นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

1×1 mᒾ

หลัก 4P+1 ของ Pica Pen สินค้าสไตล์ลิ่งอายุ 10 ปีที่ใช้พื้นที่ 1×1 ตร.ม.เป็นเกณฑ์การทำงาน

1×1 ตารางเมตร เป็นพื้นที่ไม่ใหญ่ไม่เล็ก พอให้เราได้แสดงความเป็นตัวเองออกมา

ความเป็นตัวเองที่จะทำอะไรก็ได้ ทดลองอะไรก็ได้ ไม่มีใครว่า 1×1 ตารางเมตร จึงเป็นพื้นที่ที่ ‘ก้อง–พิชชากร มีเดช’ ใช้เป็นหลักคิดในการออกแบบสินค้าและทำให้ Pica Pen เดินทางมาจนถึงขวบปีที่ 10 

Pica Pen เป็นแบรนด์สินค้าสไตล์ลิ่งที่ตั้งต้นจากการทำของโบราณที่เข้าถึงยากอย่างปากกาคอแร้งให้ดูเรียบง่ายและเข้ากับยุคสมัย หลังจากได้เห็นปากกคอแร้งของจริงที่ร้านขายเครื่องเขียนเก่าแก่ใกล้มหาวิทยาลัย สมัยที่เขายังเป็นนักเรียนโปรดักต์ดีไซน์และทำของขายเล่นๆ ที่ตลาดนัดนักศึกษา

จากที่ไม่คาดหวังว่าจะมีคนเห็นคุณค่าของปากกคอแร้งทำมือ วันนี้ Pica Pen เดินทางมาไกล ไม่ใช่เพียงปากกาคอแร้งจากวัสดุทองเหลืองที่เขารังสรรค์ขึ้นเท่านั้น แต่ยังมีดินสอที่ใช้แรงบีบ ดินสอทรงช็อกโกแล็ตบาร์ที่เปิดให้ลูกค้าได้จบงานด้วยตนเอง และล่าสุดยังมีเทียนหอมในวัสดุทองเหลืองออกมาวางจำหน่าย

ทั้งหมดนี้รังสรรค์ขึ้นภายใต้หลักคิดในการออกแบบเฉพาะตัว โดยมีพื้นที่ 1×1 ตารางเมตรเป็นเกณฑ์ในการคิดสินค้าชิ้นใหม่ 

ความสนุกของเรื่องนี้คือแม้ก้องจะไม่คาดหวังอะไรจากการทำแบรนด์ แต่การจะทำให้แบรนด์สุด niche เดินทางมาอย่างยาวนานได้ก็ถือว่าไม่ง่าย ภายใต้ความไม่คาดหวังของก้องจึงซ่อนไอเดียการขับเคลื่อนให้ Pica Pen ยังเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตเขาได้จนทุกวันนี้

Product
ความเรียบง่ายคือหัวใจสำคัญ

“ตั้งแต่ตอนเรียน ความง่ายๆ คือคีย์สำคัญในการออกแบบ” นักเรียนโปรดักต์ดีไซน์เกริ่น

คำว่า ‘ง่ายๆ’ ของก้องแบ่งออกเป็น 2 ขาด้วยกัน ขาหนึ่งคืองานออกแบบจะต้องไม่ทำให้การผลิตยุ่งยากจนเกินไป เช่นว่ากลไกต่างๆ จะต้องตัดออก ขาที่สองคือความง่ายๆ ที่แปลว่า ‘เรียบง่าย’ เพราะเขาอยากหยิบข้าวของเครื่องใช้ในอดีตให้กลับมามีที่ทางในปัจจุบันโดยไม่เคอะเขิน แนวทางการออกแบบของเขาจึงไม่วินเทจจ๋า ไม่โมเดิร์นจ๋า แต่เน้นให้สินค้าเรียบง่ายทั้งรูปทรงและวัสดุ

“อย่างปากกาคอแร้งสมัยก่อนอาจจะมีโค้งเว้าที่วิจิตรบรรจงตามยุคสมัยนั้น แต่เวลาเราออกแบบเราจะเลือกตัดรายละเอียดเหล่านั้นออกไปให้เส้นสายมันเรียบที่สุด ส่วนวัสดุที่ใช้ก็เลือกเป็นทองเหลืองเพราะมันมีน้ำหนักจึงทำให้เส้นที่ได้มันคม”

ไอเดียเหล่านี้สะท้อนผ่านสโลแกนประจำแบรนด์ของ Pica Pen ที่ว่า “Bringing back values of the past lives again” 

ฟังก์ชั่นนำ ดีไซน์ตาม กิมมิกเป็นบรรทัดฐาน

“สินค้าของเรามันไม่ใช่แค่ปากกา ดินสอ หรือเครื่องเขียน แต่มันคือสิ่งที่จะช่วยส่งเสริมบรรยากาศในการทำงาน มุมมองส่วนตัวของเราที่มีต่อ Pica Pen จึงคือโปรดักต์ที่ดีคือโปรดักต์ที่นอกจากฟังก์ชั่นจะได้แล้ว ดีไซน์ก็ต้องสวย” ก้องเล่า

วิธีการออกแบบสินค้าของก้องจึงคือก่อนจะออกแบบให้สินค้าสวยงาม เขาต้องหารูปแบบสินค้าที่ฟังก์ชั่นเด่นไว้ก่อน เช่นปากกาคอแร้งของเขาจะต้องเฟรนด์ลี่กับคนถนัดทั้งมือซ้ายและขวา เขาก็ต้องออกแบบให้ปากกามีองศาที่ถูกต้อง เขียนแล้วลื่นไหล จากนั้นจึงค่อยมองหาดีไซน์ที่ใช่ ตอบโจทย์เรื่องความสวยงาม และแสดงถึงความเป็น Pica Pen ต่อไป

“ถ้าเรารู้ว่ามันใช้ยังไง เราถึงจะเอาดีไซน์มาครอบมันในขั้นตอนสุดท้ายได้” เขาเล่า 

นอกจากดีไซน์จะได้แล้ว ถ้าเรานั่งพิจารณาสินค้าจากหนึ่งสมองและสองมือของก้อง เราจะเห็นว่าในทุกๆ ชิ้นที่เขาผลิตออกมา ล้วนซ่อนอะไรบางอย่างให้คนรู้สึกสนุกเสมอ ไม่ว่าจะ PEG pencil ดินสอแบบหนีบที่ใช้หนังยางเป็นจุดหมุน ลูกเล่นตรงนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากไม้หนีบผ้าซึ่งเป็นสิ่งของง่ายๆ ในชีวิตประจำวันแต่ทำให้เขาได้รางวัล Design Excellence award (DEmark) 2019 มาครอง

“เราแค่สงสัยว่านอกจากเราจะใช้แรงกดดินสอแล้ว เราสามารถใช้แรงบีบได้ไหม” เขาอธิบายแนวคิดเบื้องหลัง PEG pencil ที่ต้องการแก้ pain point ดินสอไม้ที่ไม่สามารถใช้จนหมดแท่งได้

หรือจะเป็นดินสอที่มีรูปร่างเหมือนบาร์ช็อกโกแล็ตที่เขาเพิ่งได้รับรางวัล DEmark ปี 2022 มาหมาดๆ 

“เราได้แรงบันดาลใจจากบริษัทที่รับทำดินสอและของพรีเมียมจากงานแฟร์งานหนึ่ง เขาวางแผ่นไม้แผ่นใหญ่ที่ยังไม่ได้นำไปแปรรูปเป็นดินสอจนเสร็จ ตอนนั้นรู้สึกว่ามันเหมือนช็อกโกแลตจังเลย แล้วก็ได้ไอเดียมาว่าจริงๆ แล้ว ถ้าเราไม่ทำดินสอให้เสร็จสมบูรณ์ แต่ให้ลูกค้าช่วยผลิตดินสอแท่งนั้นจะสนุกขึ้นไหม” ก้องย้อนเล่า ก่อนสรุปความที่ทำให้เราเห็นถึงเบื้องหลังการออกแบบสินค้าทุกชิ้นของเขาซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่เอาชนะใจลูกค้ามากมาย

“หลักของเราคือทุกงานที่ออกมาจะต้องมีฟังก์ชั่นที่ดี ดีไซน์ที่สวย และกิมมิกบางอย่างเพื่อให้คนจดจำเราได้”  

พื้นที่ 1×1 ตารางเมตร

แม้จุดเริ่มต้นของ Pica Pen จะคือปากกาคอแร้ง และสินค้าต่อๆ มาก็ยังอยู่ในหมวดเครื่องเขียน แต่ก้องเองไม่ได้จำกัดขีดความสามารถของเขาและแบรนด์อยู่แค่นั้น เพราะในมุมมองของนักออกแบบ Pica Pen เป็นอะไรได้มากกว่านั้น

“เรามองว่า Pica Pen มันคือพื้นที่ที่ให้เราได้ดีไซน์เพื่อสไตล์ลิ่ง สินค้าของ Pica Pen จึงเป็นอะไรก็ได้ในพื้นที่ 1×1 ตารางเมตร เป็นพื้นที่ที่ไม่เล็กเกินไป แต่ก็ไม่ใหญ่จนเป็นพื้นที่ห้อง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเขียน เทียนหอมที่เพิ่งวางขายไป ก่อนหน้านี้ก็เคยออกแบบเก้าอี้ไว้ด้วย หรือมันอาจจะเป็นเสื้อผ้าที่ช่วยส่งเสริมให้เราอยากทำงานมากขึ้นก็ได้”

นอกจากคอนเซปต์ที่ว่าจะช่วยให้ก้องได้มีสนามทดลองหลากหลายแบบ เขายังบอกอีกว่าการไม่จำกัดตัวเองตรงนี้ยังทำให้ Pica Pen เข้าถึงกลุ่มคนได้หลากหลายยิ่งขึ้น และน่าจะดีกับแบรนด์หากในอนาคต ผู้คนหลงลืมการใช้เครื่องเขียนทำมือกันไปแล้ว

“อย่างกลุ่มลูกค้าของปากกาคอแร้งก็มักจะเป็นคนที่มีงานอดิเรกหรือชอบทำนู่นทำนี่ คนนึงที่เรายังจำได้ดีคือเขาเล่าว่าตอนนั้นเขาทำงานออฟฟิศอยู่ แต่ตอนเด็กๆ เขาเคยเขียน calligraphy พอเราชวนให้เขาลองใช้ปากกาเพื่อรื้อฟื้นความทรงจำเก่าๆ ตอนนี้เขาก็เป็นศิลปิน calligraphy ไปแล้ว 

“แต่พอเราเริ่มทำดินสอช็อกโกแลตบาร์ เราก็จะเห็นเลยว่ากลุ่มลูกค้าเราเด็กขึ้น วัยรุ่นขึ้น พอยิ่งทำเทียนหอมออกมา ตอนนี้ลูกค้าก็หลากหลายกว่าเดิม เราเลยมองว่าถ้าในอนาคตกระแสงานคราฟต์มันยิ่งหายหรือเทคโนโลยีมันเข้ามาแทนที่เครื่องเขียนและงานทำมือ เราก็ยิ่งต้องเริ่มปรับตัวด้วยการหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้ Pica Pen เดินต่อไปได้”

Price
ราคากลางที่เข้าถึงได้และเหมาะกับแบรนด์

750-850 บาท คือสนนราคาของปากกาคอแร้งภายใต้แบรนด์ Pica Pen 

1,190 บาท คือราคาของผลงานชิ้นโบแดงอย่าง PEG pencil

และ Pica pencil bar หรือดินสอบาร์ช็อกโกแลตนั้นมีราคาที่ 285 บาท

ราคาเหล่านี้ไม่ใช่ราคาที่คิดจะตั้งขึ้นเองตามใจ แต่ผ่านการรีเสิร์ชราคาเครื่องเขียนและงานทำมือมาอย่างละเอียดเพื่อให้ Pica Pen มีตำแหน่งแห่งที่ที่ถูกต้อง

“ราคาเครื่องเขียนในไทยกับต่างประเทศต่างกันมากๆ เราเองมองว่าตลาดของเราจะมีทั้งตลาดไทยและต่างประเทศ เลยเลือกตั้งราคากลางๆ ของทั้งสองกลุ่ม 

“ถ้าตั้งราคาแพงมากคนไทยก็เข้าไม่ถึง แต่ถ้าตั้งราคาถูกมากเกินไป กลุ่มลูกค้าก็อาจมองว่าของไม่มีคุณภาพ เพราะแบรนด์ของเรามันเป็นแบรนด์ที่ขายสไตล์ลิ่งที่เกี่ยวข้องกับภาพลักษณ์ด้วย”

Place
ที่ที่กลุ่มลูกค้าไป ที่ที่เหมาะกับยุคสมัย

ถ้าย้อนกลับไปเกือบ 10 ปีก่อน Pica Pen ถือเป็นแบรนด์น้องใหม่ที่มีสินค้าแปลกใหม่ เรียกว่าแม้จะเป็นของเดิมๆ ที่คนน่าจะรู้จักอยู่แล้ว แต่ของเดิมๆ ที่ว่าเหมือนจับคุณปู่คุณย่ามาแต่งตัวใหม่ ถ้าย้อนไปเมื่อ 4-5 ปีก่อน ที่งานคราฟต์นั้นมาแรงแบบฉุดไม่อยู่ Pica Pen จึงกลายเป็นที่จับตามองและถึงจุดพีค

ขวบปีแรกๆ Pica Pen จึงปรากฏตัวตามงานแสดงสินค้าคราฟต์ๆ เสียส่วนใหญ่ เพราะนั่นเป็นจุดรวมพลของกลุ่มลูกค้าเรา

“สินค้าของเรามันคราฟต์มากๆ งานที่จะไปมันเลยไม่ใช่งานที่เน้นสินค้าแมส แต่เราจะเน้นตลาดที่คนเดินในงานเน้นเรื่องสุนทรียะ หรือเวลาเรากับลูกค้าคุยกันก็จะคุยในเชิงอารมณ์ความรู้สึกและเรื่องเล่า”

แต่เมื่อสถานการณ์โควิด-19 เข้ามาเบรกเศรษฐกิจ รวมถึงกระแสงานคราฟต์ที่เริ่มเปลี่ยนทิศ ก้องจึงเน้นวางขายสินค้าตามช่องทางออนไลน์มากขึ้น รวมถึงกระจายสินค้าไปตามห้างร้านต่างๆ เพื่อให้กลุ่มลูกค้าของ Pica Pen และคนทั่วไปเข้าถึงสินค้าได้ง่ายขึ้น

Promotion
ส่งเสริมการขายด้วยการสื่อสารคุณค่าสินค้า

ถ้าพูดถึงโปรโมชั่นหรือการส่งเสริมการขายในลักษณะการลด แลก แจก แถม ก้องบอกกับเราว่า Pica Pen แทบไม่มี เพราะกลุ่มลูกค้าของแบรนด์นี้ไม่ได้เลือกซื้อสินค้าตามราคาที่ลดลง แต่เป็นกลุ่มลูกค้าที่ซื้อ Pica Pen ตามความต้องการเท่านั้น

โปรโมชั่นที่สำคัญที่ทำให้ Pica Pen ขายได้จึงคือการสื่อสารคุณค่าของสินค้าให้ลูกค้าเข้าใจต่างหาก

“วิธีสื่อสารแบรนด์ของเรามันขึ้นกับว่าเราขายสินค้าที่ไหนด้วย ถ้าไปขายตามงานแฟร์มันง่ายอยู่แล้ว เพราะนอกจากเราจะได้เล่าที่มาของสินค้าเอง ลูกค้ายังได้เห็น ได้จับของจริง และเราก็จะใช้ปากกาดินสอทดลองเขียนให้เขาดู ชวนคนที่ไม่เคยลองมาเปลี่ยนประสบการณ์การเขียน ส่วนคนที่เคยเขียนในวัยเด็ก เราก็ชวนเขาย้อนความทรงจำ

“แต่พอเป็นการขายออนไลน์ การสื่อสารแบรนด์มันต้องปรับเยอะมากเพราะคนที่เห็นเราไม่ใช่แค่กลุ่มลูกค้าที่เราไปขายตามงานแล้ว แต่เป็นคนหลากหลายกลุ่ม ช่วงแรกเราเน้นสื่อสารผ่านอารมณ์เหมือนเวลาขายของหน้าร้าน แต่ได้เรียนรู้ว่าสิ่งที่เวิร์กจริงๆ คือการทำคอนเทนต์ที่ทำให้ลูกค้าเห็นว่าเครื่องเขียนหรือสินค้าของเรามันดียังไง ฟังก์ชั่นเป็นแบบไหน ใช้ในชีวิตประจำวันได้ยังไงบ้างมากกว่า” ก้องว่า

Practice 
ฝึกฝนทดลองคือคีย์สำคัญ

“practice” ก้องตอบเมื่อเราเอ่ยถามถึง P สุดท้ายที่เขานึกถึง

“Pica Pen เกิดขึ้นมาจากการอยากฝึกเขียน calligraphy ของเรา จากนั้นก็เกิดจากการทดลองและฝึกทำสินค้าแต่ละแบบขึ้นมาเรื่อยๆ เกิดจากการที่เราฝึกทักษะต่างๆ ผ่านการปรับสินค้าตามฟีดแบ็ก พอเราผ่านประสบการณ์การฝึกฝนมาเยอะมันเลยทำให้แบรนด์นี้ชัดเจนขึ้นและเราสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ดีขึ้น”

จากการทำขึ้นด้วยความนึกสนุกและไม่คาดหวังใดๆ วันนี้ Pica Pen ไม่ใช่เพียงแบรนด์สินค้า แต่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เป็นคอมฟอร์ตโซนไว้พักใจ และเป็นเครื่องยืนยันความคิดในการทำงานของก้องได้ดี

“ถึงจะคาดหวังกับแบรนด์มากขึ้นกว่าช่วงแรก แต่เป้าหมายหลักในการทำ Pica Pen ยังคงเดิม คือเราอยากให้ Pica Pen ตอบคำถามเราได้ว่ามีคนคิดแบบเราหรือชอบแบบเราบ้างไหม เราเลยไม่ได้คาดหวังว่าจะขายได้เท่าไหร่หรือจะขายดีมากๆ แต่สิ่งที่อยากได้คือฟีดแบ็กจากลูกค้าว่าของที่เราทำมันดีหรือไม่ดียังไงมากกว่า 

“ดังนั้นถ้าถามว่าภาพ Pica Pen ในอนาคตจะเป็นยังไง ก็ต้องกลับมาที่พื้นที่ 1×1 ตารางเมตร ถ้ามันเต็มเมื่อไหร่ก็น่าจะเติมเต็มตัวเองได้เมื่อนั้น เพราะ Pica Pen เป็นแบรนด์ที่เราทำเมื่อรู้สึกว่าขาดอะไรบางอย่างไปจากการทำงานหลัก 

“มันเหมือนเป็นเซฟโซน เป็นสนามเด็กเล่นเล็กๆ ที่เรารู้สึกว่าเราอยากจะปล่อยมุมมองและประสบการณ์อะไรลงไปก็ได้” เขาทิ้งท้าย 

What I've Learned

1. “ถึงจะทำแบรนด์นี้ด้วยความไม่คาดหวังมากนัก แต่การปรับสินค้าตามฟีดแบ็กของลูกค้ายังคงสำคัญ เพราะนั่นก็คือการทดลองอีกระดับหนึ่ง เมื่อเราปรับไปเรื่อยๆ เราจะเริ่มเข้าใจว่าแบบไหนที่เราจะปรับ แบบไหนที่จะไม่ปรับ”

2. “ทุกธุรกิจมันค่อนข้างใช้ประสบการณ์ต่างกัน ไม่สามารถนำบทเรียนจากธุรกิจหนึ่งไปใช้กับอีกธุรกิจได้ขนาดนั้น คีย์สำคัญคือการมองการแก้ปัญหาให้เป็นการทดลอง”

3. “Pica Pen เป็นสินค้าที่มีตลาดแบบ niche ก็จริง แต่ไม่ได้หมายความว่าสินค้าในตลาดนี้จะมีกลุ่มลูกค้ากลุ่มเดียวกัน เช่น niche ที่ชอบของแพง niche ที่ชอบของหายาก หรือ niche ที่ชอบงานออกแบบ ถ้าอยากทำให้ธุรกิจมันไปต่อได้ เราจึงต้องหาให้เจอว่าลูกค้าของเราอยู่ใน niche แบบไหน เขาเป็นใคร แล้วแผนงานทั้งหมดมันจะมาเอง”

Writer

กองบรรณาธิการไลฟ์สไตล์ที่มีแมวเป็นแรงผลักดันในการทำงาน

Photographer

ช่างภาพที่สนุกกับการแต่งตัว อยู่กับเสียงเพลง และหลงรักในความทรงจำ Ig : mocfirst

You Might Also Like