่ได้เป็นภาพจักรยานไฟฟ้าแบบจักรยานแม่บ้านที่เขาคุ้นเคย” คมเล่า

ดีไซน์ที่เรียบง่ายแต่ร้ายกาจ

ความตั้งใจของพาร์ตเนอร์ทุกคนคือ Ryde Culture ไม่ได้จะตีตลาดในไทยเท่านั้น แต่ Ryde Culture ต้องกลายเป็น e-Bike ที่คนทั้งโลกได้ปั่น ดีไซน์ที่พวกเขาออกแบบให้เป็นรูปทรงพื้นฐานของแบรนด์จึงต้องเอาชนะใจผู้คนทั่วทั้งโลกได้ 

จุดเด่นแรก คือขณะที่แบรนด์อื่นๆ จะวางแบตเตอรี e-Bike ไว้ด้านบนหรือด้านข้าง พวกเขาเลือกกลับหัวแบตเตอรีไว้ด้านล่างเพราะต้องการให้ฟอร์มของจักรยานเป็นเส้นตรงที่ให้ความรู้สึกมั่นคงและแตกต่าง

“นอกจากนั้น เราอยากให้มันเรียบง่าย แต่ก็ต้องดูสนุกและดูร้ายกาจ ซึ่งถ้าแปลเป็นภาษาอังกฤษก็คือ badass ที่มันจะมีความเท่ ความคูล ให้มันเป็นมากกว่าการเป็นจักรยานที่ไว้ใช้สอยแบบแบรนด์อื่นๆ 

“ลูกค้าที่ซื้อของเราจะมองว่ามันคือแก็ดเจ็ตที่เขาไว้สะสม นั่นส่งผลถึงบุคลิกกลุ่มลูกค้าที่บางทีเขาอาจจะไม่ใช่คนที่อยากปั่นจักรยาน แต่มันคือการพรีเซนต์ตัวตนในโซเชียลมีเดีย” คมอธิบาย

นั่นเป็นเหตุผลที่ Ryde Culture ออกรุ่นแรกในชื่อ ‘Ryde Kart’ หรือในภาษาไทยว่า ‘ร้ายกาจ’ ซึ่งนอกจากความร้ายกาจที่ว่าจะสะท้อนผ่านเส้นสาย สีสัน และรูปทรงของ e-Bike แล้ว ความร้ายกาจที่ว่ายังแสดงออกผ่านความสนุกจากการใช้งานด้วย

“เราใช้ดีไซน์นำในการออกแบบ e-Bike ทุกตัว แต่ไม่ได้หมายความว่าเพอร์ฟอร์แมนซ์เราจะไม่ดี เพราะสิ่งที่เราตั้งใจคือมันต้องขี่สนุกด้วย เกือบทุกคนที่มาทดลองก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่ามันมันมาก” โจอธิบาย 

“เราไม่ได้มองว่าเราจะทำจักรยานแล้วค่อยมาใส่ความเป็น e-Bike ลงไป แต่เราคิดตั้งแต่แรกว่าเราจะทำ e-Bike  วิธีการของเรามันเลยเป็นการมองว่าเราจะทำยังไงให้มันออกมาเป็น e-Bike ที่สวย” คมเสริม

เก็บฟีดแบ็กทุกเม็ด 

“Ryde Culture เป็นแบรนด์ e-Bike ที่เก็บฟีดแบ็กกันจริงจังมาก” คมเล่าพลางหัวเราะ

“เราใส่ใจทุกคอมเมนต์ที่ลูกค้าส่งมา เราคุยกันตลอดว่าเราจะปรับเปลี่ยนอะไร หรือพัฒนาอะไรบ้าง ยิ่งเราส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ยิ่งต้องรีเสิร์ชความต้องการและเก็บฟีดแบ็กของลูกค้าในประเทศนั้นๆ มาพัฒนา

“เช่นที่เยอรมนี เราก็กำลังพัฒนาระบบสายพานมาแทนระบบโซ่ ส่วนที่อิตาลีเราก็เน้นการออกแบบเป็นหลัก หรือถ้าเป็นฝรั่งเศสก็จะเน้นเรื่องราคาที่คุ้มค่า หรืออย่างในประเทศไทย เราอาจจะมีรุ่นพับได้ หรือรุ่นที่เหมาะกับแม่บ้านจริงๆ ด้วย” โจอธิบาย

นอกจากพวกเขาจะใส่ใจฟีดแบ็กมากแล้ว อีกหนึ่งวิธีพัฒนาสินค้าให้ดียิ่งขึ้น เท่ยิ่งขึ้น และเข้าถึงคนได้ทุกกลุ่มคือการคอลแล็บร่วมกับแบรนด์ร่วมสมัยต่างๆ อย่างที่เขาเคยคอลแล็บร่วมกับ Carnival

“ความสำเร็จของการคอลแล็บครั้งนั้น ทำให้เรามองเห็นโมเดลในอนาคตว่าเราก็คงจะร่วมงานกับแบรนด์ในลักษณะเดียวกันแบบนี้อีก” คมว่า

Price
ราคากลางเพื่อตอบโจทย์ตลาดที่ใหญ่ที่สุด

สนนราคาของ Ryde Culture ในไทยนั้นอยู่ที่  60,000-70,000 บาท ถ้าส่งขายที่ต่างประเทศจะอยู่ที่ 80,000-90,000 บาท ช่วงราคานี้ถือเป็นราคาระดับกลางในตลาด e-Bike ระดับโลกซึ่งถือเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด 

“สำหรับตลาดต่างประเทศ เมื่อตลาดระดับกลางนั้นเป็นตลาดที่ใหญ่มาก การเซตให้เราอยู่ในราคานี้จึงทำให้ภาพของเราเป็นแบรนด์ที่มีคุณภาพในราคาที่เข้าถึงได้ และทำให้เราเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้หลากหลาย

“แต่ราคานี้ค่อนข้างมีปัญหาในตลาดไทย บอกตามตรงว่าเราไม่ได้จะดื้อตั้งราคาแบบนี้นะ แต่จริงๆ แล้วต้นทุนเราสูงเพราะเรายังมีส่วนประกอบบางชิ้นที่ต้องนำเข้า” คมอธิบายเบื้องหลัง

เป็นที่มาที่ทั้งสองบอกกับเราว่าในอนาคต Ryde Culture อาจผลิตรุ่นที่ราคาต่ำลงมาแต่ยังคงสไตล์ของแบรนด์อยู่เพื่อตอบโจทย์คนไทยที่อยากใช้ e-Bike ที่เท่และร้ายกาจในราคาสบายกระเป๋า

Place
ลงทุนกับอีเวนต์เพื่อ Customer Engagement

ถ้าการคิดค้นสินค้าให้ดีถือเป็นเชื้อเพลิงชั้นดี การนำสินค้าไปจัดแสดงในสถานที่ที่ถูกต้องก็ถือเป็นตัวจุดชนวนที่ช่วยให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก เช่นเดียวกับโมเดลธุรกิจของ Ryde Culture ทั้งคมและโจต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าการออกงานถือเป็นกลยุทธ์สำคัญที่เอาชนะใจลูกค้ามาได้นักต่อนัก 

“ไม่ว่าในช่องทางออนไลน์เราจะปล่อยแคมเปญออกไปเยอะแค่ไหน จะโฆษณาหนักแค่ไหน แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ customer engagement ที่เปิดให้ลูกค้าได้เห็นและสัมผัสสินค้าจริงๆ เพราะทุกครั้งที่ออกงาน กว่า 80-90% ของลูกค้า จะรู้สึกขนลุกกับสินค้าของเรา จะรู้สึกว่ามันใช่ รู้สึกว่ามันเท่ขนาดนี้เลยเหรอ” คมเล่า

การออกงานครั้งหนึ่งที่ถือเป็นที่จดจำของพาร์ตเนอร์ทุกคนคือการได้พา Ryde Culture ไปออกงานจักรยานที่ใหญ่ที่สุดอย่าง Euro Bike ในเชิงฮวงจุ้ย ที่ตั้งบูทของ Ryde Culture อาจไม่โดดเด่นนัก แต่ความกล้าทุ่ม กล้าได้ กล้าเสีย กล้าลงทุนกับการทำบูทเพื่อสื่อสารถึงความ badass และความสนุกที่พาร์ตเนอร์ตั้งใจ ทำให้ Ryde Culture ได้รับการยอมรับเกินคาดแม้จะเป็นแบรนด์เล็กๆ จากประเทศเล็กๆ ก็ตาม

“ผมเคยทำธุรกิจมาก่อน เวลาเริ่มทำธุรกิจและมีบัดเจ็ตจำกัด หลายคนจะไปแบบบูทเปล่าๆ แต่พอมาถึงจุดนี้ผมว่าเราต้องลงทุนเรื่องมาร์เก็ตติ้งและแบรนดิ้ง 

“ตอนนั้นเราเลยทำบูทที่สื่อสารถึงคำว่า ‘ไลฟ์สไตล์’ เพื่อสะท้อนให้เห็นหัวใจสำคัญของแบรนด์ เรายังทำเบียร์ที่ติดชื่อ Ryde Culture ของเราเอง มีพื้นที่นั่งคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน หลายๆ คนบอกเราว่า แบรนด์ยูแม่งโคตรเท่ แบรนด์ยูแม่งโคตรใช่ มันยิ่งทำให้เรารู้สึกว่าเรามาถูกทางแล้ว” คมอธิบายภาพบูทวันนั้น

“อีกหนึ่งอินไซต์ที่เราได้รู้คือยิ่งเราติดป้ายว่า Made In Thailand ลูกค้าต่างชาติจะรู้สึกมั่นใจในคุณภาพสินค้ามากขึ้น เพราะจักรยานที่ส่งขายกว่า 80% ทั่วโลกนั้นผลิตจากประเทศจีน” โจเสริม

ประสบการณ์การออกงานครั้งนั้นทำให้พวกเขา ตั้งเป้าว่าจะขนทัพ e-Bike สุดคูลของตัวเองไปให้ชาวโลกรู้จักตามงานจักรยานต่างๆ นอกจากนั้น อีกประเภทอีเวนต์ที่พวกเขาจะพลาดไม่ได้เลยคืออีเวนต์แนวไลฟ์สไตล์ เช่น คอนเสิร์ต หรืองานสนุกๆ ที่จัดขึ้นตามชายหาด หรือสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ 

ความคูลและความมันของแบรนด์ทำให้ปัจจุบัน Ryde Culture มียอดขายในไทยกว่า 30% และต่างประเทศอีก 70% ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี ไอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา และที่ผ่านมาพวกเขายังได้ฐานลูกค้าจากประเทศใหม่ๆ อย่างฝรั่งเศสและฟินแลนด์มาด้วย 

ฐานลูกค้าตรงนี้ไม่ได้หมายถึงจำนวนดิสทริบิวเตอร์ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตเท่านั้น แต่การส่งสินค้าไทยไปวางขายในต่างประเทศยังส่งผลดีกับยอดขายในไทย เพราะหลายครั้งทีเดียวที่การจะเอาชนะใจลูกค้าไทยได้แบรนด์นั้นๆ จะต้องแสดงศักยภาพให้เห็นว่านี่ไม่ใช่แค่แบรนด์ไทยแต่เป็นแบรนด์ที่ต่างประเทศยอมรับ  

Promotion
การตลาดที่สื่อสารแบรนดิ้งได้ชัดเจน

ทั้งคมและโจ้ไม่จำเป็นต้องอธิบายประสบการณ์การทำงานอย่างละเอียดให้ฟัง เราก็สัมผัสได้ว่าพาร์ตเนอร์ทุกคนของ Ryde Culture ต่างมีประสบการณ์การทำงานด้านสตาร์ทอัพและมาร์เก็ตติ้งกันอย่างเข้มข้น ยิ่งเมื่อได้ฟังมุมมองของทั้งคู่ต่อแผนการตลาด ก็ยิ่งเข้าใจว่าทำไม Ryde Culture ถึงไปได้ไกลขนาดนี้

“สำหรับผม การตลาดน่าจะเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดที่เราโฟกัส ความตั้งใจของทุกคนคือเราไม่ได้จะเปิดบริษัทเพื่อขาย e-Bike  แต่เราจะทำแบรนด์ควบคู่ไปด้วย เช่น แบรนด์ของเราหน้าตาเป็นยังไง กลุ่มลูกค้าคือใคร” คมอธิบาย 

คมยังยกตัวอย่างให้เราเข้าใจด้วยว่าพวกเขาตั้งใจตั้งแต่แรกว่าจะวางขายสินค้าทั้งในไทยและต่างประเทศพร้อมๆ กัน แนวทางการถ่ายภาพของแบรนด์จึงชัดเจนว่านายแบบจะต้องเป็นชาวต่างชาติ หรือการถ่ายภาพโปรโมตบางชิ้นก็จะต้องถ่ายที่ต่างประเทศเพื่อให้การสื่อสารในระดับสากลนั้นส่งถึงลูกค้าต่างประเทศได้ 

“วิธีการสื่อสารกับลูกค้าต่างชาติก็แบบหนึ่ง กับคนไทยก็เป็นอีกแบบหนึ่ง สำหรับลูกค้าคนไทย ตอนแรกเราพยายามใช้คำพูดมาอธิบายความเท่ของเรา แต่คนยังไม่เห็นภาพว่ามันจะเป็นยังไง เราจึงพยายามสื่อสารผ่านภาพมากขึ้น เลือกนำเสนอซีนต่างๆ ที่ทำให้เห็นว่าแบรนด์เป็นแบบไหน ของของเราใช้ในโอกาสไหนได้บ้าง 

“นอกจากนั้น ภาพส่วนใหญ่จะถ่ายตามสถานที่กลางแจ้งหมดเลย น้อยมากๆ ที่เราจะนำเสนอภาพถ่ายในร่มซึ่งถ้าเราจะทำมันก็ต้องเป็นภาพที่มีคอนเซปต์ ไม่ใช่ถ่ายเฉยๆ แล้วเอามาลง” คมเล่า

ทั้งนี้ทั้งนั้น วิธีการสื่อสารนั้นจะแตกต่างกันไปตามกลุ่มลูกค้า หากเป็นกลุ่มที่มอง e-Bike ในเชิงการใช้งาน พวกเขาจะต้องนำเสนอสเปกให้ลูกค้าแบบจัดเต็ม แต่หากเป็นกลุ่มที่มอง e-Bike ของ Ryde Culture ในเชิงการนำเสนอตัวตนและไลฟ์สไตล์ การนำเสนอภาพการใช้งานในชีวิตประจำวันถือเป็นหัวใจสำคัญ

สร้าง asset ของแบรนด์ให้พร้อม

การสื่อสารกับลูกค้าโดยตรงถือเป็นกลยุทธ์สำคัญก็จริง แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการมีโมเดลธุกิจให้ดิสทริบิวเตอร์พร้อมที่จะเป็นคู่ค้านั้นทำให้พวกเขาส่ง Ryde Culture บินลัดฟ้าไปหลายๆ ประเทศได้ง่ายขึ้น

“เวลาเราคุยกับลูกค้า เราไม่ได้ไปยื่นโบรชัวร์นะ แต่เราทำให้เขาเห็นเลยว่าถ้าเขาเป็นพาร์ตเนอร์กับเรา เขาจะไม่ได้แค่ตัวสินค้าไปวางขาย แต่เขาจะมีแนวทางการตลาด มี asset ของแบรนด์ มีภาพและแนวทางการสื่อสารที่ชัดเจน และเราจะลงโฆษณาในโซเชียลมีเดียของประเทศให้ด้วย พูดง่ายๆ คือเรามีทีมการตลาดไว้ซัพพอร์ตเขา” คมอธิบาย 

ก่อนที่โจจะเสริมว่า “เราต้องใส่ใจกับรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้เพื่อให้เขาสัมผัสได้ถึงประสบการณ์ใหม่ๆ และรู้สึกเชื่อมั่นใจแบรนด์และทีมของเรา”​

Positioning & People
ตำแหน่งแห่งที่และผู้คนที่จะพา Ryde Culture ไปสู่เป้าหมาย 

“ผมให้อีก 2 P เลย” 

คมตอบเมื่อเราถามถึง P ที่สำคัญของแบรนด์ นอกเหนือจาก 4P พื้นฐานที่คนทำธุรกิจต้องใส่ใจ 

P แรกที่ทั้งสองคนมองว่าสำคัญคือ Positioning ของแบรนด์ เพราะตำแหน่งของแบรนด์นั้นส่งผลต่อภาพลักษณ์และแนวทางการตลาด ยิ่งกับ Ryde Culture ที่ราคาขายอยู่ที่ 60,000-70,000 บาทซึ่งแม้จะเป็นราคากลางของต่างประเทศ แต่สำหรับในไทยแล้วนี่คือราคาที่สูงเทียบเท่ากับมอเตอร์ไซค์ 1 คัน หากแบรนด์ไม่มีการตลาดที่ดี ไม่มีการบริการ และไม่มีระบบหลังบ้านที่แข็งแรง แน่นอนว่า Ryde Culture คงไปไม่รอด 

“อีก P หนึ่งคือ People เพราะเรามองว่า Co-founder ต้องมีมายด์เซตเดียวกัน เชื่อในสิ่งเดียวกัน และมีแพสชั่นเหมือนๆ กัน เพราะกว่าจะมาถึงวันนี้ที่เรามีผู้ถือหุ้นเป็น Audi และ Ducati Thailand เราต้องผ่านความท้าทายและอุปสรรคเยอะมาก” โจเล่า ก่อนคมจะอธิบายต่อว่า

“วันแรกที่เราจะทำแบรนด์ Co-founder ทุกคนมานั่งคุยกันว่าสินค้ามันจะดีอย่างเดียวไม่ได้ แต่คนทำงานทุกคนต้องรู้สึกสนุก อย่างตอนแรกๆ ว่านยังไม่ได้เป็น Co-founder นะ แต่เขามาฟังแล้วเขาพูดออกมาเลยว่า ‘น่ามันว่ะ เอาด้วย’”  

นอกจากนิสัยใจคอและความเชื่อของพาร์ตเนอร์ที่ต้องสอดคล้องกันแล้ว ทั้งสองคนยังบอกอีกว่าคนในองค์กรยังต้องมีแนวคิดการทำงานแบบสตาร์ทอัพเช่นกัน เช่น การปรับตัวให้เร็ว การรับฟังความเห็นของลูกค้า รวมถึงการยืดหยุ่นในการทำงาน  

คมยังเสริมอีกว่า “อีกหนึ่งสิ่งคือช่วงแรกเราทำงานกันเองทั้งหมดเพื่อประหยัดต้นทุนเพราะพาร์ตเนอร์ทุกคนมีองค์ความรู้ในการทำคอนเทนต์และการตลาดอยู่แล้ว แต่พอถึงจุดที่เราขยายมากขึ้น มีนักลงทุนมาสนับสนุน เราควรจะรู้จักที่จะจ้างบางตำแหน่งที่เราทำเองไม่ได้ให้เขาเข้ามาช่วยเรา”

ตั้งแต่ 4P จนถึง P อีก 2 ข้อที่ทั้งโจและคมเล่ามา สังเกตว่าเบื้องหลังของแต่ละ P นั้นผ่านกระบวนการคิดมาอย่างละเอียดและมีเหตุผลสนับสนุนเสมอ และนั่นคงทำให้พวกเขาพา Ryde Culture ไปถึงฝันได้ไม่ยาก

“เราอยากทำให้ Ryde Culture เป็นที่รู้จักในประเทศต่างๆ ทั่วยุโรปและเอเชียมากกว่านี้ แต่ละปีเราจะมีเป้าของเราอยู่ว่าเราอยากจะไปกี่ที่ แล้วเราต้องทำยังไงบ้าง วิธีการต่างๆ มันก็คงค่อยๆ ไปตามสเตป” โจเล่า

“เราตั้งชื่อว่า Ryde Culture เพราะคำว่า Ryde มันพ้องเสียงกับคำว่า ‘ร้าย’ และ ‘Ride’ ส่วนคำว่า Culture มันก็เป็นอีกหนึ่งภาพฝันของเราว่าอยากให้มันเกิดคอมมิวนิตี้ของคนรักและขี่ Ryde Culture เช่นมีตลาดหรือกลุ่มเฟซบุ๊กให้คนได้มาพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน หรืออาจจะปล่อยงานมือสองให้มันเกิด after market หรือในอนาคตก็อยากจะรวมคนขี่ Ryde Culture ไปออกทริปด้วยกัน”​ คมทิ้งท้าย

Writer

กองบรรณาธิการไลฟ์สไตล์ที่มีแมวเป็นแรงผลักดันในการทำงาน

Photographer

พูดไม่เก่งแต่เล่าด้วยภาพ ig climate_moth

You Might Also Like