นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

31 BR

Baskin-Robbins แบรนด์ไอศครีมที่บุกเบิกการชิมก่อนซื้อและโมเดลแฟรนไชส์จนแพร่หลายไปทั่วโลก

ใช่ว่าจะมีเพียงแต่ประชาชนโลกในเขตโซนร้อนเท่านั้นที่ชื่นชอบของกินเล่นรสชาติหวานเย็น เนื้อเนียนละมุนอย่างไอศครีม คนจากอีกฟากโลกที่มีภูมิอากาศเย็นสบาย ก็มีความรักและชอบพอไอศครีมเช่นกัน ทั้งเด็กเล็ก เด็กโต หนุ่มสาววัยรุ่น ผู้ใหญ่ ผู้เฒ่าผู้แก่ ไอศครีมเป็นสิ่งที่ผูกรั้งเชื่อมโยงคนทุกเพศทุกวัยให้มีรอยยิ้มและเวลาดีๆ ร่วมกันได้ ฉะนั้นการมีร้านไอศครีมอร่อยๆ อยู่ใกล้บ้านน่าจะเป็นไอเดียที่ดีมากๆ เลย

นี่ไม่ใช่คำกล่าวเลื่อนลอยของใครที่ไหน แต่เป็นความคิดของสองผู้ร่วมก่อตั้ง Baskin-Robbins เบอร์ตัน บาสกิน (Burton Baskin) และเออร์ไวน์ รอบบินส์ (Irvine Robbins) สองหนุ่มผู้หลงรักไอศครีมเหมือนกันและมีความฝันที่จะเปิดร้านไอศครีมให้เป็นสถานที่ที่พักผ่อนและรวบรวมรอยยิ้มของเพื่อนและครอบครัวเอาไว้

สำหรับเออร์ไวน์เองอาจจะไม่น่าแปลกใจนักที่เขาจะชื่นชอบและหลงรักไอศครีม เพราะพ่อของเออร์ไวน์เปิดร้านไอศครีม The Olympic store ในวอชิงตัน ดี.ซี. เออร์ไวน์จึงเติบโตมากับร้านไอศครีม การหยิบจับที่ตักไอศครีมเพื่อคดไอศครีมทีละสกู๊ปๆ ให้กับลูกค้าเป็นสิ่งที่เออร์ไวน์ช่ำชองและเชี่ยวชาญ ภาพใบหน้าเปื้อนยิ้มของทั้งเด็กและผู้ใหญ่เมื่อได้รับโคนไอศครีมผ่านเคาน์เตอร์เป็นสิ่งที่เออร์ไวน์เห็นจนชินตามาตั้งแต่เด็ก

  กาลเวลาผ่านไปจนเออร์ไวน์เติบใหญ่และจบการศึกษาจาก University of Washington ในสาขารัฐศาสตร์ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เออร์ไวน์ได้เข้าร่วมเป็นทหารในกองทัพในแคลิฟอร์เนีย และถูกปลดประจำการในเดือนสิงหาคม 1945 สำหรับคนที่เคยผ่านสนามรบ เห็นเพื่อนร่วมกองกำลังบาดเจ็บล้มตาย ภาพบ้านเมืองเสียหายระเบิดพินาศไปกับตาอยู่ตรงหน้า หลังจากรอดเรื่องราวอันหนักหน่วงทุกอย่างมาได้ คงไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าการใช้เวลาทุกนาทีของชีวิตให้คุ้มค่า โดยการเดินตามความฝันและทำในสิ่งที่อยากจะทำ

เออร์ไวน์ตัดสินใจเปิดร้านไอศครีมเป็นของตัวเองที่ชื่อ ‘Snowbird Ice Cream’ ในเดือนธันวาคม 1945 ที่เมืองเกลนเดล ในแคลิฟอร์เนีย ด้วยการถอนเงินประกันที่ผู้เป็นพ่อฝากไว้ให้จำนวน 6,000 ดอลลาร์สหรัฐ มาเริ่มต้นธุรกิจ

โดยร้านไอศครีมเออร์ไวน์มีรสไอศครีมให้ลูกค้าเลือกสรรถึง 21 รส และร้านไอศครีมมาในคอนเซปต์ไอศครีมคุณภาพสูง ในบรรยากาศที่สนุกสนานเป็นกันเอง

“ไม่มีสถานที่ใดที่เหมือนกับร้านไอศครีม ร้านที่ขายแต่ไอศครีมอย่างเดียวอีกแล้วครับ…ผมมีความคิดบ้าๆ ว่าผมอยากจะเปิดร้านที่ขายแต่ไอศครีมอย่างเดียวเท่านั้น และต้องเป็นร้านที่โดดเด่นกว่าร้านอื่นๆ ด้วย” เออร์ไวน์ให้สัมภาษณ์ไว้กับ The Times ในปี 1985

ตัดภาพมาที่คู่หูผู้ก่อตั้งอีกคนของกิจการไอศครีม Baskin-Robbins เบอร์ตัน บาสกิน เองก็มีความรักความชอบในไอศครีมไม่ต่างกับเออร์ไวน์เลย ต่างกันเพียงแต่ตรงที่ว่าเบอร์ตันเองไม่ได้โตมากับครอบครัวไอศครีมเหมือนเออร์ไวน์ อาชีพดั้งเดิมของเบอร์ตันคือการเปิดร้านเครื่องแต่งกายสุภาพบุรุษ ดังนั้นความใส่ใจในรายละเอียด สิ่งละอันพันละน้อย อาจถือเป็นจุดแข็งอย่างหนึ่งของเบอร์ตันที่ทำให้คิดค้นและพัฒนาอะไรใหม่ๆ ให้กับ Baskin-Robbins ได้ในเวลาต่อมา

เบอร์ตันพบรักและแต่งงานกับ เชอร์รี่ รอบบินส์ (Shirley Robbins) ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมสายเลือดกับเออร์ไวน์ ทำให้ทั้งเออร์ไวน์และเบอร์ตันรู้จักและสนิทสนมกันในเวลาต่อมา ไม่ใช่เพียงแต่ว่าการดองเป็นพี่เขย-น้องเขยเท่านั้นที่ทำให้ทั้งสองสนิทสนมกัน แต่ด้วยความที่ทั้งคู่สนใจและชื่นชอบในสิ่งเดียวกัน นั่นคือไอศครีม จึงทำให้ทั้งคู่สนิทสนม หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นคนที่พูดจาภาษาเดียวกันเพราะเรื่องราวเกี่ยวกับไอศครีมทำให้ทั้งสองคุยกันได้ทุกครั้งที่พบเจอกันได้อย่างไม่มีวันเบื่อ

นอกจากโชคชะตาจะนำพาให้เออร์ไวน์ต้องไปประจำการในกองทหาร เบอร์ตันก็เช่นเดียวกัน เบอร์ตันไปประจำการที่กองทัพเรือในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และระหว่างที่ประจำการอยู่ในกองทัพนั่นเอง เบอร์ตันได้เรียนรู้วิธีการทำไอศครีม และแจกจ่ายไอศครีมที่เขาทำได้ให้เพื่อนทหารได้ลองชิม

เออร์ไวน์อาจเคยได้เห็นคนยิ้ม หัวเราะ และได้รับคลื่นมวลความสุขที่อบอวลในร้านไอศครีมมาตั้งแต่เด็กจนโต เบอร์ตันเองก็ได้รับความรู้สึกเหล่านั้นเช่นกัน หากแต่ไม่ใช่ในร้านไอศครีม หรือรถเข็นขายไอศครีมตามท้องถนน แต่เป็นในกองทัพเรือ จากเพื่อนทหารที่ร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่ไปกับเขา เบอร์ตันเองได้ลองเรียนรู้และทดลองส่วนผสมที่ถือว่าแปลกใหม่หลายต่อหลายอย่างในขณะนั้น เช่น การนำเอาผลไม้ในเขตเมืองร้อนเข้าไปผสมเป็นรสชาติใหม่ๆ

หลังถูกปลดประจำการเบอร์ตันก็กลับมาใช้ชีวิตตามปกติ แต่ความรู้สึกที่เคยเห็นเพื่อนร่วมทัพทั้งยิ้มทั้งหัวเราะ ทั้งดีใจที่ได้กินไอศครีมรสอร่อยที่เขาทำให้ยังคงประทับอยู่ในใจของเขา ประจวบเหมาะกับความเป็นพี่เขย-น้องเขย กับเออร์ไวน์ที่เกลี้ยกล่อมและชักจูงเบอร์ตันอยู่ตลอดว่า “ขายไอศครีมสนุกกว่าขายเสื้อเชิ้ตและเน็กไทเยอะ”

และนั่นคือแรงผลักดันที่ทำให้เบอร์ตันจึงตัดสินใจเปิดร้านไอศครีม

ร้านไอศครีมของเบอร์ตันชื่อว่า ‘Burton’s Ice Cream’ โดยสาขาแรกอยู่ที่พาซาเดนา (Pasadena) แคลิฟอร์เนีย โดยเบอร์ตันตัดสินใจเปิดร้านไอศครีมหลังจากที่เออร์ไวน์เปิดร้าน Snowbird Ice Cream ได้เพียงแค่ 1 ปีเท่านั้น

การเปิดร้านไอศครีมของพี่เขย-น้องเขยคู่นี้ถือว่าเป็นการเปิดกิจการชนิดเดียวกันที่มีเส้นเวลาใกล้เคียงกันมากๆ แรกเริ่มเดิมทีเชื่อว่าทั้งสองมีความคิดที่จะเปิดร้านไอศครีมร่วมกัน แต่พ่อของเออร์ไวน์แนะนำว่าให้ต่างคนต่างเปิดร้านของตัวเองเสียก่อนดีกว่า เหตุที่เป็นเช่นนั้นน่าจะเป็นเพราะว่าพ่อของเออร์ไวน์เล็งเห็นแล้วว่าชายหนุ่มที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความหลงใหลในไอศครีม และมุ่งมั่นจะเปิดร้านไอศครีมให้ได้ ทั้งคู่คงจะต่างคนต่างมีไอเดียต่างๆ มากมายในหัว ถ้าพวกเขาต่างฝ่ายต่างไปแยกย้ายปล่อยพลังงานของตัวเอง เรียนรู้ในแบบของตัวเองก่อนน่าจะเป็นความคิดที่ดีกว่า 

จนกระทั่งปี 1948 ข้อมูลบางแหล่งระบุว่าทั้งร้านไอศครีมของเออร์ไวน์และเบอร์ตันมีสาขารวมกัน 6 สาขา ในขณะที่ข้อมูลบางแหล่งระบุว่า ร้าน Snowbird Ice Cream มีทั้งหมด 5 สาขา และ Burton’s Ice Cream มี 3 สาขา แต่เอาเป็นว่าทั้งคู่ตัดสินใจควบรวมร้านเข้าด้วยกัน 

การตัดสินใจควบรวมกิจการครั้งนั้นของเออร์ไวน์และเบอร์ตันน่าจะเป็นการเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง ดูได้จากหลักฐานการขยายสาขาของทั้ง Snowbird Ice Cream และ Burton’s Ice Cream ที่สามารถขยายสาขาได้ถึง 43 สาขา ภายในปี 1949 หรือเพียงแค่ 1 ปีหลังควบรวมกิจการเท่านั้น

สิ่งที่เออร์ไวน์และเบอร์ตันให้ความสำคัญหลังการขยายกิจการมากมายหลายสิบสาขา คือการคงคุณภาพของไอศครีมเอาไว้ให้ยังคงอยู่ดีดังเดิม เออร์ไวน์และเบอร์ตันจึงริเริ่มไอเดียของการให้ผู้จัดการร้านไอศครีมร่วมเป็นเจ้าของกิจการร้านไอศครีมไปด้วย ในเวลานั้นคอนเซปต์การขายแฟรนไชส์ร้านไอศครีมอาจยังไม่เป็นที่แพร่หลาย แต่ผู้ก่อตั้ง Baskin-Robbins กำลังบุกเบิกเส้นทางแฟรนไชส์ไอศครีมโดยไม่รู้ตัว 

นอกจากกลยุทธ์การขายแฟรนไชส์ไอศครีม เออร์ไวน์และเบอร์ตันยังตัดสินใจเข้าซื้อแหล่งผลิตนมที่เบอร์แบงก์เป็นครั้งแรก ทำให้ทั้งคู่มีสิทธิ์เข้าถึงและควบคุมวัตถุดิบที่สำคัญของไอศครีมตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ และมูฟครั้งนี้ทำให้แบรนด์ไอศครีมของเออร์ไวน์และเบอร์ตันมีแต้มต่อในการควบคุมรสชาติและวิถีทางในการทำไอศครีมมากกว่าแบรนด์ไอศรีมอื่นโดยตรง เพราะเป็นเจ้าของแหล่งผลิตนมเองเสียเลย

Los Angeles Times เคยเขียนถึงประเด็นที่ทั้งสองได้เข้าซื้อโรงงานผลิตนมที่เบอร์แบงก์ว่า หลังจากที่เป็นเจ้าของโรงงานวัตถุดิบผลิตไอศครีมด้วยตนเอง ทั้งสองก็ทุ่มเทอย่างบ้าคลั่งในการผลิตรสชาติไอศครีมใหม่ๆ ออกมา จนปีหนึ่งได้ทดลองผลิตรสชาติออกมาร่วมร้อยรสเลยทีเดียว แต่สุดท้ายก็มีเพียงแค่ 8-9 รสชาติต่อปีเท่านั้นที่หลุดรอดออกมาขายตามหน้าร้านได้

SEREMBAN,MALAYSIA- SEPTEMBER 16,2017: A cup of baskin robbins ice cream with blur background of colorful light

ปี 1953 ถือเป็นปีที่เป็นก้าวสำคัญของทั้งสองอีกครั้งเพราะมีเหตุการณ์สำคัญมากมายเกิดขึ้นหลายอย่างในปีนี้ ได้แก่

หนึ่ง–ทั้งคู่ตัดสินใจว่าจะไม่ใช้ชื่อร้านไอศครีมแยกเป็นสองชื่อภายใต้กิจการเดียวกันอีกต่อไป ดังนั้นทั้งสองจึงโบกมือลาชื่อ Snowbird Ice Cream และ Burton’s Ice Cream ก่อนจะตัดสินใจใช้ชื่อร้านไอศครีมทุกร้านภายใต้แบรนด์ที่ชื่อ ‘Baskin-Robbins’

สอง–Baskin-Robbins ได้ชูกลยุทธ์ 31 รสชาติ 31 วัน เป็นข้อความสื่อสารหลักของแบรนด์ โดยคอนเซปต์การสื่อสารนี้เป็นที่มาของเลข 31 บนโลโก้ของ Baskin-Robbins โดยข้อความที่ทั้งคู่อยากจะสื่อต่อลูกค้าคือ ลูกค้าสามารถมาที่ร้าน Baskin-Robbins และชิมไอศครีมได้ในทุกวันตลอดทั้งเดือนโดยที่ทางแบรนด์จะมีรสชาติให้เลือกแบบไม่ซ้ำกันเลยสักวันเป็นเวลา 31 วัน

นอกจากนั้น Baskin-Robbins ยังใช้จุดสีชมพู และจุดสีน้ำตาลในโลโก้และภาพกราฟิกต่างๆ ของแบรนด์เพื่อเป็นการย้อนให้ลูกค้ารู้สึกถึงสวนสนุก ความสดใส และความสนุกสนาน

ส่วนที่มาของช้อนชิมไอศครีมเล็กๆ สีชมพูของ Baskin- Robbins เกิดขึ้นในปี 1960 หรือยุค 60sในสมัยนั้นคอนเซปต์การชิมไอศครีมก่อนตัดสินใจซื้อยังไม่เป็นที่นิยมนัก หรืออาจจะยังไม่เคยเกิดขึ้นบนโลกนี้เลยด้วยซ้ำ แต่ทั้งเออร์ไวน์และเบอร์ตันเชื่อเหลือเกินว่าลูกค้าควรจะต้องได้กินไอศครีมรสที่พวกเขาอยากกินที่สุด รสที่พวกเขาคิดว่าอร่อยที่สุด และวิธีเดียวที่พวกเขาจะรู้ได้ว่าไอศครีมรสไหนคือรสที่ถูกปากเขาที่สุดก็คือ พวกเขาต้องได้ชิมมันก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ

Baskin-Robbins อยู่ในมือการบริหารและครอบครองของเออร์ไวน์และเบอร์ตันจนกระทั่งปี 1967 ปีนั้นเป็นปีที่ United Fruit เข้าซื้อกิจการของ Baskin-Robbins และขยายสาขาออกนอกอเมริกาเป็นครั้งแรก โดยสาขาแรกนอกอเมริกาที่ Baskin-Robbins ไปเปิดคือที่โตรอนโต ประเทศแคนาดา 

จากนั้น Baskin-Robbins ถูกเปลี่ยนมือต่อมาอีกหลายครั้งจนกระทั่งในปี 2020 Inspire Brands บริษัทโฮลดิ้งได้เข้าซื้อกิจการ Dunkin’ ( ซึ่งแบรนด์ Dunkin’ เป็นเจ้าของ Dunkin’ ที่ขายโดนัทและเป็นเจ้าของแบรนด์ Baskin-Robbins)

นอกจาก Baskin-Robbins จะมีรสชาติไอศครีมมากมายที่ไม่ได้มีแค่ 31 รสชาติ บางรสชาติของ Baskin-Robbins ถูกทำขึ้นมาเป็นพิเศษเพื่อฉลองโอกาสสำคัญๆ ในสหรัฐอเมริกาด้วย เช่น รส Beatle Nut (1964) ถูกทำขึ้นเพื่อเป็นเกียรติให้กับวงร็อกแบนด์จากลิเวอร์พูล The Bealte มาแสดงคอนเสิร์ตที่สหรัฐฯ ครั้งแรก ในตอนนั้นทาง Baskin-Robbins ไม่ได้มีแผนที่จะสร้างรสไอศครีมขึ้นใหม่เพื่อเกาะกระแส The Beatle แต่อย่างใด แต่เป็นความบังเอิญเมื่อนักข่าวจาก The Washington Post คนหนึ่งถามเออร์ไวน์ว่า คุณจะทำรสชาติไอศครีมใหม่ขึ้นมาในโอกาสที่ The Bealte มาเยือนสหรัฐฯ ไหม และคำตอบจากทั้งเออร์ไวน์และเบอร์ตันคือ ทำแน่นอนสิ และรสนั้นจะชื่อรสว่า Beatle Nut และ 5 วันหลังจากนั้นไอศครีมรสชาติ Beatle Nut ก็วางขายอยู่ใน Baskin- Robbins

หรือจะเป็นการสร้างรสชาติไอศครีมเพื่อเฉลิมฉลองความสำเร็จของมวลมนุษยชาติอย่างการไปถึงดวงจันทร์ของนักบินอวกาศชาวสหรัฐฯ ในปี 1969 รส Lunar Cheesecake ถือกำเนิดขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองที่นีล อาร์มสตรอง มนุษย์คนแรกของโลกได้ก้าวเท้าลงเหยียบบนผิวดวงจันทร์

นอกจากจะมีรสชาติไอศครีมที่เสมือนเป็นหมุดหมายทางประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา Baskin-Robbins ยังถือเป็นร้านไอศครีมที่เคยเป็นที่ทำงานพาร์ตไทม์ให้กับคน (กำลังจะ) ดังหลายคนในอนาคต เช่น บารัค โอบามา (Barack Obama) เคยทำงานที่ร้าน Baskin-Robbins ที่ฮาวายในปี 1978 และคริส บัค (Chris Buck ผู้กำกับภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่อง Frozen) ในปี 1976

ในประเทศไทยเราได้เห็นข่าวคราวการปิดตัวลงของ Baskin-Robbins ไปอย่างเงียบๆ เมื่อต้นปี 2023 โดยเหตุผลที่ทุกคนรับทราบมาคือ แบรนด์ทำรายได้ลดลงมาเป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน

ถึงแม้จะปิดตัวลงไปในประเทศไทยแต่ Baskin-Robbins ในต่างประเทศน่าจะยังคงไปต่อได้ สังเกตได้จากที่ Inspire Brands ทุ่มเงินเข้าซื้อกิจการ Dunkin’ ถึงหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย Inspire Brands เป็นแบรนด์ที่เชี่ยวชาญในด้านการลงทุนกับแบรนด์อาหารเพราะบริษัทโฮลดิ้งบริษัทนี้เป็นเจ้าของกิจการร้านอาหารมากมายทั้ง Arby’s, Buffalo Wild Wings, Sonic, Jimmy John’s และตอนนี้รวมไปถึง Dunkin’ และ Baskin-Robbins อีกด้วย

ส่วนเราจะได้เห็นแบรนด์ไอศครีมสัญชาติอเมริกันแบรนด์นี้เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยใหม่อีกครั้งหรือไม่ เราคงต้องมาจับตาดูกันต่อไป

ที่มา

Writer

อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย หญิงสาวผู้หลงรักอาหาร และโฮสต์รายการพอดแคสต์ชื่อ 'Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว'

Illustrator

บรรณาธิการศิลปกรรม Email: y.pongtorn@gmail.com

You Might Also Like