นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

Contextual Marketing

รู้จัก Contextual Marketing เมื่อดาต้ามาเจอกับการตลาดในบริบทที่ใช่ ไอศครีมก็ขายดีได้แม้ในตอนมีพายุหิมะ

แม้คำว่า data-driven marketing หรือการใช้ดาต้าในธุรกิจจะเป็นคำที่เราได้ยินบ่อยๆ กันในยุคนี้ แต่ก็ยังมีหลายคนนักที่ไม่เข้าใจและไม่รู้ว่าจะเอาดาต้าที่มีอยู่ในมือไปช่วย drive ธุรกิจของตัวเองได้ยังไงกัน

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาบนเวทีงาน Creative Talk 2022 มีเซสชั่นหนึ่งที่เราคิดว่าน่าจะอธิบายเรื่องของการทำ data-driven marketing ได้อย่างเข้าใจง่ายและเห็นภาพ

สปีกเกอร์ของเซสชั่นนี้คือ ณัฐพล ม่วงทำ เจ้าของเพจ การตลาดวันละตอน และอาจารย์สอนด้าน data analytic and visualization โดยหัวข้อที่ณัฐพลพูดในวันนั้นคือเรื่องของ The Future Of Creative & Contextual Marketing In Data Era หรือแปลให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือการนำเรื่องของดาต้ามาบวกกับบริทบทที่ใช้ แล้วใส่ความครีเอทีฟเข้าไป เป็นเหมือนการพาสินค้าไปอยู่ในที่ที่คนอยากซื้อมากกว่าการที่เราอยากขายด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์

เริ่มที่ case study แรกที่ณัฐพลนำมาเล่าให้ฟัง เมื่อซัมเมอร์เป็นเหมือนช่วงเวลาไฮซีซั่นที่ไอศครีมหลายแบรนด์อัดงบการตลาด ทำโฆษณา ออกเมนูใหม่ เพราะคงไม่มีช่วงเวลาไหนจะขายไอศครีมได้ดีไปกว่าหน้าร้อนอีกแล้ว ทว่าแบรนด์ไอศครีมชื่อดังในต่างประเทศอย่าง Ben & Jerry’s กลับตัดสินใจที่จะใช้งบการตลาดออกไอศครีมรสชาติใหม่ในช่วงที่อากาศหนาวและพายุหิมะกำลังถล่มเมือง

ซึ่งการที่ Ben & Jerry’s กล้าทำในสิ่งที่สินค้าอย่างไอศครีมมักไม่ค่อยทำกันสักเท่าไหร่ ไม่ใช่ว่าอยู่ๆ อยากทำก็ทำขึ้นมาเลย แต่เกิดจากการเห็นดาต้าว่าในช่วงที่มีพายุตกหนัก แต่อัตราการคลิกซื้อไอศครีมกลับเพิ่มสูงขึ้น

เมื่อเห็นดาต้าที่ขัดกับความเชื่อของหลายคนที่คิดว่าไอศครีมคือสิ่งที่ขายดีในหน้าร้อน ทำให้ทางแบรนด์หาอินไซต์ว่าคนแบบไหนกันนะที่อยากกินไอศครีมในเวลาที่อากาศหนาวพายุหิมะถล่มแบบนี้ และนั่นก็ทำให้แบรนด์ได้พบกับข้อมูลที่น่าสนใจว่าเมื่อเวลาหิมะตก คนออกจากบ้านไปไหนไม่ได้ ดังนั้นแล้วสิ่งที่ทำได้ก็คือการนั่งอยู่ในบ้าน ซุกตัวอยู่ในผ้าห่ม เปิดฮีตเตอร์ และกินไอศครีมไปพร้อมๆ กับการดูซีรีส์

เมื่อเห็นอินไซต์แบบนี้การทำการตลาดของ Ben & Jerry’s จึงเปลี่ยนไป จากเดิมที่เคยเก็บงบเอาไว้สำหรับใช้ในช่วงหน้าร้อน ก็เปลี่ยนมาเป็นการดูบริบทโดยรอบ ดูสภาพอากาศในแต่ละช่วงเวลา หากวันไหนที่อากาศแย่จนไม่สามารถออกจากบ้านได้ก็ค่อยทำแคมเปญยิงโฆษณาออกไปเพื่อกระตุ้นให้ผู้คนซื้อไอศครีมไปตุนเอาไว้ที่บ้าน

โดยอีกหนึ่งผลลัพธ์ของการเอาดาต้ามารวมกับบริบทนี้ก็ยังทำให้ Ben & Jerry’s ออกไอศครีมรสชาติใหม่ที่มีชื่อว่า Netflix and Chill’d เพื่อให้ผู้คนได้กินไอศครีมชิลล์ๆ ตอนดูเน็ตฟลิกซ์อีกด้วย

และไม่ใช่แค่ที่ต่างประเทศเท่านั้น แต่สภาพอากาศก็ยังส่งผลต่อการทำ contextual marketing ของธุรกิจในไทยด้วยเช่นกัน

จากการที่ณัฐพลได้ไปพูดคุยกับเจ้าของร้านกาแฟแบรนด์ Class Cafe แล้วได้พบข้อมูลที่น่าสนใจว่าเมื่อคนไทยส่วนใหญ่ชอบดื่มกาแฟแบบเย็นและปั่นมากกว่ากาแฟร้อน ดังนั้นสัดส่วนการขายกาแฟร้อนของที่ร้านจึงอยู่ที่ประมาณ 10% แม้หน้าหนาวจะมีคนกินกาแฟร้อนมากขึ้นมาบ้าง แต่ตัวเลขก็ขยับขึ้นมาที่ราวๆ 15% เท่านั้น

ทว่ากลับมีอยู่ช่วงเวลาหนึ่งที่ผู้คนมากินกาแฟร้อนชนิดที่ว่าตัวเลข 10% ได้ขยับมาเกือบเป็น 50% ก็คือตอนที่อากาศเย็นลงอย่างฉับพลันประมาณ 4-5 องศา เพราะเมื่อคนตื่นเช้ามาจะรู้สึกหนาวอย่างฉับพลันก็ทำให้มีความอยากจะกินกาแฟร้อน

เมื่อเห็นดาต้าและบริบทแบบนี้ ทำให้หากมีพยากรณ์อากาศบอกว่าอากาศจะเย็นลงอีกเมื่อไหร่ ทางร้านก็สามารถเตรียมสตรีมนมสำหรับทำกาแฟร้อนเอาไว้ได้ และมีสินค้าขายเพียงพอต่อความต้องการของผู้คนที่เพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันนั่นเอง

ไม่เพียงแค่เรื่องของสภาพอากาศ แต่สถานที่ที่แตกต่างกันออกไปก็ยังส่งผลให้แบรนด์เดียวกันทำการตลาดที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ณัฐพลหยิบยกสบู่ล้างมื้อแบรนด์คิเรอิคิเรอิมาเล่าเป็น case study ให้ฟังว่าในช่วงที่โควิดกำลังระบาดหนักในบ้านเรา แต่ละพื้นที่ก็มีระดับการระบาดที่แตกต่างกันออกไปตั้งแต่เขียว เหลือง ไปจนถึงแดง คิเรอิคิเรอิจึงทำการตลาดที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่ จุดไหนเสี่ยงมากก็ยิ่งได้ส่วนลดมาก จุดไหนเสี่ยงน้อยก็จะได้ส่วนลดน้อยลงลดหลั่นกันไป เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้คนมาซื้อสบู่ล้างมือมากขึ้น

เรื่องของช่วงเวลาที่ถูกต้องก็สามารถเอามาทำเป็น contextual marketing ได้เช่นกัน อย่างเช่นสุริยุปราคา แม้จะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ แต่แบรนด์ Master Card ก็สามารถหยิบจับช่วงเวลานี้มาทำเป็นแคมเปญได้อย่างสนุกสนาน เพราะเมื่อตอนที่ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เคลื่อนที่มาซ้อนทับกันนั้น มีลักษณะที่คล้ายกับโลโก้วงกลมสีแดงและสีเหลืองของ Master Card ที่ทับซ้อนกันอยู่ ทางแบรนด์จึงใช้ช่วงเวลาดังกล่าวในการลดราคาสินค้าให้ผู้คนมาช้อปปิ้งกันด้วยบัตร Master Card ถือเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่สร้างการจดจำของแบรนด์ได้อย่างน่าสนใจ

อ่านมาจนถึงตรงนี้หลายคนอาจสงสัยว่าแล้วอะไรบ้างล่ะที่เราจะสามารถหยิบจับมาทำ contextual marketing ได้ ณัฐพลบอกบนเวทีว่าจริงๆ แล้วมันก็คือสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวเรานั่นแหละ ไม่ว่าจะเป็นภาษา สภาพอากาศ​ สถานที่ พฤติกรรมของลูกค้าหรือสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น ณ เวลานั้น

เมื่อมีความต้องการของผู้คนเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันกับที่แบรนด์สามารถนำเสนอสินค้าของตัวเองด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์ได้ ก็จะทำให้แบรนด์สามารถขายของได้โดยใช้ความพยายามในการขายที่น้อยกว่าการขายในบริบทที่ไม่ใช่

และจากเรื่องราวที่ณัฐพลได้นำมาเล่านี้ จึงทำให้นึกขึ้นได้ว่าอันที่จริงแล้วหลายๆ ธุรกิจที่ขายไม่ดี ปัญหาอาจไม่ได้อยู่ที่ตัวสินค้าเสมอไป แต่อาจเป็นเพราะยังไม่เจอบริบทที่ใช่ก็เป็นได้เช่นกัน

Writer

บรรณาธิการธุรกิจ มีความสนใจเรื่องกลยุทธ์ธุรกิจ-การตลาด และชื่นชอบการเข้าโรงงานเพื่อดูเบื้องหลังการผลิตเป็นอย่างยิ่ง

Illustrator

Just another graphic designer

You Might Also Like