นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

1906
August 6, 2024

Business War

รับมือยังไงเมื่อธุรกิจจีนบุกไทย 4 วิธี survival ที่พลิกเกมพาธุรกิจไปต่อ

ในโลกปัจจุบัน หนึ่งในสมรภูมิที่ดุเดือดที่สุดอาจไม่ใช่สนามรบทางทหาร แต่เป็นสนามแข่งขันทางเศรษฐกิจที่กองทัพนักลงทุนและนักธุรกิจจีนกำลังส่งสัญญาณเตรียมบุกตลาดไทยอย่างหนักหน่วง ด้วยมาพร้อมกับทุนมหาศาลและเทคโนโลยีล้ำยุค ราวกับกองทัพที่พรั่งพร้อมด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์ทันสมัย 

ทั้งการบุกตลาดด้วยกลยุทธ์ที่แยบยล นำเสนอสินค้าราคาถูกที่คู่แข่งยากจะสู้ต้นทุนได้ พร้อมบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ได้อย่างตรงจุด ที่ผ่านมาจะเริ่มเห็นสัญญาณอันตรายจากแบรนด์จีนที่แค่เริ่มตีตลาดไทยก็สร้างปรากฏการณ์สั่นสะเทือนธุรกิจทุกวงการ 

ตั้งแต่ Mixue แบรนด์ไอศครีมและชานมมาแรงที่เน้นขายถูกพร้อมขยายสาขาอย่างรวดเร็ว, Zhengxin ร้านไก่ทอดที่ราคาเริ่มต้นเพียงชิ้นละ 15 บาท, Temu แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่เตรียมถล่ม SME ไทยด้วยการขายของ ‘โคตรถูก’ รวมไปถึงการดิสรัปต์ฐานการผลิตในหลายอุตสาหกรรม อย่างการปลูกและขายผลไม้เศรษฐกิจอย่างทุเรียนที่จีนก็พร้อมเปิดศึกพร้อมสู้กับไทยเรียบร้อยแล้ว

ในวันที่ธุรกิจจีนกำลังเปลี่ยนโลกและหลายคนกำลังกังวลว่าจะเป็นเหยื่อหรือผู้รอดชีวิตในสงครามนี้ ข่าวดีคือหากเตรียมปรับตัวและศึกษาเทรนด์ธุรกิจจีนที่กำลังจะปฏิวัติโลกก็ยังพอมีหนทางเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสและสร้างคุณค่าใหม่ให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไปได้  

ภาษิตจีนโบราณกล่าวไว้ว่า ‘รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง’ ดังนั้นก่อนจะเตรียมแผนรบ สิ่งแรกที่ต้องทำคือการศึกษาความเก่งกาจของธุรกิจจีนกันก่อนว่าเป็นคู่แข่งที่เปิดศึกใดในสนามรบบ้าง

ศึกสินค้าราคาถูก

จุดแข็งของกองทัพธุรกิจจีนคือสามารถผลิตสินค้าราคาถูกมากด้วยต้นทุนแรงงานต่ำ มีห่วงโซ่อุปทานที่แข็งแกร่ง มีโรงงานผลิตขนาดใหญ่และซัพพลายเออร์จำนวนมากพร้อมเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า การเข้าไปแข่งในสงครามราคากับจีนจึงเป็นเรื่องยากมากที่จะสู้ได้

ในอดีตสินค้าราคาถูกจากจีนส่วนใหญ่เหล่านี้มักมีภาพลักษณ์และเสียงลือเสียงเล่าอ้างว่าคุณภาพไม่ดี อย่างไรก็ตามภาพลักษณ์ของ Made in China ในทุกวันนี้ไม่ได้แปลว่าจะมีคุณภาพต่ำเสมอไป ดังจะเห็นตัวอย่างในปัจจุบันที่แบรนด์จีนนำนวัตกรรมมาพัฒนาให้สินค้ามีคุณภาพมากขึ้นในราคาที่ถูกลงจนสามารถแข่งขันกับสินค้าจากประเทศอื่นๆ ได้อย่างสบาย เช่น แบรนด์ Huawei และ Xiaomi

ศึกจ้าวแพลตฟอร์ม

ที่ผ่านมาแพลตฟอร์มจากจีนเข้ามาเป็นหนึ่งในช่องทางที่คนไทยนิยมช้อปปิ้งออนไลน์ ซึ่งสามารถสร้างกฎใหม่และขึ้นค่าธรรมเนียมกับผู้ประกอบการไทยเมื่อไหร่ก็ได้ การเข้ามาของแพลตฟอร์มเหล่านี้จึงเปลี่ยนโฉมหน้าวงการอีคอมเมิร์ซและการตลาดดิจิทัลในไทยไปอย่างมากในทุกๆ ครั้ง ยิ่งมีหน้าใหม่อย่าง Temu ที่เตรียมพาโรงงานผลิตจากจีนในแทบทุกวงการมาขายทางอีคอมเมิร์ซก็ยิ่งเป็นการบีบให้ผู้ประกอบการไทยวนมาสู้ในสงครามราคาแถมต้องสู้กับธุรกิจจีนในระดับภูมิภาคซึ่งทำให้เสียเปรียบอย่างมาก

ศึกจอมยุทธ์เทคโนโลยี

จีนยังขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศจอมยุทธ live commerce มีท่าพิฆาตคือความเชี่ยวชาญในการไลฟ์สดโดยบริษัทใหญ่ในจีนจะมีห้องไลฟ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยซึ่งล้ำหน้าไทยที่เพิ่งอยู่ในยุคเริ่มต้นในการไลฟ์  ธุรกิจจีนยังจริงจังกับการเก็บข้อมูลและสร้างระบบหลังบ้านที่เป๊ะ เช่น การขนส่งสินค้าให้ลูกค้าแบบรวดเร็วภายใน 30 นาที – 1 ชั่วโมงเท่านั้น หรือที่เรียกว่า instant retail เพื่อมุ่งสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าพึงพอใจมากขึ้น

โอกาสที่ผู้ประกอบการไทยจะสู้กับศึกหนักเหล่านี้ได้คือการใช้กลยุทธ์ที่แตกต่าง หาสนามรบใหม่ สร้างกองทัพ เตรียมอาวุธใหม่เพื่อสู้กับกองทัพจีน และเหล่านี้คือ 4 วิธี survival ที่จะช่วยพลิกเกมพาธุรกิจไทยไปต่อ

1. สู้ราคาด้วยคุณภาพลักชูรี่

แทนที่จะแข่งขันในตลาดแมส (mass market) และสู้ในสงครามราคาที่ไม่มีทางชนะ ควรหันมาสร้างแบรนด์และผลิตภัณฑ์ระดับพรีเมียมหรือลักชูรี่ที่เน้นคุณภาพ วัสดุ ดีไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่พร้อมจ่ายในราคาสูงขึ้นเพื่อแลกกับประสบการณ์และคุณภาพที่เหนือกว่าสินค้าพรีเมียมอาจเรียกได้อีกอย่างว่าเป็นสินค้าที่มีรสนิยมเฉพาะ อย่างเช่น อาหารหรือสินค้าแฟชั่นที่ใช้กระบวนการทำพิเศษซึ่งลอกเลียนแบบได้ยาก ใช้วัตถุดิบหรือวัสดุที่มีคุณภาพพิเศษ วิธีนี้จะช่วยสร้าง โอกาสทำกำไรที่สูงขึ้น

2. นำเสนอบริการและประสบการณ์สุดพิเศษ

การนำเสนอบริการและประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใครจะช่วยสร้างความแตกต่างจากธุรกิจที่ขายสินค้าคล้ายกันได้ เช่น ร้านชาที่ให้บริการชาแบบโอมากาเสะแทนการขายผลิตภัณฑ์ชาเพียงอย่างเดียว, ธุรกิจสุขภาพที่ขายผลิตภัณฑ์พร้อมบริการให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้นหากเจ้าของธุรกิจมีความเชี่ยวชาญและความรู้เฉพาะทางก็จะได้เปรียบในการคิดโมเดลหารายได้ใหม่เพื่อนำเสนอบริการใหม่ที่เชื่อมโยงกับแก่นของธุรกิจเดิม

3. สร้างแบรนด์และช่องทางการขายของตัวเอง

การมีช่องทางการขายของตัวเองคือสิ่งที่การันตีว่าจะสามารถดำเนินธุรกิจอย่างแข็งแกร่งต่อไปได้ไม่ว่าวันข้างหน้าแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซจากจีนจะเปลี่ยนหน้าตาไปขนาดไหนก็ตาม โดยช่องทางการขายของตัวเองสามารถสร้างได้หลากหลายรูปแบบทั้งเว็บไซต์และร้านค้าปลีก สินทรัพย์สำคัญอีกอย่างคือฐานผู้ติดตามที่เชื่อใจและพร้อมอุดหนุนแบรนด์ การสร้างแบรนด์จะช่วยให้ควบคุมภาพลักษณ์และเข้าถึงลูกค้าได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านแพลตฟอร์มคนกลาง

4. สร้างระบบนิเวศทางธุรกิจ (ecosystem) ของตัวเอง

การร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ จะช่วยเสริมสร้างจุดแข็งและสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ โดยเฉพาะธุรกิจของผู้ประกอบการรายเล็กที่ต้องการการสนับสนุนทางทรัพยากรและเทคโนโลยี

ควรหาพันธมิตรทางธุรกิจที่จะช่วยต่อยอดธุรกิจได้ ไม่ว่าจะเป็นในแง่การร่วมทุนวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ หาพันธมิตรที่ช่วยขยายช่องทางการจัดจำหน่ายและฐานลูกค้า ไปจนถึงนำระบบบริหารจัดการธุรกิจต่างๆ ของสตาร์ทอัพและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีมาใช้

การแข่งขันกับธุรกิจจีนนับเป็นเรื่องที่ท้าทาย แต่ด้วยกลยุทธ์ที่ถูกต้อง ผู้ประกอบการไทยก็อาจสร้างความแตกต่างและสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจในแบบของตัวเองได้เช่นกัน บนเส้นทางการรบอันยาวไกลนี้ สิ่งสำคัญที่สุดอีกอย่างคือกำลังใจ หากธุรกิจเดินหน้าไปต่อไม่ได้ก็ขอให้เชื่อมั่นว่าหากสร้างทักษะใหม่และหมั่นมองหาโอกาสใหม่ก็จะสามารถสร้างธุรกิจขึ้นมาใหม่ได้ 

ขอให้ผู้ประกอบการทุกคนมีหัวใจนักสู้ที่เชื่อมั่นเสมอว่าหากสงครามยังไม่จบ ก็อย่าเพิ่งนับศพทหาร

อ้างอิงข้อมูล

Illustrator

บรรณาธิการศิลปกรรม Email: y.pongtorn@gmail.com

You Might Also Like