นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

21 หมุดหมายสำคัญที่ทำให้ ‘ขายหัวเราะ’ เดินทางมาถึงขวบปีที่ 50

The Journey of KaiHuaRor

ย้อนกลับไปราว พ.ศ. 2500 แทบไม่มีใครที่ไม่รู้จัก เบบี้ และ หนูจ๋า นี่คือหนังสือการ์ตูนที่ได้รับความนิยมอย่างยิ่งในสังคม และความนิยมนั้นก็สร้างแรงบันดาลใจให้นักวาดการ์ตูนทั่วฟ้าเมืองไทยพากันเขียนต้นฉบับเพื่อส่งมายัง ‘บรรลือสาส์น’ ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์ต้นสังกัดของหนังสือการ์ตูนทั้งสอง

ต้นฉบับหลายร้อยเรื่องถูกส่งมายังที่แห่งนี้ เมื่อกลับจากโรงเรียน วิธิต อุตสาหจิต ลูกชายของ บันลือ อุตสาหจิต ซึ่งเป็นเจ้าของสำนักพิมพ์มักมาช่วยผู้เป็นพ่อในการคัดแยกต้นฉบับ การ์ตูนหลายร้อยเรื่องผ่านสายตาของวิธิต และทำให้เขาได้ไอเดียว่าน่าจะนำต้นฉบับจากนักเขียนหลายๆ คนมารวมเป็นหนังสือเล่มเดียวกันได้ เพราะในสมัยก่อนการ์ตูนหนึ่งเล่มมักจะมาจากนักเขียนเพียงหนึ่งคนเท่านั้น อย่างเช่น เบบี้ ทั้งเล่มก็เขียนโดย อาวัฒน์–วัฒนา เพ็ชรสุวรรณ เพียงคนเดียว เช่นเดียวกับ หนูจ๋า ที่มี จุ๋มจิ๋ม–จำนูญ เล็กสมทิศ เป็นผู้เขียนคนเดียวเช่นกัน

ไอเดียการนำต้นฉบับจากนักเขียนหลายๆ คนมารวมกันนี้เองกลายเป็นจุดเริ่มต้นของ ขายหัวเราะ หนังสือการ์ตูนที่สร้างเสียงหัวเราะให้กับคนไทยในหลากหลายช่วงเวลาในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นยามยืนรอรถ เข้าห้องน้ำ นั่งรอในร้านตัดผม หรือทำอะไรก็ตามแต่ หนังสือ ขายหัวเราะ มักแทรกซึมอยู่ในชีวิตของผู้คนด้วยเสมอ จนทำให้ ขายหัวเราะ ได้รับฉายาว่า ‘ความฮาสามัญประจำบ้าน’

กระทั่งวันเวลาหมุนเวียนเปลี่ยนไป ดิจิทัลดิสรัปต์ชั่นเริ่มเข้ามา สื่อสิ่งพิมพ์หลายรายค่อยๆ ทยอยล้มหายไปจากตลาด แต่ ขายหัวเราะ ก็ยังคงสามารถฝ่าคลื่นดิสรัปต์ชั่นมาได้ด้วยการปรับตัว ข้ามพรมแดนจากหนังสือการ์ตูนไปทำอย่างอื่นอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสตูดิโอแอนิเมชั่น สื่อออนไลน์ หรือการไปปรากฏอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้คนทั้งบนซองขนม บนเสื้อผ้า กระทั่งไปอยู่บนสเกตบอร์ด 

การปรับตัวที่คิดนอกกรอบการ์ตูน 3 ช่อง ทำให้ขายหัวเราะยืนระยะมาได้ถึงขวบปีที่ 50 จนกลายเป็นอีกหนึ่งแบรนด์ Legacy ในไทยที่ยังคงอยู่มาได้จนถึงปัจจุบัน 

และนี่คือเส้นทางของขายหัวเราะจากวันแรก มาจนถึงวันนี้

อายุ : 0 ปี
พ.ศ. 2516

  • เปิดตัว ขายหัวเราะ เล่มแรก 
  • กำเนิดนักเขียนที่เป็นตำนานอย่าง อาวัฒน์, จุ๋มจิ๋ม, ทวี, พลังกร
  • กำเนิดแก๊กคลาสสิกอย่าง แก๊กติดเกาะ 

อายุ : 1 ปี
พ.ศ. 2517

  • กำเนิดแก๊กคลาสสิกอย่าง แก๊กโจรมุมตึก

อายุ : 3 ปี
พ.ศ. 2518

  • เปิดตัว มหาสนุก
  • อาวัฒน์ นักเขียนในตำนานของขายหัวเราะ เขียนแก๊กแรกในขายหัวเราะ ลงในปี 1 เล่ม 11 พฤศจิกายน 2519

อายุ : 7 ปี  
พ.ศ. 2523

  • ต่าย นักเขียนในตำนานของ ขายหัวเราะ ผู้ให้กำเนิดตัวการ์ตูนอย่างปังปอนด์ เขียนแก๊กแรกใน ขายหัวเราะ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 มกราคม

อายุ : 9 ปี
พ.ศ. 2525

  • นิค นักเขียนในตำนานของ ขายหัวเราะ เขียนแก๊กแรกใน ขายหัวเราะ ปีที่ 9 ฉบับที่ 62 กรกฎาคม 

อายุ : 13 ปี
พ.ศ. 2529

  • ปรับหนังสือจาก A4 เป็น B5 เป็นขายหัวเราะฉบับกระเป๋า ราคา 10, 12 และ 15 บาทตามลำดับ
  • เฟน นักเขียนในตำนานของขายหัวเราะ เขียนแก๊กแรกใน ขายหัวเราะ ปีที่ 13 ฉบับที่ 10 พฤษภาคม 2529

อายุ : 16 ปี
พ.ศ. 2532

  • เปลี่ยน มหาสนุก เป็นฉบับกระเป๋า 
  • เปิดตัวปังปอนด์ ลงใน มหาสนุก ฉบับกระเป๋า 

อายุ : 18 ปี
พ.ศ. 2534

  • เปิดตัวตัวละคร สาวดอกไม้

อายุ : 19 ปี
พ.ศ. 2535

  • เอ๊าะ นักเขียนในตำนานของ ขายหัวเราะ ผู้ให้กำเนิดตัวการ์ตูนอย่างหนูหิ่น เขียนแก๊กแรกใน ขายหัวเราะ ปี 19 ฉบับที่ 17 กันยายน 

อายุ : 20 ปี
พ.ศ. 2536

  • ปังปอนด์มีหนังสือการ์ตูนของตัวเอง

อายุ : 21 ปี
พ.ศ. 2537

  • เหลือเพียง ขายหัวเราะ ฉบับกระเป๋าที่ปรับเป็นรายสัปดาห์
  • สาวดอกไม้กับนายกล้วยไข่ มีหนังสือการ์ตูนเป็นของตัวเอง
  • เปิดตัวหนูหิ่น
  • การ์ตูนสั้น บ้านนี้ 4 โชะ ของขายหัวเราะ ไปสร้างเป็นละคร ออกอากาศทางช่อง 3 

อายุ : 23 ปี
พ.ศ. 2539

  • หนูหิ่น มีหนังสือการ์ตูนเป็นของตัวเอง 

อายุ : 28 ปี
พ.ศ. 2544

  • เริ่มแตกไลน์ธุรกิจ ให้เป็นมากกว่าแค่หนังสือการ์ตูน 
  • เริ่มทำ Vithita Animation บริษัทที่พัฒนาคาแร็กเตอร์ให้กับแบรนด์ต่างๆ 

อายุ : 29 ปี
พ.ศ. 2545

  • การ์ตูน ปังปอนด์ ออกฉายทางช่อง 3 เป็นครั้งแรก 

อายุ : 33 ปี
พ.ศ. 2549

  • มี หนูหิ่น เดอะมูฟวี่

อายุ : 38 ปี
พ.ศ. 2554

  • ทำ ขายหัวเราะ ในรูปแบบอีแม็กกาซีน มียอดดาวน์โหลดกว่า 2 หมื่นครั้ง ภายใน 4 วัน

อายุ : 41 ปี
พ.ศ. 2557

  • ทายาทรุ่นที่ 2 พิมพ์พิชา อุตสาหจิต เริ่มเข้ามาบริหาร
  • ขายหัวเราะเปิดตัว LINE Sticker ที่เป็นคาแร็กเตอร์สัญชาติไทยรายแรกๆ 
  • สภาพตลาดที่เปลี่ยนไป เข้าสู่ยุคถดถอยของสิ่งพิมพ์ ขายหัวเราะเริ่มปรับสู่ออนไลน์

อายุ : 43 ปี
พ.ศ. 2559

  • กำเนิดนิทรรศการ อุตสาฮากรรม 

อายุ : 44 ปี
พ.ศ. 2560

  • ขายหัวเราะและมหาสนุก ร่วมมือกับ UN Women ทำการ์ตูนส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ

อายุ : 48 ปี
พ.ศ. 2564

  • ขายหัวเราะทำ NFT ครั้งแรก

อายุ : 50 ปี
พ.ศ. 2566

  • ขายหัวเราะที่ทําโดย AI ฉบับแรก การ์ตูนไทยฉบับแรกที่คิดมุกและวาดโดย AI 
  • ครบรอบ 50 ปี ขายหัวเราะ 

Writer

บรรณาธิการธุรกิจ มีความสนใจเรื่องกลยุทธ์ธุรกิจ-การตลาด และชื่นชอบการเข้าโรงงานเพื่อดูเบื้องหลังการผลิตเป็นอย่างยิ่ง