นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

The Power of Mascot

สุนทรียภาพความเป็นเด็ก มาสคอตญี่ปุ่นยุคหลังสงคราม ความแมสในความติงต๊อง

ช่วงนี้เราพูดเรื่องซอฟต์พาวเวอร์ พูดเรื่องกางเกงช้างที่ด้านหนึ่งเป็นการเอาคาแร็กเตอร์ของเมืองหรือจังหวัดหนึ่งๆ มาเป็นลวดลายและเป็นของดีที่นำเสนอภาพจังหวัดนั้นๆ ในกระแสกางเกงช้างและการเปิดตัวตนของจังหวัดต่างๆ เราก็มีน้องปาป้า-ทูทู่ มาสคอตปลาทูที่เกิดจากศิลปินแม่กลอง เป็นพรีเซนเตอร์งานกินปลาทู และกลายเป็นกระแสน่ารักที่โด่งดัง ซึ่งเจ้าปาป้า-ทูทู่ ก็มีกางเกงลายปลาทูกับเขาด้วย

ความน่ารักของปาป้า-ทูทู่ ในเจ้ามาสคอตของแม่กลองเองก็มีรายละเอียดของตัวเอง ซึ่งจุดเด่นของมาสคอตคือการที่พวกมันกำลังเล่าเรื่องราวของพื้นที่ที่พวกมันกำลังนำเสนอ การเกิดขึ้นของมาสคอตประจำแม่กลองจึงมีความน่าสนใจ และน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของกระแสมาสคอตสุดฮิตประจำเมืองต่างๆ ซึ่งเราเองก็คงรู้จักกันจากการใช้มาสคอตในการโปรโมตเมืองโดยเฉพาะเมืองเล็กๆ และพื้นที่ท่องเที่ยวต่างๆ ของญี่ปุ่น ก่อนหน้านี้เล็กน้อยเราก็มีเจ้ากล้วยกรุงศรี มาสคอตดีเด่นด้านการเต้นมันที่กลายเป็นไวรัลน่ารักๆ

ในแง่ของมาสคอต ญี่ปุ่นถือเป็นดินแดนเจ้าพ่อของมาสคอต โดยเฉพาะการใช้มาสคอตเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวของเมือง มาสคอตที่ดังระดับซูเปอร์สตาร์และทำให้เรารู้จักเมืองคุมาโมโตะคือเจ้าคุมะมง ความน่ารักและการตีความสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม เป็นคาแร็กเตอร์ของญี่ปุ่นที่มีบริบททางวัฒนธรรมเช่นอิทธิพลจากความเชื่อเรื่องภูตผี ไปจนถึงเจ้า Yuru-Chara หรือมาสคอตของญี่ปุ่นเองก็มีกฎในความไร้สาระและดูบ้าบอของมัน ซึ่งความบ้าบออันเป็นพื้นฐานกลับกลายเป็นหัวใจหลักในการสื่อสารและเชื่อมโยงผู้คน ทั้งในระดับประเทศและดึงดูดสร้างความรักได้ในระดับโลก

ในวันที่การท่องเที่ยวเริ่มกลับมาและเราเริ่มพูดถึงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การออกแบบ และการเกิดขึ้นของมาสคอตและไอคอนแบบไทยๆ คอลัมน์ทรัพย์คัลเจอร์ขอพาเดินทางกลับไปยังต้นปี 2000 เพื่อมองหาประวัติศาสตร์ที่ไม่ใกล้ไม่ไกลของมาสคอต ชวนไปดูเงื่อนไขการเกิดขึ้นที่อาจเชื่อมโยงความน่ารักเข้ากับผลกระทบของยุคหลังสงครามของญี่ปุ่น ความสัมพันธ์ของมาสคอต วัฒนธรรมดั้งเดิมและความคิดเรื่องบ้านเกิดเมืองนอน ไปจนถึงการทำงานอย่างเป็นระบบจนมาสคอตมีตัวตนที่เราเชื่อ ตัวตนที่พาเมืองมาหาเราและทำให้เรารักได้แม้ยังไม่ต้องเดินทางไป

คาวาอี้คัลเจอร์ และ Yuru-Chara

มาสคอตด้วยตัวมันเองมีที่มาที่ยาวนานและหลากหลายเช่นมาสคอตของทีมกีฬาไปจนถึงมาสคอตของร้านอาหารและแบรนด์ต่างๆ แต่สิ่งที่เราจะพูดถึงคือการเฟื่องฟูขึ้นของมาสคอตของญี่ปุ่น โดยเฉพาะเหล่ามาสคอตที่มีนัยของความน่ารักและไร้สาระที่เรียกว่า Yuru-Chara

ในองค์ประกอบของมาสคอตแบบญี่ปุ่น หนึ่งในจุดเด่นของพวกมันคือความน่ารัก ซึ่งนิยามที่ลึกลงไปของมาสคอตแบบญี่ปุ่นอยู่ในคำว่า Yuru-Chara คือพวกมันไม่ได้แค่น่ารัก นิยามที่ละเอียดขึ้นของคำว่า Yuru มีนัยที่น่าสนใจคือหมายถึงความหลวมๆ ลำลอง ซึ่งนัยของคำนี้อาจหมายถึงความนุ่มนวล อ่อนแอ สบายๆ ไม่ซับซ้อน

นิยามที่สำคัญที่มักอ้างอิงไปที่จุน มิอุระ (Jun Miura) นักวาดการ์ตูนและผู้สนใจวัฒนธรรมร่วมสมัย ผู้เริ่มใช้คำว่า Yuru-Chara อ้างอิงว่าเริ่มใช้คำและนิยามความหมายไว้ในช่วงทศวรรษของปี 2000 ตัวนิยามของจุนค่อนข้างสะท้อนถึงการสร้างมาสคอตโดยยึดโยงเข้ากับความเป็นพื้นถิ่น กับบริบทเมืองและบ้านเกิด กฎ 3 ข้อของจุนประกอบด้วย

  1. มาสคอตทำหน้าที่ส่งความรู้สึกรักบ้านเกิดหรือภูมิภาคของตนอย่างจริงจัง
  2. การเคลื่อนไหวของตัวละครที่สร้างและพฤติกรรมจะต้องเฉพาะตัว และมีความไม่เสถียรหรือประดักประเดิด
  3. ตัวคาแร็กเตอร์จะต้องไม่มีความซับซ้อน (unsophisticated) และมีความสบายๆ (laid-back หรือ yurui) และเป็นตัวละครที่คนจะรักได้

ก่อนที่จะไปถึงรายละเอียดความประหลาดของเจ้ามาสคอต อยากชวนไปสำรวจความซับซ้อนของวัฒนธรรมความน่ารักซึ่งนับเป็นเงื่อนไขสำคัญของมาสคอต และเป็นองค์ประกอบที่ค่อนข้างสำคัญของญี่ปุ่น คำว่าคาวาอี้ มีงานวิจัยที่สำรวจย้อนไปอย่างยืดยาวและสลับซับซ้อน เช่นงานวิจัยเรื่อง The Pragmatics of Kawaii (Cute) งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนที่สนใจศึกษามาสคอตโดยเฉพาะและเชื่อมโยงเข้ากับวัฒนธรรมความน่ารัก

วิทยานิพนธ์พาเราไปสำรวจคอนเซปต์ความคาวาอี้ ว่าจริงๆ เป็นคำเก่าแก่ตั้งแต่สมัยโบราณ นัยเก่าของคำแตกต่างไปจากปัจจุบันแต่ก็มีบางนัยที่เชื่อมโยงกับคอนเซปต์ของมาสคอตแบบคาวาอี้ได้ นิยามเดิมของคำว่าคาวาอี้ในศิลปะและวรรณกรรมยุคแรกเริ่มหมายถึงสิ่งที่เล็กๆ ไม่สลักสำคัญ และมีความไม่เป็นทางการหรือไม่เป็นมืออาชีพ (small, delicate, and immature) นิยามแรกๆ เช่นตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 ค่อนไปทางความน่าอับอาย น่าสงสาร ไม่สำคัญ บอบบาง

จุดเปลี่ยนสำคัญและการเติบโตของวัฒนธรรมคาวาอี้ นักวิชาการบางคนนิยามว่าเป็นผลพวงและความเฟื่องฟูในยุคสงครามมหาเอเชียบูรพา (Pacific War) คำว่าคาวาอี้เริ่มปรากฏโดยสัมพันธ์กับสิ่งของเล็กๆ น้อยๆ และของสวยๆ งามๆ ที่มาจากโลกตะวันตกในทศวรรษ 1970 ความคาวาอี้ผูกโยงเข้ากับเด็กผู้หญิง คำว่าคาวาอี้มักหมายถึงข้าวของสวยๆ (fancy goods) หรือตัวละครสวยๆ อันหมายถึงตัวละครน่ารักโดยเฉพาะตัวละครจากดิสนีย์ ของจากตะวันตกเหล่านี้มักมีลักษณะเล็ก สีสันอ่อนนุ่ม กลม นุ่มนวล น่ารัก (loveable) และไม่ใช่ของแบบญี่ปุ่น ความคาวาอี้สัมพันธ์กับความเป็นเด็ก และในงานวิจัยดังกล่าวพูดถึงบริบทที่ความน่ารัก ความไม่เป็นผู้ใหญ่เหล่านั้นที่กลายเป็นพื้นที่ให้ความอบอุ่นสบายใจให้กับผู้คน

ยุคหลังสงครามและมาสคอตที่ร่วมช่วยเหลือชนบท

เวลาที่เราพูดถึงความสำเร็จของมาสคอต เรามักพูดถึงเจ้าคุมะมงที่กลายเป็นกระแสทั่วโลก หรือจุดเริ่มของคำว่ามาสคอตแบบญี่ปุ่นในช่วงปี 2000s เป็นต้นมา บริบทและจุดเริ่มของมาสคอตเมืองเกี่ยวข้องกับภาวะหลังสงครามของญี่ปุ่นที่เป็นรูปธรรมมากกว่าแค่ความนิยมเรื่องความคาวาอี้ในฐานะพื้นที่น่ารักพักใจและการบริโภคของผู้หญิง

ประเด็นเรื่องการสร้างมาสคอตขึ้นเป็นตัวแทนและเป็นจุดขายของเมืองเล็กๆ หรือเมืองท่องเที่ยวอื่นๆ เป็นผลพวงของการก้าวเข้าสู่ยุคหลังสงครามของญี่ปุ่น ปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในทศวรรษ 1970-1990 ญี่ปุ่นเจอกับหลายปัญหาทั้งการที่ชนบทร้างเพราะคนรุ่นหนุ่มสาวย้ายเข้าเมืองหลวงและเมืองใหญ่ ไปจนถึงเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่เข้าสู่ภาวะฟองสบู่และเกิดปัญหาในทศวรรษ 1990

ทิศทางสำคัญของรัฐบาลคือการฟื้นฟูชนบททั้งในแง่ของการพยายามกระจายความเจริญออกไป เพื่อให้พื้นที่อื่นๆ นอกจากเมืองใหญ่มีจำนวนประชากรเพิ่ม ไปจนถึงเริ่มใช้การท่องเที่ยวเป็นกลยุทธ์สำคัญในการฟื้นฟูเมืองเล็กและเมืองรองอื่นๆ ให้กลับมามีชีวิต ทั้งเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวและเปิดให้ผู้คนกลับไปยังบ้านเกิดและภูมิภาคของตัวเอง

กระแสในช่วงนั้นจึงเกิดหลายความเคลื่อนไหว เริ่มเกิดกระแสเรื่องบ้านเกิด (furusato) มีการให้ภาพการหวนหาภาพบ้านเกิด (nostalgia) หลายส่วนเป็นการวาดภาพขนบธรรมเนียมความเป็นพื้นถิ่นขึ้น ตรงนี้เองที่หลายๆ พื้นที่เริ่มค้นหาคาแร็กเตอร์ของภูมิภาค (regional character) คือตัวตนเชื่อมโยงกับประเพณีหรือองค์ประกอบดั้งเดิม ในยุคนั้นมักเป็นภาพของขนบธรรมเนียม เป็นเรื่องของอดีต แต่ความพิเศษของกระแสเรื่องบ้านเกิด การกลับไปพัฒนาบ้านเกิดกลับมีกระแสใหม่ในช่วงปี 1970 คือมองตัวตนและการดึงดูดของการท่องเที่ยวโดยให้ความตลกขบขันและเป็นการล้อเจ้าความเป็นบ้านเกิดเมืองนอนแบบโหยหาอดีต

ตรงนี้เราจะเริ่มเห็นรายละเอียดของการใช้ตัวมาสคอตจากพื้นที่นอกเมืองใหญ่ เช่น โตเกียว โอซาก้า หรือพวกแบรนด์ขนาดใหญ่ แต่เป็นการสร้างตัวตนใหม่ๆ จากบริบทของพื้นที่ ในบางความเห็นจะอธิบายว่า Yuru-Chara หรือมาสคอตแบบญี่ปุ่นในบริบทตัวแทนเมืองสัมพันธ์กับความเชื่อเรื่องโยไคหรือภูต ที่ความเชื่อท้องถิ่นของญี่ปุ่นเชื่อเรื่องการเป็นตัวเป็นตนขึ้นของสรรพสิ่งตั้งแต่ร่มจนถึงเหล่าสัตว์ประจำท้องที่ ตรงนี้เองก็สัมพันธ์กับการหาตัวตนผ่านบริบทหรือเรื่องของท้องที่ด้วย

ร่องรอยแรกๆ ของมาสคอตประจำเมืองมีหลักฐานอ้างอิงกลับไปที่ปี 1991 ถึงตัวคาแร็กเตอร์ชื่อ Jagata-kun เป็นน้องมันฝรั่งเด็กอ้วนที่ใช้ชีวิตสบายๆ น้องมันฝรั่งมีหมวกเป็นภูเขาหิมะ ตัวน้องเองเป็นน้องสุดชิลล์ที่กำลังเล่นสกี โดยน้องมันฝรั่งเป็นมาสคอตของเมืองคุตชังในจังหวัดฮอกไกโด เมืองที่ดังจากมันฝรั่ง เทศกาลมันฝรั่งและภูเขาหิมะ จากน้องมันฝรั่งคาดกันว่าน่าจะมีการสร้างมาสคอตขึ้นก่อนหน้านี้

หลักฐานสำคัญเรื่องมาสคอตและความเป็นเมืองเราก็กลับไปที่คุณมิอุระ จุน ผู้นิยามคำว่า Yuru-Chara โดยคุณจุนตีพิมพ์สารานุกรมมาสคอตญี่ปุ่นในปี 2004 ในคำนำหนังสือสารานุกรมผู้เขียนได้ตั้งข้อสังเกตว่า ‘ได้เกิดคาแร็กเตอร์ต่างๆ ขึ้นทั่วประเทศ พวกคาแร็กเตอร์เหล่านี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนรัฐบาลและกิจกรรมของท้องถิ่น เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการฟื้นฟูหมู่บ้าน ซึ่งตรงนี้นำไปสู่นิยามสามข้อ และในพื้นที่สื่อของญี่ปุ่นก็เริ่มแยกความเป็นมาสคอตของการท่องเที่ยวท้องถิ่นออกจากมาสคอตของบริษัทและมาสคอตอื่นๆ

มาสคอต ศิลปะของการทำให้เชื่อ

ความพิเศษของเจ้ามาสคอตที่น่ารักประจำเมือง อย่างแรกคือเจ้ามาสคอตค่อนข้างเกิดขึ้นจากการแก้ปัญหา คือปัญหาจากยุคสงคราม ปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาชนบทที่ถดถอยลง บทบาทของพวกมันจึงค่อนข้างสัมพันธ์ทั้งกับความรู้สึกของยุคหลังสงครามและโลกสมัยใหม่คือการเป็นองค์ประกอบน่ารักๆ ให้ความสบายใจในโลกที่เร่งรีบและวุ่นวาย ทั้งนี้ตัวมาสคอตเองยังมีพลังพิเศษในการเชื่อมโยงชุมชนเข้าหากัน

อย่างไรก็ตาม โมเดลแบบญี่ปุ่นโดยเฉพาะกับเจ้ามาสคอตเมือง มีประเด็นว่าทำไมการใช้ความคาวาอี้ของรัฐและของรัฐบาลท้องถิ่นถึงได้มีพลังนัก ความสำเร็จของคาแร็กเตอร์น่ารักของเมืองในการประชาสัมพันธ์เมืองมีข้อวิเคราะห์ในหลายด้าน เช่นพลังของตัวคาแร็กเตอร์เองที่เข้าใจง่าย มีความเป็นเด็ก จับความสนใจคนได้ทันทีในทุกกลุ่มอายุ นอกจากนี้ยังมีเรื่องการที่รัฐทำงานร่วมกับเจ้าคาแร็กเตอร์ เช่นการสร้างตัวตนของมันอย่างลำลอง การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนผ่านทั้งพื้นที่กายภาพเช่นการใส่ชุดมาสคอตไปทำสิ่งต่างๆ ทำให้ตัวคาแร็กเตอร์ซึ่งเป็นภาพแทนของเมืองมีชีวิต เมืองที่เคยเป็นพื้นที่ที่ไม่มีตัวตนจึงมีตัวตนและเข้าถึงได้

ความพิเศษของการย้อนดูที่มาของมาสคอต การแก้ปัญหาเมืองชนบท และการใช้บริบทวัฒนธรรมเช่นความน่ารักที่มีร่องรอยและการผสมผสานที่ยาวนาน เจ้ามาสคอตที่ดูไร้สาระแต่ทว่ามีกฎเกณฑ์ที่มาของตัวเอง ในความบุ้ยใบ้ไร้สาระของมัน ในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่เบื้องหลังมีการทำงานในระดับรัฐและของผู้คนในชุมชนในการชุบชีวิตเมือง ความเป็นมาสคอตเมืองมีนัยที่ซับซ้อนเช่นความชื่นชอบของผู้คนที่ไม่ได้จำกัดแค่ชาวญี่ปุ่น 

เรารักคุมะมงเพราะเราเชื่อว่าคุมะมงมีตัวตนจริงๆ เป็นคุมะมงที่กวนประสาท น่ารัก 

เราไม่ได้คิดว่าเบื้องหลังของมันคือคนใส่ชุดที่เหงื่อโชก แอดมินของเอเจนซีที่ตอบทวิตเตอร์เรา

แต่เราเชื่อว่าคุมะมงคือคุมะมง คุมะมงที่เราเชื่อว่าตัวมันเป็นแบบนั้นและเมืองคุมาโมโตะก็เป็นแบบนั้น ซึ่งเรารักมันได้ แม้เราจะยังไม่เคยไปเลยด้วยซ้ำ

ภาพ : くまモン【公式】, shinjokun, Plaplatootoo, ふなっしー💙

อ้างอิงข้อมูล

Writer

ชื่อว่านครับ ทำงานรับจ้างทั่วไปด้านงานเขียน ส่วนใหญ่เขียนเรื่องการเขียน การอ่าน และวัฒนธรรม เชื่อว่าพื้นที่นามธรรมเป็นสินทรัพย์ที่จะพาเราเติบโตอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

Illustrator

ชื่อกล้วยค่ะ banana blah blah เป็นนักวาด บางวันจับเม้าส์ปากกา บางวันจับลูกกลิ้งทำภาพพิมพ์ สนใจ Art therapy และการวาดภาพเพื่อ Healing เชื่อว่าการทำงานที่ดีต้องทำให้เราอิ่มทั้งกายและใจ ได้มองเห็นตัวเองเติบโตภายใน

You Might Also Like