นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

748
June 20, 2023

Rainbow Washing

จากสายรุ้งสู่พายุ เส้นทางแห่งความขัดแย้งของแบรนด์ ในห้วงเวลาแห่ง Pride Month

โลกของการตลาดและการโฆษณามีการพัฒนาอยู่เสมอ การปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจึงเป็นสิ่งที่แบรนด์ต่างๆ ต้องวางกลยุทธ์ให้รอบคอบ

เช่นเดียวกันในเดือนมิถุนายนของทุกปีซึ่งเป็นเดือน Pride Month ที่เหล่า LGBTQ+ จะมารวมตัวกันเพื่อเฉลิมฉลองตัวตนและต่อสู้เพื่อความเท่าเทียม

เมื่อกระแสมา สังคมเริ่มยอมรับในความหลากหลายมากขึ้น หลายแบรนด์จึงกระโดดเข้ามาทำ Pride Marketing หรือการตลาดที่เกี่ยวกับเทศกาล Pride Month ด้วยเช่นกัน 

ทว่าการทำ Pride Marketing ยังถือเป็นโจทย์หินของหลายแบรนด์ เพราะหากแค่ทำสินค้าหรือแคมเปญที่มีสีสายรุ้ง แต่แก่นของธุรกิจกลับไม่ได้มีอะไรที่สนับสนุนความหลากหลายและความเท่าเทียมทางเพศอย่างแท้จริง นั่นก็คงเป็นเพียงแค่การเกาะกระแส เป็นเพียงแค่ Rainbow Washing และกลายเป็นผลลัพธ์เชิงลบกับแบรนด์แทนที่จะได้รับการสนับสนุนจากผู้คน

อีกมุมหนึ่งการทำ Pride Marketing ยังถือเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแบรนด์ที่มีฐานลูกค้าเป็นกลุ่มอนุรักษนิยม ซึ่งเรื่องนี้ก็มี case study จากแบรนด์ในต่างประเทศให้เห็นด้วยเช่นกัน

อย่างเมื่อไม่นานมานี้ที่ Bud Light เบียร์ชื่อดังในอเมริกา โดนดราม่าถล่มจากเหล่าอนุรักษนิยมอย่างหนัก เพียงเพราะใช้ ดีแลนด์ มัลเวย์นี อินฟลูเอนเซอร์ที่เป็นทรานส์เจนเดอร์มาช่วยโฆษณาแบรนด์ แม้โฆษณานั้นจะเป็นอะไรที่แสนธรรมดาคือเพียงแค่ ดีแลนด์ มัลเวย์นี ตั้งกล้องแล้วถ่ายคลิปดื่มเบียร์โชว์เพื่อโปรโมตแคมเปญชิงโชคกับแบรนด์ แต่ก็ทำให้เกิดกระแสบอยคอตต์เบียร์ Bud Light ในโลกออนไลน์อย่างหนัก ทั้งยังลามมาสู่ยอดขาย เพราะร้านขายเหล้าแห่งหนึ่งในรัฐอาร์คันซอก็บอกว่าทันทีที่เกิดการต่อต้านจากกลุ่มอนุรักษนิยมนี้ขึ้นมาก็ทำให้ยอดขายแบรนด์ Bud Light หายไปราว 20-25% ไปหลายวัน ส่วนสำนักข่าว The Wall Street Journal ก็รายงานว่ายอดขายของ Bud Light ลดลงกว่า 17% ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว สวนทางกับอีกสองแบรนด์คู่แข่งอย่าง Coors Light และ Miller Light ที่มียอดขายเพิ่มมากว่า 18%

ไม่ใช่แค่ Bud Light เท่านั้นแต่ร้านค้าปลีกชื่อดังในอเมริกาอย่าง Target ก็ยังโดนดราม่าจากการทำแคมเปญที่เกี่ยวกับ LGBTQ+ ด้วยเช่นกัน เหตุผลที่ทำให้ Target เจอกับดราม่าครั้งนี้ก็เพราะทางร้านได้ทำสินค้าที่เป็นคอลเลกชั่นเกี่ยวกับ Pride Month ออกมา หนึ่งในนั้นคือสินค้าสำหรับเด็ก จนทำให้เกิดคำวิพากษ์วิจารณ์ในกลุ่มคนอนุรักษนิยมว่าการทำสินค้าธีม Pride Month เป็นการพูดเรื่องเพศสภาพกับเด็กก่อนถึงวัยอันควร รวมถึงยังเกิดการต่อต้านทั้งในออนไลน์และออฟไลน์ ลูกค้าบางคนถึงกับโวยวายและทำพฤติกรรมคุกคามใส่พนักงาน ไปจนถึงขว้างสินค้าคอลเลกชั่น Pride Month ลงพื้นเลยก็มี และด้วยกระแสต่อต้านที่รุนแรง ทำให้ Target ถึงกับต้องถอดสินค้าบางชิ้นที่ทำมาในธีม Pride Month ออกจากเชลฟ์เพื่อความปลอดภัยของพนักงานที่อยู่หน้าร้าน

ในวันที่ทั่วโลกรณรงค์และหันมายอมรับความหลากหลายทางเพศมากขึ้น ทว่าสิ่งที่ทำให้อเมริกามีกลุ่มคนที่ต่อต้าน LGBTQ+ ขึ้นมา ก็เพราะในสังคมอเมริกามีสิ่งที่เรียกว่า ‘การต่อสู้ในกลุ่มศิลปะและวัฒนธรรมในอเมริกา’ ซึ่งเรื่องความหลากหลายทางเพศ ก็ถือเป็นอีกประเด็นสำคัญในการต่อสู้ครั้งนี้ด้วย 

แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีหลายๆ แบรนด์ ในสหรัฐอเมริกาที่ไม่โอนเอนไปตามเสียงการต่อต้านของกลุ่มอนุรักษนิยม และยังคงยืนยันที่จะสนับสนุนความหลากหลายทางเพศ เพื่อแสดงให้เห็นว่าพวกเขาพร้อมปรับตัวเพื่อเปลี่ยนแปลงตามสังคมที่เปลี่ยนไป ด้วยคิดว่าการลุกขึ้นมาสนับสนุนความหลากหลายทางเพศนั้นมีผลดีมากกว่าผลเสียที่จะเกิดขึ้น และไม่ใช่แค่การทำ Rainbow Washing แต่พวกเขายังสนับสนุนความหลากหลายทางเพศจริงๆ ไม่ว่าจะเป็น Google ที่มีการมอบเงินเพื่อเอาไว้ส่งเสริมและรณรงค์กิจกรรมด้านความเท่าเทียมทางเพศ รวมถึงสวัสดิการต่างๆ ที่ไม่ต่างจากชายหญิง คือให้ผ่าตัดแปลงเพศได้เหมือนลาคลอด รวมถึงลาไปเลี้ยงลูกที่รับมาเลี้ยงได้

หรืออย่าง Johnson & Johnson สนับสนุนความหลากหลายทางเพศมาโดยตลอด หนึ่งในนั้นคือนโยบายที่บริษัทจะมอบสวัสดิการ เช่น ประกันสุขภาพ หรือค่ารักษาพบาลต่างๆ ให้กับคู่รักของพนักงานที่เป็น LGBTQ+ ด้วย 

อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจเกิดความสงสัย ว่าทำไมบางแบรนด์ถึงถูกแบน และทำไมหลายแบรนด์ถึงไม่ถูกแบน 

อันที่จริงแล้วเรื่องนี้มีหลายปัจจัยประกอบด้วยกัน ทั้งเรื่องของกลุ่มลูกค้าหลักของแบรนด์ที่ทั้ง Bud Ligth และ Target มีฐานลูกค้าเป็นกลุ่มคนอนุรักษนิยมอยู่ไม่น้อย ส่วนแบรนด์ที่ไม่โดนแบนก็อาจเป็นเพราะพวกเขาเป็น first mover ที่มีจุดยืนเรื่องการสนับสนุนความหลากหลายอย่างชัดเจนมาเป็นเวลานานแล้วทั้งยังมีลูกค้าหลักเป็นกลุ่มคนหัวก้าวหน้า 

อีกประเด็นสำคัญก็คือเรื่องของอุบัติเหตุแบรนด์ที่ไม่มีใครคาดคิดว่าสิ่งที่จะทำมาเพื่อส่งเสริมกลับกลายมาเป็นผลกระทบเชิงลบแทน 

หากขยายไปไกลกว่าประเด็น LGBTQ+ ที่ผ่านมาในอดีตก็มีกรณีศึกษาอย่างเช่น Dolce & Gabbana แบรนด์แฟชั่นไฮเอนด์ที่เคยประสบอุบัติเหตุแบรนด์ครั้งใหญ่ เพียงเพราะตะเกียบคู่เดียว

ด้วยเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ ทั้งยังมีประชากรจำนวนไม่น้อยที่มีกำลังซื้อสูง จีนจึงกลายเป็นอีกตลาดสำคัญที่เหล่าแบรนด์หรูอยากจะจับลูกค้ากลุ่มนี้ให้ได้ เช่นเดียวกับ Dolce & Gabbana ทางแบรนด์จึงได้ออกโฆษณามาเพื่อเจาะตลาดกลุ่มนี้โดยเฉพาะ ซึ่งในโฆษณาเป็นภาพของนางแบบชาวเอเชียเอาตะเกียบมาคีบอาหารอิตาเลี่ยน มีเสียงในโฆษณาบอกว่านางแบบต้องกินอาหารอิตาเลียนยังไง ทว่าฟีดแบ็กที่ได้รับกลับเป็นดราม่าเรื่องใหญ่ ชาวจีนมองว่า Dolce & Gabbana กำลังเหยียดพวกเขาอยู่ เพราะไม่ใช่อาหารทุกอย่างที่คนจีนจะใช้ตะเกียบกิน หรือไม่จำเป็นต้องมาสอนวิธีการกินอาหารอิตาเลียนให้กับพวกเขา จากโฆษณาที่หวังทำมาจับกลุ่มลูกค้าคนจีนโดยเฉพาะก็กลับตาลปัตรเป็นวิกฤตใหญ่ของแบรนด์จนผู้บริหารถึงกับต้องออกคลิปขอโทษ 

ดังนั้นการทำการตลาดที่เกี่ยวกับประเด็นของเพศ สังคม วัฒนธรรม เชื้อชาติ ยังคงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและเป็นโจทย์ท้าทายที่หลายแบรนด์ยังต้องมองหาสมดุลระหว่างลูกค้าที่เป็นอนุรักษนิยมและหัวก้าวหน้าเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดต่อตัวแบรนด์

หรืออีกทางคือต้องหาจุดยืนของตัวเองให้ชัดเจน แม้จะเป็นการคัดคนที่มีจุดยืนต่างกับแบรนด์ออกไป แต่ก็ยังสามารถรักษาคนที่มีจุดยืนร่วมกับแบรนด์ไว้ได้ ต่างจาก Bud Light และ Target ที่เมื่อเทคแอ็กชั่นแบบครึ่งๆ กลางๆ คือจะสนับสนุน  LGBTQ+ ก็ไม่สุด จะอยู่ฝั่งอนุรักษนิยมก็ไม่สุดเช่นกัน จึงลามมาสู่อุบัติเหตุครั้งใหญ่ของทั้งสองแบรนด์อย่างที่เป็นอยู่เช่นทุกวันนี้

You Might Also Like