นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

รายได้ 1 บาทต่อ 1,000 วิว คุ้มไหมกับการเข้าวงการ TikTok Creator

ในปี 2020 TikTok เริ่มโครงการที่เรียกว่า ‘Creator Fund’ ด้วยเงินราว ๆ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีสำหรับคนสร้างคอนเทนต์ในอเมริกา นี่เป็นก้าวแรกของ TikTok ที่พยายามดึงคนให้เข้ามาสร้างบัญชี ทำวิดีโอ และหารายได้บน TikTok เหมือนอย่างแฟลตฟอร์มรุ่นพี่อย่างยูทูบทำมาก่อน ปัญหาคือว่าทั้งสองแพลตฟอร์มแม้จะให้เงินกับผู้สร้างคอนเทนต์โดยตรง แต่วิธีการคำนวณและสัดส่วนการจ่ายนั้นถือว่าต่างกันมาก ผู้สร้างคอนเทนต์บนยูทูบหลายคนสร้างเนื้อสร้างตัวได้ เปิดบริษัทมากมาย แต่รายได้บน TikTok นั้นดูคล้ายกับเงินทอนซะมากกว่า

ในเดือนเมษายน 2021 หนึ่งในผู้ใช้งาน TikTok ชื่อ เควิน ยัตซูชิโร (Kavin Yatsushiro) สร้างวิดีโอขึ้นมาอันหนึ่ง มันไวรัลอย่างรวดเร็ว ได้ 3 ล้านวิวจากวิดีโอที่เขาเปลี่ยนคีย์บอร์ด เควินคาดว่าคงจะได้เงินจาก TikTok ในระดับที่น่าพอใจ แต่ปรากฏว่ามียอดโอนเข้ามามีเพียง $12.5 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 450 บาท เมื่อหารออกมาแล้ว 1 ล้านวิวได้ประมาณ 150 บาท

1000 วิว = 0.15 บาท

เควินให้สัมภาษณ์กับสื่อ Business Insider ว่า

“ตอนที่ผมเห็นยอดเงินที่ต่ำขนาดนั้น มันทำให้รู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่าเลย กระทบกับสภาพจิตใจอย่างมาก ทำให้รู้สึกว่าไม่อยากสร้างคอนเทนต์อีกต่อไปเลย”

เควินไม่ใช่คนเดียวที่รู้สึกแบบนี้ แฮงก์ กรีน (Hank Green) ที่ทำงานเป็นผู้สร้างคอนเทนต์บนยูทูบมานานกว่า 15 ปีก็ออกมาพูดถึงเรื่องนี้เช่นเดียวกัน (แนะนำให้ดูวิดีโอนี้ youtu.be/jAZapFzpP64) เพราะจากประสบการณ์ที่สร้างคอนเทนต์และทำงานสายนี้มาตลอดตั้งแต่ปี 2007 ก่อตั้งบริษัทมีเดียหลายแห่งมีผู้ติดตามช่องเขาเกือบ 9 แสนคน และเขาก็เริ่มทำคอนเทนต์บน TikTok มาตั้งแต่ปี 2019 โดยมีคนติดตามราวๆ 6.3 ล้านคน เขาสรุปสั้น ๆ ว่า “เมื่อ TikTok ประสบความสำเร็จมากขึ้น คนสร้างคอนเทนต์บน TikTok (เรียกว่า TikToker) กลับประสบความสำเร็จน้อยลง”

เขาอธิบายถึงเหตุผลว่าทำไมถึงคิดแบบนั้น แต่ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจบริบทของมันสักเล็กน้อย

ย้อนกลับไปในปี 2007 ยูทูบสร้างสิ่งที่เรียกว่า ‘YouTube Partner Program’ ที่จ่ายให้กับยูทูบเบอร์ให้ผลิตคอนเทนต์บนแพลตฟอร์ม จากรายได้โฆษณาที่แพลตฟอร์มได้รับจากคอนเทนต์นั้นๆ พูดง่ายๆ คือถ้าวิดีโอของคุณบนยูทูบมีคนเข้ามาดูเยอะ มีโฆษณาแปะหน้า แปะหลัง คอนเทนต์นั้นก็ได้เงินเยอะไปด้วย ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่เปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์ของออนไลน์มีเดียเลย แฮงก์อธิบายว่า

“แพลตฟอร์มตัดสินใจว่าโฆษณาทุกอันที่มีบนวิดีโอบนหน้าของคนสร้าง รายได้ครึ่งหนึ่งจะไปอยู่ที่ยูทูบ และอีกครึ่งหนึ่งจะไปอยู่ที่ครีเอเตอร์”

การเกิดขึ้นของโปรแกรมนี้สร้างความเป็นไปได้มากมายให้กับเหล่าครีเอเตอร์ หลายคนกลายมาเป็นยูทูบเบอร์แบบเต็มเวลา มีรายได้จากโฆษณาเพียงอย่างเดียว (แฮงก์บอกว่าที่ครีเอเตอร์ได้ 55% และยูทูบได้ 45%) ตั้งแต่ตอนนั้นมาถึงตอนนี้ก็ยังไม่เปลี่ยน แม้รายได้ของยูทูบเติบโตจาก 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาเป็น 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โครงสร้างการแบ่งสัดส่วนนี้ก็ยังคงเหมือนเดิมตลอดมา การทำแบบนี้ช่วยส่งเสริมให้ครีเอเตอร์สร้างผลงานที่ดีเพื่อป้อนแพลตฟอร์ม ยิ่งยูทูบโตเท่าไหร่ ยิ่งมีเงินโฆษณาเข้ามามากขึ้นเท่านั้น ยิ่งทำให้ครีเอเตอร์มีรายได้มากขึ้นไปด้วย 

มาถึง TikTok บ้าง โครงสร้างรายได้ที่แพลตฟอร์มจ่ายให้กับครีเอเตอร์นั้นแตกต่างอย่างสิ้นเชิง สำหรับคนที่ใช้ TikTok อยู่จะทราบว่าคอนเทนต์ที่มาจากครีเอเตอร์ไม่มีโฆษณาแปะหัวท้ายหรือคั่นกลาง แต่เลื่อนๆ ไปสักประมาณ 8-9 คลิป ก็จะเห็นโฆษณาอันหนึ่ง ด้วยโครงสร้างแบบนี้คอนเทนต์แต่ละอันก็จะไม่สามารถสร้างรายได้จากโฆษณาของคลิปได้เหมือนกับยูทูบ รายได้จึงไม่เหมือนกับ YouTube Partner Program นั่นเอง

เพื่อสร้างความดึงดูดให้คนมาสร้างคอนเทนต์บนแพลตฟอร์ม TikTok แก้เกมนี้โดยการสร้างสิ่งที่เรียกว่า ‘Creator Fund’ ขึ้นมา โดยเป็นการแบ่งเงินก้อนหนึ่งออกมาในแต่ละปีประมาณ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อจะแบ่งให้กับ ‘ครีเอเตอร์ทุกคน’

ใช่ครับ เงินก้อนเดียว แบ่งให้ครีเอเตอร์ทุกคน…พอจะเห็นอะไรทะแม่งๆ แล้วใช่ไหมครับ

แพลตฟอร์มไม่ได้ชี้แจงว่าใช้อะไรเป็นตัววัดว่าวิดีโอไหนได้เงินเท่าไหร่ แต่แฮงก์ได้ลองเก็บสถิติมาตลอดสองปีกว่าที่เขาอยู่ในแพลตฟอร์ม เขาเชื่อว่าระบบคำนวณรายได้ตามความยาวของเวลาที่คนใช้ดูวิดีโอนั้น โดยโปรแกรมนี้มีเกณฑ์ว่าต้องอายุ 18 ปี มีคนติดตามมากกว่า 10,000 คน มี 100,000 วิวขึ้นไปในรอบเดือนที่ผ่านมา และแน่นอนว่าบัญชีต้องผ่านกฎที่ TikTok ตั้งเอาไว้ด้วย

200 ล้านดอลลาร์สหรัฐดูเป็นเงินก้อนใหญ่ แต่พอมันหารด้วยครีเอเตอร์เยอะๆ มันก็เหลือน้อยลงเรื่อยๆ และปัญหามันอยู่ที่ตัวเลขนี้ไม่ได้เพิ่มขึ้นตามรายได้ของ ByteDance ที่สร้างรายได้กว่า 58,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2021 จึงไม่แปลกใจที่เขาบอกว่า “เมื่อ TikTok ประสบความสำเร็จมากขึ้น TikToker กลับประสบความสำเร็จน้อยลง”

แฮงก์เอาบันทึกที่เขาจดไว้ตั้งแต่ช่วง 2020 ที่ได้เงินราวๆ 0.05 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1,000 วิว คิดเป็นเงินไทยประมาณ 1.75 บาท แต่มาตอนนี้มันลดเหลือราว ๆ 0.025 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1,000 วิว คิดเป็นเงินไทยแค่ 90 สตางค์เท่านั้น จำนวนคนติดตามเขาเพิ่มขึ้นก็จริง แต่มันก็มีครีเอเตอร์เพิ่มขึ้น มีการกระจายเวลาของคนที่ดูวิดีโอไปยังที่อื่นๆ มากขึ้นด้วย แต่เงินสนับสนุนก็ยังเท่าเดิม เพราะฉะนั้นหมายความว่ายิ่งมีคนเยอะ รายได้เขากลับลดลงไปนั่นเอง

แต่คุณอาจถามว่าแล้ว TikTok ได้เท่าไหร่ล่ะ? พวกเขาคงได้ไม่เยอะเลยแบ่งมาให้ได้ไม่เยอะรึเปล่า?

แฮงก์ลองหาคำตอบตรงนี้เช่นกัน โดยลองยิงโฆษณาบน TikTok เพื่อคำนวณแบบกลับด้าน เพื่อให้รู้ว่าตัวเองจ่ายเงินโฆษณาเท่าไหร่ต่อ 1,000 วิว สิ่งที่พบคือเขาจ่ายประมาณ 3-6 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1,000 วิว แล้วเอาตัวเลขนั้นมาหารด้วย 10 (เพราะคนส่วนใหญ่เห็นโฆษณาทุกๆ 10 คลิป) ก็หมายความว่า TikTok ทำรายได้ได้ประมาณ 0.30-0.60 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากกว่าที่ครีเอเตอร์ได้อย่างน้อย 6 เท่าตัวเลย

ถ้าสมมติว่า TikTok จ่ายเหมือนกับยูทูบ ครีเอเตอร์จะได้รับประมาณ 0.16 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1,000 วิว แม้ว่าจะน้อยกว่ายูทูบ แต่มันก็เยอะกว่าตอนนี้หลายเท่าตัวเลย และตราบใดที่โครงสร้างนี้ยังไม่เปลี่ยน ครีเอเตอร์ยิ่งเข้ามาในแพลตฟอร์มเยอะขึ้น ต่อไปรายได้ของเขาจะน้อยกว่า 0.025 ลงไปเรื่อยๆ

ครีเอเตอร์ TikTok ในบ้านเรายังไม่สามารถเข้าร่วม TikTok Creator Fund ได้ ตอนนี้มีอยู่แค่ 6 ประเทศ (อเมริกา, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, สเปน และ อิตาลี) แต่ว่าแพลตฟอร์มกำลังขยายออกไปสู่ตลาดอื่น ๆ แต่แฮงก์ก็ออกมาเสนอว่าครีเอเตอร์ควรรวมตัวกันเพื่อยกประเด็นนี้ขึ้นมา เพราะแพลตฟอร์มที่เติบโตก็ต้องพึ่งพาครีเอเตอร์เหล่านี้ให้ผลิตคอนเทนต์ที่ดี TikTok เติบโต ครีเอเตอร์ก็ควรจะเติบโตไปด้วย แต่ตอนนี้มันยังไม่ใช่

แน่นอนว่ามันมีวิธีสร้างรายได้จาก TikTok อีกหลายทาง ทั้งขายของ ทั้งการเป็นอินฟลูเอนเซอร์ ซึ่งนั่นเป็นแหล่งรายได้หลักของเหล่าครีเอเตอร์บ้านเรา เป็นเหตุผลว่าทำไมคนยังเข้าไปหาโอกาสที่ TikTok แม้จะยังไม่สร้างรายได้อะไรเลยในตอนนี้ แต่กว่าจะไปถึงจุดที่สามารถสร้างรายได้แบบนั้นได้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ปัญหาคือจะทำได้นานแค่ไหนถ้าไม่ได้เงิน สุดท้ายระบบแบบนี้อาจไม่ยั่งยืนเหมือนกับโครงสร้างที่แบ่งกำไรให้ครีเอเตอร์แบบยูทูบก็ได้

นี่คือปัญหาใหญ่ที่ TikTok ควรหันมาให้ความสนใจ เพราะแพลตฟอร์มเติบโตได้ก็ต้องพึ่งพาครีเอเตอร์เก่งๆ และวิธีที่ทำให้คนเหล่านั้นอยู่ในระบบก็คือการมอบรายได้ที่เพียงพอและแฟร์สำหรับพวกเขา TikTok อาจปรับโครงสร้างรายได้ใหม่ ลองเพิ่มเงินก้อนให้โตขึ้นตามรายได้ที่เพิ่มขึ้นของบริษัทหรือตามจำนวนครีเอเตอร์ ขยายตามการเติบโตเพื่อจูงใจให้คนเข้ามาเรื่อยๆ ก็ได้

เพราะถ้าให้ดูตอนนี้ จากรายได้ที่เหมือนเงินทอน มันไม่ค่อยคุ้มกับความพยายามสักเท่าไหร่เลย

อ้างอิง

Writer

คุณพ่อลูกหนึ่งจากเชียงใหม่ที่รักการเขียน การอ่าน และการดองหนังสือเป็นชีวิตจิตใจ หลงใหลเรื่องราวที่สร้างแรงบันดาลใจและเป้าหมายการทำงานที่เป็นมากกว่าแค่ผลกำไรและทำงานหนักจนลืมความหมายของการมีชีวิตอยู่

You Might Also Like