นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

มาหาอำนาจทางเรือ

‘Navegador’ ประสิทธิภาพในยุคล่าอาณานิคม

ระหว่างศตวรรษที่ 15 และ 16 หลายร้อยปีก่อนที่โลกจะรู้จักคำว่า ‘โลกาภิวัตน์’ หลายประเทศในยุโรปส่งนักผจญภัยข้ามมหาสมุทรไปสำรวจและตีดินแดนใหม่ๆ นอกทวีปเป็นอาณานิคม กลายเป็นยุคที่ได้สมญา ‘ยุคแห่งการสำรวจและค้นพบของยุโรป’ ในยุคนี้ประเทศเล็กๆ สุดขอบตะวันตกของยุโรปอย่างโปรตุเกส กลายเป็นประเทศมหาอำนาจทางเรือที่ค้นพบดินแดนใหม่ๆ เกินขนาดของประเทศตัวเองไปนับพันนับหมื่นเท่า โดยอาศัยพัฒนาการของเทคโนโลยีการทำแผนที่และอุปกรณ์เดินเรือที่เอื้อต่อการเดินทางข้ามทวีป ยิ่งออกสำรวจก็ยิ่งสะสมองค์ความรู้มหาศาลเกี่ยวกับการเดินเรือและภูมิศาสตร์ทั่วโลก ตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย ไกลถึงญี่ปุ่นในทะเลจีนใต้

นักเดินเรือ (navegador ในภาษาโปรตุเกส) มีแรงจูงใจที่จะออกไปเสี่ยงภัยในทะเล เพราะการค้นพบเส้นทางค้าขายเครื่องเทศซึ่งเป็นสินค้า ‘พรีเมียม’ ในยุคนั้นจะช่วยให้โกยกำไรงามๆ ที่คุ้มค่าความเสี่ยง เหล่า navegador ค้นพบเส้นทางมากกว่านักเดินทางชาติอื่นในยุคแห่งการสำรวจ ถึงแม้โลกอาจรู้จักพวกเขาไม่มากเท่าคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส นักเดินเรือที่ไม่ใช่ชาวโปรตุเกสแต่เดินทางไปพบทวีปอเมริกาด้วยเงินของกษัตริย์โปรตุเกส

ความเกรียงไกรของโปรตุเกสเริ่มต้นจาก บาร์โทโลมิว ดิอาซ ผู้ล่องเรือข้ามแหลมกู๊ดโฮป สุดขอบทวีปแอฟริกาตอนใต้ได้สำเร็จใน ค.ศ. 1488 จากนั้นสิบปีต่อมา วาสโก ดากามา นักเดินเรือผู้กลายเป็นตำนาน ก็ล่องเรือไปถึงอินเดีย ถัดมาอีกเพียงสองปีคือ ค.ศ. 1500 ไม่ว่าจะด้วยความบังเอิญหรือจงใจก็ตามแต่ เปโดร อัลวาเรซ คาบราล ก็เดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปขึ้นฝั่งดินแดนในทวีปอเมริกาใต้ซึ่งต่อมาจะชื่อ บราซิล 

ภายในระยะเวลาไม่ถึงหนึ่งศตวรรษ โปรตุเกสสร้างป้อมปราการ โรงงานแปรรูปและสถานีค้าขายจำนวนมากในพื้นที่ทั้งที่ตีเป็นอาณานิคมและไม่เป็น ตลอดชายฝั่งดินแดนทุกทวีปที่พวกเขาค้นพบ เชื่อมเมืองหลวงลิสบอนในโปรตุเกสเข้ากับชายฝั่งแอฟริกา ตะวันออกกลาง อินเดีย และเอเชียตะวันออกไกลถึงนางาซากิ เมืองท่าสำคัญในญี่ปุ่น เครือข่ายเส้นทางค้าขายและการล่าอาณานิคมนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจโปรตุเกสเติบโตอย่างก้าวกระโดดนานสามร้อยปีระหว่างปี 1500-1800 และสร้างรายได้ราว 1 ใน 5 ของรายได้ชาวโปรตุเกสในยุคนั้น 

มรดกของโปรตุเกสตกทอดมาถึงปัจจุบันในแง่วัฒนธรรมมากมาย ภายหลังจากที่คนในพื้นที่อาณานิคมต่างทยอยประกาศเอกราช ทั้งในด้านสถาปัตยกรรม อาหาร และภาษา ยกตัวอย่างเช่น ทุกวันนี้ภาษาโปรตุเกสมีคนใช้มากเป็นอันดับ 6 ของโลก มีคนพูดมากกว่า 240 ล้านคนโดยเฉพาะในบราซิล

boardgamegeek.com

Navegador บอร์ดเกมเศรษฐศาสตร์ที่ดีที่สุดเกมหนึ่ง นำแรงบันดาลใจจากยุคทองของโปรตุเกสมาสร้างเป็นเกมสนุกสำหรับ 2-5 คน รับบทเป็นพ่อค้าและนักเดินเรือในยุคนั้น เราจะส่งกองเรือจากโปรตุเกสไปยังอเมริกาใต้ แอฟริกา เอเชียใต้ สุดท้ายไปจบที่เอเชียตะวันออก เกมจะจบเมื่อมีใครสักคนแล่นเรือไปถึงเมืองท่านางาซากิในญี่ปุ่น หรือสร้างอาคารหลังสุดท้ายที่มีให้สร้าง (ปกติจบแบบแรก) 

ผู้เล่นทุกคนในเกมเริ่มต้นเท่ากันด้วยเรือ 2 ลำ ลอยอยู่ในน่านน้ำนอกชายฝั่งโปรตุเกส คนแรกที่แล่นเรือเข้าไปสำรวจพื้นที่ทะเลใหม่ๆ จะต้องเสียเรือ 1 ลำ (สะท้อนความเสี่ยงสูงมากของการเดินเรือในยุคนั้น) แต่จะได้โทเคน ‘สำรวจ’ ซึ่งมีมูลค่าเป็นคะแนนตอนจบเกม และได้โบนัสเป็นเงินสดเท่ากับมูลค่าของพื้นที่อาณานิคมที่น้อยที่สุดในบริเวณนั้นๆ

หลังจากที่พื้นที่ทางทะเลแต่ละช่องได้รับการบุกเบิกแล้ว (ไม่มีโทเคน ‘สำรวจ’ ในน่านน้ำนั้นแล้ว) ทุกคนก็จะแล่นเรือเข้าไปได้โดยไม่จม และก่อตั้งอาณานิคมชายฝั่งตามทวีปต่างๆ ได้

ความเจ๋งของ Navegador อยู่ที่ความเรียบง่ายของกลไกตลาด ในเกมนี้มีสินค้า 3 ชนิดตามประวัติศาสตร์ที่ทำเงินงามๆ ให้กับพ่อค้าโปรตุเกสในยุคทอง ได้แก่ น้ำตาล (ผลิตโดยอาณานิคมในอเมริกาใต้) ทองคำ (แอฟริกา) และเครื่องเทศ (เอเชีย) ก่อนจะขายได้เราต้องล่องเรือไปให้ถึงพื้นที่ที่เราอยากจับจองเป็นอาณานิคม มีทรัพยากรคนและเรือมากพอ (อย่างน้อย 2 คนในลิสบอน และเรือ 1 ลำในพื้นที่ที่จะตั้งอาณานิคม) จากนั้นจ่ายเงินแล้วเอาแผ่นอาณานิคมนั้นๆ มาอยู่กับตัว

boardgamegeek.com

แผ่นอาณานิคมให้สิทธิเราขาย ‘วัตถุดิบ’ ที่ผลิตโดยอาณานิคมในพื้นที่ แต่ถ้าจะขาย ‘สินค้า’ (จากการแปรรูปวัตถุดิบนั้นๆ) เราต้องใช้อีกแอ็กชั่นสร้าง ‘โรงงาน’ ผลิตสินค้า ซึ่งเราสามารถสร้างโรงงานสินค้าชนิดใดก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องไปตั้งอาณานิคมผลิตวัตถุดิบชนิดนั้นก่อน

ยิ่งเราขายวัตถุดิบเข้าตลาดมากเท่าไหร่ ราคาตลาดของมันยิ่งลดลง แต่ในทางกลับกันยิ่งราคาวัตถุดิบลดลง ราคาสินค้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากวัตถุดิบนั้นๆ ยิ่งเพิ่มสูงขึ้น (วัตถุดิบขาดตลาด ทำให้สินค้าแพงกว่าเดิม) ดังนั้นความสนุกส่วนหนึ่งในเกมจึงอยู่ที่การวางแผนว่าจะทำอาณานิคมวัตถุดิบอะไร สร้างโรงงานผลิตอะไร และจากนั้นก็คอยตามดูและคาดเดาการซื้อ-ขายของผู้เล่นคนอื่นๆ เพื่อมองหาโอกาสเก็งจังหวะขายวัตถุดิบหรือสินค้าที่เราจะได้กำไรสูงสุด

(กติกาใน Navegador ไม่อนุญาตให้เราทำกำไรแบบจับเสือมือเปล่า นั่นคือ ทั้งซื้อและขายวัตถุดิบและสินค้าชนิดเดียวกันในตาเดียวกัน) 

คะแนนใน Navegador นับครั้งเดียวตอนจบเกม คะแนนมาจากหลายทางด้วยกันไม่ว่าจะเป็นการต่อเรือ สร้างอู่ต่อเรือ (ลดต้นทุนการต่อเรือแต่ละลำ) สร้างโบสถ์เผยแผ่ศาสนาคริสต์ในอาณานิคมโปรตุเกส (ลดต้นทุนการจ้างคนทำงาน) สร้างอาณานิคม สร้างโรงงาน การสำรวจพื้นที่ใหม่ๆ ในทะเล ฯลฯ แต่วิธีทำคะแนนทั้งหมดนี้ต้องแลกมาด้วยเงิน รวมถึงการส่งคนเข้าวังไปประจบประแจงกษัตริย์ เพื่อเอา ‘royal favor’ หรืออภิสิทธิ์จากวัง ซึ่งรูปธรรมในเกมนี้ก็คือแผ่นตัวเลขที่จะเอามาเพิ่มตัวคูณคะแนนตอนจบเกม และตอนเลือกอภิสิทธิ์ก็จะได้โบนัสเงินสดด้วย

boardgamegeek.com

ในเมื่อวิธีทำคะแนนทุกวิธีต้องใช้เงิน และวิธีได้เงินหลักๆ ก็คือการขายน้ำตาล ทองคำ เครื่องเทศ ไม่ว่าจะในรูปของวัตถุดิบหรือสินค้าสำเร็จรูป Navegador จึงบังคับให้เราทำตัวเป็นพ่อค้าที่ทั้งต้องวางแผนระยะสั้นและมองการณ์ไกลในระยะยาว แอ็กชั่นในเกมนี้ก็ไม่ใช่ว่าจะทำอะไรเมื่อไรก็ได้ที่ต้องการ แต่ใช้ระบบ rondel คือเลือกแอ็กชั่นจากรอบหน้าปัด ถ้าจะเลือกแอ็กชั่นที่ไกลจากแอ็กชั่นเดิมมากกว่า 3 ช่อง ต้องทำลายเรือในทะเลซึ่งเป็นต้นทุนที่สูงมาก ดังนั้นการวางแผนว่าจะทำอะไรก่อนหลังดีจึงเป็นกลยุทธ์ที่ขาดไม่ได้ในเกมนี้

Navegador เป็นเกมที่เรียบง่ายแต่เอาชนะไม่ง่าย สื่อสารหลักเศรษฐศาสตร์พื้นฐานเรื่องอุปสงค์-อุปทานได้อย่างสง่างามผ่านกลไกตลาดเรียบหรู และเป็นเกมเศรษฐศาสตร์น้อยเกมที่จบได้ภายในเวลาประมาณ 2 ชั่วโมงถ้าเล่นครบ 5 คน การแข่งขันเข้มข้นในทุกมิติเพราะทุกอย่างมีจำกัดตั้งแต่จำนวนอาณานิคมในแต่ละพื้นที่ จำนวนโรงงาน เรื่อยไปจนถึงจำนวนอภิสิทธิ์จากวัง ธีมของเกม และระบบทุกระบบสอดรับประสานกันอย่างกลมกลืน เล่นได้ไม่รู้เบื่อไม่ว่าจะกลับมาเล่นใหม่กี่รอบ

สิ่งที่ผู้เขียนมองว่าเป็นจุดอ่อน หรืออย่างน้อยก็เป็นเรื่อง ‘น่าเสียดาย’ เพียงข้อเดียวเท่านั้นของ Navegador คือด้านกลับของจุดแข็งของเกม นั่นคือ เกมนี้ช่วยให้เรามองเห็นประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจสูงลิบของโปรตุเกสในยุคทองอย่างเด่นชัด แต่กลบเกลื่อน ‘ต้นทุน’ ทางสังคมสูงลิบที่อยู่เบื้องหลังประสิทธิภาพของเจ้าอาณานิคมยุโรปทุกประเทศ

นั่นคือ ต้นทุนของการรุกรานและล่าอาณานิคมในพื้นที่ห่างไกล ฉวยใช้ช่วงชิงทรัพยากรของชนชาติอื่นโดยไม่ขออนุญาต ปราบปรามและกดขี่บีฑาชนพื้นเมืองอย่างรุนแรง

เรายังคงต้องรอบอร์ดเกมที่จะนำความรุนแรงทางประวัติศาสตร์มาสร้างเป็นกลไกเกมที่โดดเด่นและเรียบง่าย–เรียบง่ายไม่แพ้ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจและกลไกตลาดที่เกมอย่าง Navegador ช่ำชองแต่ก็ต้องแลกมาด้วยการมองข้ามความรุนแรงของลัทธิล่าอาณานิคม

boardgamegeek.com

Writer

นักเขียน นักแปล นักวิจัย และนักวิชาการอิสระด้านการเงิน ที่สนใจเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน ธุรกิจที่ยั่งยืน การเงินเพื่อสังคม และสิทธิเสรีภาพออนไลน์ สฤณีเรียกตัวเองอย่างภาคภูมิใจว่า “เกมเมอร์” โดยเล่นเกมมาแล้วหลายพันเกมตลอดสามทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งเกมตู้ เกมคอมพิวเตอร์ และบอร์ดเกม ช่วงทศวรรษ 1998-2008 สฤณีมีชื่อเสียงระดับโลกในวงการเกมเมอร์ในฐานะผู้ก่อตั้งและรันเว็บไซต์ Home of the Underdogs กรุเกมเก่าออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในสมัยนั้น ซึ่ง ณ จุดสูงสุดมีเกมให้ดาวน์โหลดมากกว่า 4,000 เกม ส่องประสบการณ์การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ของเธอได้จากเพจ Fringer on Computer Games และบอร์ดเกมได้จากเพจ Fringer on Board Games

Illustrator

Just another graphic designer

You Might Also Like