นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

LEGOSYSTEM

‘LEGO’ จากที่เคยเกือบล้มละลายพลิกกลับมาเป็นบริษัทของเล่นมูลค่า 6,000 ล้านดอลลาร์ด้วยกลยุทธ์ใด

ทุกธุรกิจมีช่วงเวลาขาขึ้นและขาลงด้วยกันทั้งสิ้น โดยเฉพาะบริษัทที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานอย่าง LEGO ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1932 ของเล่นบล็อกต่อสีสดใส ไม่มีรูปแบบตายตัว ไร้ขอบเขตสุดแล้วแต่จินตนาการ เล่นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ได้รับความนิยมโดยตลอดจนถึงช่วงต้นของปี 2000 ช่วงเวลาที่ทุกอย่างกำลังเปลี่ยนเป็นดิจิทัล อินเทอร์เน็ตกำลังได้รับความนิยม พวกเขาพยายามเปลี่ยนตามโลก สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ แต่กลายเป็นว่าการตัดสินใจเหล่านั้นเกือบทำให้พวกเขาล้มละลาย

อาจจะมองไม่ออกว่าบริษัท LEGO ที่มีมูลค่ากว่า 9,100 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบันตอนนั้นตัดสินใจอะไรผิดพลาด แต่ความสำเร็จที่เราเห็นตอนนี้เป็นผลมาจากการพลิกฟื้นธุรกิจหลังจากการขาดทุนติดกันสองปี ช่วง 2003-2004 ติดหนี้กว่า 800 ล้านดอลลาร์ จนเกือบล้มละลายเลยในตอนนั้น

ย้อนกลับไปตอนแรกๆ ที่ Ole Kirk Christiansen ช่างไม้ชาวเดนมาร์กเริ่มผลิตของเล่นเด็กออกมาขายเพราะเชื่อว่าไม่ว่าเศรษฐกิจจะแย่แค่ไหน สิ่งที่พ่อแม่ยังคงยอมจ่ายเงินซื้อให้ลูกก็คือของเล่น โดยตอนนั้นสิ่งที่เขาทำออกมาขายเป็นเป็ดไม้ที่มีล้อลากปกติ เขาตั้งชื่อบริษัทว่า ‘LEGO’ ที่เป็นการผสมภาษาเดนมาร์กสองคำ ‘leg + godt’ หรือที่แปลว่า ‘play well’ และถึงแม้ว่าธุรกิจจะไม่ได้แย่ แต่มันก็ไม่ได้ดี แถมช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ไฟไหม้โรงงานจึงทำให้ของเล่นที่เป็นไม้เสียหายเกือบทั้งหมด

โชคยังดีที่เขายังมุ่งมั่นที่จะทำมันต่อ สร้างโรงงานใหม่ขึ้นมาอีกครั้ง และคราวนี้ก็เริ่มผลิตของเล่นที่ทำมาจากพลาสติก เป็นตัวต่อ (brick) รุ่นแรกที่ด้านล่างกลวง ไม่มีตัวยึดที่รูปทรงคล้ายท่อที่เราคุ้นเคยกันตอนนี้ พอต่อซ้อนกันก็หลุดออกจากกันได้ง่าย เป็นเหตุให้ขายไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ จนกระทั่งในช่วงปี 1958 ที่ LEGO เร่ิมมีการใช้ตัวต่อแบบที่มีท่อทำให้การต่อแน่นขึ้น สร้างความเป็นไปได้ในการต่อแบบไม่รู้จบ ตอนนี้เองที่ธุรกิจเริ่มเข้าสู่ช่วงขาขึ้นอย่างแท้จริง

ครึ่งศตวรรษต่อมาถือเป็นยุคทองของ LEGO ยอดขายเพิ่มขึ้นปีแล้วปีเล่า ชื่อแบรนด์กลายเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของความคิดสร้างสรรค์และความสุขของครอบครัว พ่อแม่ไม่เพียงแค่ซื้อตัวต่อเลโก้มาให้ลูกเป็นของขวัญในช่วงคริสต์มาสและวันเกิดเท่านั้น ยังซื้อเป็นคอลเลกชั่นต่างๆ ไว้สำหรับเล่นในช่วงวันธรรมดาทั่วไปด้วย แต่แล้วช่วงต้นยุค 2000 ทุกอย่างก็เริ่มเปลี่ยนไป อินเทอร์เน็ตเริ่มกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนพูดถึง ของเล่นที่ได้รับความนิยมช่วงนั้นคือเกมคอนโซลต่างๆ ทั้งจากฝั่ง PlayStation และ Nintendo ทำให้ยอดขายของพวกเขาลดลงอย่างน่าใจหาย

LEGO พยายามปรับตัวหลายอย่างเพื่อกลับมาดึงดูดลูกค้า แต่มันกลับเหมือนขุดหลุมฝังตัวเองให้ลึกลงไปอีก

บริษัทอย่าง LEGO มีสิ่งที่เรียกว่า ‘ค่าใช้จ่ายคงที่’ หรือ ‘fixed cost’ ที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนอยู่แล้ว ดังนั้นการลงทุนอะไรที่ไม่สามารถสร้างรายได้ให้มากกว่าค่าใช้จ่ายเหล่านั้นถือเป็นความเสียหาย ความผิดพลาดอย่างแรกคือการพยายามวิ่งตามเทรนด์ของโลกอินเทอร์เน็ตและคอนเทนต์โดยที่ไม่เคยมีประสบการณ์ด้านนี้มาก่อน พวกเขาพยายามสร้างเกมและรายการทีวีแต่ไม่ได้รับความสนใจเลย เหมือนเอาเงินไปละลายทิ้ง ช่วงก่อนหน้านี้ 1996-2002 ได้เปิดสวนสนุกของตัวเองไป 3 แห่งในสหราชอาณาจักร อเมริกา และ เยอรมนี นอกจากนั้นยังพยายามเพิ่มความหลากหลายให้ตัวต่อ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างแพงเพราะทุกตัวต่อต้องมีการขึ้นรูปใหม่ มีต้นทุนเพิ่มทุกตัว ที่สำคัญไม่ได้ทำตัวสองตัว ทำออกมาใหม่หลายพันแบบเลยทีเดียว พูดอีกอย่างคือพวกเขาพยายามจะ ‘ทำมากไป’ จนเกือบเจ๊ง ช่วงเวลานั้นพวกเขาหลุดโฟกัสและลืมจิตวิญญาณของ LEGO ไป

ในปี 2003 LEGO เป็นหนี้กว่า 800 ล้านดอลลาร์ ยอดขายลดลงกว่า 30%

ในภาวะวิกฤต Jørgen Vig Knudstorp อดีตที่ปรึกษาด้านการจัดการที่ McKinsey & Company เข้ามารับตำแหน่ง CEO ของบริษัท LEGO ต่อจากลูกชายของโอเล เคิร์ก คริสเตียนเซน และกล่าวอย่างชัดเจนว่า LEGO ต้องกลับไปโฟกัสที่ตัวต่อ และผลิตภัณฑ์ที่เป็นรากฐานสำคัญของบริษัท และลดจำนวนรูปแบบของตัวต่อจาก 12,900 แบบให้เหลือเพียง 7,000 แบบเท่านั้น ต่อจากนั้นเขาตัดสินใจขายสวนสนุกและยุบแผนกเกมและคอนเทนต์ไปเพราะไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาเชี่ยวชาญและขาดทุนอยู่ตลอด

กลยุทธ์หนึ่งที่ LEGO ทำแล้วประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากคือการไปซื้อ IP (intellectual property) ต่างๆ อย่างเช่น Star Wars, Marvel, Harry Potter, Mari, Jurassic Park และอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนั้นช่วงหลังเรายังเห็น Lego Ideas ที่เป็นโครงการให้แฟนคลับ LEGO นำผลงานที่ออกแบบมาแสดง ผลงานไหนได้รับผลโหวตจะถูกสร้างเป็นเซตขายจริง ๆ (ล่าสุดที่เราเห็นเซต The Starry Night ที่เป็นภาพวาดของแวน โกะห์ ที่ออกแบบโดย Truman Cheng หนุ่มวัย 25 ปี จากฮ่องกง)

การ co-brand หรือที่เรารู้จักกันว่า collaboration นำความสำเร็จกลับมาสู่  LEGO อีกครั้ง ในปี 2005 พวกเขาใช้ความนิยมของภาพยนตร์เรื่อง Star Wars ที่มีกลุ่มแฟนคลับที่เหนียวแน่นทั่วโลกมาเป็นแนวทางในการสร้างวิดีโอเกม แต่ครั้งนี้ไม่ได้ทำเองทั้งหมดเหมือนตอนแรก ครั้งนี้ใช้เนื้อเรื่องของ Star Wars แต่ตัวละครจะเป็นหุ่นเลโก้แทน โดยร่วมมือกับบริษัท Traveller’s Tales เพื่อพัฒนาเกมนี้ขึ้นมา ปรากฏว่าผลตอบรับดีมาก ขายได้กว่า 50 ล้านแผ่น ต่อมาก็ทำแบบเดียวกันกับ Harry Potter ในปี 2012 จนกระทั่งมาสร้างภาพยนตร์แอนิเมชั่น The Lego Movie ในปี 2014 เล่าถึงเรื่องราวของตัวเลโก้ธรรมดาๆ ตัวหนึ่งที่ต้องปกป้องโลกที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ได้รับรีวิว 96% บนเว็บไซต์อย่าง Rotten Tomatoes และทำกำไรได้กว่า 230 ล้านดอลลาร์จากแอนิเมชั่นเรื่องนี้

นอกจากนั้นแล้ว LEGO มักจะคอยตอบคอมเมนต์และรับฟังความคิดเห็นจากแฟนคลับของตัวเองบนอินสตาแกรมอยู่เสมอ นี่เป็นสิ่งที่ทำให้เห็นว่าพวกเขากลับมาโฟกัสที่ลูกค้าจริง ๆ ไม่ใช่แค่คาดเดาว่าลูกค้าจะชอบอะไรอย่างแต่ก่อน ตอนนี้มีการจ้างแฟนคลับที่เป็นผู้ใหญ่เพื่อให้รีวิวสินค้าและมาออกแบบสินค้าของพวกเขาด้วย ส่วนของเด็ก LEGO ก็ทำการศึกษาอยู่เสมอว่าเด็กในแต่ละพื้นที่ทั่วโลกนั้นเล่นตัวต่อกันยังไงบ้าง ทำให้สามารถเข้าถึงความต้องการของลูกค้าในแต่ละพื้นที่ได้จริงๆ 

นิตยสาร FastCompany ถึงขั้นเรียก LEGO ว่าเป็น ‘บริษัทแอปเปิลของของเล่น’

มาถึงตอนนี้ LEGO ดูเหมือนจะผ่านช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของบริษัทมาไกลมาก ยอดขายกว่า 2,100 ล้านดอลลาร์ในปี 2021 ทำให้พวกเขาขึ้นมายืนเป็นบริษัทของเล่นที่ใหญ่ที่สุดในโลกเหนือกว่าบริษัท Mattel (เจ้าของ Barbie, Hot Wheels และ Thomas & Friends ฯลฯ) ไปเรียบร้อยแล้ว LEGO ยังคงเป็นของเล่นที่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เล่นด้วยกันได้อยู่เสมอ การ co-brand ก็ทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่กว้างมากขึ้น คอลเลกชั่นใหม่ที่ออกมาเอาใจ AFOLs (Adult Fan of LEGO) ก็ได้รับเสียงตอบรับอย่างดีเพราะถือว่าเป็นของสะสมมากกว่าแค่ของเล่นทั่วไป ราคาค่อนข้างสูงแต่ลูกค้าก็พร้อมที่จะควักเงินจ่าย นอกจากนั้น ทุกวันนี้คนบางกลุ่มยังซื้อ LEGO เก็บไว้เป็นการลงทุนด้วย เพราะบางชุดที่เลิกผลิตไปแล้วราคาในตลาดสูงขึ้นโดยเฉลี่ยกว่า 11% ต่อปีเลยทีเดียว 

ตอนนี้ LEGO กลับมาเข้มแข็งอีกครั้งอย่างแท้จริงและคงเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมาแล้วว่าสิ่งสำคัญที่สุดในการทำธุรกิจคืออย่าไขว้เขวไปตามกระแสจนหลุดโฟกัสจนลืมว่าตัวเองเป็นใคร

อ้างอิง

business.time.com/2013/07/12/trouble-in-legoland-how-too-much-innovation-almost-destroyed-the-toy-company

successagency.com/growth/2018/02/27/lego-bankrupt-powerful-brand

youtu.be/IjcSKukg9IE

fastcompany.com/3040223/when-it-clicks-it-clicks

statista.com/statistics/985451/lego-brand-value-worldwide

theguardian.com/lifeandstyle/2021/dec/10/investing-in-lego-more-lucrative-than-gold-study-suggests

business.time.com/2013/07/12/trouble-in-legoland-how-too-much-innovation-almost-destroyed-the-toy-company

businessinsider.co.za/lego-makes-van-goghs-iconic-the-starry-night-painting-2022-5

Tagged:

Writer

คุณพ่อลูกหนึ่งจากเชียงใหม่ที่รักการเขียน การอ่าน และการดองหนังสือเป็นชีวิตจิตใจ หลงใหลเรื่องราวที่สร้างแรงบันดาลใจและเป้าหมายการทำงานที่เป็นมากกว่าแค่ผลกำไรและทำงานหนักจนลืมความหมายของการมีชีวิตอยู่

You Might Also Like